×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 806

1 หนุ่ม 2 สาว 3 ดีไซน์

July 27, 2017 3730

พิรด าเสนีวงศ์ ณ อยุธยา เรียนจบและหลงใหลในงานออกแบบเครื่องประดับ ขณะที่น้องสาวฝาแฝด ภารดี กลับเลือกเรียนและลุ่มหลงการออกแบบในอีกแขนงนั่นคืองานออกแบบภายใน ส่วน ชินภานุ อธิชาธนบดี เพื่อนสนิทมีความถนัดเชี่ยวชาญในงานออกแบบผลิตภัณฑ์

แม้จะมีภูมิรู้คนละสาขา แต่เมื่อทั้ง 3 มีงานดีไซน์เป็นเสมือนชีวิตที่ต้องขบคิดอยู่ตลอดเวลาเหมือนๆ กัน ความแตกต่างนี้จึงกลายเป็นส่วนผสมทางเคมีที่ลงตัวพอดิบพอดี ในการสร้างสรรค์งานออกแบบจิวเวลรี เฟอร์นิเจอร์ และงานออกแบบภายในที่โดดเด่น ภายใต้ TRIMODE STUDIO 

การเดินในเส้นทางการออกแบบของ 2 สาว 1 หนุ่ม เริ่มต้นตั้งแต่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยศิลปากร และบ่มเพาะประสบการณ์ผ่านการผลิตงานเพื่อส่งเข้าประกวดมากมาย และผลความเพียรพยายามนี่แหละ ทำให้พวกเขาได้รับรางวัล มีคนเห็นผลงาน มีคนรู้จัก และมีลูกค้า ชั่วโมงนี้ชื่อของ TRIMODE STUDIO จึงเป็นรู้จักกันดีทั้งในและต่างประเทศ 

ภารดี เล่าให้ฟังว่า เป็นเพราะทุกคนมีความรักในงานดีไซน์ จึงทำให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ และมีการดึงเอาจุดเด่นของแต่ละคนมาร่วมกันสร้างสรรค์งานที่มีความแตกต่าง โดยทุกๆ งานมักจะเริ่มต้นด้วยการระดมสมอง ถกเถียง แล้วแบ่งงานตามความถนัดของแต่ละคน โดยมี ชินภานุ เป็นผู้เปิดประเด็น เพราะมีความครีเอทีฟสูง และพิรดา คอยเอาข้อมูลมาใส่ให้ เพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่ๆ ส่วนตัวเธอเป็นคนตบให้ทุกความคิดเข้ามาอยู่ในวง และเป็นคนกลางยำความคิดของ 2 คนให้เข้ากัน

ที่นี่สตูดิโอเล็กๆ มีเพียง 5 ชีวิต แต่ไม่น่าเชื่อว่าออฟฟิศเล็กๆ อย่างนี้ จะเป็นเล็กพริกขี้หนู สามารถสร้างสรรค์งานเจ๋งๆ ได้มากมาย ซึ่งด้วยไซส์เล็กๆ เช่นนี้  ชินภานุ กลับบอกว่าทำให้ ไตรโหมดฯ ขยับตัวได้รวดเร็ว

จริงๆเราไม่อยากให้ทีมเยอะอยากให้เป็นกลุ่มที่เคลื่อนตัวไปไหนมาไหนได้เร็วและมีความคล่องตัวสูงเราจะใช้เพื่อนๆมาช่วยด้วยเป็นกลุ่มคนที่สามารถคุยกันง่ายในวิธีคิดบางทีบริษัทใหญ่อาจจะผ่านการประชุมผ่านหลายขั้นแต่เราทำงานได้รวดเร็วกว่าอย่าง brief มาปุ๊บมันจะถึงทุกคนด้วยความรวดเร็วและกระจายกันทำเลย" ชินภานุ กล่าว

งานดีไซต์ที่ดีเกิดจากประสบการณ์ที่แข็งแกร่ง ซึ่งเกิดจากการที่ต้องใช้ชีวิต การเดินทาง และการสังเกต 

ชินภานุ  อธิชาธนบดี

แม้จะออกตัวว่าขอโตอย่างช้าๆ แต่กระนั้นชื่อของไตรโหมดกลับขจรไปไกลถึงต่างแดน และด้วยการเติบโตนี่เอง จึงต้องมีการจัดโครงสร้างกันใหม่เพื่อความชัดเจนมากขึ้น ไตรโหมดฯ จึงแตกหน่อออกมาเป็น ไตรโหมดดีไซน์ เพื่อดูงานออกแบบเครื่องประดับเป็นการเฉพาะ โดยมี ไตรโหมดแอสเซสเซอร์รี่ เป็นแบรนด์ ส่วน ไตรโหมดสตูดิโอ จะดูแลงานออกแบบภายในและงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์

“ ด้วยความที่จิวเวลรีเป็นเหมือนรีเทลขายตามร้านเยอะกว่าถ้าเทียบกับงานเฟอร์นิเจอร์ซึ่งเป็น made to order ไม่มีหน้าร้านจึงต้องแยกออกมาเป็นแบรนด์ที่ชัดเจน" ภารดี กล่าว 

งานจิวลรีต้องพยายามหาอะไรแปลกใหม่ พยายามรักษาความเป็นตัวตนของแบรนด์ให้มากที่สุด เอาความเป็นแบรนด์กลิ้งไปกับกระแสการเปลี่ยนแปลงให้ได้

พิรดา เสนีวงศ์ณอยุธยา

งานออกแบบเครื่องประดับภายใต้แบรนด์ ไตรโหมด แอสเซสเซอร์รี่ ปัจจุบัน ส่งออกไปหลายประเทศทั้ง ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลี ญี่ปุ่น ในแง่ดีไซน์สิ่งที่ทำให้ไตรโหมด แอสเซส-เซอร์รี่ มีความแตกต่างจนสร้างชื่อในตลาดต่างประเทศนั้น ภารดี เล่าว่า เป็นเพราะการผสมผสานในสิ่งที่มี นั่นคือ การใช้ความเป็นเอเชียแต่คำนึงถึงความเป็นสากลที่จะต้องเข้ากับทุกๆ ที่ ทุกๆ กลุ่มลูกค้าได้

เรามักคำนึงว่าเราได้ไอเดียจากเมืองไทยเรามักจะแปรค่ามันใครจะใส่เทรนด์ของแฟชั่นเขาแต่งตัวอย่างไรมันต้องมีความบาลานซ์ให้ลงตัว"

ขนานไปกับการออกแบบ ในแง่การทำตลาดการผลักดันแบรนด์ไตรโหมดฯ ให้เป็นที่รู้จักนั้น พิรดา ช่วยอธิบายว่า  จริงๆ เริ่มจากการบุกตลาดด้วยตนเอง ลุยไปออกงานแฟร์เอง วิ่งหาหน้าร้านเอง

ถ้าเราจ้างมาร์เก็ตติ้งมาทำงานให้แต่เขาไม่เข้าใจความเป็นไตรโหมดเขาก็ทำให้เราไม่ได้มากแต่เราทำเองเรารู้ทุกขั้นตอนมันก็ทำให้เรารู้ว่าจะต้องไปในแนวทางไหนเราจะเสิร์ชก่อนร้านไหนเหมาะกับเราน่าจะมีกลุ่มลูกค้าที่ชอบของแบบเดียวกับเราเราก็ walk-in เข้าไปคุยกับเขาเลยบางทีโชคดีเจอเจ้าของร้านบางทีก็อีเมลไปนัดก่อนเอาของไปพรีเซ็นต์ก็จะมีทั้งสำเร็จและไม่สำเร็จ พิรดา กล่าว

สำหรับงานออกแบบภายใน ถ้าเอ่ยชื่อ EST33 @Crystal Design Center และ @The Nine, Farm Design, Konaya, Smoothie Secret@The Nine ฯลฯ หลายคนคงต้องร้องอ๋อ งานออกแบบภายในที่เตะตาเหล่านี้คือผลงานของไตรโหมดทั้งนั้นแหละ

งานออกแบบภายในที่หลั่งไหลเข้ามาเรื่อยๆ ทำให้งานเฟอร์นิเจอร์ต้องขยับช้าลง และแปรมาเป็นเฟอร์นิเจอร์เพื่องานออกแบบภายในมากกว่า ซึ่งเสน่ห์ของงานไตรโหมดทั้งหมดนั้น ภารดี กล่าวว่า เป็นการเน้นงานทดลอง การหาวัสดุที่แปลก และเทคนิคใหม่ๆ ซึ่งทำให้ได้งานที่แปลกแตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่เดิมเสมอ อย่างงานเฟอร์นิเจอร์ ต้องยอมรับว่าฟอร์มโต๊ะเก้าอี้ หรือสินค้าเฟอร์นิเจอร์ไม่มีอะไรใหม่แล้ว รูปฟอร์มหนีจากเดิมไปได้ไม่มาก ฉะนั้นสิ่งที่ทำให้แตกต่างคือเนื้อหา เทคนิค กรรมวิธี ที่มาที่ไป มุมมองที่มองสิ่งนั้น ซึ่งต้องใช้เวลามาก 

ด้วยผลงานในวันนี้ของไตรโหมด ชินภานุ ถึงกับบอกว่า ไม่ได้ทำมาร์เก็ตติ้งเลย แต่โชคดีที่ลูกค้าเป็นฝ่ายมาหาเอง ด้วยความขยันออกงาน อดทน และทำงานให้ต่อเนื่อง ก็จะเป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ

เราทำอะไรทำให้ดีไม่ว่างานเล็กงานใหญ่พองานดีงานจะบอกเองว่าเราเป็นอย่างไร  ทั้ง 3 สรุปตรงกันในตอนท้าย

ทำในสิ่งที่ตัวเองรักอย่าเพิ่งไปคิดถึงเงินหรือผลกำไรดีไซเนอร์ที่ดีต้องคำนึงถึงแต่อย่าเอาตัวนั้นมาเป็นหลักไม่งั้นจะลิมิตความคิดสร้างสรรค์ของเราโดยไม่รู้ตัว

ภารดี  เสนีวงศ์ณอยุธยา

Last modified on Thursday, 27 July 2017 09:41
X

Right Click

No right click