×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

นางสาวกชสร โตเจริญธนาผล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2024 กล่าวถึงแผนยุทธศาสตร์ภาครัฐที่ต้องการยกระดับให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าวเป็นแรงส่งสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปอาหารของไทย ซึ่งไทยมีข้อได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์อุตสาหกรรมอาหารที่ครบวงจรและครอบคลุมห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบ กระบวนการแปรรูป การบรรจุ จนส่งถึงมือผู้บริโภค แต่ทั้งหมดต้องถูกพัฒนาและสร้างมูลค่าให้สูงขึ้น ซึ่งการส่งออกอาหารไทยในปี 2567 คาดว่าจะมีมูลค่า 1.65 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.5% มีปัจจัยหนุนจากเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่ที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ภาคการบริการและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อเริ่มคลายตัวลง นับเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการที่ต้องผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมเทคโนโลยีการผลิตซึ่งเป็นหัวใจที่จะช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เป็นกุญแจความสำเร็จวันนี้ อาทิ การใช้ IoT (Internet of Things) มาช่วยติดตาม ตรวจสอบ ควบคุมกระบวนการผลิตภายในโรงงาน การใช้วัตถุดิบและพลังงาน ลดการสูญเสียในกระบวนการผลิต การพัฒนาเครื่องจักรและโรงงานอัตโนมัติ (Automation) เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robot) ช่วยลดความผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและจัดการ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีการบริหารจัดการเพื่อติดตามบันทึกข้อมูลการบริโภค และวิเคราะห์พัฒนาสินค้า การใช้ AI (Artificial Intelligence) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการควบคุมและปรับปรุงกระบวนการผลิตและการทำงาน ประมวลผล ช่วยตัดสินใจ รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพวัตถุดิบ สภาพแวดล้อมการผลิต ประสิทธิภาพเครื่องจักร จำลองกระบวนการผลิต ทดสอบ และปรับปรุงกระบวนการโดยไม่ต้องใช้ทรัพยากรจริง ฯลฯ ซึ่งผู้ประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาธุรกิจและการผลิตจะมีแต้มต่อในการบริหารจัดการลดต้นทุน ลดความเสี่ยง และเพิ่มความสามารถการแข่งขันได้อีกด้วย

งาน ProPak Asia นั้น มีส่วนช่วยสนับสนุนและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปอาหารของไทยให้ก้าวไปเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารของภูมิภาคอย่างเต็มที่ เพราะเป็นงานแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านกระบวนการผลิต การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ระดับเอเชีย ที่เชื่อมโยงและส่งเสริมการเข้าถึงความรู้ของผู้ประกอบการ ผ่านงานแสดงสินค้า โดยแนวคิดการจัดงาน ProPak Asia 2024 คือ ยกระดับความสำเร็จในกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนด้วย แนวคิด นวัตกรรม และ การลงทุน (Sustainably Empowering Processing & Packaging Success with Ideation, Innovation and Investment) เพื่อเป็นแรงกระตุ้น สร้างแรงบัลดาลใจ สร้างความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อต่อยอดให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

นายรังสรรค์ อ่วมมี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เกษตรภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด ธุรกิจเกษตรภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารให้ความเห็นว่า อุตสาหกรรมการผลิตและแปร

รูปอาหารเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจไทย และไทยมีศักยภาพในการผลิตอาหารที่เหมาะสม จากภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยและทรัพยากรทางการเกษตรที่เพียงพอ ซึ่งในปี 2567 แนวโน้มที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมฯ คือ การเน้นย้ำเรื่องความยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยผู้บริโภคต้องการผลิตภัณฑ์ที่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนั้นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ การวิเคราะห์ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังปฏิวัติกระบวนการผลิตทั้งหมด ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพ คุณภาพ และมาตรฐานความปลอดภัยที่ดีขึ้น ส่วนกฎระเบียบด้านความปลอดภัยอาหาร ห่วงโซ่อุปทานที่หยุดชะงัก และความผันผวนของตลาดยังคงเป็นสิ่งที่ต้องระวัง การปรับตัวรับความท้าทายเหล่านี้ ต้องมีกลยุทธ์ที่คล่องตัวและมีนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง

ธุรกิจเกษตรภัณฑ์เป็นบริษัทคนไทยที่มีประสบการณ์กว่า 50 ปี ให้บริการด้านวิศวกรรมอย่างครบวงจร ด้วยทีมงานวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญ ตั้งแต่การออกแบบ การก่อสร้าง การผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์พร้อมติดตั้ง การสรรหาเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนวิศวกรรมบริการหลังการขาย ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ และสัตว์เลี้ยง ระบบจัดเก็บและลำเลียงวัตถุดิบ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์และอุปกรณ์การเลี้ยง โรงงานแปรรูปอาหารและผลิตอาหารสำเร็จรูป รวมถึงการให้บริการด้านพลังงานทางเลือกและเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วย

ส่วนการร่วมงานกับ ProPak Asia นั้น ทางบริษัทฯ ได้เข้าร่วมต่อเนื่องมากว่า 7 ปี เนื่องจากเป็นงานที่เป็นศูนย์รวมของผู้ให้บริการสินค้าและเทคโนโลยีด้านการผลิตอาหารที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย ผลที่ได้รับเป็นประโยชน์ทั้งต่อลูกค้า คู่ค้า และบริษัทฯ เป็นการอัพเดทเทคโนโลยีการผลิตอาหารจากบริษัทและจากคู่ค้า ได้มีโอกาสในการเชื่อมโยงเครือข่ายสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่ต่อยอดความร่วมมือได้ในอนาคต มีโอกาสทำความรู้จักกับลูกค้ารายใหม่ เพื่อสร้างยอดขายได้ และยังสร้างการรับรู้ สร้างแบรนด์ แก่นักลงทุนได้ว่าธุรกิจเกษตรภัณฑ์มีความพร้อมในการให้บริการด้วยศักยภาพด้านวิศวกรรม โดยไฮไลท์ที่นำมาจัดแสดงในงานฯ ปีนี้ จะให้ความสำคัญกับสินค้าและเทคโนโลยีที่เน้นการเพิ่มศักยภาพการผลิต ลดต้นทุน เพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้แก่ลูกค้า มีการนำเสนอเครื่องจักรและเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติในกระบวนการแปรรูปและบรรจุอาหาร พร้อมบริการครบวงจรด้านวิศวกรรมที่ออกแบบและบริหารงานได้ตามต้องการ ทั้งการออกแบบ ก่อสร้าง เครื่องจักร เทคโนโลยี และงานระบบ ตลอดจนวิศวกรรมบริการหลังการขาย เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจถึงความพร้อมการให้บริการด้านวิศวกรรมสำหรับธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจรแห่งภูมิภาคเอเชีย

นายสุทธา มีสุข ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไฮเทค ฟู๊ด อีควิปเมนท์ จำกัด ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารจากต่างประเทศมีสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอาหารฮาลาล ผนวกกับแรงหนุนภาครัฐที่ส่งเสริมสินค้าอาหารของไทยให้ได้รับความนิยมในตลาดโลกและตลาดใหม่ๆ มากขึ้น จึงเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการไทยในการนำผลิตภัณฑ์ขยายสู่ตลาดนานาชาติ แต่การสร้างผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีต้องมีการพัฒนาเพิ่มมูลค่าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคด้วย โดยใช้การวิจัยพัฒนา นวัตกรรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในกระบวนการผลิต ลดข้อผิดพลาด สร้างความปลอดภัย ความสะอาด และยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้น

การดำเนินงานของบริษัทฯ ก็มีส่วนช่วยผู้ประกอบการด้วย เนื่องจากเป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องจักรอุตสาหกรรมทั้งอาหารคนและอาหารสัตว์ ครอบคลุมอุตสาหกรรมหลัก ทั้งสัตว์บก สัตว์ปีก อาหารทะเล เบเกอร์รี่ อาหารพร้อมทาน ผัก

ผลไม้ และ อาหารสัตว์ รวมถึงกระบวนการผลิต การเตรียม การขึ้นรูป การทำสุก และการบรรจุภัณฑ์ โดยมีพันธมิตรผู้ผลิตเครื่องจักรคุณภาพสูงจากทั่วโลก พร้อมบริการให้คำปรึกษาและการหา Solutions ที่เหมาะสมต่อความต้องการ หรือร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยผู้เชี่ยวชาญผู้ผลิตจากต่างประเทศ เช่น Butcher หรือ Food Technologist การให้บริการโปรแกรม PM (Preventive Maintenance) ฯลฯ ส่วนการร่วมจัดแสดงในงาน ProPak Asia 2024 นั้น เพราะเป็นงานใหญ่ระดับเอเชีย กลุ่มผู้เข้าชมงานเป็นผู้ประกอบการเป้าหมายตัวจริงที่ต้องการหาเครื่องจักรไปใช้ในธุรกิจ โดยในปีนี้ได้มีการเตรียมเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีทันสมัยล่าสุดเข้าร่วมจัดแสดงถึง 7 กลุ่มอุตสาหกรรม พร้อมสาธิตและทดสอบจริงอีกด้วย

งาน ProPak Asia 2024 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 15 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ผู้สนใจรายละเอียดการจัดงานและต้องการลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อเข้าชมงานฯ สามารถลงทะเบียนได้ที่ www.propakasia.com

สมาคมธนาคารไทย เผยข้อมูลกลโกงมิจฉาชีพใช้แอปฯ ดูดเงินสร้างความเสียหายต่อประชาชนเป็นมูลค่าราว 500 ล้านบาท แนะนำวิธีสังเกตและวิธีการตรวจสอบความผิดปกติ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ พร้อมร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อยกระดับมาตรการป้องกันภัยจากมิจฉาชีพ ทั้งการพัฒนาความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้สามารถปิดกั้นหรือลดผลกระทบได้อย่างทันท่วงที

นายยศ กิมสวัสดิ์ ประธานสำนักงานระบบการชำระเงิน สมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ปัจจุบันมิจฉาชีพหลอกลวงเอาเงินจากประชาชนแนบเนียนขึ้น และมีเทคนิคที่หลากหลาย ส่งผลให้มีผู้เสียหายจากการตกเป็นเหยื่อจำนวนมาก คิดเป็นมูลค่าความเสียหายราว 500 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สมาคมธนาคารไทยจึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ยกระดับมาตรการป้องกันภัยจากมิจฉาชีพเพื่อช่วยประชาชน โดย สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ True AIS DTAC และ NT ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียต่างๆ อย่าง LINE ได้ร่วมกันดำเนินการดังนี้

· ตรวจสอบปิดไลน์ปลอมของธนาคาร

· ควบคุมและจัดการ ชื่อผู้ส่ง SMS (SMS Sender) ปลอม

· ปิดกั้น URL ที่เป็นอันตราย

· หารือธนาคารสมาชิกพัฒนาระบบความปลอดภัยแชร์เทคนิคและแนวทางป้องกันภัยร่วมกัน เช่น พัฒนาการป้องกันและควบคุม Mobile Banking Application กรณีมือถือมีการเปิดใช้งาน Accessibility Service เพิ่มระบบการพิสูจน์ตัวตน (Authentication) ด้วย Biometrics Comparison

นอกจากนี้ หากร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีผลบังคับใช้ จะช่วยให้การดูแลช่วยเหลือประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพทำได้รวดเร็วขึ้น ระงับความเสียหายได้อย่างทันท่วงที สามารถบล็อกบัญชีต้องสงสัยได้ โดยไม่ต้องรอแจ้งความ

นายชัชวัฒน์ อัศวรักวงศ์ ประธานกรรมการ ศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT) กล่าวเพิ่มเติมว่า การหลอกลวงประชาชนให้ได้รับความเสียหายจากแอปฯ ดูดเงิน ส่วนใหญ่ดำเนินการใน 3 รูปแบบ ดังนี้

1. หลอกล่อด้วยรางวัลและความผิดปกติของบัญชีและภาษี โดย Call Center โทรมาหลอกด้วยสถานการณ์ที่ทำให้กังวล SMS เป็นการใช้ชื่อเหมือนหรือคล้ายหน่วยงานต่างๆ และ Social Media หลอกให้เงินรางวัลและเงินกู้ หรือโน้มน้าวชวนคุยหาคู่ และให้เพิ่ม (Add) บัญชีไลน์ปลอมของมิจฉาชีพ

2. หลอกให้ติดตั้งโปรแกรม หลอกขอข้อมูล และให้ทำตามขั้นตอนเพื่อติดตั้งแอปฯปลอม (ไฟล์ติดตั้งนามสกุล .apk) โดยใช้ความสามารถของ Accessibility Service ของระบบปฏิบัติการ Android ที่เมื่อแอปพลิเคชันใด ๆ ได้รับอนุญาตให้ทำงานภายใต้ Accessibility Service แล้ว จะสามารถเข้าถึงและควบคุมการสั่งงานมือถือแทนผู้ใช้งานได้ ฟังก์ชันนี้จึงเป็นกลไกหลักของมิจฉาชีพในการควบคุมมือถือของเหยื่อ

3. ควบคุมมือถือของเหยื่อและใช้ประโยชน์ ด้วยการใช้แอปฯปลอมเชื่อมต่อไปยังเครื่องของมิจฉาชีพ เพื่อเข้าควบคุมและสั่งการมือถือของเหยื่อ เพื่อโอนเงิน และขโมยข้อมูลต่าง ๆ โดยรูปแบบของแอปฯดูดเงินที่มิจฉาชีพใช้หลอกประชาชนมี 3 รูปแบบ คือ

1. หลอกให้เหยื่อติดตั้งแอปพลิเคชันจำพวกรีโมทจาก Play Store เช่น TeamViewer, AnyDesk เป็นต้น จากนั้นมิจฉาชีพจะรีโมทเข้ามาดูและควบคุมมือถือของเหยื่อเพื่อโอนเงินออกทันที (เกิดขึ้นมากในช่วงกลางปี 2565)

2. แอปพลิเคชันอันตราย (.apk) เมื่อติดตั้งแล้วจอมือถือของเหยื่อจะค้าง โจรจะรีโมทมาควบคุมมือถือของเหยื่อ และโอนเงินออกทันที เช่น แอปพลิเคชัน DSI, สรรพากร, Lion-Air, ไทยประกันชีวิต, กระทรวงพาณิชย์ (ยังคงเป็นรูปแบบที่มิจฉาชีพใช้มากที่สุด)

3. แอปพลิเคชันอันตราย (.apk) ที่ควบคุมมือถือของเหยื่อ รอประชาชนเผลอแล้วค่อยแอบโอนเงินออกภายหลัง เช่น แอปพลิเคชัน หาคู่ Bumble, Snapchat (ยังคงเป็นรูปแบบที่มิจฉาชีพใช้)”

 

นายกิตติ โฆษะวิสุทธิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT) แนะแนวทางการป้องกันภัยจากมิจฉาชีพว่า มีจุดสังเกตที่ต้องระวัง คือ

1. มิจฉาชีพจะแนะนำให้เหยื่อ Copy link ไปเปิดใน Chrome Browser เพื่อเข้าเว็บปลอม

2. ขณะทำการติดตั้งแอปพลิเคชันของมิจฉาชีพ มือถือจะขอสิทธิ์ในการติดตั้งแอปฯที่ไม่รู้จัก

3. มิจฉาชีพพยายามให้ตั้ง PIN หลายครั้ง หวังให้เหยื่อเผลอตั้ง PIN ซ้ำกับ PIN ที่ใช้เข้า Mobile Banking Application ของธนาคาร

4. หลอกให้เหยื่อเปิดสิทธิ์ การช่วยเหลือพิเศษ (Accessibility) โดยชวนคุยจนไม่ทันอ่านเนื้อหาที่ขึ้นมาเตือน

ทั้งนี้ ควรดาวน์โหลดแอปพลิเคชันผ่าน App Store หรือ Play Store เท่านั้น และไม่ควร Add LINE หรือช่องทาง Chat อื่น ๆ คุยกับคนแปลกหน้า

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการป้องกันภัยจากแอปฯดูดเงิน แนะนำให้ปฏิบัติ ดังนี้

1. ตรวจสอบมือถือว่าเปิดแอปพลิเคชันที่ทำงานภายใต้ Accessibility Service หรือไม่ โดยตรวจดูให้แน่ใจว่าเรารู้จักและทราบเหตุผลของการเปิดใช้งานทุกโปรแกรม หากไม่ทราบให้รีบปิด

2. เปิดใช้งาน Google Play Protect เพื่อตรวจสอบการติดตั้งแอปพลิเคชันอันตราย หากเจอให้ Uninstall ทันที

3. ติดตั้งแอปพลิเคชัน Endpoint Protection หรือ Antivirus บนมือถือเพื่อดักจับ และป้องกันแอปพลิเคชันอันตราย หรือมัลแวร์ต่างๆ

สำหรับผู้ที่หลงกลตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ให้รีบดำเนินการปิดเครื่องทันที ด้วยวิธีกด Force-Reset คือ

การกดปุ่ม Power และปุ่มลดเสียง พร้อมกันค้างไว้ 10-20 วินาที แต่ถ้าทำวิธีนี้ไม่สำเร็จ ให้ตัดการเชื่อมต่อของโทรศัพท์ด้วยการถอดซิมการ์ด ปิด Wi-Fi หลังจากนั้น ให้ติดต่อธนาคาร แจ้งความทันที

ทั้งนี้ รูปแบบกลโกงของมิจฉาชีพมีหลากหลายและมีวิธีการใหม่ๆ เสมอ ดังนั้น เพื่อให้ปลอดภัยจากกลโกงประชาชนควรพึงระลึกเสมอถึง 8 พฤติกรรมปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกมิจฉาชีพหลอกดังนี้

1. อุปกรณ์ปลอดภัย-ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือที่ไม่ปลอดภัยมาทำธุรกรรมทางการเงิน อาทิ เครื่องที่ถูกปลดล็อก (root/jailbreak) หรือใช้เครื่องที่มีระบบปฏิบัติการล้าสมัย และตั้งล็อกหน้าจอ

2. ตัวตนปลอดภัย-ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวในสื่อสาธารณะเกินความจำเป็น

3. รหัสปลอดภัย-ตั้งค่ารหัส (Password) ที่ไม่ง่ายเกินไป ไม่ซ้ำกับรหัสการใช้ทั่วไป และไม่บอกผู้อื่น

4. สื่อสารปลอดภัย-ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า และไม่แสดงตัวก่อน หากถูกถามให้ตรวจสอบคู่สนทนาให้แน่ชัด

5. เชื่อมต่อปลอดภัย-ไม่ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านสัญญาณ Wi-Fi สาธารณะ หรือฟรี

6. ดาวน์โหลดหรือติดตั้งโปรแกรมจากแหล่งที่ได้รับรองโดยผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการ (Official Store) เช่น Play Store หรือ App Store เท่านั้น โดยไม่คลิกจากลิงก์ และตรวจเช็กการอนุญาต หรือ Permission ของแอพปลิเคชันและสังเกตการขออนุญาตเข้าใช้งานอุปกรณ์หรือข้อมูลที่ไม่สัมพันธ์สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้งานและกับประเภทการทำงานของแอปพลิเคชัน

7. มีสติรอบคอบก่อนการทำธุรกรรมทุกครั้ง อ่านข้อความที่ขึ้นเตือนบนเครื่องโทรศัพท์มือถือให้ถี่ถ้วน ไม่คลิกลิงก์จาก SMS, Chat หรืออีเมลที่ถูกส่งมาจากแหล่งที่ไม่รู้จักหรือไม่น่าเชื่อถือ

8. ศึกษาและติดตามข่าวสารการใช้งานเทคโนโลยีเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยหมั่นตรวจเช็กการตั้งค่า ไม่ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก (Install Unknown Apps) และใช้งาน Antivirus Software

ติดตามข่าวสาร โดยสามารถศึกษาข้อมูลและแนวทางป้องกันกลโกงมิจฉาชีพได้ที่ Facebook: TB-CERT

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อุทิศองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี เพื่อสร้างประโยชน์แก่สังคมไทยอีกครั้ง ต่อยอดการพัฒนาโครงการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2.5 ปีที่ 2 ร่วมกับ การเคหะแห่งชาติ, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม, สภาวิศวกร, บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หลังจับมือ กสท โทรคมนาคมดำเนินการโครงการในปีแรกประสบความ สำเร็จเป็นไปตามเป้าหมาย มั่นใจสามารถนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาวิจัย วิเคราะห์หาสาเหตุ พร้อมเสนอแนวทางแก้ไขปัญหามลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในไทย หลังเริ่มทวีความรุนแรงถึงขั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพ

 

ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้ร่วมกับโครงการอาศรมความคิด อรุณ สรเทศน์ ณ ลานเกียร์ (เปิดโลกลานเกียร์) หลอมรวมศาสตร์และนวัตกรรมด้านวิศวกรรมเพื่อผลักดันประเทศไทยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยได้รับการสนับสนุนที่ดีเยี่ยมจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาอย่างต่อเนื่องในทุกครั้งที่ประเทศไทยและคนไทยต้องเผชิญภาวะวิกฤติ ครั้งนี้ก็เช่นกัน ปัญหามลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 นับวันยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทย ด้วยเหตุดังกล่าว คณะวิศวฯ จุฬาฯ จึงได้จัดตั้งคณะทำงานที่เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2.5 ที่เริ่มดำเนินการแล้วในปีที่ผ่านมา และมีประสิทธิภาพในการตรวจวัดสภาพอากาศและจัดเก็บข้อมูลเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งเป็นประโยชน์อยากมากในการศึกษาวิจัยเพื่อหาต้นตอสาเหตุปัญหา จึงได้เริ่มโครงการในระยะที่ 2 ภายใต้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เพื่อขยายการจัดเก็บข้อมูลสภาพอากาศให้ขยายวงกว้างยิ่งขึ้น ตลอดจนการพัฒนาแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์คอยให้คำแนะนำ สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่คนไทย เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงได้ง่าย แบบ ไร้ขีดจำกัด

 

“คณะวิศวฯ จุฬาฯ จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลสภาพอากาศ นำมาใช้ประโยชน์ด้านการวิจัย ผนึกพลังพันธมิตรเพิ่มพื้นที่การติดตั้งเซนเซอร์เพิ่มศักยภาพโครงการ วิเคราะห์ถึงผลกระทบ เสนอแนะแนวทางแก้ไข และพร้อมที่จะส่งมอบองค์ความรู้ต่างๆ แก่ภาครัฐ เพื่อนำไปใช้พัฒนากลยุทธ์แก้ปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก และประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ที่สำคัญต้องการนำองค์ความรู้ที่ได้มามอบให้แก่คนไทยเพื่อนำประโยชน์ดังกล่าวไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตในมิติต่างๆ สอดคล้องกับปณิธานในการดำเนินงานของคณะฯ CHULA INNOVATION ENGINEERING” ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล กล่าว

 

 

ทั้งนี้ เซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2.5 ที่พัฒนาขึ้นโดยคณะวิศวฯ จุฬาฯ สามารถตรวจวัดได้ทั้งฝุ่น PM 2.5, PM 10, อุณหภูมิ และความชื้น พร้อมทั้งคำนวณค่า AQI และแสดงผลผ่านทั้งหน้าจอเซนเซอร์และเว็บไซต์ www.sensorforall.eng.chula.ac.th เพื่อบ่งบอกระดับผลกระทบต่อสุขภาพ โดยความร่วมมือในโครงการนี้ จะมีการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2.5 ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑลในระยะแรกจำนวน 30 จุด และพร้อมเปิดรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ต้องการร่วมเป็นเครือข่ายในการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เพื่อหาแนวทางจัดการมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยข้อมูลจากเซนเซอร์ทุกจุดจะถูกนำมาประมวลร่วมกับข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลจุดความร้อน (Hot Spot) ข้อมูลการจราจร รวมไปถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์แหล่งกำเนิดของฝุ่น PM 2.5 และนำเสนอนโยบายสำหรับแก้ไขปัญหา PM 2.5 และร่วมสร้างสังคมสุขภาพดีให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

 

ด้านศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงแนวนโยบายของคณะฯ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแก่สังคมไทยว่า “ที่ผ่านมา คณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ในโครงการ CHULA MOOC รายวิชาเรื่องสิ่งแวดล้อมเรื่องของเรา What (Love) is in the air ขึ้น เพื่อรวมข้อมูลความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมไว้อย่างหลากหลาย และแน่นอนว่าข้อมูลเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ก็ถูกบรรจุอยู่ด้วยเช่นกัน ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาค้นคว้าศึกษาได้ด้วยตนเองโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ นอกจากนี้ คณะฯ ยังได้พัฒนาเว็บไซต์เพื่อรายงานสภาพอากาศในแต่ละจุดที่ติดตั้งเซนเซอร์ โดยสามารถเข้าไปชมข้อมูลได้ที่ www.sensorforall.eng.chula.ac.th การสร้างการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น จะช่วยให้คนไทยสามารถเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

X

Right Click

No right click