สนับสนุนนวัตกรรมสินค้าและบริการ รุกตลาด CLMV และพัฒนา EEC

นางสาวสุตานันท์ อาวจำปา (กลางขวา) ผู้อำนวยการกลุ่มสื่อสารองค์กร กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้เกียรติรับมอบคู่มือท่องเที่ยว “เคทีซี ไกด์ซีน” (KTC Guidezine) จำนวน 1,850 เล่ม จากนางสาวเจนจิต ลัดพลี (กลางซ้าย) ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์กร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อนำไปส่งต่อให้กับเยาวชนในสถานศึกษาต่างๆ  ภายใต้การดูแลของกระทรวงฯ ได้ใช้ประโยชน์ในการค้นคว้าหาความรู้ ณ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ถนนพระราม 6 เมื่อเร็วๆ นี้

“เคทีซี ไกด์ซีน” เป็นหนังสือเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอารยธรรม สถาปัตยกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของชนพื้นเมืองรวม 6 เส้นทาง ได้แก่ เมือง เดลีและเมืองอัครา ประเทศอินเดีย / เมืองมอสโคว์ เมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก เส้นทางสายทรานไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย / ประเทศไอซ์แลนด์ / ประเทศอิหร่าน / ประเทศกรีซและประเทศตุรกี

ร่วมสร้างความเสมอภาคและขับเคลื่อนองค์กรผ่านวัฒนธรรมองค์กร DE&I

กว่าจะเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงกับหลากบททดสอบสุดหิน

พร้อมเดินหน้าสร้างสถิติใหม่ในปี 2567 ยืนหนึ่งวงการแฟชั่นรีเทลไทย

พร้อมมุ่งมั่นดูแลลูกค้าในทุกมิติ ทั้งเรื่องธุรกิจและการต่อยอดความมั่งคั่งได้ไม่มีสิ้นสุด

เน้นคนรุ่นใหม่ทำประกันออมทรัพย์ฉบับแรกได้ง่ายๆ 

การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) กำลังดำเนินไปอย่างรวดเร็วทั่วโลก หลายๆ ประเทศลงทุนเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล พร้อมทั้งวางแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติในการยกระดับระบบโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและพัฒนาระบบเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศ ประเทศเหล่านั้นเข้าใจดีว่าระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่งและระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่มั่นคง คือตัวแปรสำคัญที่จะช่วยนำพาประเทศก้าวผ่านความซับซ้อนของกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและยกระดับศักยภาพทางการแข่งขันให้กับประเทศชาติ ปัจจุบัน ภูมิภาคอาเซียนยังคงมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วและคึกคักที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับระบบเศรษฐกิจดิจิทัลภายในภูมิภาคนี้ที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

ด้วยจุดเด่นด้านยุทธศาสตร์เพื่อเป็นศูนย์กลางภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทย จึงเป็นแกนนำหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับภูมิภาค ทั้งยังเป็นมีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของภูมิภาคนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2559 รัฐบาลไทยได้ประกาศแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะเวลา 20 ปี หรือ ‘ประเทศไทย 4.0’ โดยมีเป้าหมายในการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาธุรกิจมูลค่าสูง ผลักดันให้ประเทศได้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง และยกระดับความสามารถทางการแข่งขันโดยรวม โดยรัฐบาลไทยเดินหน้าผลักดันกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง  เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางอุตสาหกรรมและยกระดับประเทศไทยไปสู่การเป็นหนึ่งในประเทศรายได้สูง

เป้าหมายด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของประเทศไทย

ในการเดินหน้ายกระดับความเป็นอัจฉริยะให้กับทุกอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนเป้าหมายไปสู่รัฐบาลดิจิทัล ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ และผลักดันประเทศไทยขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน รัฐบาลไทยได้จัดสรรงบประมาณลงทุนปีละหนึ่งหมื่นล้านบาท เพื่อจัดตั้งคลังข้อมูลภาครัฐ พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีล้ำสมัย อาทิ Big Data และ AI มาใช้ อย่างไรก็ตาม การบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลยังคงมีอุปสรรคที่ทำให้เป็นไปได้ยาก  

เปลี่ยนจากระบบแยกส่วนการทำงาน ไปสู่การใช้งานแบบรวมศูนย์ เพื่อต้นทุนรวมที่ต่ำลง

ประเทศไทยมีคลังข้อมูลภาครัฐกว่า 300 แห่ง ซึ่งมีสถาปัตยกรรมโครงสร้างระบบการจำลองเสมือน (virtualization) ที่แยกส่วนแบบเก่า การใช้งานในแบบกระจัดกระจายกันนี้ส่งผลให้เกิดปัญหาที่มีข้อมูลบางส่วน สามารถเข้าถึงได้เฉพาะกลุ่ม หลายฝ่ายไม่สามารถเข้าถึงชุดข้อมูลเดียวกันได้ (data silos) ส่งผลให้การใช้งานทรัพยากรได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันการใช้งานและการบำรุงรักษาคลังข้อมูลจำนวนมากนั้นยังมีค่าใช้จ่ายสูงตามมา รัฐบาลจึงมองหาแนวทางในการจัดตั้งระบบคลาวด์กลางของภาครัฐเพื่อรวบศูนย์การใช้งานคลังข้อมูลเหล่านี้ และเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเดิมที่มีอยู่แล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

บอกลาระบบ Virtualization แบบเก่า พร้อมอ้าแขนรับระบบคลาวด์

รัฐบาลไทยจึงมองหาเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมล้ำสมัย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ระบบการขนส่งอัจฉริยะ และอุตสาหกรรม 4.0  ระบบการจำลองเสมือน (virtualization) ของคลังข้อมูลแบบดั้งเดิม ไม่สามารถรองรับความต้องการเหล่านี้ได้ทัน รัฐบาลไม่ได้ต้องการแค่เพียงย้ายทรัพยากรไปสู่ระบบคลาวด์ แต่กำลังมองหาบริการระบบคลาวด์ที่ล้ำสมัยและครบวงจร ที่จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของทรัพยากร มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยของข้อมูล และช่วยผลักดันการเติบโตของระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ

การสร้างมาตรฐานให้กับอธิปไตยทางดิจิทัล และการมองหาการสนับสนุนด้านการจัดการและบำรุงรักษา

รัฐบาลไทยมีเป้าหมายที่จะสร้างอธิปไตยทางดิจิทัล (Digital Sovereignty) ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายนี้ได้นั้น มาตรฐานที่เคร่งครัด ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคลาวด์ที่สามารถรองรับการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่และมีประสิทธิภาพสูง และการลงทุนมหาศาลด้านการจัดการและซ่อมบำรุง (O&M) ในระยะยาวล้วนเป็นสิ่งจำเป็น แต่ภาครัฐยังคงขาดผู้เชี่ยวชาญและทรัพยากรอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนามาตรฐานและสอดคล้องกับข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อให้คลาวด์มีความมั่นคงและเสถียรภาพสูง หรือมีความเป็นอธิปไตยทางดิจิทัล รัฐบาลจึงต้องการผู้ให้บริการระบบคลาวด์ที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งมีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญมาอย่างยาวนาน สามารถกำหนดและนำมาตรฐานที่ได้รับการพัฒนามาอย่างสมบูรณ์มาใช้ได้งานได้ทันที และที่สำคัญ สามารถให้ความสนับสนุนด้านการจัดการและซ่อมบำรุงได้อย่างมีคุณภาพ เพื่อให้รัฐบาลสามารถจัดตั้งอธิปไตยทางดิจิทัลได้ตามเป้าหมาย

การใช้งานคลาวด์เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ศูนย์กลางด้านดิจิทัลของอาเซียน      

ระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (national government cloud) มีข้อกำหนดที่เคร่งครัดทั้งในด้านความมั่นคง การปฏิบัติตามมาตรการข้อบังคับทางกฎหมาย และคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการบริการ ผลิตภัณฑ์ Huawei Cloud Stack ได้รับเลือกให้เป็นแพลตฟอร์มที่ปลอดภัยสำหรับการวางระบบคลาวด์กลางภาครัฐ โซลูชัน Huawei Cloud Stack ซึ่งถูกนำไปใช้งานในหลายๆ หน่วยงาน ช่วยให้ลูกค้าทั้งหน่วยงานภาครัฐและองค์กร สามารถติดตั้งระบบคลาวด์แบบไฮบริดที่มีประสิทธิภาพสูง มั่นคง และปลอดภัย โดยระบบมีการพัฒนาทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัย มาตรการที่สอดคล้องกับกฎข้อบังคับทางกฎหมายของประเทศไทย และนวัตกรรมการบริการอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้งานคลาวด์ในเชิงลึกได้อย่างมั่นใจ และขับเคลื่อนการพัฒนาไปสู่ความเป็นอัจฉริยะได้เร็วยิ่งขึ้น  

  • อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

หัวเว่ยเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีคลาวด์เพียงรายเดียวที่มีพื้นที่การให้บริการ (region) ในประเทศไทย และ Huawei Cloud Stack คือโซลูชันคลาวด์แบบไฮบริดแห่งแรกของอุตสาหกรรมที่สามารถรองรับสมรรถนะโมเดลขนาดใหญ่ได้ Huawei Cloud Stack ยังใช้สถาปัตยกรรมโครงสร้างเดียวกับคลาวด์สาธารณะ (public cloud) ของหัวเว่ย และมีการอัปเกรดฟีเจอร์บริการไปพร้อมๆ กันทั้งสองระบบอย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบัน โซลูชัน Huawei Cloud Stack ให้บริการฟีเจอร์คลาวด์ที่สามารถใช้งานได้ทันทีมากกว่า 90 ฟีเจอร์ พร้อมด้วยโซลูชันที่หลากหลายรองรับความต้องการเฉพาะด้านของลูกค้าแต่ละราย ไม่เพียงเท่านั้น Huawei Cloud Stack ยังรองรับสมรรถนะรอบด้านแบบ full-stack ครอบคลุมตั้งแต่ Big Data, AI, โมเดลผานกู่ และบล็อกเชน จึงสามารถรองรับการพัฒนานวัตกรรมการบริการด้านคลาวด์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอนาคต     

  • ระบบคลาวด์แบบรวมศูนย์ที่ประกอบด้วยหลายพูล (Pool)

Huawei Cloud Stack ได้รับเลือกนำมาใช้เป็นระบบคลาวด์กลางภาครัฐเพื่อรองรับแอปพลิเคชันการทำงานของทุกกระทรวงในประเทศไทย โดยมีโซลูชัน ManageOne ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มด้านการบริหารจัดการระบบคลาวด์ของ Huawei Cloud Stack ทำหน้าที่บริหารจัดการ VMware resource pool เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐยังคงสามารถสร้างคุณค่าจากทรัพยากรเหล่านี้ได้ โดยแต่ละหน่วยงานยังคงมี Virtual Data Center (VDC) ของตนเองและสามารถเรียกใช้ทรัพยากรได้ตามต้องการ จึงเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดหาทรัพยากรไอทีให้ดียิ่งขึ้น

  • ลดค่าใช้จ่ายด้านการปฏิบัติการและการซ่อมบำรุง

ทีมงานระดับมืออาชีพของ Huawei Cloud Stack พร้อมให้บริการด้านการปฏิบัติการและการซ่อมบำรุง (O&M) รวมไปถึงความช่วยเหลือทางออนไลน์ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ข้อมูลด้านการปฏิบัติการและการซ่อมบำรุงต่าง ๆ จากศูนย์ข้อมูลในท้องถิ่นจะถูกเก็บไว้ภายในประเทศไทย กรณีเกิดปัญหา สามารถเข้าไปจัดการแก้ไขได้ในแบบเรียลไทม์ เมื่อเกิดข้อผิดพลาดในระบบ สามารถระบุตำแหน่งและดำเนินการแก้ไขได้ภายในไม่กี่นาที กระบวนการด้านการปฏิบัติการและ
การซ่อมบำรุงยังได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการปฏิบัติการลงได้มาก

ด้วยโซลูชัน Huawei Cloud Stack หน่วยงานภาครัฐสามารถใช้งานระบบคลาวด์กลางภาครัฐได้ภายใน 60 วัน ปัจจุบัน หลายหน่วยงานสามารถเข้าถึงบริการเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) ได้ภายในไม่กี่นาที รองรับการใช้งานบริการภาครัฐที่เพิ่มมากขึ้น แพลทฟอร์มระบบคลาวด์กลางภาครัฐรองรับการให้บริการแก่ 20 กระทรวง ครอบคลุมสำนักงานมากกว่า 219 แห่ง และระบบไอทีกว่า 3,065 ระบบ การใช้งานระบบคลังข้อมูลส่วนกลางนี้สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านไอทีลงได้ปีละกว่า 850 ล้านบาท ในขณะเดียวกันยังสามารถปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพการบริการภาคสาธารณะให้กับหน่วยงานภาครัฐของไทย ช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางด้านดิจิทัลแก่คนในประเทศ

การบริการสาธารณะด้านดิจิทัลที่เอื้อประโยชน์ต่อคนไทยมากขึ้น     

กรมการขนส่งทางบกพัฒนาโครงการสถานีขนส่งผู้โดยสารอัจฉริยะ ‘Smart Bus Terminal’ แพลทฟอร์มรถโดยสารอัจฉริยะที่เปิดให้ผู้ใช้งานทั่วประเทศสามารถเข้าถึงตารางรถโดยสารออนไลน์ในแบบเรียลไทม์ ช่วยให้การเดินทางในแต่ละวันง่ายขึ้น ในทำนองเดียวกัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้พัฒนาระบบแผนที่อาชญากรรมแบบหลายมิติ โดยเปลี่ยนจาก การออกตรวจพื้นที่มาใช้ระบบสแกน QR Code แทน จึงสามารถรายงานเหตุอาชญากรรมได้ในแบบเรียลไทม์ ระบบใหม่นี้ช่วยให้การสื่อสารระหว่างตำรวจและสาธารณะมีความง่ายขึ้น ไม่เพียงเท่านี้ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแพลทฟอร์มบริการการแพทย์ดิจิทัล (Digital Healthcare Platform) ที่สามารถวิเคราะห์และแสดงผลแนวทางการบริหารจัดการในสถานการณ์โรคระบาด โดยใช้ข้อมูลจากระบบภายในหน่วยงานและจากเครือข่ายสาธารณะ ความร่วมมือกันระหว่างศูนย์การแพทย์เพื่อปรับปรุงทรัพยากรทางการแพทย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเช่นนี้ ช่วยให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถปรับปรุงมาตรการป้องกันและควบคุมโรคระบาดได้ดียิ่งขึ้น  

ในฐานะศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในเส้นทางการค้าที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออกและตะวันตก สำหรับทิศทางก้าวต่อไปของประเทศไทยในอนาคต ซึ่งขับเคลื่อนด้วยแผนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 รัฐบาลไทยจะยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ควบคู่ไปกับการผลักดันนวัตกรรม ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม สร้างเมืองอัจฉริยะ และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะสร้างความสมดุลให้กับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการปกป้องสิ่งแวดล้อม พร้อมกับ
การขับเคลื่อนการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

หัวเว่ย จะยังคงอยู่เคียงข้างสนับสนุนประเทศไทยในการเดินหน้าสู่ยุคดิจิทัล โดยใช้ความเชี่ยวชาญอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้งในด้าน Big Data, AI, โมเดลผ่านกู่ และเทคโนโลยีคลาวด์แบบไฮบริด พร้อมทั้งเดินหน้าให้การสนับสนุนประเทศไทยในการยกระดับระบบนิเวศด้านคลาวด์ พัฒนาโซลูชัน Huawei Cloud Stack เพื่อเป็นแพลทฟอร์มทางด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่งให้กับประเทศไทย และช่วยเหลือรัฐบาลไทยและบริษัทต่างๆ ในการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI และแอปพลิเคชันการทำงานที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะด้านของแต่ละอุตสาหกรรม              

สร้างเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครด้วยแสงและสี พร้อมเปิดตัวฟิล์มขนาดมินิ "PHOTO SLIDE" รับหน้าร้อนนี้เพื่อให้ได้ภาพฟิล์มที่ดูพิเศษขึ้น

บ้านปู เน็กซ์ บริษัทลูกของบ้านปู ผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานสะอาดชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จับมือ อีโวลูชั่น ดาต้า เซ็นเตอร์ (EDC) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดาต้าเซ็นเตอร์ชั้นนำ เตรียมติดตั้งโซลูชันพลังงานสะอาดให้กับศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลหรือดาต้าเซ็นเตอร์ของ EDC ในไทยและเวียดนาม ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ พร้อมรองรับความต้องการด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) และดาต้าเซ็นเตอร์ที่เพิ่มขึ้นทั่วภูมิภาค พัฒนาธุรกิจให้ยั่งยืนและร่วมขับเคลื่อนสังคมไร้คาร์บอนไปด้วยกัน

ตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก*มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) 10.21% ในช่วงปี 2567 ถึง 2572 จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมคลาวด์คอมพิวติ้งที่ใช้ AI เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ในไทยจะเติบโตเฉลี่ยต่อปี 27% ในช่วงปี 2564 ถึง 2569** ความร่วมมือระหว่างบ้านปู เน็กซ์ และ EDC จะช่วยพัฒนาให้ธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศไทย

สำหรับอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศเวียดนาม มีส่วนสร้างการเติบโตให้เศรษฐกิจของประเทศเช่นกัน สอดรับทิศทางของภาครัฐที่ต้องการให้เศรษฐกิจดิจิทัลมีสัดส่วน 25% ของ GDP ภายในปี 2568*** โดยคาดว่าดาต้าเซ็นเตอร์ในเวียดนามจะขยายตัวเฉลี่ยต่อปี 37% ระหว่างปี 2564 ถึง 2569**** ในอนาคตทั้งไทยและเวียดนามจะกลายเป็นทำเลยุทธศาสตร์สำหรับนักลงทุนต่างชาติที่กำลังมองหาศูนย์กลางแห่งใหม่ในอาเซียนที่มีโครงสร้างพื้นฐานล้ำสมัย ทั้งด้านการจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงข่ายไฟเบอร์ ระบบการคมนาคมขนส่ง และพลังงานสะอาด

นายสมิทธิพร เศรษฐปราโมทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด กล่าวว่า “บ้านปู เน็กซ์ บริการโซลูชันพลังงานสะอาดให้กับหลากหลายอุตสาหกรรม ดำเนินธุรกิจอยู่ทั้งในประเทศไทยและเวียดนาม เราจึงพร้อมที่จะสนับสนุน EDC โดยนำเสนอระบบโซลาร์ รวมถึงโซลูชันพลังงานสะอาดอื่นๆ ที่ออกแบบอย่างเหมาะสม และตอบสนองความต้องการของธุรกิจได้อย่างครอบคลุม จึงมั่นใจได้ว่าดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกลจะใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ประหยัดค่าไฟฟ้า รวมทั้งลดการปล่อยคาร์บอน บ้านปู เน็กซ์ มีศักยภาพในการติดตั้งโซลูชันที่สามารถรองรับความต้องการพลังงานของดาต้าเซ็นเตอร์ได้ 100% หรือกว่า 30 เมกะวัตต์ สำหรับโครงการแห่งแรกในประเทศไทย และกว่า 50 เมกะวัตต์ สำหรับโครงการแห่งแรกในเวียดนาม”

นายดาร์เรน เว็บบ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีโวลูชั่น ดาต้า เซ็นเตอร์ กล่าวว่า “EDC มุ่งพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้าของเรามองหาเช่นกัน ปัจจุบันผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยคาร์บอน จึงจำเป็นต้องมีแหล่งพลังงานสะอาดขนาดใหญ่เข้ามาเป็นตัวช่วยในธุรกิจ โดยบ้านปู เน็กซ์ จะส่งมอบโซลูชันพลังงานสะอาดศักยภาพสูง เพื่อช่วยให้ EDC มีแหล่งพลังงานที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือให้บริการลูกค้าในดาต้าเซ็นเตอร์ของเราทั้งในไทยและเวียดนาม ซึ่งโครงการในสองประเทศนี้จะเป็นทำเลสำคัญที่เพิ่มศักยภาพให้กับโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ พร้อมรองรับความต้องการด้านดิจิทัลที่เติบโตขึ้น นอกจากนี้ ความร่วมมือกับบ้านปู เน็กซ์ จะช่วยเสริมแกร่ง EDC ในการพัฒนาและบริหารดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกลในภูมิภาคนี้ให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น”

ในอนาคต บ้านปู เน็กซ์ มีแผนที่จะนำโซลูชันพลังงานสะอาดอื่นๆ ไปเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานให้กับดาต้าเซ็นเตอร์ของ EDC ได้แก่ ระบบกักเก็บพลังงาน และการบริหารจัดการพลังงาน อาทิ ระบบทำความเย็น เป็นต้น


ข้อมูลอ้างอิง

* Asia-Pacific Data Center Market Size & Share Analysis - Growth Trends & Forecast up to 2029:  - https://www.mordorintelligence.com/industry-reports/asia-pacific-data-center-market 

** How Data Center Operators Can Win in South-East Asia – Kearney

https://www.kearney.com/service/digital-analytics/digital/article/-/insights/how-data-center-operators-can-win-in-southeast-asia

*** Vietnam holds potential in virtual digital economy -  https://english.mic.gov.vn/Pages/TinTuc/161654/Vietnam-holds-potential-in-virtual-digital-economy--Deputy-Minister.html

**** How Data Center Operators Can Win in South-East Asia – Kearney

https://www.kearney.com/service/digital-analytics/digital/article/-/insights/how-data-center-operators-can-win-in-southeast-asia

X

Right Click

No right click