บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) (TPIPL) ผู้นำในธุรกิจปูนซิเมนต์ เม็ดพลาสติก โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ และผลิตภัณฑ์ HealthCare ป้องกันรักษาอันตรายจาก virus และจุลินทรีย์ก่อโรคของมนุษย์ ปุ๋ยชีวอินทรีย์ อาหารเสริมชีวอินทรีย์ และสารฆ่าเชื้อ virus สำหรับหมู ไก่ วัว ควาย สุนัข แมว ปลา กุ้ง  ได้รับคัดเลือกให้เป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) เข้าอยู่ในกลุ่มบริษัทวิถียั่งยืนที่น่าลงทุน หรือ ESG Emerging List ปี 2565

สถาบันไทยพัฒน์ ประกาศให้ ทีพีไอ โพลีน เป็นหนึ่งในรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่น่าลงทุนในกลุ่ม ESG Emerging ปี 2565 ด้วยการคัดเลือกจาก 851 หลักทรัพย์จดทะเบียน โดยใช้ข้อมูลด้าน ESG ที่ปรากฏในการเปิดเผยข้อมูล การดำเนินงานที่สะท้อนปัจจัยด้าน ESG และความริเริ่มหรือลักษณะธุรกิจที่เกี่ยวโยงกับประเด็นด้าน ESG ของกิจการ

นายขันธ์ชัย วิจักขณะ ประธานกรรมการ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การที่บริษัทฯ ได้รับคัดเลือกให้อยู่ใน ESG Emerging List ในปีนี้ เป็นผลจากความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการในทุกมิติของการดำเนินธุรกิจ ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ และตระหนักถึงความคาดหวังของชุมชนที่มีต่อบริษัทฯ เป็นอย่างดี

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) กล่าวเพิ่มเติมว่า “บริษัทฯ มุ่งมั่นในการขับเคลึ่อนธุรกิจสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเชื่อมโยงการดำเนินการสู่ภาคเศรษฐกิจที่เป็น Bio-Circular-Green (BCG) Economy ในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่คุณค่า  เพื่อร่วมดูแลแก้ไขปัญหาโลกร้อน รวมทั้งดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล ตลอดจนส่งมอบคุณค่าให้กับชุมชนและสังคมส่วนรวมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างให้เกิดความเข้มแข็งต่อองค์กร ชุมชน สังคม และประเทศ”

ทั้งนี้ การจัดอันดับหลักทรัพย์ที่น่าลงทุนในกลุ่ม ESG Emerging พิจารณาข้อมูลจากการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และผลประกอบการของบริษัทควบคู่กันในกระบวนการประเมิน

สำหรับสถาบันไทยพัฒน์ เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจ ได้เปิดเผยรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ในกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 เป็นครั้งแรกในปี 2558 และในกลุ่มหลักทรัพย์ ESG Emerging เป็นครั้งแรกในปี 2563

ขณะที่ การจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนด้านการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจนี้ ถือเป็นแหล่งข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน เพื่อรองรับความต้องการของผู้ลงทุนที่ให้น้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ และเป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีคุณภาพและได้รับผลตอบแทนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป

บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) (HTC) ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ในบริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100

6 CSR Trends 2022

March 08, 2022

ปัจจัยความท้าทายใหม่ๆ ในปี 2565 ทั้งปัญหาการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ เสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและปัญหาหนี้สินในภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ล้วนส่งอิทธิพลต่อการเติบโตทางธุรกิจและความก้าวหน้าทางสังคม นอกเหนือจากผลพวงของสถานการณ์โควิดที่ยังส่งผลสืบเนื่องต่อในปีนี้


ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ได้กล่าวในงานแถลงทิศทาง CSR ปี 2565 ที่จัดขึ้นในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาว่า “ภาคธุรกิจกำลังเผชิญสถานการณ์ที่ไม่อาจพึ่งพารูปแบบการดำเนินธุรกิจตามปกติ (Business as Usual) ในการเติบโตได้ดังเดิม หลายกิจการที่ได้รับผลกระทบ จำเป็นที่จะต้องมองหาและพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจในวิถีปกติใหม่ (Business as New Normal) ที่เอื้อต่อการเติบโตทางธุรกิจในแบบยั่งยืน และสามารถเสริมหนุนการพัฒนาทางสังคมควบคู่ไปพร้อมกัน”
ในปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินทิศทางธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า 6 ทิศทาง CSR ปี 2565: From ‘Net Zero’ to ‘Social Positive’ สำหรับหน่วยงานและองค์กรธุรกิจในการใช้พัฒนาแนวทางการสื่อสารข้อมูลผลกระทบทางบวกที่มีต่อสังคมให้เกิดประสิทธิผล สมตามเจตนารมณ์ของกิจการ โดยแนวโน้มทั้ง 6 ประกอบด้วย

1. Regenerative Agriculture & Food System ระบบอาหารและการเกษตรแบบเจริญทดแทน เป็ นธุรกิจการเกษตรที่เน้นการคืนสภาพของหน้าดิน การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ การปรับปรุงวัฏจักรของน้า การเพิ่มพูนบริการจากระบบนิเวศการ สนับสนุนการกักเก็บคาร์บอนด้วยวิธีการทางชีวภาพ การเพิ่มภาวะพร้อมผันจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเกี่ยวข้องตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวการแปรรูป การขนส่งการจัดจำหน่าย การบริโภค ไปจนถึงกระบวนการก าจัดของเสีย รวมไปถึงการสร้างนวัตกรรมการผลิตอาหารที่เป็น ผลบวกต่อธรรมชาติ(Nature-Positive Production)


2. Biotechnology เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นธุรกิจที่จะไปเสริมหนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy) ที่ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาเสริมสร้างจุดแข็งของ ประเทศไทยอาทิพันธุวิศวกรรม (การดัดแปลงยีน) การผลิตสารเวชภัณฑ์(เช่น ยา วัคซีน โปรตีนเพื่อการบ าบัด) การผลิตชุดตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ การเกษตรอาหารและสิ่งแวดลอ้ม การผลิตที่ใช้เซลล์จุลินทรีย์เซลล์พืช และเซลล์สัตว์ในการผลิตสารชีวโมเลกุล สารออกฤทธิ์ ชีวภาพ การผลิตวัตถุดิบและ/ หรือวัสดุจำเป็นที่ใช้ในการทดลองหรือทดสอบด้านชีววิทยาระดับโมเลกุลรวมท้งับริการตรวจวิเคราะห์และ/หรือสังเคราะห์สารชีวภาพ


3. Renewable Resources & Alternative Energy ทรัพยากรหมุนเวียนและพลังงานทางเลือก เป็นธุรกิจที่สอดรับกับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน เช่น การใช้เชื้อเพลิงสะอาด การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าและการ เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน สำาหรับรองรับการยกระดับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ตามที่ประเทศไทยประกาศในเวทีประชุม World Leaders Summit ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่26 (UNFCCC COP26) ที่จะ บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายใน ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายใน ค.ศ. 2065


4. Electric Vehicles & Components ยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนประกอบ เป็นธุรกิจที่สอดรับกับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่งและร่วมผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและ ชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก ั ตามนโยบาย 30/30 คือการตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปีค.ศ. 2030


5. Social Digital Assets สินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อสังคม เป็นธุรกิจการเงินแบบหลากหลาย (Diversified Finance) ที่ไม่ได้มีเพียงธนาคาร เงินทุนและหลักทรัพย์หรือธุรกิจประกัน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยก าลัง อยู่ระหว่างศึกษาการออกใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางในระดับรายย่อย (Retail CBDC) เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนในการใช้จ่ายและช าระเงินที่ ปลอดภัยลดต้นทุนต่อหน่วยของการใช้เงินสดในระบบ เอื้อประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม อีกทั้งได้เริ่มมีผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ เป็นศูนย์ซื้อขาย (Exchange) นายหน้า (Broker) ผู้ค้า (Dealer) ที่ปรึกษา (Advisor) และผู้จัดการเงินทุน (Fund Manager) ด าเนินการขอใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจ ที่ก.ล.ต. เพิ่มมาเป็นประเภทธุรกิจใหม่ภายใต้การกำกับดูแลในปัจจุบัน


6. Metaware for Vulnerable Groups เมตาแวร์เพื่อกลุ่มเปราะบาง เป็นธุรกิจที่นาเทคโนโลยีในโลกเมตาเวิร์ส มาพัฒนาอุปกรณ์หรือเมตาแวร์สำหรับเสริมสร้างคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางอาทิกลุ่มคนพิการในกลุ่มที่มีปัญหา ทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย กลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้านและติดเตียง แต่ประสาทสัมผัสทั้งห้ายังเป็นปกติเนื่องจากเมตาเวิร์ส สามารถช่วยจำลองให้ บุคคลไปอยู่ในสถานที่ต่างๆ ได้โดยอาศัยการสวมใส่อุปกรณ์ที่สร้างการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสในรูปแบบของภาพและเสียง เช่น อุปกรณ์สวมศีรษะ VR (Virtual Reality) และสามารถมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่อยู่ในเมตาเวิร์สเดียวกันผ่านการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เปิด โอกาสให้กลุ่มเปราะบาง ดังกล่าว สามารถใช้ประโยชน์จากเมตาเวิร์ส มาทดแทนข้อจำากัดในการทำกิจกรรมที่ต้องเดินทางหรือต้องออกจากบ้าน

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในบริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100

บริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) (THIP) ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ในบริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100

Page 3 of 7
X

Right Click

No right click