ช่วยลดปัญหาแรงงานลาออกเพื่อศึกษาต่อ เผยหลักสูตรยืดหยุ่น เรียนจบเร็ว พร้อมมีทุนการศึกษาจากภาคเอกชน

วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ร่วมกับ  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเวทีประชันคนรุ่นใหม่ “โครงการแข่งขันเกมจำลองบริหารธุรกิจนวัตกรรมและความยั่งยืน” ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีการศึกษา 2567 ครั้งที่ 2 จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ ปั้นคนรุ่นใหม่สู่สุดยอดนักกลยุทธ์ ติดอาวุธผู้ประกอบการในอนาคต เผยทีม Leppard โรงเรียนวารีเชียงใหม่คว้าแชมป์ไปครอง

ดร. รชฏ ขำบุญ คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในฐานะสถาบันการศึกษามุ่งมั่นในการพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้มีทักษะความเป็นผู้ประกอบการ และ ทักษะการตัดสินใจ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดแข่งขันเกมจำลองบริหารธุรกิจนวัตกรรมและความยั่งยืน ครั้งที่ 2 ในปีนี้ทางวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  (DPU) ได้ร่วมกับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัลแก่ทีมชนะเลิศ โดยการแข่งขันที่จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567  ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

โดย CIBA และกรมพัฒนาธุรกิจการค้าฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาเยาวชนของประเทศให้มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ โดยร่วมมือร่วมใจกันจัดงานวันนี้ เพื่อเป็นเวทีให้กับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา และอาชีวะศึกษา ได้ฝึกทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ผ่านโปรแกรม MonsoonSim

ดร. วรัญญู ศรีเชียงราย หัวหน้าหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) DPU และในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการฯ กล่าวว่า CIBA จัดเวทีแข่งขันเกมจำลองบริหารธุรกิจนวัตกรรมและความยั่งยืน ครั้งที่ 2 เป็นเวทีที่ชวนน้อง ๆ ม.4-6, ปวช. 1-3 หรือเทียบเท่า มาร่วมเปิดประสบการณ์การทำธุรกิจ และพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur)

ในปีนี้มีน้อง ๆ จากทั่วประเทศให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมการแข่งขันมากถึง 38 ทีม โดยแบ่งออกเป็นทีมละ 3 ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ใช้ทั้งความรู้ ความสามารถ ทักษะการคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจ การใช้เหตุผล และการทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นทักษะของการก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการในอนาคต ผ่านเกมจำลอง (Business Simulation) MonsoonSim ซึ่งเกมนี้เป็นการช่วยฝึกทักษะนักวางแผนโลกเสมือนที่สร้างความรู้ ความเข้าใจการดำเนินธุรกิจ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ

“เกมจำลองนี้สามารถนำธุรกิจในโลกปัจจุบันมาให้น้อง ๆ ได้ฝึกคิด วิเคราะห์ดาต้า และวางแผนได้อย่างดี ทำให้เกิดการเรียนรู้ในกระบวนการซัพพลายเชน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำ บริการต้นทุนอย่างไร และคู่แข่งขันเป็นใครบ้าง ซึ่งก็ได้ให้โจทย์ให้พัฒนาแผนกลยุทธ์เพื่อเจาะตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ดร. วรัญญู กล่าว

สำหรับการตัดสินใช้ตามเกณฑ์ชี้วัดทางธุรกิจ แบ่งเป็น Operation Expense, Space Utilization, Market Share, Revenue และ Net Profit โดยการแข่งขันเกม MonsoonSIM จะแบ่งเป็น 2 รอบ ๆ ละ 100 คะแนน  รวมเป็น 200 คะแนน

โดยรางวัลชนะเลิศในปีนี้ได้แก่ ทีม Leppard โรงเรียนวารีเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีการศึกษา 2567 ครั้งที่ 2, รองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม Blue Horizon โรงเรียนวารีเชียงใหม่, รองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม BualoyMhoogrob โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี , รองชนะเลิศอันดับ 3 ทีม We Bare Bears โรงเรียนราชวินิต บางเขน กรุงเทพฯ

ส่วนทีมที่ได้รับรางวัลชมเชยได้แก่ ทีม FWB (friend with business) โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต กรุงเทพฯ , ทีม LIPTON โรงเรียนเทพศิรินทร์ จ.นนทบุรี และ ทีม SB school โรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา จ.ชลบุรี

“การแข่งขันจัดขึ้นเป็นปีที่ 2 มีความตั้งใจให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้โลกธุรกิจก่อน โดยไม่ต้องรอจนกว่าจะเรียนจบแล้วออกไปทำงาน วันนี้ทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขันมีโอกาสใช้ทุกทักษะความรู้ด้านการตลาด การขาย และการบริหารจัดการต้นทุนสินค้าผ่านเกมจำลอง (Business Simulation) MonsoonSim ซึ่งเป็นการบ่มเพาะความรู้ก่อนที่น้อง ๆ ได้เข้าเรียนในระดับปริญญาตรี”  ดร. วรัญญู กล่าว

 ด้านทีม Leppard ที่คว้ารางวัลชนะเลิศ “โครงการแข่งขันเกมจำลองบริหารธุรกิจนวัตกรรมและความยั่งยืน” ครั้งที่ 2 ประกอบด้วย นายธนัท น่วมอนงค์ (จ๊อบ) , นายภูณภัฑฐ จูฑะพุทธิ (ภู) และ นายรอนนี่ นริศ สตุดวิค (รอนนี่)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง IDIP (International Digital Innovation Program จาก โรงเรียนวารีเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

โดยผู้ชนะจากทีม Leppard ทั้ง 3 คน ร่วมกล่าวเปิดใจว่า “รวมทีมและเตรียมความพร้อมกันประมาณ 1 เดือนก่อนวันแข่งขันจริง และ เมื่อการแข่งขันเริ่มต้นได้รับโจทย์ให้วางแผนการทำตลาดน้ำผลไม้ ทำตลาดในเอเชียก็เริ่มวางแผนกันในเกม พร้อมกับแบ่งหน้าที่กันทำงาน ได้แก่ การนำเข้าส่งออกสินค้า การกำหนดราคา และการตลาด จากนั้นก็ช่วยกันวิเคราะห์ และกำหนดกลยุทธ์ ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมอีเวนท์ การปรับราคาในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการเลือกใช้มีเดีย ซึ่งจุดแข็งของทีมที่สามารถชนะในปีนี้ได้นั้น คิดว่าเป็นการวางแผนเพื่อลดต้นทุนและการกำหนดราคา  รวมทั้งการสื่อสารในทีมที่ทำกันได้ดี ตั้งใจว่าจะนำประสบการณ์ที่ได้รับในการร่วมแข่งขันนี้ไปใช้กับการทำธุรกิจในอนาคต”

โครงการแข่งขันเกมจำลองบริหารธุรกิจนวัตกรรมและความยั่งยืน ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีการศึกษา 2567 เป็นอีกหนึ่งเวทีพัฒนาทักษะและแผนงานธุรกิจอย่างสร้างสรรค์ สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจยุคใหม่ที่ทุกคนต้องเตรียมพร้อมปรับตัวทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร

“การพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้มีทักษะการวางแผน วิเคราะห์ ตัดสินใจ และการสื่อสาร พร้อมรับกับความท้าทายใหม่ ๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี AI ที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากกับการทำธุรกิจในอนาคต ซึ่งเป็นแนวทางการเรียนการสอนของ CIBA ที่เปิดโอกาสของการเรียนรู้ และมีประสบการณ์จริงระหว่างการศึกษา เพื่อให้ได้ฝึกคิดกลยุทธ์ แล้วหาคำตอบผ่านเกมจำลอง เพื่อปูทางสู่การเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในอนาคต” ดร. วรัญญู กล่าวเสริมในตอนท้าย

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) โดยหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA)  หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต (MACC) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบัญชี (Ph.D. Accountancy) และหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (DBA) ร่วมกันจัดโครงการ CEO Talks ครั้งที่ 1 โดยได้รับเกียรติจาก คุณชาตยา สุพรรณพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Chief Engagement Officer (CEO)  บริษัท Food Passion จำกัด หรือ ที่รู้จักกันในนามของแบรนด์ Bar-B-Q Plaza มาร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนให้ความรู้และประสบการณ์ ดำเนินรายการโดย ดร.กุลบุตร โกเมนกุล อาจารย์ หัวหน้าหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงินการลงทุนและเทคโนโลยีทางการเงิน วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี DPU   ณ ห้องประชุม ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) โดยมีนักศึกษาระดับปริญญาโท – เอก และคณาจารย์เข้าร่วมฟังกว่า 200 คน

ผศ.ดร.ศิริเดช คำสุพรหม ผู้ช่วยรองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ได้กล่าวเปิดโครงการ โดยระบุถึงจุดประสงค์โครงการนี้ว่าเพื่อช่วยให้นักศึกษาฝึกฝนและพัฒนาทักษะในการบริหารองค์กร และเรียนรู้วิธีการเป็นผู้นำที่มีคุณภาพในองค์กร จาก CEO ตัวจริง   พร้อมเรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจและการดำเนินงานในสภาวะที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นทักษะสำคัญสำหรับผู้บริหารองค์กร

ในช่วงแรกของการเสวนา คุณชาตยา ได้อธิบายถึง ความแตกต่างระหว่าง Chief Executive Officer (CEO) และ Chief Engagement Officer (CEO)  ว่าตำแหน่ง Chief Engagement Officer (CEO) เป็นตำแหน่งที่ไม่ได้เป็นตำแหน่งที่มีในองค์กรทั่วไป แต่มักจะปรากฏในบริษัทหรือองค์กรที่มีการใส่ใจกับการสร้างความสัมพันธ์และความสัมพันธ์ขององค์กรกับกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนา และบริหารจัดการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและลูกค้า พนักงาน หรือสังคมอื่น ๆ เพื่อสร้างความสุข สร้างความพึงพอใจ และสนับสนุนการสร้างความร่วมมือ (Collaboration) ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของตำแหน่งนี้

สำหรับตำแหน่ง CEO หรือ Chief Executive Officer ที่รู้จักกันทั่วไปนั้น เป็นตำแหน่งสูงสุดในองค์กรหรือบริษัท มีความรับผิดชอบในการนำบริษัทและดำเนินธุรกิจองค์กรให้ประสบความสำเร็จ รวมถึงการกำหนดและดำเนินนโยบายกลยุทธ์ของบริษัท การบริหารจัดการทรัพยากรทางการเงิน เป็นผู้มีความรับผิดชอบสูงสุด มีอำนาจในการตัดสินใจสำคัญที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท และรายงานตรงของกรรมการบริษัท (Board of Directors) หรือผู้ถือหุ้นหลักของบริษัท

คุณชาตยา สุพรรณพงศ์  กล่าวต่อไปว่า  การเป็นผู้นำองค์กรที่ดี หรือ การจะเป็นนักบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จสามารถทำได้ด้วยการใช้กลยุทธ์ SML (Start with why, Mean it, Long-term Consideration) ซึ่งขยายความได้ดังนี้การเริ่มต้นด้วยที่ทำไม (Start with why) ใช้ในการสร้างความเข้าใจร่วมกัน และเริ่มจากการสื่อสารในทีมงาน ผู้ที่เกี่ยวข้องและนักลงทุน โดยการอธิบายให้เข้าใจถึงเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่อยากให้บริษัทหรือองค์กรบรรลุผลในระยะยาว นี่คือที่มาและแรงจูงใจที่นำพาการดำเนินธุรกิจ อันจะให้คำตอบว่า "ทำไมเราต้องทำสิ่งนี้" เพื่อจะช่วยให้ทุกคนเข้าใจและร่วมมือกันในการสร้างความสำเร็จ

Mean it (ลงมือทำอย่างไรต่อ) หลังจากที่กำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมาย ต้องแสดงให้เห็นว่าเราจริงจังในเรื่องนี้ ซึ่งก็คือ การดำเนินการตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ เพราะทุกคนดูทุกๆการตัดสินใจและกิจกรรมที่เราตัดสินใจลงมือทำมัน

Long-term Consideration (พิจารณาถึงผลลัพธ์ระยะยาว) คือการวางแผนและดำเนินธุรกิจควรมุ่งหวังแบบมองระยะยาว โดยต้องกำหนดยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานที่สนับสนุนเป้าหมายระยะยาวขององค์กร การคิดในแง่ระยะยาวช่วยให้มีการวางแผนและการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ

จากการปฏิบัติตามกลยุทธ์ SML แล้วนั้น จะช่วยให้การบริหารธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำไปสู่ความสำเร็จในระยะยาวได้ โดยการเริ่มต้นจากที่ทำไม (Start with why) เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน  และต้องแสดงให้เห็นว่าเราจริงจังในเรื่องนี้ด้วย ต่อด้วย Mean it (ลงมือทำอย่างไรต่อ) และ จบด้วยการยึดถือแผนระยะยาวเป็นหลักในการบริหารธุรกิจ (Long-term) เพื่อความยั่งยืนและความสำเร็จในอนาคต

สร้างมืออาชีพตอบโจทย์ตลาดแรงงาน พร้อมปั้น นศ. สู่ Influencer  สร้างรายได้ระหว่างเรียน

หลักสูตรเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ด้วยการนำนวัตกรรม-เทคโนโลยีสารสนเทศ ปรับใช้ในธุรกิจสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click