บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต นำโดย คุณบุปผาวดี โอวรารินท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และภาพลักษณ์องค์กรและการสื่อสารองค์กร (คนซ้าย) และคุณสุกัญญา อิสรานุวัฒน์ชัย รองประธานอาวุโส ฝ่ายสื่อสารการตลาดและภาพลักษณ์องค์กร (คนขวา) ประกาศรายชื่อผู้โชคดีในแคมเปญ ‘ลุ้นทริปเที่ยวอังกฤษ พร้อมดูบอลทีมลิเวอร์พูลสุดเอ็กซ์คลูซีฟ กับ กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต’ ให้กับลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ภายใต้เงื่อนไขแคมเปญของ กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำนวน 5 รางวัล (รางวัลละ 2 ที่นั่ง) โดยผู้โชคดีจะได้รับของรางวัลคือแพคเกจทัวร์ท่องเที่ยวประเทศอังกฤษ พร้อมดูบอลพรีเมียร์ลีค ฤดูกาล 2023/24 มูลค่ารางวัลละ 450,000 บาท ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ประกาศรายชื่อผู้โชคดีผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ https://www.krungthai-axa.co.th/th/customers-campaign-lfc-trip โดยผู้โชคดีจะได้รับการติดต่อทางโทรศัพท์จากผู้แทนบริษัทฯ (บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและข้อกำหนดต่าง ๆ ของแคมเปญโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า)

แคมเปญดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อตอบแทนลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจให้ กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ได้ดูแลอย่างต่อเนื่อง โดยรางวัลในครั้งนี้เป็นประสบการณ์สุดพิเศษที่มอบให้กับลูกค้าได้มีโอกาสเดินทางไปชมการแข่งขันฟุตบอลสุดยิ่งใหญ่อย่างใกล้ชิด ณ สนามแอนฟิลด์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของบริษัทฯ ที่มีลูกค้ามาเป็นที่หนึ่ง และพร้อมอยู่เคียงข้างทุกความเชื่อมั่น ดูแลกันตลอดไป หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรม การบริการ และผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ได้ที่ โทร 1159 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ http://www.krungthai-axa.co.th/

ทีเอ็มบีธนชาต โดย นางประภาศิริ โฆษิตธนากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านทรัพยากรบุคคล (ซ้ายสุด) ร่วมมอบรางวัลและแสดงความยินดีแก่ผู้โชคดีจากการซื้อสลากบำรุงสภากาชาดไทย ประจำปี 2566 รายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย เพื่อนำไปช่วยเหลือสังคมและสาธารณกุศลต่อไป ซึ่งผู้โชคดีที่ได้รับรางวัลใหญ่ รถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ รุ่น C 220 d Av ได้แก่ นางสาวอโนชา เสนาะ (ที่ 2 จากซ้าย) และผู้ที่ได้รับรางวัลทองคำแท่งหนัก 10 บาท จำนวน 5 รางวัล ได้แก่ นายสมภพ อินทรประสงค์, นายกิตติ จรัสรัตน์วัฒนา, นางสาวนพมาศ วัฒนเลี้ยงใจ และนายศรัณย์ ศิริภัทรประวัติ (ตามลำดับที่ 3 จากซ้าย) นอกจากนี้ ธนาคารยังได้มอบของรางวัลให้กับผู้โชคดีท่านอื่น ๆ ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ “การให้” ผ่านสาขาธนาคารทั่วประเทศ ได้แก่ สร้อยคอทองคำหนัก 0.25 บาท จำนวน 50  รางวัล  และทองแท่งน้ำหนัก 0.125 บาท จำนวน 660 รางวัล รวม 716 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 7 ล้านบาท ณ ทีทีบี สำนักงานใหญ่

วัน แบงค็อก (One Bangkok) ตอกย้ำวิสัยทัศน์ด้านการสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนและเมือง จัดแสดง วัน แบงค็อก พาวิลเลียน (One Bangkok Pavilion) นิทรรศการศิลปะคอนเซปต์ “Inspiring Urban Canvas” ในเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ 2567 (Bangkok Design Week 2024) ภายใต้แนวคิด Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี” โดยร่วมมือกับ Supermachine Studio สตูดิโอดีไซน์ชื่อดังเจ้าของรางวัลระดับโลก ในการออกแบบพาวิลเลียนให้เป็นสถานที่ที่ผู้คนสามารถเข้ามาร่วมสนุกได้ตลอดเวลา โดยการดีไซน์ดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจจากของเล่นตัวต่อหรือบล็อกไม้ (Wooden block) เกมที่นำชิ้นบล็อกไม้รูปเรขาคณิตหลากหลายทรงมาเรียงต่อกันเป็นรูปปราสาท เสมือนกับการสร้างเมืองที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกคน และต่อยอดไอเดีย wooden block สู่การเล่นตั้งเตบนจออินเทอแรคทีฟ จากสองมัลติมีเดียเอเจนซีผู้เชี่ยวชาญด้านงานอิมเมอร์ซีฟ อย่าง Kids Bloom และ Yimsamer

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เมืองให้เกิดศักยภาพ นำเสนอผ่านศิลปะ วัฒนธรรม และดนตรี เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้คน ผ่านโปรแกรมศิลปะมากมายที่เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้ามาร่วมสนุก อาทิ กิจกรรม Live Paint โดย BIGDEL และ MRKREME สองศิลปินสตรีทอาร์ตจาก Bride Art Agency กิจกรรมเวิร์คช็อปศิลปะที่คนรักงานคราฟต์ต้องลองกับการอัดลายแม่พิมพ์ด้วยเทคนิคซิลค์สกรีน โดย TNT SCREEN คลาสสอนสวิงแดนซ์ โดย Jelly Roll Dance Club และ The Stumbling Swingout พลาดไม่ได้กับ 8 ดีเจจาก Bangkok Community Radio ที่จะหมุนเวียนมาสร้างสีสันภายในงาน ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2567 นี้ ณ ลานหน้าไปรษณีย์กลาง บางรัก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.onebangkok.com หรือติดตาม Instagram ได้ที่ @onebangkokartandculture

เคทีซีเผยผลประกอบการของบริษัทและบริษัทย่อยในปี 2566 กำไรสุทธิ 7,295 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1% จากงวดเดียวกันของปี 2565 พอร์ตสินเชื่อรวมมีมูลค่า 112,346 ล้านบาท ขยายตัว 7.8% จากช่วงเดียวกันของปี 2565 อานิสงส์จากสภาวะเศรษฐกิจไทยที่ทยอยฟื้นตัว ประกอบกับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน โดยแผนกลยุทธ์ธุรกิจในปีนี้ จะยังคงมุ่งเน้นพอร์ตสินเชื่อให้เติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการควบคุมคุณภาพพอร์ตสินเชื่อ คัดกรองลูกหนี้ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมและยอมรับได้ รวมทั้งเดินหน้ามาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ระยะยาวตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อีกทั้งบริหารจัดการให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรม โดยให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ทุกสถานะตามแนวทางของธปท. เป็นจำนวนเงิน 1,833 ล้านบาท เมื่อสิ้นปี 2566

นางพิทยา วรปัญญาสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ภาพรวมของอุตสาหกรรมสินเชื่อผู้บริโภคยังขยายตัว จากความต้องการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับดี โดยเคทีซีมีสัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรมสำหรับ 11 เดือน ปี 2566 เท่ากับ 15.1% ส่วนแบ่งตลาดของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรของบริษัทเท่ากับ 12.2% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2565 และมีสัดส่วนของลูกหนี้สินเชื่อบุคคล (ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน) เทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 6.3%”

“ในปี 2566 เคทีซีมีอัตราการขยายตัวของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรที่ 11.4% โดยมูลค่าพอร์ตสินเชื่อรวมขยายตัวที่ 7.8% พอร์ตบัตรเครดิตเคทีซียังขยายตัวได้ที่ 7.2% ตามปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรที่เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์การใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ขณะที่พอร์ตสินเชื่อบุคคลรวมขยายตัวที่ 7.5% โดยบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” (KTC PROUD) เติบโต 4.4% และยอดลูกหนี้ใหม่ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” มีมูลค่า 2,590 ล้านบาท”

“ผลการดำเนินงานของเคทีซี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 งบการเงินรวมปี 2566 กำไรสุทธิ 7,295 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1% มีฐานสมาชิกรวม 3,358,926 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวมหรือพอร์ตสินเชื่อรวมมีมูลค่าเท่ากับ 112,346 ล้านบาท เติบโต 7.8% อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวมของกลุ่มบริษัท (%NPL) อยู่ที่ 2.2% โดยแบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิต 2,637,183 บัตร เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 74,441 ล้านบาท ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรในปี 2566 เท่ากับ 265,383 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.4% NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.1% พอร์ตสมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซี 721,743 บัญชี แบ่งเป็นเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” และดอกเบี้ยค้างรับ 30,597 ล้านบาท เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เท่ากับ 2,287 ล้านบาท NPL สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 3.0% สำหรับสินเชื่อลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อมูลค่า 3,189 ล้านบาท เคทีซีได้หยุดการปล่อยสินเชื่อประเภทนี้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 เพื่อบริหารจัดการคุณภาพพอร์ตสินเชื่อและการติดตามหนี้ เนื่องจากเห็นสัญญาณของหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น”

เคทีซีมีรายได้รวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2565 เท่ากับ 9.4% จากรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียม ขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น 14.0% จากค่าใช้จ่ายในการบริหารหลักๆ เพิ่มขึ้น ค่าธรรมเนียมจ่ายจากปริมาณธุรกรรมที่ขยายตัว ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) เพิ่มขึ้นจากการตั้งสำรองสูงขึ้น และต้นทุนทางการเงินที่ปรับขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน

ทั้งนี้ ข้อมูลวันที่ 31 ธันวาคม 2566 กลุ่มบริษัทมีเงินกู้ยืมทั้งสิ้น 66,404 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.7%  เทียบจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า แบ่งสัดส่วนโครงสร้างแหล่งเงินทุนเป็นเงินกู้ยืมระยะสั้น (รวมส่วนของเงินกู้ยืมและหุ้นกู้ที่ครบกำหนด

ชำระภายในหนึ่งปี) 32.9% และเงินกู้ยืมระยะยาว 67.1% วงเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินรวม (Total Short-Term Credit Line) ทั้งสิ้นจำนวน 29,371 ล้านบาท (รวมวงเงินจากธนาคารกรุงไทย 19,061 ล้านบาท) ใช้วงเงินระยะสั้นไปจำนวน 4,981 ล้านบาท มีวงเงินคงเหลือทั้งสิ้น 24,390 ล้านบาท อัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 2.15 เท่า ลดลงเมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อนหน้าที่ 2.22 เท่า ต่ำกว่าภาระผูกพัน (Debt Covenants) ที่ 10 เท่า ในปี 2566 เคทีซีมีต้นทุนทางการเงินเท่ากับ 2.7% เพิ่มขึ้นจาก 2.4% ในปี 2565 ตามสภาวะอัตราดอกเบี้ยของตลาดที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันผลตอบแทนเงินให้สินเชื่อเท่ากับ 14.8% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ 14.6% จากการเติบโตของพอร์ตรวม ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิในปี 2566 อยู่ในระดับเดิมที่ 13.2%

“ในปี  2567 นี้ หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจะปรับดีขึ้น ตามการขยายตัวของภาคการส่งออกและการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว จึงน่าจะเป็นแรงส่งให้การบริโภคภาคเอกชนขยับตัวและมีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น โดยเคทีซีตั้งเป้าหมายจะมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการดูแลพอร์ตลูกหนี้รวมให้ขยายตัวมากขึ้น ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้อย่างเหมาะสม และตั้งเป้าเติบโตใน 3 ธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจบัตรเครดิต สินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” (KTC PROUD) และสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” อีกทั้งจะส่งเสริมธุรกิจ “มาย บาย เคทีซี” (MAAI by KTC) ซึ่งให้บริการระบบบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ให้ขยายตัวมากขึ้น ร่วมกับการพัฒนา 3 องค์ประกอบหลัก คือ คน กระบวนการและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์และบริการ”

“นอกจากนี้ เพื่อขานรับกับประกาศของธปท. ที่  สกช. 7/2566 เรื่องหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending: RL) เคทีซียังมีมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ระยะยาว เช่น กรณีปรับเพิ่มอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิตจาก 5% เป็น 8% ซึ่งมีผลกับรอบบัญชีตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567 นั้น เคทีซีเชื่อว่าลูกหนี้ส่วนใหญ่จะสามารถจ่ายชำระขั้นต่ำที่สูงขึ้นได้ แต่หากมีลูกหนี้บางส่วนที่ชำระไม่ได้ บริษัทมีแนวทางต่างๆ ในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ อีกทั้งจะเสนอแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ที่ยังไม่ด้อยคุณภาพ (non-NPL) ซึ่งเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในลักษณะเชิงป้องกัน (Pre-emptive DR) ตั้งแต่เริ่มมีสัญญาณว่าลูกหนี้กำลังจะประสบปัญหาในการชำระหนี้อย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อให้ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ ไม่กลายเป็นหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) และบริษัทจะเสนอแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยเฉพาะก่อนการดำเนินการตามกฎหมาย โอนขายหนี้ บอกเลิกสัญญาหรือยึดทรัพย์ ซึ่งการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ดังกล่าว บริษัทจะพิจารณาให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ และไม่ทำให้ลูกหนี้มีภาระหนี้เพิ่มขึ้นจากภาระหนี้เดิมเกินสมควร”

“อย่างไรก็ตาม การดำเนินความช่วยเหลือตามเกณฑ์ดังกล่าว เคทีซีพิจารณาแล้วเชื่อมั่นว่าจะไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อภาพรวมการดำเนินงานของบริษัท นอกจากนี้ แนวทางความช่วยเหลือของ ธปท. ต่อลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt: PD) ที่จะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 เมษายน 2567 เป็นต้นไปนั้น จากการประเมินผลกระทบหากลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์ทุกรายเข้าร่วมโครงการ จะมีผลกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยลดลงประมาณ 18 ล้านบาทต่อเดือน สำหรับความคืบหน้าด้านแนวคิดให้ผู้กู้จ่ายดอกเบี้ยตามความเสี่ยง (Risk-based Pricing: RBP) ยังต้องรอเวลาให้เปิดเข้าร่วมทดสอบในกลางปี 2567 และกรณีการกำหนดสัดส่วนของภาระหนี้สินเทียบกับรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) ยังไม่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นเป็นการเฉพาะ ตามแผนเดิมของ ธปท. คาดจะเริ่มบังคับใช้ในปี 2568 ทั้งนี้ ธปท. จะประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจอีกครั้ง”

“ที่ผ่านมาเคทีซียังได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ตามแนวทางของธปท. ในการบริหารจัดการด้านการให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรม โดยข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 เคทีซีได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในทุกสถานะเป็นจำนวน 1,833 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.7% ของพอร์ตลูกหนี้รวม”

ภายใต้คอนเซ็ปท์ Right Place, Bright Future สัมผัสประสบการณ์ความสมดุลแห่งการอยู่อาศัย เปิดให้ชมห้องตัวอย่างแล้ววันนี้ พร้อมรับข้อเสนอพิเศษช่วง Soft Opening

FWD ประกันชีวิต ต้อนรับปีมังกรทอง เปิดตัว “เอฟดับบลิวดี พาวเวอร์ เซฟวิ่ง 12/6” แบบประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ตอบโจทย์ผู้ที่กำลังวางแผนทางการเงินระยะสั้น จ่ายเบี้ยประกันเพียง 6 ปี คุ้มครองชีวิตนานถึง 12 ปีพร้อมรับผลประโยชน์เงินคืนแน่นอนทุกปีตั้งแต่ปีแรก และรับเงินก้อนสูงสุด 600% ของทุนประกันภัยเมื่อครบสัญญา

นายเดวิด โครูนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประจำประเทศไทยและกัมพูชา บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ FWD ประกันชีวิต กล่าวว่า ช่วงต้นปีใหม่ถือเป็นโอกาสที่ดีในการเริ่มต้นตั้งเป้าหมายทางการเงินที่เหมาะสมกับตัวเอง ซึ่งการทำประกันสะสมทรัพย์ถือเป็นตัวเลือกที่ดีอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะได้สร้างวินัยการออมอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังเสริมความอุ่นใจด้วยความคุ้มครองชีวิต พร้อมรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ด้วยเอฟดับบลิวดี พาวเวอร์ เซฟวิ่ง 12/6  (FWD Power Saving 12/6) ตัวช่วยที่ดีในการเก็บออม ที่ให้ผลตอบแทนแน่นอนทุกปีและความคุ้มครองชีวิตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีแรกจนถึงปีที่ 6 เพื่อเป้าหมายที่เป็นจริงได้แม้ในสภาพเศรษฐกิจผันผวน

แบบประกัน เอฟดับบลิวดี พาวเวอร์ เซฟวิ่ง 12/6 (FWD Power Saving 12/6) 

เป็นประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ชำระเบี้ยประกันภัยเพียง 6 ปี ได้รับความคุ้มครองชีวิตยาวถึง 12 ปี คุ้มค่าด้วยผลประโยชน์รวมตลอดสัญญาสูงสุดถึง 654% ของทุนประกันภัย พร้อมรับเงินคืนปีละ 3% ของทุนประกันภัย ตั้งแต่สิ้นปีกรมธรรม์ปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 และรับเงินคืนเพิ่มเป็นปีละ 6% ของทุนประกันภัย ตั้งแต่สิ้นปีกรมธรรม์ปีที่ 7 ถึงปีที่ 12 เมื่อครบกำหนดสัญญารับเงินก้อน 600% ของทุนประกันภัย*

ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์แบบประกัน เอฟดับบลิวดี พาวเวอร์ เซฟวิ่ง 12/6 สามารถติดต่อตัวแทนประกันชีวิต FWD ประกันชีวิต พร้อมศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ FWD Customer Center 1351 หรือช่องทางเว็บไซต์ https://www.fwd.co.th/ ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาและทําความเข้าใจในเอกสารประกอบการเสนอขายก่อนตัดสินใจทําประกันภัย

ตอกย้ำสุดยอดสำนักงานอัลตร้าลักชัวรีบนทำเล Real CBD สาทร เผยแผนรุกตลาดออฟฟิศเกรด A ดึงดูดองค์กรชั้นนำระดับโลก

บริษัท ชับบ์ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด (มหาชน) (ชับบ์ ไลฟ์ ประเทศไทย) ประกาศแต่งตั้ง นางสาวอลิสา อารีพงษ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ชับบ์ ไลฟ์ ประเทศไทย โดยมีผลในวันที่  2 เมษายน 2567  ซึ่งอยู่ระหว่างการขอรับความเห็นชอบจากหน่วยงานกำกับดูแล

ด้วยบทบาทใหม่นี้ คุณอลิสาจะรับผิดชอบดูแลบริหารธุรกิจประกันชีวิตของ ชับบ์ ไลฟ์ ประเทศไทย ในการนำเสนอประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และความคุ้มครองอื่น ๆ ผ่านช่องทางตัวแทน ช่องทางการตลาดทางตรง และช่องทางพันธมิตรธุรกิจ โดยก่อนหน้านี้นางสาวอลิสาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่สายงานพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้กับ บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด

นางสาวอลิสามีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมประกันชีวิตกว่า 20 ปี ครอบคลุมทั้งด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การขาย การตลาด และด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย และยังมีประสบการณ์ในด้านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง และส่งมอบบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า นางสาวอลิสาจะรายงานตรงไปที่คุณแซง ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารส่วนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ นิวซีแลนด์ ของ ชับบ์ ไลฟ์

นายแซง ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารส่วนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ นิวซีแลนด์ ของ ชับบ์ ไลฟ์ กล่าวว่า “เรามีความยินดีที่จะได้ต้อนรับคุณอลิสาสู่ ชับบ์ ไลฟ์ ด้วยประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมในอุตสาหกรรมประกันชีวิต ประกอบกับความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างประสบการณ์อันดีแก่ลูกค้า และเครือข่ายพันธมิตรนี้ คุณอลิสาจะเป็นกำลังสำคัญสำหรับ ชับบ์ ไลฟ์ ประเทศไทย ในการขยายธุรกิจผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ การสร้างประสบการ์อันดีแก่ลูกค้า รวมทั้งสร้างความแข็งแกร่งโดยการทำงานร่วมกับพันธมิตรที่สำคัญของเรา เพื่อขยายการเติบโตให้กับธุรกิจของเรา และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในประเทศไทยที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น”

ทั้งนี้ คุณอลิสาจบปริญญาโทด้านประกันภัยจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (ประเทศไทย) และปริญญาตรีด้านสถิติประยุกต์จากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

SCB CIO  ปรับมุมมองเป็นบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ ลดลง จาก Slightly Positive (ทยอยลงทุน) เป็น Neutral (ถือไว้) หลังตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในปี 2566 ให้ผลตอบแทน 26.29% สูงกว่าตลาดหุ้นทั่วโลก จากอนิสงค์หุ้น 7 นางฟ้าเป็นหลัก  มองมูลค่าเริ่มตึงตัว นักลงทุนรับรู้ความสามารถทำกำไรที่ดีของกลุ่มเทคฯ  และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดไปในดัชนีฯ ค่อนข้างมากแล้ว   คาดเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้ม Soft landing  ด้านตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง   ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีหุ้น “High Quality” ที่มีศักยภาพในการเติบโตในระยะยาว เป็นสัดส่วนที่มากจึงแนะนำให้รอ หาจังหวะสะสม เมื่อ Valuation ลดลง และมีระดับราคาที่ถูกลงมากกว่านี้

ดร.กำพล  อดิเรกสมบัติ  ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์  เปิดเผยว่า ในปี 2566 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาดหุ้นโลก โดยดัชนี S&P500 ให้ผลตอบแทนที่รวมส่วนต่างราคาและเงินปันผล(Total Return) อยู่ที่ 26.29% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2565 ในขณะที่ผลตอบแทนของดัชนี MSCI ACWI และ MSCI World ในปี 2566 ซึ่งเป็นตัวแทนของดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก อยู่ที่ 22.20% และ 23.79% ตามลำดับ

ทั้งนี้ หากพิจารณาในรายละเอียด ผลตอบแทนในปี 2566 ส่วนใหญ่มาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ 1) การปรับตัวเพิ่มขึ้นของหุ้นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ 7 บริษัท ที่ถูกเรียกว่าเป็น “หุ้น 7 นางฟ้า” ได้แก่ Apple, Amazon, Alphabet, NVIDIA, Meta, Microsoft และ Tesla โดยหุ้นกลุ่มนี้ ให้ผลตอบแทนรวม 78.09% คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนที่ทำให้ (% Return Contribution) กับ S&P500 ที่ 15.32% หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของผลตอบแทน S&P500 ทั้งปี และหากไม่นับรวม 7 บริษัทขนาดใหญ่ บริษัทจดทะเบียนอื่นๆ ใน S&P500 ให้ผลตอบแทน 12.30% หรือคิดเป็น % Return Contribution ให้ S&P500 รวมกัน 10.97% เท่านั้น 2) ตลาดปรับตัวขึ้นแบบกระจายตัวทั้งตลาด แค่ช่วงไตรมาสที่ 4/2566 สาเหตุหลักมาจาก Fed ส่งสัญญาณผ่อนคลายการปรับดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) ลดลงอย่างรวดเร็วและดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้น

อย่างไรก็ตาม  แม้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีหุ้นเทคโนโลยี ที่เติบโตโดดเด่น แต่ SCB CIO เริ่มมีมุมมองเป็นบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ น้อยลง โดยเราคาดว่า การเติบโตของ GDP สหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ช่วง “soft landing” หรือชะลอตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยอัตราการเติบของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในไตรมาส 3/2566 และจะเริ่มเติบโตในอัตราที่ช้าลง นับตั้งแต่ ไตรมาส 4/2566 - ไตรมาส 2/2567 ก่อนจะกลับมาเร่งตัวอีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 ขณะที่ นักวิเคราะห์เริ่มปรับประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียนในระยะถัดไปลง หลังผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เริ่มให้มุมมองเป็นลบ (Negative Guidance) มากขึ้น

นอกจากนี้ มูลค่าเริ่มตึงตัว เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการเติบโตในปี 2567 และ การปรับปรุงมูลค่าใหม่ (Re-rating Valuation) มีความเป็นไปได้จำกัด เราตั้งข้อสังเกตว่า นักวิเคราะห์ที่ให้ราคาเป้าหมายระดับสูง ประมาณการ การเติบโตของกำไรต่อหน่วย (EPS) ของ S&P500 เฉลี่ยที่ 8.6% และ ให้ราคา 12-Month Forward Price-to-Earnings เฉลี่ย ที่ระดับ 21.1 เท่า ซึ่งเรามองว่าเป็นไปได้ค่อนข้างยาก ขณะที่ การประเมินราคา และอารมณ์ของตลาด (Pricing & Market Sentiment) เข้าสู่โซน “Greed” คือ เปิดรับความเสี่่ยงจากความคาดหวังที่สูง  

ขณะที่ กิจการที่มีความสามารถทำกำไรดี ถูกให้มูลค่า “Premium” พอสมควรแล้ว โดยในปี 2566 ตลาดคาดการณ์กำไร S&P500 จะไม่เติบโตเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) แต่จะเห็นการเติบโตที่กระจุกตัวอยู่ในหุ้นกลุ่ม Quality Growth อย่าง “หุ้น 7 นางฟ้า” ที่คาดว่าจะเติบโตขึ้นถึง 33%YoY ขณะที่ S&P 500 คาดว่าจะมีการเติบโตของกำไรอยู่ในช่วง 0-1%YoY อย่างไรก็ตาม นักลงทุนส่วนใหญ่รับรู้ความสามารถในการทำกำไรที่ดีกว่าของกลุ่มบริษัทนี้ไปพอสมควรแล้ว เห็นได้จากการกระจุกตัวของมูลค่าตามราคาตลาด (Market Cap.) กลุ่มหุ้นเทคโนโลยี เทียบกับ S&P500 ที่สะท้อนว่าตลาดให้มูลค่า Premium ของกลุ่มอุตสาหกรรมในระดับใกล้เคียงกับในช่วงฟองสบู่ดอทคอม หรือ  Tech Bubble ปี 2543

ดร.กำพล กล่าวว่า จากเหตุผลทั้งหมดนี้ เราจึงปรับคำแนะนำตลาดหุ้นสหรัฐฯ จาก Slightly Positive (ทยอยลงทุน) เป็น Neutral (ถือ) เนื่องจาก Valuation มีความตึงตัวมากขึ้น และโอกาสการปรับตัวขึ้น (upside) จำกัดมากขึ้นหลังดัชนี S&P500 ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในระยะเวลา 9 สัปดาห์สุดท้ายของปี 2566 ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บ่งชี้ว่า นักลงทุนได้ Pricing การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ไปในดัชนีฯ ค่อนข้างมากแล้ว โดยคาดว่าจะลดประมาณ 6 ครั้งในปี 2567 จากการคาดการณ์ของตลาด  ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อล่าสุดของสหรัฐฯ ในมุมมองของ SCB CIO  ยังมองว่า Fed จะลดดอกเบี้ยในช่วงไตรมาส 3/2567 ทั้งหมด 3 ครั้งในปี 2567 ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในระยะสั้น มีโอกาสเผชิญความเสี่ยงของการปรับฐาน หากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ไม่เป็นไปตามตลาดคาด หรือ การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงเร็วกว่าที่คาด

อย่างไรก็ตาม เรายังมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้ม Soft landing และตลาดแรงงานจะยังคงแข็งแกร่ง ด้วยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่มีองค์ประกอบของหุ้น “High Quality” ที่มีศักยภาพในการเติบโตในระยะยาว เป็นสัดส่วนที่มาก เราจึงแนะนำให้รอโอกาส หาจังหวะสะสม เมื่อ Valuation ตึงตัวลดลง และมีระดับราคาที่ถูกลงมากกว่านี้

วันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสการเติบโตของ Social Commerce กำลังมาแรงและมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในประเทศไทยถือเป็นตลาดใหญ่ที่มีมูลค่าสูงถึง 4 แสนล้านบาท และในอนาคต 5 ปีข้างหน้าจะเติบโตสูงถึง 1 ล้านล้านบาท (อ้างอิงข้อมูลจากผลสำรวจจากบริษัทวิจัยการตลาด Research and Markets) จึงถือเป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการไทยที่ไม่ควรพลาด LINE SHOPPING ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ชของไทยที่มุ่งมั่นเติมเต็มประสบการณ์ด้านการช้อปปิ้งบนแอปพลิเคชัน LINE ล่าสุดเผยข้อมูลทุกเรื่องการขายที่ร้านค้าควรรู้ผ่านงาน LINE SHOPPING CONNECT พร้อมแชร์เคล็ดลับการขายและเครื่องมือใหม่รับปี 2024 เพื่อให้ร้านค้าสามารถสร้างการเติบต่อได้อย่างยั่งยืน

หมดยุคการแข่งขันด้วยราคา ถึงเวลาสร้าง “ความสัมพันธ์”

การลดราคาอาจไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีเสมอไป แต่การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ผ่านประสบการณ์และการบริการที่ดี จะเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้ร้านค้าหลุดออกจากการแข่งขันด้านราคาและก่อให้เกิดผลดีในระยะยาว โดยการสร้างความสัมพันธ์ต้องทำควบคู่กับการสร้างช่องทางการขายของตัวเอง เพื่อให้ผู้ขายมีข้อมูลมากและลึกพอที่จะทำความเข้าใจลูกค้า ซึ่ง LINE SHOPPING สามารถตอบโจทย์ได้อย่างครบวงจรตลอดการซื้อขายและสร้างความสัมพันธ์ รวมทั้งยังมีจุดเด่นในการต่อยอดการขายร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ ของ LINE อาทิ การยิง LINE Ads การใช้ฟีเจอร์ LIVE รวมถึงการบรอดแคสต์บน LINE Official Account

ปั้นธุรกิจให้โตไกลไม่มีหยุดด้วย Humanized Engagement

หัวใจของการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จต้องเกิดจาก “Humanized Engagement” หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าแบบมนุษย์บนพื้นฐานของการเป็นคนรู้ใจ ซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันมากกว่าแค่เรื่องปัจจัยด้านราคาเพียงอย่างเดียว LINE SHOPPING จึงสร้างสรรค์เครื่องมือและฟีเจอร์บนแนวคิด 3 ประการ ได้แก่

  • Ownership การเสริมอำนาจให้ร้านค้าเป็นเจ้าของช่องทางและฐานลูกค้าของตัวเอง เพื่อเพิ่มความสามารถในการสื่อสารและเข้าถึงลูกค้า ช่วยลดต้นทุนการปิดการขายให้ถูกลง  

  • More Flexibility การเสริมศักยภาพร้านค้าด้วยเครื่องมือ ฟีเจอร์ และการขนส่งที่สามารถเลือกใช้ได้ตามใจ ล่าสุด LINE SHOPPING ได้จับมือกับ 21 พันธมิตร เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการออเดอร์ให้ดียิ่งขึ้น โดยหนึ่งในนั้น คือ LINE MAN MESSENGER ผู้ช่วยอันดับหนึ่งของร้านค้าออนไลน์และออฟไลน์ ด้วยบริการส่งของด่วนภายใน 1 วัน เพื่อตอบโจทย์เทรนด์นักช้อปที่ต้องการรับของแบบทันใจ

  • Closer & Longer relationship การเสริมความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน ให้ร้านค้าใกล้ชิดลูกค้าได้มากกว่า ผ่านฟีเจอร์การขายอย่าง การออกออเดอร์ผ่านแชต, ไลฟ์บน LINE SHOPPING และการส่งของขวัญ

ถอดเทคนิคมัดใจลูกค้าจาก 3 แบรนด์ดังที่ประสบความสำเร็จ

  • Sulwasoo สกินแคร์เคาน์เตอร์แบรนด์ ปิดทุกการขายด้วย Chat & Shop ทางแบรนด์จะมีแอดมินที่เป็นเหมือน Personal Shopper ในการแนะนำถามตอบข้อมูลสินค้า และอำนวยความสะดวกในการซื้อผ่านฟีเจอร์ออกออเดอร์ผ่านแชต เพื่อสรุปรวบรวมสินค้าให้ลูกค้าสามารถกดเช็คเอาท์ได้ง่ายขึ้น 
  • SHU แบรนด์รองเท้าสัญชาติไทย กระตุ้นยอดขายด้วยการไลฟ์ ควบคู่กับการบรอดแคสต์และแจ้งเตือนลูกค้าผ่าน LINE OA โดยในระหว่างไลฟ์ทางแบรนด์จะเน้นโชว์และลองสวมใส่สินค้าตามเสียงของลูกค้าเป็นหลัก เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์แบบเรียลไทม์ และกระตุ้นการซื้อสินค้าระหว่างไลฟ์ รวมทั้งลูกค้าที่พลาดการไลฟ์ยังสามารถรับชมย้อนหลังได้ ทำให้แบรนด์ SHU สามารถเพิ่มยอดขายหลังการไลฟ์ได้
  • KARMAKAMET ผลิตภัณฑ์เครื่องหอม ที่ขยายฐานลูกค้าด้วยฟีเจอร์ SEND GIFT โดยทางแบรนด์จะจัดเซตของขวัญตามช่วงเทศกาลสำคัญต่าง ๆ ซึ่งเทคนิคหนึ่งที่น่าสนใจคือ การจัดเซตของขวัญตามกลุ่มราคาสินค้า ทำให้ลูกค้าเลือกซื้อได้สะดวก และช่วยเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าหน้าใหม่ได้รู้จักและทดลองใช้สินค้า 

แนวทางการพัฒนาฟีเจอร์ LINE SHOPPING ให้เก่งและง่ายขึ้น

สำหรับแผนการพัฒนาฟีเจอร์ของ LINE SHOPPING ในปีนี้ มุ่งเน้นไปที่ 3 เรื่องหลัก ได้แก่

  • Checkout Link ฟีเจอร์ช่วยสรุปออเดอร์การซื้อ และแชร์เป็นลิงก์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ให้ลูกค้าสามารถชำระเงินผ่านลิงก์ได้เลย ในขณะที่ร้านค้าก็ได้เก็บสะสมข้อมูลของลูกค้าไปในตัว ลดความยุ่งยากในการสะสมฐานลูกค้า และลดอัตราการ Drop off จากการสลับหน้าแชต
  • LINE SHOPPING Ads เสริมศักยภาพการโฆษณาให้ได้ Conversion Rate เพิ่มขึ้น และ Retargeting กลุ่มลูกค้าเดิมได้ดียิ่งขึ้น ผ่านการ tracking พฤติกรรมลูกค้าที่ละเอียดขึ้น สามารถวัดผลและนำไปต่อยอดทางการตลาดได้
  • Logistic Connection ส่งข้อมูลการขนส่งให้ลูกอย่างอัตโนมัติหลังจากพิมพ์ใบปะหน้า ช่วยลดเวลาและขั้นตอนแบบเดิม

บทสรุปสำหรับร้านค้าที่ต้องการทำการตลาดแบบ Humanization เพื่อมัดใจลูกค้า และต่อยอดธุรกิจอย่างยั่งยืน

  • สร้างประสบการณ์การซื้อ-ขาย แบบ Personalization

LINE SHOPPING จะเป็นอีก 1 ปัจจัยสำคัญ ที่ช่วยเสริมพลังให้ธุรกิจบน Social Commerce ด้วยเครื่องมือ Chat & Shop และ Chat Invoice link จะเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ให้การให้บริการลูกค้าแบบ Personalization และการขายแบบ Customization เป็นไปอย่างง่ายขึ้น เปิดประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์ให้ลูกค้าแบบไม่มีสะดุด ครบจบผ่าน MyShop ช่วยลดโอกาสสูญเสียยอดขาย จากการ Drop off 

  • สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ง่ายขึ้น ช่วยให้เกิดการซื้อซ้ำ

ตามวิสัยทัศน์ของ LINE SHOPPING ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทำการตลาดอย่างยั่งยืน ส่งเสริมให้การทำ Chat Commerce เข้มแข็งยิ่งขึ้น และช่วยสะสมฐานแฟนบน LINE Official Account ให้ลูกค้าเดิม กลับมาซื้อซ้ำ อีกทั้ง นำข้อมูลจาก Shopping Behavior ที่เกิดขึ้น นำไปทำ Retargeting และต่อยอดทางการตลาดได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

  • สร้างฐานลูกค้าประจำให้เติบโต

LINE SHOPPING เสริมพลังการขายด้วยเครื่องมือการขายแบบ Social Commerce ที่ช่วย Advocate ให้ผู้ประกอบธุรกิจ สามารถเติบโตผ่าน Network of friends และเสริมสร้าง Customer engagement ทำให้ลูกค้ายิ่ง ช้อปปิ้ง ยิ่งมีความสุข!

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ LINE SHOPPING มอบให้กับนักขายออนไลน์ทุกคน ตอบโจทย์คลอบคลุมในทุกมิติการซื้อขาย ช่วยเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจครบ จบ ในที่เดียว สามารถรับชมย้อนหลังได้ทาง

 

X

Right Click

No right click