บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตอาหารทะเลรายใหญ่ของโลก และหนึ่งในผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋องที่ใหญ่ที่สุดของโลก ประกาศจุดยืนในการจัดหาวัตถุดิบจากเรือประมงที่มีการปฏิบัติที่ดีเพื่อปกป้องสัตว์น้ำจากปัญหาการจับติดสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย(bycatch)

ทั้งนี้ ไทยยูเนี่ยนได้อ้างอิงผลงานวิจัยขององค์กรการประมงเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Fisheries Partnership (SFP) ในเรื่องของความเสี่ยงต่อฉลาม นกและเต่าทะเล รวมถึงสัตว์ทะเลชนิดๆ อื่น จากการประมงที่ส่งวัตถุดิบให้กับบริษัท และผลการวิเคราะห์ของบริษัท Key Traceability ที่ตรวจสอบโครงการพัฒนาประมงทูน่าของไทยยูเนี่ยนและแหล่งประมงอื่นๆที่มีความเสี่ยงสูง

อดัม เบรนนัน ผู้อำนวยการกลุ่มด้านความยั่งยืน ของกลุ่มไทยยูเนี่ยน กล่าวว่า “ไทยยูเนี่ยนต้องการเพิ่มระดับความเข้มข้นของการทำงานของเราให้มากขึ้น เพื่อที่จะให้แน่ใจว่าจะได้วัตถุดิบจากเรือประมงที่หลีกเลี่ยงหรือลดละการจับติดสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย สืบเนื่องจากองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมหลายที่ได้ชี้ให้เห็นว่าโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการสูญเสียพันธุ์สัตว์น้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยรายงาน Sustainable Fisheries Partnership (SFP) ระบุว่าสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และถูกคุ้มครองในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนกลางมีปริมาณลดลงอย่างมาก”

เป็นที่ทราบกันดีว่า ไทยยูเนี่ยนเป็นผู้ผลิตและผู้จำหน่ายปลาทูน่าบรรจุกระป๋องภายใต้แบรนด์ต่าง ๆ ของบริษัท รวมถึงชิคเก้น ออฟ เดอะ ซี และจอห์น เวสต์ และในฐานะที่ไทยยูเนี่ยนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเวทีเสวนาในงาน ซีฟู้ด เอ็กซ์โป นอร์ธ อเมริกา ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคอเมริกาเหนือและที่สองของโลก บริษัทจึงประกาศเป้าหมายปี 2573 ของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของบริษัท ซึ่งต่อยอดจากความทุ่มเทตลอดระยะเวลา 7 ปี ที่ผ่านมา ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประมงว่า

· ภายในปี 2573 เรือประมงทุกลำต้องมีมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีเพื่อปกป้องสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และถูกคุ้มครอง

· ทำตามพันธกิจด้านปลาทูน่าของบริษัทที่ได้ประกาศไว้แล้วได้ให้ครบสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2568 ว่าเรือประมงทูน่าทุกลำจะต้องมีผู้สังเกตการณ์ (บุคคลหรือผ่านเครื่องมืออิเล็คทรอนิก) ซึ่งจะทำงานโดยตรงกับบริษัทคู่ค้าหรือผู้ให้บริการ

แคธริน โนวัค ผู้อำนวยการด้านการตลาดทั่วโลก องค์กร SFP กล่าวว่า “การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นภัยคุกคามต่อความยั่งยืนของการทำการประมง ไทยยูเนี่ยนได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมอาหารทะเลในการปกป้องสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และถูกคุ้มครอง โดยการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทาน และรับซื้อวัตถุดิบจากเรือประมงที่ตื่นตัวในการจัดการปัญหาการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย” รายงานล่าสุดโดยองค์กร SFP เกี่ยวกับผลกระทบของการจับปลาทูน่าเชิงพาณิชย์โดยใช้วิธีเบ็ดราว โดยใช้วิธีเบ็ดราว ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนกลางที่มีต่อสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และถูกคุ้มครอง พบว่า ธรรมชาติได้ถูกทำลายลงอย่างมากและประชากรสัตว์สายพันธุ์ต่างๆ ทั้งฉลาม นกและเต่าทะเลได้ลดลงกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ และพื้นที่นี้มีการทำประมงให้กับอุตสาหกรรมการผลิตทูน่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก ซึ่งส่วนใหญ่ส่งให้กับอเมริกาเหนือและญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นหน้าที่ผู้ซื้อทูน่าที่จะผลักดันให้เกิดการฟื้นฟูธรรมชาติและประชากรสัตว์น้ำที่เปราะบางเหล่านี้ให้กลับมาใหม่ โดยเฉพาะฉลามและนกทะเล ไทยยูเนี่ยนมีการตรวจสอบการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการคุ้มครองสัตว์ทะเลที่องค์กร SFP จัดขึ้น นับเป็นโครงการระดับสากล ที่เป็นความพยายามของภาคอุตสาหกรรมในการแก้ไขปัญหาสัตว์ทะเลหายากที่ถูกจับในการทำประมง ทางองค์กร SFP ได้พิจารณาและประเมินแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ไทยยูเนี่ยนใช้วัดความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของวัตถุดิบนั้น ๆ พร้อมทั้งเสนอมาตรการที่จะช่วยลดการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายให้ได้ผลมากที่สุด รายงานฉบับนี้ยังระบุว่า การประมงทูน่าโดยใช้วิธีเบ็ดราวนั้นก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อฉลาม นกทะเล และเต่าทะเล และแนะนำให้ปรับเปลี่ยนเครื่องมือประมงเพื่อลดปฏิสัมพันธ์ของสัตว์เหล่านี้ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะทำให้สัตว์เหล่านี้ตาย รายงานยังพบว่าการประมงในพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิกมีผู้สังเกตการณ์ไม่เพียงพอ สอดคล้องกับความตั้งใจของไทยยูเนี่ยนที่อยากให้มีผู้สังเกตการณ์ในการทำประมงทูน่า 100 เปอร์เซ็นต์ บริษัท Key Traceability มีการตรวจเรือประมงที่อยู่ในโครงการปรับปรุงการทำประมงของไทยยูเนี่ยนปฏิบัติตามมาตรการข้อปฏิบัติที่ดี เพื่อลดการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหรือไม่ ผลการประเมินพบว่าการประมงเหล่านี้ได้ลงบันทึกการจับปลาและการจัดการเกี่ยวกับสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และถูกคุ้มครอง และได้ทำตามหรือทำได้ดีกว่า ข้อแนะนำจากการประเมิน

คณะพาณิชย์ฯ ม.ธรรมศาสตร์ ฉายวิสัยทัศน์ การปั้นบุคลากรออกสู่ภาคธุรกิจ ต้องปรับตัวทุกทิศทางตามสถานการณ์โลกปัจจุบัน “สมาร์ทโฟน” และ “Internet of Things” จุดเปลี่ยนธุรกิจการศึกษาอนาคตเพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว สถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจจึงต้องเป็นผู้นำทางความคิดที่รู้เท่าทันต่อกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ

คณะพาณิชย์ฯ ม.ธรรมศาสตร์ ส่ง “ธรรมศาสตร์โมเดล”  คว้ารางวัล Silver Award ด้าน "Best Lifelong Learning Initiative 2021" จาก Association of MBAs (AMBA) องค์กรรับรองคุณภาพระดับสากลจากสหราชอาณาจักร สำหรับหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับบัณฑิตศึกษา และ Business Graduates Association (BGA) องค์กรรับรองคุณภาพระดับสากลของ Business School จากสหราชอาณาจักร  

ม.ธรรมศาสตร์เป็นสถาบันการศึกษาเพียงที่เดียวในไทยและอาเซียนที่ติด 1 ใน 6 ของผู้ท้าชิงรอบสุดท้าย คณะฯ ได้แสดงให้คณะกรรมการเห็นถึงการพลิกโฉมนวัตกรรมการเรียนการสอนที่แผ่ขยายประสิทธิผลไปมากกว่าเพียงแค่นักศึกษา แต่รวมไปถึงในระดับคณะ องค์กร และชุมชนภายนอก ช่วยส่งเสริมทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่ชุมชน เพื่อยกระดับอาชีพและคุณภาพชีวิตภายใต้แนวคิดของธรรมศาสตร์โมเดล และสิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้เราได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในผู้ชนะรางวัล Best Lifelong Learning Initiative ประจำปี 2021

ศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เปิดเผยว่า คณะพาณิชย์ฯ ส่งเสริมให้นักศึกษาและบัณฑิตนำความรู้ออกไปพัฒนา ขับเคลื่อนสังคมโลก หล่อเลี้ยงธุรกิจในทุกแขนง รวมไปถึงการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน เพื่อสร้าง impact ให้กับสังคมโลกอย่างทั่วถึงและยั่งยืน   ดังนั้นเราจึงได้จับมือกับธนาคารออมสิน และสมาคมเพื่อนชุมชน จังหวัดระยอง ร่วมกันสร้าง“ธรรมศาสตร์โมเดล” ขึ้นมาเพื่อเป็นแม่แบบและแนวทางในการยกระดับชีวิตของวิสาหกิจชุมชน โดยหัวใจสำคัญของโมเดลนี้คือการเรียนรู้ตลอดชีวิตและยั่งยืน แม้นักศึกษาจะจบโครงการไปแล้วชุมชนก็ยังต้องสามารถเลี้ยงตัวเองต่อไปได้  ปัจจุบัน เราได้ส่งนักศึกษาลงชุมชนมามากกว่า 170 โครงการแล้ว

“ผมภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ คณะพาณิชย์ฯ ม.ธรรมศาสตร์เป็นคณะแรกและคณะเดียวในไทยและภูมิภาคอาเซียนที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ  Silver Award ด้าน "Best Lifelong Learning Initiative 2021" จาก Association of MBAs (AMBA) องค์กรรับรองคุณภาพระดับสากลจากสหราชอาณาจักร สำหรับหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับบัณฑิตศึกษา และ Business Graduates Association (BGA) องค์กรรับรองคุณภาพระดับสากลจากสหราชอาณาจักร  ซึ่งเราได้รับการคัดเลือก ได้แสดงให้เห็นถึงการพลิกโฉมนวัตกรรมการเรียนการสอนที่แผ่ขยายประสิทธิผลไปมากกว่าเพียงแค่นักศึกษา แต่รวมไปถึงในระดับคณะ องค์กร และชุมชนภายนอกอีกด้วย” คณบดีกล่าว พร้อมเพิ่มเติมว่า

ตัว “ธรรมศาสตร์โมเดล” มีหัวใจหลัก 3 อย่าง ด้วยกัน หากปราศจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน 3 สิ่งนี้ ก็จะทำให้การพัฒนาชุมชนสะดุด ไม่ราบรื่น  ธรรมศาสตร์โมเดล เป็นหนึ่งในวิชาของโครงการ IBMP หรือหลักสูตร 5 ปี เราจะให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่มีความรู้ทักษะทางด้านธุรกิจและการบัญชีในระดับหนึ่งแล้วไปลงชุมชน โดยมีคณาจารย์เป็นที่ปรึกษาโครงการ  ส่วนนี้เองคือหัวใจส่วนแรก หรือก็คือทักษะความรู้จากนักศึกษาคณะพาณิชย์ นักศึกษาจะได้นำความรู้ในห้องเรียนไปประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง ลงมือแก้ปัญหาจริง โดยมีชุมชนเป็นโจทย์ที่ท้าทายของพวกเขา

หัวใจที่สองก็คือชุมชน หรือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น กล่าวคือทักษะและความชำนาญในด้านอาชีพ ตัวขุมชนเอง   ก็ต้องมีทักษะเชิงปฏิบัติที่พร้อมและทันสมัย ที่จะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างประสบผลสำเร็จเช่นกัน

และส่วนสุดท้าย ภาคอุตสาหกรรม คือการที่องค์กรภาคอุตสาหกรรมที่เป็นพันธมิตรกับคณะพาณิชย์ฯ จะได้นำความชำนาญและประสบการณ์ตรงในสายงานมาเผยแพร่และพัฒนาอาชีพให้กับชุมชน

 

โครงการที่เราส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลคือ วิสาหกิจชุมชนคลองน้ำหู ผ้าหมักน้ำนมข้าว จ.ระยอง โดยสินค้าของชุมชนเริ่มต้นจากผ้าไทยหมักน้ำนมข้าว และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ในระยะเวลา 6 เดือนที่นักศึกษาได้ลงชุมชน นักศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ การตลาด ด้านบัญชีและช่องทางการจัดจำหน่าย นักศึกษาได้เข้าไปสร้างแบรนด์และแตกไลน์ผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัยและกระเป๋าผ้าที่มีดีไซน์ที่ทันสมัยขึ้น เพื่อขยายฐานลูกค้าที่อายุน้อยลง รวมถึงสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายทางออนไลน์ และสอนชุมชนให้คำนวณต้นทุนและวางระบบบัญชี ที่น่าชื่นชมมาก ๆ ก็คือ ชุมชนได้มีการส่งหน้ากากผ้าไปขายที่เยอรมนี และฝรั่งเศส โดยถือว่าเป็นครั้งแรกของชุมชนที่มีการส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จับมือกับ SkillLane บริษัท Online Learning  Platform และ Digital Training Platform อันดับหนึ่งของประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงในความร่วมมือกันจัดทำหลักสูตรปริญญาโทออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ความรู้และทักษะของยุคดิจิทัล โดยจะเปิดเผยรายชื่ือหลักสูตรและรายละเอียดเพิ่มเติมในเดือนพฤษภาคม

การร่วมมือครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการขยายโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงองค์ความรู้ของโลกยุคใหม่โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นนักศึกษาภาคปกติของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้น ซึ่งจะเป็นการเรียนออนไลน์ 100% เรียนได้จากทุกที่ และตามเวลาที่สะดวก ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเพื่อเพิ่มพูนความรู้เพียงอย่างเดียว หรือจะเรียนเพื่อเก็บหน่วยกิตไปจนถึงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทได้เช่นเดียวกัน โดยผู้เรียนจะสามารถเก็บหน่วยกิตไว้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 8 หรือ 10 ปี 

รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ในโลกปัจจุบันที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธรรมศาสตร์ต้องกล้าที่จะสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนการศึกษาไทยไปข้างหน้าท่ามกลางความท้าทายใหม่ๆ เราเห็นความสำคัญในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเผยแพร่ความรู้ของคณาจารย์ธรรมศาสตร์และความเชี่ยวชาญของอาจารย์รับเชิญซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาอาชีพต่างๆ ไปสู่คนไทยในวงกว้าง

ทางธรรมศาสตร์มองว่าการร่วมมือกับ SkillLane เป็นโอกาสในการส่งเสริมความเท่าเทียมของการเข้าถึงการศึกษาเพราะการเรียนออนไลน์ช่วยลดอุปสรรคต่างๆ ในการเข้าถึงองค์ความรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอายุ สุขภาพ เวลา สถานะ หรือที่อยู่อาศัย”

รองศาสตราจารย์ ดรชาลี เจริญลาภนพรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ในการคิดหลักสูตร เราใช้วิธีการคิดแบบ Learner First เริ่มจากการทำความเข้าใจว่ากลุ่มผู้เรียนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้อะไรในการทำงานในยุคปัจจุบัน จากนั้นเราจึงสร้างเนื้อหา และสรรหาอาจารย์ที่เหมาะสมมาร่วมสร้างหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์ผู้เรียน วิชาส่วนใหญ่ในหลักสูตรจะเน้นเรื่องที่เป็น Practical Skills กล่าวคือสามารถนำไปประยุกต์ในการทำงาน เน้นความเข้าใจ สามารถนำไปคิดวิเคราะห์ ต่อยอด แทนที่จะเน้นการท่องจำ”

นายฐิติพงศ์ พิสิฐวุฒินันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ SkillLane กล่าวว่า “ทีมงาน SkillLane ทุกคนรู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจเป็นอย่างมาก ที่ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สร้างแนวทางใหม่ๆ ให้กับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย เราเชื่อมั่นว่าหลักสูตรปริญญาโทออนไลน์จะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย

จากการสำรวจของ SkillLane เราพบว่า มีคนไทยจำนวนมากที่คิดว่าองค์ความรู้ของการทำงานในยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยที่พวกเขาเรียนในสถาบันการศึกษาเมื่อหลายปีที่แล้ว เขามีความประสงค์ที่จะเรียนต่อเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของตัวเอง แต่ยังเข้าใจว่าการเรียนต่อต้องเรียนเต็มเวลาในเวลาปกติ ซึ่งต้องตัดสินใจว่าจะเรียนหรือทำงาน ทำให้เสียโอกาสในการเรียนรู้ ด้วยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane เขาเหล่านั้นจะสามารถเรียนทักษะของยุคดิจิทัลผ่านระบบออนไลน์ตามเวลาที่เขาสะดวก โดยที่สามารถทำงานควบคู่ไปได้”

X

Right Click

No right click