คณะการบริหารและจัดการ (FAM) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทป. จัดโครงการ Smart Supervisor 4.0 รุ่นที่ 1 หรือหลักสูตรอบรมผู้บริหารรุ่นใหม่ของ สทป. เพื่อเพิ่มศักยภาพ สร้างความตื่นตัวและเตรียมความพร้อมต่อการมาถึงของ Digital Disruption ได้อย่างเท่าทันและมีประสิทธิภาพ

โดยโครงการ Smart Supervisor 4.0 ครั้งนี้เกิดจากการที่คณะผู้บริหารของ สทป. ได้ตระหนักถึงโลกปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงการเกิดขึ้นขององค์ความรู้ใหม่ๆ ในยุคดิจิตอล ที่มาพร้อมข้อเรียกร้องให้หน่วยงานต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิด การทำงานและทัศนคติให้ร่วมสมัยขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับองค์กรที่ทำงานกับวิทยาการด้านความมั่นคงของประเทศอย่าง สทป. ซึ่งมีผลงานในการวิจัย พัฒนาและผลิตยุทโธปกรณ์สำหรับกองทัพมานับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ไม่ว่าจะเป็นอากาศยานไร้คนขับ จรวดหลายลำกล้องนำวิถี หรือ Simulator จำลองยุทธ์ เป็นต้น

พลอากาศเอก ดร. ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ได้เล่าถึงความคาดหวังของ Smart Supervisor 4.0 ในงานแถลงข่าวของโครงการ ณ สำนักหอสมุดกลาง สจล. ว่า “ปัจจุบัน วิทยาการทางการทหารนั้นเติบโตเร็วมาก ผู้บริหารของ สทป. รุ่นต่อๆ ไป หรือผู้ที่จะได้รับการเลื่อนขั้นจาก ผู้ปฏิบัติการมาเป็นผู้บริหาร จะใช้เพียงประสบการณ์เป็นเกณฑ์วัดไม่ได้อีกแล้ว หากแต่จะต้องมีองค์ความรู้ที่ทันสมัย การจัดโครงการ Smart Supervisor 4.0 นี้ขึ้นมา ก็เพื่อหาความรู้เพิ่มเติมจากผู้มีความรู้ก็คือ สจล. ซึ่งก็ถือเป็นการร่วมแรงร่วมใจของทั้งสองหน่วยงานในการออกแบบหลักสูตร เพื่อพัฒนา สทป.ในอนาคต”

ทางด้าน ศ.ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ก็ได้แสดงทัศนะต่อการเป็นผู้บริหารยุคใหม่ไว้ว่า “ปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ได้สร้างจากมือของศาสตราจารย์หรือด็อกเตอร์อีกต่อไป มันอาจถูกสร้างโดยเด็กอายุ 11 หรือ 15 ยุคนี้คนเพียงคนเดียวอาจชัตดาวน์ทั้งกองทัพ หรือทั้งประเทศได้ เป็นยุคที่คนต้องแข่งขันกันทุกวินาที ฉนั้นแล้ว ผู้นำในยุคนี้จึงต้องมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการคน บริหารเด็ก บริหารคนที่เก่งที่สุด ให้ทำงานบรรลุเป้าหมาย ในเวลาที่จำกัด นั่นคือความท้าทายที่ สทป. ต้องเผชิญในยุค disruption ซึ่งก็เรื่องที่ดีที่ทางผู้บริหารได้เห็นถึงความสำคัญในด้านนี้”

สำหรับคณะการบริหารและจัดการ หรือ FAM คือผู้ได้รับมอบหมายให้ดูแลหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนในโครงการ Smart Supervisor 4.0 นี้ โดยมีลักษณะการอบรมแบ่งออกเป็นทักษะที่สำคัญ 8 ทักษะ 28 วิชา 90 ชั่วโมง ดังนี้

- ทักษะการสอนงาน การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ

- ทักษะด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และการบริหารความเสี่ยง

- ทักษะการใช้เครื่องมือบริหารจัดการต่างๆ และพัฒนาวิสัยทัศน์

- ทักษะการทำงานเป็นทีม และทักษะการสร้างสรรค์สิ่งใหม่

- การบริหารโครงการและการบริหารการเปลี่ยนแปลง

- การพัฒนาบุคลิกภาพ การสื่อสาร และการประสานงาน

- การพัฒนาความซื่อสัตย์ ความภัคดี และหลักธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหาร

- Smart Coaching Supervisors 4.0

ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวได้รับการออกแบบและดูแลอย่างใกล้ชิดจาก ดร. สุดาพร สาวม่วง คณบดี คณะการบริหารและจัดการ สจล. ที่ได้ตั้งมุดหมายของโครงการ ตามอักษรย่อภาษาอังกฤษของ สทป. ไว้ว่า D : Disruption, T : Technology, I : Innovation (หมายเหตุ: DTI คืออักษรย่อของ สทป. Defence Technology Institute)

“เราอยากให้ผู้เรียน กลายเป็น supervisor ที่ smart ดังนั้นหลักสูตรจะเน้นในการสร้างบุคลิกภาพ จิตวิทยาในการสื่อสาร ภาวะผู้นำ และรู้จักเครื่องมือในการบริหาร ให้ทำงานในองค์การอย่างมีความสุข ลักษณะการเรียนการสอนจะเป็นการนำปัญหาขององค์กรของผู้เรียน มาเป็นโจทย์ในการศึกษา หรือเวิร์คช็อป แล้วหลังจากนั้นจะร่วมคิดโปรเจ็กต์ที่นำไปใช้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา ซึ่งเราอยากให้มันเป็นตัวอย่างที่ดีกับองค์กรอื่นๆ ด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของคณะอย่าง FAM to FAMOUS ที่เราไม่ได้คิดเฉพาะในคณะ หรือ สจล. แต่อยากให้การพัฒนามันเกิดขึ้นกับทุกองค์กรที่พร้อมจะให้เราช่วย ทั้งในประเทศในระดับอาเซียนด้วย” ดร. สุดาพร กล่าวในช่วงท้าย

ผศ.ดร. ปรเมศร์ อัศวเรืองพิภพ  รองคณบดีฝ่ายงานแผนและประกัน คุณภาพ คณะบริหารและการจัดการ (FAM) สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) กล่าวถึง งานด้านแผน และประกันคุณภาพว่า แบ่งงานเป็น 2 ส่วน หลัก ๆ คือ งานแผน เป็นงานเกี่ยวกับการ ทำแผน จัดทำรายงานและติดตามประเมิน ผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ให้ บรรลุตามวัตถุประสงค์และคำรับรองของ สถาบันฯ (KPI) ที่เป็นไปตามบริบทของ คณะ และบริหารจัดการการใช้งบประมาณ ของคณะมีให้มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด ตามวิสัยทัศน์และพันธกิจของคณะและ สถาบัน รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ใน การดำเนินให้มีความโดดเด่นสอดคล้องกับ การเป็นสถาบันเทคโนโลยีของสถาบัน โดย การดำเนินงานของคณะครอบคลุม  4 พันธกิจ คือ 1. การเรียนและการสอน 2. การวิจัย 3. การบริการวิชาการ และ 4. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และในส่วนงานการประกันคุณภาพนั้น  ต้องตอบโจทย์ของ สกอ.(สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา) และ ทปอ. (ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย) ในการ ควบคุมให้การจัดการเรียนการสอน มีคุณภาพได้มาตรฐานและเกณฑ์ที่กำหนด

ความสำคัญของงานด้านการ วางแผนนั้นคือ การกำหนดแผนของคณะบริหารฯ ให้สอดคล้องกับทิศทางนโยบายของสถาบันและต้องคอยควบคุมการดำเนินกิจกรรมของคณะฯ ให้เป็นไปตามแผนเพื่อบรรลุตาม KPI หรือดัชนีชี้วัดผลงานหรือความสำเร็จของงานตาม คำรับรองที่ได้รับจากสถาบัน

“KPI หรือ คำรับรองที่คณะบริหารฯ ได้รับจากสถาบันก็จะแตกต่างไปจาก คณะอื่นๆ บริหารจะไปรับ KPI ที่เหมือน กับคณะวิศวะก็คงไม่ได้คนละศาสตร์กัน  จึงต้องเป็นไปตามบริบทของคณะที่จัดการเรียนการสอนทางด้านบริหารธุรกิจ และเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ที่เป็นศาสตร์ ทางด้านสังคมศาสตร์ โดยจุดเด่นที่เรา แตกต่างจากที่อื่นๆ คือ ต้องเป็นบริหาร ธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ที่มีความ เชี่ยวชาญในการนำเทคโนโลยีมาใช้”

พร้อมยกตัวอย่างให้เห็นถึงการเปลี่ยน ทางด้านการบริหารและจัดการจากการใช้ คน กระดาษ หรือการทำธุรกรรมต่างๆ  มาสู่การเป็นเทคโนโลยีในรูปแบบออนไลน์ มากขึ้น ซึ่งช่วยประหยัดใน 3 เรื่องหลักๆ คือ คน เวลา และ ค่าใช้จ่าย อย่างในสถาบัน และคณะปัจจุบันก็มีการนำเอาระบบ  e-office มาใช้เพื่อเพิ่มความรวดเร็วใน การทำงานและประหยัดทรัพยากร เป็นต้น  ซึ่งถือได้ว่ายุคนี้กระแสการนำเทคโนโลยี การใช้ในการบริหารและจัดการมาแรงมาก ดังนั้นทางคณะการบริหารและจัดการของ เราจึงต้องพยายามเน้นให้หลักสูตรต่างๆ วิธีการการจัดการเรียนการสอน การติดต่อ สื่อสาร และการทำงานต่างๆ ภายในคณะ ต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เข้มข้นมากขึ้น เช่น การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และนั่นจะช่วยให้งานแผนสามารถควบคุม และติดตามงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผศ.ดร.ปรเมศร์ เล่าต่อถึงส่วนงาน การประกันคุณภาพการศึกษาว่า งานตรงนี้ มีความสำคัญมากเช่นกัน เพราะถ้าเรา ผิดพลาด หรือเรียกกันง่ายๆ ว่า ตกประกัน นั้นจะมีผลต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์  ความน่าเชื่อถือของหลักสูตร ตัวคณะ และสถาบัน แล้วนักเรียนที่ไหนจะมาเรียน กับเรา ยิ่งทุกวันนี้การแข่งขันทางด้าน การศึกษาระหว่างสถาบันต่างๆ ก็รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่นักเรียนที่เป็นเป้าหมาย หลักของเราก็ลดน้อยลงโดยการประกัน คุณภาพของเรานั้นถือปฏิบัติตามเกณฑ์ และมาตรฐานที่ สกอ. และ ทปอ. กำหนด ภายใต้ระบบที่เรียกว่า CUPT QA

ที่ผ่านมาทางคณะบริหารมุ่งเน้นการ จัดการเรียนการสอนเป็นหลักสูตรต่างๆ ทั้งปริญญาตรี โท และเอก รวม 8 หลักสูตร และการทำวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ต่อ สังคม แต่จากนี้ไปเราจะเน้นเพิ่มเติมใน พันธกิจการบริการวิชา ทั้งภายใน สจล. และภายนอกมากขึ้น ตรงนั้นอกจากจะ เป็นการทำประโยชน์ให้แก่สังคมและ ชุมชนแล้วยังถือว่าเป็นการปรับตัวของ คณะ เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลง ในปัจจุบันที่จำนวนนักเรียนเริ่มมีแนวโน้ม ลดลง เพิ่มกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ เช่น กลุ่ม ผู้ที่ต้องการเพิ่มทักษะความรู้เฉพาะด้าน กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น โดยทั้งการจัดการ เรียนการสอน การวิจัย และการบริการ วิชาการ เราจะสอดแทรกเรื่องของการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไม่ให้ตกหล่นเป็นไป ตามสี่พันธกิจหลักที่กล่าวไว้ข้างต้น

 

ผลกระทบจากคอร์สเรียนรู้ ทางออนไลน์ และ E-learning ที่ส่งผลต่องานแผนและการประกันคุณภาพการศึกษา

ในยุคนี้ที่กระแสและทัศนคติต่อระบบ การศึกษาและรูปแบบการเรียนรู้ มีการเปลี่ยนแปลงแบบ Disruptive มีการเปิด กว้างมากขึ้นสำหรับ Online Course และ E-learning ทั้งจากมหาวิทยาลัยภายใน ประเทศและต่างประเทศนั้น

ผศ.ดร.ปรเมศร์ บอกว่า การเรียน การสอนระบบออนไลน์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น มาได้ระยะหนึ่งแล้ว แต่โดยมากก็จะเป็น ลักษณะ Training หรือ Short Course  แต่ถ้าจะจัดให้มีการเรียนการสอนระบบ ออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของการเรียน การสอนในหลักสูตรหรืออนาคตจะให้มีการเรียนการสอนทั้งหลักสูตรเป็น ออนไลน์ประเด็นนี้สำหรับบ้านเราถือว่า เป็นเรื่องใหม่ก็ได้ และเป็นประเด็นที่มี ความท้าทายสำหรับการประกันคุณภาพ การศึกษาในแง่ของเกณฑ์หรือมาตรฐาน ทางวิชาการเป็นอย่างยิ่ง

เพราะตอนนี้กฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือ มาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ยังคงให้ ความสำคัญกับการเรียนการสอนในชั้น เรียนเป็นหลัก เรียกว่าไม่เอื้อต่อการเปิด หลักสูตรการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหลักสูตร ก็ตาม ดังนั้นถ้าคณะบริหารฯ จะมุ่งไปจับ ตรงนี้ก็ยังไม่ง่าย เพราะเกณฑ์หรือ มาตรฐานที่จะใช้ควบคุมหรือสนับสนุนให้ หลักสูตรออนไลน์ได้มาตรฐานหรือ มีคุณภาพยังไม่มากพอ

ทว่าหากสกอ. และ ทปอ. ไฟเขียวกด ปุ่มอนุญาตให้มีการเรียนการสอนแบบ ออนไลน์และมีเกณฑ์หรือมาตรฐาน ควบคุมคุณภาพที่ชัดเจนทางคณะบริหารฯ ก็มีความพร้อมที่จะดำเนินการตอบรับได้ ทันทีทั้งในด้านหลักสูตร บุคลากร และ เครื่องมือหรือเทคโนโลยีต่างๆ เพราะ ปัจจุบันเรามีทีมอาจารย์รุ่นใหม่ๆ ที่มี ความถนัดในด้านการเรียนการสอน ด้วยแพล็ตฟอร์มออนไลน์หลายท่าน  ส่วนอาจารย์ท่านเก่าๆ ก็มีความสนใจ ด้วยเช่นกัน เพราะบุคลากรของเราทุกคน ที่นี่มีความตื่นตัวและพร้อมที่จะเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม หลักสูตรทุกหลักสูตร ของคณะต้องมีการปรับปรุงอยู่เสมอแม้ จะมีหรือไม่มีออนไลน์ก็ตาม เพื่อให้ทันกับ เทรนด์ของประเทศและโลก ความต้องการ เรียนของผู้เรียนและผู้ใช้งานบัณฑิตหรือ ผู้ประกอบการ ดังนั้นการปรับปรุงหลักสูตร จะต้องพยายามปรับปรุงให้ตอบโจทย์กับ เทรนด์และความต้องการของตลาด ดังกล่าวที่ปัจจุบันบริบทเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นั่นคือ หลักสูตร ทุกหลักสูตรต้องอัปเดตอยู่ตลอดเวลา และตรงต่อความคาดหวังของตลาด

ในประเด็นการปรับหรือพัฒนา หลักสูตรท่ีผ่านมานั้นแต่ละหลักสูตร ต้องมีการปรับปรุงทุกๆ 5 ปี ปัจจุบันหลายๆ หลักสูตรมีรอบในการปรับที่เร็วขึ้นไม่รอถึง 5 ปี เพื่อให้ทันกระแสและความต้องการ ของตลาด นอกจากนี้ ในการพัฒนา หลักสูตรมาตรฐานสำคัญหนึ่งของงาน ประกันคุณภาพการศึกษาจึงกำหนดให้ ทุกๆ หลักสูตรต้องพัฒนาหรือปรับปรุง หลักสูตรโดยยึดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes) หรือ ที่เรียกสั้นๆ ว่า ELO จากผู้มีส่วนได้ส่วน เสียกับหลักสูตรมาเป็นธงหรือตัวตั้งใน การดีไซน์หลักสูตร

“การพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรใน ปัจจุบันที่ต้องรวดเร็วนั้นกลายเป็นอีก ความท้าทายหนึ่งสำหรับงานประกัน คุณภาพการศึกษาที่จะต้องทำทุกอย่างให้ รวดเร็วและคิดอะไรใหม่ๆ ให้สอดคล้อง ทันท่วงทีต่อกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลง เร็วมาก ทีนี้จะเกิดประเด็นระหว่างความ รวดเร็ว ความแปลกใหม่ กับคุณภาพ  เราต้องเร็วและแปลกใหม่ แต่เร็วอย่างไร ให้มีคุณภาพด้วย นี่คือ ความท้าทาย ของเรา นอกจากนี้คำว่าคุณภาพได้ตาม มาตรฐานก็อาจจะไม่เพียงพอแล้ว เพราะ เราต้องแข่งกับทั้งมหาวิทยาลัยใน ประเทศไทยด้วยกัน และไหนจะยังต่าง ประเทศที่เข้ามาอีก ดังนั้นความรวดเร็ว ความแปลกใหม่ กับ คุณภาพที่สูงกว่า มาตรฐาน จึงเป็นส่งที่เราพัฒนาและ บาลานซ์ไปด้วยกันให้ได้”

 

มาตรฐานและคุณภาพของการผลิตบัณฑิต

ในประเด็นนี้ โดยหลักๆ แล้ว เราต้อง ฟอลโลว์ตามระบบ CUPT QA ที่กำหนด เป้าหมายให้หลักสูตรผลิตบัณฑิตได้ตรง ตาม ELO ซึ่งพูดตามภาษาชาวบ้าน คือ ผลิตบัณฑิตแล้วให้มีความสามารถใน การทำงานที่สอดคล้องกับสาขาหรือ หลักสูตรที่เรียนไป ตรงตามความต้องการ ใช้งานของผู้ใช้บัณฑิต หรือหลักสูตรต้อง ถูกใจทั้งคนเรียนและคนที่จะใช้งานบัณฑิต เพราะฉะนั้นเราจะออกแบบหลักสูตรอย่างไร ที่จะผลิตบัณฑิตออกมาแล้วตรงตามสเป๊ก ที่ว่าและต้องมีคุณภาพและมาตรฐานด้วย สาเหตุนี้ทำให้เวลาที่เราจะออกแบบ หลักสูตรใหม่หรือปรับปรุงหลักสูตรเดิม จึงต้องมีการ Survey ความคิดเห็นของ Stakeholder ทุกครั้ง เพื่อถามหาความ ต้องการหรือความคาดว่าหวังว่าเรียน หลักสูตรนี้หลักสูตรนั้นแล้วจะต้องทำอะไร ได้บ้างหรือทำอะไรเป็นบ้าง ดังนั้นเราจึง มั่นใจว่านักศึกษาที่จบจากหลักสูตรต่างๆ ของเราไปมีคุณภาพและได้มาตรฐานแน่นอน   ผศ.ดร.ปรเมศร์ บอกว่า ความเข้มข้น ของการประกันคุณภาพทุกวันนี้มีมากขึ้น การใช้มาตรฐานและระบบประกันคุณภาพ เพียงแค่ระดับภายในประเทศไม่เพียง พอแล้วในอนาคตอันใกล้นี้ ที่เห็นภาพ ชัดเจน คือ มหาวิทยาลัยต่างๆ ในบ้าน เรามีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ จากต่างประเทศหลายแห่งมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อดึงดูดนักเรียนและนักศึกษาจากทั้ง ในและนอกประเทศมากขึ้น ดังนั้นเราจะ ใช้เกณฑ์หรือมาตรฐานประกันคุณภาพ เพียงแค่ภายในระดับประเทศคงไม่ได้เราต้องก้าวสู่ระบบประกันคุณภาพที่เป็น ที่ยอมรับในระดับสากลให้ได้ แต่จะใช้เวลา นานก็ไม่ได้เพราะคนอื่นเค้าขยับแล้ว

จึงเป็นโจทย์เพิ่มขึ้นอีกว่า ประกัน คุณภาพของคณะบริหารฯ ต้องมีความเข้มข้นขึ้นสู่ระดับสากลและต้องทำอย่าง รวดเร็วด้วย ซึ่งในข้อเท็จจริงนั้นไม่ง่าย เพราะการทำประกันคุณภาพในระดับ สากล ต้องใช้เวลา แต่ทำอย่างไรที่จะใช้ เวลาให้น้อยที่สุด ได้คุณภาพทางวิชาการ และมีเนื้อหาหลักสูตรที่ทันกระแสสังคม และยุคสมัยให้มากที่สุด

ความภูมิใจในฐานะนักวิชาการและอาจารย์ของ FAM

ผศ.ดร. ปรเมศร์ บอกว่า การเป็นส่วน หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการพัฒนา FAM โดย เป็นอาจารย์ของที่นี่ตั้งแต่ยุคที่ สจล. ยังไม่มี คณะบริหาร เป็นแค่เพียงภาควิชาหนึ่งใน คณะเทคโนโลยีการเกษตรและคณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมาเป็น วิทยาลัยและคณะการบริหารและจัดการ มีคณบดีคนปัจจุบันเป็นคนที่ 3 ทำงานที่นี่มา มากกว่า 10 ปีแล้ว ได้รับโอกาสให้ทำงาน ทั้งด้านวิชาการและด้านบริหาร นับเป็น ความภาคภูมิใจอย่างยิ่งอย่างหนึ่งในชีวิต

“ตอนเริ่มต้นคณะบริหารนั้นที่นี่ยังไม่ เป็นคณะ ยังเป็นแค่วิทยาลัยการบริหารและ จัดการ ผมเป็นแค่อาจารย์สอนวิชาทางด้าน เศรษฐศาสตร์ และการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เมื่อผ่านไป 2 ปี มีโอกาสทำงานด้านบริหาร ในตำแหน่งผู้ช่วยคณบดี ดูเรื่องที่เกี่ยวกับ อาคารสถานที่ และ กิจกรรมนักศึกษา  ถัดไปจากนั้นเป็นรักษาการณ์รองคณบดี ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะมีการ เปลี่ยนแปลงจากวิทยาลัยมาเป็นคณะการ บริหารฯ ในปัจจุบัน จากนั้นมารับตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ เป็นคนแรก และในปัจจุบันรับตำแหน่งรอง คณบดีฝ่ายงานแผนและประกันคุณภาพ การได้รับโอกาสให้ทำงานต่างๆ ที่ผ่านมา ทำให้ผมมีความภูมิใจอย่างมาก ที่ได้เห็น และได้มีส่วนร่วมกับการพัฒนาคณะมา ตั้งแต่เกิดเป็นวิทยาลัยจนกระทั่งมาเป็น คณะการบริหารและจัดการ ในปัจจุบัน”


เรื่อง : ชนิตา งานเหมือน 
ภาพ : ฐิติชญาน์ แปลงกูล 

FAM to FAMOUS คือ  Theme ที่คณะการบริหารและจัดการ (Faculty Administration and Management) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง ต้องการขับเคลื่อน ให้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2562 นี้ โดย นอกจากตัวหลักสูตรด้านวิชาการ ที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ สอดคล้องกับความต้องการใน ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงแล้ว  การบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ภายในคณะก็ต้องมีการปรับและ พัฒนาเพื่อให้ก้าวทันต่อสิ่งใหม่ ที่กำลังจะเกิดขึ้นเช่นกัน ดร.ทัศไนย ปราณี รองคณบดี ฝ่ายบริหาร ทรัพยากรและบริการ ได้กล่าวถึง ความสำคัญในส่วนนี้ว่า

“ขอบข่ายการทำงานของฝ่ายบริหาร ทรัพยากรและบริการคือ การอำนวย ความสะดวกให้กับคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ถ้าเปรียบเทียบในระบบ การบริหารมหาวิทยาลัย เราก็เหมือนเป็น ส่วนหลังบ้าน มองภาพตั้งแต่เรื่องอาคาร สถานที่ แผนการดำเนินงาน บุคลากร และการเงิน เพื่อสนับสนุนให้ส่วนของงาน วิชาการสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น โดยมีหลักการคือ 4 M ได้แก่

  1. Man กุญแจสำคัญคือ Put the right man on the right job ตามเกณฑ์ สกอ. ในตอนนี้ คนที่จะลงสอนในหลักสูตร ต่างๆ ต้องจบตรงกับสาขานั้นๆ ต้องมีวุฒิ ปริญญาเอกและมีผลงานทางวิชาการตีพิมพ์
  2. Money บริหารจัดการจาก 4 ส่วน คือ งบจากรัฐบาล ค่าลงทะเบียนนักศึกษา การบริการทางวิชาการหรืองานวิจัย และ ส่วนที่ได้รับบริจาคจากศิษย์เก่า ทั้งในรูป แบบของเงินหรือทรัพย์สินเพื่อนำมาใช้ อำนวยความสะดวกภายในคณะ
  3. Material ต้องดูแลจัดการให้ทุกคนรวมทั้งหมดโดยเฉพาะระบบหลังบ้าน ให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและ สอดคล้องกับกฎระเบียบของสถาบันทั้งหมดนี้เป็นหน้าที่รับผิดชอบของ ฝ่ายบริหารที่จะต้องดูแล นอกจากนี้ ทาง คณะก็มีแผนจะเปิดหลักสูตรปริญญาตรีสา ขาใหม่ๆ เพื่อให้ตอบรับกับทิศทางการ พัฒนาประเทศและทำให้คณะของเรามี ความโดดเด่นเฉพาะทางมากขึ้น เราก็มี บทบาทที่จะต้องเสาะหาบุคลากรให้ตรง ตามเกณฑ์และเตรียมทรัพยากรอุปกรณ์ มารองรับ เน้นการบริหารจัดการคนอย่าง มีคุณภาพ สวัสดิการต้องเพียงพอ อาจารย์ ทุกคนในคณะจะต้องมีคอมพิวเตอร์หรือแล็ปท็อป ไอแพด และห้องส่วนตัว เพื่อ เอื้อต่อการเตรียมแผนการสอนให้ออกมา ดีที่สุด รวมไปถึงส่วนของการ Present Paper และการอบรมต่างๆ เราก็ต้อง จัดสรรงบประมาณต่อคนเป็นรายปีให้ เหมาะสม”

 

สำหรับแนวทางการบริหารงาน ในปีนี้ ดร.ทัศไนย ชี้ว่าจะยังยึดนโยบาย ของสถาบันเป็นหลัก โดยให้ความสำคัญ กับการนำพาสถาบันสู่ความเป็นสากล มากขึ้น ทางคณะจึงมีแผนที่จะทำ ความร่วมมือกับสถาบันในต่างประเทศ ระหว่างนี้ก็มีการส่งอาจารย์หลายๆ ท่าน ไปศึกษาดูงาน โดยฝ่ายบริหารจะมี การพิจารณาคุณสมบัติให้เป็นไปตามจุด ประสงค์ ดูแลเรื่องงบประมาณและ รายงานที่ได้จากการเดินทาง มุ่งเน้นการ เตรียมพร้อมคน บริหารจัดการการเงิน อาคารสถานที่และอุปกรณ์อำนวย ความสะดวกให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน กับทางสถาบัน เพื่อเป้าหมายสำคัญคือ การติดอันดับ 1 ใน 10 สถาบันอุดมศึกษา ที่ดีที่สุดในอาเซียน รวมไปถึงการดึงเอา เทคโนโลยียุคใหม่มาปรับใช้ในกระบวนการ ติดต่อสื่อสารภายใน อย่างการยื่นเอกสาร ต่างๆ เพื่ออนุมัติก็มีการนำระบบ  E-Document มาใช้ตั้งแต่ช่วงเดือน ธันวาคมปีที่ผ่านมา ซึ่งบุคลากรทุกคน ในคณะจำเป็นต้องศึกษาและใช้งานให้เป็น ส่วนการจัดการเรียนการสอน แบบออนไลน์ยังคงอยู่ในกระบวนการพัฒนา และทบทวนเพื่อไม่ให้ขัดต่อข้อบังคับ สถาบันที่ระบุว่า การจัดการเรียนการสอน ต้องเป็นแบบทวิภาคคือ มีสองภาคเรียน ยกเว้นการเรียนซัมเมอร์ การดำเนินการ ใดๆ จะขัดกับข้อบังคับสถาบันมิได้  หากต้องการจะจัดเปิดหลักสูตรออนไลน์ ก็อาจจะต้องมีการเพิ่มเติมในข้อบังคับ ให้สามารถนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้ามา เกี่ยวข้องได้ เพื่อให้เกิดการปรับตัวให้ เหมาะกับปัจจุบันมากขึ้น

อีกหนึ่งสถานการณ์ในยุคนี้ที่ สถาบันการศึกษาหลายแห่งต้องเผชิญ คือ เรื่องของจำนวนเด็กที่จะเข้ามาศึกษา ลดลง แต่สำหรับคณะการบริหารและ จัดการ สจล. กลับยังคงมีผู้สนใจสมัคร เข้าเรียนในระดับปริญญาตรีเป็นจำนวนมาก

“จุดแข็งของ FAM คือเรารับเด็กทั้ง สายวิทย์ – คณิต และศิลป์ – คำนวณ อย่าง TCAS รอบแรกที่เราเปิดรับนักศึกษา ประมาณ 80 – 90 คน มีเด็กสมัครเข้ามา พันกว่าคนและมาสัมภาษณ์ห้าร้อยกว่าคน เราจึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องจำนวนนักศึกษา ที่สมัครเข้ามา อีกทั้งทางสถาบันก็ยังมี แผนให้คณะเรารับเด็กเพิ่มขึ้นจากเดิม  350 คน เป็น 600 คน ด้วยซ้ำ สาเหตุก็ เพราะเรามีหลักสูตรที่เข้มแข็ง อาจารย์ ของเราค่อนข้างผูกพันกับเด็ก โดยดูจาก อัตราการได้งานของบัณฑิต เด็กส่วนมาก ที่จบจากเรานอกจากคนที่เข้าไปทำงาน ในบริษัทต่างๆ แล้ว ส่วนใหญ่จะจบออกไป เป็นผู้ประกอบการ ขับเคลื่อนและสร้าง การเปลี่ยนแปลงให้สังคม ซึ่งย้ำให้เห็นว่า ระบบการเรียนการสอนของเรามีคุณภาพ ทำให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ

แต่ปัญหาในตอนนี้คือเรื่องของ สถานที่ จำนวนอาจารย์ที่จะมารองรับ จำนวนนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต และงบประมาณ อันดับแรกเราจึงต้องเน้น การบริหารจัดการที่เกิดประโยชน์ต่อ นักศึกษามากที่สุด ต่อมาคือคณาจารย์ และภาคคณะ ส่วนฝ่ายสนับสนุนเราก็มี การส่งเสริมโดยให้ทุนลาศึกษาต่อระดับปริญญาโทในคณะของเรา ให้อบรมประจำ ปีกี่ครั้งก็ได้แต่ต้องเกี่ยวข้องกับเนื้องาน หน้าที่ภายในงบประมาณที่กำหนดให้  รวมไปถึงการดูแลความเหมาะสมของ เนื้องานกับตัวบุคคล พยายามมอบหมาย งานที่เขาถนัด ทำให้เขาได้ใช้ศักยภาพ ของตัวเองอย่างเต็มที่ และมีสวัสดิการ สำหรับพนักงานเงินงบประมาณที่มี ความมั่นคงพอๆ กับข้าราชการ

 

ดังนั้น การทำงานร่วมกันในหน่วยงาน เราจึงยึดประสิทธิภาพงานเป็นหลัก บรรยากาศเป็นแบบ FAM หรือ Family  ทุกคนสามารถเข้ามาพูดคุย นำเสนอ ความคิดเห็นเพื่อให้เราบริการและ ช่วยแก้ไขปรับปรุงให้เกิดการพัฒนาภายใต้ กฎระเบียบ”

ทั้งนี้ การจะก้าวไปเป็นมหาวิทยาลัย ระดับสากลในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามี ส่วนสำคัญอย่างมาก ดร.ทัศไนย มอง ความท้าทายและจุดสาคัญของงานบริหาร เอาไว้อย่างชัดเจน

แนวทางที่เราจะทำให้เกิด FAM to FAMOUS ได้นั้น เราต้องมีการบริการทั้ง ส่วนของคณาจารย์และนักศึกษา โดยทุก อย่างจะยึดกฎระเบียบเป็นหลักแต่ก็ต้อง ไม่ทำให้เราล้าหลัง เราเป็นส่วนสนับสนุน หลังบ้านที่ทำให้เกิดการผลักดันให้มีการ เรียนการสอนที่ดี คัดกรองอาจารย์ ที่จะเข้ามาสอนว่าสามารถมอบสิ่งที่ ให้ประโยชน์ทั้งแง่วิชาการและเชิงปฏิบัติ แก่นักศึกษาได้มากน้อยแค่ไหน อำนวย ความสะดวกให้บุคลากรและอาจารย์ใน การทำภารกิจทุกด้านให้บรรลุผลสำเร็จ 

ไม่ว่าจะเป็นการสอน ต้องสนับสนุนการจัด เตรียมแผนการสอนให้เต็มที่ เพื่อให้ หลักสูตรดำเนินไปได้ ทำให้เด็กมีคุณภาพ เน้นการทำวิจัยที่ต้องตอบโจทย์แก้ปัญหา สังคม มีคุณภาพ เป็นไปตามกลยุทธ์ของ สถาบัน นำมาใช้ได้จริง งาน Conference ต่างๆ ที่อาจารย์ไปเข้าร่วมก็ต้องอยู่ภายใต้ ฐาน Scopus หรือ TCI เรื่องการให้บริการ ทางวิชาการกับชุมชนก็ต้องเป็นโครงการที่ ช่วยให้คนในสังคมได้ความรู้และทำให้เกิด Word of Mouth และส่วนที่สำคัญไม่แพ้ กันคือ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  ต้องสอนให้นักศึกษามีศีลธรรมจริยธรรม มีอัตลักษณ์ของสถาบันคือ ซื่อสัตย์ ใฝ่รู้  สู้งาน ติดตัวเมื่อเรียนจบออกไปจะได้เป็น ผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ

นอกจากนี้ การดูแลนักศึกษาก็ต้องมี การพาไปศึกษาดูงานตามโรงงาน อุตสาหกรรมหรือบริษัทจริงๆ เพื่อให้เขา สามารถเชื่อมโยงความรู้ที่เลคเชอร์มา กับโลกการทำงานอย่างเห็นภาพ ผู้สอน ต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษา ตัวผม เองจะใช้หลักของการเป็นครู หมายความ ว่าเราดูแลนักศึกษาในทุกๆ ด้านไม่ใช่แค่ การเรียนการสอน พื้นฐานของการอยู่ภายใต้ ความเป็นครอบครัวนี้จะทำให้เมื่อเด็กจบ ไปทำงานก็จะหันกลับมามองครอบครัว เสมอ มีอะไรก็อยากกลับมาช่วยเหลือ พัฒนาคณะให้รุ่นน้องได้รับสิ่งที่ดี เพราะ เรามีความผูกพันระหว่างกัน”

 

ท้ายที่สุดแล้ว ดร.ทัศไนย ได้เปิดเผย ข้อมูลโครงการใหญ่ที่จะเริ่มเห็นเป็นรูปธรรม ในกลางปีนี้คือ โครงการออกแบบปรับปรุง ตึกแอล หรืออาคารบุนนาค (ฝั่งทิศเหนือ) เพื่อใช้เป็นคณะการบริหารและจัดการ “เราใช้งบประมาณในการสร้างกว่า 124 ล้านบาท ซึ่งมาจากการบริหารจัดการราย ได้ของคณะเรา มีการลงสำรวจพื้นที่ ประชุม Workshop กับหลายภาคส่วน เพื่อระดมแนวคิดในการออกแบบปรับปรุง เปลี่ยนโฉมโครงสร้างอาคาร 5 ชั้นนี้ให้สอดคล้องการพัฒนาของคณะและ คำนึงถึงผู้ใช้งานไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา กลุ่มผู้บริหารคณาจารย์ บุคคลภายนอก ทั้งใน และต่างประเทศที่จะเข้ามาติดต่อ รับบริการต่างๆ จากคณะของเรา โดยรูปทรง อาคารภายนอกมีลักษณะโดดเด่นทันสมัย สไตล์อาคารโรมัน ซึ่งนำเอาแนวคิด Raise Your Future ที่มองถึงการยกระดับคุณภาพ ในทุกมิติของคณะการบริหารและจัดการ สู่ระดับสากลมาปรับใช้ สร้างบรรยากาศ แก่นักศึกษาซึ่งอยู่ในสายธุรกิจให้เกิด แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์และรองรับ การพัฒนาขยายหลักสูตรหรือกิจกรรม โครงการในอนาคตให้มากขึ้น ภายในครบ ครันด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก มีจุดเด่น เป็นห้อง Hall of Fame สำหรับจัดแสดง ผลงานและกิจกรรม ห้องทำสื่อการเรียน การสอนที่เป็น Multimedia ห้องเรียน ขนาดใหญ่และห้องประชุมที่สามารถรองรับ ได้ถึง 200 ที่นั่ง เพื่อรองรับ International Conference ต่างๆ โดยจะเริ่มดำเนินการ ประมาณช่วงปิดเทอมหรือกลางเดือน พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป ระยะเวลาใน การสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในหนึ่งถึง หนึ่งปีครึ่ง ภายในปีหน้าก็จะได้เห็น  FAM ในลักษณะที่พร้อมก้าวสู่ระดับสากล อย่างแท้จริง”


เรื่อง : ณัฐพัชธ์ สุมา 
ภาพ : ฐิติชญาน์ แปลงกูล

การขับเคลื่อนด้านวิชาการและงานวิจัย ถือเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในสังคม นำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้ผู้เรียนก้าวเท่าทันกับโลกที่มีการ เปลี่ยนผ่านแทบทุกวินาที ผศ.ดร. สิงหะ ฉวีสุข  รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะการบริหารและจัดการ หรือ FAM สถาบัน เทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)  ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เกิด การค้นคว้าและประยุกต์สิ่งใหม่ๆ เข้ากับการเรียน ในทุกระดับของหลักสูตรบริหารธุรกิจใน ทศวรรษหน้า

ในส่วนงานวิชาการ หน้าที่หลักคือดูแล การเรียนการสอนของทุกหลักสูตร ทุกระดับ ของคณะ ตั้งแต่ปริญญาตรี โทและเอก รวมถึง หลักสูตรภาษาไทยและนานาชาติ เพื่อให้ได้ บัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความสามารถทาง ปัญญาและพฤติกรรม นำไปสู่การพัฒนา วิชาชีพและสร้างความสำเร็จในอนาคตได้

นอกจากภาระหน้าที่หลักในการดูแลทุกกระบวนการจัดการเรียน การสอนของทุกหลักสูตรที่สังกัดในคณะการบริหารและจัดการแล้ว  ยังทำงานร่วมกับส่วนงานวิเทศสัมพันธ์ เพื่อทำความร่วมมือทาง วิชาการกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ตาม ยุทธศาสตร์ด้านวิชาการของคณะฯ ซึ่งส่วนงานวิชาการจะนำ ข้อตกลงความร่วมมือต่างๆ มาวิเคราะห์เพื่อนำจุดแข็งของความ ร่วมมือเหล่านั้นประยุกต์เข้ากับหลักสูตรต่างๆ ของคณะ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับของข้อตกลงความร่วมมือว่าเป็นลักษณะใด เช่น ต้องการสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยหรือระหว่างหลักสูตร  เราก็จะหาจุดแข็งและจุดอ่อนของทั้งสองฝ่าย เพื่อนำมาเสริมสร้าง และพัฒนาให้เกิดการปรับปรุงหลักสูตรและงานวิจัยควบคู่กันไป เป็นต้น ซึ่งคุณประโยชน์หลักที่ได้จากการทำความร่วมมือกับ สถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ คือนักศึกษา จะได้เรียนรู้ศาสตร์ที่แตกต่างกันมากขึ้น ได้มีโอกาสเรียนรู้และ มองเห็นศาสตร์ใหม่ๆ ในระดับโลก ก่อให้เกิดการเรียนการสอน และการวิจัยร่วมกัน ซึ่งจะตอบโจทย์ความต้องการด้านการ บูรณาการศาสตร์ต่างๆ เข้ากับศาสตร์การบริหารและจัดการ เชิงธุรกิจ เพื่อนำไปสู่ความอยู่รอดทางธุรกิจอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันมีหลายปัจจัยที่เข้ามากระทบการดำเนินงานของ ภาคธุรกิจ ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องมีความ พร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ด้วยข้อมูลที่ ครอบคลุมและทันสมัย ผนวกเข้าศาสตร์การบริหารธุรกิจในแขนง ต่างๆ ซึ่งการเรียนการสอนในหลักสูตรต่างๆ ของคณะ จะเข้ามา ช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและสร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขันให้แก่ทุกกระบวนการของธุรกิจ ซึ่งสอดคล้องกับ นโยบายของรัฐบาล เช่น Thailand 4.0 ++ การยกระดับ ความสามารถให้แก่ทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เป็นต้น ทั้งนี้หากการ พัฒนาหลักสูตรยังไม่สอดรับต่อการเปลี่ยนแปลง ก็อาจจะตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ทัน คณะจึงสร้างหลักสูตรสายพันธุ์ใหม่ ขึ้นมา ได้แก่

  1. Entrepreneurial and Science-Based Degree เป็นแบบMultidisciplinary Curriculum บูรณาการศาสตร์ต่างๆ เข้ากับด้าน บริหารธุรกิจ เช่น ศาสตร์ด้านวิศวกรรมหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ากับการบริหารและจัดการ เพื่อธุรกิจที่อยู่รอดอย่างยั่งยืน
  2. Work-Based Degree เป็นหลักสูตรที่มีการเรียนและทำงานในสถานประกอบการจริง ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก องค์การขนาดใหญ่ในระดับประเทศ เช่น BETAGO Thai Bev Central หรือ CPAll เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ จากสถานที่ทำงานจริง นำไปสู่การประกอบอาชีพได้อย่างม ประสิทธิภาพในอนาคต
  3. Area-Based Degree เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นเฉพาะพื้นที่หรือกลุ่มเศรษฐกิจ เช่น ห้องเรียนชุมชนท้องถิ่น ประชารัฐรักสามัคคี ห้องเรียนบริหารธุรกิจ CHINESE ห้องเรียน ASEAN ห้องเรียน CLMV เป็นต้น
  4. Global-Based Sandwich Degree เป็นการทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยระดับโลก เช่น University of Oxford หรือ University of Nevada เป็นต้น
  5. Online Degree ซึ่งจะเริ่มต้นจากหลักสูตรระยะสั้นหรือการอบรม เพื่อสร้างทักษะที่จำเป็นในการทำงานยุคนี้ เช่น Digital Marketing หรือ Tech Entrepreneurship เป็นต้น

ส่วนการส่งเสริมด้านงานวิจัย ผศ.ดร.สิงหะ อธิบายว่าการ วิจัย เป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญของอาจารย์ไม่น้อยกว่าการสอน เนื่องจากองค์ความรู้ต่างๆ มักจะเกิดขึ้นจากกระบวนการทำวิจัย หากไม่มีงานวิจัย ทฤษฎี แบบจำลอง องค์ความรู้ต่างๆ ก็จะ ไม่ทันสมัย เพราะฉะนั้นการค้นคว้าและนำองค์ความรู้ใหม่เหล่า นี้มาใช้ จึงเป็นการสร้างความทันสมัยให้แก่การถ่ายทอดความรู้ จากอาจารย์ไปสู่ผู้เรียน ดังนั้นการนำการวิจัยที่ทันสมัยมา ประกอบและเสริมการเรียนการสอน จะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ที่ แข็งแรง เห็นภาพว่าสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร จึงเป็น สาเหตุเพราะเหตุใดอาจารย์จึงต้องมีการทำวิจัยควบคู่กับการ จัดการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ

รทำวิจัยจะทำให้เรได้เรียนรู้กระบวนกรแก้ปัญห ที่ถูกต้อง สรถนำไปสู่ผลลัพธ์ของกรวิจัยที่ชัดเจนมกขึ้น เพระถ้แก้ปัญหผิดวิธี ผลลัพธ์ที่ออกมก็ผิดพลดไปด้วย การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาจะมีหลักสูตรที่พูดถึงการทำ วิทยานิพนธ์ ซึ่งคือการทำวิจัยอย่างหนึ่งที่ต้องมีหัวข้อชัดเจน ผลลัพธ์ที่ได้มาจะนำไปใช้เป็นองค์ความรู้ใหม่หรือการประยุกต์ ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น การส่งเสริมงานวิจัยของคณะจึงมี 2 มิติ คือ 1. เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามหลักสูตรบัณฑิตศึกษาโดยให้สามารถเผยแพร่งานวิจัยในระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับมากขึ้น 2. เพื่อสนับสนุน คณาจารย์ของคณะ ให้ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัยในเวที ระดับนานาชาติ ทั้งนี้ประโยชน์เสริมคืออาจารย์จะได้นำเอา ทักษะการทำวิจัยและนำผลลัพธ์จากการวิจัยไปเป็นเครื่องมือ สนับสนุนการสอนนักศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาเอก  ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าหาองค์ความรู้ใหม่ หมายความว่า ผู้เรียนจะต้องทำการศึกษาเพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการ แก้ปัญหาอย่างถูกต้อง เช่น หากกล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีใน ธุรกิจ เป้าหมายโดยทั่วไปคือการทุ่นแรงและสร้างความแม่นยำ ในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่โจทย์ใหม่ คือพฤติกรรมของผู้บริโภค ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้หากประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีต่างๆ ได้ตรงกับสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันได้ อย่างเชี่ยวชาญ ธุรกิจก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูงยิ่งขึ้น

ซึ่งการนำเอางานวิจัยมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงนั้น จำเป็นต้องมีการพิจารณาอย่างรอบด้าน ยกตัวอย่าง หาก ประเทศไทยเป็นหน่วยที่ใช้ศึกษา การดำเนินการวิจัยจำเป็นต้อง มีขั้นตอนและกระบวนการที่ชัดเจน เพื่อค้นคว้าและพิสูจน์ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยมีปัญหาใดบ้าง จากนั้นจึงศึกษาผลงานวิจัยในอดีตที่ผ่านมา ว่าสามารถนำไปสู่การ แก้ปัญหาในรูปแบบใดได้บ้าง ยังคงเหลือปัญหาหรือจุดอ่อนใด ที่ยังไม่ถูกนำมาแก้ไข ซึ่งปัญหาของประเทศไทยเปรียบเสมือน เป็นกล่องใบหนึ่งที่มีหลายด้าน อาจมีเพียงด้านเดียวเท่านั้น ที่ได้รับการแก้ไขไปแล้ว ยังคงเหลืออีกหลายด้านที่รอการแก้ไข ดังนั้นกระบวนการค้นคว้าวิจัยจะทำให้ภาพรวมของกล่องใบดังกล่าว มีภาพลักษณ์และคุณสมบัติที่ดีขึ้นกว่าเดิม

อีกแง่หนึ่งในการกลั่นกรองปัญหาเพื่อทำงานวิจัย อาจพิจารณา จากนโยบายระดับโลก ระดับชาติ หรือระดับหน่วยงานเพิ่มเติมได ้ อาทิ หากมองประเด็นของ Thailand 4.0 จะทำให้เห็นภาพว่า ต้องมีการขับเคลื่อนในส่วนใดบ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายนั้น  และเมื่อมาผนวกกับความเชี่ยวชาญของคณะในฐานะหน่วยงาน การศึกษา จึงตั้งเป้าเป็น Education 4.0 ที่เน้นการพัฒนาบุคลากร ในประเทศชาติให้มีศักยภาพและอยู่รอดในโลกปัจจุบันให้ได้ มากยิ่งขึ้น จึงส่งผ่านมาที่ Curriculum 4.0 เพื่อสร้างหลักสูตรที่ เสริมสร้างความสามารถของบุคลากรในชาติได้ หากขณะนี้เรา อยู่ที่ 3.0 แล้ว จึงพิจารณาต่อว่ามีประเด็นใดบ้างที่จะนำเราไปถึง 4.0 ได้ นี่คือความสำคัญของงานวิจัยที่จะเกิดขึ้นเพื่อสร้างและ นำไปใช้แก้ไขให้ตรงตามเป้าหมาย ซึ่งแน่นอนว่าจำเป็นต้อง อาศัยความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรมและส่วนงานต่างๆ พร้อมกับการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปเสริมสร้างความ สามารถในการแข่งขันต่อไปได้ ยิ่งไปกว่านั้นคณะยังมีเป้าหมาย บูรณาการการวิจัยและการเรียนการสอน เพื่อเตรียมความพร้อม ในการเข้าสู่ยุค Society 5.0 อีกด้วย

คุณลักษณะหลักของการวิจัยด้านการบริหารและจัดการ  ซึ่งถือเป็นการวิจัยในมิติของสังคมศาสตร์ คือการนำเอาศาสตร์ ทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ที่นำไปสู่การพัฒนาและตอบสนองความต้องการของ สังคมได้อย่างเหมาะสม จึงเป็นเหตุให้คณะมีนโยบายส่งเสริม การทำวิจัยอย่างเข้มข้น เช่น การสนับสนุนคณาจารย์ให้มีโอกาส พัฒนาตนเอง การสนับสนุนทุนวิจัย ซึ่งจัดแบ่งเงื่อนไขเป็นกรณีไป  กล่าวคือหากเป็นอาจารย์ที่มีประสบการณ์ทำวิจัย คณะมีการสนับสนุนทุนวิจัยที่ค่อนข้างสูง ซึ่งแน่นอนว่าคณะก็คาดหวัง ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพสูงเช่นกัน ส่วนคณาจารย์ใหม่ คณะมีนโยบาย สนับสนุนการวิจัยแบบเป็นขั้นบันไดอย่างเหมาะสม รวมถึงมี อาจารย์พี่เลี้ยงเพื่อช่วยให้คำแนะนำและเพิ่มมุมมองอย่างรอบด้าน นำไปสู่การดำเนินงานวิจัยที่รวดเร็วและราบรื่นได้ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยัง ผลักดันให้คณาจารย์ของคณะ ขอรับทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอก โดยการสนับสนุนของคณะจะเกิดขึ้นในทุกกระบวนการภายใต้ ชื่อ สจล. อย่างเต็มภาคภูมิ รวมถึงมีการบูรณาการร่วมกับ หน่วยงานต่างๆ เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร และ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ให้แก่ผลงานวิจัย รวมทั้งเพิ่มความหลากหลายให้ครอบคลุม บริบทของภาคธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนเหล่าน้ี เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสถาบัน นอกจากนี้ ผศ.ดร.สิงหะ ยังมี แนวทางในการผลักดันเพื่อนำเอางานวิจัยที่เกิดขึ้นเหล่านี้ไปสู่ ระดับสากล (World Ranking) ตามนโยบายของสถาบันและ คณะอีกด้วย

ขณะนี้สถาบันมีเป้าหมายในการเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก  หมายความว่าคนทั่วโลกต้องมองเห็นผลงานของเรามากยิ่งขึ้น แนวทางในการสนับสนุนของคณะ คือการจัดหาเวทีที่เหมาะสม เพื่อใช้เผยแพร่ผลงานวิชาการของทั้งคณาจารย์และนักศึกษา  ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการเผยแพร่จะเกิดขึ้นในสองมิติ คือ การได้มี โอกาสนำเสนอและเผยแพร่ผลงานเหล่านั้นให้แก่บุคคลภายนอก ได้รับทราบ นำมาซึ่งการได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจากมุมมองของ ผู้อื่น เพื่อให้นักวิจัยได้นำคำแนะนำเหล่านั้นไปปรับปรุงพัฒนา แก้ไขให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยมากยิ่งขึ้น แน่นอน ว่าการดำเนินการเช่นนี้ จะเสมือนเป็นการสร้างผลงานวิจัยขึ้นมา อีกหนึ่งชิ้น ซึ่งสามารถนำไปเผยแพร่ได้ต่อไปอีกด้วย นอกจากนั้น ยังก่อให้เกิดกระบวนการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น นำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งส่วนการพัฒนางานวิจัย และการจัดการเรียนการสอนตามมาได้อีกด้วย

“อีกแนวทางหนึ่ง คือการเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารซึ่ง อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เมื่อผู้อ่าน ได้พบเห็นผลงานวิจัย จะทราบว่าเราเป็นใคร พัฒนาผลงานวิจัย ในรูปแบบใดบ้าง รวมถึงหากเป็นลักษณะงานวิจัยที่เกี่ยวเนื่องกัน  ผู้อ่านสามารถนำไปอ้างอิงหรือพัฒนาต่อยอดได้ การดำเนินงาน เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกัน เปิดโอกาส ให้คนทั่วโลกพูดถึงคณะ (FAM) และสถาบัน (KMITL) ของเรา มากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการก้าวสู่มหาวิทยาลัยระดับโลกได้  การดำเนินงานลักษณะนี้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนตาม นโยบายของท่านคณบดี คือ FAM to FAMOUS ที่ต้องการนำผลงานวิจัยไปใช้สร้างประโยชน์หรือสร้างชิ้นงานใหม่ให้แก่ธุรกิจได (Innovation and Licensing) ไม่เป็นเพียง Invention Ideas ยิ่งกว่านั้น หากนำกระบวนการวิจัยและผลงานวิจัยประยุกต์เข้ากับการ ดำเนินงานในภาคธุรกิจแล้ว จะยิ่งก่อให้เกิดองค์ความรู้  เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ  รวมถึงสามารถยกระดับและพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืนต่อไป”


เรื่อง : กองบรรณาธิการ

ภาพ : ฐิติชญาน์ แปลงกูล

Page 2 of 3
X

Right Click

No right click