รมว.พิมพ์ภัทรา สั่งการ ดีพร้อม ผนึกกำลัง บสย. และ 4 สถาบันการเงิน เพิ่มโอกาสให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุน แจ้งผลภายใน 7 วัน คาดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 8,000 ล้านบาท

เปิดประสบการณ์ใหม่โดนใจนักช้อป กิน ดื่ม – คิกออฟเดือน ก.พ. ด้วยแคมเปญรักษ์โลก

การพัฒนา SME อาจไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ก็มีปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของเอสเอ็มอีที่น่าสนใจที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาของผู้ประกอบการรายย่อยได้ เคล็ดลับหนึ่งที่สอดแทรกอยู่ในงานอบรมโครงการ “ตอกเสาเข็มเพื่อ SME” ปี 2567 ที่ทางศูนย์เซเว่น อีเลฟเว่น สนับสนุนเอสเอ็มอี ภายใต้การบริหารของซีพี ออลล์ หยิบยกขึ้นมาคือ “การสร้างแบรนด์” ได้จุดประกายให้เกิดคำถามต่อเนื่องที่เชื่อมโยงสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการรายย่อยอย่างมีนัยยะสำคัญ

ผศ.ดร.วราภรณ์ คล้ายประยงค์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญกลยุทธ์ SME หนึ่งในวิทยากร ได้ขยายความเรื่องของ “การสร้างแบรนด์” สิ่งที่ SME ควรรู้ก่อนที่จะปั้นแบรนด์ให้ปัง เพื่อพิชิตใจผู้บริโภคอย่างน่าสนใจ โดยกล่าวว่า ในปัจจุบันมีการแบ่งแยกประเภทลูกค้าตามพฤติกรรมของลูกค้า แทนแบ่งแยกตามอายุ (Generation) เนื่องจาก Digital เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการใช้ชีวิต และภาพเหล่านี้ยิ่งชัดเจนมากขึ้นหลังเหตุการณ์โควิด 19 โดยมีวางกรอบกลุ่มผู้บริโภคใหม่ดังนี้ กลุ่มที่น่าจับตามองคือกลุ่ม Generation C (Connected Generation) ซึ่งมีประมาณ 75% ของประชากรวัยทำงาน ต่างกับ Generation X, Y และ Z ในอดีต ตรงที่อายุไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ

Gen C กลุ่มนี้จึงไม่ได้ถูกจำกัดด้วยอายุ แต่มุ่งเน้นไปที่ทัศนคติและกรอบความคิดในการนำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับไลฟ์สไตล์ จากข้อมูล Parachute Digital. 2024 พบว่า กลุ่ม Gen C ส่วนใหญ่จะเสพข้อมูลผ่านเว็บไซต์โซเซียลมีเดีย โดย 42% ใช้แท็บเล็ตขณะดูทีวี และ 64% ของเวลาบนมือถือถูกใช้ไปกับ Application ต่างๆ เรียกว่า กลุ่ม Gen C มีความกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมในสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง โดยไม่เพียงแต่บริโภคเนื้อหาเท่านั้น แต่ยังสร้าง content ขึ้นมาด้วย

จากการวิจัยของ Think with Google พบว่า 90 % ของผู้บริโภค Gen C สร้างเนื้อหาบนโลกออนไลน์อย่างน้อยเดือนละครั้ง การแบ่งปันชีวิตกับโลกดิจิทัลผ่านเครือข่ายโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Twitter และ Instagram ความคิดสร้างสรรค์และกรอบความคิดดิจิทัลคือสิ่งที่ทำให้คน Gen C แตกต่างจากคนรุ่นอื่นๆ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คนเหล่านี้คือคนที่กิน นอน และหายใจผ่านสื่อดิจิทัล (ข้อมูลจาก : Appleton. 2024) ดังนั้น คนกลุ่มนี้จึงเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

เมื่อกลุ่ม Gen C มีขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการ SME หน้าใหม่จะทำอย่างไรเพื่อให้เข้าถึงคนกลุ่มนี้ หนึ่งในวิธีที่เห็นผลและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนก็คือ “การสร้างแบรนด์” โดยการสร้างแบรนด์ในสมัยนี้ง่ายและสะดวกสบายกว่าเมื่อก่อนมาก แบรนด์ที่ดีต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง

1.ทัศนคติในเชิงบวกกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง : การมองโลกในแง่ดีและสนับสนุนผู้บริโภคด้วยการสร้างมูลค่าเชิงบวกกับการขายที่ลำบากจะเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาความมั่นใจและสร้างความสัมพันธ์ในแบรนด์ เช่น ผู้ประกอบการจำหน่ายพลาสเตอร์ปิดแผล ซึ่งจะถูกใช้งานก็ต่อเมื่อเกิดบาดแผล หากผู้ประกอบการมีการนำข้อความดีๆหรือออกแบบลายที่ดูสดใส ก็จะช่วยสร้างอารมณ์และความรู้สึกที่ดีได้

2.มีความเป็นมิตร : ผู้บริโภคกำลังมองหาความไว้วางใจและมูลค่าในการซื้อสินค้า ที่มากกว่ามูลค่าทางตัวเงิน ผ่านการให้ความใส่ใจผู้บริโภค เช่น บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริการด้วยใจ ดังนั้นเรื่องของคุณภาพ ความปลอดภัย และความสะดวกจึงยังคงสำคัญ แม้ว่าจะมีความอ่อนไหวต่อราคาเพิ่มขึ้น เช่น ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่คนไม่สามารถออกมาจับจ่ายซื้อสินค้าได้ ผู้ประกอบการก็มีบริการจัดส่งแบบเดลิเวอรี่ หรือมีการสอบถามเพื่อแสดงความห่วงใย

3.ผสานเทคโนโลยีทั้งในการทำงานและชีวิตประจำวัน : เมื่อกลุ่มผู้บริโภคส่วนใหญ่อยู่ในตลาดออนไลน์ ผู้ประกอบการก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะเข้าไปสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักผ่านช่องทางนี้ ซึ่งปัจจุบันมีหลากหลายแพลตฟอร์มออนไลน์ให้เลือกทำตลาด และมีค่าใช้จ่ายไม่สูง เหมาะกับผู้ประกอบการ SME หน้าใหม่ให้ได้ทำตลาดและสร้าง  แบรนด์ โดยผู้ประกอบการจะต้องศึกษารูปแบบและวิธีการขายในแต่ละแพลตฟอร์มให้ดี เพื่อสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

4.ให้ความสำคัญกับงานและชีวิต : การที่กลุ่ม Gen C เข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับธรรมาภิบาลขององค์กร ดังนั้น หากแบรนด์มีการสร้างการตระหนักรู้ถึงความใส่ใจขององค์กรที่มีต่อพนักงาน ก็จะยิ่งทำให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น เพราะความสุขของพนักงานที่มีต่อการทำงานจะสะท้อนออกมาผ่านตัวสินค้าและบริการนั่นเอง

5.ให้ความสำคัญกับสังคม : ผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และต้องการเห็นธุรกิจดำเนินการด้วยความรับผิดชอบ กลุ่ม Gen C มักจะค้นหาข้อมูลของผู้ประกอบการและที่มาของสินค้าว่า สร้างผลกระทบในเชิงลบต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อมหรือไม่ รวมถึงมีการทำกิจกรรมหรือโครงการดีๆ เพื่อตอบแทนสังคมหรือรักษาสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญอย่างมาก

หากดำเนินการสร้างแบรนด์ครบทั้ง 5 เรื่องแล้ว ลำดับถัดไปคือการเลือกช่องทางในการสร้างแบรนด์ ผู้ประกอบการควรเลือกจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่มีการการันตีคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันมีช่องทางออนไลน์ที่เป็นสื่อกลางในการขายสินค้าจำนวนมาก หากผู้ประกอบการสร้างแบรนด์ผ่านช่องทางขายออนไลน์ของตัวเอง ก็สามารถการันตีสินค้าได้เช่นกัน และต้องมีการสื่อสารกับลูกค้าอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความพึงพอใจ

“แอล ดับเบิลยู เอส” ระบุราคาที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลปี 2566 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5.49 ล้านบาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 24% จากปี 2565 ในขณะที่จำนวนหน่วยเปิดตัวโครงการใหม่ ปี 2566 ลดลง 4% แต่มูลค่าการเปิดตัวโครงการใหม่เพิ่มขึ้น 18%

ในขณะที่ราคาที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ปี 2567 มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 5-10% ขึ้นอยู่กับทำเล ผลจากต้นทุนที่สูงขึ้นทั้งราคาที่ดินที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากพื้นที่ในการพัฒนาที่ดินในทำเลใกล้แนวรถไฟฟ้า และสิ่งอำนวยความสะดวกมีจำกัด ผนวกกับต้นทุนราคาวัสดุก่อสร้าง ต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในปี 2567

นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัทวิจัยและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือบริษัท แอล พี เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยรายงานการเปิดตัวที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ปี 2566 ว่า ในปี 2566 มีจำนวนโครงการเปิดตัวใหม่ในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ทั้งหมด 437 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการเปิดตัวโครงการทั้งสิ้น 544,265 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% และ 18% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับจำนวนโครงการที่เปิดตัวทั้งสิ้น 394 โครงการ และมูลค่าการเปิดตัวโครงการ 459,374 ล้านบาท ในปี 2565 ในขณะที่หน่วยเปิดตัวโครงการในปี 2566 มีจำนวนหน่วยเปิดตัวใหม่ทั้งสิ้น 99,012 หน่วย ลดลง 4% เมื่อเทียบกับจำนวนหน่วยเปิดตัว 103,466 หน่วยในปี 2565 ในขณะที่อัตราการขายเฉลี่ย ณ วันเปิดตัวโครงการในปี 2566 อยู่ที่ 17% ของมูลค่าโครงการที่เปิดตัว ลดลงจากปี 2565 ที่มีอัตราการขายเฉลี่ย ณ วันเปิดตัวที่ 20%

จำนวนโครงการและมูลค่าโครงการเปิดตัวที่เพิ่มขึ้นในปี 2566 เทียบกับปี 2565 ในขณะที่จำนวนหน่วยเปิดตัวในปี 2566 ลดลงเมื่อเทียบกับจำนวนหน่วยเปิดตัวในปี 2565 เนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยต่อหน่วยในปี 2566 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับราคาที่อยู่อาศัยต่อหน่วยในปี 2565 ผนวกกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ได้มีการเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยระดับราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการเปิดตัวโครงการในระดับราคาที่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ทำให้มูลค่าการเปิดตัวโครงการปรับตัวสูงขึ้น เมื่อเทียบกับจำนวนหน่วยเปิดตัวที่ลดลง

โดยการเปิดตัวโครงการใหม่ในปี 2566  เป็นการเปิดตัวคอนโดมิเนียม 96 โครงการ เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับจำนวนการเปิดตัวโครงการ 91 โครงการในปี 2565 ในขณะที่จำนวนหน่วยเปิดตัวอวยู่ที่  46,464 หน่วย ลดลง 10% เมื่อเทียบกับจำนวนหน่วยเปิดตัวที่ 51,680 หน่วย ในปี 2565 และคิดเป็นมูลค่าการเปิดตัว 155,968 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15%  เมื่อเทียบกับมูลค่าการเปิดตัวโครงการ 135,297 ล้านบาท ในปี 2565 โดยมีอัตราการขาย ณ วันเปิดตัวที่ 26% ลดลงจากอัตราการขาย ณ วันเปิดตัวในระยะเดียวกันของปี 2565 ที่  29% โดยที่ราคาขายเฉลี่ยของอาคารชุดพักอาศัย ในช่วงปี 2566 อยู่ที่ 3.36 ล้านบาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 28.24% จากราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยที่ 2.62 ล้านบาท ในปี 2565

และเป็นการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยระดับราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท  234 โครงการ เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับจำนวนโครงการที่เปิดตัวในปี 2565 ที่ 221 โครงการ ในขณะที่จำนวนหน่วยเปิดตัวในปี 2566 อยู่ที่  43,410 หน่วย ลดลง 3% เมื่อเทียบกับจำนวนหน่วยเปิดตัวในปี 2565 ที่มีจำนวนหน่วยเปิดตัวทั้งสิ้น 44,568 หน่วย ในขณะที่มีมูลค่าการเปิดตัว 192,264 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับมูลค่าการเปิดตัวโครงการใหม่ 180,462 ล้านบาท ในปี 2565 โดยมีราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยที่ 7.39 ล้านบาทต่อหน่วยในช่วงปี 2566 เพิ่มขึ้น 18% จากราคาขายเฉลี่ยที่ 6.26 บาทต่อหน่วย ในปี 2565 

ส่วนการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยที่ระดับราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปมีทั้งสิ้น 116 โครงการ จำนวน 9,138 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 196,033 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  33% , 24% และ 36% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับการเปิดตัวโครงการ 87 โครงการ จำนวน 7,396 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 144,246 ล้านบาท ในปี 2565 โดยมีอัตราการขาย ณ วันเปิดตัวเฉลี่ยที่ 11% ลดลงจากอัตราการขายเฉลี่ยที่ 18% ในระยะเดียวกันของปี 2565 โดยที่ระดับราคาขายเฉลี่ยของบ้านระดับราคาเกิน 10 ล้านบาทอยู่ที่ 21.5 ล้านบาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 10.25% จากราคาเฉลี่ยที่ 19.5 ล้านบาทต่อหน่วย ในปี 2565 โดยที่มี 9 โครงการบ้านพักอาศัยที่เปิดตัวบ้านพักอาศัยที่ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาทและ ราคาเกินกว่า 10 ล้านบาทอยู่ในโครงการเดียวกัน, นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าว

การเปิดตัวโครงการจำนวนมากในปี 2566 ทำให้มีจำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยคงค้างในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล (Inventory) ณ สิ้นปี 2566 ประเภทบ้านพักอาศัยจำนวน 145,634 หน่วย เพิ่มขึ้น 12.6% จากจำนวนบ้านพักอาศัยคงค้าง 129,298 หน่วย ณ สิ้นปี 2565 ในขณะที่คอนโดมิเนียมมีหน่วยคงค้าง 84,200 หน่วย ลดลง 1.7% เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีหน่วยคงค้าง 85,675 หน่วย จำนวนหน่วยคงค้างดังกล่าวทำให้บ้านพักอาศัย ต้องใช้ระยะเวลาในการขายประมาณ 4-5 ปีและกลุ่มคอนโดมิเนียม ใช้เวลาในการขายประมาณ 1-2 ปี

ในขณะที่จำนวนและมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งประเทศ(Demand) LWS คาดการณ์มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในปี 2566 อยู่ที่ 1.06-1.08 ล้านล้านบาท หรือ ทรงตัวใกล้เคียงกับปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1-2 ในปี 2566 เทียบกับปี 2565 โดยในปี 2565 มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิรวม 1.06 ล้านล้านบาท โดยที่การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ 9 เดือนแรกปี 2566 ตามรายงานของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า มีจำนวนหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งสิ้น 270,650 หน่วย ลดลง 4.2% จากจำนวนการโอนกรรมสิทธิ์ 282,648 หน่วย ของ 9 เดือนแรกปี 2565 ในขณะที่มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ 9 เดือนแรกอยู่ที่  766,791 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.6% จากมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ 755,178 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ 9 เดือนแรกของปี 2565 โดยที่ราคาเฉลี่ยในการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 อยู่ที่ 2.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.99 % จากราคาเฉลี่ยในการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยที่ 2.67 ล้านบาทต่อหน่วยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565

“ราคาขายเฉลี่ยของที่อยู่อาศัยที่เปิดตัวในปี 2566 ที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงราคาเฉลี่ยในการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในปี 2566 ที่มีแนวโน้มว่าราคาเฉลี่ยในการโอนกรรมสิทธิ์ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงสภาพตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2566 ที่ต้นทุนในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่ปรับตัวสูงขึ้นจากหลายปัจจัยทั้งราคาที่ดิน ราคาวัสดุก่อสร้าง รวมไปถึงต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น ทำให้ราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และปัจจัยดังกล่าวทั้งราคาที่ดิน ราคาวัสดุก่อสร้าง ต้นทุนทางการเงิน ผนวกกับค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับตัวสูงขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลในปี 2567 ยังคงเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาที่อยู่อาศัยในปี 2567 ที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5-10% โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล ที่ราคาที่ดินมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามแนวรถไฟฟ้าและในทำเลที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการความต้องการของผู้ซื้อ ซึ่งที่ดินในทำเลดังกล่าว มีจำนวนจำกัด ทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ส่งผลโดยตรงต่อราคาที่อยู่อาศัยในปี 2567 ที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น” นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าว   

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เตรียมสำรองเงินสดในช่วงเทศกาลตรุษจีน ปี 2567 ระหว่างวันที่ 5 – 11 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อรองรับการใช้บริการของลูกค้าและประชาชน จำนวน 13,500 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการสำรองที่สาขา จำนวน 4,000 ล้านบาท และตู้เอทีเอ็ม จำนวน 9,500 ล้านบาท 

ทั้งนี้ ทีทีบี มีสาขาทั่วประเทศ จำนวน 532 สาขา และเครื่องเอทีเอ็ม จำนวน 3,015 เครื่องทั่วประเทศ (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2566)

ด้วยวาระแห่งการเฉลิมฉลองสู่การขึ้นปีใหม่ของชาวจีนทั่วโลก หรือคนไทยเชื้อสายจีน ถือเป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญและสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน “ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้”

จับจริง แจกจริง! "พฤกษา" ฉลองความสำเร็จ แคมเปญ ‘โปรแร๊งส์...ทะลุโลก’ มอบรางวัลรถยนต์ Tesla 2 คันสุดท้าย จากแคมเปญ ‘โปรแร๊งส์...ทะลุโลก’ ที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าร่วมสนุก ลุ้นรับโชคครั้งใหญ่ด้วยการแจกรถยนต์ไฟฟ้า Tesla รวม 3 คัน สำหรับลูกค้าที่จองและโอนกรรมสิทธิ์ช่วงวันที่ 1 ตุลาคม -  31 ธันวาคม 2566 ซึ่งได้มีการมอบรถยนต์คันแรกให้กับผู้โชคดีไปเมื่อช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา ก่อนจะประกาศรายชื่อผู้โชคดี 2 ท่านสุดท้าย  โดยมี นายปิยะ ประยงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมแสดงความยินดี กับ ลูกค้าผู้โชคดี 2 ท่าน ได้แก่ นายศตวรรษ มงคล ซึ่งเป็นลูกค้าผู้โชคดีที่ซื้อบ้านจากโครงการ ภัสสร วงแหวนฯ-รามอินทรา และนางสาว LIN CHEN-YU  ลูกค้าผู้โชคดีที่ซื้อโครงการ พลัมคอนโด สุขุมวิท 62  ณ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก 

โดยแคมเปญ ‘โปรแร๊งส์...ทะลุโลก’ เป็นแคมเปญที่พฤกษาตั้งใจสนับสนุนให้คนไทยทุกคนเป็นเจ้าของบ้านได้ง่ายขึ้น ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี สามารถทำยอดขายรวมจากแคมเปญนี้ราว 4,300 ล้านบาท อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่พลาดโอกาสจากแคมเปญที่ผ่านมา เพื่อเป็นการขอบคุณลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจและร่วมเป็นสมาชิกครอบครัวพฤกษาด้วยกัน ในปีนี้ยังจะมีกิจกรรมดี ๆ ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมอบความสุขในช่วงต้นปีมังกร สำหรับลูกค้าที่จองหรือโอนกรรมสิทธิ์ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 มีนาคม 2567  ด้วยโปรโมชันฉ่ำ ๆ ต้อนรับตรุษจีน กับแคมเปญ “อั่งเปาหนัก ๆ จัดดอกเบา ๆ”  จะได้รับอั่งเปาทองคำมูลค่าสูงสุด 2 ล้านบาท และได้รับดอกเบี้ยคงที่ 1.99% ต่อปี นาน 3 ปี ผ่อนเริ่มต้นเพียงล้านละ 2,500 บาทต่อเดือน ให้วงเงินอนุมัติสูงสุด 110% พิเศษ !!! สำหรับลูกค้าที่เข้าร่วมแคมเปญนี้ ถ้ากู้ไม่ผ่าน พฤกษายินดีคืนเงินทุกกรณี พร้อมรับสิทธิจากโปรโมชั่นพิเศษ ฟรีทั้งค่าโอน ค่าจดจำนอง ค่าส่วนกลาง

พฤกษายังคงมุ่งมั่นส่งมอบบ้านและคุณภาพการอยู่อาศัยดีที่สุดให้กับคนไทย ภายใต้การพัฒนาที่อยู่อาศัยภายใต้แนวคิด ‘อยู่ดีมีสุข Live well Stay well’ เพื่อส่งมอบที่อยู่อาศัยที่ออกแบบและพัฒนาอย่างเข้าใจในความต้องการใช้งานที่อยู่อาศัยของทุกคนทั้งวันนี้และอนาคต  พร้อมใส่ใจสิ่งแวดล้อม เลือกใช้ วัสดุอุปกรณ์เพื่อการประหยัดพลังงาน ดูแลรักษาง่าย และช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับผู้อาศัย พร้อมด้วยบริการเพื่อสุขภาพที่ดีจากโรงพยาบาลวิมุตพันธมิตรในเครือ ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดโครงการและแคมเปญใหม่ ๆ ได้ที่ www.pruksa.com หรือสอบถามเพิ่มเติม โทร. 1739

บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) ร่วมงานสัมมนา “คว้าโอกาสทำกำไร เสริมพอร์ตแกร่งด้วย TFEX”  จัดโดย บมจ. ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) (TFEX) อัปเดตแนวโน้มเศรษฐกิจการลงทุนปี 2567 เมย์แบงก์ ได้ร่วมบรรยาย ในหัวข้อ How to เทรด TFEX แบบสบายใจ ไม่ต้องเฝ้าจอ ด้วยฟังก์ชั่น Conditional Order”  โดยคุณณภัทร์ ภัทรานิตฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายธุรกิจอนุพันธ์ บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) ร่วมเป็นวิทยากร ให้ความรู้ด้านการลงทุนอย่าง  ตอกย้ำกลยุทธ์มุ่งสร้างโอกาสการลงทุนที่เท่าเทียม แนะนำการลงทุนอย่างถูกวิธี ตอกย้ำภาพเมย์แบงก์ บริษัทหลักทรัพย์ที่พร้อมเป็นที่ปรึกษาการลงทุนให้คนไทย เพราะเราเชื่อว่าทุกคนสามารถเป็นนักลงทุนได้ งานสัมมนาจัดขึ้น ณ ห้องประชุม ศุกรีย์ อาคารตลาดหลักทรัพย์ เมื่อเร็วๆนี้

ณ วันที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โลกก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทุกอย่างล้วนต้องปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น “กฎหมาย” ก็เช่นกัน มีความท้าทายทางด้านกฎหมายมากมายจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและสังคม เนื่องด้วยทุกอย่างล้วนมีกฎหมายเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยทั้งสิ้น

แน่นอน !! เมื่อโลกเปลี่ยนไปหลักสูตรการเรียนการสอนด้านนิติศาสตร์ ย่อมไม่เหมือนเดิม..

คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือ DPU ภายใต้การนำของ
“ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ” คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ คนที่ 11 ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา จะมีการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างไร ? เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย

ด้วยประสบการณ์การทำงานของ “ดร. สุทธิพล” ผ่านร้อนผ่านหนาวทั้งในสำนักงานทนายความขนาดใหญ่ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายที่ Law Firm ชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกา ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ผู้พิพากษาและเลขานุการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ผู้พิพากษาและเลขานุการศาลแพ่ง โฆษกศาลยุติธรรมคนแรก รองเลขานุการศาลฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรรมการตรวจการแผ่นดิน (คตง.) ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

ล่าสุดตัดสินใจเข้าสู่แวดวงการศึกษา “ดร.สุทธิพล” มุ่งมั่นจะนำประสบการณ์ที่คร่ำหวอดในแวดวง กฎหมายธุรกิจและการบริหารมาสู่การพัฒนานักศึกษานิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ DPU ให้เป็นนักกฎหมายรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญมีความรอบรู้กฎหมายและสหวิทยาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม

นิติฯ ยุคใหม่ต้องคิดเป็นไม่เน้นท่องจำ-สร้าง DNA ให้มีใจยุติธรรม

“ดร. สุทธิพล” กล่าวว่า แม้กระบวนการร่างกฎหมายอาจจะมีข้อจำกัด เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลานาน แต่ก็มีการพัฒนากฎหมายใหม่ๆ รองรับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงใหม่ๆ รวมทั้งเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดทำให้การใช้ชีวิตของผู้คนแตกต่างไปจากเดิม ข้อพิพาทต่างๆ ในสังคมก็เปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ DPU มีการปรับตัวและปรับวิธีการสอนอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังมีข้อได้เปรียบ คือ มีคณาจารย์ทั้งภายในและภายนอกที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายและศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมี Facility ส่วนกลางที่ทันสมัย เช่น ระบบห้องสมุด ระบบการค้นคว้าออนไลน์และระบบเทคโนโลยีล้ำสมัย ดังนั้น DPU จึงผลิตนักกฎหมายรุ่นใหม่ที่ไม่ได้จำกัดให้รอบรู้เฉพาะตัวบทกฎหมาย แต่มุ่งผลิตนักกฎหมายที่ต้องใช้กฎหมายช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง และทำประโยชน์เพื่อสังคมด้วย

“หลักสูตรการเรียนการสอน ต้องให้นักศึกษาเข้าใจในตรรกะต่างๆ คิดและวิเคราะห์เป็น ไม่เน้นท่องจำ นักกฎหมายยุคใหม่จะมีความเชี่ยวชาญด้านตัวบทกฎหมายเพียงอย่างเดียวไม่พอ ต้องรู้รอบด้าน และต้องเขียนให้เป็น สื่อสารหรือให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้อื่นได้ชัดเจน ถูกต้อง ตรงประเด็น ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย แต่ต้องรอบคอบและรัดกุม ต้องทำงานร่วมกับผู้ที่ไม่ใช่นักกฎหมายได้ดี เพราะอาจต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น แพทย์ ภาคธุรกิจ เทคโนโลยี การเงินการธนาคาร ล้วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายทั้งสิ้น

ฉะนั้น จึงต้องผลิตนักกฎหมายที่มีความเป็นผู้นำ (leadership skill) สามารถนำกฎหมายไปประยุกต์ใช้กับศาสตร์ต่างๆ ได้ เพราะสิ่งที่จะเจอในความเป็นจริง อาจไม่ได้อยู่ในตำรา เราจึงต้องฝึกความพร้อมให้นักศึกษาสามารถช่วยคลี่คลายปัญหาอุปสรรคต่างๆ ได้ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องย้ำให้อยู่ใน DNA ของนักศึกษานิติศาสตร์ฯ DPU คือ การตั้งอยู่บนหลักการของความถูกต้องโปร่งใสและยุติธรรม โดยไม่หวั่นไหวไปตามกระแสหรืออิทธิพลใดๆ” ดร.สุทธิพล กล่าว

 

ลุย Reform หลักสูตร-นักกฎหมายรุ่นใหม่ ต้องรู้รอบด้าน

ขณะนี้กำลังเร่งปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน สำหรับการผลิตนักศึกษากฎหมายคณะนิติศาสตร์ฯ DPU ใหม่โดยเร็ว “ดร. สุทธิพล” จะนำประสบการณ์ ความรู้ และเครือข่ายจากการทำงานในแวดวงกฎหมายและสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาช่วยพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา นอกเหนือจากการเพิ่มเติมทักษะที่นักกฎหมายรุ่นใหม่ ต้องมี โดยเน้นในเรื่องคุณภาพเพราะต้องการเข้าไปดูแลและติดตามให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาอย่างใกล้ชิดและทั่วถึง

“ดร. สุทธิพล” ย้ำอีกว่า นักกฎหมายรุ่นใหม่ต้องมีความพร้อมในการปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา รวมถึงคณาจารย์และบุคลากรของคณะต้องอัปเดตความรู้อย่างต่อเนื่อง พร้อมต้องทำงานเชิงรุกและใกล้ชิดกับนักศึกษามากขึ้น โดยจะปรับปรุงสัดส่วนของจำนวนนักศึกษาต่ออาจารย์ที่ปรึกษาให้น้อยลงเพื่อให้คำปรึกษานักศึกษาได้อย่างทั่วถึง และปรับการเรียนการสอนโดยเชื่อมโยงกับคณาจารย์ของคณะอื่นๆ และวิทยาลัยต่างๆ ในมหาวิทยาลัย เช่น กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยี อาจารย์ทางด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีจะเป็นผู้เข้ามาช่วยเติมเต็มนักศึกษาในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นต้น รวมถึงการเชิญกูรูหรือนักกฎหมายที่มีประสบการณ์ในสายปฏิบัติ เช่น อาจารย์ที่บรรยายที่สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา เข้ามาสอนเพื่อเสริมการเรียนการสอนกฎหมายภาควิธีสบัญญัติให้กับนักศึกษา

“การเรียนเฉพาะในตำราอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ นักศึกษาต้องได้รับการฝึกปฏิบัติให้รู้จักวิธีการค้นคว้า ศึกษาเปรียบเทียบ ดู Best Practices จากประเทศอื่นๆ ด้วย เราจะสอนให้การเรียนกฎหมายเป็นเรื่องที่ไม่น่าเบื่อ ที่สำคัญนักกฎหมายที่ดีจะต้องมีจริยธรรม เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและเข้าใจในกลไกของกระบวนการยุติธรรมดีพอ ที่จะสามารถคุ้มครองสิทธิให้กับผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม” ดร. สุทธิพล กล่าว

เรียนรู้เทคโนโลยีช่วยงานกฎหมาย

ปัจจุบันมีกฎหมายออกใหม่จำนวนมากและการใช้ชีวิตของผู้คนล้วนพึ่งพาเทคโนโลยี เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ChatGPT, IoT (Internet of Thing) และ Big Data ดังนั้น นักกฎหมายต้องรู้จักและเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้

คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ DPU กล่าวว่า นักกฎหมายยุคใหม่ต้องปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น การผลิตนักกฎหมาย ต้องทำให้พวกเขาได้รับรู้ถึงความเสี่ยงใหม่ๆ ว่าสามารถอุบัติขึ้นได้ตลอดเวลาต้องเข้าใจบริบทของสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนไป และเข้าใจกลไกการทำงานของเทคโนโลยีในแต่ละรูปแบบเพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ใช้ AI ค้นหาข้อมูลทางการกฎหมายได้อย่างรวดเร็ว หรือวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ มาสนับสนุนในการตัดสินใจ โดย AI สามารถให้คำแนะนำและช่วยในการตัดสินใจทางกฎหมาย รวมทั้งการวิเคราะห์แนวโน้มของผลการตัดสินหรือการประเมินความเสี่ยงในการดำเนินคดี เป็นต้น

“DPU จะผลิตนักกฎหมายที่สามารถทำให้กฎหมายเป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้จริง มีความชัดเจนและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพราะนักกฎหมายยุคใหม่ต้องเป็นผู้ใช้กฎหมายได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมด้วย กล่าวคือ ต้องทำให้นักกฎหมายที่ออกจากรั้วนิติศาสตร์ฯ DPU สามารถใช้กฎหมายหรือศาสตร์ต่างๆ เข้ามาช่วยผ่าทางตันหรือผลักดันนโยบายต่างๆ ของหน่วยงานหรือประเทศชาติให้สามารถเดินหน้าไปได้ รวมทั้งสามารถเป็นที่พึ่งทางกฎหมายให้กับประชาชนได้รับความถูกต้องและเป็นธรรมในสังคม” ดร. สุทธิพล กล่าว

คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ DPU จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกทางกฎหมาย เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านนิติศาสตร์มาอย่างยาวนาน ซึ่งหลักสูตรของคณะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้มีความทันสมัยและสอดคล้องต่อความต้องการของสังคม ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึกในหลักวิชาชีพกฎหมาย มีความรอบรู้รอบด้าน และมีความรับผิดชอบต่อสังคม อยากรู้ว่านักกฎหมายรุ่นใหม่เป็นอย่างไร สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://law.dpu.ac.th/ หรือสอบถามได้ที่โทร. 02-954-7300 ต่อ 283, 308

นางวิชชุดา ไตรธรรม ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) มอบเสื้อกั๊กสะท้อนแสง เพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ อำนวยความสะดวกการจราจรให้กับประชาชน และมอบเต็นท์ ทิพย-ตำรวจเพื่อใช้เป็นที่พักสายตรวจ  ทำกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ให้กับสถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ ตามโครงการทิพยประกันภัย ห่วงใยทุกชีวิตในสังคม  รับมอบโดย พ.ต.อ.พนม เชื้อทอง ผู้กำกับการ สถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ รับมอบ ณ อาคารทิพยประกันภัย สำนักงานใหญ่ พระราม3

X

Right Click

No right click