CIBA DPU จับมือ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในการบริหารจัดการโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพและอย่างยั่งยืน นำร่องใน 5 บริษัท 4  อุตสาหกรรม เป็นที่ปรึกษาช่วยผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง รองรับพฤติกรรมผู้บริโภคในรูปแบบการค้าตลาดอีคอมเมิร์ซ

ดร. รชฏ ขำบุญ คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี  (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์(DPU) เปิดเผยว่าเมื่อเร็วๆ นี้ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม  ได้มอบหมายให้ CIBA  จัดโครงการเสริมสร้างความสามารถการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าคงคลังเพื่อการค้าอิเล็กทรอนิกส์ และส่งเสริมศักยภาพองค์กรด้วยหลักการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ภายใต้กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ โดยได้มีการให้คำปรึกษา ช่วยผู้ประกอบการ ตลอดระยะเวลา 4 เดือน ซึ่งมีผู้เข้าร่วม 5 บริษัท ใน  4 อุตสาหกรรม ได้แก่อุตสาหกรรมยานยนต์ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลาสติก

“ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่างๆ จะมีการขายสินค้าเป็นล็อตใหญ่ๆ ให้แก่ห้างร้านใหญ่ ในลักษณะ B2B เพื่อส่งขายไปยังร้านขายปลีก แล้วจึงจำหน่ายให้กับผู้บริโภคต่อไป แต่ในปัจจุบัน เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาซื้อสินค้าผ่านแพล็ตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้องหันมาขายในแพล็ตฟอร์มนี้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นในลักษณะ B2C คือขายสินค้าในลักษณะขายปลีก แบบแยกชิ้น ให้กับลูกค้าแต่ละราย การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับกระบวนการหลังบ้าน ตั้งแต่ระบบจัดเก็บสินค้า ระบบแพ็คสินค้าและการขนส่ง ให้สอดคล้องกับโมเดลธุรกิจประเภทนี้ นอกเหนือจากนั้น การที่แพล็ตฟอร์มออนไลน์ มีโปรโมชั่นเช่น 11/11, 12/12 บริษัทก็จะต้องมีระบบการทำงานที่ดีที่รองรับความต้องการในปริมาณมากๆ ได้ เพื่อให้สามารถส่งมอบสินค้าได้อย่างรวดเร็ว มีคุณภาพ และในราคาที่เหมาะสมที่สุด”ดร.รชฏ กล่าว

 

นางนิสารัตน์ ศุภสวัสดิ์กุล ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมโลจิสติกส์องค์กร กองโลจิสติกส์ กล่าวถึงหัวใจหลักของการบริหารจัดการสินค้าคงคลังที่ดี คือ 1) การมีข้อมูลปริมาณสินค้าในคลังที่ถูกต้องแม่นยำ 2) การเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ไปสู่หน่วยงานอื่นๆ เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายขนส่ง ฝ่ายควบคุมคุณภาพ และทุกหน่วยงาน อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) การพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าที่แม่นยำ ปัจจัยทั้ง 3 นี้ จะเป็นพื้นฐานของการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง สำหรับการค้าในรูปแบบออนไลน์ ปัญหาที่ผ่านมาพบว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยังขาดการพัฒนาระบบการจัดการพื้นฐานเหล่านี้ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้บางครั้งไม่มีการจัดส่งสินค้าเพียงพอ ขาดสต็อก หรือบางครั้งของสต็อกมากเกินไป ทำให้ต้นทุนสูง ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ เพื่อที่จะทำให้การบริหารจัดการสินค้าคงคลังในรูปแบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยืดหยุ่น

นายธนรัตน์ บาลทิพย์ นักวิชาการ กองโลจิสติกส์ กล่าวเสริมว่า โครงการนี้ จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทราบจำนวนสินค้าที่คงเหลือและจัดการรายการสินค้าที่จะจำหน่ายในแพล็ตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และจัดส่งไปยังลูกค้าได้อย่างรวดเร็วทันเวลา และลดการตีกลับของสินค้า สร้างความน่าเชื่อถือ ผ่านการลดเวลาการดำเนินงาน และลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้ถึง 15%

ดร. รชฏ กล่าวต่อว่า เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการ จึงต้องส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีการบริหารจัดการสินค้าเพื่อการค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ดี โดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กร ประกอบด้วยกิจกรรม การจัดซื้อจัดหาสินค้า การจัดการสต็อก ทาง CIBA DPU ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการให้คำปรึกษา และความรู้ในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง และมีการติดตาม โดยตั้งทีมเข้าไปช่วยแนะนำ เครื่องมือพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า  เครื่องมือการจัดการข้อมูลสินค้าคงคลัง การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เพื่อแก้ปัญหาสินค้าคงคลัง ให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ

สำหรับกิจกรรมในโครงการนี้ มีบริษัทที่เข้าร่วมทั้งสิ้น 5 บริษัท ได้แก่ 1) บริษัท นิวสปอง จำกัด 2) บริษัท ศรีพิพัฒน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 3) บริษัท สยาม วอเตอร์ เฟลม จำกัด 4) บริษัท แสงรุ่งเรือง เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด และ 5) บริษัท เอื้ออารี ฟู้ดโปรดักท์ จำกัด โดยแต่ละบริษัทเลือกแนวทางและเครื่องมือในการปรับปรุงการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้บริหาร

การค้าอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ ต้องการการขับเคลื่อนด้วยระบบ “โลจิสติกส์” ที่มีประสิทธิภาพ และต้องย้ำอีกครั้งว่า โลจิสติกส์ ไม่ใช่เพียงเรื่องการขนส่ง แต่รวมไปถึงการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง  การจัดหาสินค้า กระบวนการผลิต การเก็บสต็อกสินค้าและบริการ รวมถึงการส่งมอบลูกค้า ดังนั้น เรื่องเหล่านี้ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ และการจัดทำฐานข้อมูลต่างๆ เพื่อมาวิเคราะห์ต่อเนื่อง เพื่อทำให้ระบบหลังร้านตอบโจทย์กับระบบหน้าร้านแบบอีคอมเมิร์ช หากผู้ประกอบการธุรกิจใดสนใจเข้าร่วมการอบรม หรือ เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน CIBA  DPU

นอกจากนี้ CIBA DPU ยังเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสอนโดยคณาจารย์ที่มีประสบการณ์ โดยเป็นที่ปรึกษาของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 100% ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่า บัณฑิตที่จบไปเป็นที่ต้องการของสถานประกอบการ ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://ciba.dpu.ac.th/program/bachelor/logistics/

หลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวที่เน้นการบริหารธุรกิจด้วยกฎหมายสำหรับผู้นำองค์กรชั้นนำ

จับมือพันธมิตรเสริมแกร่งทักษะ ‘ภาษา-บิสิเนส’ กุญแจสู่ความสำเร็จในอาชีพ

ช่วยลดปัญหาแรงงานลาออกเพื่อศึกษาต่อ เผยหลักสูตรยืดหยุ่น เรียนจบเร็ว พร้อมมีทุนการศึกษาจากภาคเอกชน

ปัจจุบันเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence)  ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว กว่าปีเศษที่มีการใช้งาน Generative AI อย่างแพร่หลาย ทั้ง Chat GPT (Generative Pre-trained Transformer) รวมทั้ง AI ตัวอื่นอย่าง Gemini (ชื่อเดิม Bard) Copilot และ AI ตัวอื่น ๆ ถูกนำมาเป็นตัวช่วยในการทำงานต่าง ๆ ให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันหลายองค์กรเริ่มลดกำลังคนและนำ AI มาแทนที่มนุษย์ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้และใช้งาน AI เพื่อให้สามารถปรับตัว อยู่ร่วมและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ได้อย่างเต็มที่

ผศ.ดร.ชัยพร เขมะภาตะพันธ์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า ปัจจุบันการทำงานของเทคโนโลยี AI มีความก้าวหน้าไปอย่างก้าวกระโดด มีการนำมาใช้งานในภาคส่วนต่าง ๆ มากมาย เราจะพบว่า AI มีความสามารถต่าง ๆ อย่างที่เราคาดไม่ถึงมากมาย เช่น การสร้างตัวตนเสมือน การวาดรูป การแต่งนิยาย การสร้างภาพวิดีโอ การแต่งเพลง การสร้างภาพสถาปัตยกรรม การสร้างผลงานทางศิลปะ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การแปลภาษา จึงเริ่มมีการนำ AI มาใช้งานต่าง ๆ ทั้งที่ซับซ้อนและไม่ซับซ้อนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ด้านการเกษตรที่นำ AI ช่วยดูแลฟาร์มทั้งระบบ หรือการใช้ AI มาช่วยนำเข้าข้อมูลโดยอัตโนมัติในสำนักงานต่าง ๆ  หรือ ด้านการเงินที่นำ AI ช่วยวิเคราะห์ซื้อขายสินทรัพย์ ด้านการธนาคารที่นำ AI มาประเมินการปล่อยกู้ หรือ ด้านสาธารณสุขที่ใช้ AI ในการวิเคราะห์โรค หรือ ด้านการขนส่งที่นำ AI มาขับเคลื่อนรถยนต์อัตโนมัติ เป็นต้น กล่าวได้ว่า AI สามารถเข้าไปอยู่ได้แทบจะทุกวงการรอบตัวเรา ดังนั้นเราจึงต้องปรับตัว อยู่ร่วมและเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี AI ที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตามการใช้ AI เสมือนเป็นดาบสองคม กล่าวคือ AI สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการทำงานได้ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงจากข้อมูลหรือผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจาก AI ก็อาจจะเรียนรู้ข้อมูลที่ผิดหรือไม่ถูกต้องหรือละเมิดมาได้ ดังนั้นเราต้องประมวลและตรวจสอบให้ได้ว่าผลลัพธ์ที่ได้จาก AI มีอะไรที่ไม่ถูกต้องและอย่างไร ซึ่งต้องอาศัย Core Knowledge ของเราเองนั่นเอง เพื่อให้สามารถใช้งาน AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพและนำหน้า AI เปรียบเสมือนว่าเราคุยเรื่องใดเรื่องหนึ่งกับใครสักคน แล้วเรารู้ว่าคนที่เรากำลังคุยด้วยกำลังให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง !!

“แน่นอนที่องค์กรต่าง ๆ ต้องเริ่มมีการใช้งาน AI เพิ่มมากขึ้น  ในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อเป้าหมายการให้บริการหรือผลประกอบการที่ดีขึ้น รวมทั้งการแข่งขันทางธุรกิจ แต่ AI ก็เป็นดาบสองคมเช่นกัน เช่น การสร้างข้อมูลลวง หรือ Deep fake หรือการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล หรือการสร้างผลงานด้วย AI โดยไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องและขัดเกลา รวมทั้งการคัดลอกผลงานหรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หรือการใช้ AI เพื่อส่งคำสั่งซื้อขายสินทรัพย์ต่าง ๆ จนผู้เล่นรายเล็กไม่เหลือรอด หรือการใช้ AI หาและใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ที่มีอยู่ หรือการส่งข้อมูลต่าง ๆ ที่ให้ลูกค้าโดยอัตโนมัติจาก AI โดยไม่มีการตรวจสอบ เป็นต้น ดังนั้นเพื่อป้องกันการใช้งานที่ไม่เหมาะสมหรือเสี่ยงต่อการคุกคามรวมทั้งเพื่อสร้างความปลอดภัย การมีกฎหมายเพื่อกำหนดกรอบหรือควบคุมการใช้งาน AI ให้อยู่ในกรอบที่ควรจะเป็น อะไรที่ไม่ควรให้ AI ทำงาน เป็นต้น ทั้งนี้ควรมุ่งเน้นแนวทางการใช้งานและผลลัพธ์ที่ถูกต้องเป็นเรื่องสำคัญ ภาครัฐรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตระหนักถึงเรื่องนี้”

ผศ.ดร.ชัยพร  กล่าวด้วยว่า เด็กยุคใหม่ควรเรียนรู้และใช้งาน AI ให้เป็นทักษะหนึ่งติดตัว เพื่อให้สั่งการ ใช้ประโยชน์ หรือเป็นผู้ตรวจสอบการทำงานของ AI ได้ ทั้งนี้ที่วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ หรือ CITE DPU ได้พยายามติดอาวุธให้นักศึกษา โดยอาจารย์ผู้สอนได้สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการใช้งานสั่งการหรือ prompt ตัว Generative AI ในทุกหลักสูตร เพื่อให้นักศึกษาใช้เป็น Soft Skill ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังมีการจัดอบรมอัพเดทการใช้งานสั่งการ Generative AI อาทิ การใช้ Chat GPT เป็นต้น แต่หากต้องการมุ่งเน้นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ก็สามารถเลือกเรียนหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ทั้งระดับ ปริญญาตรี-โท-เอก ที่มีเนื้อหา AI อยู่ในหลักสูตรแล้ว โดยในอนาคต CITE DPU ก็มีแผนพัฒนาหลักสูตรที่มีอยู่ให้สามารถสร้างและประยุกต์การใช้งาน AI ให้ลุ่มลึกมากยิ่งขึ้น โดยจะมีการแยกออกมาเป็นหลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ เพื่อรองรับสายอาชีพด้าน AI ต่อไป

“จากมุมมองของผู้ประกอบการในสายอาชีพวิศวกรรม หากเรามี Skill การใช้งานสั่งการ Generative AI ได้จะทำให้ได้เปรียบมากกว่าคนที่ทำงานด้วยวิธีเดิม ๆ ในการทำงาน ช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงาน แต่ก็มีข้อควรระวังและต้องใช้งานให้เป็น แต่หากเราไม่ปรับตัวเราก็อาจถูก AI แทนที่ได้” ผศ.ดร.ชัยพร กล่าวทิ้งท้าย

Page 1 of 7
X

Right Click

No right click