หาสุดยอดทีมเยาวชนไทย บินลัดฟ้าร่วมฟาดแข้งฟุตบอลทัวร์นาเมนต์ระดับโลก

ครั้งแรกในวงการ 2 นักพัฒนาอสังหาฯ ชั้นนำ พฤกษา’ ผนึกกำลัง ‘ออริจิ้น’ เตรียมผุดโครงการร่วมทุน 3 โครงการ ลุยตลาดอสังหาริมทรัพย์บน Prime Area 3 ทำเล ได้แก่ โปรเจ็คมิกซ์ยูส (Wellness Hotel & Service Apartment) มูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท คอนโดมิเนียมระดับพรีเมียม  มูลค่าประมาณ 2,800 ล้านบาท และ บ้านเดี่ยว มูลค่าประมาณ 980 ล้านบาท มูลค่าโครงการรวม 8,700 ล้านบาท 

นายอุเทน โลหชิตพิทักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PSH เปิดเผยว่า ‘พฤกษา’ ได้ลงนามในสัญญาร่วมทุนกับ 3 บริษัทในเครือ ‘ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้’  ได้แก่ บริษัท วัน ออริจิ้น จำกัด (มหาชน) หรือ ONEO บริษัท พาร์ค ลักชัวรี่ จำกัด หรือ PARK และ บริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) หรือ BRI เพื่อก่อสร้างและพัฒนา 3 โครงการ ได้แก่ (1) การร่วมทุนในธุรกิจโครงการมิกซ์ยูส ประกอบด้วย โรงแรม เซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ และศูนย์บริการด้านสุขภาพ ทำเลสุขุมวิท มูลค่าโครงการประมาณ 5,000 ล้านบาท (2) การร่วมทุนเพื่อพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมระดับพรีเมียม ย่านพหลโยธิน มูลค่าโครงการ ประมาณ 2,800 ล้านบาท และ (3) การพัฒนาโครงการบ้านเดี่ยวระดับพรีเมียม ย่านเพชรเกษม มูลค่าโครงการประมาณ 980 ล้านบาท ในอัตราส่วนการลงทุน 50:50

“สำหรับการร่วมทุนเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ครั้งนี้ นับเป็นข้อตกลงที่ได้รับประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองบริษัท (Win-Win) และจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากการนำทรัพยากรและที่ดินของทั้งสองบริษัทที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาโครงการ แชร์เทคโนโลยีและโนว์ฮาวโดยนำจุดแข็งของกลุ่ม ‘พฤกษา’ ที่มีความแข็งแกร่งด้านเงินทุน พร้อมมุ่งพัฒนาการอยู่อาศัยที่ “อยู่ดี มีสุข” ด้วยนวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัยและการดูแลสุขภาพแบบครบวงจร ด้วยการสนับสนุนจากกลุ่มธุรกิจในเครือที่หลากหลาย ทั้งธุรกิจพัฒนาและก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจเฮลธ์แคร์ ได้แก่ โรงพยาบาลวิมุต และโรงพยาบาลเทพธารินทร์ พร้อมด้วยธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่พัฒนาเทคโนโลยีสมาร์ทโฮม MyHaus  ตัวช่วยที่ส่งเสริมเรื่องที่อยู่อาศัย ให้ผู้คนมีชีวิตที่ง่ายและสะดวกขึ้น  ไปจนถึงการสร้างที่อยู่อาศัยด้วยความใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วยนวัตกรรมแผ่นพรีคาสท์คาร์บอนต่ำจากอินโน พรีคาสท์ในเครือพฤกษา ประกอบกับความเชี่ยวชาญด้านการควบคุมคุณภาพการก่อสร้าง เมื่อผนึกกำลังกับจุดแข็งของ ‘ออริจิ้น’ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) และอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ จึงเชื่อมั่นว่า ด้วยศักยภาพ และข้อได้เปรียบจากทั้ง ‘พฤกษา’ และ ‘ออริจิ้น’ จะร่วมกันส่งเสริมให้ทั้งสามโครงการร่วมทุนนี้ ประสบความสำเร็จ ส่งมอบความอยู่ดี มีสุขให้กับคนในสังคม และจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งความร่วมมือทางธุรกิจครั้งนี้ พฤกษาจะได้ประโยชน์จากการนำที่ดินที่มีอยู่ในมือมาใช้พัฒนาผ่านแบรนด์ใหม่เพื่อสร้างฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น และเป็นการเพิ่มช่องทางเพื่อการสร้างการรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่อง (Recurring Income) อีกด้วย” นายอุเทนกล่าว

นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร กล่าวว่า การได้พฤกษามาเป็นพันธมิตรร่วมพัฒนาโครงการต่างๆ จะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนนวัตกรรม เทคโนโลยี องค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญต่างๆ ระหว่างกัน และช่วยให้ยกระดับการพัฒนาคุณภาพการก่อสร้างโครงการ การออกแบบฟังก์ชันและพื้นที่ในอาคาร เติมเต็มความต้องการของการใช้ชีวิตในแต่ละทำเลได้อย่างยอดเยี่ยม

“ในไทยเราอาจไม่ค่อยเห็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่จับมือร่วมทุนกันเอง แต่ในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น มีความร่วมมือระหว่างผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ เพราะแต่ละรายต่างก็มีความถนัด ความเชี่ยวชาญในเซ็กเมนท์และทำเลแตกต่างกัน โดยเครือออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ มุ่งมั่นพัฒนาและสร้างสรรค์ฟังก์ชันและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยและการพักผ่อนของคนยุคใหม่ อาทิ การพัฒนาคอนโดสำหรับกลุ่ม Pet Lover การพัฒนาห้องแบบ Duo Space เพดานสูง 4.2 เมตร บ้านเดี่ยวที่ใส่ใจ Universal Design ทางด้านพฤกษาเอง เป็นผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ มีความเชี่ยวชาญในด้านนวัตกรรมการก่อสร้าง และประสบการณ์การพัฒนาโครงการมากมายจึงเชื่อว่าการร่วมมือในครั้งนี้จะสามารถมาช่วยเติมเต็มความถนัดและโอกาสซึ่งกันและกันได้ เราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือระหว่างออริจิ้นและพฤกษาในครั้งนี้ จะเป็นมิติใหม่ของวงการอสังหาริมทรัพย์ไทย ที่บริษัทระดับท็อปของตลาด 2 ราย มารวมพลังกัน พัฒนาทั้งโรงแรม คอนโดมิเนียม และบ้านเดี่ยว ยกระดับการพักผ่อนและการอยู่อาศัยให้แก่ผู้บริโภค” นายพีระพงศ์ กล่าว

สำหรับบริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PSH  ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ธุรกิจการให้บริการด้านสุขภาพ และการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวเนื่องกับสองธุรกิจหลัง เพื่อสร้างรายได้ประจำ โดยปัจจุบัน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบ่งเป็น 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่  (1)  กลุ่มผลิตภัณฑ์ทาวน์เฮ้าส์ ซึ่งมีโครงการที่เปิดขายภายใต้ชื่อแบรนด์ ดังนี้ บ้านกรีนเฮาส์ (Baan GreenHaus), บ้านพฤกษา (Baan Pruksa), พฤกษาวิลล์ (Pruksa Ville), เดอะ คอนเนค (The Connect), และ พาทิโอ (Patio) (2) กลุ่มผลิตภัณฑ์บ้านเดี่ยว ภายใต้ชื่อแบรนด์  เดอะ แพลนท์ (The Plant), ภัสสร (Passorn), และ เดอะ ปาล์ม (The Palm) และ  (3) กลุ่มผลิตภัณฑ์คอนโด  ภายใต้ชื่อแบรนด์ พลัม คอนโด (Plum Condo), เดอะ ทรี (The Tree), แชปเตอร์ (Chapter), แชปเตอร์ วัน (Chapter One), เดอะ ไพรเวซี่ (The Privacy) และ เดอะ รีเซิร์ฟ (The Reserve) โดยส่งมอบที่อยู่อาศัยเพื่อคนไทยไปแล้วมากกว่า 260,000 ครอบครัว  สำหรับธุรกิจด้านสุขภาพ มีโรงพยาบาลวิมุต เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของกลุ่มธุรกิจ  และในปี 2564 วิมุตฯ ได้เข้าลงทุนในกิจการโรงพยาบาลเทพธารินทร์เพิ่มเติม และ PSH ได้ขยายธุรกิจใหม่ด้านอีคอมเมิร์ซด้วยการก่อตั้งบริษัท ซินเนอร์จี โกรท จำกัด เพื่อใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการขยายธุรกิจ รวมทั้งก่อตั้ง บริษัท อินโน พรีคาสท์ จำกัด เพื่อรองรับความต้องการด้านพรีคาสท์ในตลาดธุรกิจก่อสร้าง  และ มีการลงทุนอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมและเพิ่มความสามารถในการสร้างผลกำไร สร้างรายได้ประจำอย่างต่อเนื่อง

สำหรับบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI มีโครงสร้างธุรกิจหลากหลาย ประกอบด้วย 1.ธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อการขาย (Residential Development Business) พัฒนาคอนโดมิเนียมและบ้านจัดสรรมาแล้ว 158 โครงการ (ณ สิ้นไตรมาส 4/2566) เช่น แบรนด์ พาร์ค ออริจิ้น (Park Origin), โซ ออริจิ้น (So Origin), ออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ (Origin Plug & Play), ไนท์บริดจ์ (Knightsbridge), นอตติ้ง ฮิลล์ (Notting Hill), ออริจิ้น เพลส (Origin Place), ดิ ออริจิ้น (The Origin), เคนซิงตัน (Kensington), แฮมป์ตัน (Hampton), ออริจิ้น เพลย์ (Origin Play), บริกซ์ตัน (Brixton) และ บริทาเนีย (Britania) รวมมูลค่าโครงการกว่า 240,661 ล้านบาท 2.ธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ (Recurring Income Business) เช่น โรงแรม เซอร์วิส อพาร์ตเมนท์ ค้าปลีก 3.ธุรกิจบริการ (Service Business) เช่น ธุรกิจให้บริการลูกบ้าน ธุรกิจการจัดการอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจตัวแทนซื้อ ขาย เช่า อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ และ 4.ธุรกิจเมกะเทรนด์ระยะยาว (Mega Trends) กลุ่มธุรกิจใหม่ที่มีแนวโน้มเติบโตในระยะยาว เช่น ธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจเฮลท์แคร์ ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจด้านการเงิน ธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนท์ ฯลฯ เพื่อยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิตของผู้บริโภคแบบครบวงจร

บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) (“FWD ประกันชีวิต”) โดยนางสาวปวริศา ชุมวิกรานต์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร (ที่ 3 จากขวา) พร้อมด้วย Ms. Stif Hoy  ผู้แทนจากมูลนิธิจูเนียร์อะชีฟเม้นท์ ประเทศไทย (กลาง)  และนายวัชรวีร์ ธีระเดชโชติ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดอุทัยธาราม (ที่ 3 จากซ้าย) ร่วมมอบรางวัลและแสดงความยินดีแก่ทีมนักเรียนโรงเรียนวัดอุทัยธาราม กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2  จากการแข่งขันระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในโครงการ JA SparktheDream Social Challenge 2023 ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนชั้นประถมศึกษา นำเสนอไอเดียสร้างสรรค์ในการให้ข้อคิดทางการเงิน ในรูปแบบวิดีโอความยาว 2 นาที โดยมีทีมที่เข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 12 ทีม จาก 6 ประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

การประกวดโครงการ JA SparktheDream Social Challenge 2023 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ JA SparktheDream โดยความร่วมมือระหว่างมูลนิธิจูเนียร์อะชีฟเม้นท์ เอเชียแปซิฟิก กับกลุ่มบริษัท FWD มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งต่อความรู้ทางการเงิน ทักษะทางสังคม และทักษะการใช้ชีวิตที่จำเป็นพื้นฐานให้แก่เยาวชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการเงินได้อย่างรอบคอบ ตลอดจนสร้างความมั่นคงทางการเงินให้แก่ตัวเองและครอบครัว  ซึ่งในปีพ.ศ. 2566 ประเทศไทย โดยอาสาสมัครพนักงาน FWD ประกันชีวิต ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านการเงิน ในโรงเรียนต่างๆ มาแล้ว 4 โรงเรียน มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาเข้าร่วมโครงการกว่า 645 คน

บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต นำโดย คุณบุปผาวดี โอวรารินท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และภาพลักษณ์องค์กรและการสื่อสารองค์กร (คนซ้าย) และคุณสุกัญญา อิสรานุวัฒน์ชัย รองประธานอาวุโส ฝ่ายสื่อสารการตลาดและภาพลักษณ์องค์กร (คนขวา) ประกาศรายชื่อผู้โชคดีในแคมเปญ ‘ลุ้นทริปเที่ยวอังกฤษ พร้อมดูบอลทีมลิเวอร์พูลสุดเอ็กซ์คลูซีฟ กับ กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต’ ให้กับลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ภายใต้เงื่อนไขแคมเปญของ กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำนวน 5 รางวัล (รางวัลละ 2 ที่นั่ง) โดยผู้โชคดีจะได้รับของรางวัลคือแพคเกจทัวร์ท่องเที่ยวประเทศอังกฤษ พร้อมดูบอลพรีเมียร์ลีค ฤดูกาล 2023/24 มูลค่ารางวัลละ 450,000 บาท ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ประกาศรายชื่อผู้โชคดีผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ https://www.krungthai-axa.co.th/th/customers-campaign-lfc-trip โดยผู้โชคดีจะได้รับการติดต่อทางโทรศัพท์จากผู้แทนบริษัทฯ (บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและข้อกำหนดต่าง ๆ ของแคมเปญโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า)

แคมเปญดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อตอบแทนลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจให้ กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ได้ดูแลอย่างต่อเนื่อง โดยรางวัลในครั้งนี้เป็นประสบการณ์สุดพิเศษที่มอบให้กับลูกค้าได้มีโอกาสเดินทางไปชมการแข่งขันฟุตบอลสุดยิ่งใหญ่อย่างใกล้ชิด ณ สนามแอนฟิลด์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของบริษัทฯ ที่มีลูกค้ามาเป็นที่หนึ่ง และพร้อมอยู่เคียงข้างทุกความเชื่อมั่น ดูแลกันตลอดไป หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรม การบริการ และผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ได้ที่ โทร 1159 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ http://www.krungthai-axa.co.th/

ทีเอ็มบีธนชาต โดย นางประภาศิริ โฆษิตธนากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านทรัพยากรบุคคล (ซ้ายสุด) ร่วมมอบรางวัลและแสดงความยินดีแก่ผู้โชคดีจากการซื้อสลากบำรุงสภากาชาดไทย ประจำปี 2566 รายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย เพื่อนำไปช่วยเหลือสังคมและสาธารณกุศลต่อไป ซึ่งผู้โชคดีที่ได้รับรางวัลใหญ่ รถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ รุ่น C 220 d Av ได้แก่ นางสาวอโนชา เสนาะ (ที่ 2 จากซ้าย) และผู้ที่ได้รับรางวัลทองคำแท่งหนัก 10 บาท จำนวน 5 รางวัล ได้แก่ นายสมภพ อินทรประสงค์, นายกิตติ จรัสรัตน์วัฒนา, นางสาวนพมาศ วัฒนเลี้ยงใจ และนายศรัณย์ ศิริภัทรประวัติ (ตามลำดับที่ 3 จากซ้าย) นอกจากนี้ ธนาคารยังได้มอบของรางวัลให้กับผู้โชคดีท่านอื่น ๆ ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ “การให้” ผ่านสาขาธนาคารทั่วประเทศ ได้แก่ สร้อยคอทองคำหนัก 0.25 บาท จำนวน 50  รางวัล  และทองแท่งน้ำหนัก 0.125 บาท จำนวน 660 รางวัล รวม 716 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 7 ล้านบาท ณ ทีทีบี สำนักงานใหญ่

วัน แบงค็อก (One Bangkok) ตอกย้ำวิสัยทัศน์ด้านการสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนและเมือง จัดแสดง วัน แบงค็อก พาวิลเลียน (One Bangkok Pavilion) นิทรรศการศิลปะคอนเซปต์ “Inspiring Urban Canvas” ในเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ 2567 (Bangkok Design Week 2024) ภายใต้แนวคิด Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี” โดยร่วมมือกับ Supermachine Studio สตูดิโอดีไซน์ชื่อดังเจ้าของรางวัลระดับโลก ในการออกแบบพาวิลเลียนให้เป็นสถานที่ที่ผู้คนสามารถเข้ามาร่วมสนุกได้ตลอดเวลา โดยการดีไซน์ดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจจากของเล่นตัวต่อหรือบล็อกไม้ (Wooden block) เกมที่นำชิ้นบล็อกไม้รูปเรขาคณิตหลากหลายทรงมาเรียงต่อกันเป็นรูปปราสาท เสมือนกับการสร้างเมืองที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกคน และต่อยอดไอเดีย wooden block สู่การเล่นตั้งเตบนจออินเทอแรคทีฟ จากสองมัลติมีเดียเอเจนซีผู้เชี่ยวชาญด้านงานอิมเมอร์ซีฟ อย่าง Kids Bloom และ Yimsamer

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เมืองให้เกิดศักยภาพ นำเสนอผ่านศิลปะ วัฒนธรรม และดนตรี เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้คน ผ่านโปรแกรมศิลปะมากมายที่เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้ามาร่วมสนุก อาทิ กิจกรรม Live Paint โดย BIGDEL และ MRKREME สองศิลปินสตรีทอาร์ตจาก Bride Art Agency กิจกรรมเวิร์คช็อปศิลปะที่คนรักงานคราฟต์ต้องลองกับการอัดลายแม่พิมพ์ด้วยเทคนิคซิลค์สกรีน โดย TNT SCREEN คลาสสอนสวิงแดนซ์ โดย Jelly Roll Dance Club และ The Stumbling Swingout พลาดไม่ได้กับ 8 ดีเจจาก Bangkok Community Radio ที่จะหมุนเวียนมาสร้างสีสันภายในงาน ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2567 นี้ ณ ลานหน้าไปรษณีย์กลาง บางรัก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.onebangkok.com หรือติดตาม Instagram ได้ที่ @onebangkokartandculture

เคทีซีเผยผลประกอบการของบริษัทและบริษัทย่อยในปี 2566 กำไรสุทธิ 7,295 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1% จากงวดเดียวกันของปี 2565 พอร์ตสินเชื่อรวมมีมูลค่า 112,346 ล้านบาท ขยายตัว 7.8% จากช่วงเดียวกันของปี 2565 อานิสงส์จากสภาวะเศรษฐกิจไทยที่ทยอยฟื้นตัว ประกอบกับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน โดยแผนกลยุทธ์ธุรกิจในปีนี้ จะยังคงมุ่งเน้นพอร์ตสินเชื่อให้เติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการควบคุมคุณภาพพอร์ตสินเชื่อ คัดกรองลูกหนี้ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมและยอมรับได้ รวมทั้งเดินหน้ามาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ระยะยาวตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อีกทั้งบริหารจัดการให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรม โดยให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ทุกสถานะตามแนวทางของธปท. เป็นจำนวนเงิน 1,833 ล้านบาท เมื่อสิ้นปี 2566

นางพิทยา วรปัญญาสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ภาพรวมของอุตสาหกรรมสินเชื่อผู้บริโภคยังขยายตัว จากความต้องการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับดี โดยเคทีซีมีสัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรมสำหรับ 11 เดือน ปี 2566 เท่ากับ 15.1% ส่วนแบ่งตลาดของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรของบริษัทเท่ากับ 12.2% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2565 และมีสัดส่วนของลูกหนี้สินเชื่อบุคคล (ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน) เทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 6.3%”

“ในปี 2566 เคทีซีมีอัตราการขยายตัวของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรที่ 11.4% โดยมูลค่าพอร์ตสินเชื่อรวมขยายตัวที่ 7.8% พอร์ตบัตรเครดิตเคทีซียังขยายตัวได้ที่ 7.2% ตามปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรที่เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์การใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ขณะที่พอร์ตสินเชื่อบุคคลรวมขยายตัวที่ 7.5% โดยบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” (KTC PROUD) เติบโต 4.4% และยอดลูกหนี้ใหม่ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” มีมูลค่า 2,590 ล้านบาท”

“ผลการดำเนินงานของเคทีซี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 งบการเงินรวมปี 2566 กำไรสุทธิ 7,295 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1% มีฐานสมาชิกรวม 3,358,926 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวมหรือพอร์ตสินเชื่อรวมมีมูลค่าเท่ากับ 112,346 ล้านบาท เติบโต 7.8% อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวมของกลุ่มบริษัท (%NPL) อยู่ที่ 2.2% โดยแบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิต 2,637,183 บัตร เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 74,441 ล้านบาท ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรในปี 2566 เท่ากับ 265,383 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.4% NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.1% พอร์ตสมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซี 721,743 บัญชี แบ่งเป็นเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” และดอกเบี้ยค้างรับ 30,597 ล้านบาท เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เท่ากับ 2,287 ล้านบาท NPL สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 3.0% สำหรับสินเชื่อลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อมูลค่า 3,189 ล้านบาท เคทีซีได้หยุดการปล่อยสินเชื่อประเภทนี้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 เพื่อบริหารจัดการคุณภาพพอร์ตสินเชื่อและการติดตามหนี้ เนื่องจากเห็นสัญญาณของหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น”

เคทีซีมีรายได้รวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2565 เท่ากับ 9.4% จากรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียม ขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น 14.0% จากค่าใช้จ่ายในการบริหารหลักๆ เพิ่มขึ้น ค่าธรรมเนียมจ่ายจากปริมาณธุรกรรมที่ขยายตัว ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) เพิ่มขึ้นจากการตั้งสำรองสูงขึ้น และต้นทุนทางการเงินที่ปรับขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน

ทั้งนี้ ข้อมูลวันที่ 31 ธันวาคม 2566 กลุ่มบริษัทมีเงินกู้ยืมทั้งสิ้น 66,404 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.7%  เทียบจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า แบ่งสัดส่วนโครงสร้างแหล่งเงินทุนเป็นเงินกู้ยืมระยะสั้น (รวมส่วนของเงินกู้ยืมและหุ้นกู้ที่ครบกำหนด

ชำระภายในหนึ่งปี) 32.9% และเงินกู้ยืมระยะยาว 67.1% วงเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินรวม (Total Short-Term Credit Line) ทั้งสิ้นจำนวน 29,371 ล้านบาท (รวมวงเงินจากธนาคารกรุงไทย 19,061 ล้านบาท) ใช้วงเงินระยะสั้นไปจำนวน 4,981 ล้านบาท มีวงเงินคงเหลือทั้งสิ้น 24,390 ล้านบาท อัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 2.15 เท่า ลดลงเมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อนหน้าที่ 2.22 เท่า ต่ำกว่าภาระผูกพัน (Debt Covenants) ที่ 10 เท่า ในปี 2566 เคทีซีมีต้นทุนทางการเงินเท่ากับ 2.7% เพิ่มขึ้นจาก 2.4% ในปี 2565 ตามสภาวะอัตราดอกเบี้ยของตลาดที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันผลตอบแทนเงินให้สินเชื่อเท่ากับ 14.8% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ 14.6% จากการเติบโตของพอร์ตรวม ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิในปี 2566 อยู่ในระดับเดิมที่ 13.2%

“ในปี  2567 นี้ หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจะปรับดีขึ้น ตามการขยายตัวของภาคการส่งออกและการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว จึงน่าจะเป็นแรงส่งให้การบริโภคภาคเอกชนขยับตัวและมีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น โดยเคทีซีตั้งเป้าหมายจะมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการดูแลพอร์ตลูกหนี้รวมให้ขยายตัวมากขึ้น ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้อย่างเหมาะสม และตั้งเป้าเติบโตใน 3 ธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจบัตรเครดิต สินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” (KTC PROUD) และสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” อีกทั้งจะส่งเสริมธุรกิจ “มาย บาย เคทีซี” (MAAI by KTC) ซึ่งให้บริการระบบบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ให้ขยายตัวมากขึ้น ร่วมกับการพัฒนา 3 องค์ประกอบหลัก คือ คน กระบวนการและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์และบริการ”

“นอกจากนี้ เพื่อขานรับกับประกาศของธปท. ที่  สกช. 7/2566 เรื่องหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending: RL) เคทีซียังมีมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ระยะยาว เช่น กรณีปรับเพิ่มอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิตจาก 5% เป็น 8% ซึ่งมีผลกับรอบบัญชีตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567 นั้น เคทีซีเชื่อว่าลูกหนี้ส่วนใหญ่จะสามารถจ่ายชำระขั้นต่ำที่สูงขึ้นได้ แต่หากมีลูกหนี้บางส่วนที่ชำระไม่ได้ บริษัทมีแนวทางต่างๆ ในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ อีกทั้งจะเสนอแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ที่ยังไม่ด้อยคุณภาพ (non-NPL) ซึ่งเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในลักษณะเชิงป้องกัน (Pre-emptive DR) ตั้งแต่เริ่มมีสัญญาณว่าลูกหนี้กำลังจะประสบปัญหาในการชำระหนี้อย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อให้ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ ไม่กลายเป็นหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) และบริษัทจะเสนอแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยเฉพาะก่อนการดำเนินการตามกฎหมาย โอนขายหนี้ บอกเลิกสัญญาหรือยึดทรัพย์ ซึ่งการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ดังกล่าว บริษัทจะพิจารณาให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ และไม่ทำให้ลูกหนี้มีภาระหนี้เพิ่มขึ้นจากภาระหนี้เดิมเกินสมควร”

“อย่างไรก็ตาม การดำเนินความช่วยเหลือตามเกณฑ์ดังกล่าว เคทีซีพิจารณาแล้วเชื่อมั่นว่าจะไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อภาพรวมการดำเนินงานของบริษัท นอกจากนี้ แนวทางความช่วยเหลือของ ธปท. ต่อลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt: PD) ที่จะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 เมษายน 2567 เป็นต้นไปนั้น จากการประเมินผลกระทบหากลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์ทุกรายเข้าร่วมโครงการ จะมีผลกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยลดลงประมาณ 18 ล้านบาทต่อเดือน สำหรับความคืบหน้าด้านแนวคิดให้ผู้กู้จ่ายดอกเบี้ยตามความเสี่ยง (Risk-based Pricing: RBP) ยังต้องรอเวลาให้เปิดเข้าร่วมทดสอบในกลางปี 2567 และกรณีการกำหนดสัดส่วนของภาระหนี้สินเทียบกับรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) ยังไม่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นเป็นการเฉพาะ ตามแผนเดิมของ ธปท. คาดจะเริ่มบังคับใช้ในปี 2568 ทั้งนี้ ธปท. จะประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจอีกครั้ง”

“ที่ผ่านมาเคทีซียังได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ตามแนวทางของธปท. ในการบริหารจัดการด้านการให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรม โดยข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 เคทีซีได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในทุกสถานะเป็นจำนวน 1,833 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.7% ของพอร์ตลูกหนี้รวม”

ภายใต้คอนเซ็ปท์ Right Place, Bright Future สัมผัสประสบการณ์ความสมดุลแห่งการอยู่อาศัย เปิดให้ชมห้องตัวอย่างแล้ววันนี้ พร้อมรับข้อเสนอพิเศษช่วง Soft Opening

FWD ประกันชีวิต ต้อนรับปีมังกรทอง เปิดตัว “เอฟดับบลิวดี พาวเวอร์ เซฟวิ่ง 12/6” แบบประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ตอบโจทย์ผู้ที่กำลังวางแผนทางการเงินระยะสั้น จ่ายเบี้ยประกันเพียง 6 ปี คุ้มครองชีวิตนานถึง 12 ปีพร้อมรับผลประโยชน์เงินคืนแน่นอนทุกปีตั้งแต่ปีแรก และรับเงินก้อนสูงสุด 600% ของทุนประกันภัยเมื่อครบสัญญา

นายเดวิด โครูนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประจำประเทศไทยและกัมพูชา บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ FWD ประกันชีวิต กล่าวว่า ช่วงต้นปีใหม่ถือเป็นโอกาสที่ดีในการเริ่มต้นตั้งเป้าหมายทางการเงินที่เหมาะสมกับตัวเอง ซึ่งการทำประกันสะสมทรัพย์ถือเป็นตัวเลือกที่ดีอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะได้สร้างวินัยการออมอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังเสริมความอุ่นใจด้วยความคุ้มครองชีวิต พร้อมรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ด้วยเอฟดับบลิวดี พาวเวอร์ เซฟวิ่ง 12/6  (FWD Power Saving 12/6) ตัวช่วยที่ดีในการเก็บออม ที่ให้ผลตอบแทนแน่นอนทุกปีและความคุ้มครองชีวิตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีแรกจนถึงปีที่ 6 เพื่อเป้าหมายที่เป็นจริงได้แม้ในสภาพเศรษฐกิจผันผวน

แบบประกัน เอฟดับบลิวดี พาวเวอร์ เซฟวิ่ง 12/6 (FWD Power Saving 12/6) 

เป็นประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ชำระเบี้ยประกันภัยเพียง 6 ปี ได้รับความคุ้มครองชีวิตยาวถึง 12 ปี คุ้มค่าด้วยผลประโยชน์รวมตลอดสัญญาสูงสุดถึง 654% ของทุนประกันภัย พร้อมรับเงินคืนปีละ 3% ของทุนประกันภัย ตั้งแต่สิ้นปีกรมธรรม์ปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 และรับเงินคืนเพิ่มเป็นปีละ 6% ของทุนประกันภัย ตั้งแต่สิ้นปีกรมธรรม์ปีที่ 7 ถึงปีที่ 12 เมื่อครบกำหนดสัญญารับเงินก้อน 600% ของทุนประกันภัย*

ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์แบบประกัน เอฟดับบลิวดี พาวเวอร์ เซฟวิ่ง 12/6 สามารถติดต่อตัวแทนประกันชีวิต FWD ประกันชีวิต พร้อมศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ FWD Customer Center 1351 หรือช่องทางเว็บไซต์ https://www.fwd.co.th/ ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาและทําความเข้าใจในเอกสารประกอบการเสนอขายก่อนตัดสินใจทําประกันภัย

ตอกย้ำสุดยอดสำนักงานอัลตร้าลักชัวรีบนทำเล Real CBD สาทร เผยแผนรุกตลาดออฟฟิศเกรด A ดึงดูดองค์กรชั้นนำระดับโลก

X

Right Click

No right click