เมื่อเร็วๆ นี้ ณ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดโครงการอบรมหลักสูตร “Blockchain for Enterprise Transformation” เป็นวันแรก

อุตสาหกรรมบริการทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย จากประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรปัจจุบันรายได้จากภาคอุตสาหกรรมและบริการของประเทศมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด มีความสำคัญอย่างมากทั้งต่อการอยู่รอด และความสำเร็จ ในโลกที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างในวันนี้

Capstone Project for Entrepreneur Workshop กิจกรรมที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่สอง เป้าหมายอยู่ที่การ “สร้างและส่งต่อ” พร้อมกับ “ต่อยอด” ความรู้ให้นั้นไปยังสองกลุ่มเป้าหมายหลักได้แก่ อาจารย์ผู้สอน และนักศึกษา โดยในปีนี้จัดขึ้น ณ Makerspace มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU)

กิจกรรมพิเศษครั้งนี้จัดขึ้นสำหรับอาจารย์ DPU  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเป็น Startup University ที่พร้อมก้าวเข้าสู่การสอนในยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ยังได้ร่วมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจด้านต่างๆ จากองค์กรชั้นนำ

ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า ​โครงการ capstone จัดขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้อาจารย์มีความเชี่ยวชาญที่จะเป็น accelerator ในวิชา capstone project โดยที่อาจารย์ที่เข้าร่วมติวเข้มความรู้ในครั้งนี้จะนำไปใช้ Coach กับนักศึกษาปี 3

ในชั้นเรียนปี 1 และ 2 นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการ เทคโนโลยี และ Soft skills เมื่อขึ้นปี 3 เด็กๆ จะต้องมารวมกลุ่มจากเพื่อนต่างคณะ ต่างหลักสูตร เพื่อทำโปรเจ็คร่วมกัน ซึ่งในกระบวนการนี้จำเป็นที่จะต้องมีอาจารย์ที่มีทักษะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญที่จะสามารถดูแลเด็กได้  กิจกรรมในเวิร์คชอปนี้จะเลือกอาจารย์ที่เป็นดรีมทีมขึ้นมาก่อนในชุดแรก จากนั้นมองถึงการขยายไปสู่การพัฒนาอาจารย์ทุกคนในมหาวิทยาลัยต่อไป

นอกจากการเวิร์คชอปเพื่อให้อาจารย์ไปสร้างเด็ก ในอีกมุมหนึ่งอาจารย์ก็ได้รับการ Re-skills โดยคนที่ผ่านกระบวนการนี้จะเป็น New work force ที่สำคัญต่อไปของ DPU  

ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ผู้อำนวยการสถาบัน DPU X แห่งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า อาจารย์แต่ละท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คชอปจะมาจากทุกคณะ เช่น ศิลปกรรม วิศวกรรม บริหาร ท่องเที่ยว นิเทศน์ โดยเป็นบุคคลที่เปิดรับและ อยากทดลองทำอะไรใหม่ ๆ

สิ่งที่สนใจเป็นเรื่อง  mind set กระบวนการความคิดมากกว่า เทคโนโลยีเป็นแค่เครื่องมือในการใช้งาน แต่หลักคิดในความเป็นมนุษย์ ในความเป็นผู้เชี่ยวชาญในงานกับเครื่องมือใหม่ ๆ ควรจะเป็นอย่างไร เราจะพัฒนามันอย่างไรเพื่อให้เราใช้ศักยภาพ จุดประสงค์หลักของ Capstone วัดได้ที่นักศึกษา แม้ไม่คาดหวังว่าเด็กทุกคนต้องได้ แค่ให้ส่วนใหญ่รับรู้และเข้าใจในแนวคิดนี้ในเชิงลึก ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ แล้วจะเห็นผล ค่อยๆ สะสมไปเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมระหว่างอาจารย์กับเด็ก

ดร. รชฏ ขำบุญ รองคณบดีสายงานวิชาการ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี เปิดเผยว่า ทักษะความรู้ที่ได้เข้าร่วมในโครงการนี้เกิดข้อดีในสองส่วนด้วยกัน ส่วนแรกนักศึกษาสามารถสร้างธุรกิจใหม่ได้ กับ สอง การปรับมุมมองคิดที่จะปรับธุรกิจเดิมๆ แล้ว สร้างสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น

ไม่ใช่เด็กทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ที่จบไปแล้วจะไปเป็นสตาร์ทอัพ ส่วนหนึ่งอาจต้องการทำงานในบริษัทใหญ่ซึ่งก็ต้องมีความรู้ด้านการสร้างนวัตกรรมหรือคิดปรับปรุงช่วยประโยชน์ให้องค์กร เพราะไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพ หรือทำงานในองค์กร หลักการเดียวกัน คือ การเข้าใจลูกค้า หาความต้องการของลูกค้าแล้วสนองตอบให้ได้มากที่สุด

ในกิจกรรมเวิร์คชอปสองวันเป็นการอบรมที่พยายามนำเสนอเครื่องมือที่หลากหลายที่จะเอาไปใช้ในการค้นหาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

“ผมสอนในระดับปริญญาโท ก็ได้เอาประสบการณ์จากการอบรมไปสอน โดยให้นักศึกษา ให้จับกลุ่มสามคน เช่น วิศวะ การตลาด บัญชี แล้วไปทำธุรกิจอาหารเสริม ผลปรากฏว่าได้กำไรเป็นสิบๆ ล้านเมื่อปีที่แล้ว”

ผศ.ณธกร อุไรรัตน์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์​ หนึ่งในผู้ร่วมกิจกรรมเวิร์คชอป Capstone Project เปิดเผยว่า  After school hub เป็นผลงานที่นำเสนอภายใต้การเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้   เริ่มจากมองปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองและคนใกล้ตัว รวมถึงการได้ไปสอบถามกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นคนพ่อแม่วัยทำงานทำให้พบว่า การเดินทางไปรับลูกวัยประถมศึกษาหลังเลิกเรียนไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ อีกต่อไป

“โรงเรียนเลิกเวลาบ่ายสามโมง การจะเดินทางไปรับที่ต้องฝ่าจราจรติดขัดทำให้หลายๆ ครั้งไปไม่ทันกับเวลาที่ได้นัดหมายเอาไว้ คลาดกัน และทำให้ต้องวนรถหลายต่อหลายครั้ง ทำให้เริ่มมาคิดถึงแนวทางแก้ปัญหา

ไอเดียที่ทางทีมเรานำเสนอว่าควรจะทำศูนย์​รับดูแลเด็กหลังเลิกเรียนเพื่อรอจนกว่าผู้ปกครองจะมารับในตอนเย็นหรือค่ำไปแล้ว นอกจากเป็นจุดศูนย์รวมของเด็กหลังเลิกเรียนแล้ว ยังมีกิจกรรมต่างๆ เสริมด้วย เช่น สอนการบ้าน อาหารเย็น พ่อแม่เลิกสองทุ่มก็มารับได้”

โดยข้อดีของกิจกรรมนี้ อาจารย์ผู้สอนเอาโปรเซสการสอนนี้ไปปรับใช้กับการสอนจริงในคลาสกับนักศึกษาแม้ในตอนที่เรียนก็ได้เรียนรู้จากของจริงซึ่งได้ผลมากกว่าการเลคเชอร์เพียงอย่างเดียว ที่สำคัญในบางไอเดียที่นำเสนออาจพัฒนาเป็นธุรกิจจริงได้ในอนาคตของจริง

เราเริ่มรู้แล้วถึงวิธีคิด และการพัฒนาเป็นธุรกิจ ต่อไปจะเอาตรงนี้ไปพัฒนาเป็นสคริปในการสอน เปลี่ยนบทบาทจากอาจารย์ เป็นโค้ช ซึ่งจะเกิดประโยชน์ได้มากกว่าสำหรับนักศึกษา  

ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ ทวยเจริญ รองคณบดีฝ่ายวิชาการวิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์​(CITE) เปิดเผยว่า ทางกลุ่มได้นำเสนอโปรเจ็คเว็บสอนภาษาไทยสำหรับนักศึกษากัมพูชา เนื่องจากมองว่ามีความต้องการของแรงงานกัมพูชาที่เข้ามาในไทยต้องการเรียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

“ก่อนจะทำโมเดล เห็นแล้วว่ามีเว็บไซต์สอนภาษาต่างประเทศเยอะมาก แต่ไม่มีภาษากัมพูชา ซึ่งจากการสอบถามชาวกัมพูชาที่มาทำงานในไทยก็พบว่ามีปัญหาเรื่องการสื่อสาร อยากมาทำงานในไทย ก็ลำบากเพราะไม่รู้ภาษาไทย   เมื่อมาทำงาน และเรียนในไทย ก็หาที่เรียนลำบาก ทำให้ทางกลุ่มเราคิดที่จะทำโมเดลการเรียนออนไลน์ขึ้นมา ทั้งการเรียนเป็นกลุ่ม ไลฟ์สอนสดโดยนัดเวลาเรียน”

จากปีแรกที่ได้เข้าร่วมเวิร์คชอป Capstone จนถึงปีนี้ ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ บอกว่า ได้นับโมเดลวิธีคิดและการโค้ชไปใช้กับนักศึกษามาแล้วในปีที่ผ่านมา ทั้งการสอดแทรกมุมมองความเป็นผู้ประกอบการ การให้นักศึกษาได้ฝึกเขียนแผนธุรกิจ (Business Canvas) รวมถึงการเชิญผู้รู้จากในประเทศและต่างประเทศมาถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ ทำให้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

“ในช่วงแรกที่เด็กๆ คิดหัวข้อโปรเจ็คจะเลือกจากสิ่งที่อยากทำ หรือไม่ก็เว็บขายของ  แต่มาวันนี้วิธีคิดเปลี่ยนไป เริ่มคิดจากลูกค้าว่ามีปัญหาอะไร แล้วไปช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง ตัวอย่างในปีที่แล้วนักศึกษาเสนอ โปรเจ็ค คนขายหอย มาจากที่บ้านทำธุรกิจฟาร์มหอย แต่ก็เจอปัญหาไม่สามารถจัดการการเงิน ปัญหาพ่อค้าคนกลาง จึงได้พัฒนาแอพพลิเคชันมาเป็นตัวกลางในการแก้ปัญหา” ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ กล่าว

ด้าน ชิน วังแก้วหิรัญ ผู้บริหารจาก Vonder chatbot หนึ่งในเมนเทอร์ที่เข้าร่วมถ่ายทอดประสบการณ์การทำธุรกิจสตาร์ทอัพใน Capstone Project กล่าวว่า Vonder เป็นสตาร์ทอัพที่ทำทางด้านการศึกษา โดยพัฒนาการเรียนรู้ในนรูปแบบของเกม เมื่อกดเข้าไป เลือกวิชาที่อยากเรียน ซึ่งมีวิชาที่เรียน ได้แก่ อังกฤษ ประวัติศาสตร์ ​วิทยาศาสตร์ (เคมี ฟิสิกส์) ที่เน้นการประสบการเรียนรู้ในแบบ Interactive

จนถึงวันนี้ Vonder ทำธุรกิจมาแล้วปีเศษ ประสบการณ์จากการทำธุรกิจทำให้เรียนรู้ว่า บิสิเนสโมเดล และการหารายได้เป็นเรื่องสำคัญ​ ในปีแรกๆ ทำเฉพาะเกมการเรียนรู้ในกลุ่มนักเรียนแม้จะเป็นโปรดักท์ที่น่าสนใจและสร้างการเรียนรู้ได้ดี แต่ในด้านรายได้กลับไม่เป็นเช่นนั้น ทำให้เริ่มมองหาโอกาสใหม่ๆ ซึ่งก็พบว่า HR ในแต่ละองค์กรที่วันนี้นำโปรดักส์ของ Vonder เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้กับพนักงานซึ่งตลาดตรงนี้ก็เริ่มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

“สิ่งที่นำมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครั้งนี้อยากชี้ให้เห็นว่า ความล้มเหลวไม่ใช่เรื่องน่ากลัวเสมอไป ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นได้ง่ายที่สุด และใหญ่ที่สุดคืออารมณ์ของตัวเอง ต้องรู้จักบริหารจัดการอารมณ์ในสถานการณ์ที่เจอให้ได้ รวมทั้งเรื่องของเงินทุน อย่าประมาท

การทำธุรกิจสมัยนี้ เริ่มต้นมีแค่คอมพิวเตอร์​ และทีมอีกสองคนก็เพียงพอ เมื่อเทียบกับการลงทุนเริ่มต้นธุรกิจที่ต้องมีสเกลที่ใหญ่กว่านี้มาก อย่างไรก็ดี ขอแค่มีความพร้อม และไม่ประมาทในการประเมินต้นทุน เชื่อว่าอย่างไรก็ได้อะไรที่ล้ำค่ากลับไป แม้ไม่เป็นตัวเงิน แต่ก็ได้ประสบการณ์ในการทำธุรกิจ”

จากภาพรวมของปีนี้ "Capstone Business Project" นับเป็นอีกโมเดลการเรียนรู้ที่สำคัญในโลกยุคปัจจุบันที่ให้มุ่งเน้นพัฒนาทักษะแห่งอนาคตให้กับบุคลากรและนักศึกษา DPU ในการมีมุมมองความคิดการเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงการทำ Startup ให้ประสบความสำเร็จอย่างมืออาชีพ ชี้วัดจากปีที่ผ่านมา DPU  ส่งนักศึกษาเข้าแข่ง startup Thailand เป็นปีแรกจำนวน 10 ทีม สามารถทะลุ เข้ารอบ 4 ทีม ที่สุดคว้ารางวัลที่ 2 ของภูมิภาคได้เป็นผลสำเร็จ

วิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา มุ่งผลิตนักศึกษาตอบโจทย์ 10 อุตสาหกรรมหลัก พร้อมนำเสนอตัวอย่างนักศึกษาที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 28 ระดับภาค รับรางวัลเหรียญทองชนะเลิศ พร้อมทุนการศึกษา ซึ่ง นายกัมปนาท ถ่ายสูงเนิน หัวหน้าวิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กล่าวว่า วิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพ เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2557 ตามนโยบายของ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดยมีการจัดการเรียนการสอนระดับเทียบเท่าคณะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ศูนย์กลางนครราชสีมา มีความโดดเด่นในการจัดการศึกษาซึ่งมุ่งเน้นด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ตามปณิธานที่ตั้งไว้คือ สร้างคนสู่งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพจึงเป็นวิทยาลัยที่ผลิตนักปฏิบัติด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืนตอบสนองประชาคมอาเซียน

ปัจจุบันวิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพจัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 2 กลุ่มวิชา ดังนี้ กลุ่มวิชาพาณิชยกรรม ประกอบไปด้วย 5 โปรแกรมวิชา คือ การบัญชี การเงิน  การตลาด คอมพิวเตอร์ธุรกิจ และการจัดการธุรกิจค้าปลีก และกลุ่มวิชาช่างอุตสาหกรรม ประกอบไปด้วย 10 โปรแกรมวิชา ได้แก่ ช่างโยธา ช่างกลโรงงาน ช่างผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์  ช่างอิเลคทรอนิกส์ ช่างไฟฟ้า ช่างยนต์  ช่างจักรกลหนัก  ช่างเทคนิคระบบขนส่งทางราง  ช่างโลหะ และช่างไฟฟ้าซ่อมบำรุงระบบราง เราต้องการสร้างนักศึกษาที่ตอบโจทย์ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 2.อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3.อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4.การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 5.อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร 6.อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม 7.อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ เพราะปัจจุบันไปถึงอนาคตจะมีจำนวนเครื่องบินเพื่อการเดินทาง การท่องเที่ยวต่างๆ และการขนส่งทางอากาศที่มากขึ้น และมีความต้องการการบำรุงและการซ่อมแซมมากขึ้นไปด้วย เรามีสนามบินนครราชสีมาที่จะเป็นสถานที่รองรับการฝึกฝีมือและการทำงานด้านอุตสาหกรรมการบินได้ 8.อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ เพราะประเทศไทยต้องการความยั่งยืนด้านชีวภาพ และการกำหนดมาตรฐานด้านชีวภาพกับการค้าระหว่างประเทศ ระหว่างโลกตะวันออกและตะวันตก ทำให้เรามามุ่งเน้นเรื่องของไบโอพลาสติกที่ใช้ในการทำหีบห่อบรรจุภัณฑ์ เพื่อการจำหน่ายและการส่งออกที่กำลังเป็นที่จับตาของนักลงทุนทุกชาติ 9.อุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความต้องการสูงมากในการดำรงชีพ โดยเฉพาะ ระบบอีคอมเมิร์ซซึ่งเป็นการต่อยอดเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจอย่างมาก 10.อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร เป็นอุตสาหกรรมด้านการรักษาพยาบาล ที่วิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพตระหนักในเรื่องการลงทุนด้านการแพทย์และการรักษาพยาบาล

วิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพมุ่งเน้นเรื่องการลงมือปฏิบัติให้เกิดความเชี่ยวชาญ จึงได้เชิญภาคอุตสาหกรรมให้เข้ามามีส่วนในการบริหารจัดการวิทยาลัยนวัตกรรมร่วมด้วย โดยจะมี 3 ส่วนที่เกี่ยวข้องได้แก่ มทร.อีสาน สมาคมคุณวุฒิวิชาชีพ และสถานประกอบการ เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนในการดำเนินงานของวิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพตามกรอบสภา มทร.อีสาน ในอนาคตเราจะเดินต่อในเรื่องการนำนวัตกรรมด้านไมสเตอร์ (Thai-Meister) ของประเทศเยอรมันเพื่อสร้างช่างเฉพาะทางอย่างจริงจัง นวัตกรรม B-Tech และ CDIO เข้ามาจัดการเรียนการสอน เพื่อให้วิทยาลัยนวัตกรรมฯ เป็นต้นแบบที่สามารถใช้กับสถานศึกษาอาชีวะได้ทุกแห่งทั่วประเทศ 

ในปี 2563 วิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพ กำหนดให้มีหลักสูตรช่างเทคนิคระบบรางและช่างซ่อมบำรุงไฟฟ้าระบบราง เพื่อผลิตนักศึกษาให้ตอบโจทย์ เรื่องอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตประเทศไทย เช่น เส้นทางรถไฟความเร็วสูงระหว่าง กรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา รวมถึงอุตสาหกรรมรถรางเบาในกรุงเทพมหานคร เช่น รถไฟฟ้าสายสีส้ม สีม่วง สีแดง เป็นต้น ซึ่งขณะนี้มีบริษัทต่างๆ จากประเทศญี่ปุ่น และแถบยุโรป ติดต่อเข้ามาแจ้งความประสงค์ในการรับนักศึกษาของวิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพในการฝึกงานด้านการค้าปลีก สิ่งเหล่านี้จะเป็นการต่อยอดที่นักศึกษาสามารถสร้างมูลค่าและค่าแรงให้ตนเองได้

ในปี 2564 เราจะทำหลักสูตรรถยนต์พลังงานไฟฟ้าหรือ EV Car ที่จะตอบโจทย์ในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคตและหลักสูตรช่างซ่อมอากาศยาน ที่วิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพ ได้ร่วมกับองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และ EASA ในการส่งบุคลากรไปดูงานที่บริษัท การบินไทย (จำกัด) มหาชน รวมถึงการลงนามความร่วมมือกับสนามบินนครราชสีมา เพื่อใช้สนามบินในการฝึกงาน และอบรมการทำงาน รวมทั้ง บริษัท บางกอกเอวิเอชั่น เซนเตอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทด้านการบินที่จังหวัดนครราชสีมา เราพยายามเติมเต็ม ต่อยอด เพื่อวิทยาลัยนวัตกรรมเราจะได้มีเอกลักษณ์อย่างจริงจังเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในอนาคตข้างหน้า

อย่างไรก็ตามวิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพพยายามสร้างมาตรฐานไมสเตอร์ (Thai-Meister) ของประเทศเยอรมันให้เกิดขึ้นในทุกมิติ รวมถึงการเรียนการสอน เพื่อการพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ตอบโจทย์และรองรับการเป็นประเทศที่มีนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนประเทศหรือต่อยอด 10 อุตสาหกรรมของประเทศไทย  โดยกระบวนการหนึ่งคือการส่งนักศึกษาไปแข่งขันในเวทีต่างๆ ทั้งระดับภาค และระดับประเทศ ตามศาสตร์และเชี่ยวชาญที่เรียนมา ผลคือ นักศึกษาของเราได้รับรางวัลต่างๆ มากมายและล่าสุดคือการไปคว้ารางวัลจากการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 28 ระดับภาค จัดโดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งชาติครับ

อาจารย์ภากร นาคศรี ผู้ควบคุมทีมและอาจารย์ประจำสาขาอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพ กล่าวว่า ทราบข่าวจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 5 นครราชสีมา ว่ามีการการจัดการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 28 ระดับภาค วิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพมีนักศึกษาสายช่างบริหารธุรกิจ ที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ จึงแนะนำให้นักศึกษาสายช่างและสายบริหารเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาได้มีเวทีในการแข่งขันและได้ฝึกประสบการณ์ในเวทีระดับประเทศ ซึ่งนักศึกษาวิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพ สามารถทำผลงานได้ดี คือ ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง อันดับ 1 กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิต  สาขาอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมรางวัลเหรียญทองแดง ด้านเครื่องจักรกล CNC (เครื่องกลึง) และ รางวัลเหรียญทองแดง กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีการสื่อสาร ด้านเว็บดีไซน์  ซึ่งถือว่าเป็นผลงานที่ดีมากครับ

นายรุ่งเลิศ แซ่แต้ หรือ ต่าย นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 โปรแกรมวิชาอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า ตนเองมีความสนใจงานด้านอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่เด็กอยู่แล้ว จึงตั้งใจที่จะเข้ามาศึกษาต่อในสาขาอิเล็กทรอนิกส์ที่วิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพ เพราะที่นี่มีนโยบายในการสร้างผู้เรียนให้มีความชำนาญในการออกแบบวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซ่อมบำรุงเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และการเขียนโปรแกรมใช้ควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้มข้น เมื่อได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนแล้ว จึงได้รับความรู้ เกิดความมั่นใจและสนใจที่จะเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติครั้งที่ 28 ระดับภาค ด้วยผลงานการเขียนโปรแกรมด้วยโปรแกรมอาดุยโน่ (Arduino)ใช้บอร์ด STM 3.2 ในการควบคุมหลอดไฟ LED และฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ  รวมถึงการประกอบวงจรให้สมบูรณ์แบบที่สุด ก่อนที่จะไปแข่งขัน ผมพยายามฝึกฝนฝีมือตนเองอย่างหนัก  และใช้ความรู้ที่ได้จากวิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพ มาสร้างชิ้นงานในครั้งนี้จนประสบความสำเร็จและมีจุดบกพร่องน้อยที่สุด กอปรกับทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดีซึ่ง เมื่อได้รับรางวัลชนะเลิศระดับภาค ก็รู้สึกดีใจและตื่นเต้นมาก สุดท้ายขอขอบคุณสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งชาติ ขอบคุณสาขาอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานที่สนับสนุนและเปิดโอกาสให้ผมได้เข้าร่วมการแข่งขันระดับภาค สำหรับการแข่งขันระดับชาตินั้น ผมจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดเช่นเคยครับ  

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin Graduate Institute of Business Administration of Chulalongkorn University)  เปิดตัวหลักสูตรสำหรับผู้บริหารระดับสูงในหลักสูตร Senior Executive Program” หรือ SEP-33 โดย ผศ. ดร. ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์ ผู้ดูแลหลักสูตร รวมสุดยอดวิทยากรจากสถาบันชั้นนำทั่วโลก อาทิ ศาสตราจารย์ ราวี อรอน (Professor Ravi Aron) จากมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์, แครี่ บิสสิเนส สคูล (Johns Hopkins University, Carey Business School) และ ศาสตราจารย์ สตีฟ มิรันดา (Professor Steve Miranda) อดีตอาจารย์จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลที่ปัจจุบันเป็นรองผู้อำนวยการธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve USA) โดยผู้ที่เข้าเรียนจะได้ใบรับรอง 2 ใบ ของจากทั้งของศศินทร์ และสถาบัน เซ็นเตอร์ ออฟ ครีเอทีฟ ลีดเดอร์ชิพ (Center of Creative Leadership)

ผศ. ดร. ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมหลักสูตรอสังหาริมทรัพย์ (Residential program) สำหรับผู้บริหารระดับสูงในหลักสูตร “Senior Executive Program” ในระหว่างวันที่ 5 - 9 สิงหาคม 2562 ณ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระหว่างวันที่ 19 - 23 สิงหาคม 2562 ณ โรงแรมอนันตรา หัวหิน ได้ตั้งแต่วันนี้ที่ http://info.sasin.edu/ee-lp1-sep/ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.02-218-4001-7 Ext.162-167 หรือ Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. พิเศษ! หากสมัครก่อนวันที่ 12 กรกฏาคม 2562 จะได้รับส่วนลด 5% สมัครด่วน! รับจำนวนจำกัด

 

Page 4 of 9
X

Right Click

No right click