DPU ฝัง DNA สร้างทักษะตอบโจทย์การทำงานในโลกอนาคต

February 24, 2020 4926

ในภาวะของ VUCA world ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาททำให้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดความท้าทายใหม่อยู่ตลอดเวลา Disruptive Technology

เข้ามามีผลในทุกอุตสาหกรรม องค์กรต่างๆ จึงต้องพัฒนาปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในฐานะสถาบันการศึกษาจึงมีการพัฒนาหลักสูตร และพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความรู้และทักษะที่เป็นที่ต้องการในอนาคตให้กับนักศึกษา

ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานวิชาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยได้จัดทำ “DPU Academic Cookbook” เพื่อใช้สื่อสารกรอบในการพัฒนาหลักสูตร รวมทั้งการจัดวิธีการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะ (Skillsets) แห่งอนาคตที่นำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อความอยู่รอดในยุค Digital Disruption

“เราได้ริเริ่มพัฒนากลุ่มวิชา DPU CORE ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 เป็นการผสมผสานระหว่างกลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป (GenEd) กับกลุ่มวิชาของหลักสูตรผ่านวิชา Capstone Project โดยนักศึกษาจะรวมกลุ่มข้ามหลักสูตรเพื่อทำโปรเจ็กต์ พัฒนาไอเดียเพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่สังคมและองค์กร นักศึกษาบางกลุ่มสามารถพัฒนาไอเดียเป็นแผนธุรกิจที่สามารถต่อยอดและทำจริงได้ในอนาคต

กลุ่มวิชา DPU CORE นี้ นักศึกษาจะได้พัฒนา 6 ทักษะที่สำคัญในยุค Digital Disruption โดยนักศึกษาจะเรียนรู้ผ่าน Workshop และโปรเจ็กต์รวมทั้งมีการวัดผลการเรียนรู้ที่หลากหลาย เราไม่เน้นการสอบวัดผลดังเช่นในอดีต เรามีพัฒนาแบบประเมิน Rubric เพื่อใช้วัดผล ผ่านกระบวนการที่หลากหลาย เช่น การ Pitching ผ่านผู้เชี่ยวชาญจากธุรกิจ หรือที่เรียกว่า Mentor”

6 ทักษะที่พูดถึงข้างต้น เป็น DNA ที่นักศึกษาที่จบจาก DPU ต้องมีติดตัวเพื่อใช้เป็นอาวุธในการอยู่รอดได้ในอนาคต อาวุธเหล่านี้ คือ ความชาญฉลาดทางดิจิทัลและความชาญฉลาดในการเลือกใช้เทคโนโลยี การสร้างไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา การสื่อสารและทำงานเป็นทีมเพื่อสร้างเครือข่าย และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ การคิดแบบผู้ประกอบการที่มีความรอบรู้และปรับตัวได้ เพราะในอนาคตบางอาชีพอาจไม่มีแล้ว แต่อาจมีอาชีพใหม่เข้ามา ดังนั้นทุกคนต้องมีการเรียนรู้ พัฒนา ปรับตัวตลอดเวลา

 

นักศึกษาทุกหลักสูตรที่เรียนจบจากที่นี่ จะมีหลายโปรเจ็กต์แนบใน Portfolio และมี E-Transcript ที่แสดงรายละเอียดของโปรเจ็กต์ รวมทั้งทักษะในกลุ่ม Soft skills ที่วัดได้จากโปรเจ็กต์ทั้งหมด E-Transcript นี้จะเป็นประโยชน์มากกับนักศึกษาในการได้งานหลังจบการศึกษา เพราะปัจจุบันนายจ้างมักไม่พิจารณาจากเกรดเพียงอย่างเดียว แต่จะพิจารณาทักษะในกลุ่ม Soft skills ด้วย

สำหรับในปีการศึกษา 2563 ทางมหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาหาคอนเทนต์หรือองค์ความรู้ใหม่ๆ ในกลุ่มวิชา DPU CORE ตัวอย่างเช่น สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เราจะเพิ่มคอนเทนต์ที่สร้างความชาญฉลาดทางดิจิทัล เช่น Google Engineering ที่เน้นเทคนิคการค้นคว้าหาข้อมูลจาก Google ควบคู่ กับคอนเทนต์เรื่อง UI/UX Design รวมทั้ง Visual thinking และ Visual board เพราะเหล่านี้คือเทคนิคที่จะใช้พัฒนาทักษะที่จำเป็นที่จะให้นักศึกษาได้เรียนรู้กับองค์ความรู้ใหม่ เพื่อรับรองการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้”

ดร.พัทธนันท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับโปรเจ็กต์หรือไอเดียที่นักศึกษาจะทำ ทางมหาวิทยาลัยเน้น 3 Themes ใหญ่ๆ คือ Wellness, Lifestyle& Recreation และ Tech-Innovation and Design ซึ่ง 3 กลุ่มนี้เป็นหัวใจสำคัญและตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ จึงเน้นให้นักศึกษาคิดไอเดีย สร้างสรรค์แนวคิด หรือ ชิ้นงาน ในTheme ดังกล่าวที่สามารถต่อยอดและพัฒนาให้เป็นโมเดลแก้ปัญหาจริงหรือโมเดลทางธุรกิจได้

เรายังมีสถาบันเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการและบุคลากรแห่งอนาคต หรือ DPU X ที่จะทำงานควบคู่กับ DPU CORE ในรายวิชา Capstone project หากนักศึกษากลุ่มใดมีความสามารถมีไอเดียที่นำไปพัฒนาต่อยอดเป็นธุรกิจจริงได้ ทาง DPU X จะช่วยบ่มเพาะ พร้อมหากูรูที่มีประสบการณ์มาให้คำปรึกษาพร้อมแนะนำเพื่อให้ธุรกิจของนักศึกษา เป็นจริงและมีรายได้จากธุรกิจที่นักศึกษาคิดเอง”

ดร.พัทธนันท์ กล่าวเสริมว่า “ในยุคกระแสออนไลน์มาแรง เราใช้วิธีจัดการเรียนการสอนที่เรียกว่า Flexible Learning เรามองว่า การเรียนผ่านระบบออนไลน์อย่างเดียวนั้น นักศึกษาสามารถได้ข้อมูลมากมาย แต่ไม่สามารถพัฒนาทักษะที่เป็น Soft Skills ได้ ดังนั้นการเรียนในห้องเรียนยังคงมีความจำเป็น แต่ต้องมีการจัดรูปแบบห้องเรียนและกิจกรรมในห้องเรียน เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะด้าน Soft skills ควบคู่ไปด้วย อาจารย์ของเราจะใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ใช้เทคนิคให้นักศึกษาเข้าใจในบทเรียนได้ง่าย เรียนสนุกสนานและมีชีวิตชีวาผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ มีการสอนรูปแบบ Workshop ในห้องเรียนแทนที่จะเป็นการนั่งฟังอาจารย์เลคเชอร์หน้าชั้นเรียนแบบเดิมๆ และมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนที่เรียกว่า ระบบ LMS (Learning management system) เพื่อให้นักศึกษาสามารถทบทวนบทเรียนเรียนได้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์”

ไม่ว่าจะมีกระแสว่าในอนาคตหุ่นยนต์จะมาแทนที่มนุษย์ หรือ AI จะเข้ามาทำงานแทนมนุษย์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์สร้าง DNA ให้กับนักศึกษาของเราทุกคน ให้มี 6 ทักษะที่สำคัญ เพราะเราเชื่อมั่นว่า ทักษะทั้ง 6 นี้ เป็นทักษะสำหรับอนาคต ไม่ว่าจะจบสาขาอะไร หลักสูตรอะไร ทุกคนจะมี DNA เหล่านี้อยู่ในตัว ทำให้คุณไม่ถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ และสามารถใช้หุ่นยนต์มาเอื้อประโยชน์ในการทำงานได้รวดเร็วและชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น

Last modified on Monday, 24 February 2020 13:25
X

Right Click

No right click