นิด้า : ภายใต้การเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในความน่าเชื่อถือ (Trust) จากสังคมมายาวนาน ความสำเร็จมีที่มาจากรากฐานการทำงานที่มีการส่งต่อและรับช่วงจากทีมบริหารชุดก่อนผ่านสภาสถาบัน

หากคุณกำลังมองหาข้อมูลเรียนต่อ ณ ประเทศญี่ปุ่น ไมนิจิอะคาเดมิค กรุ๊ป ศูนย์แนะแนวศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่นครบวงจร จะทำให้ทุกท่านพบกับทุกคำตอบและข้อสงสัยการศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่น และพบกับโรงเรียนและมหาวิทยาลัยชั้นนำจากญี่ปุ่นที่จะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่ญี่ปุ่น ใครอยากไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นไม่ควรพลาด!!! มาพบกับได้ที่โซน Education Zone ณ Zen Gallery Hall ชั้น8 @Centralworld ในวันที่ 26 -27 มกราคม 2562 เวลา 10.00 - 17.00 น.

 

KCF ผู้ประกอบธุรกิจเกษตรครบวงจร จับมือ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และท็อปส์ พรีเมี่ยมซูเปอร์มาร์เก็ต ชั้นนำของประเทศ เปิดช่องทางให้ประชาชนได้ร่วมซื้อไข่ใจบุญ 1 แพ็ค ได้ทำบุญ 5 บาทเข้าสู่โครงการ “ไข่ใจบุญ” เพื่อสนับสนุนกองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ ทันที

นายโกญจนาท ศรมยุรา รองประธานกรรมการบริหารและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายบัญชี และการเงิน (CFO) บริษัท เกษมชัยฟู๊ด จำกัด เปิดเผยในวันแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “ไข่ใจบุญ” เพื่อสนับสนุนกองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า “ผมได้ข่าวว่าคุณหมอไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความต้องการรับเงินบริจาคจากคนไทยคนละ 5 บาท เพื่อวิจัยต่อยอดทำยารักษามะเร็ง ซึ่งจะลดค่ายาจากเข็มละ 200,000 บาท เหลือเพียง 20,000 บาท ทำให้คนไทยมีความหวังที่จะเข้าถึงยารักษาโรคมะเร็งได้มากขึ้น ผมจึงอยากมีส่วนร่วมสนับสนุนทันที”

หลังจากที่บริษัทฯ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของโครงการวิจัยฯ ว่ายินดีดำเนินการร่วมกัน บริษัทฯ จึงเร่งเชิญชวนห้างร้านต่างๆ    ที่บริษัทฯ ได้วางขายผลิตภัณฑ์ไข่อยู่แล้ว ให้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งทุกห้างร้านให้ความสนใจเข้าร่วมทันที  โครงการมีระยะเวลา 9 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2561 ถึง 31 สิงหาคม 2562 หลังจากนั้นจึงค่อยดูกระแสตอบรับและความจำเป็นของโครงการวิจัยฯ อีกครั้งว่ายังต้องการให้ช่วยเหลือต่ออีกหรือไม่ เพราะประชาชนอาจจะสนับสนุนจนเกินจำนวนที่ต้องการแล้วก็ได้

นายโกญจนาท ยังเปิดเผยต่อด้วยว่า “ผมเคยลองคำนวณง่ายๆ ตอนที่ไปพบกับคุณหมอไตรรักษ์หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ซึ่งผมยังไม่รู้เลยว่าห้างไหนจะเอาด้วย จึงคิดง่ายๆ ว่า ห้างที่เราขายไข่มีอยู่ 4,000 สาขา ถ้าขายได้สาขาละ 10 แพ็ค  รวมเป็น 40,000 แพ็คต่อวัน  หนึ่งแพ็คบริจาค 5 บาท = 200,000 บาท ได้เงินเดือนละ 6 ล้านบาท จำนวน 9 เดือน = 54 ล้านบาท ขณะที่ในเฟสนี้คุณหมอต้องการ 200 ล้าน แต่คุณหมอก็บอกว่า ไม่เป็นไร ได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น ถ้าได้ก็ถือว่าคนไทยเห็นความสำคัญ และก็จะทำให้ผลการวิจัยสำเร็จเร็วขึ้น เป็นของขวัญให้กับประชาชนได้เร็วขึ้น”

ด้านนายแพทย์ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล หัวหน้าทีมวิจัยยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าว่า การวิจัยมีทั้งสิ้น 5 เฟส ประกอบด้วย

เฟส 1 การผลิตยาแอนติบอดีต้นแบบจากหนู ทำการผลิต เลือก และทดสอบยาต้นแบบจากเซลล์เม็ดเลือดขาวของหนูมากกว่าหนึ่งแสนแบบ ใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท

เฟส 2 ปรับปรุงแอนติบอดีให้มีความคล้ายโปรตีนของมนุษย์ และเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้น ใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท

เฟส 3 เมื่อได้ยาต้นแบบที่ปรับปรุงแล้ว จะต้องนำมาทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้นในสัตว์ทดลอง แล้วทำการผลิตยาจากโรงงานในปริมาณมากให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยสูงสุด ในขั้นตอนนี้ใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท

เฟส 4 ทดสอบยาที่ผลิตได้ในสัตว์ทดลอง เช่น หนู และลิง โดยจะทดสอบคุณภาพและความปลอดภัยในสัตว์ทดลอง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะทดสอบในมนุษย์ต่อไป คาดว่าจะใช้งบประมาณ 100-200 ล้านบาท

เฟส 5 การทดสอบในมนุษย์ เป็นการทดสอบตัวยาในผู้ป่วยมะเร็งในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีการทดสอบต่างๆ อาทิ ปริมาณการให้ยา ประสิทธิภาพการรักษา ผลข้างเคียง เป็นต้น คาดว่าจะใช้งบประมาณ 1,000 ล้านบาท

นายแพทย์ไตรรักษ์ กล่าวว่า “เพื่อให้งานวิจัยดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ศูนย์ฯ จึงได้จัดตั้ง “กองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ”  ขึ้นเพื่อระดมทุนในการพัฒนายาแอนติบอดีรักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพสูงในราคาที่คนไทยสามารถเข้าถึงได้ และเป็นวิธีการรักษาแห่งอนาคตซึ่งเป็นความหวังที่จะเอาชนะโรคมะเร็งได้” 

ด้าน คุณโสภาพรรณ จุ้ยเจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายจัดซื้อกลุ่มสินค้าอาหารสด บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ได้ดำเนินนโยบายและโครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือสังคมมาโดยตลอดทั้งด้านการศึกษา สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นไปตามนโยบายหลักของกลุ่มเซ็นทรัล ที่ต้องการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับประชาชน สำหรับโครงการ “ไข่ใจบุญ” เพื่อสนับสนุนกองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ นับเป็นโครงการที่ดีมาก และบริษัทฯ ยินดีให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ซึ่งทางเราได้จัดพื้นที่เพื่อเป็นช่องทางในการจำหน่ายถึง 209 สาขาทั่วประเทศ ลูกค้าของเซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และท็อปส์ พร้อมให้การช่วยเหลือ สนับสนุนโครงการต่างๆ ที่เกิดประโยชน์ต่อสังคมเสมอ จากหลายๆ โครงการที่บริษัทฯ จัดขึ้นก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง การเข้าร่วมสนับสนุนโครงการ “ไข่ใจบุญ” เพื่อสนับสนุนกองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ เราจึงเชื่อมั่น

ขอเพียงประชาชนเมื่อได้เห็นแพ็ค “ไข่ใจบุญ” วางขายที่เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และท็อปส์แล้ว ก็ช่วยอุดหนุนกันคนละหลายๆ แพ็ค เพื่อให้ได้ยอดเงินบริจาคตามเป้าหมายโดยเร็ว ประชาชนก็จะได้รับประโยชน์เร็วยิ่งขึ้น

การผนึกกำลังกันระหว่างผู้ผลิตไข่ (KCF) กับ ช่องทางขาย (เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และท็อปส์) ภายใต้โครงการ “ไข่ใจบุญ” เพื่อสนับสนุนกองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ ในครั้งนี้ จะเป็น “ความหวัง” ที่ไม่ไกลเกินเอื้อมของประชาชนคนไทยเพื่อเข้าถึงยารักษามะเร็ง ซึ่งทุกวันนี้คนไทยมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งแล้วถึง 1 ใน 3 คน

“CMKL Tech Summit 2018” สัมมนาใหญ่ด้าน AI ครั้งแรกของประเทศไทย จัดโดย “มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล” อัดแน่นด้วยหัวข้อบรรยายจากภาคเอกชนและภาคการศึกษาระดับโลก เพื่อเตรียมความพร้อมประชาชนและองค์กรรับมือกับการเปลี่ยนแปลง มุ่งนำนวัตกรรมมาขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจในอนาคต

เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล เปิดตัวงานสัมมนาใหญ่ “CMKL Tech Summit 2018” C asean auditorium อาคารไซเบอร์เวิลด์ มีผู้เข้าร่วมงานมากถึง 300 คน โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภามหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University) กล่าวในพิธีเปิดงานว่า เศรษฐกิจทั่วโลกในอนาคตจะต้องหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น รายงานของสภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum เกี่ยวกับเรื่อง Digital Transformation คาดการณ์ไว้ว่า การปรับตัวสู่ดิจิทัลขององค์กรต่างๆ จะช่วยปลดล็อกมูลค่าทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ทั่วโลกได้มากถึง 100 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3,280 ล้านล้านบาทในช่วง 10 ปี ดังนั้น ทุกคน ทุกองค์กร ไม่ว่าจะองค์กรขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ ต่างจะต้องเผชิญกับความท้าทายในยุค Digital Transformation”

วัตถุประสงค์หลักของการจัดงาน คือ ต้องการยกระดับขีดความสามารถของบุคคลและองค์กร ขจัดปมปัญหา (Pain Point) ต่างๆ ในยุค Digital Transformation โดยการนำเอาปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาปรับใช้ ผ่านจุดแข็งของมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านเทคโนโลยี ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2560 ปัจจุบัน เปิดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และหลักสูตรระยะสั้น (Short Course) ด้านเทคโนโลยี AI, Blockchain, Data Analytics และ Cyber Security มีบุคลากรจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน มหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญและพัฒนาซอฟต์แวร์ AI และเครือข่ายองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีที่เข้มแข็ง เพื่อเป้าหมายในการสร้างคอมมูนิตี้และเพิ่มความสามารถทางเทคโนโลยีให้แก่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านงานวิจัยและนวัตกรรม นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังมีการจัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาร่วม (Co-R&D) กับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในด้าน AI จึงมีวิสัยทัศน์ที่เห็นถึงการใช้นวัตกรรมด้าน AI ขับเคลื่อนภาคธุรกิจในเซ็กเตอร์ต่างๆ และจัดงานครั้งนี้ขึ้น เพื่อทั้งช่วยสร้างความตระหนักและมอบองค์ความรู้แก่ทุกองค์กร

ภายในงานมีการบรรยายหัวข้อด้าน AI ที่น่าสนใจมากมาย เช่น การเปลี่ยนแปลงเมืองสู่ดิจิทัลด้วย AI การใช้ AI รองรับการก้าวสู่ยุคสังคมผู้สูงอายุ การใช้ AI มาช่วยให้เกิดการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดในภาคธุรกิจ AI สำหรับสมาร์ต ฟาร์มมิ่ง ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากทั้งภาคเอกชนชั้นนำของไทยในหลากหลายธุรกิจและอุตสาหกรรมที่กำลังให้ความสนใจกับการปรับตัวในยุค Digital Transformation อาทิ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีบี อบาคัส จำกัด (SCB Abacus) รวมถึงภาคการศึกษาระดับโลกอย่างมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน สหรัฐอเมริกา และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ด้าน ผศ.ดร.สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น อธิการบดีมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University) กล่าวว่า “วันนี้ AI ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงและสร้างอิทธิพลในบางกลุ่มธุรกิจแล้ว เช่น กลุ่มธนาคาร กลุ่มอีคอมเมิร์ซ กลุ่มโทรคมนาคม แต่พลังของ AI ยังสามารถขยายไปประยุกต์ใช้ได้กับเกือบทุกประเภทธุรกิจ เพราะAI สามารถช่วยเรียนรู้และช่วยทำเรื่องยากๆ บางเรื่องได้ในเวลาอันรวดเร็ว ลดต้นทุนทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายบางส่วนลงได้ ความรู้เกี่ยวกับ AI จะกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับขับเคลื่อนโลกในอนาคต”

ดังนั้น องค์กรทุกระดับจะต้องเผชิญความท้าทายอย่างมากในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ปัญหาโครงสร้างองค์กร รวมถึงการขาดองค์ความรู้และกลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนพัฒนาองค์กรให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง การสัมมนาครั้งนี้จึงเป็นเบันไดขั้นสำคัญที่จะช่วยให้ทั้งภาคประชาชนและองค์กรได้ติดอาวุธพร้อมรับมือทุกความท้าทาย มุ่งเน้นการนำนวัตกรรมมาพัฒนาสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างมั่งคงและยั่งยืน

GMI Open House

December 17, 2018

ขอเชิญผู้สนใจศึกษาต่อปริญญาโท ด้านบริหาร / จัดการ เข้าร่วมงาน Open House ในวันเสาร์ที่ 19 มกราคม 2562 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้อง Meeting Room 3 - 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ผู้ที่เข้าร่วมจะได้รับฟังข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเรียนบริหารเฉพาะทางด้วยหลักสูตรคุณภาพสู่การเป็นมืออาชีพอย่างละเอียด จาก คณาจารย์ นักศึกษา และศิษย์เก่าบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สามารถลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ https://goo.gl/KMd4kw (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-470-9795, 02-470-9781, 084-676-5885

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click