×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 805

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 806

TRUE Global Intelligence™” ฝ่ายวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลของเฟลชแมน ฮิลลาร์ด บริษัทที่ปรึกษาด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ระดับสากล เปิดตัว “DE&I Decoded: APAC” รายงานวิจัยเจาะลึกการรับรู้และความต้องการด้านการสนับสนุนความหลากหลาย ความเสมอภาค และการยอมรับความแตกต่าง (Diversity, Equity and Inclusion: DE&I) ของประชาชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

เพื่อวางกรอบการดำเนินงานให้ภาคเอกชนในเอเชียแปซิฟิกสามารถปฏิบัติตามเพื่อสนองความต้องการของประชาชนในภูมิภาคนี้ได้อย่างแท้จริง โดยรายงานฉบับนี้สะท้อนให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดและการปฏิบัติกับผู้เกี่ยวข้องต่างๆ และยังแนะแนวทางให้แบรนด์สามารถดำเนินธุรกิจที่สนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภคในภูมิภาคดีขึ้นและถูกต้องมากยิ่งขึ้น

ลินน์ แอน เดวิส ประธานเฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “แม้ว่าก่อนหน้านี้ DE&I อาจไม่ใช่ประเด็นใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญสำหรับประชากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แต่ด้วยชุดข้อมูลล่าสุดที่เราทำการศึกษาและรวบรวมมานี้ ทำให้เราได้รับรู้และเข้าใจถึงรายละเอียดและมุมมองที่ลึกซึ้งของผู้คนในประเทศต่างๆ ต่อการให้ความสำคัญเกี่ยวกับ DE&I ในหลากหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นด้านความหลากหลายทางเพศสภาพและศาสนา ไปจนถึงด้านความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ อาทิ เรื่องที่อยู่อาศัยและรายได้ เป็นต้น ซึ่งมุมมองและนิยามต่อ DE&I ในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับแบรนด์และเจ้าของธุรกิจที่ต้องเข้าใจถึงความแตกต่างและหลากหลาย เพื่อนำไปปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจให้เหมาะสมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

งานวิจัย DE&I Decoded: APAC พบว่า:

· ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญกับเรื่อง DE&I: การตีความ DE&I อาจต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่กลุ่มตัวอย่างในเอเชียแปซิฟิกอยากให้การสนับสนุนความหลากหลาย ความเสมอภาค และการยอมรับความแตกต่างในประเด็นต่างๆ อาทิ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และเพศสภาพ เป็นสาระสำคัญในการสื่อสารและกลยุทธ์ทางธุรกิจ โดยประชาชนร้อยละ 51 เห็นว่า ต้อง“ทำให้คนที่มีภูมิหลังต่างกันมีส่วนร่วมในสังคมมากขึ้น” ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 11 เท่านั้นที่อยากให้คงโครงสร้างทางสังคมแบบเดิมไว้

· สภาพเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหลักที่กระตุ้นการเปลี่ยนแปลง: ประชากรในทวีปเอเชียกล้าที่จะแสดงความเห็นและจุดยืนของตน โดยกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 84 ระบุว่าเขาได้เรียกร้องต่อประเด็นสังคมอย่างน้อย

หนึ่งเรื่อง ทั้งนี้ ประเด็นความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ เช่น สถานะทางเศรษฐกิจ สถานะการจ้างงาน และรายได้ เป็นเรื่องที่คนให้ความสนใจสูงสุด ตามด้วยประเด็นด้าน DE&I ที่สังคมรับรู้กันในวงกว้าง เช่น เพศสภาพ สถานะทางสังคม/ชนชั้น ภูมิหลังทางวัฒนธรรม และศาสนา เป็นต้น

· การดำเนินธุรกิจตามแนวคิด DE&I สร้างผลบวกต่อองค์กร: องค์กรที่ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดที่สนับสนุนความหลากหลาย ความเสมอภาค และการยอมรับความแตกต่างจะได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคมากกว่าบริษัทที่ไม่ได้มีพันธกิจในเรื่อง DE&I เลย โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 94 ระบุว่า บริษัทต่าง ๆ ต้องดำเนินการในด้าน DE&I อย่างน้อยหนึ่งเรื่องเพื่อแสดงให้เห็นถึงจุดยืนและความตั้งใจดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด DE&I อย่างแท้จริง

ลีลา สเตก หัวหน้าฝ่าย FH4Inclusion และหัวหน้าทีมร่วมฝ่าย True MOSAIC DE&I เฟลชแมน ฮิลลาร์ด กล่าวเสริมว่า “ผลวิจัยฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงนิยามใหม่ที่หลากหลายต่อมุมมองด้าน DE&I ทั้งจากผู้คนในโลกธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากภาคส่วนอื่นๆ เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์สังคมแห่งความเท่าเทียมและการยอมรับซึ่งกันและกันให้ดียิ่งขึ้น แม้ว่าภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในประเด็น DE&I อาจแตกต่างกันในแต่ละประเทศ แต่ความต้องการในการสร้างการเปลี่ยนแปลงนั้นกลับชัดเจนเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่สามารถสนับสนุนให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างอนาคตที่ดียิ่งขึ้นของประชาชน อาทิ ด้านการศึกษา รายได้ และความปลอดภัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างมีจุดยืนและต้องการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังร่วมกันทั่วทั้งภูมิภาค”

แนวทางปฏิบัติสำหรับองค์กรเพื่อก้าวสู่การดำเนินธุรกิจตามแนวคิด DE&I ในเอเชียแปซิฟิก:

· ต้องสื่อสารเรื่อง DE&I: ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกถึงร้อยละ 90 อยากเห็นองค์กรภาคธุรกิจดำเนินธุรกิจและสื่อสารภายใต้แนวคิดที่สนับสนุนความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการยอมรับความแตกต่าง อย่างไรก็ตาม กลับมีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่ระบุว่าเคยได้รับข้อมูลเรื่องในเรื่อง DE&I จากเจ้าของธุรกิจและผู้บริหารในองค์กร

· กำหนดกลยุทธ์ DE&I ด้วยแผนและเป้าหมายที่ชัดเจน: การดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด DE&I อย่างเป็นรูปธรรมและสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ ต้องเริ่มต้นด้วยแผนและเป้าหมายที่เป็นไปได้ โดยการเริ่มต้นในองค์กรอาจจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ต้องให้เห็นถึงความมุ่งมั่นขององค์กร การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และความจริงใจโปร่งใสด้วยเช่นกัน

· ให้ความสำคัญกับการรับฟังแลกเปลี่ยนความเห็นและการให้ความรู้: อย่าสื่อสารทางเดียว องค์กรต่าง ๆ ควรพร้อมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับพนักงานในเรื่อง DE&I ตลอดจนลงทุนในเรื่องการอบรมและให้ความรู้ในเรื่องนี้มากขึ้น ซึ่งกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36 ระบุว่าอยากให้มีการอบรมพนักงานในด้าน DE&I และ ร้อยละ 83 อยากให้บริษัทต่าง ๆ มีผู้นำที่ให้ความสำคัญกับ DE&I

· ต้องสื่อสารให้เหมาะกับแต่ละประเทศ: แม้ว่าการสื่อสารในเรื่องการสนับสนุนความหลากหลาย ความเสมอภาค และการยอมรับความแตกต่าง ควรไปในแนวทางและทิศทางเดียวกัน แต่การใช้ภาษาเพื่อพูดคุยสื่อสารในประเด็นนี้ของประเทศต่างๆ กลับมีความแตกต่างกันอย่างมาก ดังนั้น การสื่อสารและแผนการสื่อต้องจำเป็นจะต้องปรับให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายในแต่ละประเทศ ตลอดจนต้องแตะประเด็น DE&I ที่ผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ ให้ความสำคัญ

 "ผลการวิจัย DE&I Decoded: APAC สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนต้องการเห็นแบรนด์แสดงออกถึงจุดยืนด้าน DE&I แม้ว่าประชาชนในแต่ละประเทศจะให้ความสำคัญกับแต่ละประเด็นเรื่อง DE&I แตกต่างกัน แต่ก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่าผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องการที่จะเห็นการเคลื่อนไหวอย่างจริงจังจากรัฐบาลและภาคเอกชนเพื่อยกระดับสังคมให้ดีขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคนี้จะเกิดขึ้นได้ด้วยการอบรมและให้ความรู้ที่ถูกต้องชัดเจนเรื่อง DE&I รวมถึงการมีผู้นำที่ให้ความสำคัญกับ DE&I เพื่อกระตุ้นให้เกิดแผนที่รัดกุมและปฏิบัติได้จริงในการที่จะยกระดับเรื่อง DE&I ในองค์กรและสถานที่ทำงานให้สูงขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม” ไมเคิล รินาแมน กรรมการผู้จัดการ TRUE Global Intelligence™ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและหัวหน้าทีมวิเคราะห์ของเฟลชแมนฮิลลาร์ด กล่าวเสริม

โสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโส พาร์ทเนอร์ และผู้จัดการทั่วไป เฟลชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย กล่าวถึงผลวิจัยของประเทศไทยว่า คนไทยมีความเข้าใจและให้ความสำคัญกับเรื่อง DE&I ในระดับสูง โดยมีความคุ้นเคยกับแนวคิด DE&I ถึง 76% และมีกลุ่มตัวอย่างเพียง 25% ที่จะเพิกเฉยเมื่อเผชิญกับการไม่สนับสนุนความหลากหลาย ความไม่เสมอภาค และการไม่ยอมรับในความแตกต่าง ดังนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐ ภาคสังคม และภาคธุรกิจในประเทศไทยต้องให้ความสำคัญ ยอมรับ และสนับสนุน DE&I มากขึ้น ผ่านนโยบาย การดำเนินงาน การขับเคลื่อนทางสังคม และการสื่อสาร เพื่อจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเรื่อง DE&I ในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความเสมอภาคและยอมรับความหลากหลายในเพศสภาพ ชาติพันธุ์และภูมิหลังทางวัฒนธรรม อันเป็นประเด็น DE&I ที่คนไทยรับรู้สูงสุด 3 อันดับแรก รวมถึงผนึกกำลังแก้ปัญหาความไม่เสมอภาคทางการศึกษาของประเทศที่กลุ่มตัวอย่างในไทยมองว่าเป็นวาระเร่งด่วนและทุกภาคส่วนควรให้ความสำคัญสูงสุด

งานวิจัย DE&I Decoded: APAC จัดทำโดย TRUE Global Intelligence™ ซึ่งเป็นฝ่ายวิจัยและวิเคราะห์ของเฟลชแมน ฮิลลาร์ด งานวิจัยนี้มีการสำรวจภาคสนามตั้งแต่วันที่ 16 ถึง 27 กันยายน 2565 รายงานการวิจัยฉบับนี้เขียนจากผลการสำรวจประชาชน 5,106 คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่สอดคล้องกับจำนวนประชากรของออสเตรเลีย จีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ตลาดแต่ละแห่งมีความต้องการเฉพาะ ทำให้ได้ข้อมูลที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มใหม่ ๆ ในภูมิภาคนี้อย่างชัดเจน ทราบถึงรู้แหล่งข่าวสารเกี่ยวกับ DE&I ของประชาชน และทำให้เห็นว่าความเสมอภาคทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อพฤติกรรมของประชาชนและภาคธุรกิจอย่างไร

แอ็กซอลตา โค้ทติ้ง ซิสเต็มส์ ประกาศรายงานสีรถยอดนิยมเป็นปีที่ 67 โดยรายงานสียอดนิยม 3 อันดับ ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้แก่ สีขาว (38%) สีดำ (19%) และสีเทา (13%) ซึ่งสีขาวนั้นได้รับความนิยมอันดับ 1 จากทั่วโลกมาตั้งแต่ปี 2011 

ในปีนี้ ความนิยมของสีเงินตกลงมาจาก 3 อันดับ ที่ 10% และเป็นอันดับที่ต่ำที่สุดในระยะเวลากว่าทศวรรษ ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นว่า สีเทาได้รับความนิยมในทุกภูมิภาคทั่วโลก รายงานความนิยม 4 อันดับเหล่านี้ ได้แก่ สีขาว สีดำ สีเทา และสีเงิน สัดส่วนสียอดนิยมรวมเป็น 80 % ของตลาดรถยนต์ทั่วโลก

“เรามีความยินดีที่ได้รายงานสีรถยอดนิยม ปี 2019” แนนซี ล็อกฮาร์ท ผู้จัดการผลิตภัณฑ์สีแอ็กซอลตา กล่าว “กว่า 65 ปีในการศึกษาวิจัยความนิยมของลูกค้าด้านสีรถยนต์ ทำให้เราเป็นผู้นำในเรื่องเทรนด์สีรถยนต์และสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์สีพ่นรถยนต์ที่เป็นที่นิยมให้แก่ลูกค้าได้อย่างเหมาะสม”

ในระดับภูมิภาค สีรถยอดนิยมมีการเปลี่ยนแปลงจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย สีขาวได้รับความนิยมลดลง 1% ในยุโรป และสีเทาได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น 2%  ทำให้สีเทาได้รับอันดับความนิยมสูงในยุโรปเป็นครั้งแรก

“หลังจากที่สีเทากุหลาบได้รับความนิยมในกลุ่มรถเอสยูวีในยุโรป ในปีนี้เราเห็นการเติบโต 5% ในกลุ่มรถคอมแพค และรถสปอร์ต นับเป็นครั้งแรกในยุโรปที่ความนิยมสีเทา หรือสีที่หลากหลายมากขึ้น จากที่สีขาวเคยเป็นที่นิยมมายาวนาน ชาวยุโรปมีความต้องการใช้สีเทาในแง่อารมณ์ความรู้สึกที่ดูสบาย” เอลค์ เดิร์กส์ นักออกแบบสีรถยนต์ ภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และเอเชีย กล่าว

สำหรับภูมิภาคอื่น ๆ สีขาวยังคงได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นในตลาด ในเอเชียเพิ่มขึ้น 1%  รวมทั้งหมดที่ 49%

“ผู้ซื้อจากจีนชอบสีที่ทันสมัย มีระดับ และสะอาดตา ซึ่งสีขาวมีคุณสมบัติดังกล่าวอย่างชัดเจน” แอนนี่ ยู นักออกแบบสีรถยนต์ ประเทศจีน กล่าว

ภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ยังคงนิยมสีขาว แต่เห็นได้ว่าสีเทาก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

“ในขณะที่ 4 สียอดนิยมยังเป็น สีขาว สีดำ สำเทา และสีเงิน” ล็อกฮาร์ท กล่าวต่อ “เรายังคงมุ่งมั่นพัฒนาสีใหม่ ๆ ที่น่าจะเป็นที่นิยมต่อไป โดยไม่ยึดติดกับปีที่ผ่านมา เรามั่นใจว่าลูกค้าจะเริ่มเปลี่ยนความนิยมของสีรถยนต์ และแอ็กซอลตายังคงเป็นพันธมิตรที่ดีและตอบสนองความต้องการของลูกค้าเสมอ”      

เฉดสีที่หลากหลาย ตั้งแต่สีน้ำเงินเขียว ได้แรงบันดาลใจจากน้ำทะเล สู่สีนาวีบลู สีฟ้าอ่อน สีน้ำเงินเดนิม พบเห็นได้ทั่วโลก สีแดงได้รับความนิยมสูงสุดในอเมริกาเหนือที่ 9% และสีน้ำตาล สีเบจ ได้รับความนิยมในรัสเซียที่ 12% เรื่องของสีนั้นส่งผลต่อการเลือกและการตัดสินใจของลูกค้าตลอดจนเอกลักษณ์ของแบรนด์หรือของผลิตภัณฑ์ และแอ็กซอลตายังคงมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีและสูตรสีอย่างต่อเนื่อง

“เฉดสีรถที่หลากหลายเห็นได้ชัดเจนบนท้องถนน อาทิ สีน้ำเงิน สีแดง และสีน้ำตาลหรือสีเบจ” ล็อกฮาร์ท กล่าวสรุป “สีน้ำเงินเป็นที่นิยมในอเมริกาเหนือและยุโรปที่ 10% ดังนั้น การพัฒนาสีน้ำเงินเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าจึงไม่เป็นปัญหา” 

ติดตามข้อมูลรายงานเทรนด์สีรถยนต์จากแอ็กซอลตาฉบับเต็มได้ที่ axalta.com

ไฮไลท์จากรายงานภูมิภาค ประจำปี 2019 ประกอบด้วย

  • แอฟริกา – สีโทนสว่าง เช่น สีเงิน และสีขาว ยังคงได้รับความนิยมรวมกันสูงถึง 58%
  • เอเชีย – สีขาวมุข ได้รับความนิยมสูงสุดอย่างต่อเนื่อง
  • ยุโรป – สีเทา เป็นสีที่ได้รับความนิยมสูงสุด ตามมาด้วยสีขาว ซึ่งได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน
  • อเมริกาเหนือ – สีน้ำเงินได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น 2% และได้รับความนิยมทั้งสิ้น 10%
  • รัสเซีย – สีโทนอบอุ่น สีน้ำตาล สีเบจได้รับความนิยม 12 % มากกว่าในภูมิภาคอื่น
  • อเมริกาใต้ – มีการเปลี่ยนแปลง 1% เป็นภูมิภาคเดียวที่สีเงินได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

รายงานเทรนด์สีรถยนต์จากแอ็กซอลตา เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 1953 เป็นข้อมูลที่มีมาอย่างยาวนานที่สุดและน่าเชื่อถือที่สุด ตลอดจนข้อมูลรายงานเทรนด์สีของแอ็กซอลตาจากลิงก์นี้ www.axalta.com จะมีข้อมูลประวัติศาสตร์และอนาคตเกี่ยวกับสีรถยนต์ ซึ่งรวบรวมโดยผู้เชี่ยวชาญของแอ็กซอลตา และยังเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจผู้ผลิตสินค้า/รถยนต์ (OEM) ในการรับรู้และเข้าใจความต้องการของลูกค้าเพื่อนำเสนอและส่งมอบสีรถยนต์ที่เหมาะสม

ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งหลังจากที่ไม่ได้ไปเป็นเวลานาน ความประทับใจในด้านการออกแบบของญี่ปุ่นนั้นมีมาตั้งแต่สมัยยังมหาวิทยาลัยที่เหล่าอาจารย์มักจะยกตัวอย่างความเป็นเลิศทางการสร้างสรรค์ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์มาให้เป็นกรณีศึกษาอยู่เสมอ

เมื่อเราได้คุยกับผู้ประกอบการด้านงานพิมพ์ 3D ที่มีไอเดียครีเอทีฟ ยูจิ ฮาระ  (Yuji Hara) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ K’s Design Lab, Inc. ทำให้เรานึกถึงสตีฟ จอบส์ และมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ในมุมของคนที่เรียนไม่จบ แต่เห็นความต้องการในอนาคต!

30 ปีที่แล้วเทคโนโลยี 3D เครื่องมือดิจิทัล ยังไม่ได้รับความสนใจ แต่ฮาระเข้าเรียนภาคค่ำด้านวิศวกรรมศาสตร์ ในมหาวิทยาลัย Tokyo Rika จึงได้เรียนพื้นฐานงาน 3D ตั้งแต่การวาดมือ ส่วนตอนเช้าก็ไปทำงานในแผนกออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์กับบริษัทที่ศูนย์หางานของมหาวิทยาลัยแนะนำให้ จึงได้สัมผัสความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีตั้งแต่ยุคนั้น โดยฮาระต้องเรียนไปด้วย ทำงานไปด้วย หาเงินส่งตัวเองเรียนหนังสือ 

 

เห็น - เป็น - เทรนด์

ฮาระได้ทำงานพิเศษที่ Iwatsu Communication Device Co., Ltd. ควบคู่ไปกับเรียนหนังสือ เขาได้ลองทำงาน ลองใช้โปรแกรมและได้ทำโพรเจกต์ร่วมกับ Hewlett-Packard ของทางอเมริกา ได้เรียนรู้การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ทำให้รู้สึกว่าการทำงานสนุกกว่าเรียน และมองว่าเรียนเมื่อไรก็ได้จึงหยุดเรียน 

“ผมรู้สึกว่าการเรียนในมหาวิทยาลัยมันง่ายไปเลยไม่สนใจ ซึ่งผมค่อนข้างถนัดด้านคณิตศาสตร์ และการเขียนโปรแกรมต่างๆ บริษัทก็ไปทำสัญญากับบริษัทที่อเมริกา ผมรู้สึกว่าทำงานตรงนี้สนุกกว่าไปเรียน ต่อมาก็ได้ไปเดินสายต่อยมวยช่วงอายุ 22-23 ปี ตอนอายุ 23 ก็กลับมาทำงานที่ญี่ปุ่นด้านการใช้โปรแกรมออกแบบ CAD และ CAM ที่ Iwatsu Communication Device Co., Ltd. ตอนแรกเป็นพนักงานติดตั้งโปรแกรมธรรมดา แต่ด้วยความที่เคยทำงานด้านโปรแกรม CAD CAM จึงได้ย้ายไปอยู่ฝ่ายพัฒนาซอฟต์แวร์ เดินสายหาลูกค้า ซึ่งการที่เราเป็นบริษัทอย่างทุกวันนี้ก็เพราะมีไอเดียมาจากจุดนี้” ฮาระเผยแนวคิดที่แตกต่างจากขนบของคนญี่ปุ่นที่ต้องเรียนให้จบแล้วค่อยหางานทำ 

จากประสบการณ์ที่คลุกคลีในวงการ 3D ฮาระจึงคิดเปิดบริษัทเพื่อต่อยอดงาน 3D ในสิ่งที่เขาอยากทำและพัฒนาต่อเอง จึงก่อตั้ง K’s Design Lab, Inc. (KSDL) ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2006 ซึ่งตอนนั้นกระแสดิจิทัล 3D ยังไม่แรง สิ่งที่เขานำเสนอล้ำหน้าเกินไป บวกกับ 3D Printer บางเครื่องมีราคาสูงถึง 15 ล้านเยน แต่เขาก็ยังลงทุนหนักมาก เพราะเชื่อมั่นว่าเทรนด์นี้จะมา จึงกัดฟันสู้จากการรับพรินต์งานด้วย 3D Printer ที่โตเกียว โอซะกะ นะโงะยะจนสามารถขยับขยายสู่งานซัพพอร์ตด้านสินค้าและบริการจนเป็นที่รู้จักมากขึ้น ทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง และมีกำไรเข้าบริษัทมากกว่า 40 ล้านบาทในปี 2558

 


Business Line of KSDL

สอดคล้องกับเทรนด์และความต้องการด้าน 3D ดิจิทัล KSDL แตกไลน์ธุรกิจออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

1. Laboratory Team งานค้นคว้าวิจัยที่นำเสนอนวัตกรรมล้ำๆ จากแล็บสู่การใช้งานจริง เช่น BodyScan3D เทคนิค 3D Scanner ที่ร่วมกับ Aicon เยอรมนี คิดค้นการสแกนคนทั้งตัวภายใน 6 วินาที เป็น The highest resolution body scanner ของโลกในปี 2012, การสแกนอิริยาบถของนักกีฬาสกี คำนวณทิศทาง แรงลม วิเคราะห์ออกมาเป็น 3D Data เพื่อนำไปปรับแต่งกับการผลิตเสื้อผ้าที่ทำให้นักกีฬาสกีกระโดดได้ไกลกว่าเดิม, Android “Asuna” หุ่นเสมือนมนุษย์ที่เคลื่อนไหวและโต้ตอบได้ จากการสแกนร่างกายแล้วนำข้อมูลไปทำโมเดล โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซะกะคิดค้นขึ้นและอยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์บริษัท A-Lab

2. 3D Solution Division จำหน่าย 3D tools ฮาร์ดแวร์จากสหรัฐอเมริกา เยอรมนี จีน เช่น 3D Printer, 3D Scanner ซอฟต์แวร์ที่ KSDL คิดค้นขึ้นเอง อาทิ โปรแกรม Geomagic Design, Geomagic Freeform Plus ที่ขึ้นรูปได้อย่างอิสระ, SHINING 3D Einscan-S desktop 3D scanner, Craft Mill 3D-CAM software

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์แนว Solution ที่ได้จาก tools ในกลุ่มนี้ เช่น แขนหุ่นยนต์สำหรับหยิบจับ (3D Printing Robot Arm) ที่ KSDL ร่วมกับ Yasojima วิจัยขึ้น และผลิตด้วย Geomagic Freeform Plus ช่วยให้สร้างชิ้นงานได้สะดวกและสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบตามที่ต้องการได้ 

3. 3D Digital Communication Division เป็นงานสร้างสรรค์ที่นำ tools ต่างๆ มาใช้สำหรับ PR และเพื่อการค้า (commercial) เช่น Aquarium ในญี่ปุ่นที่ KSDL เข้าไปทำหน้าจอทัชสกรีนให้เด็กๆ สัมผัสปลาในรูปแบบดิจิทัลได้, การสแกน data พื้นผิวของดวงจันทร์แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับโคมไฟ, Death Star 2 ซึ่งทำจาก 3D Printer โดยเป็นโมเดลที่มีความซับซ้อนมาก แต่สร้าง data ให้สามารถพรินต์ได้ด้วย 3D printer ภายในครั้งเดียว, นาฬิกาข้อมือไทเทเนียมที่ทำจาก Metal 3D Printer ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากหนัง Star Wars

4. Texture Consulting Division รับออกแบบและให้คำปรึกษาเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการดีไซน์ผิวสัมผัสพิเศษเพื่อทำ Prototype ก่อนผลิตสินค้าจริง ด้วยเทคนิค “D3Texture” คือ การผสมผสานระหว่าง 3D, Digital และ Design โดยลูกค้าสามารถเลือก texture ได้จาก D3 Texture Library Book แล้วนำ texture ที่เลือกไปใช้กับผลิตภัณฑ์ (simple product) หรือจะขึ้นรูป Modeling ใหม่ด้วย Geomagic Freeform จากนั้นประมวลผลออกมาเป็นภาพ (Rending Image) ผลิตภัณฑ์ที่มี texture ใหม่ทางจอคอมพิวเตอร์ ก่อนพิมพ์ด้วย 3D Printer ออกมา หรือจะทำ texture
โพรเจกต์ใหม่ร่วมกับ KSDL ก็ได้

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น คอนโซลรถที่เป็นพลาสติกฉีดขึ้นรูปแบบเรียบ จากโจทย์ของลูกค้าคือ รถซูซูกิเป็นรถที่มีพื้นที่น้อย แต่อยากออกแบบภายในให้ดูกว้างและสวยงาม KSDL จึงออกแบบให้คอนโซลรถซูซูกิมีผิวสัมผัสเป็นลายรังผึ้ง มองแล้วให้ความรู้สึกกว้าง ดูสวยงาม หรูหรา และดูมีราคามากขึ้น, คีย์บอร์ดแบรนด์ยามาฮ่าก็เปลี่ยนจากคีย์บอร์ดหนังมาเป็นพลาสติกซึ่งมีผิวสัมผัสแบบหนัง ทำให้สินค้าดูดีและมีน้ำหนักเบา ขนย้ายสะดวกขึ้น, แอร์ของมิตซูบิชิที่ผ่านการขึ้น Hair Line บริเวณ Front Panel แม้ว่าจะมีราคาแพงกว่าแอร์ธรรมดา 3 เท่า แต่กลับสร้างยอดขายได้มากกว่าเดิม, เคสโน้ตบุ๊กของโซนี่ที่มีลวดลายเลียนแบบหนังจระเข้ ดูหรูหราและไฮโซ เป็นที่ต้องการของตลาดมาก ตลอดจนงานออกแบบ texture บน Cosmetics Packaging แบรนด์ Kao ก็ช่วยเพิ่มมูลค่าและลูกค้าให้การตอบรับที่ดี




D3Texture ดีอย่างไร

ถ้าพูดถึงการขึ้นแบบสินค้า (Molding) ที่มี texture ตามปกติจะต้องใช้แรงงานคนขึ้นแบบ ขัดให้เห็นเป็นรูปเป็นร่าง แต่หากใช้เครื่องมือดิจิทัล การขึ้นแบบจะควบคุมได้ตรงตามสเป็กที่ต้องการมากกว่า กัดขึ้นรูปได้ละเอียดกว่า และช่วยให้ประหยัดค่าแรงได้ ตลอดจนทำบนพื้นผิววัสดุได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นไม้ โลหะ พลาสติก แก้ว เหล็ก ไทเทเนียม ไนลอน จะให้มีผิวขรุขระ ผิวเม็ดทราย ผิวเลียนแบบหนังสัตว์หรือลวดลายตามธรรมชาติก็ทำได้

เดิมการทำลวดลายบนพื้นผิว (Shibo) ใช้ฝีมือคนในการแกะลวดลายลงบนพื้นผิว แต่ D3Texture คือ Digital Shibo คือสร้างลวดลายบนพื้นผิวด้วย Digital ดังนั้นการควบคุมค่าความลึก ความนูน แม้แต่การสร้างทิศทางการมองก็สามารถกำหนดได้ด้วย Digital อีกทั้งมีความเสถียรมากกว่าการทำลวดลายด้วยมือ และเก็บข้อมูลในรูปแบบ 3D data

3D data จะถูกสร้างด้วยโปรแกรม CAD (Computer Aids Design) และถูกบันทึกในฟอร์แมต STL file เพราะ STL เป็นไฟล์ที่เกิดจากการรวมตัวของพื้นผิวเล็กๆ นับร้อยล้านพื้นผิว ทำให้ 3D data ที่ถูกสร้างออกมานั้นมีความละเอียดและมีพื้นผิวสวยงามกว่าการบันทึกด้วยฟอร์แมตอื่นๆ ซึ่ง 3D data ที่ทำออกมานั้นสามารถนำไปสร้าง prototype หรือการขึ้น Mock up ได้อย่างสะดวก หรือหากจะตรวจสอบ แก้ไข เพื่อความถูกต้องของ 3D data ก็ทำได้สะดวกเช่นกัน

 

 


มาจาก Joint Venture 3 ประสาน

“เทคโนโลยี high ดีไซน์ high ก็ขายแพงขึ้นได้” เรียวตะ นะคะมูระ (Ryota Nakamura) กล่าว 

เรียวตะเป็นผู้ก่อตั้ง YN2-TECH (Thailand) Co., Ltd. บริษัทนำเข้า ส่งออก และจำหน่ายเครื่องจักรและซอฟต์แวร์ เช่น Modeling Machine, Craft MILL 3D-CAM Software, 3D Printer, 3D Scanner, โปรแกรมออกแบบ 3D โดยเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2013 และมี Nakamura Kiko Co., Ltd. บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นหนุนหลังอยู่ 

เดิมทีเรียวตะเป็นดีไซเนอร์ แต่ที่หันมาทำบริษัทเทรดดิงเพราะสืบทอดธุรกิจต่อจากพ่อ ซึ่งการซื้อมาขายไปไม่สนุกในความคิดของเขา แต่เมื่อต้องขยายธุรกิจเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย เรียวตะจึงร่วมหุ้นกับทาง Iwama Co., Ltd. บริษัทที่ออกแบบและขาย machine tools เช่น CNC Machine โดย YN2-TECH มีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแนวการดีไซน์เครื่องจักรเพื่อใช้งานในประเทศไทย ด้วยการให้ Iwama สร้างเครื่องจักรตามที่บริษัทดีไซน์ไว้

Iwama เคยทำงานกับ KSDL และเห็นว่างานดีไซน์ของ KSDL ที่ลงลึกเรื่อง texture มีความน่าสนใจ เรียวตะเองก็เห็นด้วยกับวิธีคิดของฮาระที่มองเทรนด์ข้างหน้าว่าต้องใช้เทคโนโลยี 3D และดีไซน์เข้ามาตอบสนองภาคอุตสาหกรรมต่างๆ Iwama, YN2-TECH และ KSDL จึงจับมือกันก่อตั้ง KS-IN 3D (Thailand) Co., Ltd. ขึ้นเมื่อปี 2015 เพื่อนำเสนอเครื่องมือใหม่ๆ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้แก่
ผู้ประกอบการชาวไทย โดยมีเรียวตะนั่งเก้าอี้ผู้อำนวยการ บริหารการตลาดในเมืองไทย


Art & Tech for Thais

KSDL ที่ญี่ปุ่น ฮาระบอกว่าธุรกิจของเขามีการเติบโตขึ้นทุกปีประมาณ 30% การมาขยายตลาดในประเทศไทย ตอนแรก KS-IN 3D มีกลุ่มเป้าหมายเป็นบริษัทญี่ปุ่นที่อยู่ในไทย แต่บริษัทในกลุ่มนี้ไม่สนใจเพราะบริษัทญี่ปุ่นในไทยก็ต้องปรึกษากับบริษัทแม่ก่อน KS-IN 3D จึงวิจัยและพัฒนาสำหรับบริษัทในเมืองไทย โดยเน้นในด้านการพัฒนา texture
ของสินค้า แพ็กเกจจิง ซึ่งก็มองกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อาหาร เฟอร์นิเจอร์ เครื่องสำอาง แฟชั่น โดยในด้านแฟชั่นก็จะมีดีไซเนอร์ชั้นนำในไทยสนใจใช้ 3D Printer พรินต์งานออกมาเป็นเสื้อผ้าที่พอดีกับรูปร่างของนางแบบสำหรับสวมใส่ในงานแฟชั่นโชว์ ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนา 

และนอกจากการมองหาพาร์ตเนอร์แล้ว ฮาระยังสนใจที่จะสนับสนุนกลุ่มสตาร์ตอัพหรือผู้ที่ต้องการผลิตชิ้นงานที่มีดีไซน์โดยใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ด้วย และยังบอกอีกว่า เทรนด์ต่อไปของการดีไซน์และผลิตสินค้าจะเป็นการสร้างลักษณะเฉพาะตัวแบบ SIngle Product ที่เหมาะสำหรับคนแต่ละคนโดยเฉพาะและมีคุณภาพสูง

เรื่อง กองบรรณาธิการ 

 

เห็นได้น้อยลงเรื่อยๆ แล้ว ที่ใครไปซื้อเนื้อหมู แล้วคนขายห่อเนื้อหมูด้วยใบตองยื่นให้

เดี๋ยวนี้คนทั่วโลกนิยมเดินเข้าซูเปอร์มาร์เก็ตกันทั้งนั้น โดยหยิบเนื้อหมูจากเชลฟ์ พิจารณาเนื้อหมู ดูบรรจุภัณฑ์ วันหมดอายุ

ก่อนเดินไปจ่ายเงินที่เคาน์เตอร์ นี่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงเพราะคำว่า เชย แต่เป็นเพราะสังคมเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน ไ

ลฟ์สไตล์จึงเปลี่ยนตาม แล้ววันหนึ่งหนึ่ง เราซื้ออาหารหรือเครื่องดื่มอะไรบ้าง บรรจุในกล่อง ถุง กระป๋อง ขวด

หรือบรรจุภัณฑ์ใดๆ เคยสังเกตไหมว่า มันสำคัญต่อชีวิตประจำวันของเรามากขนาดไหน 

 

X

Right Click

No right click