เอสซีจี โดย นายยุทธนา เจียมตระการ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ - การบริหารกลาง เอสซีจี รับรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน “ดีเด่น” ประจำปี 2566 จาก พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งได้รับรางวัลต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 จากความทุ่มเทในการบริหารจัดการความเสี่ยงสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า การส่งเสริมความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างในองค์กรและลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคมตามแนวทาง ESG 4 Plus

รางวัลดังกล่าวสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเอสซีจีในการดำเนินการตามแนวทาง ESG 4 Plus “มุ่ง Net Zero  –  Go Green  –  Lean เหลื่อมล้ำ – ย้ำร่วมมือ” โดยมุ่งมั่นยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนให้สอดคล้องตามมาตรฐานสากล ด้วยกรอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Framework) และการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Process Guideline) ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า ที่ได้ทบทวนการประเมินความเสี่ยงสิทธิมนุษยชนร่วมกับบริษัทที่ปรึกษา สำหรับการกำกับ ดูแลสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่คุณค่า มีการทบทวนกรอบการดำเนินงานด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน และเกณฑ์การตรวจประเมินให้ครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงพัฒนาระบบ “Supplier Portal” การส่งเสริมความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของบุคคล สร้างบรรยากาศการทำงานที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ต่อยอดความคิดบนความแตกต่าง ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมใหม่ ๆ ร่วมกัน และลดเหลื่อมล้ำ สร้างอาชีพ เช่น อาชีพช่างปรับปรุงบ้าน พนักงานขับรถบรรทุก การเสริมความรู้ด้านธุรกิจ การตลาดให้กับชุมชนในโครงการพลังชุมชน และให้ทุนการศึกษาทั้งในและต่างประเทศผ่านโครงการ SCG Sharing The Dream และ Learn to Earn และการส่งเสริมสุขภาวะ

สำหรับรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม มอบให้กับองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม และภาคประชาสังคม ที่มีความโดดเด่นในการนำหลักสิทธิมนุษยชนไปเป็นพื้นฐานการดำเนินงานและสามารถเป็นต้นแบบให้องค์กรอื่น ๆ

พร้อมพบปะหารือหน่วยงานภาครัฐและลูกค้าใน สปป.ลาว สนับสนุนการค้าการลงทุน และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

พร้อมกิจกรรมพิเศษร่วมลุ้นบัตรคอนเสิร์ตWHAT THE DUCK FAMILY & FRIENDS PARTY” และอื่นๆ อีกมากมาย

พื้นที่ 4,200 ตารางเมตรนี้ ทุ่มเทให้กับการสืบทอดมรดกและการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อ ‘คว้าโอกาสที่จะนำไปสู่การเริ่มต้น’ และสร้างสรรค์อนาคตแห่งความงาม

บริษัท สหฟาร์ม จำกัด (SAHA FARMS) ผู้ผลิตและส่งออกไก่สด ไก่แช่แข็งรายใหญ่ของไทย นำโดย ดร.มนูญศรี โชติเทวัญ ประธานคณะบริหาร บริษัทฯ นำทีมคณะผู้บริหารระดับสูงสหฟาร์ม ให้การต้อนรับคณะรัฐบาลมาเลเซียเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในโอกาสเข้าร่วมพบปะสำนักคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย พร้อมเดินทางลงพื้นที่เยี่ยมชมกระบวนการผลิตโรงงานสหฟาร์ม จังหวัด ลพบุรี

ตอกย้ำความสัมพันธ์ในฐานะคู่ค้าทางธุรกิจที่มีความใกล้ชิดแน่นแฟ้น โดยการมาเยือนของรัฐบาลมาเลเซียในครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่สหฟาร์มได้ร่วมหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในธุรกิจระหว่างกัน และสร้างความเชื่อมั่นต่อลูกค้าในทุกมิติ โอกาสนี้ Datuk Dr. Haji Mohd. Arifin Bin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พร้อมคณะแห่งซาบาห์ ร่วมด้วย Dato Abd Aziz Bin Jamaluddin (Chairman of Panya Farms)

ยังได้ชื่นชมวิสัยทัศน์และการบริหาร ของ ดร.ปัญญา โชติเทวัญ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหฟาร์ม จำกัด และบริษัทในเครือ ในการขับเคลื่อนสหฟาร์มพร้อมสร้างมาตรฐานคุณภาพสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับโลกมาอย่างยาวนาน

นายกริชเพชร ชัยช่วย ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมเจ้าท่า กรมเจ้าท่า และ นายพัฒนา ณ สงขลา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานขายและปฏิบัติการลูกค้า 3 บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมลงนามความร่วมมือโครงการท่าเทียบเรืออัจฉริยะและระบบติดตามเรือท่องเที่ยว เพื่อมาตรฐานความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวทางน้ำ (SMART PIER PROJECT) ณ ห้องประชุมวิสูตรสาครดิษฐ์ อาคาร  162 ปี กรมเจ้าท่า เพื่อการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวทางน้ำของประเทศ ด้วยการพัฒนาระบบบริหารจัดการท่าเทียบเรือที่เป็นมาตรฐานสากลผ่านเครือข่ายและเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพผ่านการเชื่อมต่อสัญญาณจากโครงข่ายโทรคมนาคมของ NT ซึ่งประกอบด้วยการพัฒนาโครงสร้างแพลตฟอร์มท่าเทียบเรืออัจฉริยะและระบบติดตามเรือท่องเที่ยว ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลและจำนวนนักท่องเที่ยวในเรือท่องเที่ยวแต่ละลำ ในการใช้ระบุตัวตน คัดกรอง ตรวจสอบ ติดตาม แจ้งเตือน และช่วยเหลือนักท่องเที่ยวกรณีเกิดอุบัติภัย รวมถึงการสร้างหรือปรับปรุงท่าเทียบเรืออัจฉริยะต้นแบบด้วยระบบอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ฟังก์ชันการใช้งานสมบูรณ์ครบถ้วน รองรับการเข้าเทียบท่าของเรือท่องเที่ยวได้อย่างสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย 

นอกจากนี้ยังครอบคลุมการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเรือ ท่าเทียบเรือ สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนท่าเทียบเรือ เส้นทางเดินเรือ ผู้ประกอบการ และจำนวนผู้โดยสาร ซึ่งกรมเจ้าท่าจะได้ใช้เป็นข้อมูลสำหรับกำหนดนโยบาย  และมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำต่อไป

กรุงเทพประกันชีวิต ผนึกกำลังพันธมิตร บลจ.บัวหลวง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จัดงานสัมมนาวางแผนการเงิน เปิดมุมมองสู่อนาคต ภายใต้แนวคิด “Healthy, Wealthy and Happy Retirement” สนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพดี มีความมั่งคั่ง และ มีความสุขในวัยเกษียณ นำโดย นายโชน โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายยูทากะ สึโบอิ กรรมการและที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้แทนประจำประเทศไทย บริษัท นิปปอนไลฟ์ อินชัวรันส์ จำกัด ร่วมกับ นาย พีรพงศ์  จิระเสวีจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.บัวหลวง และ นายดาเนียล คาสเนอร์ Chief Transformation Officer โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง

ภายในงานพบกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในหลากหลายสาขา ร่วมให้สาระและความรู้ที่น่าสนใจ อาทิ มุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนในสถานการณ์ปัจจุบัน การดูแลสุขภาพให้อายุยืนยาวและเทคโนโลยีในการรักษาสมัยใหม่ การตลาดสำหรับสังคมสูงวัย รวมไปถึงวิทยากรร่วมอาชีพ ที่มาแบ่งปันประสบการณ์  รวมถึงกิจกรรม workshop และการสื่อสารกลยุทธ์สำคัญในการทำงานโดยผู้บริหารระดับสูงของบริษัท พร้อมติดปีกเสริมศักยภาพผู้บริหารฝ่ายขายระดับสูง ตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาทางการเงินกรุงเทพประกันชีวิตกว่า 200 คนที่มาร่วมงาน ให้พร้อมทะยานสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จร่วมกัน ณ โรงแรม มิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพ  เมื่อเร็วๆ นี้

DGA หรือ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จัดงาน “มอบรางวัลท้องถิ่นดิจิทัล ประจำปี 2566” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยได้รับเกียรติจาก จาก ดร.พวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี พร้อมมอบรางวัลท้องถิ่นดิจิทัลให้ 20 อปท.จากทั่วประเทศ โดยมี ดร.นพรัตน์ เมธาวีกุลชัย ประธานกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เผยถึง “ความมุ่งมั่นของ DGA กับการพัฒนาท้องถิ่นดิจิทัล” เพื่อเป็นการรวมพลังจากภาพเล็กสู่จิ๊กซอว์ใหญ่ร่วมขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล พร้อมด้วย นายศิริพันธ์ ศรีกงพลี รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เผยถึง “มิติใหม่การให้บริการประชาชนในท้องถิ่นด้วยดิจิทัล” ใช้เทคโนโลยีในการให้บริการประชาชนแต่ละพื้นที่ให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ในปีนี้ได้รับความสนใจจากหน่วยงาน อปท. ทั่วประเทศเข้าร่วมนำเสนอผลงานกว่า 60 ผลงาน จาก 59 อปท.ซึ่งได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจาก 12 หน่วยงาน ร่วมพิจารณาคัดเลือกผลงานที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่โดดเด่น สร้างประโยชน์แก่ประชาชนอย่างกว้างขวางและง่ายต่อการใช้บริการ โดยมีหน่วยงานในแต่ละพื้นที่มาร่วมให้กำลังใจกันเป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุม ซี อาเซียน พระราม 4 อาคารไทยเบฟควอเตอร์ กรุงเทพฯ

ดร.พวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลมุ่งเน้นนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานในแต่ละจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่โดยใช้เทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการประชาชนให้ได้รับความสะดวก ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง โดยรัฐบาลจะใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการให้บริการมาเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างความโปร่งใส ขจัดช่องโหว่ในการทุจริต ลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงการทำงานของภาครัฐให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล รวมถึงการพัฒนา Super App ที่รวมบริการของรัฐเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าใช้งานจากประชาชนได้สะดวกทุกที่ ทุกเวลา อาทิ แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ที่ประชาชนสามารถ ตรวจจสอบสิทธิสวัสดิการ อาทิ เบี้ยผู้สูงอายุ เบี้ยความพิการ เบี้ยเด็กแรกเกิด เป็นต้น ดังนั้น รางวัลท้องถิ่นดิจิทัลประจำปี 2566” นี้ จึงเป็นเสมือนรางวัลของหน่วยงานรัฐในท้องถิ่นอันทรงคุณค่าและเป็นความภาคภูมิใจ เสมือนเป็นตัวแทนของรัฐบาลในความมุ่งมั่นดูแลประชาชน ให้ได้รับความสะดวก ประหยัดเวลาการเดินทาง และค่าใช้จ่าย ทั้งนี้หน่วยงานที่ได้รับรางวัลประเภทยอดเยี่ยม จะได้เข้ารับรางวัลรัฐบาลดิจิทัลประจำปี 2566 จากท่านนายกรัฐมนตรีอีกด้วย

ดร.นพรัตน์ เมธาวีกุลชัย ประธานกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา DGA มุ่งมั่นดำเนินการยกระดับการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลร่วมกับทุกหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ปี พ.ศ 2566-2570 เพื่อให้การบริหารงาน มีความคล่องตัว รวดเร็วและขยายสู่หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2565 ที่มุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกของประชาชนเพิ่มช่องทางออนไลน์ในการติดต่อราชการ สนับสนุนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลตามนโยบายของรัฐบาล

ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กล่าวว่า การเฟ้นหา อปท. ที่มีผลงานโดดเด่นจากอปท. ทั่วประเทศ ได้มีการคัดเลือกอย่างเข้มข้นจากเกณฑ์การประเมินรางวัล 4 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 ปัญหา หมวดที่ 2 นโยบายและแผน หมวดที่ 3 กระบวนการทำงาน และ หมวดที่ 4 ผลลัพธ์การพัฒนาต่อยอดเป็นรูปธรรม ซึ่งในปี 2566 นี้ขอแสดงความยินดีกับ เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา กับผลงาน Big Data เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการ และ เทศบาลตำบลครึ่ง จังหวัดเชียงราย กับโครงการบริหารจัดการขยะแบบบูรณาการ บนพื้นฐานดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน (แอพพลิเคชั่นถังเงิน ถังทอง) ที่ได้รับรางวัลท้องถิ่นดิจิทัลประเภทยอดเยี่ยมทั้ง 2 เทศบาล และ เทศบาลอีก 18 เทศบาล ที่ได้รับรางวัลท้องถิ่นดิจิทัลประเภทดีเด่น ซึ่งจากความมุ่งมั่นตั้งใจของทั้ง 20 หน่วยงาน สะท้อนให้เห็นว่าหน่วยงานระดับท้องถิ่นมีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นต้นแบบให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศหันมาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับปรุงการบริการประชาชนให้มีความทันสมัย สะดวก รวดเร็วมากขึ้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งสู่ ‘ท้องถิ่นดิจิทัล’ ให้เกิดขึ้นได้จริง

ท้ายที่สุดนี้ DGA ขอขอบคุณคณะกรรมการพิจารณาผลทุกท่านที่ได้เสียสละเวลาร่วมเป็นกรรมการพิจารณาคัดเลือกเพื่อเฟ้นหา อปท. ที่มีผลงานโดดเด่นจนได้รับรางวัลในครั้งนี้ และขอเป็นกำลังใจให้กับ อปท.ที่ได้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ ขอให้มุ่งมั่นพัฒนาขยายผลต่อยอดบริการต่อไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของท่าน และส่งผลงานเข้ามาประกวดอีกในการประกวดครั้งหน้า เพื่อร่วมกันพัฒนารัฐบาลดิจิทัลให้เกิดขึ้นจริงในระดับท้องถิ่น ต่อไปครับ

สกสว. จับมือ ทปอ. บพค. และภาคีเครือข่าย เร่งพัฒนากำลังคนและสร้างองค์ความรู้ เทคโนโลยี เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็น ‘ศูนย์กลางกำลังคนระดับสูงด้านชีวสารสนเทศ’ เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลพันธุกรรมและการลงทุนในอุตสาหกรรมการแพทย์ บริการ และธุรกิจแห่งอนาคต

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ คณะกรรมการวิจัยและนวัตกรรม ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) และสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายที่มีความพร้อมในการพัฒนางานวิจัยด้านชีวสารสนเทศ จัดประชุมภาคีเครือข่ายวิจัยชีวสารสนเทศ และเชื่อมโยงนักชีวสารสนเทศของประเทศไทย รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประจำปี พ.ศ. 2566 Thailand Bioinformatics Research Network (TBRN 2023) : Talent Pool and Stakeholder Engagement เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องจีโนมิกส์ โครงการวิจัยด้านสุขภาพ เพื่อรวบรวมและสร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมขนาดใหญ่ของคนไทย เพื่อให้นักวิจัยใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการศึกษาวิจัยในอนาคตเกี่ยวกับสุขภาพของคนไทย ทำให้ประชาชนได้รับการวินิจฉัย การรักษาอย่างจำเพาะและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ศาสตราจารย์กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) และ รองศาสตราจารย์ ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยด้านจีโนมิกส์  ทั้งใน และต่างประเทศ กว่า 200 คน เข้าร่วมการประชุม

โอกาสนี้ ศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล กล่าวว่า การดำเนินงานของแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในการร่วมผลักดันแผนฯ ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดบริการ การรักษาที่มีความแม่นยำสูง การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและการให้บริการการแพทย์จีโนมิกส์จึงมีความจำเป็น ทั้งการจัดตั้งศูนย์บริการทดสอบทางการแพทย์จีโนมิกส์ การถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของอาสาสมัครไทยภายใต้โครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย และการพัฒนาระบบชีวสารสนเทศ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค การออกแบบแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพ การทำนายโอกาสการเกิดโรค รวมไปถึงการต่อยอดเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านจีโนมิสก์และชีวสารสนเทศให้เพียงพอ และเชื่อมั่นว่าการจัดตั้ง “ศูนย์กลางกำลังคนระดับสูงด้านชีวสารสนเทศ” นั้น จะเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านชีวสารสนเทศของประเทศไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม

ด้าน ศาสตราจารย์กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ กล่าวเน้นย้ำถึงการดำเนินงานของกองทุนส่งเสริม ววน. ว่า ได้จัดสรรงบประมาณ 2000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนโครงการ genomics Thailand เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีด้านจีโนมิกส์ในประเทศไทย และสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นท้าทายหลายประการที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข เช่น การขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านจีโนมิกส์ การขาดความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคเอกชน การขาดกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่รองรับการวิจัยด้าน genomics เป็นต้น จึงได้เกิดการหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ร่วมกับ ทปอ. สกสว. บพค. จนได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าควรจัดตั้ง “ศูนย์กลางกำลังคนระดับสูงด้านชีวสารสนเทศ” ของประเทศไทย เพื่อรวบรวมผู้เชี่ยวชาญ พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะสูง การผลักดันการกำหนดมาตรฐานข้อมูล genomics ระดับประเทศ รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา ให้เกิดการใช้ประโยชน์ในภาคการผลิตและภาคบริการ

ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล กล่าวถึงการดำเนินงานของ "แผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย ว่า นับตั้งแต่ปี2563 เป็นต้นมา สกสว.ได้จัดสรรงบประมาณด้าน ววน. ให้มีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย ซึ่งเน้นการสร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมคนไทยจำนวน 50,000 ราย เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลที่สำคัญในการแพทย์ สาธารณสุข และการปรับปรุงระบบบริการสุขภาพของประชาชน โดยมีการส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลพันธุกรรมและการลงทุนในอุตสาหกรรมการแพทย์ บริการ และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกองทุนส่งเสริม ววน. ได้เน้นพัฒนาการวิจัยในด้านการแพทย์จีโนมิกส์ในกลุ่มโรคต่างๆ ได้แก่ มะเร็ง โรคหายาก โรคติดเชื้อ โรคไม่ติดต่อ และโรคแพ้ยา โดยให้ความเห็นว่าความท้าทายสำคัญในปัจจุบันของประเทศไทยด้านชีวสารสนเทศ คือ การผลักดันส่งเสริมในด้านการพัฒนาบุคลากรด้านชีวสารสนเทศ ตลอดจนนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางพันธุศาสตร์ที่ทันสมัย และได้มาตรฐาน เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์ของประเทศไทยในอนาคต

สำหรับการดำเนินการด้านจีโนมิกส์ในปัจจุบัน ดำเนินการโครงการสำคัญในมิติต่าง ๆ  อาทิ โครงการการศึกษาพันธุศาสตร์ จีโนมระดับประชากร จำนวน 50,000 คน การสร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมอ้างอิงของไทย เพื่อต่อยอด งานวิจัยและบริการด้านการแพทย์จีโนมิกส์ และ การศึกษากลุ่มผู้ป่วยหลายกลุ่มโรคที่สามารถศึกษาระยะยาวแบบไปข้างหน้า ฯ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นําด้าน Genomic medicine ระดับอาเซียน ภายใน 5 ปี อีกทั้งให้ประชาชนไทยสามารถเข้าถึงบริการด้าน Genomic medicine อย่างมีคุณภาพต่อไป

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ร่วมกับภาคี Dow & Thailand Mangrove Alliance เปิดใช้งานและจัดอบรมระบบติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนา 1.9 ล้านบาท จากกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) เพื่อเป็นเครื่องมือใหม่สำหรับเจ้าหน้าที่และประชาชนในการติดตาม เฝ้าระวัง และป้องกันการบุกรุกป่าชายเลนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เริ่มใช้งานได้แล้ววันนี้

ระบบติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนนี้ใช้ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม Sentinel-2A/2B และ ดาวเทียม Landsat-8/9 นำมาวิเคราะห์จุดเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลน ด้วยการสร้างแบบจำลองเชิงพื้นที่ร่วมกับการคัดกรองข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมหลายช่วงเวลาและข้อมูลภูมิสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA การใช้ระบบดังกล่าวจะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถวางแผนและบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนได้ดียิ่งขึ้น โดยสามารถตรวจสอบและคัดกรองก่อนส่งข้อมูลไปยังเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในพื้นที่ ยิ่งไปกว่านั้นหากประชาชนพบเห็นการบุกรุก หรือตัดไม้ทำลายป่าชายเลน ก็สามารถร่วมแจ้งเหตุผ่านทางระบบนี้ได้เช่นกัน

ล่าสุด ได้เปิดระบบใช้งานจริงแล้ว โดยมีเจ้าหน้าที่กว่า 70 คน ผ่านการอบรมการใช้งานระบบในครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2566 โดยจะมีการอบรมเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง และมีแผนจะประชาสัมพันธ์วิธีการใช้งานเพื่อเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถรายงานการบุกรุกป่าชายเลนทั่วประเทศได้ด้วยแผนที่และภาพถ่ายจากดาวเทียมต่อไป

นางภรณี กองอมรภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า “Dow เป็นบริษัทนวัตกรรมซึ่งเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยความเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และความร่วมมือ เรามีความมุ่งมั่นในการต้านโลกร้อนด้วยการอนุรักษ์ป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพสูง  Dow จึงยินดีที่ได้ทำงานร่วมกับ ทช. ในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมในครั้งนี้ นอกจากนี้ ระบบติดตามพื้นที่ป่าจากภาพถ่ายดาวเทียมยังจะช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแจ้งการบุกรุกป่าชายเลนทั่วประเทศให้ ทช. ทราบได้อย่างทันท่วงที”

นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า “กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ยินดีที่บริษัทเอกชนเช่น Dow ได้เข้ามาสนับสนุนและทำงานร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบบดังกล่าวจะช่วยประหยัดงบประมาณและเวลาในการจัดกำลังเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปสำรวจข้อมูลภาคพื้นดิน เนื่องจากข้อมูลภาพดาวเทียมสามารถถ่ายภาพได้เป็นบริเวณกว้าง มีความเป็นปัจจุบัน รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำฐานข้อมูลการบริหารจัดการการติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและเข้าใช้งานระบบติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ได้ที่ https://change.dmcr.go.th/main

X

Right Click

No right click