บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด (บลจ.เกียรตินาคินภัทร) เล็งเห็นโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ เปิดเสนอขาย 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดเคเคพี EMERGING MARKETS EX CHINA – UNHEDGED (KKP EMXCN-UH) และกองทุนเปิดเคเคพี EMERGING MARKETS EX CHINA – HEDGED (KKP EMXCN-H) โดยมีกลยุทธ์การบริหารการลงทุนแบบเชิงรับ (Passive Management) มุ่งหวังให้ผลตอบแทนเป็นไปตามดัชนี MSCI Emerging Markets ex China Index ที่ครอบคลุมการลงทุนในหุ้นของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทั้งหมด ยกเว้นประเทศจีน รวม 23 ประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุน และหาโอกาสการเติบโตจากหุ้นในประเทศตลาดเกิดใหม่ โดยมีทั้งประเภทไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (UNHEDGED) และป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด (HEDGED) กำหนดการเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 2 – 8 กุมภาพันธ์ 2567 ด้วยมูลค่าขั้นต่ำในการซื้อเพียง 1,000 บาท

นายยุทธพล ลาภละมูล กรรมการผู้จัดการ บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า ปีนี้ตลาดหุ้นเกิดใหม่ หรือ Emerging Markets (EM) มีความน่าสนใจในการลงทุนเนื่องจากการสิ้นสุดวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นและจะเริ่มกลับเป็นขาลงทำให้มีโอกาสที่กระแสเงินทุนจะไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets: EM) ที่มีประมาณการกำไรสุทธิในปีนี้เติบโต 16% สูงกว่าตลาดหุ้นโลกที่มีอัตราการเติบโตประมาณ 7% โดยเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ในไต้หวันและเกาหลี ประกอบกับระดับมูลค่า P/E ของตลาด EM ที่ระดับ 11.1 เท่ายังคงถูกกว่าตลาดหุ้นโลกและถูกกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ทั้งนี้ บลจ.เกียรตินาคินภัทรมองว่า การลงทุนในตลาด EM ที่ไม่รวมจีน มีความน่าสนใจมากกว่าตลาด EM โดยรวม เนื่องจากปัจจัยกดดันการเติบโตเศรษฐกิจของจีนยังต้องใช้เวลาในการแก้ไขและผู้ลงทุนมีทางเลือกการลงทุนในหุ้นจีนโดยตรงมาก่อนนี้แล้ว จึงเห็นว่าการนำเสนอทางเลือกการลงทุนในตลาด EM ที่ไม่รวมจีนจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยได้

สำหรับ กองทุน KKP EMXCN-UH และ KKP EMXCN-H ระดับความเสี่ยง 6 เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund มีนโยบายเน้นลงทุนในกองทุนหลัก iShares MSCI Emerging Markets ex China ETF โดยกองทุนหลักมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับผลการดำเนินงานจากการลงทุนของดัชนี MSCI Emerging Markets ex China Index ที่ประกอบด้วยหุ้นของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ขนาดกลางและขนาดใหญ่ ไม่รวมประเทศจีน กองทุน KKP EMXCN-UH จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่ง

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ส่วนกองทุน KKP EMXCN-H จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 90% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ

สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) โทร. 02 305 9559 หรือ ธนาคารเกียรตินาคินภัทรทุกสาขา หรือ https://am.kkpfg.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง

ข้อมูลกองทุน KKP EMXCN-UH และ KKP EMXCN-H :

· เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 2 – 8 กุมภาพันธ์ 2567

· มูลค่าขั้นต่ำในการซื้อครั้งแรก 1,000 บาท ครั้งถัดไป 1,000 บาท

 

ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) เดินหน้าแผน IPO เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. ได้นับหนึ่งไฟลิ่ง เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมก้าวสู่การเป็นธนาคารชั้นนำที่มีคุณภาพ และเติบโตในกลุ่มธุรกิจด้านการเงิน สนับสนุนสินเชื่อเพื่อคนไทย ภายใต้วิสัยทัศน์ “ธนาคารไทยเครดิต มุ่งมั่นสนับสนุนให้ลูกค้าเติบโตทางธุรกิจและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยบริการไมโครไฟแนนซ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของธนาคาร” โดยมีธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

นายวิญญู ไชยวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) (“ธนาคารฯ”) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้นับหนึ่งแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบไฟลิ่ง เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจำนวนหุ้นที่คาดว่าจะเสนอขายทั้งหมด (รวมหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกและเสนอขายโดยธนาคารฯ และหุ้นสามัญที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิม) ไม่เกิน 347,029,122 หุ้น คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 28.2 ของจำนวนหุ้นจดทะเบียนและชำระแล้วทั้งหมดของธนาคารฯ ภายหลังการทำ IPO1 ซึ่งนับเป็นธนาคารพาณิชย์ที่เสนอขายหุ้น IPO ในรอบ 10 ปี โดยมี ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในครั้งนี้

อย่างไรก็ดี ธนาคารฯ เป็นธนาคารพาณิชย์ที่มุ่งเน้นให้บริการสินเชื่อนาโนและไมโครเครดิตเพื่อคนค้าขาย (Nano and Micro Finance) และสินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี (Micro SME) แก่กลุ่มลูกค้าในประเทศไทยที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้เท่าที่ควร ซึ่งกลุ่มลูกค้าดังกล่าวเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

สำหรับวัตถุประสงค์ของการระดมทุนในครั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเงินกองทุนของธนาคารฯ เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการขยายพอร์ตสินเชื่อ รวมทั้ง นำไปใช้ปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล (Digital Transformation) และโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Security and Infrastructure) ด้วยเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายย่อยและลูกค้าบุคคล รวมไปถึงความมุ่งหวังที่จะช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบให้เข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ เป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ และสอดคล้องกับปรัชญาการดำเนินธุรกิจของธนาคาร “Everyone Matters ทุกคนคือคนสำคัญ”

นายกนต์ธีร์ ประเสริฐวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน เปิดเผยว่า หลังจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้นับหนึ่งไฟลิ่งธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คาดว่าธนาคารฯ จะเสนอขายและเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในหมวดกลุ่มธุรกิจการเงิน / ธนาคาร ตามแผน IPO

สำหรับ ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำเพื่อลูกค้ารายย่อย ด้วยประสบการณ์การให้บริการสินเชื่อเพื่อรายย่อยที่หลากหลายมากว่า 10 ปี ทำให้ธนาคารฯ มีความเข้าใจในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง ประกอบกับการมีผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าหลากหลายขนาดและประเภทธุรกิจ รวมถึงการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่รัดกุม ทำให้เชื่อว่าธนาคารฯ อยู่ในจุดที่สามารถขยายพอร์ตสินเชื่อในการสนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ซึ่งแสดงให้เห็นได้จากการเติบโตอย่างรวดเร็วและแข็งแกร่งของเงินให้สินเชื่อของธนาคารฯ ในระหว่างปี 2563 ถึงปี 2565 ที่อัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมร้อยละ 33.0 ต่อปี และยังมีศักยภาพในการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจสู่ตลาดที่มีขนาดใหญ่ แต่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินนี้ ด้วยรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เป็นเอกลักษณ์

นอกจากนี้ ธนาคารฯ ยังมีโครงสร้างต้นทุนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ จากเครือข่ายสาขาที่มีต้นทุนการดำเนินงานต่ำ ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 ธนาคารฯ มีสาขาทั้งสิ้น 527 แห่งทั่วประเทศไทย ประกอบไปด้วยสาขาสินเชื่อเพื่อรายย่อย สำนักงานนาโนเครดิต และสาขาที่ให้บริการเงินฝาก ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ในพื้นที่หรือใกล้เคียงกับกลุ่มลูกค้า รวมทั้งมุ่งเน้นการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมผ่านช่องทางดิจิทัล โดยบริษัท ไทยไมโคร ดิจิทัล โซลูชั่นส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของธนาคารฯ ได้นำแพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ของลูกค้าผ่านแอปพลิเคชัน “ไมโครเพย์” ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานที่ผ่านกระบวนการ KYC ถึง 384,460 ราย เป็นปัจจัยที่ทำให้ธนาคารฯ สามารถรักษาอัตราส่วนค่าใช้จ่ายดําเนินงานต่อรายได้รวม (Cost-to-Income Ratio) ไว้ได้ในระดับต่ำ หรือเท่ากับร้อยละ 36.0 ในงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566

 

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานงวด 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2563 – 2565) และ ณ งวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ของธนาคารฯ มีจำนวนเท่ากับ 68,562.4 ล้านบาท 97,728.7 ล้านบาท 121,298.0 ล้านบาท และ 132,758.1 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยสะสมต่อปีระหว่าง 2563-2565 (Compound Annual Growth Rate: CAGR) อยู่ที่ร้อยละ 33.0 ต่อปี

เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ของธนาคารฯ สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย (1) สินเชื่อสำหรับสินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี (2) สินเชื่อนาโนและไมโครเครดิตเพื่อคนค้าขาย (3) สินเชื่อบ้าน (4) สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล (5) สินเชื่อรายย่อยอื่นๆ

นอกจากนี้ สำหรับงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ธนาคารฯ มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,830.7 ล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมในระหว่างปี 2563 ถึงปี 2565 ร้อยละ 30.9 ต่อปี

“บมจ.สิริซอฟต์ หรือ SRS” จัดงานโรดโชว์ ตามแผนเสนอขายหุ้น IPO 40 ล้านหุ้น โชว์วิสัยทัศน์ หุ้นคอนซัลท์เทคฯ ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง ด้วยความเชี่ยวชาญและการบริหารบุคลากร ตอบโจทย์ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาททางธุรกิจ SRS พร้อมเดินหน้าเสริมทัพบุคลากรไอที ขยายบริการและขยายฐานลูกค้า พร้อมชูผลการดำเนินงานแข็งแกร่ง ปี 2563 – 2565 เติบโตเฉลี่ย (CAGR) 137.37% ขณะที่ Backlog ในมือแน่น อยู่ที่ 525.64 ล้านบาท สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน

นายสิริวัฒน์ ธนุรเวท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิริซอฟต์ จำกัด (มหาชน) หรือ SRS ที่ปรึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับองค์กร ผ่านแนวทางการทำงานแบบ DevOps (Development & Operations) เปิดเผยว่า บริษัทจัดงานโรดโชว์วันนี้ เพื่อให้นักลงทุนได้รับทราบเกี่ยวกับรายละเอียดของการดำเนินธุรกิจ จุดเด่น และโอกาสการเติบโตของบริษัทในอนาคต ก่อนเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน (IPO) จำนวน 40 ล้านหุ้น และจะเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะสนับสนุนให้ SRS เติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้ ก้าวสู่การเป็นบริษัทผู้ให้บริการ Information Technology Services รายใหญ่ของประเทศไทย ด้วยวิสัยทัศน์เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีคุณภาพ ซื่อสัตย์ ยุติธรรม และยั่งยืน

สำหรับผลการดำเนินการ 3 ปีย้อนหลัง (2563 - 2565) บริษัทเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 137.37% โดยมีรายได้จากการขายและบริการ อยู่ที่ 72.91 ล้านบาท 187.03 ล้านบาท และ 410.81 ล้านบาท ตามลำดับ และมีกำไรสุทธิ 14.39 ล้านบาท 25.47 ล้านบาท และ 68.69 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 19.73% , 13.51% และ 16.67% ของรายได้รวม ตามลำดับ

ด้านผลการดำเนินงาน 6 เดือนแรกของปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้รวม 306.24 ล้านบาท เติบโตจากงวดเดียวกันของปีก่อน 42.98% แบ่งเป็นรายได้จากงานให้บริการ ซึ่งประกอบด้วย รายได้จากการให้บริการคำปรึกษาและพัฒนาระบบ รายได้จากการบริการบำรุงรักษาระบบ (Maintenance) และการบริการอื่นๆ สัดส่วน 63.03% และรายได้จากการขาย ซึ่งประกอบด้วย รายได้จากการขายสิทธิการใช้งานซอฟต์แวร์ และการขายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง สัดส่วน 36.83% สำหรับกำไรสุทธิอยู่ที่ 47.34 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 15.47%

ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 กลุ่มบริษัทมีพนักงานรวมทั้งสิ้น 238 คน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของฝ่ายพัฒนาซอฟต์แวร์ และฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นหลัก เพื่อขยายขีดความสามารถในการให้บริการตามจำนวนของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น และมีงานในมือ (Backlog) ที่เติบโตต่อเนื่อง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 บริษัทฯ มี Backlog จำนวนรวม 525.64 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงานบริการมูลค่า 227.13 ล้านบาท และรายได้จากการขายมูลค่า 298.51 ล้านบาท โดยมีกำหนดส่งมอบงานภายในปี 2566 – 2568 เป็นต้นไป จำนวน 297.24 ล้านบาท จำนวน 165.79 ล้านบาท และ จำนวน 62.63 ล้านบาท ตามลำดับ

นางสาวเดือนพรรณ ลีลาวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไพโอเนีย แอดไวเซอรี่ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า หลังจากที่เราได้นำเสนอข้อมูลให้กับนักลงทุน ต้องขอบคุณนักลงทุนที่ให้ความสนใจ SRS หุ้นน้องใหม่คอนซัลท์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้วยพื้นฐานของธุรกิจที่มีความแข็งแกร่ง ความเชี่ยวชาญของผู้บริหาร และบุคลากรด้านพัฒนาซอฟต์แวร์ และฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น สนับสนุนให้ SRS มีการเติบโตที่มีนัยสำคัญ ตอบโจทย์ลูกค้าซึ่งมีแผนการลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง

โดยปัจจุบัน SRS มีลูกค้าหลักในกลุ่มธุรกิจเอกชนที่ต้องการปรับเปลี่ยนธุรกิจแบบดั้งเดิมสู่ธุรกิจดิจิทัล (Digital Transformation) เช่น กลุ่มสถาบันการเงินลูกค้า กลุ่มค้าปลีก หรือกลุ่มธุรกิจเอกชนขนาดกลางและขนาดใหญ่ นอกจากนี้ลูกค้ายังมีความต้องการจัดหาเครื่องมือด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยจัดการระบบการทำงานแบบเดิมให้ทันต่อโลกยุคดิจิทัล เช่น การเพิ่มช่องทางในการให้บริการทางการเงินผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์ การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าในรูปแบบออนไลน์ (E-Commerce) เป็นต้น จึงมั่นใจว่า เงินระดมทุนครั้งนี้ จะสนับสนุนให้ SRS สามารถขยายการให้บริการในกลุ่มลูกค้าเดิม และสร้างฐานลูกค้าใหม่ ตอกย้ำ SRS คือหนึ่งในผู้นำที่ปรึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับองค์กร ผ่านแนวทางการทำงานแบบ DevOps ที่เติบโตอย่างมั่นคงในอนาคต

นางสาวสุวิมล ศรีโสภาจิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม หรือ (Joint Lead Underwriter) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้อนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ของ SRS จำนวน 40 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท คิดเป็นไม่เกิน 25% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งนี้ และเตรียมเดินหน้ากำหนดวันที่จะเสนอขายหุ้น IPO ซึ่งคาดว่าจะนำ SRS เข้าซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในหมวดธุรกิจเทคโนโลยี (Technology) เร็วๆ นี้

วัตถุประสงค์ในการนำเงินระดมทุนที่ได้จากการเสนอขายหุ้น IPO จะนำไปใช้พัฒนาและปรับปรุงซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานภายในองค์กร จำนวนเงินโดยประมาณ 20 ล้านบาท นำไปใช้ในการสรรหาและพัฒนาบุคลากรในการพัฒนาระบบหรือซอฟต์แวร์ รวมถึงการขยายพื้นที่สำนักงาน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ จำนวนเงินโดยประมาณ 280 ล้านบาท และส่วนที่เหลือเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจภายในปี 2566 – 2568

นางสาววีรยา ศรีวัฒนะ หัวหน้าฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม หรือ (Joint Lead Underwriter) เปิดเผยว่า SRS มีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก จากศักยภาพทางธุรกิจ ความเชี่ยวชาญในฐานะผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยใช้ DevOps Culture เป็นแนวคิดที่ช่วยพัฒนาและดูแลลูกค้าในรูปแบบสมัยใหม่ และให้บริการออกแบบพัฒนาซอฟต์แวร์โดยใช้สถาปัตยกรรมแบบ Microservices ในการพัฒนา พร้อมด้วยศักยภาพในการทำงานและการบริหารบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้าน High Code ซึ่งมีความต้องการสูงในอุตสาหกรรม

ด้วยจุดเด่นการให้บริการที่ครบวงจรระดับมืออาชีพ ทีมผู้บริหารและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในด้านการพัฒนาระบบหรือซอฟต์แวร์ สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชั่นได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ สนับสนุนให้ลูกค้าสามารถแข่งขันได้ อีกทั้ง มีวัฒนธรรมขององค์กรที่แข็งแกร่ง รองรับความต้องการลูกค้า และการเติบโตอย่างรวดเร็วของกระแสดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ส่งผลให้ความต้องการด้านระบบและซอฟต์แวร์ของภาคธุรกิจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นโอกาสของสิริซอฟต์ และเชื่อมั่นว่าจะสามารถตอกย้ำความมั่นใจจากนักลงทุนภายหลังจากการเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่ง “สิริซอฟต์ (SRS)” ไฟเขียวเสนอขาย IPO 40 ล้านหุ้น ระดมทุนเสริมแกร่งทีมนักพัฒนา High Code ขยายพื้นที่สำนักงาน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ตอบโจทย์ดีมานด์ในกลุ่มลูกค้าองค์กร และขยายฐานลูกค้าใหม่ ย้ำผู้เชี่ยวชาญคอนซัลท์ไอทีที่มีการเติบโตต่อเนื่อง โชว์ผลการดำเนินงาน 3 ปีย้อนหลัง SRS รายได้โตเฉลี่ย (CAGR) 137.37% พร้อมเตรียมจัดทัพผู้บริหารร่วมงาน IPO Roadshow ให้ข้อมูลต่อนักลงทุนวันที่ 8 ก.ย.นี้ คาดเดินหน้าเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai หมวดธุรกิจเทคโนโลยี ภายในปี 66

นางสาวเดือนพรรณ ลีลาวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไพโอเนีย แอดไวเซอรี่ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัท สิริซอฟต์ จำกัด (มหาชน) หรือ SRS เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ได้เริ่มนับหนึ่งแบบแสดงรายการข้อมูล หรือไฟลิ่งของ SRS เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 40,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท คิดเป็นไม่เกิน 25% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งนี้ และคาดว่าจะเสนอขายและเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในหมวดธุรกิจเทคโนโลยี (Technology) ภายในปี 2566

โดย สิริซอฟต์ (SRS) ในฐานะบริษัทผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยใช้ DevOps Culture เป็นแนวคิดที่ช่วยพัฒนาและดูแลลูกค้าในรูปแบบสมัยใหม่ และให้บริการออกแบบพัฒนาซอฟต์แวร์โดยใช้สถาปัตยกรรมแบบ Microservices ในการพัฒนา พร้อมด้วยศักยภาพในการทำงานและการบริหารบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้าน High Code ซึ่งมีความต้องการสูงในอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว รองรับการแข่งขัน ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าองค์กรที่หันมาให้ความสำคัญในด้านการนำเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจ หรือ Digital Transformation เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้า รวมถึงออกผลิตภัณฑ์หรือบริการสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว สนับสนุนผลการดำเนินงานเติบโตต่อเนื่องในระดับสูง

นายสิริวัฒน์ ธนุรเวท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิริซอฟต์ จำกัด (มหาชน) หรือ SRS ที่ปรึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับองค์กร ผ่านแนวทางการทำงานแบบ DevOps (Development & Operations) เปิดเผยว่า การระดมทุนในครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญในการขยายธุรกิจบริษัทให้แข็งแกร่ง โดยวัตถุประสงค์การระดมทุน เพื่อนำไปใช้สำหรับพัฒนาและปรับปรุงซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานภายในองค์กร ใช้สรรหาและพัฒนาบุคลากรในการพัฒนาระบบหรือซอฟต์แวร์ รวมถึงการขยายพื้นที่สำนักงาน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการขยายธุรกิจ รองรับการเติบโตในอนาคต

ในด้านผลการดำเนินการ 3 ปีย้อนหลัง (2563 - 2565) บริษัทเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีรายได้จากการขายและบริการ อยู่ที่ 72.91 ล้านบาท 187.03 ล้านบาท และ 410.81 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 137.37% และมีกำไรสุทธิ 14.39 ล้านบาท 25.47 ล้านบาท และ 68.69 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 19.73% , 13.51% และ 16.67% ของรายได้รวม ตามลำดับ สำหรับงวด 6 เดือนของปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้รวม 306.24 ล้านบาท มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 47.34 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 15.46%

ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 กลุ่มบริษัทมีพนักงานรวมทั้งสิ้น 238 คน เพิ่มขึ้นจากปลายปี 2565 อยู่ที่ 215 คน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของฝ่ายพัฒนาซอฟต์แวร์ และฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นหลัก เพื่อขยายขีดความสามารถในการให้บริการตามจำนวนของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น และสนับสนุนโอกาสในการรับงาน การเข้าจดทะเบียนในครั้งนี้ จึงนับเป็นการสนับสนุนให้สิริซอฟต์ สามารถเติบโตอย่างแข็งแกร่งตามเป้าหมายที่วางไว้

นายสิริวัฒน์ ธนุรเวท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิริซอฟต์ จำกัด (มหาชน) หรือ SRS พร้อมด้วย ทีมผู้บริหารของบริษัทฯ และนางสาวเดือนพรรณ ลีลาวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไพโอเนีย แอดไวเซอรี่ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน ร่วมนำเสนอข้อมูลในงานประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Analyst Meeting) โชว์ศักยภาพ SRS ที่ปรึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับองค์กร ผ่านแนวทางการทำงานแบบ DevOps (Development & Operations) ที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง ชูผลการดำเนินงานปี 2563–2565 รายได้จากการขายและบริการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 137.37% พร้อมเดินหน้าขยายการเติบโต เสนอขายหุ้น IPO 40 ล้านหุ้น และนำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในหมวดธุรกิจเทคโนโลยี (Technology) โดยงานดังกล่าวจัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่ บมจ.สิริซอฟต์ เมื่อเร็วๆ นี้

Page 2 of 7
X

Right Click

No right click