ก.ล.ต. นับหนึ่งคำขอ เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ หรือ “PCE” ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) กลุ่มธุรกิจหลัก คือ อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มแบบครบวงจร เตรียมเสนอขายหุ้น IPO 750 ล้านหุ้น ระดมทุนเดินหน้าเข้า SET ขึ้นแท่นผู้นำด้านธุรกิจน้ำมันปาล์มและระบบซัพพลายเชนครบวงจร

 

นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เริ่มนับหนึ่งแบบแสดงคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกการเสนอขายหลักทรัพย์ เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งแรกต่อประชาชน (IPO) ของ PCE เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจน้ำมันปาล์มมากกว่า 40 ปี ทำให้ PCE ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี และด้วยวิสัยทัศน์ของ PCE ที่มุ่งมั่นและต้องการขยายธุรกิจน้ำมันปาล์มและระบบซัพพลายเชนให้ครบวงจร เพื่อรองรับการเติบในอนาคต จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทเป็นผู้นำในธุรกิจและอุตสาหกรรม และสร้างความน่าสนใจให้กับนักลงทุน

นายสุพล ค้าพลอยดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน PCE มีทุนจดทะเบียน 2,750 ล้านบาท เป็นทุนชำระแล้ว 2,000 ล้านบาท โดยเตรียมเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก จำนวน 750 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาท ซึ่งคิดเป็น 27.27% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายแล้วของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ และจะนำหุ้นสามัญทั้งหมดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (AGRO) หมวดธุรกิจการเกษตร (AGRI)

นายประกิต ประสิทธิ์ศุภผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE เปิดเผยว่า การระดมทุนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET ถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือให้กับ PCE ในการต่อยอดธุรกิจพร้อมขยายโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่องและยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปาล์มครบวงจรในอนาคต

สำหรับวัตถุประสงค์ในการระดมทุน บริษัทจะนำไปลงทุนในกิจการอื่นที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจโรงงานผลิตน้ำมันไบโอดีเซล (B100) ของบริษัท เช่น โรงสกัดน้ำมันปาล์ม รวมถึงลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และควบคุมต้นทุน อีกทั้งเพื่อต่อยอดหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ส่วนที่เหลือใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ

PCE ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ในธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มแบบครบวงจร ที่มีความพร้อมการจัดการระบบซัพพลายเชน (Supply Chain) โดยแบ่งได้เป็น 1) กลุ่มธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์ม น้ำมันไบโอดีเซล และน้ำมันปาล์มโอเลอีนเพื่อการบริโภค ซึ่งรวมถึงการซื้อน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาจำหน่ายต่อให้กับลูกค้าทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ 2) กลุ่มธุรกิจให้บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ 3) กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางรถ และ 4) กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ

“บริษัทตั้งเป้าจะเป็นผู้นำธุรกิจน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชอื่นแบบครบวงจร มีมาตรฐานด้านคุณภาพและบริการเป็นอันดับหนึ่งของประเทศและก้าวสู่ระดับสากล PCE มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างการเติบโตและความยั่งยืนทางธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งส่งมอบบริการและสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และยกระดับการบริหารจัดการองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้หลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม” นายประกิตกล่าวเพิ่มเติม

ปัจจุบันบริษัทย่อยภายในกลุ่ม PCE ประกอบด้วย

· บริษัท นิว ไบโอดีเซล จำกัด ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่าย น้ำมันไบโอดีเซล น้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ และน้ำมันพืชสำหรับการบริโภค ภายใต้ตราสินค้า “รินทิพย์”

· บริษัท ปาโก้เทรดดิ้ง จำกัด ประกอบธุรกิจซื้อขายน้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันเมล็ดในปาล์ม เมล็ดในปาล์ม และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากปาล์ม โดยจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ

· บริษัท พี.เค. มารีน เทรดดิ้ง จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ มีพื้นให้บริการกว่า 50,000 ตร.ม. และมีคลังน้ำมันจำนวน 58 แทงค์ที่สามารถรองรับปริมาณการจัดเก็บได้ถึง 240,000 ตัน โดยมีท่าเทียบเรือทั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดฉะเชิงเทรา (อ.บางปะกง)

· บริษัท เพชรศรีวิชัย จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางบกภายในประเทศซึ่งมีรถให้บริการมากกว่า 150 คัน เพื่อขนส่งน้ำมันปาล์ม รวมถึงสินค้าแห้งและอื่นๆ

· บริษัท พี.ซี. มารีน (1992) จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีขนาดเรือ 1,800 – 3,100 ตัน ซึ่งสามารถขนส่งได้ทั้งของแห้งและของเหลว รวม 13 ลำ

ก.ล.ต. นับหนึ่งคำขอ เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ หรือ “PCE” ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) กลุ่มธุรกิจหลัก คือ อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มแบบครบวงจร เตรียมเสนอขายหุ้น IPO 750 ล้านหุ้น ระดมทุนเดินหน้าเข้า SET ขึ้นแท่นผู้นำด้านธุรกิจน้ำมันปาล์มและระบบซัพพลายเชนครบวงจร

 

นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เริ่มนับหนึ่งแบบแสดงคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกการเสนอขายหลักทรัพย์ เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งแรกต่อประชาชน (IPO) ของ PCE เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจน้ำมันปาล์มมากกว่า 40 ปี ทำให้ PCE ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี และด้วยวิสัยทัศน์ของ PCE ที่มุ่งมั่นและต้องการขยายธุรกิจน้ำมันปาล์มและระบบซัพพลายเชนให้ครบวงจร เพื่อรองรับการเติบในอนาคต จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทเป็นผู้นำในธุรกิจและอุตสาหกรรม และสร้างความน่าสนใจให้กับนักลงทุน

นายสุพล ค้าพลอยดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน PCE มีทุนจดทะเบียน 2,750 ล้านบาท เป็นทุนชำระแล้ว 2,000 ล้านบาท โดยเตรียมเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก จำนวน 750 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาท ซึ่งคิดเป็น 27.27% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายแล้วของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ และจะนำหุ้นสามัญทั้งหมดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (AGRO) หมวดธุรกิจการเกษตร (AGRI)

นายประกิต ประสิทธิ์ศุภผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE เปิดเผยว่า การระดมทุนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET ถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือให้กับ PCE ในการต่อยอดธุรกิจพร้อมขยายโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่องและยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปาล์มครบวงจรในอนาคต

สำหรับวัตถุประสงค์ในการระดมทุน บริษัทจะนำไปลงทุนในกิจการอื่นที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจโรงงานผลิตน้ำมันไบโอดีเซล (B100) ของบริษัท เช่น โรงสกัดน้ำมันปาล์ม รวมถึงลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และควบคุมต้นทุน อีกทั้งเพื่อต่อยอดหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ส่วนที่เหลือใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ

PCE ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ในธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มแบบครบวงจร ที่มีความพร้อมการจัดการระบบซัพพลายเชน (Supply Chain) โดยแบ่งได้เป็น 1) กลุ่มธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์ม น้ำมันไบโอดีเซล และน้ำมันปาล์มโอเลอีนเพื่อการบริโภค ซึ่งรวมถึงการซื้อน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาจำหน่ายต่อให้กับลูกค้าทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ 2) กลุ่มธุรกิจให้บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ 3) กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางรถ และ 4) กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ

“บริษัทตั้งเป้าจะเป็นผู้นำธุรกิจน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชอื่นแบบครบวงจร มีมาตรฐานด้านคุณภาพและบริการเป็นอันดับหนึ่งของประเทศและก้าวสู่ระดับสากล PCE มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างการเติบโตและความยั่งยืนทางธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งส่งมอบบริการและสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และยกระดับการบริหารจัดการองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้หลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม” นายประกิตกล่าวเพิ่มเติม

ปัจจุบันบริษัทย่อยภายในกลุ่ม PCE ประกอบด้วย

· บริษัท นิว ไบโอดีเซล จำกัด ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่าย น้ำมันไบโอดีเซล น้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ และน้ำมันพืชสำหรับการบริโภค ภายใต้ตราสินค้า “รินทิพย์”

· บริษัท ปาโก้เทรดดิ้ง จำกัด ประกอบธุรกิจซื้อขายน้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันเมล็ดในปาล์ม เมล็ดในปาล์ม และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากปาล์ม โดยจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ

· บริษัท พี.เค. มารีน เทรดดิ้ง จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ มีพื้นให้บริการกว่า 50,000 ตร.ม. และมีคลังน้ำมันจำนวน 58 แทงค์ที่สามารถรองรับปริมาณการจัดเก็บได้ถึง 240,000 ตัน โดยมีท่าเทียบเรือทั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดฉะเชิงเทรา (อ.บางปะกง)

· บริษัท เพชรศรีวิชัย จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางบกภายในประเทศซึ่งมีรถให้บริการมากกว่า 150 คัน เพื่อขนส่งน้ำมันปาล์ม รวมถึงสินค้าแห้งและอื่นๆ

· บริษัท พี.ซี. มารีน (1992) จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีขนาดเรือ 1,800 – 3,100 ตัน ซึ่งสามารถขนส่งได้ทั้งของแห้งและของเหลว รวม 13 ลำ

ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) เดินหน้าแผน IPO เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. ได้นับหนึ่งไฟลิ่ง เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมก้าวสู่การเป็นธนาคารชั้นนำที่มีคุณภาพ และเติบโตในกลุ่มธุรกิจด้านการเงิน สนับสนุนสินเชื่อเพื่อคนไทย ภายใต้วิสัยทัศน์ “ธนาคารไทยเครดิต มุ่งมั่นสนับสนุนให้ลูกค้าเติบโตทางธุรกิจและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยบริการไมโครไฟแนนซ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของธนาคาร” โดยมีธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

นายวิญญู ไชยวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) (“ธนาคารฯ”) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้นับหนึ่งแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบไฟลิ่ง เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจำนวนหุ้นที่คาดว่าจะเสนอขายทั้งหมด (รวมหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกและเสนอขายโดยธนาคารฯ และหุ้นสามัญที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิม) ไม่เกิน 347,029,122 หุ้น คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 28.2 ของจำนวนหุ้นจดทะเบียนและชำระแล้วทั้งหมดของธนาคารฯ ภายหลังการทำ IPO1 ซึ่งนับเป็นธนาคารพาณิชย์ที่เสนอขายหุ้น IPO ในรอบ 10 ปี โดยมี ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในครั้งนี้

อย่างไรก็ดี ธนาคารฯ เป็นธนาคารพาณิชย์ที่มุ่งเน้นให้บริการสินเชื่อนาโนและไมโครเครดิตเพื่อคนค้าขาย (Nano and Micro Finance) และสินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี (Micro SME) แก่กลุ่มลูกค้าในประเทศไทยที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้เท่าที่ควร ซึ่งกลุ่มลูกค้าดังกล่าวเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

สำหรับวัตถุประสงค์ของการระดมทุนในครั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเงินกองทุนของธนาคารฯ เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการขยายพอร์ตสินเชื่อ รวมทั้ง นำไปใช้ปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล (Digital Transformation) และโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Security and Infrastructure) ด้วยเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายย่อยและลูกค้าบุคคล รวมไปถึงความมุ่งหวังที่จะช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบให้เข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ เป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ และสอดคล้องกับปรัชญาการดำเนินธุรกิจของธนาคาร “Everyone Matters ทุกคนคือคนสำคัญ”

นายกนต์ธีร์ ประเสริฐวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน เปิดเผยว่า หลังจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้นับหนึ่งไฟลิ่งธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คาดว่าธนาคารฯ จะเสนอขายและเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในหมวดกลุ่มธุรกิจการเงิน / ธนาคาร ตามแผน IPO

สำหรับ ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำเพื่อลูกค้ารายย่อย ด้วยประสบการณ์การให้บริการสินเชื่อเพื่อรายย่อยที่หลากหลายมากว่า 10 ปี ทำให้ธนาคารฯ มีความเข้าใจในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง ประกอบกับการมีผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าหลากหลายขนาดและประเภทธุรกิจ รวมถึงการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่รัดกุม ทำให้เชื่อว่าธนาคารฯ อยู่ในจุดที่สามารถขยายพอร์ตสินเชื่อในการสนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ซึ่งแสดงให้เห็นได้จากการเติบโตอย่างรวดเร็วและแข็งแกร่งของเงินให้สินเชื่อของธนาคารฯ ในระหว่างปี 2563 ถึงปี 2565 ที่อัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมร้อยละ 33.0 ต่อปี และยังมีศักยภาพในการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจสู่ตลาดที่มีขนาดใหญ่ แต่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินนี้ ด้วยรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เป็นเอกลักษณ์

นอกจากนี้ ธนาคารฯ ยังมีโครงสร้างต้นทุนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ จากเครือข่ายสาขาที่มีต้นทุนการดำเนินงานต่ำ ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 ธนาคารฯ มีสาขาทั้งสิ้น 527 แห่งทั่วประเทศไทย ประกอบไปด้วยสาขาสินเชื่อเพื่อรายย่อย สำนักงานนาโนเครดิต และสาขาที่ให้บริการเงินฝาก ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ในพื้นที่หรือใกล้เคียงกับกลุ่มลูกค้า รวมทั้งมุ่งเน้นการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมผ่านช่องทางดิจิทัล โดยบริษัท ไทยไมโคร ดิจิทัล โซลูชั่นส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของธนาคารฯ ได้นำแพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ของลูกค้าผ่านแอปพลิเคชัน “ไมโครเพย์” ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานที่ผ่านกระบวนการ KYC ถึง 384,460 ราย เป็นปัจจัยที่ทำให้ธนาคารฯ สามารถรักษาอัตราส่วนค่าใช้จ่ายดําเนินงานต่อรายได้รวม (Cost-to-Income Ratio) ไว้ได้ในระดับต่ำ หรือเท่ากับร้อยละ 36.0 ในงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566

 

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานงวด 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2563 – 2565) และ ณ งวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ของธนาคารฯ มีจำนวนเท่ากับ 68,562.4 ล้านบาท 97,728.7 ล้านบาท 121,298.0 ล้านบาท และ 132,758.1 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยสะสมต่อปีระหว่าง 2563-2565 (Compound Annual Growth Rate: CAGR) อยู่ที่ร้อยละ 33.0 ต่อปี

เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ของธนาคารฯ สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย (1) สินเชื่อสำหรับสินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี (2) สินเชื่อนาโนและไมโครเครดิตเพื่อคนค้าขาย (3) สินเชื่อบ้าน (4) สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล (5) สินเชื่อรายย่อยอื่นๆ

นอกจากนี้ สำหรับงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ธนาคารฯ มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,830.7 ล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมในระหว่างปี 2563 ถึงปี 2565 ร้อยละ 30.9 ต่อปี

ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่ง “สิริซอฟต์ (SRS)” ไฟเขียวเสนอขาย IPO 40 ล้านหุ้น ระดมทุนเสริมแกร่งทีมนักพัฒนา High Code ขยายพื้นที่สำนักงาน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ตอบโจทย์ดีมานด์ในกลุ่มลูกค้าองค์กร และขยายฐานลูกค้าใหม่ ย้ำผู้เชี่ยวชาญคอนซัลท์ไอทีที่มีการเติบโตต่อเนื่อง โชว์ผลการดำเนินงาน 3 ปีย้อนหลัง SRS รายได้โตเฉลี่ย (CAGR) 137.37% พร้อมเตรียมจัดทัพผู้บริหารร่วมงาน IPO Roadshow ให้ข้อมูลต่อนักลงทุนวันที่ 8 ก.ย.นี้ คาดเดินหน้าเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai หมวดธุรกิจเทคโนโลยี ภายในปี 66

นางสาวเดือนพรรณ ลีลาวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไพโอเนีย แอดไวเซอรี่ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัท สิริซอฟต์ จำกัด (มหาชน) หรือ SRS เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ได้เริ่มนับหนึ่งแบบแสดงรายการข้อมูล หรือไฟลิ่งของ SRS เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 40,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท คิดเป็นไม่เกิน 25% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งนี้ และคาดว่าจะเสนอขายและเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในหมวดธุรกิจเทคโนโลยี (Technology) ภายในปี 2566

โดย สิริซอฟต์ (SRS) ในฐานะบริษัทผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยใช้ DevOps Culture เป็นแนวคิดที่ช่วยพัฒนาและดูแลลูกค้าในรูปแบบสมัยใหม่ และให้บริการออกแบบพัฒนาซอฟต์แวร์โดยใช้สถาปัตยกรรมแบบ Microservices ในการพัฒนา พร้อมด้วยศักยภาพในการทำงานและการบริหารบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้าน High Code ซึ่งมีความต้องการสูงในอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว รองรับการแข่งขัน ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าองค์กรที่หันมาให้ความสำคัญในด้านการนำเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจ หรือ Digital Transformation เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้า รวมถึงออกผลิตภัณฑ์หรือบริการสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว สนับสนุนผลการดำเนินงานเติบโตต่อเนื่องในระดับสูง

นายสิริวัฒน์ ธนุรเวท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิริซอฟต์ จำกัด (มหาชน) หรือ SRS ที่ปรึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับองค์กร ผ่านแนวทางการทำงานแบบ DevOps (Development & Operations) เปิดเผยว่า การระดมทุนในครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญในการขยายธุรกิจบริษัทให้แข็งแกร่ง โดยวัตถุประสงค์การระดมทุน เพื่อนำไปใช้สำหรับพัฒนาและปรับปรุงซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานภายในองค์กร ใช้สรรหาและพัฒนาบุคลากรในการพัฒนาระบบหรือซอฟต์แวร์ รวมถึงการขยายพื้นที่สำนักงาน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการขยายธุรกิจ รองรับการเติบโตในอนาคต

ในด้านผลการดำเนินการ 3 ปีย้อนหลัง (2563 - 2565) บริษัทเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีรายได้จากการขายและบริการ อยู่ที่ 72.91 ล้านบาท 187.03 ล้านบาท และ 410.81 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 137.37% และมีกำไรสุทธิ 14.39 ล้านบาท 25.47 ล้านบาท และ 68.69 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 19.73% , 13.51% และ 16.67% ของรายได้รวม ตามลำดับ สำหรับงวด 6 เดือนของปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้รวม 306.24 ล้านบาท มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 47.34 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 15.46%

ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 กลุ่มบริษัทมีพนักงานรวมทั้งสิ้น 238 คน เพิ่มขึ้นจากปลายปี 2565 อยู่ที่ 215 คน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของฝ่ายพัฒนาซอฟต์แวร์ และฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นหลัก เพื่อขยายขีดความสามารถในการให้บริการตามจำนวนของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น และสนับสนุนโอกาสในการรับงาน การเข้าจดทะเบียนในครั้งนี้ จึงนับเป็นการสนับสนุนให้สิริซอฟต์ สามารถเติบโตอย่างแข็งแกร่งตามเป้าหมายที่วางไว้

มูลค่าไม่เกิน 1,800 ล้านบาท ปักธงขยายมูลค่าสินทรัพย์ทะยานสู่ 5,400 ล้านบาท

Page 1 of 4
X

Right Click

No right click