บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) จัดงานสัมมนา An Afternoon with Howard Marks: Navigating Market Realities Through Sea Change ฉายภาพการลงทุนท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ (Sea Change) ผ่านมุมมองกูรูการลงทุนระดับโลกอย่าง Howard Marks และ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ นักเศรษฐศาสตร์ชั้นแนวหน้าของประเทศ โดยงานสัมมนานี้จัดขึ้นสำหรับกลุ่มลูกค้า Wealth Management แบบเอกซ์คลูซีฟ เพื่อยกระดับการลงทุนและการบริหารความมั่งคั่งไปสู่โอกาสระดับโลก ณ โรงแรมวอลดอร์ฟ แอสโทเรีย กรุงเทพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา

นาย Howard Marks ผู้ก่อตั้งร่วมและประธานร่วม บริษัท โอ๊คทรี แคปิตอล แมเนจเมนท์ บริษัทจัดการสินทรัพย์ผู้นำด้านการลงทุนทางเลือก (Alternative Investment) ของโลกกล่าวว่าปัจจุบันตลาดทุนอาจกำลังประสบกับ “การเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่” (Sea Change) ครั้งที่ 3 การเปลี่ยนผ่านครั้งแรกเกิดขึ้นในช่วงปี 1970-1980 ที่นักลงทุนได้เปิดรับแนวคิดว่าสามารถลงทุนในคุณภาพสินทรัพย์ระดับใดก็ได้ภายใต้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับความเสี่ยง การเปลี่ยนผ่านครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในช่วงปี 1980-1990 หลังจากอัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นสูง และธนาคารกลางสหรัฐต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงร้อยละ 20 เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ก่อนจะปรับลดก่อให้เกิดยุคของอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่อง และทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างก้าวกระโดดมากว่า 40 ปี สำหรับในปัจจุบัน สภาวะเงินเฟ้อระดับสูง และอัตราดอกเบี้ยสูงอาจนับเป็นการเปลี่ยนผ่านสำคัญครั้งใหญ่ครั้งที่ 3 ที่นักลงทุนจำต้องปรับแนวคิดต่างไปจากเดิม อัตราส่วนระหว่างผลตอบแทนและความเสี่ยงที่เปลี่ยนไปสำหรับสินทรัพย์ทุกประเภท ทำให้กลยุทธ์การลงทุนในตราสารหนี้ (Debt Investing) มีความน่าสนใจ และบ่งบอกว่ากลยุทธ์การลงทุนที่สามารถใช้ได้ดีในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา อาจจะไม่ใช่กลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนในอนาคตอีกต่อไป

ด้าน ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กล่าวว่าผลกระทบของการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ระดับโลกที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ล้วนส่งผลกระทบมาถึงไทยไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากประเด็นการเปลี่ยนผ่านระดับโลก ประเทศไทยยังมีความท้าทายเฉพาะตัว อันเนื่องมาจากอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ลดลง การพึ่งพาอุปสงค์จากภายนอกที่มากขึ้น และความสามารถในการแข่งขันลดลง ดังนั้น การรับมือกับปัจจัยภายนอกอย่างประเด็นภูมิรัฐศาสตร์โลก การทวงคืนตลาดการส่งออก การฟื้นคืนจำนวนนักท่องเที่ยว ตลอดจนการบริหารอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี และการปฏิรูปเชิงโครงสร้างในด้านการศึกษา พลังงาน สิ่งแวดล้อม การเกษตร การเมือง หรือโครงสร้างประชากรจึงเป็นสิ่งที่ประเทศไทยต้องพิจารณาเพื่อเตรียมรับกับการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้น

 

ตอนต้นปี 2556 เพื่อนคนหนึ่ง ได้ซื้อ Bitcoin ด้วยเงิน 2 แสนบาท ได้บิทคอยมาประมาณ 13 บิทคอยกว่าๆ

แม้ว่าเขาจะขายไปหลังจากนั้นไม่นาน เมื่อราคามันพุ่งขึ้นกว่าสิบเท่า แต่ก็ยังถือว่าไม่มากเมื่อเทียบกับมูลค่า ณ ขณะนี้

 

ถึงกระนั้น เขาก็ได้กำไรมามากอย่างน่าพอใจ มากพอที่จะครอบคลุมค่าเทอมและค่ากินอยู่ของลูกสาวที่ตอนนั้นยังเรียนอยู่ที่ปารีสได้สบายๆ

ในปีนั้น และยังเหลือให้เขานำกลับไปลงทุนซื้อ Ethereum อีกจำนวนพอสมควร

 

แม้จะเสียดายที่ขายเร็วไป แต่บทเรียนครั้งนั้นทำให้เขาเข้าใจหลักการลงทุนลึกซึ้งขึ้น

 

จึงอยากจะมาแชร์ให้ฟัง

อันที่จริง เขาไม่ได้กะจะลงทุนในบิทคอยเลย เพราะเขามีพอร์ตที่เข้ากับนิสัย ความชอบ และรสนิยมความเสี่ยง ของเขาลงตัวแล้ว ทั้งหุ้นเทคโนโลยี อสังหาริมทรัพย์ และของสะสมจำนวนหนึ่ง

แต่เขาเข้ามาซื้อเพราะจะหาทางลดค่าใช้จ่ายในการโอนเงินระหว่างประเทศไปให้ลูกทุกเดือน

 

สมัยนั้น การโอนผ่านบล็อกเชนยังไม่มี เขาจึงต้องโอนผ่านระบบ SWIFT ซึ่งเสียค่าธรรมเนียมมาก ทั้งต้นทางปลายทาง รวมๆ แล้วหลายพันบาทต่อเดือน

เขาจึงมาปรึกษาผม และผมก็บอกให้เขาลองใช้บิทคอยดู

 

ขณะนั้น ราคาบิทคอยยังไม่สวิงสวายมาก เขาน่าใช้วิธีโอนเป็น Token ไปให้ลูก แล้วให้ลูกไปขายออกทางโน้นแทน โดยคิดว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการโอนได้บ้าง และสร้างนิสัยให้ลูกได้ติดตามอินโนเวชั่นทางการเงินใหม่ๆ ของโลกไปด้วยในตัว

 

แต่พอศึกษาเรื่องบิทคอยแล้ว เขาก็เห็นว่ามันมีข้อดี มันเป็นเสมือนทองคำ ที่ใช้พักเงินไว้ระยะยาวได้ โดยลดความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อ อันเนื่องมาแต่ความกลัวเรื่องฝรั่งพิมพ์เงินแบบไม่จำกัดนั่นเอง

 

เขาจึงทดลองซื้อครั้งแรกเพียง 2 แสนบาท เพราะตอนนั้นเขามีเงินที่ไม่ได้ใช้อยู่เท่านั้น คิดว่าถ้าเจ๊งก็ช่างมัน ไม่เป็นไร

อย่างไรก็ดี เมื่อลูกสาวเขาไปขอเปิดบัญชีกับ Crypto Exchange ที่ปารีส (สมัยนั้นใหญ่ที่สุดคือ Coinbase) ก็ปรากฏว่าไม่สามารถเปิดได้

เพราะลูกสาวของเขายังถือพาสปอร์ตไทย แม้ตัวจะอยู่ปารีส แต่ Coinbase ยังนับเป็นไทย และ Coinbase ณ ขณะนั้นยังไม่เปิดให้บริการในตลาดไทย

 

นั่นทำให้ความคิดนี้เหลวไป และบิทคอย 13 บิทคอย ก็เลยค้างอยู่ในวอลเล็ตของเขา โดยที่เขาไม่ได้ไปสนใจมันอีกเลย

เลยตามเลยไปแบบนั้น

แต่เมื่อราคามันระเบิดปะทุขึ้นจากคนแห่งมาเก็งกำไรกันทั้งโลก เขาก็เลยขายไปในเวลาไม่นานนัก ได้ผลตอบแทนมาก้อนใหญ่มากเมื่อเทียบกับต้นทุนที่ลงไป

ก็เลยลองเจียดกำไรส่วนน้อย Reinvest ไปอีกกับ Ethereum เพราะราคายังถูกกว่าบิทคอยมาก

 

หลังจากนั้นไม่ถึงเดือน ตลาดคลิปโตก็ล่ม เขาต้องรออีก 3 ปี กว่าจะมาทำกำไรอีกรอบหนึ่งสำหรับ Ethereum ที่ถือไว้ ซึ่งก็ได้กำไรมาแยะมาก

เมื่อเทียบกับต้นทุน และถ้าคิดเป็นอัตราผลตอบแทน นับว่าสูงกว่าหลักทรัพย์อื่นในพอร์ตปกติของตัวเองมากเลยทีเดียว สูงแบบกระโดดไปเลย

 

ทำให้ผลตอบแทนเฉลี่ยของพอร์ต สองปีนั้นสูงเป็นประวัติการณ์

ทฤษฏีพอร์ตฟอริโอ บอกให้เราผสมผสานระหว่างหุ้นกู้ หุ้นสามัญ อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ ฯลฯ เพื่อกระจายความเสี่ยงใช่ไหม

 

ถูกแล้ว เราควรฟอร์มพอร์ตโฟลิโอที่มีแต่สินทรัพย์ที่เราคิดว่าปลอดภัยและสร้างรายได้ให้เราสม่ำเสมอ

ทว่า บทเรียนของเพื่อนผมครั้งนี้ สอนให้เรารู้ว่า เราต้องกันเงินประมาณะ 1-5% มาเพิ่มรสชาติให้กับพอร์ต

ด้วยการซื้อไอเดียหรือสินทรัพย์ที่เสี่ยงมากๆๆๆๆ ที่มีศักยภาพสูง ที่เมื่อมันสำเร็จ มันจะสร้างผลตอบแทนชนิดระเบิดเถิดเทิง

 

เรียกว่า Explosive Growth

เป็นการเติมชูรสให้กับพอร์ตของเรา โดยการเจียดเงินจำนวนเล็กน้อย (สัก 1-5% ของพอร์ต) ไปกับไอเดียหรือสินทรัพย์แบบซูเปอร์เสี่ยง คือเสี่ยงสูงมากๆๆๆๆแต่มีศักยภาพสูงมากชนิดระเบิดเถิดเทิง เช่นกัน

ถ้ามันสำเร็จ เจ้า 1-5% นี้ ก็จะกลายเป็นหลายสิบเปอร์เซนต์ของพอร์ตเลยทีเดียว

ทีนี้ เมื่อพอร์ตเราโตขึ้นด้วยวิธีนี้ สัดส่วน 1-5% มันก็จะใหญ่ขึ้นตามด้วย ทำให้เราสามารถเจียดเงินมาเสี่ยงได้มากขึ้น

และแทนที่เราจะแทงไปที่สินทรัพย์ตัวเดียวหรือไอเดียเดียว เราก็แบ่งแทงสัก 10 ตัวก็ได้

 

เช่นถ้าเราเจียดมาได้สัก 1 ล้านบาท พร้อมที่จะแทงแบบ “เสียช่างมัน” แทนที่จะแทงตัวเดียว ก็แบ่งเป็นซื้อสินทรัพย์เสี่ยงสัก 10 ตัว ตัวละแสนบาท

แน่นอน ว่าสินทรัพย์ที่เราซื้อหลายตัวในนั้นอาจเหลวเป๋วไป หรืออาจจะมลายหายไปสิ้นหมด

 

แต่ถ้ามันถูกสักตัวหนึ่ง มันก็จะทำให้พอร์ตเราโตก้าวกระโดดได้อีกขั้นหนึ่ง โดยความเสี่ยงแทบจะเพิ่มน้อยมาก

ยุคนี้เป็นยุคที่สินทรัพย์ประเภทนี้มีให้เลือกแยะมาก ไม่จำเป็นที่ต้องเป็น Venture Capital Fund เท่านั้น ที่เข้าถึงได้

 

ข้อสำคัญคือต้องศึกษา Fundamental ของสินทรัพย์เสี่ยงเหล่านั้นให้ดีก่อนลงทุน และหลีกเลี่ยงการใช้ Leverage

ลองเติมชูรสเข้าไปในพอร์ตของท่านสักนิดดูเองเถอะ

ขอให้โชคดี!

กรุงเทพฯ ประเทศไทย วันที่ 27 มิถุนายน 2566 — การ์ทเนอร์ อิงค์ คาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีของบริการธนาคารและการลงทุนทั่วโลกจะสูงถึง 652.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2566 เพิ่มขึ้น 8.1% จากปี 2565 โดยในหมวดซอฟต์แวร์จะมีอัตราการเติบโตมากที่สุด เพิ่มขึ้น 13.5% ในปีนี้

เดบบี้ บัคแลนด์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า "ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันเปลี่ยนบริบทการลงทุนในเทคโนโลยีของภาคการธนาคารและการลงทุนในปีนี้ แทนที่จะปรับลดงบประมาณไอที องค์กรกำลังใช้จ่ายมากขึ้นกับประเภทเทคโนโลยีที่สร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น การใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ที่กำลังเปลี่ยนจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้เองไปเป็นการซื้อโซลูชันที่สร้างมูลค่าจากการลงทุนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น”

การลงทุนในคลาวด์ยังคงสำคัญเหมือนเดิม จากการสำรวจ CIO and Technology Executive Survey ประจำปี 2566 ของการ์ทเนอร์ พบว่าในปี 2566 CIO ในกลุ่มบริการธนาคารและการลงทุนจะใช้เงินก้อนใหม่หรือเพิ่มการลงทุนจำนวนมากที่สุดไปกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ ข้อมูลและการวิเคราะห์ เทคโนโลยีที่ใช้ร่วมกัน และคลาวด์

ผู้บริหารไอทีมากกว่าครึ่งวางแผนเพิ่มการลงทุนในคลาวด์และลดการใช้จ่ายด้านไอทีในดาต้าเซ็นเตอร์ของตนเอง สะท้อนให้เห็นจากยอดการเติบโตที่ช้าลงของการใช้จ่ายด้านระบบดาต้าเซ็นเตอร์ลดลงจาก 13.2% ในปี 2565 เป็น 5.7% ในปี 2566 (ดูตารางที่ 1) โดยธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ กำลังยกเลิกการลงทุนไปกับสินทรัพย์มีตัวตน (Tangible Assets) และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรขององค์กร (CAPEX) เพื่อหันมาใช้บริการและลงทุนกับสินทรัพย์ในรูปแบบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ (OPEX) เพื่อตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าและตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป

พีท เรดชอว์ รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ ระบุว่า "เพื่อรับมือกับวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน CIO ขององค์กรที่ให้บริการธนาคารและการลงทุนกำลังจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายอย่างรอบคอบมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน เช่น การมอบประสบการณ์ลูกค้าที่ดีขึ้น (CX) และการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขอบเขตพื้นที่ใหม่ ๆ กลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ และสายงานธุรกิจใหม่ ๆ ที่ซึ่งเปลี่ยนไปจากเมื่อปีก่อนที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดและเคยเป็นเป้าหมายหลักของ CEO ของธุรกิจการเงินการธนาคาร”

บริการไอทียังเป็นกลุ่มที่มียอดการใช้จ่ายมากที่สุด

เนื่องจากการใช้บริการให้คำปรึกษาและการบริการ Infrastructure As A Service (IaaS) ที่เพิ่มขึ้น บริการไอทีจะเป็นกลุ่มที่มียอดการใช้จ่ายสูงที่สุด โดยคาดว่าจะสูงถึงเกือบ 270 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2566 เพิ่มขึ้น 9.3% จากปี 2565 สะท้อนถึงบทบาทที่สำคัญของผู้ให้บริการด้านไอทีที่มากขึ้นและมีส่วนช่วยเหลือองค์กรในกลุ่มบริการธนาคารและการลงทุนเพื่อรับมือกับโอกาสและความท้าทายใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น

“ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องแบ่งสัญญาระยะยาวออกเป็นโปรเจกต์สั้น ๆ หลาย ๆ โปรเจกต์” บัคแลนด์ กล่าวเพิ่ม “นอกจากนั้นยังลังเลที่จะเซ็นสัญญาใหม่ ยึดอยู่กับการริเริ่มระยะยาว หรือรับพันธมิตรด้านเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งเป็นการผลักดันให้มีการใช้บริการที่ปรึกษาด้านไอทีเพิ่มขึ้น”

ปัญหา Talent Shortage ก่อให้เกิดต้นทุนใช้จ่ายภายในองค์กร

การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะความสามารถทั่วโลกส่งผลกระทบต่อองค์กรในกลุ่มบริการธนาคารและการลงทุน โดยทำให้มูลค่าการใช้จ่ายบริการภายในเพิ่มขึ้น 4.2% ในปี 2566 เนื่องจากมีต้นทุนการจ้างงานและการรักษาทีมงานที่มีทักษะความสามารถเพิ่มขึ้น

"แม้เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการปลดพนักงานของบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่หลายแห่งแต่บุคลากรที่มีทักษะความสามารถระดับสูงกลับไม่ได้มองว่าธนาคารเป็นจุดหมายปลายทางที่อยากมาทำงานด้วย หรือมอบรายได้ที่คุ้มค่า หรือน่าตื่นเต้นที่สุดที่ได้ทำงาน ดังนั้นองค์กรจำเป็นต้องมีโซลูชันที่เน้นนวัตกรรมเพื่อคัดสรรบุคลากรมากขึ้น อาทิ การลดข้อกำหนดของการศึกษาในมหาวิทยาลัย และเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่นๆ มากขึ้น เช่น การฝึกอบรมเพื่อสร้างทักษะใหม่ ๆ ตลอดชีวิต การสร้างทีมไฮบริด การเพิ่มวิธีการที่เน้นความคล่องตัว และการร่วมมือด้านฟินเทค” เรดชอว์ กล่าวเพิ่ม

ติดตามข่าวสารและข้อมูลอัปเดตจาก Gartner for High Tech ได้ทาง Twitter และ LinkedIn หรือเยี่ยมชม IT Newsroom สำหรับข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม

 

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และนายเซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (BAY) ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการค้าการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในกลุ่มประเทศ CLMVT (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย) ทั้งด้านการเงินและด้านที่ไม่ใช่การเงิน อาทิ การแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ การพัฒนาบุคลากร เพื่อต่อยอดไปสู่การขยายการค้าและการลงทุนของไทยและสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและภูมิภาคอาเซียน ณ EXIM BANK สํานักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2566

InnovestX Academy” แหล่งรวมความรู้ครอบจักรวาลด้านการลงทุน ดึง “พอล-ภัทรพล” นักลงทุนชื่อดัง ประเดิม Exclusive Class แชร์ประสบการณ์การลงทุนที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน

Page 1 of 7
X

Right Click

No right click