หัวเว่ยจัดงานประจำปีอย่างยิ่งใหญ่ "ไทยแลนด์ พาร์ทเนอร์ ซัมมิต 2024" ภายใต้ธีม “ความร่วมมือเพื่อยุคแห่งการแบ่งปัน (Joining Hands for a Shared Era)” ตอกย้ำความเชื่อมั่นของเหล่าพาร์ทเนอร์ในการจับมือไปพร้อมกันในประเทศไทย พร้อมประกาศเร่งเครื่องตลาด HUAWEI eKit และกลยุทธ์เสริมความแข็งแกร่งในภาคอุตสาหกรรม สร้างแรงจูงใจให้พาร์ทเนอร์ เร่งความอัจฉริยะในภาคอุตสาหกรรมดึงเทคโนโลยีองค์กรขั้นสูง เสิร์ฟตลาดองค์กรในทุกระดับ

นายแชนด์ เฉิน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาและการจัดการพาร์ทเนอร์เอ็นเตอร์ไพรซ์ หัวเว่ย ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค กล่าวว่า “ข้อมูลจากบริษัทวิจัยการ์ทเนอร์ อิงค์ ระบุว่าปริมาณยอดการใช้จ่ายด้านไอทีทั่วโลกในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตขึ้น 6.8% และคาดว่ายอดการใช้จ่ายด้านไอทีในประเทศไทยจะมีมูลค่าทะลุ 1 ล้านล้านบาทเป็นครั้งแรก โดยจะมาจากกลุ่มธุรกิจบริการด้านไอทีซึ่งลงทุนเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการดำเนินงานในองค์กร ขณะเดียวกัน หัวเว่ยยังคงเดินหน้าทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มส์ที่มีความยั่งยืนและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเปลี่ยนผ่านสำหรับการก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยปัจจุบัน หัวเว่ยมีพาร์ทเนอร์ที่อยู่ในตลาดระดับองค์กรทั่วโลกกว่า 40,000 ราย สำหรับในไทย บริษัทยังได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากพาร์ทเนอร์สำคัญในอุตสาหกรรมไอซีทีทั้ง “วีเอสที อีซีเอส” และ “ซินเน็ค” ซึ่งช่วยผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลให้กับธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทย ทั้งนี้ หัวเว่ยมีผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมและล้ำหน้าในด้านการสื่อสารข้อมูล ออพติคัล พื้นที่จัดเก็บข้อมูล และเทคโนโลยีคลาวด์ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าของเราประสบความสําเร็จทางธุรกิจ และได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและยุคอัจฉริยะ โดยหัวเว่ยจะยังคงทํางานร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อเร่งขับเคลื่อนระบบอัจฉริยะในภาคอุตสาหกรรม และยังอํานวยความสะดวกในการพัฒนาระบบดิจิทัลและเศรษฐกิจอัจฉริยะให้กับลูกค้าในประเทศไทยอีกด้วย”

นายวิล ชิล รองประธานธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวเสริมว่า บริษัทจะเน้นในด้านการทำงานร่วมกันกับพาร์ทเนอร์ในทุกระดับ โดยการส่งเสริมทั้งการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงขั้นสูง เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและได้รับการไว้วางใจจากลูกค้าในการทำงาน รวมถึงสนับสนุนการทำกิจกรรมการตลาดร่วมกัน เพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับองค์กร นอกจากนี้ ในปีนี้หัวเว่ยยังจะเดินหน้าตามแผนการขยายตลาดใหม่ในกลุ่มองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลางขึ้นไป หลังได้มีการเปิดตัว "HUAWEI eKit" ซึ่งเป็นแบรนด์ย่อยที่มุ่งเน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ โซลูชัน และแพลตฟอร์มที่เหมาะกับการทำตลาดในกลุ่มเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ

"HUAWEI eKit เป็นอีกหนึ่งในแพลตฟอร์มสำคัญของเราที่จะช่วยสนับสนุนการทำงานของพาร์ทเนอร์ ในการเพิ่มโอกาสและช่องทางการนำเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งเรามีรากฐานที่แข็งแกร่งมากอยู่แล้วในตลาดองค์กรขนาดใหญ่ เป็นการเน้นกลุ่มผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่เหมาะสมมาประยุกต์และทำราคาในระดับที่ธุรกิจเล็กก็เข้าถึงได้และใช้งานได้ไม่ซับซ้อน ถือเป็นการช่วยผลักดันให้ภาคธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถเติบโตได้ดีมากขึ้นด้วยศักยภาพของเทคโนโลยีที่เทียบชั้นการใช้งานในองค์กรขนาดใหญ่ แต่จะมีราคาที่จับต้องได้และใช้งานได้ง่าย" นายชิลกล่าว

ด้านนายสมศักดิ์ เพ็ชรทวีพรเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดจำหน่ายสินค้าไอทีชั้นนำ เปิดเผยว่า ในปีนี้วีเอสทีได้เตรียมพร้อมทั้งผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และทีมงานพร้อมทั้งออฟฟิศจัดจำหน่าย 11 สาขาทั่วประเทศ เพื่อรองรับธุรกิจในกลุ่มคอมเมอร์เชียลและเอ็นเตอร์ไพรส์ที่เป็นธุรกิจฐานใหญ่ของบริษัท  การขยายตัวของตลาด และการเติบโตขององค์กรขนาดย่อมที่เป็นอีกหนึ่งตลาดใหญ่ในประเทศไทย

สำหรับอุตสาหกรรมไอซีที หัวเว่ยเป็นแบรนด์ระดับโลกที่ได้รับการยอมรับใช้งานอย่างแพร่หลายอันดับต้น ๆ และได้มีการทำงานร่วมกันกับบริษัทมาอย่างยาวนาน และล่าสุดบริษัทได้เข้าเป็นพาร์ทเนอร์หลักในการผลักดันตลาดดิสทริบิวชัน ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพมากในขณะนี้

"เราเป็นพาร์ทเนอร์กับหัวเว่ยมาอย่างยาวนาน ผ่านความท้าทายในธุรกิจมาหลายฤดูกาลกว่า 10 ปี และเราก็ยังมองเห็นสัญญาณที่ดียิ่งขึ้นในปีนี้ โดยหัวเว่ยก็ยังคงให้การสนับสนุนเราเป็นอย่างดีเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นในด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ การพัฒนาทักษะของทีมงาน รวมไปถึงแรงจูงใจในการขายต่าง ๆ จากการเป็นพาร์ทเนอร์ในการผลักดันผลิตภัณฑ์ HUAWEI eKit ทำให้เรามีเครื่องมือและสินค้าที่เหมาะกับธุรกิจรายย่อยมากขึ้น และน่าจะส่งเสริมแผนการเติบโตธุรกิจให้กับเราได้เป็นอย่างดี” นายสมศักดิ์กล่าว

ขณะที่นางสาวสุธิดา มงคลสุธี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สำหรับซินเน็คเองในปีนี้มีแผนที่จะเน้นบริหารจัดการกลุ่มสินค้าให้มีประสิทธิภาพ โดยเน้นไปที่สินค้ากลุ่มคอมเมอร์เชียลที่เติบโตต่อเนื่อง รวมถึงการทำงานร่วมกับผู้พัฒนาเทคโนโลยีอย่างเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งหัวเว่ยถือเป็นแบรนด์ที่เติบโตได้เป็นอย่างดีในกลุ่มสินค้าองค์กรสำหรับซินเน็ค และบริษัทก็จะยังเดินหน้าสร้างการเติบโตด้วยสินค้าและบริการที่ครบวงจร เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้ทุกกลุ่ม รวมถึงในระดับองค์กรด้วยเช่นกัน

“เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการทำงานร่วมกับหัวเว่ย และเติบโตไปพร้อมกับพาร์ทเนอร์คนสำคัญของเรา ซึ่งเทคโนโลยีที่ดี ประกอบกับบริการที่ดี จะเป็นแกนหลักในการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อการเติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน ภายใต้สโลแกน Trusted by Synnex ” นางสาวสุธิดากล่าว

หัวเว่ย ยึดมั่นที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาทางด้านดิจิทัลในประเทศไทย เป็นไปตามพันธกิจที่ว่า ‘เติบโตในประเทศไทย สนับสนุนประเทศไทย’ และ ‘นำทุกฝ่ายก้าวไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง’ โดยในอนาคต หัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าส่งมอบโซลูชันล้ำสมัยเพื่อช่วยส่งเสริมการเติบโต การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสร้างความได้เปรียบทางด้านการแข่งขันทางธุรกิจ รวมทั้งส่งเสริมการทำงานร่วมกันในระดับท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาเทคโนโลยีคลาวด์ และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และขับเคลื่อนให้ประเทศไทยได้เดินหน้าเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งอาเซียนในอนาคต

ร่วมสำรวจโอกาสการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก

หัวเว่ยจัดงาน Digital Sustainable University Day อัพเดทเทรนด์เทคโนโลยีและโซลูชันไฮไลต์เพื่อการเตรียมพร้อมโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสำหรับปรับตัวในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และลานนาคอม จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

นายวิลเลี่ยม จาง ประธานธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับภาคธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานด้านการศึกษา ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาในทุกๆด้าน และยังมีแนวโน้มที่จะมีพัฒนาการด้านความอัจฉริยะมากขึ้นทั้งการเรียน การสอน การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนถึงการจัดการระบบ ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

กิจกรรมการเรียนการสอนได้เปลี่ยนจากการใช้กระดานดำแบบดั้งเดิมมาเป็นเครื่องมือมัลติมีเดีย จากการเรียนรู้เริ่มทำได้ไร้ข้อจำกัด และจากการบรรยายแบบทางเดียวไปสู่การเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางมากขึ้นในฐานะผู้ให้บริการด้าน ICT ชั้นนํา หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะนําเครือข่ายแคมปัสอัจฉริยะ ศูนย์ข้อมูล การประมวลผลคลาวด์ ห้องเรียนอัจฉริยะ และเทคโนโลยีอื่น ๆ มาใช้ในการพัฒนาบุคลากรด้านนวัตกรรมในการศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา เร่งให้เกิดนวัตกรรมในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล

โดยจากการจัดอันดับของ QS World University Rankings มหาวิทยาลัยกว่า 30 แห่งจาก 100 อันดับแรกของโลกได้เลือกให้หัวเว่ยเป็นพันธมิตรในการนำเทคโนโลยีเข้าไปประยุกต์ใช้เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา ประสิทธิภาพในการวิจัย และความสามารถด้านนวัตกรรม

"การจัดงานเทคโนโลยีในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่เป็นงานด้านเทคโนโลยีแบบฮาร์ดคอร์เท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้พบปะกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับฟังสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการจริงๆ เพื่อพัฒนาความร่วมมือให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ซึ่งเป็นสถานที่สําหรับการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับแถวหน้าของโลก หากเราสามารถใช้ข้อได้เปรียบของเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสร้างคุณค่ามากมาย"

ในโอกาสนี้ยังได้จัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือในโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ (Huawei ICT Academy) เพื่อร่วมกันผลักดันการพัฒนาความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีขั้นสูง ตลอดจนเตรียมความพร้อมในเทคโนโลยีเฉพาะทาง เพื่อเป็นการบ่มเพาะบุคลากรในอนาคตให้มีทักษะความสามารถด้านดิจิทัลตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม

โดยผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมผ่านโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ จะได้รับประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพของหัวเว่ย ซึ่งเป็นการรับรองที่ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมระดับโลก อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสในการสมัครงานของนิสิตนักศึกษา รวมไปถึงโอกาสฝึกงานกับบริษัท หัวเว่ย ประเทศไทย ตลอดจนอาจได้เป็นพนักงานของหัวเว่ยหรือบริษัทในเครือพันธมิตร ซึ่งปัจจุบัน มีมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยเข้าร่วมในโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่แล้วมากกว่า 2,200 แห่งทั่วโลก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับหัวเว่ย ซึ่งก็ถือเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก เพื่อร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไม่ได้โฟกัสเพียงเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะของบุคลากรและนักศึกษา รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนสู่การเป็น CRRU Smart University อีกด้วย และเชื่อว่าความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล และเกิดประโยชน์แก่ทั้งนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร รวมถึงการให้บริการสังคมแก่พี่น้องประชาชนทุกคนอย่างแน่นอน”

ณ งาน Huawei Analyst Summit ครั้งที่ 21 นายอีริค สวี ประธานกรรมการบริหารแบบหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย ประกาศขอความร่วมมือในกลุ่มนักพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาเนทีฟ แอปฯ สำหรับระบบปฏิบัติการ HarmonyOS ของหัวเว่ย ว่า “เราสนับสนุนให้นักพัฒนาและเจ้าของธุรกิจแอปพลิเคชันในจีนเข้าร่วมอีโคซิสเต็มเนทีฟ แอปฯ ของระบบปฏิบัติการ HarmonyOS (แอปพลิเคชันที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนระบบปฏิบัตการ HarmonyOS โดยเฉพาะ) เพื่อผนึกกำลังมอบประสบการณ์เหนือระดับให้กับลูกค้า”

HarmonyOS คือระบบปฏิบัติการเจเนอเรชันใหม่ของหัวเว่ยที่ทำงานบนอุปกรณ์อัจฉริยะได้หลากหลาย อาทิ สมาร์ทโฟน, อุปกรณ์อัจฉริยะสำหรับสวมใส่, แท็บเล็ตและสมาร์ท ทีวี ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2566 ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS เป็นระบบปฏิบัติการหลักของอุปกรณ์อัจฉริยะมากกว่า 800 ล้านเครื่อง โดยข้อมูลจาก Counterpoint Research เผยว่า HarmonyOS มีส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกถึง 4% และมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 16% ในประเทศจีนในไตรมาสที่สี่ของปี พ.ศ. 2566

นายอีริค สวี กล่าวว่า การพัฒนาอีโคซิสเต็ม HarmonyOS ของหัวเว่ยรุดหน้าอย่างมาก ในปัจจุบัน แอปพลิเคชันจำนวนกว่า 4,000 แอปจากเป้าหมาย 5,000 แอปได้เข้าสู่กระบวนการพัฒนาเพื่อรองรับระบบปฏิบัติการ HarmonyOS โดยหัวเว่ยตั้งเป้าพัฒนาหนึ่งล้านแอปพลิเคชันให้รองรับการใช้งานบนอีโคซิสเต็ม HarmonyOS

นายอีริค สวี เผยว่า HarmonyOS มาพร้อมสถาปัตยกรรมแบบใหม่ เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเทคโนโลยี IoT ได้รับการออกแบบให้ตอบโจทย์การใช้งานบนอุปกรณ์ทุกประเภทตั้งแต่อุปกรณ์ IoT, โทรศัพท์เคลื่อนที่ ตลอดจนอุปกรณ์อัจฉริยะในบ้าน, แล็ปท็อป, และเดสก์ท็อป ตอบโจทย์การใช้งานแบบระบบปฏิบัติการเดียวกันสำหรับทุกอุปกรณ์

“ในอดีต เรามุ่งปรับการใช้งาน HarmonyOS สำหรับอุปกรณ์อัจฉริยะทุกประเภท โดยแอปพลิเคชันต่าง ๆ ยังคงใช้ อีโคซิสเต็มของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ในประเทศจีน ผู้ใช้สมาร์ทโฟนหัวเว่ย ใช้เวลา 99% ไปกับแอปพลิเคชันประมาณ 5,000 แอป ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2567 เราจึงตัดสินใจพัฒนาแอปเหล่านี้ให้รองรับ HarmonyOS เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการผสานการทำงานระหว่างอีโคซิสเต็มของระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชันเข้าด้วยกันอย่างแท้จริง” นายอีริค สวี กล่าว

“ในปี พ.ศ. 2567 หัวเว่ยมุ่งบรรลุเป้าหมายการสร้างอีโคซิสเต็มสำหรับเนทีฟ แอปฯ ของ HarmonyOS การผลักดันอีโคซิสเต็ม HarmonyOS นับเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ แต่เราได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลามจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมและจากนักพัฒนาแอปพลิเคชัน ในวันที่เรามีแอปพลิเคชันที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์จำนวน 5,000 แอป และแอปอื่น ๆ จำนวนหลายพันแอปที่ได้รับการพัฒนาให้รองรับการทำงานบน HarmonyOS เราจะบรรลุเป้าหมายการสร้าง HarmonyOS ให้เป็นระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์อัจฉริยะอันดับที่สามของโลก เพิ่มเติมจาก Apple iOS และ Google Android” นายอีริค สวี กล่าวย้ำ

แม้ว่าในช่วงแรก หัวเว่ยมุ่งใช้งานระบบ HarmonyOS เฉพาะประเทศจีน นายอีริค สวี เปิดเผยว่าบริษัทจะเดินหน้าขยายการใช้ระบบ HarmonyOS ในประเทศอื่น ๆ โดยใช้กลยุทธ์การขยายแบบรายประเทศ

สรุปรายงานประจำปี พ.ศ. 2566 ของหัวเว่ย จัดพิมพ์เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 เผยว่า หัวเว่ยทุ่มทุนบ่มเพาะบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอีโคซิสเต็ม HarmonyOS โดยนักพัฒนามากกว่า 380,000 ราย ได้รับการรับรองการทำงานบนระบบ HarmonyOS นอกจากนี้ หัวเว่ยได้ร่วมผลักดันโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและอุตสาหกรรมเพื่อร่วมพัฒนา HarmonyOS กว่า 150 โครงการ นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยมากกว่า 135 แห่งในประเทศจีนมีหลักสูตรการเรียนการสอนด้านระบบปฏิบัติการ HarmonyOS อีกด้วย

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 เคอร์เนลของระบบปฏิบัติการหงเหมิง (HongMeng) หรือ HarmonyOS ของหัวเว่ย ได้รับการรับรองการทดสอบและรับรองตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยระดับ 6 (Evaluation Assurance Level 6 Augmented - EAL6+) เป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรม จากมาตรฐานเกณฑ์การประเมินความปลอดภัยของข้อมูล Common Criteria for Information Technology Security Edging (CC) ซึ่งเป็นระดับความปลอดภัยสูงสุดของ เคอร์เนลของระบบปฏิบัติการเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป หัวเว่ยจึงเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อัจฉริยะรายแรกของโลกที่ได้รับการรับรองในสาขานี้

นายอีริค สวี ยอมรับว่าการสร้างอีโคซิสเต็ม HarmonyOS เป็นภารกิจที่ท้าทายอย่างยิ่ง “ดังที่คุณทราบแล้วว่าก่อนหน้านี้การพัฒนา HarmonyOS มิได้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์หลักของเรา แต่ในเมื่อเราตัดสินใจดำเนินกลยุทธ์นี้แล้ว เราจะมุ่งมั่นขับเคลื่อนเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุด”

Page 1 of 29
X

Right Click

No right click