ผุด “กางเกงช้าง Eleverse (อีเลเวิร์ส)” ตอบโจทย์คนยุคใหม่ ด้วยดีไซน์ที่เข้าถึงง่าย ไม่ซ้ำใคร

“แอล ดับเบิลยู เอส” แนะ 5 แนวทางในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้สภาวะที่เผชิญกับภาวะโลกร้อนในปัจจุบันและอนาคต

นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัทวิจัยและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือบริษัท แอล พี เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) ให้ความเห็นถึงแนวทางการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ทั้งโครงการประเภทที่อยู่อาศัยและอาคารในเชิงพาณิชย์ ภายใต้สถานการณ์ที่ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะโลกร้อน (Global Warming) ที่ทำให้สภาพอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นภาวะที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อวิถีชีวิตและการอยู่อาศัยของผู้คนในสังคม บริษัทอสังหาริมทรัพย์ในฐานะผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยและอาคารประเภทต่างๆ เพื่อการใช้งานของผู้คนในสังคมจำเป็นที่จะต้องปรับกลยุทธ์และแนวทางในการพัฒนาโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยแนวทางในการพัฒนาโครงการเพื่อให้ตอบโจทย์กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันและอนาคตประกอบด้วย 5 แนวทางหลักได้แก่

1.การประเมินความเสี่ยงของโครงการที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

ผู้ประกอบการอสังหาฯ ควรทำการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการที่จะพัฒนาโดยสามารถใช้เครื่องมือหรือมาตรฐานต่างๆ เพื่อช่วยในการประเมินความเสี่ยง เช่น การใช้มาตรฐานการจัดการความเสี่ยง ISO 31000 ช่วยในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และผลที่ตามมาจากภัยพิบัติต่างๆ เช่น พายุ คลื่นความร้อน ภัยแล้ง ไฟป่า นอกจากนี้ยังสามารถพิจารณาจากสถานที่ตั้ง การออกแบบ อายุการใช้งานของอาคาร ตลอดจนความต้องการของผู้ใช้งานอาคารได้ด้วย

2.กำหนดมาตรการการลดทอนผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ (Mitigation) 

ผู้ประกอบการสามารถที่จะพัฒนาโครงการโดยใช้มาตรการที่บรรเทาหรือลดการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยแนวทางในการพัฒนาอาคารภายใต้แนวคิดอาคารประหยัดพลังงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอาคาร รวมไปถึงบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรภายในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่อจากปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น โดยแนวทางในการทำงานประกอบด้วย

 

2.1 กำหนดเป้าหมายและดำเนินการลดการใช้พลังงานและน้ำภายในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้พลังงานและการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสามารถลดปริมาณการใช้พลังงาน ลดค่าใช้จ่าย และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ และระบบการระบายอากาศ สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ ที่ใช้พลังงานและน้ำต่ำ

2.2 กำหนดแผนการตรวจสอบการใช้พลังงานอาคาร ปรับปรุง และซ่อมบำรุงรักษาระบบอย่างสม่ำเสมอ

2.3 เลือกใช้พลังงานทดแทน เพื่อส่งเสริมการลดการใช้พลังงานอาคาร

2.4 กำหนดมาตรการบริหารจัดการขยะภายในโครงการเพื่อลดการนำออกของขยะ ซึ่งทำให้เกิดการใช้พลังงานความร้อนในการย่อยสลายขยะ และลดการฝังกลบของขยะชุมชนเมือง

2.5 กำหนดมาตราการรับมือภัยพิบัติ เช่น การเกิดน้ำท่วม ภัยแล้ง การขาดแคลนน้ำใช้ 

3.กำหนดมาตรการในการพัฒนาโครงการให้สามารถอยู่ในสภาวะที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงได้ภายใต้แนวคิดของการออกแบบอาคารแบบอาคารเขียว (Green Building) ซึ่งมีแนวทางในการออกแบบดังต่อไปนี้

3.1 การออกแบบและพัฒนาโครงการ โดยออกแบบผังอาคาร กรอบอาคาร ระบบประกอบอาคารอาคาร และเลือกใช้วัสดุทดแทน ที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้อาคารสามารถปรับตัวตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปได้

3.2 การลงทุนใช้เทคโนโลยีอาคารที่ส่งเสริมให้การบริหารอาคารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การออกแบบอาคารอัจฉริยะการติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดปริมาณการระบายอากาศ หรือคุณภาพอากาศ เป็นต้น

3.3 การออกแบบผังรวมโครงการ เพื่อลดการเกิดเกาะความร้อนในเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียว และเลือกใช้วัสดุปูพื้นดาดแข็งที่ไม่สะสมความร้อน

3.4 การออกแบบส่วนกลางที่ส่งเสริมการใช้ขนส่งสาธารณะและพาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการควรมีการออกแบบทางเท้าเพื่อส่งเสริมการเดินเท้า ส่งเสริมการใช้ขนส่งสาธารณะและเลือกใช้รถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น การอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้รถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีจุดจอดรถยนต์ ECO รถยนต์ไฟฟ้า โดยจัดพื้นที่จอดรถไว้ใกล้กับทางเข้าออกอาคารและมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ชาร์ตไฟฟ้า การจัดให้มีพื้นที่จอดจักรยาน และห้องอาบน้ำ การจัดให้มีรถยนต์รับส่งจากขนส่งสาธารณะมายังโครงการ

4.สร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ ลูกค้า และคู่ค้า เพื่อกำหนดเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

การวางแผนบริหารจัดการอาคารจะไม่มีทางสำเร็จเลยหากปราศจากความร่วมมือจากผู้ใช้งานภายในโครงการ ทั้งเจ้าของโครงการ ผู้เช่า เจ้าหน้าที่ หรือแม้กระทั้งชุมชนโดยรอบโครงการ ซึ่งผู้บริหารจัดการโครงการจะต้องสร้างเครือข่ายให้เกิดการทำงานร่วมกัน ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของมาตรการต่างๆของโครงการ เช่น การส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้มีการแยกขยะภายในโครงการ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับความยั่งยืน

5.เรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ในท้ายที่สุดนี้ โครงการจะต้องมีการติดตามผลการดำเนินการ การประเมินผล ซึ่งผู้บริหารจัดการอาคารต้องศึกษาหาความรู้โดยอาจดูจากแนวโน้มต่างๆ งานวิจัย การติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศ รวมถึงการสำรวจความเห็นผลดำเนินการจากทุกภาคส่วนทั้งผู้เช่า เจ้าหน้าที่ และพนักงาน เพื่อใช้ในการปรับปรุงมาตรการให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ มากขึ้น

จากผลการศึกษาของ Global Climate Risk จาก Germanwatch ระบุว่าประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับ 9 ของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติมากที่สุดจากภาวะโลกร้อน และหากอุณหภูมิยังสูงขึ้นแบบนี้ต่อไป ภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ.2050) กรุงเทพมหานครทั้งเมืองอาจจะเกิดน้ำท่วมถาวรจากการที่ระดับน้ำทะเลสูงตัวขึ้นเอ่อล้นเข้าสู่ตัวเมืองจากชายฝั่ง จากผลการศึกษาดังกล่าว จำเป็นที่ประเทศไทยต้องมีแนวทางในการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมที่สำคัญในการพัฒนาเมืองจากแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งจากรายงานล่าสุดของกระทรวงพลังงานพบว่า ปี พ.ศ.2566 การใช้พลังงานไฟฟ้าในภาคพาณิชยกรรม และที่พักอาศัยมีการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมกันสูงถึง 50.6% ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศ ดังนั้นการพัฒนาอาคารทั้งอาคารในเชิงพาณิชย์และอาคารที่อยู่อาศัยให้สามารถประหยัดพลังงานได้จะเป็นประโยชน์และมีส่วนช่วยในการลดภาวะโลกร้อนได้

“ภาวะโลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัว เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตระหนักถึงปัญหาและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ผู้ประกอบการอสังหาฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาคสังคมที่สามารถจะเข้ามามีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหานี้ได้ การปรับกลยุทธ์และแนวทางในการพัฒนาโครงการโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมโดยการนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อสร้างอาคารและที่อยู่อาศัยที่ประหยัดพลังงานจึงเป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบการอสังหาฯ ในการพัฒนาโครงการภายใต้แนวคิดที่รับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน” นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าว

ไทยน้ำทิพย์ ผู้นำอุตสาหกรรมเครื่องดื่มในประเทศไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยบูรพา (คณะวิศวกรรมศาสตร์) ลงนามบันทึกความเข้าใจพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ร่วมกัน เปิดโอกาสให้นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาศึกษาดูงานและปฏิบัติงานในโรงงานผลิตของไทยน้ำทิพย์ ที่มีการดำเนินการและได้การรับรองมาตรฐานระดับโลก พร้อมทั้งพัฒนาหลักสูตรอบรมระยะสั้นตามความต้องการพัฒนาบุคลากรของไทยน้ำทิพย์ เพิ่มทักษะความรู้เฉพาะทางด้านวิศวกรรม และสามารถเก็บหน่วยกิตในการศึกษาต่อเพื่อได้รับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยบูรพาต่อไป สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของไทยน้ำทิพย์ที่ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานความยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการมอบโอกาสในการพัฒนาและเติบโตของพนักงานควบคู่ไปกับการเติบโตของธุรกิจ และส่งเสริมการยกระดับบุคลากรของไทยให้มีความรู้ ความสามารถ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

คุณชาญวิทย์ ชรินธร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส-ซัพพลายเชน บริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า “ไทยน้ำทิพย์ มีโรงงาน 5 แห่ง ที่ทำหน้าที่ผลิตเครื่องดื่มแบรนด์ระดับโลกและเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งมอบความสุขและความสดชื่นให้กับผู้บริโภคในประเทศไทย เรามีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน จึงเป็นที่มาของความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ เพราะการยกระดับมาตรฐานการทำงานและสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ นอกจากจะส่งเสริมให้การดำเนินธุรกิจก้าวหน้าทัดเทียมนานาชาติแล้ว ยังเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของไทยต่อไปในอนาคต การร่วมมือกันระหว่างไทยน้ำทิพย์และมหาวิทยาลัยบูรพา จะนำมาซึ่งประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญ และโอกาสในการศึกษาจากการลงมือทำงานในธุรกิจที่มีมาตรฐานการผลิตระดับโลก ไทยน้ำทิพย์ มีความยินดีและภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนานิสิตให้มีความรู้ ความสามารถ และพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยต่อไป”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณยศ คุรุกิจโกศล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า “การบูรณาการความเชี่ยวชาญระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและภาคเอกชน จะช่วยยกระดับมาตรฐานการพัฒนานิสิตให้มีความรู้และทักษะรอบด้าน ทั้งความรู้ในเชิงวิชาการและประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญจริง ความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ จะช่วยผลักดันการพัฒนานิสิตให้มีความพร้อมสำหรับการทำงานในอนาคต ต่อยอดความรู้ผ่านการศึกษาดูงานและฝึกประสบการณ์จริงในโรงงานผลิตของไทยน้ำทิพย์ในรูปแบบสหกิจศึกษา และร่วมกันศึกษากระบวนการผลิตหรือกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดการต่อยอดการทำวิจัยและการพัฒนานวัตกรรม สำหรับนิสิตและบุคลากรของมหาวิทยาลัยบูรพาและบุคลากรของไทยน้ำทิพย์ เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในครั้งนี้ ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในการผนึกกำลังเพื่อผลักดันการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศ และยังช่วยส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มในไทยอีกด้วย”

พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง บริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กับ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ไทยน้ำทิพย์ โรงงานรังสิต โดยมี คุณชาญวิทย์ ชรินธร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส-ซัพพลายเชน บริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณยศ คุรุกิจโกศล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมลงนาม

แนะควรศึกษาข้อมูลก่อนใช้งานและใช้ Prompt มากกว่า 1 โมเดล เพื่อตรวจสอบความแม่นยำและป้องกันความผิดพลาด

พร้อมครองใจผู้บริโภคและพนักงาน ในฐานะบริษัทความงามอันดับ 1 ของโลก

เจนเนอราลี่ กรุ๊ป เผยภาพรวมธุรกิจปี 2023 เติบโตอย่างแข็งแกร่งจากการดำเนินงานภายใต้  กลยุทธ์ "Lifetime Partner 24: Driving Growth" กวาดรายได้รวมกว่า 2.7 แสนล้านบาท จากกลุ่มธุรกิจประกันชีวิต ธุรกิจประกันภัยทรัพย์สินและเบ็ดเตล็ด (P&C) พร้อมโชว์สถานะความมั่นคงทางด้านการเงิน แบ่งปันผล 1.28 ยูโรต่อหุ้น เตรียมกางแผนเดินหน้าเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานให้เติบโตอย่างยั่งยืน

นาย อาร์ช คอลมิ (Mr. Arsh Kaumi) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทเจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ กล่าวว่า “ผลประกอบการของเจนเนอราลี่ กรุ๊ป ในปี 2023 ที่ผ่านถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก อันเป็นผลมาจากการดำเนินธุรกิจภายใต้กลยุทธ์หลัก Lifetime Partner 24: Driving Growth ที่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีในการสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า ซึ่งเจนเนอราลี่ ไทยแลนด์เองก็ได้ยึดมั่นในหลักการนี้เช่นเดียวกัน

โดยในปี 2023 เจนเนอราลี่ กรุ๊ป มีรายได้จากผลการดำเนินงานรวม (Operating Result) อยู่ที่  6.9พันล้านยูโร หรือคิดเป็น 2.7 แสนล้านบาท (เพิ่มขึ้น 7.9%) โดยรายได้หลักมาจากประกันชีวิตและการเติบโตของธุรกิจประกันภัยทรัพย์สินและเบ็ดเตล็ด (P&C) คิดเป็นอัตราส่วนรวมอยู่ที่ 94.0% (Combined Ratio -1.4 p.p.) และมีผลกำไรขั้นต้นจากธุรกิจใหม่อยู่ที่ 5.78% (New Business Margin +0.09 p.p.) เบี้ยประกันภัยรับรวม (Gross Written Premium) อยู่ที่ 82.5 พันล้านยูโร คิดเป็น 3.25 ล้านล้านบาท (เพิ่มขึ้น 5.6%) อีกทั้งยังมีการเติบโตของธุรกิจประกันภัยทรัพย์สินและเบ็ดเตล็ด (P&C) อยู่ที่ 12.0% ทางด้านผลลัพธ์สุทธิที่ปรับปรุงใหม่ (Adjusted net result) สูงเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 3,575 ล้านยูโร คิดเป็น 1.41 แสนล้านบาท (เพิ่มขึ้น 14.1%) นอกจากนี้สถานะทางเงินทุนยังคงความแข็งแกร่งด้วยอัตราส่วนการดำรงเงินกองทุน (Solvency Ratio) อยู่ที่ 220% และเงินปันผลที่เสนอต่อหุ้นอยู่ที่ 1.28 ยูโร (เพิ่มขึ้น 10.3%) ภาพรวมผลประกอบการทั้งหมดจึงเป็นการยืนยันว่า เจนเนอราลี่ กรุ๊ป ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างมั่นคง ดูแลกลุ่มลูกค้าและผู้ถือหุ้นเป็นอย่างดี

สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2024 เจนเนอราลี่ กรุ๊ป ได้เตรียมวางแผนการดำเนินธุรกิจอย่างรัดกุมให้สอดรับกับนโยบายปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง ด้วยการใช้กลยุทธ์การปรับความสมดุลในพอร์ตของประกันชีวิต เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไรและจัดสรรเงินทุนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมและลดความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์ด้วยการแนะนำโซลูชันที่หลากหลายมาปรับใช้ในบริการ และมุ่งเน้นทำการตลาดผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ตามแนวคิด Lifetime Partner 24: Driving Growth

ทางด้าน มร. ฟิลลิป ดอนเนท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ (Generali Group CEO)  กล่าวว่า “จากผลการดำเนินงานในปี 2023 ที่ผ่านมา เจนเนอราลี่ กรุ๊ป ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก แสดงให้เห็นถึงแรงสนับสนุนจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงการดำเนินการตามกลยุทธ์ Lifetime Partner 24 : Driving Growth บริษัทฯ มีความมั่นคงทางด้านการเงินและมีสถานะทางเงินทุนที่แข็งแกร่ง จึงทำให้มีความสามารถในการจ่ายเงินปันผลของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่องทุกปี ส่งผลให้เจนเนอราลี่ กรุ๊ป อยู่ในสถานะทางการเงินที่ดีที่สุดในฐานะบริษัทประกันภัยและการบริหารจัดการสินทรัพย์ที่มีความหลากหลาย อีกทั้งจะได้รับประโยชน์จากการเข้าซื้อกิจการ Conning และ Liberty Seguros ซึ่งจะส่งผลให้เจนเนอราลี่ กรุ๊ป มีความแข็งแกร่งทางด้านการเงินมากยิ่งขึ้น  

เจนเนอราลี่ กรุ๊ป ขอขอบคุณทีมงานและตัวแทนสำหรับความพยายามเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์เชิงบวกเหล่านี้ สิ่งเหล่านี้เป็นรากฐานของเส้นทางการเติบโตที่ยั่งยืน”


หมายเหตุ อัตราค่าแลกเปลี่ยน 1 ยูโร เท่ากับ 39.45 บาท

เสริมแกร่งทีมขาย พลิกโฉมรูปแบบการขายประกัน ดันผลงานยอดขายตัวแทนโต 20%

นางสาวปิยะสุดา แคว้นนนทรีย์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานทรัพยากรบุคคล “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จัดโครงการ “พิมพ์ & Prove” เพื่อน้องผู้พิการทางสายตา โดยชวนผู้บริหารและพี่พนักงานจิตอาสากว่า 50 คน ร่วมแรง ร่วมใจกันจัดพิมพ์ และตรวจทานหนังสือเรียนจากแบบเรียนต่างๆ ที่น้องๆ สายตาปกติใช้ในห้องเรียน เพื่อส่งมอบให้น้องๆ ผู้พิการทางสายตาที่ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา ผ่านศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์

หนังสือเรียนสำหรับน้องๆ ผู้พิการทางสายตานี้ เคทีซีได้รับหนังสือเรียนต้นฉบับมาจากศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด โดยจิตอาสาพนักงานเคทีซีช่วยกันพิมพ์ และตรวจรูปแบบความถูกต้องของตัวอักษรให้ตรงกับหนังสือเรียนต้นฉบับ ซึ่งจะพิมพ์เป็นไฟล์ไมโครซอฟท์เวิร์ดรูปแบบตัวหนังสือเท่านั้น เมื่อพิมพ์และตรวจทานครบทุกเล่มแล้ว จะรวบรวมไฟล์ส่งให้ทางศูนย์ฯ เพื่อนำเข้าสู่โปรแกรม “อ่านหน้าจอ” แปลงตัวอักษรจากไฟล์ไมโครซอฟท์เวิร์ดเป็นรูปแบบเสียง เพื่อส่งต่อให้น้องผู้พิการทางสายตาได้เข้าถึงวิชาเรียนและสามารถเรียนร่วมกับนักเรียนสายตาปกติได้อย่างเท่าเทียม

งานดังกล่าวจัดขึ้น เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้องประชุมใหญ่ชั้น 11 อาคารสมัชชาวาณิช 2 สุขุมวิท 33

X

Right Click

No right click