CIS 2023 - Corporate Innovation Summit  งานสัมมนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบลงมือทำที่ครั้งใหญ่ในเอเชีย จัดโดย RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ ทรู ดิจิทัล พาร์ค

RISE เผยถึงธีมหลักของการจัดงานปีนี้ คือ “Accelerating Growth While Saving The World” ที่ต้องการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาธุรกิจและประเทศไทย รวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างยั่งยืน โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการดำเนินงานเพื่อสร้างความเติบโตทางธุรกิจแบบ ก้าวกระโดด และการพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจหลักของ RISE ในการขับเคลื่อน 1% GDP ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการลดอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนของโลกให้ได้ 1%

ในปีนี้ RISE มุ่งขยายความสำเร็จจากงานในปีก่อนๆ โดยมีผู้บริหารระดับสูงและเจ้าของธุรกิจเข้าร่วมงานกว่า 2,000 คน สปีกเกอร์ระดับโลกมากกว่า 100 คน และเวิร์คช็อปมากกว่า 60 หัวข้อ รวมไปถึง โชว์เคสสตาร์ทอัพที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงกว่า 60 บริษัทจากทั่วโลก

ทั้งนี้ สปีกเกอร์ซึ่งถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของงาน CIS 2023 คือ

- Chris Cowart, Managing Director จาก Nomura-SRI Innovation Center ผู้อยู่เบื้องหลังการสร้าง Siri ใน iPhone, อดีต Associate Partner ของ IDEO บริษัทที่ปรึกษาด้านการดีไซน์ระดับโลกที่อยู่เบื้องหลังนวัตกรรมเม้าส์คอมพิวเตอร์ตัวแรกของโลก

- Lake Dai ศาสตราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้าน AI จาก Carnegie Mellon University ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ด้าน AI ของโลกและเจ้าของ #RealAIusecases ผู้วิเคราะห์ผลกระทบของ AI ต่อกลยุทธ์ธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรมและนำเสนอหนทางรอดของมวลมนุษยชาติ

- Christopher Mowry, CEO, Type One Energy, บริษัทพลังงานสะอาดแรกของโลก ที่มีแผนนำเอานิวเคลียร์ฟิวชั่นมาให้บริการกับผู้บริโภค โดยได้รับเงินให้เปล่าจากกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ และได้รับเงินลงทุนจาก Breakthrough Energy Ventures ของ Bill Gates

- Michelle Khoo, Center Leader of Center of the Edgte จาก Deloitte SG ที่เป็นบริษัทให้คำปรึกษาแนวหน้าที่ตั้งขึ้นมาเฉพาะเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงโลกจากโอกาสทางธุรกิจและเทคโนโลยี

- 2 ผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก เช่น Jackie Wang, Country Director, Google Thailand และ แพร ดำรงค์มงคลกุล Country Director ประจำ Meta Thailand

CIS 2023 จะดำเนินไปภายใต้ 5 หัวข้อหลัก ได้แก่ Corporate Innovation, Sustainability, Deep Technology, People Transformation และ Future of Investment ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นความเคลื่อนไหวของโลกที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนโลกไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน

ปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่กับครั้งแรกในประเทศไทย ของงาน LINE Conference Thailand 2023 หรือ #LCT23 งานสัมมนาด้านเทคโนโลยีสุดยิ่งใหญ่จาก LINE ประเทศไทย กับการเผยวิสัยทัศน์ ทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ จาก LINE สำหรับเมืองไทยโดยเฉพาะ มุ่งสู่การเป็น “Open platform” หรือ แพลตฟอร์มเปิดเพื่อคนไทย นอกจากเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มธุรกิจได้ต่อยอดนำเทคโนโลยีบน LINE สร้างการเติบโตแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสครั้งใหญ่สำหรับนักพัฒนาไทย ในการสรรค์สร้างโซลูชั่นใหม่ๆ มาเชื่อมต่อกับ LINE ได้สะดวกขึ้น ง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพขึ้น

 

ภายในงานเต็มไปด้วยข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะการอัปเดตโร้ดแมปผลิตภัณฑ์ของ LINE ที่หลากหลายผลิตภัณฑ์หรือบริการ มีการคิดค้นโดยทีมงาน LINE ประเทศไทย เพื่อตลาดไทยโดยฉพาะมาแล้ว เช่น เครื่องมือ MyCustomer, บริการ LINE SHOPPING และ LINE MELODY เป็นต้น โดยในช่วงปี 2023-2024 LINE มีโร้ดแมปใหม่ๆ มากมาย ที่น่าสนใจสำหรับนักพัฒนาไทย โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ในด้าน API & Plug-in ซึ่งมุ่งเน้นเปิดขยายการเชื่อมต่อ API ให้ครอบคลุมและหลากหลาย ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างโซลูชั่นใหม่ตอบโจทย์เฉพาะด้านได้มากขึ้น อาทิ

1. LINE SHOPPING API เอื้อประโยชน์ต่อการทำงานของนักพัฒนาไทยที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาระบบสินค้าของร้านค้าบน LINE SHOPPING ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการระบบการขายได้ดียิ่งขึ้น ผ่าน 4 API ได้แก่

· Product API ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างระบบคำสั่งจัดการบริหารข้อมูลสินค้า อัปเดตสินค้าจำนวนมากเข้าสู่หน้ารายการสินค้าได้โดยอัตโนมัติ

· Inventory API ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างระบบคำสั่งจัดการบริหารสต๊อกสินค้า เติมสินค้าเข้าหน้าร้านโดยอัตโนมัติเมื่อสินค้าหมดสต๊อก

· Order API ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างระบบการเข้าถึงข้อมูลออเดอร์ได้ เพื่อเข้าดูข้อมูลออเดอร์โดยละเอียด

· Webhook Order ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างระบบการแจ้งเตือน ส่งแจ้งเตือนสถานะการสั่งซื้อไปยังผู้ขายหรือแอดมิน เช่น สั่งซื้อแล้ว, จ่ายเงินแล้ว ฯลฯ ได้โดยอัตโนมัติ

โดยในอนาคต LINE มีแผนพัฒนา API ใหม่ๆ ที่จะเข้ามาตอบโจทย์การทำงานให้นักพัฒนาไทยที่ต้องการจัดการระบบการขายบน LINE SHOPPING ได้ดียิ่งขึ้นอย่าง Chat Invoice API ให้นักพัฒนาสามารถสร้างลิงก์ชำระเงินของสินค้าบน LINE SHOPPING ส่งให้ลูกค้าผ่านช่องทางใดก็ได้ เพื่อกลับมายังหน้าการซื้อขายบน LINE SHOPPING อีกครั้งได้โดยอัตโนมัติ เป็นต้น

2. LINE OA Plus Plug-in Store ต่อยอดการพัฒนาจาก LINE OA Store เพื่อเป็นช่องทางให้นักพัฒนาภายนอกองค์กรสามารถพัฒนาโซลูชั่นใหม่ๆ เฉพาะด้าน เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับกลุ่มเครื่องมือภายใต้ LINE OA Plus ไม่ว่าจะเป็น MyShop, MyCustomer และ MyRestaurant โดยทำหน้าที่เป็นแหล่งรวมนำเสนอให้กับนักการตลาด หรือแบรนด์ที่มองหาโซลูชั่นเฉพาะด้าน

3. New Messaging API เพิ่มประสิทธิภาพ Messaging API เพื่อขยายศักยภาพการพัฒนาโซลูชั่นบนแชท LINE ให้นักพัฒนาไทย ตัวอย่างเช่น

· Audience Created for Step messages เปิดให้นักพัฒนาไทย สามารถนำข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ได้จากการใช้งาน Messaging API มาประยุกต์ใช้กับการส่งข้อความหากลุ่มลูกค้าผ่านฟีเจอร์ Step Messages บน LINE OA ได้

· Quote messages ฟังก์ชั่นใหม่ในการพัฒนาแชทบอท ให้ทั้งผู้ใช้และบอทสามารถส่งข้อความตอบกลับโดยอ้างอิงจากข้อความก่อนหน้าในห้องแชทได้

· Rich Menu Link/Unlink Batch อำนวยความสะดวกให้นักพัฒนาไทย สามารถออกชุดคำสั่งเปลี่ยน Rich Menu แบบ Personalize ใน LINE OA ให้แสดงผลสู่กลุ่มเป้าหมายจำนวนมากขึ้นได้ ด้วยชุดคำสั่งเดียว

· อัปเดตฟังก์ชั่นใหม่ๆ ในการสร้างข้อความรูปแบบ Flex Message เช่น การขยายขนาดของกล่องข้อความให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น นักพัฒนาสามารถเลือกได้ตามต้องการ และความสามารถในการกำหนดขนาดตัวอักษรและไอคอน ให้แสดงผลตามการตั้งค่าในแอปฯ LINE ของผู้ใช้แต่ละคนได้ เป็นต้น

นอกจากนี้ LINE ยังได้เปิดตัวบริการใหม่อย่าง LON หรือ LINE Official Notification ข้อความแจ้งเตือนผ่านเบอร์โทรศัพท์ให้ผู้ใช้งานด้วยการแสดงผลผ่าน LINE OA ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างแบรนด์หรือองค์กร ไปยังลูกค้าได้อย่างครอบคลุมและมั่นใจด้านความปลอดภัย ด้วยความหลากหลายของรูปแบบข้อความแจ้งเตือนให้นักพัฒนาได้เลือกใช้ โอกาสของนักพัฒนาไทยในการสร้างโซลูชั่นการแจ้งเตือนรูปแบบใหม่ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น พร้อมลดปัญหาข้อความสแปม

 

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างเทคโนโลยีที่น่าสนใจสำหรับนักพัฒนาไทย จากงาน LCT23 เพื่อการต่อยอดสร้างสรรค์โซลูชั่นใหม่ ให้ตอบโจทย์ในหลากหลายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอกย้ำถึงจุดมุ่งหมายของ LINE ในการเป็นองค์กร

เทคฯ ที่ส่งเสริมความแข็งแกร่งให้เหล่านักพัฒนาไทย เพื่อร่วมขับเคลื่อน เพิ่มศักยภาพให้กับชุมชนและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของไทย ให้เติบโตในยุคดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์

ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหว และอัปเดตเทคโนโลยีใหม่ๆ จาก LINE สำหรับนักพัฒนาไทย ได้ที่ LINE OA: @linedevth, เฟซบุ๊ก LINE Developers Thailand หรือ LINE Developers Group Thailand

ครั้งแรกของ LINE ประเทศไทย กับงานสัมมนาด้านเทคโนโลยีครั้งใหญ่ LINE Conference Thailand 2023 หรือ #LCT23 พร้อมประกาศวิสัยทัศน์ ทิศทาง และกลยุทธ์ก้าวต่อไปในการพัฒนาและดำเนินการด้านเทคโนโลยีใหม่แห่งปี สู่การเป็น “แพลตฟอร์มเปิดเพื่อคนไทย” เปิดโอกาสเชื่อมต่อเทคโนโลยีอย่างไร้รอยต่อ พร้อมเผยแผนการพัฒนาโซลูชั่นภายใต้ความเข้าใจผู้ใช้ชาวไทย พันธมิตร และนักพัฒนา ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานในการดำเนินชีวิต (Life Infrastructure) ยุคใหม่

“เปิดโอกาส” สู่อนาคตแห่งนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยี Hyper-localized

ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE ประเทศไทย เปิดเผยว่า กว่า 12 ปีที่ LINE ประเทศไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คน ภายใต้พันธกิจ "Closing the Distance" ผ่านแพลตฟอร์มและบริการที่มีผู้ใช้งานกว่า 54 ล้านคน ตอกย้ำการเป็นโครงสร้างพื้นฐานชีวิตในยุคดิจิทัล (Life Infrastructure) พร้อมผลักดันจุดแข็งแห่งการมีทีมนักพัฒนาประจำประเทศไทย ที่จะเป็นบันไดสู่อนาคตขั้นถัดไปของนวัตกรรมในการขับเคลื่อน Smart Country ด้วยเทคโนโลยี Hyper-Localized เพื่อ “เปิดโอกาส” ให้คนไทยเติบโตในยุคดิจิทัลได้ในหลากหลายมิติอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ไม่ทิ้งจุดแข็ง Group Chat เล็งพัฒนาโซลูชั่นเพื่อการทำงาน

ภายในงาน นายนรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (COO) ยังได้เผยถึงบริการพื้นฐานอย่าง ‘แชท’ ที่เป็นจุดแข็งของ LINE ซึ่งยังคงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Group Chat ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่คนไทย สะท้อนจากสถิติการเติบโตที่สูงขึ้นกว่า 56% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และอัตราการส่งข้อความประเภทต่าง ๆ ทั้งรูปภาพ ไฟล์ เสียง และวิดีโอ มีอัตราการเติบโตสูงกว่าประเทศอื่นทั่วโลก

โดยผลสำรวจจาก LINE ประเทศไทยพบว่า หมวดหมู่ Group Chat ยอดนิยม ได้แก่ กลุ่มเพื่อน 82% ครอบครัว 80% ที่ทำงาน 77% และโรงเรียน 27% สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของกลุ่มผู้ใช้และวิธีการใช้งาน ซึ่งผู้ใช้กว่า 77% ระบุว่ากลุ่มแชทครอบครัวช่วยให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างช่วงวัยมากขึ้น ในขณะเดียวกัน Group Chat ยังสามารถช่วยให้

กระบวนการทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น ส่งผลให้เกิดสังคมการทำงานที่มีประสิทธิภาพกว่าในอดีต นำมาสู่ความมุ่งมั่นในการพัฒนาโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ Work Group สำหรับคนไทย เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการทำงาน การใช้ชีวิต และครอบครัวไปด้วยกัน

 

นอกจากนี้ นายนรสิทธิ์ ยังได้เผยถึงแผนเปิดตัว LINE STICKERS PREMIUM บริการสติกเกอร์จ่ายรายเดือน/รายปี สำหรับคนไทย อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการเลือกใช้งานชุดสติกเกอร์ได้หลากหลายและคุ้มค่ายิ่งขึ้น ถือเป็นส่วนหนึ่งในทิศทางการพัฒนาจุดแข็งของแพลตฟอร์ม LINE ด้านการสื่อสารดิจิทัลให้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เปิดวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีแห่งปีครั้งแรกของ LINE ประเทศไทย

นายวีระ เกษตรสิน รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ (CPO) กล่าวว่า LINE ประเทศไทยเล็งเห็นความสำคัญในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะองค์กรเทคฯ เพื่อคนไทย โดยในช่วง 5 ปีจากนี้ LINE จะมุ่งสู่การเป็น “แพลตฟอร์มเปิด” ที่พร้อมเปิดรับการเชื่อมต่อกับหลากหลายเทคโนโลยีนำสมัย นำมาซึ่งผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนไทย ทั้งในด้านผู้ใช้งาน ธุรกิจ และพันธมิตร โดยอาศัยแนวคิดตั้งต้นจากทีมงาน LINE ประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการสำหรับตลาดไทยโดยเฉพาะ ผ่าน 4 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่

1. Extensive Plug-Ins เปิดการเชื่อมต่อกับระบบหรือโซลูชั่นอื่น ๆ อย่างหลากหลาย ทั้งโซลูชั่นที่คิดค้นเพิ่มเติมโดย LINE เอง และระบบที่พาร์ทเนอร์หรือนักพัฒนาทั่วไปได้พัฒนาขึ้นมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ผู้ใช้ชาวไทยในมิติที่กว้างและลึกขึ้น

2. Data Utilization ส่งเสริมให้พันธมิตรและนักพัฒนาสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอย่างไร้รอยต่อ นำไปสู่การใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตได้อย่างแท้จริง

3. Performance Marketing เพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดบนแพลตฟอร์ม ด้วยศักยภาพการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลที่แข็งแกร่งขึ้น สร้างการเติบโตให้ภาคธุรกิจผ่านโซลูชั่นต่าง ๆ ของ LINE ได้อย่างยั่งยืน

4. Privacy Focused คงไว้ซึ่งการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อย่างเคร่งครัด

ปู 3 โร้ดแมป ยกระดับเทคโนโลยี

1. Customer Data Tools เพิ่มขีดความสามารถในจัดการข้อมูลลูกค้าผ่านเครื่องมือ MyCustomer ในการเก็บรวบรวม 1st Party Data ของผู้บริโภค โดยให้อำนาจร้านค้าในการเข้าถึงและจัดการข้อมูลได้มากกว่าที่เคย ภายใต้ขอบเขตการยินยอมจากผู้บริโภคตามกฎหมาย โดยมีแผนการเปิดตัว MyCustomer สำหรับกลุ่มธุรกิจรายย่อย (SME) และในอนาคต สำหรับกลุ่มธุรกิจที่ต้องการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการทำ CRM โดยเฉพาะ

2. Ads Improvement ปรับปรุงเครื่องมือสำหรับการโฆษณาบน LINE ให้สามารถวิเคราะห์ ประยุกต์ใช้ข้อมูลที่แบรนด์ได้มาเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น อาทิ การเพิ่ม Segment ในการหากลุ่มเป้าหมายผ่าน Persona Targeting ให้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น และการเปิดให้ภาคธุรกิจ ร้านค้า สามารถนำข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคบน LINE SHOPPING มาวิเคราะห์แบ่งกลุ่ม เพื่อการยิงโฆษณาผ่าน LINE ADS ได้แม่นยำและครอบคลุมขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น

3. API & Plug-In เปิดขยายการเชื่อมต่อ API ให้มีความหลากหลายและตอบโจทย์เฉพาะด้านได้อย่างครอบคลุมขึ้น อาทิ LINE SHOPPING API, Messaging API รวมถึงแผนการเปิดตัว LINE OA Plus Plug-in Store แหล่งรวมโซลูชั่นสำหรับนักพัฒนานอกองค์กร LINE ในการนำเสนอโซลูชั่นใหม่ ๆ และยังเป็นโอกาสสำหรับภาคธุรกิจไทย ในการมองหาโซลูชั่นให้ตรงกับความต้องการ

 

 โครงการ SPACE-F รุ่นที่ 4 กลับมาอีกครั้งกับงาน SPACE-F Batch 4 Incubator Demo Day ด้วยอีเวนท์การนำเสนอผลงานด้านเทคโนโลยีอาหารของสตาร์ทอัพภายใต้โปรแกรมบ่มเพาะสตาร์ทอัพ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือขององค์กรชั้นนำ

ได้แก่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) ร่วมกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ดีลอยท์ ประเทศไทย และบริษัท ล็อตเต้ ไฟน์ เคมิคอล จำกัด

ครั้งนี้ โครงการ SPACE-F รุ่นที่ 4 ได้นำ 10 สตาร์ทอัพจากโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพขึ้นเวที เพื่อนำเสนอผลงานแก่นักลงทุน และผู้ที่สนใจในนวัตกรรมด้าน FoodTech โดยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมบน FoodTech Stage ในงานสัมมนาด้านเทคโนโลยีแห่งปีอย่าง Techsauce Global Summit 2023 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในวันที่ 16 สิงหาคม 2566

ด้วยศักยภาพและความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี สตาร์ทอัพทั้ง 10 ทีมได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโปรแกรมบ่มเพาะสตาร์ทอัพ ผ่านการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม ทั้งไทยและต่างประเทศ เพื่อเรียนรู้ และพัฒนาโซลูชั่นให้มีความเฉียบคมยิ่งขึ้น พร้อมออกสู่ตลาด รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมในการระดมเงินทุนในระดับ Series A และ Seed Funding

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวเปิดงาน SPACE-F Batch 4 Incubator Demo Day ว่า "NIA ในฐานะผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม หรือ Focal Conductor มุ่งมั่นที่จะสร้างผลกระทบอย่างยั่งยืนต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ภายใต้แนวคิด Create the Dot - Connect the Dot - Value Creation ผ่านกลยุทธ์ “2 ลด 3 เพิ่ม” ได้แก่ ลดความเหลื่อมล้ำ ลดอุปสรรคการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม เพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพิ่มจำนวนนวัตกรและผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม และเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม

โครงการ SPACE-F นับเป็นแพลตฟอร์มเริ่มต้นสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และด้วยความร่วมมือของผู้สนับสนุนของโครงการ เราสามารถกระตุ้นนวัตกรรมและสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยสนับสนุนให้กับสตาร์ทอัพเติบโต

ทั้งนี้ ความมุ่งมั่นของสตาร์ทอัพในโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 4 ถือเป็นแรงผลักดันที่สำคัญในการเติบโตของสตาร์ทอัพ ไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในระดับโลกอีกด้วย"

 

ดร. ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มด้านนวัตกรรม บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ไทยยูเนี่ยนเชื่อว่าโครงการ SPACE-F จะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารให้มีความยั่งยืนอย่างมีนัยยะ และสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมการนำเสนอในงานในปีนี้ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพการพัฒนาเทคโนโลยีที่สร้างคุณค่าให้กับอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งครอบคลุมสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่การนำผลผลิตรองมาผ่านกระบวนการเพื่อเปลี่ยนเป็นวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ไปจนถึงการนำเสนออาหารทางเลือกแห่งอนาคต อย่างผลิตภัณฑ์ที่มาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ”

 

สตาร์ทอัพ 10 ทีมในโปรแกรมบ่มเพาะสตาร์ทอัพ โครงการ SPACE-F รุ่นที่ 4 ประกอบไปด้วย

· BIRTH2022 เครื่องดื่มกาแฟสกัดเย็นจากเมล็ดกาแฟหมักด้วยแบคทีเรียโพรไบโอติก ที่มีส่วนช่วยให้มีรสชาติที่แตกต่าง มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และเก็บรักษาได้นานขึ้น

· ImpactFat: ไขมันปลาจากการเพาะเลี้ยงเซลล์ อุดมไปด้วยสารอาหาร โอเมก้า 3 และไม่มีกลิ่นคาวปลา และสามารถช่วยเสริมรสชาติของอาหารได้ดียิ่งขึ้น

· Marinas Bio: อาหารทะเลจากการเพาะเลี้ยงเซลล์ เน้นวัตถุดิบที่เป็นอาหารทะเล เช่น ไข่ปลาคาร์เวีย และ ไข่ปลาแซลมอน ที่ไม่สามารถผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

· Mycovation: นำเสนอวัตถุดิบอาหารรูปแบบใหม่จากรากเห็ดที่ผลิตโดยใช้เทคโนโลยีการหมัก

· NutriCious: เครื่องดื่มไข่ขาวแคลอรี่ต่ำเพื่อสุขภาพ รสชาติดี และอุดมไปด้วยสารอาหารจากนม และโปรตีน

· Plant Origin: ผลิตภัณฑ์ไข่ทดแทนจากโปรตีนรำข้าว

· Probicient: เบียร์โพรไบโอติกเจ้าแรกของโลก ทางเลือกของเครื่องดื่มสังสรรค์ที่ให้ผลดีต่อสุขภาพของคุณ!

· The Kawa Project: ผงโกโก้ทดแทนจากกากกาแฟ ที่มีรสชาติและรสสัมผัสที่ไม่แตกต่างจากต้นฉบับ มีราคาที่ถูกกว่า และสามารถนำไปประยุกต์ได้หลากหลาย

· Trumpkin: ชีสทางเลือกที่ผลิตจากเมล็ดฟักทอง สามารถทดแทนชีสจากผลิตภัณฑ์นม

· Zima Sensors: เซ็นเซอร์ตรวจจับการรั่วไหลของอากาศในบรรจุภัณฑ์โดยใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยที่ช่วยให้สามารถตรวจสอบการรั่วไหลได้อย่างต่อเนื่อง

 

รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวปิดกิจกรรม SPACE-F Batch 4 Incubator Demo Day โดยกล่าวถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านการวิจัย ที่สนับสนุนทรัพยากร เครื่องมือ และผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขาให้แก่ผู้ประกอบการด้าน FoodTech

มหาวิทยาลัยมหิดลริเริ่มโครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F เป็นโครงการบ่มเพาะทีม Startup ที่มาจากการรวมตัวของนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัยในมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีการติวเข้มในด้านต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์และตลาด การจัดทำแบบจำลองธุรกิจและแผนพัฒนาธุรกิจ รวมถึงทักษะการเป็นผู้ประกอบการในยุคปัจจุบัน

“หนึ่งในสตาร์ทอัพที่นำเสนอผลงานในวันนี้ นับเป็นผลงานจากโครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F เช่นกัน ทางมหาวิทยาลัยมหิดลตั้งใจที่จะสนับสนุน และยินดีต้อนรับสตาร์ทอัพที่มีความสนใจในการพัฒนาโซลูชั่นด้านอาหาร เพื่อเข้าร่วมโครงการในปีถัด ๆ ไป”

ปิดท้ายด้วย คุณต้องใจ ธนะชานันท์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานความยั่งยืนและกลยุทธ์ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้เน้นถึงบทบาทสำคัญของโครงการ SPACE-F ที่มีส่วนในการเชื่อมโยงนวัตกรรมต่าง ๆ ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางสำหรับนวัตกรรมด้านอาหารและเครื่องดื่มในระดับโลก “ไทยเบฟมองว่าโครงการ SPACE-F นั้นเป็นแพลทฟอร์มที่ช่วยส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ซึ่งรวมถึงการสร้างสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การบริโภคและการผลิตอย่างรับผิดชอบ รวมถึงการดำเนินการเพื่อสิ่งแวดล้อม”

ด้วยความสำเร็จของสตาร์ทอัพทั้ง 4 รุ่น โครงการ SPACE-F นับเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพได้เข้าถึงการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในวงการ การเชื่อมโยงทางธุรกิจ และพื้นที่ทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยให้สตาร์ทอัพเหล่านั้นสามารถต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และยังคงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการเติบโตของสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหาร (FoodTech) และนวัตกรรมในระดับสากล

สตาร์ทอัพที่สนใจ และต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สามารถสมัครเข้าร่วมในโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 5 เพื่อเข้าสู่เครือข่ายของกลุ่มผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้านอาหาร และรับโอกาสในการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ร่วมงานกับเพื่อนร่วมโครงการที่มีความสนใจคล้ายคลึงกัน และเข้าถึงทรัพยากรที่มีคุณค่า ซึ่งจะส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจ

ติดตาม SPACE-F ได้ทางเว็บไซต์ www.space-f.co หรือผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเพื่อรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมของโครงการ SPACE-F รวมถึงความสำเร็จและผลงานของสตาร์ทอัพในโครงการรุ่นต่าง ๆ รวมถึงข่าวสารเกี่ยวกับโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 5

รายงาน Gartner’s Hype Cycle for Emerging Technologies 2023 ระบุว่า Generative Artificial Intelligence (เอไอแบบรู้สร้าง) ถูกจัดให้อยู่บนตำแหน่งสูงสุดของความคาดหวังที่จะโตขึ้นอีกมากในวงจรเทคโนโลยีเกิดใหม่ ซึ่งคาดว่าจะถึงจุดที่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ภายใน 2 ถึง 5 ปี โดย Generative AI ถูกรวมอยู่ในธีมที่กว้างกว่าของ Emergent AI ซึ่งเป็นเทรนด์หลักของวงจรฯ นี้ ที่สร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับนวัตกรรม

อรุณ จันทรเศกการัน รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ความนิยมของเทคนิค AI ใหม่จำนวนมากจะส่งผลกระทบสำคัญต่อธุรกิจและสังคม ซึ่งการฝึกใช้ AI และการสเกลโมเดลพื้นฐานของ AI ขนานใหญ่ รวมถึงการใช้เอเจนท์การสนทนาแบบไวรัล (Conversational Agents) และการเพิ่มจำนวนของแอปพลิเคชั่น Generative AI กำลังเผยให้เห็นคลื่นใหม่ ๆ ของการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของพนักงานและไอเดียสร้างสรรค์สำหรับเครื่องจักร”

รายงานวงจรเทคโนโลยีเกิดใหม่ (The Hype Cycle for Emerging Technologies) เป็นรายงานด้านวงจรต่าง ๆ ของการ์ทเนอร์ที่มีความเฉพาะเจาะจง เกิดจากการกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกของเทคโนโลยีและกรอบการทำงาน (Frameworks) หลัก ๆ มากกว่า 2,000 รายการ ให้ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ได้ รายงานนี้จัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยการ์ทเนอร์ รวบรวมเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่มีความน่าสนใจที่ผู้บริหารและอุตสาหกรรม “ต้องรู้” ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนมอบประโยชน์ด้านการเปลี่ยนแปลงในอีก 2-10 ปีข้างหน้านี้ (ดูรูปที่ 1)

ภาพที่ 1 วงจรเทคโนโลยีเกิดใหม่ ปี 2566 (Hype Cycle for Emerging Technologies, 2023)

 

ที่มา: การ์ทเนอร์ (สิงหาคม 2566)

เมลิซซ่า เดวิส รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ขณะที่ทุกสายตาต่างจับจ้องไปที่ AI ผู้บริหาร CIO และ CTO ยังต้องหันความสนใจไปยังเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่มีศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลงอีกด้วย รวมถึงเทคโนโลยีที่ช่วยยกระดับประสบการณ์ของนักพัฒนา ขับเคลื่อนนวัตกรรมผ่านระบบคลาวด์ที่แพร่หลาย และส่งมอบความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง”

“เนื่องจากเทคโนโลยีในวงจรเทคโนโลยีเกิดใหม่ (Hype Cycle) ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น ความไม่แน่นอนต่าง ๆ จึงอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในขั้นของการพัฒนา ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีเอ็มบริโอนิก (Embryonic Technologies) ที่มีความเสี่ยงมากในการนำมาปรับใช้ แต่อาจมีประโยชน์มากกว่าสำหรับ Early Adopters” เดวิสกล่าวเสริม

4 ธีมหลักของเทคโนโลยีเกิดใหม่ ได้แก่

Emergent AI: นอกเหนือจาก Generative AI แล้ว ยังมีเทคนิค AI ที่เกิดขึ้นใหม่อีกหลายตัวที่นำเสนอศักยภาพอย่างสูงในการยกระดับประสบการณ์ลูกค้าดิจิทัล การตัดสินใจทางธุรกิจได้ดีขึ้น และสร้างความต่างในการแข่งขันที่ยั่งยืน เทคโนโลยีเหล่านี้ประกอบด้วย AI Simulation, Causal AI, Federated Machine Learning, Graph Data Science, Neuro-symbolic AI และ Reinforcement Learning

Developer Experience (DevX): DevX หมายถึงทุกแง่มุมของการโต้ตอบระหว่างนักพัฒนากับเครื่องมือ แพลตฟอร์ม กระบวนการและผู้คนที่พวกเขาทำงานด้วยเพื่อพัฒนาและส่งมอบผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์และบริการ ซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพด้านประสบการณ์ของนักพัฒนา หรือ DevX มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของไอเดียริเริ่มด้านดิจิทัลขององค์กรส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีความสำคัญต่อการดึงดูดและรักษาผู้มีทักษะความสามารถด้านวิศวกรรมระดับสูง รวมถึงรักษาขวัญและกำลังใจของทีมให้อยู่ในระดับสูง และทำให้มั่นใจว่างานนั้นสร้างแรงจูงใจและมีรางวัลตอบแทน

เทคโนโลยีหลักที่ DevX ช่วยพัฒนาและปรับปรุง ได้แก่ AI-Augmented Software Engineering, API-Centric SaaS, GitOps, Internal Developer Portals, Open-Source Program Office และ Value Stream Management Platforms

Pervasive Cloud: ในอีก 10 ปีข้างหน้า คลาวด์คอมพิวติ้งจะพัฒนาจากแพลตฟอร์มนวัตกรรมเทคโนโลยีไปสู่คลาวด์ที่แพร่หลายไปทั่วและยังเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของนวัตกรรมทางธุรกิจ เพื่อรองรับการใช้งานที่แพร่หลายนี้ ซึ่งคลาวด์คอมพิวติ้งจะมีรูปแบบการกระจายมากขึ้นและจะมุ่งไปที่อุตสาหกรรมแนวดิ่ง และการเพิ่มมูลค่าจากการลงทุนบนระบบคลาวด์สูงสุดจะต้องมีการปรับขนาดการดำเนินงานโดยอัตโนมัติ การเข้าถึงเครื่องมือแพลตฟอร์มแบบคลาวด์เนทีฟ และการกำกับดูแลที่เพียงพอ

เทคโนโลยีหลักที่เปิดใช้งาน Pervasive Cloud ได้แก่ Augmented FinOps, Cloud Development Environments, Cloud sustainability, Cloud-Native, Cloud-Out To Edge, Industry Cloud Platforms และ WebAssembly (Wasm)

Human-Centric Security And Privacy: มนุษย์ยังเป็นต้นเหตุหลักของเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยและการละเมิดข้อมูล องค์กรสามารถใช้โปรแกรมความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความยืดหยุ่นได้ ผสานกับโครงสร้างการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวเข้ากับการออกแบบดิจิทัลขององค์กร เทคโนโลยีเกิดขึ้นใหม่จำนวนมากช่วยให้องค์กรสามารถสร้างวัฒนธรรมแห่งความไว้วางใจซึ่งกันและกัน พร้อมตระหนักถึงความเสี่ยงร่วมกันในการตัดสินใจระหว่างหลายทีม

เทคโนโลยีหลักที่สนับสนุนการขยายการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ได้แก่ AI TRISM, Cybersecurity Mesh Architecture, Generative Cybersecurity AI, Homomorphic Encryption และ Postquantum Cryptography

Page 2 of 7
X

Right Click

No right click