ท่ามกลางสมรภูมิการแข่งขันทางเศรษฐกิจในยุคดิจิทัลที่อะไรๆ ก็ดูยากที่จะคาดเดา

Maybank ประกาศแต่งตั้ง ไมเคิล โอ เลา จอง จิน เป็นซีอีโอของ Maybank Investment Banking Group (Maybank IBG) โดยจะมีผลในวันที่ 1 ธันวาคม 2565 เป็นการเข้ามารับตำแหน่งต่อจาก ซีอีโอคนเก่าที่หมดวาระจากการเกษียณอายุ ซีอีโอคนใหม่จะเข้ามารับผิดชอบดูแลบริการด้านวาณิชธนกิจ การให้คำปรึกษา การวิจัย Broking และ Prime Broking ทั้งหมด ในมาเลเซียและในแพลตฟอร์มในภูมิภาคของ MIBG

มร.ไมเคิล มีประสบการณ์มากมายด้านบริการทางการเงินสำหรับลูกค้ารายใหญ่ตลอดระยะเวลา 27 ปีที่ทำงานที่ MIBG ซึ่งครอบคลุมบริการวาณิชธนกิจและบริการสำหรับลูกค้าองค์กรของแฟรนไชส์ระดับภูมิภาคของ Maybank และศูนย์กลยุทธ์ทางก้านการเงินที่ตั้งอยู่ทั่วโลก ความรู้ความเชี่ยวชาญของไมเคิลเกี่ยวกับลูกค้าองค์กรในด้านโซลูชั่นทั้งผลิตภัณฑ์และบริการ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า และการบริหารความเสี่ยง ช่วยให้เขามีเครือข่ายและความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้าองค์กรของ Maybank

บทบาทในระดับผู้บริหารล่าสุดของไมเคิลที่ Maybank ได้แก่ Regional Head of Debt Markets ของ Maybank Investment Bank และ Managing Director, Corporate Banking for Group Global Banking ซึ่งเขาอยู่ในตำแหน่งนี้เป็นระยะเวลาหกปีที่ผ่านมา ในระหว่างที่อยู่ในตำแหน่ง เขาประสบความสำเร็จในการดำเนินการด้านการทำธุรกรรมที่มีมูลค่าสูงในตลาดตราสารหนี้ ช่วยตอกย้ำตำแหน่งของ Maybank ในฐานะ Sakuk Arranger ชั้นนำ และเมื่อเร็วๆ นี้ เขามีส่วนสำคัญอย่างมากในการออกแบบและดำเนินการโปรแกรมช่วยเหลือด้านการชำระเงินกู้สำหรับลูกค้าองค์กรตั้งแต่ระยะแรกของการระบาดของโควิด 19 โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือลูกค้าองค์กรในช่วงระหว่างและหลังจากโควิด 19

มร.ไมเคิล จบการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไปจาก Indiana University of Pennsylvania ในสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้บริหารสองโปรแกรม ได้แก่ Pacific Rim Bankers Program จาก University of Washington และ Executive Program จาก Darden School of Business of University of Virginia เขายังเคยได้รับรางวัล Asian Banker Promising Young Banker Awards ในปี 2554 จากความเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมในด้านตลาดตราสารหนี้

ประธานและซีอีโอของ Maybank มร.ดาโต๊ะไครูซาลี บิน แรมลี่ กล่าวว่า “การแต่งตั้ง มร.ไมเคิลแสดงให้เห็นถึงกระบวนการแต่งตั้งผู้บริหารภายในที่แข็งแกร่งของกลุ่ม โดยการแต่งตั้งเป็นไปตามความสามารถที่พิสูจน์ให้เห็นได้และประวัติการทำงาน ไมเคิล มีหัวใจของพนักงาน Maybank อย่างแท้จริง มีความมุ่งมั่นในด้าน Humanising Financial Services และมีประสบการณ์ที่ลึกซึ้งในหลากหลายสาขาด้านบริการทางการเงินระดับโลกและวาณิชธนกิจ เราหวังที่จะสนับสนุนก้าวต่อไปของการเติบโตใน MIBG ของไมเคิล ตามกลยุทธ์ M25+ ที่ได้รับการพัฒนาแล้วของกลุ่ม ในการมอบโซลูชั่นที่ออกแบบตามความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละรายในทุกภาคส่วนและพื้นที่ที่เราดำเนินการอยู่ ประสบการณ์ที่ดีสำหรับลูกค้า และความสามารถในการดำเนินการระดับโลกสำหรับลูกค้าในภูมิภาค

ดร.สมพร  สืบถวิลกุล  กรรมการผู้จัดการใหญ่  บมจ.ทิพยประกันภัย เข้ารับรางวัล THAILAND  TOP CEO OF THE YEAR 2022 

การที่ประเทศไทยจะเป็น Global Medical Hub ของโลกได้นั้น ใช่ว่าเพียงการเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสอันดามัน (Andaman Wellness Corridor) นั้นจะเพียงพอ แต่การเข้าใกล้เป้าหมายของความสำเร็จยังต้องประกอบไปด้วยการจัดองค์ประกอบอีกหลายประการ และหนึ่งในผู้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดสรรและจัดวางเส้นทางสู่ความสำเร็จในเรื่องนี้ คือ ผศ.จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง ผู้อำนวยการหลักสูตร WHB (Wellness & Healthcare Business Opportunity for Executives)

ผศ.ดร.จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง ผู้อำนวยการ หลักสูตร WHB ซึ่งยังเป็นผู้ก่อตั้งโครงการ ได้เล่ากับ MBA ถึงที่มาของการจัดตั้งหลักสูตร WHB นี้ว่า “เริ่มแรกทางอาจารย์ได้เห็นและติดตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub ระดับนานาชาติ อาจารย์ก็คิดว่าแนวคิดนี้จะสำเร็จได้จะมีหลายๆ หน่วยงานเข้ามาผนึกกำลังและร่วมกันขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยว และหน่วยงานอื่นๆ เพราะเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องกับ Medical Tourism อีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมา แม้มีการตระหนักรู้ในหลายๆ ภาคส่วน แต่เราก็ยังไม่เห็นความร่วมมือในเชิงประจักษ์ที่เกิดขึ้นจริง

และด้วยความที่เราเองเป็นนักวิชาการอยู่แล้ว จึงคิดว่าเราสามารถที่จะเป็นตัวกลางเชื่อมองค์กรเหล่านี้ซึ่งเป็นภาครัฐ และนักธุรกิจในภาคเอกชนให้ได้มาพบกันใน ด้วยตัวอาจารย์เองมีเพื่อนเป็นนักธุรกิจค่อนข้างมากและหลากหลายวงการ อีกทั้งส่วนตัวเองก็มีประสบการณ์เคยก่อตั้งและบริหารสถานบริหารร่างกาย World Health Club เป็นทุนเดิม

ซึ่งเรามองว่า ถ้านักธุรกิจไม่ได้พบกับ Regulator ในกระทรวงสาธารณสุข อาทิ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งขณะนี้ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเองก็ดูแลรับรองหลายธุรกิจบริการสุขภาพไม่ว่าจะเป็นร้านนวด คลินิก โรงพยาบาลทุกประเภท และสถานดูแลผู้สูงอายุ

นอกจากนี้ยังต้องมีความเกี่ยวข้องกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมการค้าภายใน กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กรมการท่องเที่ยว เรียกได้ว่าเครือข่ายและความสัมพันธ์มันกว้าง ซึ่งเราเห็นว่ามีความจำเป็นและเราก็สามารถทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างหน่วยงานเหล่านี้ ทั้งนักธุรกิจ และงานวิชาการให้ได้มาเจอกันเพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สามารถต่อยอดไปสู่นวัตกรรมและโครงการที่ทำได้จริง

5 ภาคีความแข็งแกร่ง ของ WHB

ผศ.จันทร์จิรา ผู้อำนวยการหลักสูตร WHB ยังได้เผยถึง ความเข้มแข็งของหลักสูตรที่เน้นการรวมศักยภาพของบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิและประสบการณ์ เริ่มตั้งแต่ประธานหลักสูตร คือ ศ.นายแพทย์ สมอาจ วงษ์ขมทอง ซึ่งปัจจุบันเป็นประธานคณะผู้บริหาร รพ.กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ ซึ่งท่านเคยเป็นอดีต ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งท่านเห็นร่วมกันว่า ‘จะต้องขับเคลื่อนสิ่งนี้ให้เกิดขึ้น

ด้วยแนวคิดของการก่อตั้งหลักสูตรเพื่อดำเนินการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายให้ได้นั้น ยังได้รับความเห็นชอบจาก อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลในขณะนั้น (ตอนริเริ่มโครงการในปี 2020) คือ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ซึ่งท่านเองเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขด้วย ท่านมีความคิดเห็นว่า 'เป็นโครงการที่ดี มหาวิทยาลัยมหิดลเองเป็นสถาบันวิชาการที่ต้องเป็นเครื่องมือของรัฐเพื่อส่งเสริมภาคเอกชนในการขับเคลื่อนเรื่องเหล่านี้อยู่ด้วย'

ผู้อำนวยการ WHB ยังเผยต่อว่า เพื่อให้ในนิเวศน์ของหลักสูตรมีความครบพร้อม จะต้องมีเรื่องของ Digital Hospital เข้ามาเกี่ยวข้อง เราจึงจับมือกับทาง Huawei Technologies (Thailand) ซึ่งเขามี Ping An Technology เป็นแบล็กอัปและทำเกี่ยวกับ Internet Hospital เจ้าใหญ่ที่สุดในจีน และคณะผู้บริหารเราได้เข้าไปเห็นมาว่าเขาเติบโตอย่างก้าวกระโดดและใช้ได้ผลจริง”

ผู้ใช้งานเดินเข้าไปในบูธ ไม่ต้องพบหรือมีปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวกับแพทย์ แต่จะมีโปรแกรมและเครื่องมือต่างๆ ให้เขาช่วยเหลือตัวเองได้ เราเห็นตัวอย่างตรงนั้นจึงจับมือกับเขาให้มาเป็นภาคีในความร่วมมือกับเราในโครงการนี้ ซึ่งหากไม่ติดข้อจำกัดในเรื่องการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ทั้งคณะของหลักสูตรทั้งผู้เรียนและผู้สอน จะต้องเดินทางไป Visit และดูงานเหล่านี้ในประเทศจีนก่อนจบการอบรมหลักสูตรโครงการ 1 ผ่านมา

ภายใต้ภาคีพันธมิตรของโครงการ WHB ยังได้รับความร่วมมือจาก Department of Community and Global Health, The University of Tokyo ซึ่งทางศาสตราจารย์สมอาจ สำเร็จการศึกษา อีกทั้งยังเคยร่วมสอนเป็นเวลาหลายปี เข้ามาร่วมด้วย ซึ่งนับเป็นความเข้มแข็งที่สำคัญประการหนึ่ง เพราะประเทศญี่ปุ่นเป็นที่มีความก้าวหน้าในเรื่องการดูแลสุขภาวะของประชาชนในระดับชั้นนำของโลก ไม่ว่าจะเป็นภายในบ้าน ในครอบครัว หรือคอมมูนิตี้ และเช่นกันที่แผนการดำเนินโครงการของหลักสูตรได้กำหนดไว้ว่าจะไปดูงานในประเทศญี่ปุ่น แต่เนื่องจากข้อจำกัดจากโรคระบาดโควิดเลยทำให้ต้องชะงักไป

นอกจากภาคีพันธมิตรที่เข้มแข็งในต่างประเทศ ในประเทศไทยเองหลักสูตรยังได้รับความร่วมมือจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และบริษัท ไทยพัฒนาสุขภาพ มาเข้าร่วมด้วย

ด้วยภาคีทั้ง 5 ส่วนนี้เองที่ทำให้หลักสูตร Wellness&Healthcare Business Opportunity for Executives หรือ WHB มีความแข็งแกร่งและตอบโจทย์เป้าหมายได้อย่างเป็นอย่างดี

Knowledge Hub to Medical Hub

ทั้งนี้ ผศ.ดร.จันทร์จิรา ยังได้เผยถึงจุดแข็งและจุดขายสำคัญของหลักสูตรที่ประกอบไปด้วยผู้ที่มีประสบการณ์หรือเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมในเรื่องนี้ที่เข้ามาร่วมส่งต่อและแบ่งปันความรู้ในโลกความเป็นจริงให้ผู้เรียน อาทิ คุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทดุสิตธานี ที่ทำในเรื่องของ Health Food มีการปรับห้องพักสำหรับรองรับ Senior Citizens ที่ต้องการมา Retreat หรือ Detox หรือมีความสนใจในการดูแลสุขภาพตัวเองในประเทศไทย มีการไปจัดการสัมมนาในหลายๆ โรงแรม ซึ่งมีกลุ่มโรงแรมที่เขาสนใจหรือทำเรื่องนี้อยู่แล้วส่งคนมาเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ว่าทีมเขาทำอย่างไร เขามองอนาคตผู้สูงอายุอย่างไร และยังมองถึงการดูแล ส่งเสริมและป้องกันสุขภาวะของคนรุ่นใหม่ด้วย เป็นต้น

นอกจากนั้น WHB 1 ยังมีนายแพทย์ ตนุพล วิรุฬหการุญ (หมอแอมป์) . ประธานคณะผู้บริหาร บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก มาลงเรียนกับเราและยังเป็นวิทยากรให้ด้วย ทำให้เกิดมีการพูดคุยเสวนากลุ่ม เกิดเป็นสตาร์ทอัพขึ้นมาสามสี่กลุ่ม รวมถึง CSR ที่เป็นโครงการหลักสูตรอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุสำหรับเด็กๆ ที่จบมัธยมปลายแล้วอยากหางานทำทันทีจำนวนห้าพันคน โดยมีทางมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นจับมือกับมูลนิธิชิน โสภณพนิช เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลัก”

นอกจากนั้นยังมีผู้นำขององค์กรต่างๆ เข้ามาร่วม ทั้งเป็นผู้ร่วมโครงการและเป็นวิทยากรด้วย หลักสูตรนี้ไม่ใช่แค่ให้ผู้เรียนมานั่งฟัง แต่เป็นการแลกเปลี่ยน ข้อเสนอแนะที่จะต้องส่งต่อภาครัฐ รวมไปถึงการได้เปิดโอกาสได้พอเจอพาร์เนอร์หรือ คู่ค้าใหม่ๆ ทางธุรกิจซึ่งสามารถที่จะมีความร่วมมือ หรือ แม้แต่สตาร์ทอัพธุรกิจใหม่ร่วมกันได้ เพราะหลายท่านก็มีโครงการที่ริเริ่มกันอยู่ก่อนแล้ว อย่างเช่น กรณี Hospitel ที่พยายามจะให้บริการทรีตเม้นต์ที่ไม่ใช่แค่สปา แต่มีการวินิจฉัย การป้องกันและลดอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น อย่างโรคเบาหวาน เหล่านี้เรียกว่าเป็น Wellness ซึ่งต่างจาก Health Care โดยจะไปเน้นเรื่องสุขภาวะอันเป็นการดูแลจากภายในสู่ภายนอก มีการศึกษาลึกลงไปในระดับยีน ตรวจหาโอกาสหรือแนวโน้มโรคต่างๆ มีวิทยาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยเฉพาะจากสิงคโปร์ จากศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดีมาให้ความรู้ในเรื่องนี้

หลักสูตรสำหรับผู้บริหารระดับสูง (WHB) จะยังดำเนินต่อไปโดยจะมีการปรับขัดเกลาให้ทันต่อเหตุการณ์โลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

ผศ.ดร.จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง กล่าวในตอนท้ายว่า “เราพยายามผลักดันให้สิ่งนี้เกิดขึ้นและทำให้คนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีในการป้องกันรักษาโรคได้ง่ายขึ้นในราคาไม่สูงมาก เพื่อที่ตัวเขาเองและรัฐจะไม่ต้องเสียงบประมาณจำนวนมากไปในกระบวนการรักษาซึ่งเป็นปลายเหตุ เราพยายามที่จะทำให้คนเข้าใจว่าสุขภาพดีของเราจะเกิดขึ้นได้อย่างไรในระดับปัจเจก ในระดับหน่วยงานที่จะต้องดูแลรับผิดชอบ ในระดับธุรกิจที่จะต้องบริการ แต่ยังไม่มีนิยามที่ชัดเจน เราต้องการจะนิยามให้คนรู้”

Page 1 of 4
X

Right Click

No right click