Surface Laptop Go 3 เปิดให้สั่งจองล่วงหน้าแล้ววันนี้

คอนโดรั้วติดเซ็นทรัล เวสต์เกตหลังเปิดขาย 2 เดือน กวาดยอดขายแล้วกว่า 800 ล้านบาท

ช่วยลดขยะอาหาร-สร้างรายได้ให้เกษตรกร พร้อมตอบโจทย์การช่วยแก้ปัญหา SDGs 2 – ZERO HUNGER ยุติความหิวโหย สร้างความมั่นคงทางอาหาร

เคทีซีแจ้งงบการเงินรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา กำไรสุทธิ 5,534 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2% โดยกำไรสุทธิไตรมาส 3/2566 เท่ากับ 1,857 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.7% พอร์ตสินเชื่อรวมขยายตัว 10% อยู่ที่ 106,701 ล้านบาท จากปัจจัยสนับสนุนของการบริโภคภาคเอกชน เดินหน้าผลักดันทุกพอร์ตผลิตภัณฑ์เติบโตควบคู่การคัดกรองคุณภาพในระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมและยอมรับได้ คาดทำกำไรทั้งปีได้ตามเป้าหมาย

นายระเฑียร  ศรีมงคล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า “ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ความต้องการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ดีต่อเนื่อง ได้ส่งผลให้อุตสาหกรรมสินเชื่อผู้บริโภคขยายตัวมากขึ้น รวมถึงเป็นปัจจัยบวกให้ผลการดำเนินงานของเคทีซีเติบโตต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรมอยู่ที่ 14.9% และมีส่วนแบ่งตลาดของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเท่ากับ 12.1% ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2565 ในขณะที่สัดส่วนของลูกหนี้สินเชื่อบุคคล (ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน) อยู่ที่ 6.2% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรม”

ในส่วนของธุรกิจเคทีซีตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา พอร์ตบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลขยายตัวตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยมีมูลค่าพอร์ตรวมเท่ากับ 106,701 ล้านบาท เติบโต 10% อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวมของกลุ่มบริษัท (NPL) รวมเท่ากับ 2.3% ซึ่งอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ โดยพอร์ตบัตรเครดิตยังขยายตัวได้ดีตามปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรที่เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค รวมทั้งพอร์ตสินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ที่เติบโตสูงขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน โดยเน้นให้พอร์ตเติบโตคู่ไปกับการคัดกรองคุณภาพลูกหนี้ในระดับความเสี่ยงที่เหมาะสม ด้านสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” มียอดสินเชื่อใหม่มูลค่า 1,929 ล้านบาท

ผลการดำเนินงานของเคทีซี ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 งบการเงินรวมมีกำไรสุทธิในช่วง 9 เดือน และไตรมาส 3/2566 เท่ากับ 5,534 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 2.2%) และ 1,857 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 4.7%) ตามลำดับ ฐานสมาชิกรวม 3,331,065 บัญชี แบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิต 2,616,269 บัตร เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 69,225 ล้านบาท ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรรวม 9 เดือนเท่ากับ 192,270 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.7% NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.3% พอร์ตสมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซี 714,796 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตร    กดเงินสด “เคทีซี พราว” และดอกเบี้ยค้างรับ  30,246 ล้านบาท  เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เท่ากับ 2,058 ล้านบาท NPL สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 3.1% ยอดสินเชื่อลูกหนี้ใหม่ (New Booking) ของ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ในไตรมาส 3/2566 เท่ากับ 794 ล้านบาท และรอบเก้าเดือนของปี 2566 มีมูลค่า 1,929 ล้านบาท สำหรับสินเชื่อลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อมีมูลค่า 3,369 ล้านบาท โดยมียอดปล่อยสินเชื่อใหม่ของรถขนาดใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรม (Commercial Loan) ในรอบ 9 เดือนของปี 2566 ที่ 1,446 ล้านบาท ทั้งนี้ เคทีซียังคงชะลอการปล่อยสินเชื่อประเภทนี้ หลังจากที่เห็นสัญญาณของหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น

“สำหรับไตรมาส 3/2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 9.8% เท่ากับ 6,461 ล้านบาท จากรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียม ขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น 13.4% เท่ากับ 4,170 ล้านบาท จากการที่พอร์ตสินเชื่อขยายตัว ทำให้มีการตั้งสำรองมากขึ้น เป็นผลให้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Losses - ECL) จำนวน 1,477 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.7% ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สูงขึ้น ขณะที่ต้นทุนทางการเงินปรับขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน”  

ทั้งนี้ ข้อมูลวันที่ 30 กันยายน 2566 เคทีซีมีเงินกู้ยืมทั้งสิ้นเท่ากับ 62,730 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.8% โดยมีสัดส่วนโครงสร้างแหล่งเงินทุนเป็นเงินกู้ยืมระยะสั้น (รวมส่วนของเงินกู้ยืมและหุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี) 23% และเงินกู้ยืมระยะยาว 77% มีวงเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินรวม (Total Short -Term Credit Line) 29,371 ล้านบาท (รวมวงเงินจากธนาคารกรุงไทย 19,061 ล้านบาท) ใช้วงเงินระยะสั้นไป 5,221 ล้านบาท และมีวงเงินคงเหลือ (Available Credit Line) จำนวน 24,150 ล้านบาท ต้นทุนการเงิน 2.7% และอัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 2.07 เท่า ลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2565 ที่ 2.14 เท่า และต่ำกว่าภาระผูกพันที่ 10 เท่า

“เคทีซียังดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ตามแนวทางการบริหารจัดการด้านการให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรมของธนาคารแห่งประเทศไทย โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 บริษัทฯ ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในทุกสถานะจำนวน 1,802 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.8% ของพอร์ตลูกหนี้รวม”

“สำหรับความคืบหน้าด้านมาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น (Consultation Paper) เกี่ยวกับร่าง “หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม” (Responsible Lending: RL) และร่าง “กลไกการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงสำหรับสินเชื่อรายย่อย” (Risk-Based Pricing :RBP) ไปเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับพฤติกรรมเจ้าหนี้และลูกหนี้ ผ่านการยกระดับมาตรฐานกระบวนการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบตลอดวงจรหนี้นั้น แนวทางการปฏิบัติของเคทีซีเองมีความชัดเจน โดยให้บริการสินเชื่อด้วยความรับผิดชอบเสมอมา และมีหลักเกณฑ์การโฆษณาและเสนอขายที่เป็นแนวทางเดียวกับธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ จึงมั่นใจว่าหลักเกณฑ์ที่จะออกมาบังคับใช้ จะไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญใดๆ ต่อการดำเนินงานของเคทีซี”

“ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt: PD) ที่จะบังคับใช้เดือนเมษายน 2567 เป็นต้นไป เคทีซีจะให้ทางเลือกแก่ลูกหนี้ที่สนใจ โดยสำหรับลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้เรื้อรัง (Severe Persistent Debt)  สามารถเปลี่ยนสินเชื่อหมุนเวียนเป็นแบบมีระยะเวลา (Term Loan) และคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี โดยกำหนดให้การผ่อนชำระสามารถปิดจบใน 5 ปี ซึ่งแนวทางนี้ลูกหนี้ต้องสมัครใจเข้าร่วมโครงการด้วยตนเองและปิดวงเงินเดิมที่มี โดยหากลูกหนี้เคทีซีที่เข้าเกณฑ์ทุกรายเข้าร่วมโครงการฯ จะมีผลกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยลดลงประมาณ 18 ล้านบาทต่อเดือน”

“ในปี 2567 เคทีซีวางเป้าเติบโตใน 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจบัตรเครดิต สินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” และสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ด้วยเชื่อว่าสินเชื่อแต่ละประเภทยังเป็นที่ต้องการในตลาด อีกทั้งจะส่งเสริมธุรกิจ MAAI by KTC (มายบายเคทีซี) ธุรกิจบริการระบบบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าให้เติบโตมากขึ้น รวมทั้งหลอมรวม 3 องค์ประกอบหลักคือ คน-กระบวนการ-เทคโนโลยี เข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อขับเคลื่อนเคทีซีให้เติบโตมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายการทำธุรกิจปี 2567 ให้มีกำไรสูงขึ้นกว่าปี 2566 พอร์ตสินเชื่อรวมขยายตัว 10% ภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่ยอมรับได้อย่างเหมาะสม  NPL รวมอยู่ในระดับเดียวกับปี 2566 ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีเติบโต 15% จากปี 2566  สินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ตั้งเป้าเติบโต 5% และสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ตั้งเป้ายอดอนุมัติสินเชื่อใหม่ปี 2567 ที่ 6,000 ล้านบาท”

จากผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและผนวกกลยุทธ์บริหารความเสี่ยงเชิงรุก

บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต โดย คุณแซลลี่ โอฮาร่า ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (คนซ้าย) และคุณบุปผาวดี โอวรารินท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และภาพลักษณ์องค์กรและการสื่อสารองค์กร (คนขวา) คว้ารางวัลใหญ่ระดับเอเชีย จาก Insurance Asia Awards 2023 ในสาขา ESG Initiative of the Year ซึ่งรางวัลดังกล่าวถือเป็นความภาคภูมิใจของบริษัทฯ ที่ประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือสังคม สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนตลอดมา อีกทั้งยังตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านบริษัทประกันที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม “Green Insurer” และสอดคล้องเป้าหมายหลักของบริษัทฯ ที่มุ่งมั่นเคียงข้างทุกความเชื่อมั่น ดูแลกันตลอดไป ทั้งนี้รางวัล Insurance Asia Awards เป็นรางวัลเชิดชูเกียรติแก่บริษัทประกันภัย และประกันชีวิตชั้นนำ ที่มีโครงการริเริ่มโดดเด่น นวัตกรรมอันเป็นเลิศ และมีคุณค่าต่อภาคธุรกิจประกันในระดับภูมิภาคระดับเอเชีย

นางสาวปวริศา ชุมวิกรานต์ ประธานเจ้าหน้าที่ สายงานภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ FWD ประกันชีวิต รับโล่เกียรติยศ “บุคคลตัวอย่างภาคธุรกิจแห่งปี 2023“ ภาคธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต ในโครงการ “บุคคลคุณภาพแห่งปี 2023” ซึ่งจัดขึ้นโดย มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) โดยมี ฯพณฯ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง องคมนตรี ประธานในพิธีเป็นผู้มอบ เพื่อยกย่องและประกาศเกียรติคุณบุคคลภาคธุรกิจที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการทำงาน และทำประโยชน์เพื่อสังคม ณ วายุภักษ์ ฮอลล์ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์  โรงแรมเซ็นทารา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) ได้จัดทำโครงการ "บุคคลคุณภาพแห่งปี 2023" เพื่อประกาศเกียรติคุณและเป็นการยกย่องบุคคลที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต ทั้งชีวิตส่วนตัว ชีวิตการทำงาน และการอุทิศตนทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในด้านต่างๆ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีต่ออนุชนรุ่นหลังให้เจริญรอยตามต่อไป

สามสมาคมอสังหาฯ เจ้าภาพงานหกรรมบ้านและคอนโด เล็งขยายฐานลูกค้าเดินงานฯ จับกลุ่มผู้ซื้อพร้อมกัน 3 เจน เพิ่มโอกาสขายให้สมาชิกผู้ประกอบการ และถือเป็นโอกาสทองให้คนไทยมีบ้านได้ง่าย โดยงานครั้งที่ 44 นี้ ชูคอนเซปต์ Property Solutions ระดมทุกภาคส่วนจากวงจรธุรกิจอสังหาฯ มาไว้ในงาน เพื่อตอบทุกโจทย์เรื่องบ้าน ให้เรื่องเป็นอยู่ เป็นเรื่องง่ายกับผู้บริโภค

ดร.ทัพพ์เทพ ภัคกระนก ประธานคณะกรรมการจัดงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 44 กล่าวว่า “งานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 44 นี้ มีกำหนดจัดขึ้นระหว่าง 2 – 5 พฤศจิกายน 2566 ณ ฮอลล์ 5 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งทางสามสมาคมผู้จัดงาน ประกอบด้วย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร สมาคมอาคารชุดไทย และสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ได้ใช้คอนเซปต์ “Property Solutions” เพื่อสื่อถึงบทบาทของงานมหกรรมฯ ในการเป็นมาร์เกตเพลสที่ครบจบทุกอย่างเรื่องบ้านในงานเดียว เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตและทุกดีมานด์ของผู้บริโภคทั้ง Gen X, Yและ Z โดยได้รวมผู้ประกอบการทั้งดีเวลลอปเปอร์และกลุ่ม NPA และซัพพลายเออร์ด้านวัสดุก่อสร้าง สุขภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น รวมถึงสถาบันการเงินชั้นนำ อย่าง ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารยูโอบี ทั้งหมดกว่า 150 รายเอาไว้” 

ภายในงานฯ จะมีโครงการที่อยู่อาศัยมากกว่า 1,000 โครงการจากทั่วประเทศให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อ ซึ่งสามารถแบ่งสัดส่วนตามประเภทโครงการได้ดังนี้ คอนโดมิเนียม 35% ทาวน์เฮาส์ 30% บ้านเดี่ยว 20% บ้านแฝด 10% และอื่นๆ เช่น ที่ดิน บ้านมือสอง อีก 5% ขณะเดียวกัน หากคิดเป็นพื้นที่ตั้งของโครงการ จะมีโครงการในกรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ที่ 70% เทียบกับอีก 30% ที่เป็นโครงการจากจังหวัดอื่นๆ ซึ่งรวมถึงเมืองเศรษฐกิจ อย่าง เชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี เป็นต้น ทั้งนี้ในด้านยอดขายจากงานครั้งที่ผ่านมา สินค้าประเภทคอนโดฯ ได้รับความนิยมมากที่สุด ตามกระแสตลาดในปัจจุบัน ซึ่งดร.ทัพพ์เทพ คาดว่ายอดขายในงานครั้งที่ 44 นี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกัน เนื่องจากคอนโดฯ เป็นเป้าหมายหลักของลูกค้าทั้ง Gen Y และ Z รวมถึงลูกค้าชาวต่างชาติ โดยช่วงราคาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจะอยู่ที่ระดับ 3 – 5 ล้าน ตามด้วยระดับ 10 ล้านบาทขึ้นไป

ดร.ทัพพ์เทพ กล่าวต่อว่า “ในส่วนของกลุ่มลูกค้างานมหกรรมบ้านและคอนโด ทางสามสมาคมได้พยายามขยายขอบเขตการเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มใหม่อยู่เสมอ เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้มากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากกลุ่มลูกค้าหลักอย่าง Gen Y ที่มีความพร้อมในทางการเงินค่อนข้างสูง งานครั้งนี้ก็ยังมองถึงกลุ่ม Gen Z ที่เกิดระหว่างปี 2540 – 2555 เพราะบางกลุ่มเริ่มมีอายุมากพอที่จะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองได้ ด้วยอาชีพและช่องทางสร้างรายได้เกิดขึ้นใหม่มากมายในสังคมปัจจุบันเอื้อประโยชน์ต่อคนเจนนี้ โดยเฉพาะ Creator Economy นอกจากนี้เจ้าของบ้านรุ่นใหม่ที่อายุยังน้อยนี้ ยังมีโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากญาติผู้ใหญ่ ทำให้ Gen Z จะเติบโตขึ้นไปเป็นกลุ่มผู้ซื้ออสังหาฯ หลักแทนที่ Gen X ในอนาคตอันใกล้ ดังนั้นงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 44 นี้ ทางสมาคมเชื่อว่าจะมีจำนวนผู้บริโภค Gen Z ให้ความสนใจมาเพิ่มขึ้น โดยคาดว่ายอดคนเดินงานตลอดทั้ง 4 วันจะอยู่ที่ 80,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มคนใน Gen X ประมาณ 15% Gen Y ที่ 70% ส่วน Gen Z จะอยู่ที่ 10% และอื่นๆ อีก 5%”

สำหรับสื่อประชาสัมพันธ์ที่สมาคมเลือกใช้ ก็ได้ผสมผสานระหว่างสื่อสายหลัก ทั้งรายการโทรทัศน์ วิทยุ และเว็บข่าวชั้นนำต่างๆ โซเชียลมีเดียในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Facebook, IG, Line OA, Youtube และ TikTok ทั้งยังมีสื่อ Out of Home อย่างจอในสถานี MRT บริเวณทางเชื่อมสถานีสีลมและสุขุมวิท และ Digital Billboard ที่อโศก ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และบ่อนไก่ พระราม 4 นอกจากนี้ ยังใช้ KOL ที่มีชื่อเสียงในวงการอสังหาฯ ช่วยประชาสัมพันธ์งาน เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 เจนได้มากที่สุด โดยใช้งบประชาสัมพันธ์รวมอยู่ที่ราว 22 ล้านบาท

นอกจากนี้ คณะกรรมการผู้จัดงานและโครงการต่างๆ ยังได้เตรียมโปรโมชั่นไว้เอาใจผู้บริโภค อาทิ จองที่อยู่อาศัยในงานมีสิทธ์ลุ้นรับทองคำ 10 บาท และเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมมูลค่าของรางวัลเกือบ 6 แสนบาท ทั้งยังมีแคมเปญพิเศษเฉพาะในงานนี้จากโครงการที่เข้าร่วม เช่น ส่วนลดเงินสด รถยนต์ และอื่นๆ อีกมากมาย ที่สำคัญ ภายในงานยังมีสถาบันการเงินชั้นนำมาให้คำแนะนำและบริการด้านสินเชื่อ สำหรับผู้สนใจจะจองซื้อที่อยู่อาศัยให้เข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้ง่ายยิ่งขึ้น

“ความต้องการที่อยู่อาศัยยังคงมีอยู่เสมอ หากแต่ปัจจัยในแต่ละช่วงเวลาจะเอื้อต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคแต่ละกลุ่มมากน้อยอย่างไร เช่นเดียวกับฝั่งผู้ประกอบการที่ต้องปรับตัวไปตามภาวะต่างๆ ทั้งเงินเฟ้อ ที่ส่งผลต่อค่าแรง ค่าวัสดุก่อสร้าง หรือค่าน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย และที่สำคัญคือความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งกุญแจหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนวงจรธุรกิจอสังหาฯ ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ก็คือมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยนายกจากทั้งสามสมาคมได้เคยให้คำแนะนำกับรัฐบาลผ่านสื่อมวลชนไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นมาตรการบ้านหลังแรก ที่ช่วยกระตุ้นธุรกิจทั้งซัพพลายเชน หรือการยืดระยะเวลาการผ่อนผันมาตรการ LTV ออกไปอีก หรือการต่อเวลาและกรอบการลดค่าจดจำนองและค่าธรรมเนียมการโอนให้ครอบคลุมบ้านทุกระดับราคา ไม่จำกัดแต่ราคาบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท รวมถึงการลดอัตราจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแบบขั้นบันได นอกเหนือไปจากการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ผ่านภาคการท่องเที่ยว การส่งออก และการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคอย่างต่อเนื่อง” ดร.ทัพพ์เทพ ทิ้งท้าย 

มหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 44 จะมีขึ้นระหว่าง 2 – 5 พฤศจิกายน 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 20.00 น. ณ ฮอลล์ 5 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนออนไลน์ล่วงหน้าได้ที่ bit.ly/3rfDs52 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.housecondoshow.com, FB: housecondoshow และ Line: @Housecondoshow  เพื่อรับข้อมูลโครงการและโปรโมชั่นจากผู้ประกอบการได้อย่างง่ายดายและสะดวกรวดเร็ว

คุณคันฉัตร จุนาศัพท์ ผู้จัดการส่วนอาวุโส ฝ่ายธุรกิจธนาคาร 2 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) คุณปรมา ลาภณรงค์ชัย ผู้จัดการสำนักงานเขต สำนักงานเขตปัตตานี ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมเปิดตัวบัตรอัตลักษณ์รูปมัสยิดกลางปัตตานี บัตรเดบิตกรุงไทย แคร์  ที่มอบสัญญาตะกาฟุลอุบัติเหตุส่วนบุคคล และ คุ้มครองภัยจากการถูกโจรกรรมเงินที่กดจากตู้ ATM โดยได้รับเกียรติจาก ท่านแวดือราแม มะมิงจิ  ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี  และ ท่านรอย๊ะ หวันโส๊ะ  อีหม่ามประจำมัสยิดกลางปัตตานี  ร่วมเป็นเกียรติในงานดังกล่าว

พร้อมกันนี้ คุณกฤษฎา กิตติพรไพบูลย์ ผู้อำนวยการศูนย์ขยายงานการรับประกันภัยตะกาฟุล ได้มอบสัญญาตะกาฟุลอุบัติเหตุส่วนบุคคล ขยายภัยก่อการร้าย ให้แก่ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี  และ อีหม่ามประจำมัสยิดกลาง เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการและ สร้างความมั่นใจในผลิตภัณฑ์ประกันภัยตะกาฟุลให้กับมุสลิมในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ณ มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี

เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลในเครือบางปะกอก-ปิยะเวท นำโดย นางสาวรพีพร วงศ์ทองคำ (ที่ 3 จากขวา) ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ และนายแพทย์อำนาจ พิศาลจำเริญ (ที่ 3 จากซ้าย) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลในเครือบางปะกอก เตรียมจัดกิจกรรมตรวจสุขภาพฟรี ภายใต้โครงการ ‘เอไอเอ แชร์ริ่ง อะ ไลฟ์ ครั้งที่ 10’ (AIA Sharing A Life 10) ในวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 8.00 – 11.00 น. ณ สวนลุมพินี โดยจะเปิดให้บริการตรวจสุขภาพฟรีให้แก่ประชาชนทั่วไป ได้แก่ บริการตรวจวัดค่าดัชนีมวลกาย BMI วัดความดันโลหิต และวัดระดับน้ำตาลปลายนิ้ว

สำหรับโครงการ เอไอเอ แชร์ริ่ง อะไลฟ์ ครั้งที่ 10 (AIA Sharing A Life 10) จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘Better Environment, Better Health - เพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ดีขึ้น’ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 85 ปี เอไอเอ ประเทศไทย ซึ่งจะจัดขึ้นพร้อมกัน 10 แห่งทั่วประเทศ เพื่อมุ่งส่งเสริมทั้งในด้านสุขภาพของคนไทย ควบคู่กับการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน โดยกิจกรรมที่สวนลุมพินี นอกจากบริการตรวจสุขภาพฟรีโดยเครือโรงพยาบาลบางปะกอกแล้ว ยังมีกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์อื่น ๆ อีก อาทิ กิจกรรมวิ่งเพื่อการกุศล บริการตัดผมฟรี บริการนวดโดยผู้พิการทางสายตา กิจกรรมปลูกต้นไม้ และทาสีเก้าอี้สาธารณะ โดยกิจกรรมทั้งหมดจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม นี้ เพื่อรวมพลังครอบครัวเอไอเอ ทำความดีสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมน่าอยู่และยั่งยืน ตามคำมั่นสัญญาของเอไอเอ ‘Healthier, Longer, Better Lives – เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น’

X

Right Click

No right click