อลิอันซ์ เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ครองตำแหน่งแบรนด์ประกัน และบริษัทจัดการสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงสุด และมีสถานะแข็งแกร่งที่สุดอันดับ 1 ของโลก จากการจัดอันดับ Global 500 ของ Brand Finance ในขณะที่ยังคงเป็น แบรนด์อันดับที่ 28 ของแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงสุดของโลก เติบโตขึ้นถึง 15% นอกจากนั้น บริษัทฯยังได้รับการยกย่อง ในเรื่องการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และศักยภาพที่รวมธุรกิจทั้งลูกค้าขนาดกลาง และองค์กรขนาดใหญ่ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอลิอันซ์ ภายใต้ชื่อ Allianz Commercial ในปี 2023 ที่ผ่านมา เป็นสิ่งยืนยันถึงสถานะของแบรนด์ AA+ ที่แข็งแกร่งมาก อีกทั้ง อลิอันซ์ยังมุ่งเน้นเรื่องการสร้างการรับรู้ของแบรนด์ ผ่านการสนับสนุนด้านกีฬาและวัฒนธรรม โดยในปี 2024 นี้ กลุ่มอลิอันซ์เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการการโอลิมปิกและพาราลิมปิก เกมส์กีฬาอันยิ่งใหญ่ที่ทุกคนรอคอย ที่จะจัดขึ้นที่กรุงปารีสเร็วๆนี้

รายงานของ Allianz Risk Barometer ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลเชิงลึกของนักบริหารความเสี่ยงกว่า 3,000 คน ได้เปิดเผยความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของบริษัทในประเทศไทยในปี 2567 โดยชี้ให้เห็นว่า การหยุดชะงักทางธุรกิจ (อันดับ 1, 47%) และภัยพิบัติทางธรรมชาติ (อันดับ 1, 47%) ถือเป็นความเสี่ยงทางธุรกิจอันดับแรกในประเทศไทย ตามมาด้วยภัยทางไซเบอร์ (อันดับ 3, 33%) เช่น มัลแวร์เรียกค่าไถ่ การละเมิดข้อมูลและการหยุดชะงักด้านไอที ไฟไหม้และการระเบิด และเทคโนโลยีใหม่ เช่น ความเสี่ยงจากผลกระทบของ AI และรถยนตร์ไฟฟ้า เป็นความเสี่ยงที่อยู่ในอันดับ 4 และ 5

อย่างไรก็ตาม สำหรับทั่วโลกและในเอเชีย ความเสี่ยงสามอันดับแรกได้แก่ ภัยทางไซเบอร์ การหยุดชะงักทางธุรกิจ และภัยธรรมชาติ รองลงมา ได้แก่ ไฟไหม้และการระเบิด (เพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 8 เป็นอันดับที่ 4 เมื่อเทียบปีต่อปี) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ยังคงอยู่ที่อันดับที่ 5)

เปโตร ปาปานิโคเลา ซีอีโอ Allianz Commercial แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าวว่า “ความเสี่ยงที่สำคัญและปัญหาสำคัญที่อยู่ในอันดับสูงขึ้นใน Allianz Risk Barometer ประจำปีนี้ สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาใหญ่ที่บริษัทต่างๆ ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อมทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ไม่แน่นอน ความเสี่ยงเหล่านี้เข้ามาใกล้เราทุกทีแล้ว สภาพอากาศที่รุนแรง มัลแวร์เรียกค่าไถ่ และความขัดแย้งในภูมิภาค จะเป็นบททดสอบความสามารถในการฟื้นตัวของห่วงโซ่อุปทานและโมเดลธุรกิจในปี 2567 เอเย่นต์และลูกค้าของบริษัทประกันภัยควรคำนึงถึงปัญหาเหล่านี้และปรับความคุ้มครองให้สอดคล้อง”

บริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และธุรกิจขนาดเล็กต่างกังวลกับความเสี่ยงเหมือนกัน โดยส่วนใหญ่มักกังวลเกี่ยวกับภัยทางไซเบอร์ การหยุดชะงักของธุรกิจ และภัยธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่า ความสามารถในการฟื้นตัวของบริษัทขนาดใหญ่และขนาดเล็กแตกต่างกันมากขึ้น เนื่องจากองค์กรขนาดใหญ่ตระหนักถึงความเสี่ยงมากขึ้นตั้งแต่โควิด 19 โดยมีแรงผลักดันสำคัญที่จะพัฒนาความสามารถในการฟื้นตัว ในทางกลับกัน ธุรกิจขนาดเล็กมักจะไม่มีเวลาและขาดทรัพยากรในการค้นหาความเสี่ยงและเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ความเสี่ยงที่หลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจขนาดเล็กจึงใช้เวลานานกว่ากว่าจะฟื้นตัวหลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด

คริสเตียน แซนดริก กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคของ Allianz Commercial Asia กล่าวว่า “ภัยทางไซเบอร์ การหยุดชะงักทางธุรกิจ และภัยธรรมชาติยังคงเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของบริษัทในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือธุรกิจขนาดเล็ก บริษัทต่างๆ เผชิญกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจระดับโลกที่มีความผันผวนมากขึ้น ซึ่งตอกย้ำถึงความสำคัญของวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงที่แข็งแกร่ง รวมถึงมาตรการที่แข็งแกร่งในการรองรับและการประกันภัย ตัวอย่างเช่น บริษัทต่างๆ กำลังศึกษานโยบายข้ามชาติที่อำนวยความสะดวกสำหรับการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และสามารถช่วยลดความสูญเสียและความเสียหายให้เหลือน้อยที่สุด รวมถึงการเลือกใช้โซลูชันทางเลือกสำหรับถ่ายโอนความเสี่ยง เพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่ยากต่อการรับประกันในตลาดทั่วไป”

ความเสี่ยงอันดับต้นๆ ในประเทศไทย

ลาร์ส ไฮบุทสกี้ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงกำลังกลายเป็นเรื่องปกติใหม่ แผนการฟื้นตัวของห่วงโซ่อุปทานและความต่อเนื่องทางธุรกิจจึงต้องได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆ เพื่อให้ธุรกิจต่างๆ สามารถรับมือกับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวได้”

ประเทศไทยยังคงได้รับผลกระทบจากภัยทางธรรมชาติ น้ำท่วมในภาคใต้คร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมากและส่งผลกระทบต่อครัวเรือนนับหมื่น นับตั้งแต่น้ำท่วมซึ่งเริ่มขึ้นธันวาคมปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนกว่า 70,000 หลังคาเรือนในจังหวัดสตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส บริการรถไฟบางแห่งในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งติดกับมาเลเซียกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งหลังจากปิดไปหลายวัน เนื่องจากรางรถไฟทรุดตัว ช่วงฤดูฝนในประเทศไทยมักเกิดน้ำท่วมทุกวันเป็นเวลาหลายเดือน แต่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดโดยฝีมือมนุษย์อาจทำให้ฝนตกหนักมากขึ้น

การผลิตข้าวนอกฤดูกาลในเอเชียมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบ เนื่องจากปัญหาความแห้งแล้ง ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่ลดลง และผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิโญอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะทำให้ผลผลิตลดลงในช่วงต้นปี 2567 ทำให้อุปทานไม่เพียงพอ ส่งผลให้ราคาอาหารสูงขึ้น จากการวิเคราะห์ของผู้ค้าข้าวและนักวิเคราะห์ ประเทศไทยซึ่งผลิตข้าวมากเป็นอันดับ 2 ของโลก อาจจะผลิตข้าวนอกฤดูลดลงในไตรมาสแรก และคาดว่าจะมีการส่งออกข้าวน้อยลง

ลาร์ส แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) ว่า “การเร่งพัฒนา AI ในปี 2566 ช่วยให้เกิดโอกาสอย่างมากสำหรับธุรกิจต่างๆ และสังคมโดยทั่วไป ในขณะเดียวกัน ยังมีความกังวลเกี่ยวกับผลที่จะตามมาของเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ ซึ่งปัญหาหลายอย่างที่เรากังวลว่าจะเกิด ได้เกิดขึ้นจริงแล้วในอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องทำงานร่วมกันเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้ ศักยภาพของ AI ในการพลิกโฉมธุรกิจจะพัฒนาขึ้นไปอีก โดยจะสามารถเปลี่ยนแปลงทุกอุตสาหกรรมและทุกด้านของชีวิตตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ในฐานะเทคโนโลยีอเนกประสงค์”

เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ผลกระทบด้านความเสี่ยงจาก AI เป็นความเสี่ยงอันดับที่ 5 ของประเทศไทย สื่ออย่างบางกอกโพสต์รายงานว่า 72% ของผู้สำเร็จการศึกษาชาวไทยอาจตกงานเพราะ AI ภายในปี 2573 โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานธุรการและการจัดการสำนักงานทั่วไปที่ขาดทักษะเฉพาะด้าน นอกจากแผนที่จะมีการบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบด้าน AI แล้ว แนวทางสำคัญของยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้าน AI แห่งชาติของประเทศไทยที่เปิดตัวในปี 2565 ได้แก่ การปรับปรุงความสามารถด้านการศึกษาและกำลังคนที่เกี่ยวข้องกับ AI รายงานความคืบหน้าในเดือนสิงหาคม 2566 ให้ข้อมูลไว้ว่า รัฐบาลได้อนุมัติแผนการพัฒนาแรงงานที่มีทักษะด้าน AI แล้วเพื่อรองรับความต้องการที่หลากหลายของภาคอุตสาหกรรม

บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต นำทีมโดย โทมัส วิลสัน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร วิรงค์  พัฒนกำจร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบริหารตัวแทน พัชรา ทวีชัยวัฒนะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบริหารงานลูกค้า พร้อมด้วยผู้บริหารฝ่ายขายระดับสูง ร่วมเปิดงาน Agency Kick off 2024

ด้วยธีมโอลิมปิก สอดคล้องกับการที่กลุ่มอลิอันซ์ เป็นผู้สนับสนุนหลักกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกจนถึงปี 2028 ด้วยการจุดคบเพลิงเกียรติยศ ปลุกพลังตัวแทนกว่า 1200 คน อย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้กลยุทธ์ Faster, Higher, Stronger, For The Best รวดเร็วกว่า เหนือกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อความเป็นที่สุดในธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีวิทยากรผู้ที่ประสบความสำเร็จมาร่วมสร้างแรงบันดาลใจและแบ่งปันเคล็ดลับสู่เป้าหมาย โดยงานจัดขึ้น ณ ห้องภิรัชฮอลล์ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เมื่อเร็วๆนี้

อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัย ภายหลังควบรวมแล้วเสร็จ ส่งท้ายปี 2566

ฯพณฯ นุรักษ์ มาประณีต องคมนตรี(ที่สองจากขวา) ประธานมอบรางวัลเกียรติยศ ในงาน Business+ PRODUCT OF THE YEAR AWARDS 2023 รางวัลสินค้าและบริการยอดเยี่ยมแห่งปี 2023 ให้แก่ ชารอน ตัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประกันชีวิตและสุขภาพ บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต รางวัลกลุ่มผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง ประกันสุขภาพ ปลดล็อค ดับเบิล แคร์ (My  Health Plus Double Care) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปลดล็อคค่าใช้จ่ายในการรักษา ให้ความคุ้มครองตั้งแต่ 8-30 ล้านบาท และความคุ้มครองจะดับเบิลเป็น 2 เท่าหากได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคร้ายแรงในกลุ่มตามที่กรมธรรม์กำหนด ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและสอดรับกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้น โดยนิตยสาร Business+ ในเครือบริษัท เออาร์ไอพี จำกัด ร่วมกับวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล มอบให้เป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาสินค้าและบริการ ซึ่งถือเป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจและตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านประกันชีวิตและสุขภาพ โดยมี นายมินทร์ อิงค์ธเนศ(ขวา) ผู้ก่อตั้ง และนายมนู เลียวไพโรจน์(ซ้าย) ประธานกรรมการ บริษัท เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติถ่ายภาพ พิธีมอบรางวัลจัดขึ้น ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา

X

Right Click

No right click