อโกด้า แพลตฟอร์มการเดินทางออนไลน์ นำฐานข้อมูลการค้นหาของลูกค้ามาต่อยอดทางการตลาดเพื่อเปิดช่องทางใหม่ให้โรงแรมและพาร์ทเนอร์ที่พักเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น ด้วยการสร้างหน้าเพจพิเศษ (Landing Page) ที่ตอบโจทย์การค้นหาที่พักในธีมที่ได้รับความนิมยมในหมู่นักเดินทาง

อโกด้าใช้ฐานข้อมูลเชิงลึกที่มีสร้างหน้าเพจ “ที่พักที่ใช่ในสไตล์ที่ชอบ” ตอบโจทย์นักเดินทางในประเทศไทย ด้วย 16 ธีมที่จัดมาให้ตรงใจนักเดินทาง โดยธีมเหล่านี้มีตัวเลือกหลากหลายตามงบท่องเที่ยวและความสนใจของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเกาะส่วนตัว วิลลาติดทะเล บังกะโลริมชายหาด ที่พักสำหรับครอบครัวและเป็นมิตรต่อสัตว์เลี้ยง โดยแต่ละหน้าเพจจะมีรายชื่อที่พักที่ทางผู้เชี่ยวชาญของอโกด้าคัดสรรมาอย่างดี ตัวเลือกที่คัดมาให้ตรงกับความสนใจเหล่านี้จะช่วยให้นักเดินทางวางแผนท่องเที่ยวได้ง่ายขึ้น ได้รับประสบการณ์ท่องเที่ยวตรงใจ และพร้อมออกเดินทางเสมอ นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสอันดีสำหรับโรงแรมและผู้ให้บริการที่พักในการเข้าถึงลูกค้าที่พร้อมจองได้มากขึ้นด้วย

คุณ Pierre Honne, ผู้อำนวยการอาวุโสของอโกด้าประจำประเทศไทย เผยว่า “นักท่องเที่ยวหลายคนมีเป้าหมายชัดอยู่แล้วว่าวันหยุดอยากไปเที่ยวแบบไหน เราจึงจัดทำหน้าเพจพิเศษนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยให้นักเดินทางเหล่านี้หาโรงแรมดีๆ โดนใจได้อย่างง่ายดาย โดยเราแบ่งหมวดหมูให้เสร็จสรรพ เช่น ที่พักที่ต้อนรับสัตว์เลี้ยง หรือโรงแรมมีดาดฟ้าในกรุงเทพฯ สำหรับพาร์ทเนอร์ที่พัก การใช้หน้าเพจพิเศษยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่อโกด้าช่วยสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจและขยายฐานลูกค้าให้ที่พัก”

การปล่อยหน้าเพจใหม่ในครั้งนี้ตอกย้ำว่าอโกด้าเป็นบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและใช้สิ่งนี้สนับสนุนพาร์ทเนอร์ที่พักเพื่อการเติบโตทางธุรกิจ โดยรวบรวมข้อมูลเชิงลึกซึ่งอ้างอิงจากรูปแบบการค้นหาที่พักของลูกค้าในปัจจุบัน

หน้าเพจใหม่นี้ไม่ใช่แค่ตัวช่วยในการค้นหาที่พักแบบเจาะจงตรงใจสำหรับนักท่องเที่ยว แต่ยังเปิดช่องทางใหม่ให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้มองเห็นและเข้าถึงโรงแรมและผู้ให้บริการที่พักเพิ่มขึ้นด้วย หน้าเพจที่จัดทำขึ้นพิเศษตามธีมนี้ ทำหน้าที่เหมือนสะพานเชื่อมที่พักกับผู้บริโภคที่มีเป้าหมายแน่ชัดว่าต้องการอะไรให้มาเจอกัน” คุณ Pierre กล่าวแถมท้ายว่า “ด้วยการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือวิเคราะห์และเก็บข้อมูลเชิงสถิติของผู้เข้าเว็บไซต์ซึ่งเป็นงานถนัดของอโกด้า โรงแรมและที่พักจึงมีโอกาสที่จะตามเทรนด์การท่องเที่ยวล่าสุดได้สูงและมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา”

โรงแรมและที่พักสามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหน้าเพจพิเศษนี้ได้กับเจ้าหน้าที่ Account Manager ของอโกด้าที่ดูแลที่พักของตน

อโกด้าจะเปิดตัวหน้าเพจที่นำเสนอที่พักตามธีมทางลิงก์เหล่านี้

1. เกาะส่วนตัว - agoda.com/privateislandth

2. วิลลาติดทะเล - agoda.com/seasidevillas

3. บังกะโลริมชายหาด - agoda.com/beachcabanas

4. วิลลาติดทะเลสำหรับครอบครัว - agoda.com/familybeachvillas

5. ที่พักริมทะเลราคาประหยัด - agoda.com/budgetfriendlybeach

6. หมู่บ้านชาวเขา - agoda.com/hilltribevillageth

7. เกสต์เฮาส์แบบดั้งเดิม - agoda.com/traditionalguesthouseth

8. ที่พักในย่านประวัติศาสตร์เชียงใหม่ - agoda.com/historicchiangmai

9. โรงแรมบูติกในกรุงเทพ - agoda.com/boutiquehotelsbangkok

10. เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ในกรุงเทพ - agoda.com/servicedapartmentsbangkok

11. โรงแรมมีดาดฟ้าในกรุงเทพ - agoda.com/bangkokrooftophotels

12. ที่พักบรรยากาศโรแมนติก - agoda.com/romanticgetawayth

13. ที่พักต้อนที่ยินดีต้อนรับสัตว์เลี้ยง - agoda.com/petfriendlyth

14. ที่พักเหมาะกับครอบครัว - agoda.com/familyfriendlyth

15. รีสอร์ตวิวภูเขา - agoda.com/mountainviewretreatsth

16. ที่พักมีสไลต์นอกเมืองใหญ่ - agoda.com/uniquethaicountryside

โรงแรมม็อกซี่ แบงคอก ราชประสงค์ ขอมอบประสบการณ์ใหม่ การเข้าพักแบบไลฟ์สไตล์ชิล ๆ  ด้วยห้องพักสุดเก๋ในราคาสุดคุ้ม เข้าเช็กอินที่บาร์สุดชิค รับโบนัสพอยต์ Marriott Bonvoy สูงสุดถึง 5,000 พอยต์ต่อคืน! เริ่มต้นเพียง 3,400++ บาทต่อคืนเท่านั้น 

  • รับ 1,000 Marriott Bonvoy โบนัสพอยต์ ต่อคืนสำหรับห้อง Moxy Queen หรือ Moxy Twin
  • รับ 3,000 Marriott Bonvoy โบนัสพอยต์ ต่อคืนสำหรับห้อง Moxy Corner หรือ Moxy Loft
  • รับ 5,000 Marriott Bonvoy โบนัสพอยต์ ต่อคืนสำหรับห้อง Moxy Deluxe

พิเศษยิ่งกว่า! พักผ่อนสบายกว่าเดิมถึง 24 ชั่วโมง แบบเอาใจชาว fun-hunters ที่ไม่ว่าจะปาร์ตี้ดึก หรือเที่ยวหนักแค่ไหน ก็ชิลได้แบบไม่ต้องรีบเช็กเอาต์! มาปลดล็อกความสนุก รับดีลสุดคุ้ม Get Your Moxy On! ได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 พฤษภาคม 2567 โดยสามารถสมัครเป็นสมาชิก Marriott Bonvoy วันนี้ เพื่อรับสิทธิพิเศษก่อนใคร และสามารถจองห้องพักได้ที่ moxybangkokratchaprasong.com และอีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. 

ชิลคูณสอง เอาใจสายกิน ดื่ม ชิล ในโรงแรม กับโปรโมชันอิ่มท้อง Munch & Match ชวนจับคู่เมนูเครื่องดื่มซ่าส์ ๆ จากเมนู Never Go Out of Style กับกองทัพอาหารจานเด็ดจาก Moxy All-Day Selection ที่สามารถอิ่มอร่อยได้ทั้งวัน สนุกกับการลิ้มลองรสชาติอาหารฟิวชั่นแบบใหม่ในสไตล์ม็อกซี่ กับการดึงวัตถุดิบและกลิ่นอายความเป็นอาหารไทย 4  ภาค มายกระดับให้อาหารที่ม็อกซี่ แบงคอก ราชประสงค์ ไม่เหมือนใคร ทั้งรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ และงานศิลปะบนจานอาหารที่จะมาสร้างความประทับใจแบบไม่รู้ลืม อาทิ เมนู CAT OR FISH การนำปลาดุกสายพันธุ์ไทยมาผ่านกรรมวิธี Dry Aged ก่อนจะนำมาย่างไฟหอม ๆ พร้อมทาซอสสูตรพิเศษ เสิร์ฟคู่กับสลัดผักสะเดา น้ำสลัดน้ำปลาหวาน ออนท็อปด้วยหอมเจียวกรอบ ๆ ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเมนูอาหารไทยอย่างปลาดุกย่างสะเดาน้ำปลาหวาน และเมนูอื่น ๆ อีกมากมาย ด้วยโปรโมชัน Munch & Match เพียง 399++ บาทเท่านั้น! ตั้งแต่วันนี้ - 30 เมษายน 2567 ที่ Moxy Bar & Restaurant ชั้น 9 โรงแรมม็อกซี่ แบงคอก ราชประสงค์ ตั้งแต่เวลา 10:30 - 1:00 (เปิดทุกวัน) หรือติดต่อโรงแรมเพื่อจองโต๊ะล่วงหน้าโทร 02 209 5999 


*ข้อกำหนดและเงื่อนไขเป็นไปตามที่โรงแรมกำหนด

 

YouTrip (ยูทริป) ผู้ให้บริการดิจิทัลวอลเล็ตรองรับหลายสกุล (Multi-currency wallet) ประกาศความสำเร็จจากการระดมเงินทุนรอบ Series B คว้าเงินลงทุนมูลค่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.84 พันล้านบาท นำโดย Lightspeed บริษัท Venture Capital ชั้นนำระดับโลก ที่ลงทุนใน Grab, Snap, OYO Rooms เป็นต้น จากความสำเร็จในการระดมทุนครั้งนี้ส่งผลให้ YouTrip มียอดระดมทุนมากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 3.68 พันล้านบาท นับตั้งแต่เปิดให้บริการเป็นต้นมา

เงินทุนใหม่นี้จะนำไปใช้เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในด้านเทคโนโลยีของบริษัทให้ดียิ่งขึ้น สร้างผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมการชำระเงินที่ตอบโจทย์การใช้งานที่สะดวกสบายและไร้รอยต่อ รวมถึงการขยายทีมเพิ่มอีกกว่าหนึ่งร้อยคนเพื่อเตรียมความพร้อมในการขยายการให้บริการไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

นางสาวซีซีเลีย ชู ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ YouTrip กล่าวว่า “YouTrip เปิดตัวและเริ่มให้บริการในปี 2561 ด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนที่ต้องการมอบประสบการณ์ใช้จ่ายสกุลเงินต่างประเทศที่สะดวกสบายให้ทุกคนสามารถใช้จ่ายได้คุ้มค่ายิ่งขึ้น แม้จะมีการแพร่ระบาดโควิด-19 เรายังคงเติบโตอย่างก้าวกระโดดและกลายเป็นผู้นำด้านการชำระเงินระหว่างประเทศสำหรับลูกค้าบุคคลภายใต้บริการ YouTrip และลูกค้าธุรกิจภายใต้บริการ YouBiz ในภูมิภาคนี้”

“การระดมทุนรอบล่าสุดถือเป็นการระดมทุนครั้งใหญ่ที่สุดของ YouTrip ตอกย้ำถึงศักยภาพที่แข็งแกร่งของเราในด้านการชำระเงินระหว่างประเทศ เรามั่นใจว่าบริการของเราที่เข้าถึงได้ง่าย สะดวกสบาย จะตอบโจทย์ผู้ใช้งานหลายล้านคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจะทำให้การชำระเงินระหว่างประเทศเติบโตมากยิ่งขึ้น” นางสาวซีซีเลีย ชู กล่าวเสริม

เร่งการเติบโตในยุคทองของดิจิทัลวอลเล็ต

ด้วยการใช้จ่ายเป็นสกุลเงินต่างประเทศของผู้บริโภคในประเทศไทยและสิงคโปร์ที่เติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงสองปีที่ผ่านมาจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ส่งผลให้ฐานลูกค้าของ YouTrip เติบโตขึ้นสามเท่า ยอดการทำรายการทั่วโลกเติบโตขึ้นสี่เท่า และกลายเป็นตัวเลือกหลักในการใช้จ่ายเป็นสกุลเงินต่างประเทศ

นางสาวจุฑาศรี คูวินิชกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง YouTrip ประเทศไทย กล่าวว่า “การปิดการระดมทุน Series B ของ YouTrip ถือเป็นก้าวสำคัญของบริษัท และเป็นก้าวที่น่าตื่นเต้นสำหรับลูกค้าชาวไทย เพราะนอกเหนือจากการรีเฟรชแบรนด์ปรับโฉมของ YouTrip ให้ทันสมัยแต่ยังคงตอบโจทย์ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีและความปลอดภัยในการใช้จ่ายแบบไร้เงินสดในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ด้วยเงินลงทุนนี้ เราจะนำมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์และขยายการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบประสบการณ์ใช้จ่ายเป็นสกุลเงินต่างประเทศที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าชาวไทย”

นอกจาก YouTrip แล้ว ทางด้านผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้าธุรกิจ YouBiz ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบริหารจัดการบัตรองค์กร (corporate card) และการใช้จ่ายสำหรับ SMEs ในสิงคโปร์ก็เติบโตขึ้นอย่างมากเช่นกัน โดยตั้งแต่เปิดตัวให้บริการในเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ภายในปีแรก YouBiz ได้ให้บริการแก่องค์กรต่างๆ มากกว่า 3,000 แห่ง และตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนเป็นสองเท่าภายในปี 2567 อีกด้วย

ขนาดของเงินลงทุนจาก Lightspeed เป็นการแสดงออกถึงความมั่นใจในความสามารถของ YouTrip ในการนำเสนอนวัตกรรมและโซลูชันที่เหมาะสมกับตลาดในแต่ละประเทศ และทีมผู้บริหารที่สามารถสร้างแผนธุรกิจที่สามารถขยายตัวและเติบโตได้สูงสอดรับกับศักยภาพของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นางสาวพัชร ล้อจินดากุล นักลงทุนจาก Lightspeed กล่าวว่า “จากประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับปัญหาของระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ ตอกย้ำความเชื่อมั่นของเราในสิ่งที่ YouTrip สร้าง บริการดิจิทัลวอลเล็ตและระบบชำระเงินรองรับหลายสกุลที่ช่วยให้ผู้ใช้งานทุกคนได้รับประสบการณ์ในการใช้เป็นจ่ายสกุลเงินต่างๆที่ดียิ่งขึ้น ประหยัด สะดวก และปลอดภัย เรารู้สึกตื่นเต้นกับวิสัยทัศน์และแนวคิดทางธุรกิจที่มีความลึกซึ้ง และพร้อมที่จะร่วมมือกับ YouTrip ในช่วงต่อไปของการเติบโตและขยายตลาดไปยังประเทศต่างๆ”

ผลักดันนวัตกรรมด้านการชำระเงินสำหรับลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ

ทุกวันนี้ระบบดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในทุกภาคส่วนในชีวิตประจำวันรวมถึงการใช้จ่าย ทำให้ผู้คนในภูมิภาคอาเซียนแสวงหาบริการทางการเงินที่ให้ความสะดวกสบายและมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น YouTrip จะเพิ่มการลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้วยเทคโนโลยี Artificial Intelligence (ระบบ AI) และเทคโนโลยีใหม่อื่นๆ เพื่อนำเสนอบริการที่เจาะจงเฉพาะบุคคลมากขึ้น เช่น การกำหนดงบประมาณอัจฉริยะและข้อมูลเชิงลึกทางการเงินที่ปรับแต่งเองได้ และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง

YouTrip ยังวางแผนที่จะขยายบริการเพื่อช่วยให้ SMEs เติบโตข้ามประเทศในเศรษฐกิจดิจิทัลได้เร็วขึ้น ซึ่งรวมไปถึงการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานธุรกิจ และการนำเสนอฟีเจอร์ใหม่ เช่น วงเงินสินเชื่อ เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของธุรกิจในขณะที่ขยายตัวและเติบโต

YouTrip เป็นผู้บุกเบิกรายแรกในอุตสาหกรรมฟินเทคและการชำระเงินดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน ที่นำเสนอบริการดิจิทัลวอลเล็ตรองรับหลายสกุลที่ให้อัตราแลกเปลี่ยนที่ดีมากกว่า 150 สกุลเงิน ไม่มีค่าธรรมเนียมทุกการใช้จ่าย ประหยัด ใช้จ่ายสะดวกสบายไร้รอยต่อยิ่งขึ้น โดยก่อตั้งขึ้นในประเทศสิงคโปร์ก่อนจะขยายการให้บริการมายังประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน 2562 โดยร่วมมือกับ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) YouTrip เป็นผู้นำตลาดด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ การรีเฟรชแอป YouTrip 2.0 และฟีเจอร์ใหม่บนแอป YouBiz 2.0 แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ผู้ใช้งาน

นอกจากนี้ YouTrip ยังได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม โดยได้รางวัลบริษัท FinTech ยอดเยี่ยม อาทิ Most Innovative FinTech Company in Southeast Asia, Best Multi-Currency Mobile Wallet Provider in Asia และ Best SME Finance Management Platform จาก APAC Insider’s 2023 Singapore

Business Awards เร็วๆ นี้ YouTrip ยังได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพอันดับต้นๆ ในสิงคโปร์จาก LinkedIn เครือข่ายมืออาชีพบนอินเทอร์เน็ต ตอกย้ำสถานะของบริษัทในฐานะบริษัทฟินเทคชั้นนำในภูมิภาคอีกด้วย

จีนกำลังจะเปิดเมือง!

จีนมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น แม้การออกจากนโยบาย ‘โควิดเป็นศูนย์’ในช่วงแรกค่อนข้างล่าช้า แต่การส่งสัญญาณจากรัฐบาลจีนว่าให้ความสำคัญกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและจะควบคุมการระบาดโดยให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจน้อยที่สุด คือ ก้าวแรกและก้าวสำคัญที่ชี้ว่าในปี 2023 จีนกำลังจะเปิดเมืองหลังจากที่บังคับใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์อย่างเข้มงวดในช่วงที่ผ่านมา KKP Research ประเมินว่าการหากจีนสามารถเปิดเมืองได้เต็มที่ในปีหน้าจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในเรื่องของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และความผันผวนที่จะเพิ่มขึ้น

การเปิดเมืองจะล่าช้าในช่วงแรก เนื่องจาก

1) อัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำจะยังกดดันระบบสาธารณะสุขจีน ในวันที่อัตราการฉีดวัคซีนในจีนยังไม่แพร่หลายโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุและวัคซีนจีนเองยังถูกตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพ การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของจีนทั้งหมดอาจทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในระดับที่ระบบสาธารณะสุขรับไม่ไหว จนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากได้ และอาจสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลอาจต้องกลับไปล็อคดาวน์หนักอีกครั้ง ดังนั้น ภาครัฐมีแนวโน้มจึงผ่อนคลายมาตรการแบบค่อยเป็นไป

2) เงินเฟ้อที่จะสูงขึ้นเร็วอาจเพิ่มแรงกดดันในการทำนโยบายภาครัฐ การเปิดเมืองจะทำให้อัตราเงินเฟ้อที่ในปัจจุบันอยู่ที่ 2% มีความเสี่ยงเร่งตัวสูงขึ้นได้มาก โดยมีสาเหตุจากอุปสงค์ที่อั้นมาเป็นเวลานานในช่วงที่มีการล็อคดาวน์ (pent-up demand) กลับมาขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ปัจจัยการผลิต (เช่น แรงงานในภาคบริการหรือโรงงานที่ถูกปิดตัวไป) ไม่สามารถกลับมาได้เร็วเท่า แรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นขึ้นอาจกดดันให้ธนาคารกลางจีนต้องขึ้นอัตราเบี้ยและถอนสภาพคล่องออกจากระบบ แต่ก็จะเพิ่มความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทอสังหาฯ โดยจะทำให้การเข้าถึงสภาพคล่องของบริษัทอสังหาฯ จีนทำได้ยากขึ้น ดังนั้นการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดจึงมีแนวโน้มค่อยเป็นค่อยไปโดยจีนจะมีนโยบายสนับสนุนการขยายตัวของอุปทานไปด้วยเพื่อลดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนเผชิญกับหลายอุปสรรคในระยะสั้น

ภาคการบริโภคของจีนจะหดตัวในระยะสั้นแม้ว่าจีนจะเริ่มคลายมาตรการโควิดแล้วก็ตาม เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นจะบั่นทอนความมั่นใจของผู้บริโภคในขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีนกำลังชะลอตัว ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจจีนยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ในครึ่งแรกของปี 2023 อย่างไรก็ตามภาคการบริโภคจะฟื้นตัวได้ดีขึ้นเมื่อตัวเลขผู้ติดเชื้อเริ่มผ่านจุดสูงสุดและผู้คนมีความคุ้นชินและเรียนรู้ที่จะอยู่กับไวรัสมากยิ่งขึ้นซึ่งอาจเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า

ราคาพลังงานโลกอาจพุ่งสูงขึ้นเมื่อจีนเปิดเมือง

ผลกระทบที่สำคัญของการหลังจีนเปิดเมือง คือ ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์จะเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับลดลงในช่วงที่ผ่านมาจากจุดสูงสุดแต่ราคายังค้างอยู่ในระดับที่สูงกว่าก่อนการระบาดโดยที่จีนยังไม่ได้เปิดเมืองด้วยซ้ำ วิกฤตราคาพลังงานสูงจากการตัดขาดอุปทานพลังงานจากรัสเซียที่ยังไม่สิ้นสุด การเปิดประเทศของจีนจะทำให้เกิดการนำเข้าน้ำมันในปริมาณที่เพิ่มขึ้นมากและจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบมีความเสี่ยงที่จะพุ่งสูงขึ้นอีกได้ในปีหน้า

ประเด็นที่น่ากังวลยิ่งกว่า คือ ราคาของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ผ่านกระบวนการกลั่นเรียบร้อยแล้วเช่น ราคาน้ำมันดีเซลอาจพุ่งสูงขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่าราคาน้ำมันดิบจากทั้งเรื่องน้ำมันสำรองของหลายประเทศที่ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำมากในปีนี้รวมไปถึงกำลังการกลั่นที่ฟื้นตัวได้ค่อนข้างช้าหลังโควิด แม้ว่ากำลังการกลั่นในจีนจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแต่หากจีนยังคงจำกัดการส่งออกปิโตรเลียมต่อไปในขณะที่จีนเริ่มเปิดเมืองจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาพลังงานอาจไม่ลดลงได้แม้เศรษฐกิจในภูมิภาคจะเริ่มชะลอตัวลง

การส่งออกของประเทศแถบเอเชียอาจยังชะลออยู่แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัว

หากจีนสามารถเปิดเศรษฐกิจได้เต็มที่จริงจะเป็นปัจจัยบวกต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะภาคการส่งออกโลกในแถบเอเชียที่มีการส่งออกสินค้าไปจีนติดลบในช่วงที่ผ่านมา โดยประเทศที่คาดว่าจะได้ประโยชน์คือ 1) ประเทศที่เป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ออสเตรเลีย 2) ประเทศที่มีการพึ่งพาภาคการบริโภคในจีนสูงได้แก่ ฮ่องกง 3) ประเทศที่มีสัดส่วนนักท่องเที่ยวจีนสูงได้แก่ ไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้

อย่างไรก็ตาม การที่อุปสงค์ในจีนกลับมาฟื้นตัวดีอีกครั้งไม่ได้แปลว่าภาคการส่งออกของไทยและประเทศอื่นๆจะขยายตัวได้ดีในช่วงปีหน้า เพราะในขณะที่จีนกำลังจะฟื้นตัว เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัวและอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยการส่งออกโดยรวมยังมีแนวโน้มชะลอตัวเนื่องจากอุปสงค์ที่มาจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยุโรปและสหราชอาณาจักรมีสัดส่วนรวมกันมากกว่าอุปสงค์ที่มาจากจีน

4 ความผันผวนที่จะสูงขึ้นในปี 2023

KKP Research ประเมินว่าแนวโน้มการเปิดเมืองของจีนในครั้งนี้จะเป็นปัจจัยที่จะสร้างความผันผวนต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติม โดยปัจจัยที่สำคัญในปีหน้า คือ

1) ความผันผวนต่ออัตราเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้ออาจเพิ่มขึ้นได้จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เร่งตัวขึ้นหลังการเปิดเมือง นอกจากนี้หากราคาพลังงานเร่งตัวขึ้น อาจเกิดการส่งผ่านต้นทุนพลังงานไปยังราคาสินค้าหมวดอื่นที่เพิ่มขึ้นมากกว่าในช่วงที่ผ่านมา เพราะ เงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงได้ถูกฝังเข้าไปในการคาดการณ์ของผู้ผลิต

2) ความผันผวนต่อสถานะทางการคลัง หากราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นโดยเฉพาะราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นจาก pent-up demand ในจีนที่จะทำให้ภาระต้นทุนของรัฐบาลในการพยุงกองทุนน้ำมันที่กำลังขาดทุนอยู่และตรึงราคาไว้ที่ 34.99 บาทต่อลิตรเพิ่มขึ้นเช่นกันซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีสูงขึ้นกว่าที่คาด

3) ความผันผวนต่อค่าเงินบาท ราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ที่พิ่มขึ้นจะทำให้มูลค่าการนำเข้าพลังงานของไทยเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ดุลการค้าขาดดุลมากขึ้นและกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง อย่างไรก็ตามปัจจัยบวกจาก

จีนที่จะมาช่วยพยุงการส่งออกไทยบางส่วนรวมไปถึงนักท่องเที่ยวจีนที่อาจจะกลับมามากกว่าที่หลายคนคาดในปีหน้าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมากขึ้น

4) ความผันผวนต่ออัตราดอกเบี้ย หากเงินเฟ้อค้างอยู่ในระดับสูงและได้รับแรงสนับสนุนจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดในสหรัฐ ฯ (Terminal Fed Fund Rate) สูงเกินกว่าที่ตลาดคาดที่ 5% ในช่วงกลางปีหน้า ในสถานการณ์นี้นโยบายการเงินไทยจะได้รับแรงกดดันให้ต้องปรับดอกเบี้ยสูงมากขึ้นจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยและสหรัฐฯ ที่กว้างขึ้น ในขณะที่ราคาพลังงานจะเป็นอีกความเสี่ยงสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อไทยค้างอยู่ในระดับที่สูงกว่ากรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย

เศรษฐกิจจีนหลังโควิดคือความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาว

เศรษฐกิจจีนอาจไม่กลับไปเติบโตแบบในอดีตจากความท้าท้ายหลายประการได้แก่ 1) จำนวนประชากรโดยรวมและประชากรวัยทำงานที่กำลังหดตัว 2) ปริมาณหนี้ขนาดใหญ่ที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน 3) ความเหลื่อมล้ำทางรายได้และการผูกขาดทางเศรษฐกิจ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัวลงในระยะยาวแม้ว่าในระยะสั้นอาจฟื้นตัวได้ดีหลังการเปิดเมือง ประเด็นที่สำคัญคือ หากเศรษฐกิจจีนไม่กลับไปเติบโตเหมือนในช่วงก่อนโควิด-19 ผลกระทบสืบเนื่องที่อาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจไทยคือ

1) อุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกเพื่อการลงทุนและภาคการบริโภคของจีนจะได้รับผลกระทบด้านลบสูงจากการชะลอตัวในระยะยาวของเศรษฐกิจจีน

2) FDI จากจีนบางส่วนที่มีความสำคัญโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างการค้าของไทยและจีนอาจชะลอตัวลง

3) จำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนมายังไทยอาจลดลงในระยะยาวและไม่กลับไปยังระดับ 11 ล้านคนก่อนที่การระบาดของโควิด-19 จะเกิดขึ้น

 Cr: ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ  KKP

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินภาคการท่องเที่ยวของไทยฟื้นตัวได้ดีกว่าที่คาดจากการเปิดประเทศที่ทำให้การเดินทางเข้าออกประเทศสะดวกมากขึ้น รวมถึงความต้องการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นเพื่อชดเชยจากการที่ถูกจำกัดไว้ก่อนหน้า (Pent Up Demand) ซึ่งส่งผลดีต่อฤดูกาลท่องเที่ยวสำคัญของไทยช่วงครึ่งหลัง 2565 โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2565 จะอยู่ที่ 9.5 ล้านคน จากอานิสงส์ตลาดนักท่องเที่ยวระยะใกล้ โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียน อินเดีย และตะวันออกกลาง สำหรับปี 2566 ประเมินว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะอยู่ที่ 18.5 ล้านคน หรือคิดเป็น 46% ของยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดการระบาดโควิด-19 และจะเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยปี 2566 ขยายตัวได้ 3.7%

ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติ 8 เดือนแรกของปีเฉียด 4.4 ล้านคน นำโดยตลาดท่องเที่ยวระยะใกล้

ภาพรวมการท่องเที่ยวทั่วโลกในปี 2565 มีสัญญาณฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จากการผ่อนคลายความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงและครอบคลุมขึ้น ทำให้หลายประเทศรวมทั้งไทยทยอยผ่อนคลายมาตรการการเดินทางระหว่างประเทศมาตั้งแต่ช่วงกลางปี ส่งผลให้ความต้องการท่องเที่ยวเพื่อชดเชยที่ถูกจำกัดไว้ก่อนหน้าจากนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนได้จากตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไปเยือนยังประเทศต่าง ๆ ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมตั้งแต่เดือนมกราคม - สิงหาคม สูงถึง 4.4 ล้านคน หรือคิดเป็นเกือบ 20% ของจำนวนนักท่องเที่ยวช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19

เป็นที่สังเกตว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติเยือนไทยในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มาจากประเทศที่ไม่ห่างไกลจากไทยมากนัก เห็นได้จากยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสม 8 เดือนแรก กว่า 1 ใน 3 เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีพรมแดนติดหรือใกล้กับไทย (เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และลาว) แน่นอนว่าส่วนหนึ่งมาจากการผ่อนคลายมาตรการเดินทางข้ามพรมแดนและการลดค่าธรรมเนียมเดินทางเข้าประเทศ ซึ่งส่งผลดีต่อการเดินทางเข้าออกผ่านด่านพรมแดนไทยทำได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ การรุกตลาดอินเดียผ่านเวที Roadshow เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมาเพื่อชดเชยความไม่แน่นอนในการเปิดประเทศของตลาดจีน รวมถึงการเปิดเส้นทางบินตรงครอบคลุมเมืองรองของอินเดีย ยังหนุนให้นักท่องเที่ยวอินเดียเข้าไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากเฉลี่ยเดือนละ 1-2 หมื่นคนช่วงต้นปี เป็น 1.1 แสนคน ส่งผลให้นักท่องเที่ยวอินเดียกลายเป็นกลุ่มที่ครองส่วนแบ่งตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงเป็นอันดับ 2 รองจากมาเลเซีย อีกทั้งตลาดตะวันออกกลางซึ่งเป็นกลุ่มมีกำลังซื้อสูงก็เติบโตได้อย่างโดดเด่น อาทิ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอิสราเอล หนุนการเติบโตในแง่ของรายรับจากการท่องเที่ยวอีกด้วย

ทั้งนี้ หากพิจารณาร่วมกับจำนวนเที่ยวบินพาณิชย์ขาเข้าระหว่างประเทศมายังท่าอากาศยานหลัก (สุวรรณภูมิและดอนเมือง) ก็พบว่า เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจาก 3,774 เที่ยวบินในเดือนมกราคม เป็น 7,659 เที่ยวบินในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา หรือราว 46.5% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 และคาดว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความต้องการเดินทางช่วงเทศกาลท่องเที่ยวปลายปี จึงเป็นไปได้ว่าจำนวนเที่ยวบินพาณิชย์ขาเข้าระหว่างประเทศจะแตะ 60% ได้ในช่วงสิ้นปีนี้

ttb analytics ประเมินนักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้ดีกว่าคาดที่ 9.5 ล้านคน มองปี 2566 อาจสูงถึง 18.5 ล้านคน

นับตั้งแต่ประกาศปลดล็อกเงื่อนไขให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยผ่านการยกเลิกระบบ Thailand Pass กลายเป็นแรงหนุนสำคัญให้ชาวต่างชาติสามารถเดินทางท่องเที่ยวในไทยสะดวกขึ้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวครึ่งหลังปี 2565 ซึ่งแม้ว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะส่งสัญญาณเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเช่นกัน แต่คาดว่าจะไม่กระทบตัวเลขนักท่องเที่ยวของไทยช่วงปลายปี เนื่องจากพฤติกรรมเที่ยวนอกประเทศภายหลังการเปิดประเทศส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากจุดหมายปลายทางระยะใกล้ (Short Haul Destination) ก่อนในปีนี้ และไทยก็ได้อานิสงส์จากกลุ่มที่มีแนวพรมแดนติดกัน รวมถึงอินเดีย และตะวันออกกลาง เช่นเดียวกับการเปิดประเทศของกลุ่มเอเชียแปซิฟิกที่โดยมากจะเป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศใกล้เคียงอย่างญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน และฮ่องกง

ดังนั้น ttb analytics จึงประเมินว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยช่วงครึ่งหลังปี 2565 จะอยู่ที่ 7.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากครึ่งปีแรกถึง 2.5 เท่า ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติตลอดทั้งปี 2565 อยู่ที่ 9.5 ล้านคน (จากประมาณการเดิมที่ 7 ล้านคน) สร้างรายได้ราว 4.6 แสนล้านบาท สำหรับปี 2566 คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะอยู่ที่ 18.5 ล้านคน หรือคิดเป็น 46% ของตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2562

อย่างไรก็ดี แม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สะท้อนผ่านข้อมูลการเคลื่อนที่ (Google Mobility Data) ในหมวดที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวได้เริ่มกลับมาเป็นปกติแล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ แต่ระดับการฟื้นตัวในภาพรวมยังคงต่ำกว่าก่อนสถานการณ์โควิด-19 อยู่มาก สะท้อนผ่านดัชนีผลผลิตภาคบริการ (Service Production Index) ในหมวดที่พักแรมและบริการด้านอาหารที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าก่อนวิกฤตราวครึ่งหนึ่ง เนื่องจากสถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศที่กลับมาคึกคักได้ในระยะหลังมีแรงหนุนสำคัญจากไทยเที่ยวไทยเป็นหลัก ทำให้ภาพรวมจังหวัดที่พึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงฟื้นตัวได้จำกัด สอดคล้องกับอัตราการเข้าพักแรม (Occupancy Rate) ของภาคใต้ที่เฉลี่ยอยู่ที่เพียง 40% เมื่อเทียบกับอัตราการเข้าพักแรมของภาคเหนือซึ่งพึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นหลักที่ 50%

ชี้ธุรกิจโรงแรมปี 2566 ยังเจอความท้าทายอีกมาก แนะปรับตัวเพื่อลดต้นทุน

แม้ธุรกิจโรงแรมที่พึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวไทยเป็นหลักมีแนวโน้มฟื้นตัวได้เร็วจากโมเมนตัมการท่องเที่ยวภายในประเทศ แต่ ttb analytics มองว่า ภาคการท่องเที่ยวของไทยจะสามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในช่วงปลายปี 2567 ทำให้ธุรกิจโรงแรมยังต้องเผชิญความท้าทายอีกมากในปี 2566 จากการที่นักท่องเที่ยวไทยที่มีกำลังซื้อสูงบางส่วนจะเริ่มออกเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น ขณะที่รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับมาใกล้เคียงกับก่อนสถานการณ์โควิด-19 ก็อาจต้องรอแรงส่งจากกลุ่มหลักอย่างนักท่องเที่ยวจีนที่คาดว่าจะกลับมาเยือนไทยได้เต็มที่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566

นอกจากนี้ อุปทาน (Supply) ห้องพักโดยรวมก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากอุปทานเดิมที่โรงแรมบางส่วนซึ่งประสบภาวะขาดทุนก่อนหน้านี้จะกลับมาดำเนินกิจการเต็มรูปแบบหลังท่องเที่ยวเริ่มฟื้น ทำให้ห้องพักใหม่ที่จะเข้ามาเพิ่มเติมจากการเปิดตัวโรงแรมของผู้ประกอบการขนาดใหญ่มากกว่า 20 แห่งในปี 2566 หลังจากที่ชะลอการเปิดออกไปในช่วงปิดประเทศ ท่ามกลางการแข่งขันด้านราคาของธุรกิจโรงแรมที่รุนแรงขึ้น เห็นได้จากราคาห้องพักเฉลี่ยทั้งประเทศในปัจจุบันที่ยังต่ำกว่าระดับก่อนสถานการณ์โควิด-19 ถึงกว่า 30% สวนทางกับต้นทุนค่าแรงและการดำเนินงานที่ปรับสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว

ฉะนั้น กลยุทธ์สำคัญของธุรกิจโรงแรมจึงหนีไม่พ้นเทรนด์การปรับตัวเพื่อตอบสนองพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป การนำเทคโนโลยีมาใช้และการหันมาเพิ่มช่องทางการขายออนไลน์มากขึ้น ตลอดจนการมุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ เพื่อลดต้นทุนทั้งในส่วนของต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรผันให้มีความคล่องตัวรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

X

Right Click

No right click