×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 805

Industry 4.0 การปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือ Industrial Revolution

November 27, 2017 7167

การปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือ Industrial Revolution คือการเปลี่ยนแปลงกระบวนการและรูปแบบการผลิต โดยโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงภาคอุตสาหกรรมไปทั้งหมดสี่ยุคด้วยกัน

โดยในยุคแรกเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมโดยนำเครื่องจักรมาทดแทนแรงงานคน นั่นคือ เครื่องจักรไอน้ำ ส่งผลต่อประสิทธิภาพและผลผลิตของกระบวนการผลิตสินค้า เช่น สิ่งทอ สามารถทำได้ในต้นทุนที่ต่ำและมีปริมาณที่มากขึ้น จากนั้นในการปฏิวัติครั้งที่สอง เกิดขึ้นต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อ Henry Ford นำระบบสายพานการผลิตเข้ามาผลิตรถยนต์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพปริมาณการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น สามารถผลิตรถยนต์ Ford Model T ได้ในปริมาณที่มาก ในยุคนี้ระบบสายการผลิตส่งผลให้เกิด Mass Production อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสินค้าที่ผลิตได้ในปริมาณมาก แต่สินค้านั้นๆ จำเป็นต้องเป็นสินค้าที่เหมือนกันทั้งหมด นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ Ford Model T ต้องเป็นสีดำ 

สำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุคที่สามนั้น เป็นยุคที่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการควบคุมการผลิต ประมาณ ค.ศ.1970 ส่งผลต่อการผลิตในระบบอัตโนมัติ มีการใช้หุ่นยนต์ทดแทนแรงงาน สามารถผลิตสินค้าที่ซับซ้อนในปริมาณที่มากได้ จากนั้นในการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุค 4.0 เกิดขึ้นจากการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ผ่าน Internet of Things หรือ IoT ส่งผลต่อการผลิตที่นอกจากได้ปริมาณมากแล้วยังสามารถมีความหลากหลายได้อีกด้วย นั่นคือ

Mass Customization คือโรงงานสามารถผลิตสินค้าได้ตาม ความต้องการที่แตกต่างของลูกค้าแต่ละคนได้ เนื่องจากลูกค้าสามารถเชื่อมต่อกับโรงงานได้โดยตรง ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หรือที่เราสามารถเรียกว่า Smart Factory กล่าวโดยสรุปคือ ประโยชน์ของ Industry 4.0 คือ สามารถทำให้มีการเชื่อมต่อของธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำ (ผู้ผลิต) จนถึงปลายน้ำ (ผู้ใช้) สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากทุกๆ ส่วนของกระบวนการธุรกิจ ผ่านอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (IoT) ข้อมูลสินค้าและลูกค้าสามารถวิเคราะห์ผ่านทาง Big Data นอกจากนี้เทคโนโลยียังถูกนำมาใช้แทนที่แรงงานคน ดังนั้นบุคลากรจำเป็นต้องมีการพัฒนาทักษะและความรู้ในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มากขึ้น มิฉะนั้นอาจถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังต้องมีการขับเคลื่อนด้วยงานวิจัยและพัฒนา [1] สำหรับเทคโนโลยีที่ใช้ใน Industry 4.0 นั้น ประกอบด้วยเทคโนโลยีอาทิเช่น Robotic, 3D Printing, IoT, และ Cloud Computing เป็นต้น [2] 

 

เทคโนโลยี Robotic คือการนำหุ่นยนต์มาใช้แทนแรงงาน ซึ่งความจริงการใช้หุ่นยนต์มีมาตั้งแต่ยุค Industry 3.0 แล้ว แต่ Robot ในยุค Industry 4.0 นอกจากทำงานได้แทนแรงงานแล้ว ยังสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับคนได้อีกด้วย นอกจากนี้ Robot ในยุค Industry 4.0 ยังสามารถทำงานได้เอง ตัดสินใจได้เองโดยไม่ต้องมีคนควบคุมเหมือนในยุค 3.0

เทคโนโลยี 3D Printing สามารถใช้พิมพ์วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ออกแบบได้เลย เช่น แว่นตา Case โทรศัพท์มือถือ รวมไปถึงวัสดุขนาดใหญ่ เช่น บ้าน โดย 3D Printing สามารถผลิตชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ ได้เอง เป็นลักษณะ On-Demand โดยไม่จำเป็นต้องมีการ Stock สินค้าก่อน 

สำหรับ IoT เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ในโรงงานให้สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยตรง และสามารถควบคุมและตรวจสอบผ่านทางอินเทอร์เน็ตและ  ได้ IoT จะทำให้อุปกรณ์เซนเซอร์ในโรงงานอุตสาหกรรมสามารถเชื่อมต่อกันและกัน มีการจัดเก็บข้อมูลเพื่อไปวิเคราะห์ผ่านทางเทคโนโลยี Big Data ได้ต่อไป 

สำหรับ Cloud Computing คือการที่องค์กรสามารถใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ เช่น Hardware, Software, และ ข้อมูล ผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ส่งผลทำให้กระบวนการผลิต ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสินค้า สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการลดต้นทุนขององค์กร ทำให้องค์กรไม่ต้องมีการลงทุนทรัพยากรเทคโนโลยีเอง เปลี่ยนรูปแบบจากการทำเอง (Make) หรือการซื้อ (Buy) ไปสู่การเช่า (Rent) โดยองค์กรสามารถเช่า Hardware และ Software โดยไม่ต้องลงทุนและบำรุงรักษาเอง ส่งผลต่อความยืดหยุ่นของการใช้เทคโนโลยีที่มากขึ้น 

ทั้งหมดที่กล่าวมาสามารถสรุปได้ว่า Industry 4.0 ส่งผลต่อการสร้างคุณค่า (Value) ในกระบวนการผลิตสินค้า สร้างความสามารถการแข่งขันให้กับธุรกิจไทย และลดต้นทุนการผลิตสินค้าผ่านเทคโนโลยีดิจิตอลและ Robotic สิ่งต่อไปที่ต้องมีการพัฒนา คือการพัฒนาคนที่ต้องมีความรู้และทักษะที่สูงขึ้น มิฉะนั้นอาจถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีได้ นอกจากนี้สถาบันการศึกษาควรต้องมีการทบทวนหลักสูตรการศึกษาให้เหมาะกับการพัฒนา Skill ใหม่ๆ 


ที่มา

1. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, Future Management in Productivity World 2015.

2. S., W. INDUSTRY 4.0. 2016 [cited 2017 August 20th] ; Available from: https://www.applicadthai.com/articles

Rate this item
(2 votes)
Last modified on Wednesday, 02 October 2019 10:10
X

Right Click

No right click