ตอกย้ำความจำเป็นเร่งด่วนของการบริจาคผิวหนังเพื่อต่อลมหายใจให้เพื่อนมนุษย์ พร้อมส่ง “วาสลีน ปิโตรเลียม เจลลี่ ลิมิเต็ด อิดิชัน” ทุกการซื้อ 1 กระปุกร่วมบริจาค 1 บาท ระดมทุนสนับสนุนสภากาชาดไทย

นาย กรเอก แสงแก้ว ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มขายและปฏิบัติการลูกค้า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน รักษาการ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานขายและปฏิบัติการลูกค้า บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ให้การต้อนรับ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี)  ในโอกาสลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าในเมืองใหญ่ระยะที่ 1 นครราชสีมา โดยมี     นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ร่วมนำชมการนำสายสื่อสารลงดินในส่วนความรับผิดชอบของ NT ซึ่งโครงการดังกล่าว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ร่วมกับ บริษัทสื่อสารภาคเอกชนทุกเครือข่ายเข้าดำเนินการรื้อสายไฟฟ้า สายสื่อสาร บริเวณถนนสายรอง หน้าวัดหนองบัวรอง ถึงแยกตรงข้ามไปรษณีย์ เพื่อจัดระเบียบสายสื่อสารตามวัตถุประสงค์โครงการ

สำหรับโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าในเมืองใหญ่ ระยะที่1 นครราชสีมา NT ได้ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดำเนินการสร้างท่อร้อยสายและนำสายสื่อสารลงใต้ดินเรียบร้อยแล้วทุกเส้นทางทั้ง 6 LOT ตามแผนของ กสทช.ปี 2563 ประกอบด้วย

- LOT 1 ถนนราชดำเนิน ถนนชุมพล ระยะทาง 2.91 กม. ดำเนินงานสร้างท่อร้อยสายแล้วเสร็จ ส่งมอบงาน 4 กุมภาพันธ์ 2564

- LOT 2 ถนนสุรนารี ถนนบุรินทร์ ถนนพิบูลละเอียด ถนนจอมสุรางค์ยาตร์(บางส่วน) และถนนโพธิ์กลาง (บางส่วน) ระยะทาง 4.64 กม. ดำเนินงานสร้างท่อร้อยสายแล้วเสร็จ ส่งมอบงาน 1 เมษายน 2564

- LOT 3 ถนนจอมสุรางค์ยาตร์ ถนนบัวรอง ถนนโยธา และถนนโพธิ์กลาง ระยะทาง 5.10 กม. ดำเนินงานสร้างท่อ ร้อยสายแล้วเสร็จ ส่งมอบงาน 17 มิถุนายน 2564

- LOT 4 ถนนราชดำเนิน ถนนราชนิกูล ถนนไชยณรงค์ ถนนพลแสน ถนนยมราช ถนนอัษฎางค์ ถนนจอมพล ถนนมหาดไทย และถนนสรรพสิทธิ์ระยะทาง 5.67 กม. ดำเนินงานสร้างท่อร้อยสายแล้วเสร็จ ส่งมอบงาน 16 พฤษภาคม 2564

- LOT 5 ถนนสรรพสิทธิ์ ถนนมนัส ถนนมหาดไทย ถนนจอมพล ถนนอัษฎางค์ ถนนยมราช และถนนพลแสน ระยะทาง 6.26 กม. ดำเนินงานสร้างท่อร้อยสายแล้วเสร็จ ส่งมอบงาน 17 มิถุนายน 2564

- LOT 6 ถนนจักรี ถนนพลแสน ถนนยมราช ถนนอัษฎางค์ ถนนจอมพล ถนนมหาดไทย ถนนสรรพสิทธิ์ และถนนกำแหงสงคราม ระยะทาง 5.81 กม. ดำเนินงานสร้างท่อ ร้อยสายแล้วเสร็จ ส่งมอบงาน 21 พฤษภาคม 2564

ทั้งนี้ในส่วนของโครงการ 1 ถนน 1 จังหวัด เฉลิมพระเกียรติ อีก 1 เส้นทาง ตามแผนของ กสทช.ปี 2565 นั้น NT ได้ดำเนินการในเส้นทางเฉลิมพระเกียร์ติถนนจอมพล (แยกหลักเมืองถึงประตูพลแสน 2 ฝั่งถนน) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง รวมระยะทางทั้งหมด 31.79 กิโลเมตร

ปตท.สผ. ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำต่าง ๆ ของไทย โดยล่าสุดคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนางานวิจัยทางวิชาการ ทั้งด้านธรณีศาสตร์ วิศวกรรมปิโตรเลียม และสร้างบุคลากรด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพื่อเป็นกำลังหลักในการแสวงหาแหล่งพลังงาน สร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ โดยสามารถต่อยอดองค์ความรู้สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี CCS เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายสังคมคาร์บอนต่ำ

นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า ปตท.สผ. ได้ริเริ่มโครงการ PTTEP Subsurface University Energy Connect ซึ่งเป็นความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อศึกษา พัฒนางานวิจัย แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในหลากหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น ธรณีศาสตร์ วิศวกรรมปิโตรเลียม เป็นต้น เนื่องจากปิโตรเลียมยังคงเป็นแหล่งพลังงานหลักที่มีความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ขณะเดียวกัน องค์ความรู้ในด้านธรณีศาสตร์ ทั้งธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ สามารถนำมาใช้ในการพัฒนากระบวนการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CCS (Carbon Capture and Storage) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในการนำมาใช้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ เพื่อช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายของประเทศไทยในการลดปัญหาภาวะโลกร้อน

ล่าสุด ปตท.สผ. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MoU) กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ความร่วมมือในโครงการ PTTEP Subsurface University Energy Connect โดยเน้นการให้ความสำคัญกับการศึกษาและวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานธรณีศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยี CCS ร่วมกัน

นายมนตรี กล่าวว่า “สถาบันการศึกษา เป็นอีกภาคส่วนสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ความร่วมมือระหว่าง ปตท.สผ. และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ในการผลิตและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในด้านธรณีศาสตร์และวิศวกรรมปิโตรเลียม ในครั้งนี้ จะช่วยส่งเสริมการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพให้กับอุตสาหกรรมพลังงาน ซึ่งเป็นการสนับสนุนประเทศไทยทั้งด้านการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน และการขับเคลื่อนประเทศไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำอีกด้วย”

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีพันธกิจมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกไปเป็นผู้นำแห่งอนาคต ตลอดจนสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมาจุฬาฯ ได้รับการสนับสนุนด้านทุนวิจัยและการพัฒนาหลักสูตรทางด้านปิโตรเลียมจาก ปตท.สผ. ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพทางด้านงานวิจัย วิชาการของจุฬาฯ ในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวหน้า สำหรับความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาฯ กับ ปตท.สผ. ภายใต้โครงการ PTTEP Subsurface University Energy Connect ในครั้งนี้ จะช่วยต่อยอดงานวิจัยและความร่วมมือทางวิชาการระหว่างทั้งสององค์กร รวมไปถึงการเพิ่มองค์ความรู้ใหม่ทางด้านงานธรณีศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ซึ่งจะมีส่วนร่วมผลักดันประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่สังคมที่มีความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อม”

ที่ผ่านมา ภายใต้โครงการ PTTEP Subsurface University Energy Connect ปตท.สผ. ได้ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีเป้าหมายจะขยายความร่วมมือดังกล่าวไปยังมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ต่อไป

สกสว. จัดการประชุมระดมความเห็นการพัฒนาและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของกองทุน ววน. สู่จุดมุ่งเน้นที่สำคัญของ Creative economy และ soft power หนุนสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง

โครงการ “TIP SPIRIT นักกีฬาเลือดใหม่ ใส่สุดพลัง” ภายใต้ความร่วมมือของ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กรุงเทพมหานคร และมูลนิธิเพื่อนักกีฬาไทย นำทีมโค้ชมืออาชีพ อาทิ “โค้ชเตี้ย” สะสม พบประเสริฐ อดีตกุนซือ ชลบุรี เอฟซี และทีมชาติไทย  “โค้ชโย่ง” วรวุธ ศรีมะฆะ อดีตกุนซือทีมชาติไทย  วีระยุทธ สวัสดี อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย หัวหน้าวิทยากรในโครงการ รวมถึงทีมโค้ชระดับประเทศ ได้แก่ ณรงค์ สุวรรณโชติ, วีระพงษ์ เพ็งลี, อัมรินทร์ เยาดำ, พ.ต.ภาณุพงศ์ ผิวอ่อน และ กฤษณะ วงษ์บุตรดี มาฝึกสอนให้ความรู้และทักษะสำหรับเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการกว่า 200 คน เมื่อวันที่ 28 – 29  ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์กีฬาบางบอน 

 

ครั้งนี้นับเป็นการจัดโครงการสนามที่ 4 ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนเข้าร่วมโครงการเพื่อเรียนรู้ทักษะตามฐานที่ได้จัดเตรียมไว้ให้ อาทิ รับ ส่ง โหม่ง ยิง เดาะ เลี้ยง ซึ่งเป็นพื้นฐานลักษณะสำคัญของฟุตบอลพื้นฐานที่ทั่วโลกฝึกกัน โดยการฝึกซ้อมฐานต่าง ๆ นี้เป็นการฝึกให้เด็กได้แสดงความสามารถอย่างรอบด้าน ผ่านการดูแลและการให้คำแนะนำอย่างถูกต้องจากโค้ชและนักกีฬาทีมชาติของสโมสร โดยในแต่ละสนามจะมีการเฟ้นหาช้างเผือกเป็นตัวแทนไปร่วมคัดเลือกเป็นสุดยอดนักกีฬา TIP SPIRIT (ฟุตบอล) FINAL MATCH ในโครงการสนามสุดท้าย สนามที่ 6 ณ สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง

โครงการ “TIP SPIRIT นักกีฬาเลือดใหม่ ใส่สุดพลัง” ยังมีจัดอีก 2 สนามในเดือนพฤศจิกายน 2566 สำหรับน้อง ๆ เยาวชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ฯ ต้องมีอายุระหว่าง 8-17 ปีบริบูรณ์ สุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัว พร้อมรับการอบรมและสามารถเดินทางเข้าร่วมโครงการตามสถานที่ต่าง ๆ ได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ เฟซบุ๊ก TIP ZONE โดย ทิพยประกันภัย

บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต นำโดย คุณสุกัญญา อิสรานุวัฒน์ชัย รองประธานอาวุโส ฝ่ายสื่อสารการตลาดและภาพลักษณ์องค์กร เป็นประธานในการจับฉลากชื่อผู้โชคดีผู้ได้รับบัตรของขวัญสำหรับซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล มูลค่า 300 บาท 100 รางวัล (1 สิทธิ์ต่อ 1 ท่าน) จากกิจกรรมร่วมตอบแบบสอบถามสุขภาพกับ กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ภายใต้แคมเปญ “เป็นผู้หญิงไม่ควรต้องเสี่ยง” ที่ให้ความสำคัญเรื่องความเสี่ยงในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สภาพภูมิอากาศ สุขภาพ เทคโนโลยี สังคมสูงอายุ หรือความเสี่ยงในธุรกิจ พร้อมทั้งกระตุ้นให้ทุกคน เล็งเห็นความสำคัญของความเสี่ยงที่ผู้หญิงต้องเผชิญ และสนับสนุนความคุ้มครองที่เท่าเทียม เพราะเป็นผู้หญิงไม่ควรต้องเสี่ยง ตามนโยบายหลักของบริษัทฯ ที่จะอยู่เคียงข้างทุกความเชื่อมั่นดูแลกันตลอดไป

ทั้งนี้ บริษัทฯ จะประกาศรายชื่อผู้โชคดีผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ https://ktaxa.live/luckydraw-survey-gbc-campaign โดยผู้โชคดีจะได้รับการติดต่อทางโทรศัพท์จากผู้แทนบริษัท (บริษัทฯขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและข้อกำหนดต่าง ๆ ของแคมเปญโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า)

พบนวัตกรรมสินค้า โซลูชัน เพื่อการอยู่อาศัยที่สะดวกสบาย คุ้มค่า ปลอดภัย ในงานบ้านและสวนแฟร์ 2023

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) เดินหน้ายกระดับมาตรฐานธุรกิจแห่งอนาคต จัดพิธีมอบรางวัล Krungsri Digital Innovation Awards 2023 ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อเชิดชูและสนับสนุนองค์กร ผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพ พันธมิตรธุรกิจ รวมถึงบุคคลที่มีความโดดเด่นและมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมจนประสบความสำเร็จ พร้อมเป็นต้นแบบให้ธุรกิจหรือผู้ประกอบการรายอื่นได้เห็นประโยชน์และความสำคัญของการขับเคลื่อนองค์กรหรือธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนในโลกอนาคต

นายเคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ภาคธุรกิจจะต้องตื่นตัวและเตรียมพร้อมด้วยการบูรณาการธุรกิจกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านดิจิทัลเข้าด้วยกันเพื่อการปรับตัวที่รวดเร็วและทันต่อกระแส กรุงศรี ในฐานะผู้นำด้านดิจิทัลแบงก์กิ้ง เราให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมและพร้อมจะบ่มเพาะ Innovation Culture ให้เป็นแกนหลักสำคัญในการขับเคลื่อนกรุงศรีสู่อนาคต ซึ่งการจัดพิธีมอบรางวัล Krungsri Digital Innovation Awards ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและผลักดันด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม โดยมีจุดประสงค์เพื่อยกย่องบุคคลและองค์กรที่มีความโดดเด่นด้านการเสริมสร้างนวัตกรรมและความหลากหลาย ทั้งยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคคล องค์กร หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในสายงานการสร้างนวัตกรรม โดยกรุงศรีขอชื่นชมและยินดีกับทุกท่านที่ได้รับรางวัล มา ณ โอกาสนี้”  

นายสยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานกลุ่มสนับสนุนธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า “พิธีมอบรางวัลในครั้งนี้เปรียบเสมือนการจุดประกายให้วงการธุรกิจมีความกระตือรืนร้นที่จะพัฒนาและประยุกต์ใช้นวัตกรรมให้เกิดประโยชน์และเหมาะสมต่อการดำเนินกิจการอย่างเต็มศักยภาพ รวมถึงการปรับตัวทั้งในแง่ระบบการบริหารจัดการ โครงสร้างพื้นฐาน และวัฒนธรรมองค์กรที่จะเอื้อต่อการเติบโตทางธุรกิจอย่างแข็งแกร่งมั่นคง กรุงศรีพร้อมเดินเคียงข้างและส่งเสริมยกระดับศักยภาพให้ผู้ประกอบการทุกภาคส่วนได้ร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรมและโซลูชันทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่ไม่เพียงส่งผลด้านการเติบโตของกิจการ หากยังจะเป็นแรงหนุนสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน”

รางวัล Krungsri Digital Innovation Awards 2023 จัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดย Stellar by krungsri (สเตลลาร์ บาย กรุงศรี) ซึ่งเป็นหน่วยงานใหม่ที่กรุงศรีได้ริเริ่มและจัดตั้งขึ้น โดยมีภารกิจหลักในการส่งเสริมการขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งส่งเสริมวัฒนธรรมด้านนวัตกรรมภายในองค์กรของกรุงศรี สำหรับหลักเกณฑ์และกระบวนการพิจารณารางวัลในครั้งนี้ หน่วยงาน Stellar by krungsri ได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในกรุงศรีและตัวแทนของภาครัฐ เอกชน นักลงทุน สตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีทั้งประสบการณ์และความสามารถ ร่วมคัดเลือกและตัดสินรางวัลด้วยเกณฑ์ที่เหมาะสมกับรางวัลในแต่ละประเภท รวมทั้งสิ้น 14 รางวัล

เมื่อเร็วๆ นี้ที่ผ่านมา โครงการฝึกอบรม-ฝึกงานเพื่อเตรียมความพร้อมคนพิการเข้าสู่การทำงานในสถานประกอบการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จัดกิจกรรมครบรอบ 10 ปี โครงการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการ มจธ. “เติม…เต็ม Empower” โดยมีนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิด รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บุคลากร มจธ. และหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม ณ ห้อง Auditorium อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX)

ภารกิจครั้งใหม่เพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการผ่านการศึกษา

X

Right Click

No right click