ใกล้ฤดูเลือกตั้งแล้ว เราจึงได้ยินคำหวานบ่อยขึ้น จากผู้ปกครองและบรรดานักการเมืองที่คิดจะเข้ามาชิงหรือขอแชร์อำนาจในการปกครองกับเขาบ้าง

"รัฐบาลของเราต่อไปจะต้องเป็นรัฐบาลของประชาชน" หัวหน้าพรรคการเมืองหลายพรรค รวมทั้งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน พูดออกอากาศ ในความหมายคล้ายคลึงกันนี้

ยิ่งประเทศมุ่งผลักดันการผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้มีความเติบโตบนพื้นฐานการเล็งผลด้านเศรษฐกิจ เพื่อเป้าหมายการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้คนในประเทศให้อยู่ดีและมีสุขสภาวะแห่งความสุข แต่ยิ่งการผลิตยิ่งขยาย ตัวเลขรายได้ประชากรเพิ่ม ผลสืบเนื่องต่อมาอาจไม่ได้ให้คำตอบของเป้าหมายในปลายทางในด้านของการพัฒนาอย่างเป็นเอกฉันท์ 

ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นในระดับโลกที่ไม่อาจละวางไปจากสายตา ในขณะที่เราพยายามจะสร้างการพัฒนาด้วยการนำมาซึ่งเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้ดีขึ้น แต่ดูเหมือนในแต่ละก้าวของเราจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 

บนเวทีเสวนาในหัวข้อ “เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องของเรา” ซึ่งจัดขึ้นในวันสิ่งแวดล้อมไทย 4 ธันวาคม 2561 ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล มีการพูดคุยถึงประเด็นหลักในเรื่องการขับเคลื่อนประเทศไทยบนเส้นทางใหม่ด้วยยุทธศาสตร์ที่ 5

ภายใต้เป้าหมายหลักอย่างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีการนำเสนอมุมมองที่น่าสนใจจากหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการปลุกปั้นยุทธศาสตร์ที่ 5 ขึ้นมาเพื่อพัฒนาประเทศของเราให้ เติบโต สมดุล ยั่งยืน เป็นมิตรต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 5 : เติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เริ่มต้นด้วยภาพรวมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเสวนาได้เห็นภาพและเข้าใจหลักการของยุทธศาสตร์ที่ 5 โดย ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 5 ว่าด้วยการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้อธิบายในส่วนนี้ไว้ว่า “กระทรวงอุตสาหกรรมและสภาอุตสาหกรรมมีการทำ MOU เพื่อจะทำงานร่วมกันโดยมุ่งเป้าการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในประเทศ โดยยึดเอายุทธศาสตร์ชาติเป็นแกนหลักโดยมีการขอความร่วมมือจากหลายๆ ภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วม จนเป็นที่มาของ Factory 4.0 ซึ่งโครงการมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายอันประกอบไปด้วยเรื่องต่างๆ ได้แก่

  1. โรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการกระบวนการผลิต
  2. ชุมชนและ SMEs ที่ดูแลสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และการลงทุนต่างๆ
  3. ควบคุมเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเน้นให้โรงงานอุตสาหกรรมมีระบบที่ส่งผลลบต่อสิ่งแวดล้อมเท่ากับศูนย์ หรือ น้อยที่สุด
  4. ทรัพยากรบุคคล ให้ภาคการศึกษาเข้ามามีบทบาทในการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหรือจัดทำ Big Data เพื่อนำมาวิเคราะห์แล้วนำมาพัฒนาประเทศต่อไป

บนเวทีเสวนาได้หยิบประเด็นที่ประเทศไทยซึ่งกำลังพัฒนาไปข้างหน้าโดยมีบริบทแวดล้อมที่แตกต่างไปจากอดีต ซึ่งแบ่งได้เป็นสองมิติใหญ่ๆ คือ

เรื่องเทคโนโลยีซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับ Climate Change ที่อาจจะมีความรุนแรงมากขึ้นอีก ดังนั้น เราจึงจำเป็นจะต้องมียุทธศาสตร์มาเป็นตัวชี้เป้าว่าประเทศเราในอีก 20 ปีข้างหน้านั้นมีเป้าหมายอย่างไรในภาพกว้าง ระหว่างนั้นก็สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการได้ เพื่อให้การพัฒนาสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องในโลกที่มีความ uncertainty อย่างมาก”

อุตสาหกรรม แล การสร้างความเติบโต

ทั้งนี้ บนเวทีเสวนามีการกล่าวถึง ประเด็นเรื่องการเติบโต ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเรื่องนี้ อภิจิณ โชติกเสถียร รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ระบุถึงแนวนโยบายที่จะถูกนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศไทยควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้กล่าวบนเวทีว่า “หากมองย้อนกลับไปในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยของเรามีการพัฒนาจากประเทศยากจนขึ้นมาได้ แต่ช่วงระยะเวลา 50 ปีให้หลังมานี้ จะเห็นว่าเราติดอยู่ที่เดิม เนื่องจากเราพุ่งเป้าไปที่การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ในอนาคต เข็มทิศและแนวทางของการพัฒนาอุตสาหกรรม เราได้กำหนด motto หรือคติพจน์ว่า เติบโต สมดุล ยั่งยืน โดยมีวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ที่ 5 ที่จะถูกนำมาใช้ในการผลักดันให้ประเทศมีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมดีที่สุดในอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2580 โดยให้ความสำคัญกับ 6 ประเด็นหลัก บนหลักการ 3 สร้าง : 2 พัฒนา : 1 ยก

3 สร้าง : สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว สร้างความเติบโตในภาคทะเล และสร้างความเติบโตที่เป็นมิตรกับภูมิอากาศ

2 พัฒนา : พัฒนาพื้นที่การเกษตร อุตสาหกรรมและชุมชนให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาแหล่งทรัพยากรและพลังงาน และ

1 ยก : ยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกำหนดอนาคตประเทศไทย

ทั้งนี้กลยุทธ์สูตร 3:2:1 เหล่านี้จะตั้งอยู่บนเป้าหมายอยู่ 4 ข้อ คือ 1.การอนุรักษ์ไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ, สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมให้คนรุ่นหลัง 2.ฟื้นฟูผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นในอดีต 3.บริหารจัดการการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และ 4.สรรหาเครื่องมือและวิธีการใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนา

ในประเทศอื่นมีการวางยุทธศาสตร์ชาติมานานมากแล้ว อย่างในญี่ปุ่นอาจจะมียุทธศาสตร์ระยะยาวถึง 50 ปี เขาจึงสามารถพัฒนาประเทศขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่มีแหล่งทรัพยากรไม่มากและภูมิประเทศเป็นเกาะ ประเทศไทยจะถอยหลังไปแบบเดิมไม่ได้อีกแล้ว เราต้องก้าวไปข้างหน้า ในส่วนของผู้ประกอบการหรือภาคอุตสาหกรรมเองเราก็ต้องการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำเอาเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้โดยตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย เพื่อให้ประเทศก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางไปให้ได้ อย่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยสร้างและผลิตคนที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยพัฒนาประเทศในอนาคตได้ อภิจิน โชติกเสถียร รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : บนมิติความยั่งยืน

ผู้ทรงคุณวุฒิอีกท่านบนเวทีเสวนา ดร.อัษฎาพร ไกรพานนท์ ผู้ตรวจราชการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมบอกเล่าและแบ่งปันแง่มุมของเรื่องสิ่งแวดล้อมบนมิติของความยั่งยืน ว่า “กิจการใดๆ ก็แล้วแต่ไม่ว่าเราจะทำอะไรล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในสถานการณ์การพัฒนาประเทศไทยเราจากอดีตที่เราเริ่มต้นจากการเป็นประเทศเกษตรกรรม ทำให้เกิดผลกระทบแรกต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงพื้นที่ โดยมีการบุกรุกพื้นที่ป่า เป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง ต่อมาก็พัฒนาเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม มีกิจการหลายๆ ประเทศย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทย ซึ่งแม้จะมีการจำกัดเขตนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตเศรษฐกิจพิเศษไว้ในบางพื้นที่ก็ตาม แต่ก็ต้องยอมรับว่าในระยะแรกๆ เราเน้นไปที่เรื่องการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมากนัก ทำให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตามมาหลายอย่าง ทั้งมลพิษปริมาณมากส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชน ทั้งเรื่องแหล่งน้ำ และอีกหลายระลอกของผลกระทบต่อมา เมื่อภาคอุตสาหกรรมมีความเติบโต ก็ทำให้การเติบโตทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โตตามไปด้วย มีความแออัดจากการอพยพเข้ามาอยู่ในเมืองมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมคล้ายกับการทำการเกษตร นั่นคือสูญเสียพื้นที่บางส่วนไปเพื่อใช้ในการพัฒนา รวมถึงส่งผลในเรื่องมลพิษขยะและน้ำเสีย ดังนั้น สามส่วนนี้ต่างก็ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหมดแต่แตกต่างกันในเรื่องสัดส่วนและลักษณะของการพัฒนดำเนินงาน”

ดร.อัษฏาพร ยังได้เปิดเผยถึงแนวทางนโยบายเรื่องนี้ว่า “ จริงๆ เรามีนโยบายในการดูแลเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมานานแล้ว ซึ่งสืบเนื่องมาจากกระแสโลกในการประชุม Earth Summit 1992 (Rio) ซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องของผลกระทบจากการพัฒนาเมืองในด้านต่างๆ ต่อสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยได้มีการออกพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งมาดูแลในภาพรวม ต่อมาในปี พ.ศ.2545 ก็มีการตั้งกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมขึ้นมาโดยมีนโยบายในการดูแลเรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่อเนื่องมาโดยตลอด

ในเรื่องกฎหมาย ดร.อัษฎาพร ได้กล่าวถึงการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งเพิ่มเติมไปจากเดิมในประเด็นของผู้ประกอบการว่า จากนี้ไปหากกิจการหรือกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ ถ้าดำเนินการสร้างไปก่อนโดยไม่ทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กฎหมายจะบังคับปรับถึงวันละ 100,000 บาท

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ในมาตรา 7 ที่กำลังจะมีการแก้ไขโดยอนุญาตให้ประชาชนปลูกไม้มีค่าต่างๆ ในขอบเขต 58 ชนิด จะสามารถตัดขายหรือใช้เป็นหลักประกันกู้ยืมเงินได้ นอกจากนี้ยังมีการประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) โดยการมองภาพรวมทั้งพื้นที่เพิ่มเข้ามาด้วย

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ เรื่องนวัตกรรม ซึ่ง ดร.อัษฎาพร ได้แสดงความคิดต่อวงเสวนาว่า “ถ้าเราสามารถสร้างนวัตกรรมได้เองที่สามารถนำมาใช้พัฒนา Circular Economy และ Bio Economy ก็จะทำให้เราสามารถยืนหยัดได้ด้วยขาของเราเองอย่างยั่งยืนได้”

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม : สามประสานภาครัฐ เอกชน และประชาชน

ลดาวัลย์ คำภา อดีตรองเลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 5 เปิดประเด็นบนเวทีอภิปรายว่า

การที่เราจะบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้นั้น ไม่ใช่แค่อาศัยการทำงานจากภาครัฐแต่เพียงเท่านั้น ต้องมีการร่วมมือกันทั้งภาคเอกชนและประชาชนด้วย กล่าวง่ายๆ คือ การดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของเราทุกคน

นอกเหนือไปจากการบรรยายให้รายละเอียดของแผนและนโยบายต่างๆ ของงานยุทธศาสตร์ชาติซึ่งถือเป็นแผนหลักของประเทศอันดับหนึ่ง โดยมีแผนสองคือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมถึงแผนปฏิรูป แผนแม่บทและแผนเรื่องความมั่นคง ส่วนแผนสามคือแผนของหน่วยกระทรวงต่างๆ ซึ่งจะต้องมีการทำงานที่สอดคล้องกันทั้งหมด หากหน่วยงานไหนดำเนินการไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันอาจมีบทลงโทษและถูกฟ้องร้องได้ ภายใต้แผนทั้งหมดยังมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชนเพื่อนำมาปรับ เพราะต้องมีความร่วมมือระหว่างประชาชนและภาคเอกชนด้วยถึงจะทำให้ทำงานสำเร็จตามที่ตั้งเป้าเอาไว้

ลดาวัลย์ คำภา ได้กล่าวถึงเป้าหมายของความสำเร็จของยุทธศาสตร์ชาติ ที่กำหนดไว้ 4 ประเด็นสำคัญด้วยกัน คือ

1.สาระในยุทธศาสตร์ชาติต้องเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์จริงๆ

2.กลไกปฏิบัติ ในเบื้องต้นจะเริ่มจากภาครัฐ แล้วค่อยขยายไปภาคประชาชน

3.กฎหมาย ต้องมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัย

4.เป็นที่ยอมรับของสังคม โดยให้ทุกคนตระหนักและการยอมรับเป้าหมายร่วมกัน

ภายใต้การทำยุทธศาสตร์ทั้งหมด 6 ด้าน แบ่งเป็นแผนแม่บททั้งหมด 23 แผน โดยครอบคลุมเรื่องการเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การพัฒนาเมือง ระบบขนส่ง ค่านิยมวัฒนธรรม การสร้างความสุขและการบริหารจัดการ ซึ่งแผนที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ชาติโดยตรงคือแผนแม่บทที่ 18 และ 19 ซึ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งหมดล้วนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก “ ในอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศของเรามีแนวโน้มเข้าสู่ Aging Society อย่างรวดเร็วกว่าในประเทศอื่นๆ เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญซึ่งอยู่ในยุทธศาสตร์ที่ 5 เช่นกัน นั่นคือ การปรับกระบวนทัศน์ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ในอดีตถ้าเราขับรถไปต่างจังหวัดอาจจะเห็นคนทิ้งขยะตามข้างถนนค่อนข้างเยอะ บางทีไปสร้างความเดือดร้อนให้รถคันอื่นบนท้องถนน ดังนั้น การปรับทัศนคติต่อเรื่องเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมีจิตสำนึกร่วมกัน เราต้องเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วย” คือคำกล่าวของ ลดาวัลย์ คำภา บนเวทีเสวนา เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องของเรา อีกหนึ่งเวทีที่เริ่มขับเคลื่อนการก้าวไปข้างหน้าบนแนวทางของยุทธศาสตร์ด้านที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ


เรื่อง บรรณาธิการ

ภาพ ภัทรวรรธน์ พงษ์บริพันธ์

Prida Tangtrongchit, a director of the Thai Traditional Medicine at Wat PhraChettuphon Wimon Mangkhalaram (Wat Pho), an expert and a highly-respected pharmacist in the Traditional Thai Medicine (TTM), had indicated there are only 126-128 listed species in the Thai’s Ancient Medicine Textbook and there is an awful lot more of kingdom of plants and animals’ species that has yet to be discovered.

‘Traditional Thai Medicine (TTM)’ is focused on ‘natural therapy’ where body and mind function in harmony. Disharmony between the two will bring a distress to the body and that will cause ailments’, said Prida. All in all, the different ingredients from ‘Traditional Thai Medicine’ are meant to bring a harmony to the body’s elements inherent from mother’s earth’s sources: earth, water, wind, fire. These four elements must be kept in balance and it is the basis for Thai traditional healing.

Also, there are three basic ways to classify medicinal herbs: those taken internally, applied externally, and inhaled. Many, though, fall under two or even all three of these classifications. Herbal drugs can have from two to as many as 40 different ingredients, which are also classified by species and medicinal attributes.

Prida also explained that Thai herbal medicine can be effectively used to build and enhance our immune system since it is nature-derived. And we can prove it through gene sequencing.

‘To eat well, to sleep well and to digest well will bring a harmony to life’, explained Dr. Prida.

‘Moreover, a harmony thus means that we (human and diseases) must live together in peace and will not trespass against each other. This is the way of the nature.

“And since nature is the creator of all things, she will always prevail”, said Prida.

Traditional Thai Medicine based its merits on ‘taste and flavor’ as having the healing properties through human’s sense, and where medicine be rendered in a variety forms of pill, dose, tablet, ointment, capsule, poultices, suppositories. Thai Traditional Medicine can also be used in forms of solutions by drinking teas, tonics, alcoholic macerates.

Thai cuisine has been famous for its flavors (as mentioned earlier that its merits on ‘taste and flavor’ as having the healing properties through human’s sense), is also known for its healing properties.

There are four basic flavors in Thai cooking—hot, salty, sweet, and sour. Restaurant or food street in Thailand are equipped with seasonings on the table while customers enjoy putting these seasonings from a little jar-pot of chilly, salt, sugar and lime to season their food according to their preferred tastes. Characteristic ingredients are fragrant lemon grass and lime leaves, hot spicy chilly, fish sauce and aromatic herbs. The different spices and herbal ingredients are meant to achieve a harmony of the body’s elements, serving as a proactive, a preventive and curative approach to heal symptoms and ailments.

For example: 1) A disharmony of the earth element may manifest as a disease of the organs, bones or muscles. 2) A disharmony of the water element may show symptoms such as urniary trouble, blood or lymph disease. 3) A disharmony of the air element may show as respiratory problems like bronchitis, dizziness, stiffness, arhtiritis. 4) A disharmony of the fire element may cause heart problems.

Thailand is located in the region known as ‘Indochina’ where it received medicinal knowledge from ancient countries from India and from China. From India, the ‘Ayurveda’ a combination discipline between arts and sciences, is based on maintaining a balanced flow of energy through meridians in the body also including the use of massage and herbal remedies. The Chinese has brought treatments like acupressure and acupuncture, as well a plethora of animal and herbal concoctions. Again, Chinese medicine and its treatments are based on the creation of harmony in human’s body (as Ying-Yang is the case in point).

Prida also said that Chinese medicine has undergone a rapid development after China became the ‘People’s Republic of China’ in 1949 due to the lack of access to world’s medicine after China closed its door to the world. China was pressured to invent new drugs to treat her people thus a research and development for Chinese medicine was heavily invested by the Chinese government to that effect.

Ancient Thailand must also have already been concocting Thai herbal remedies for healing. And through trial and error and through serendipity, ancient people in Thailand have found and learned the usefulness of herbal and animal properties to be used for healing ailments. Later on the settled farmers would systematically, through the obtained knowledge, begin to grow plant in their gardens for specific herbs and species. Thai Traditional Medicine thus has begun with ethno-practices having been performed by local healers, shamans, and midwives onwards. All in all, the practices have always been based on a holistic approach that focus on creating a ‘harmony’ from the four elements inherent from the Mother Earth’s sources (earth, water, wind, fire).

Prida said furthermore that traditional Thai medicine knows how to perform herbal concoctions to make active ingredients. Different species of herbs can also significantly be interchanged to make active ingredients.

As mentioned earlier, traditional Thai medicine recognizes herbal properties on the merits of taste or flavor since it is a primary consideration by flavor or taste that the healing properties of herbs are determined. Depending on its flavor or taste, herbs can increase a particular element and decrease others. Different tastes are as follows:

However, as it has mentioned earlier that Thai’s herbal medicine often places an emphasis on flavor and taste, the characteristic of these have somehow stalled a development of Thai herbs to move up to a higher stage.

We tend to lack the insight to really appreciate their undiscovered properties. ‘The lack to get to the insights of our herbal properties has created problems when ailments in our body have become drug-resistant, we need to look and study much more on this’, said Prida.

Last but not least, Prida quotes the famous saying from Shivago Komarpaj, the Ayurvedic practitioner who treated the Lord Buddha and is considered the father of Thai traditional medicine, ‘All plants are medicine’.

And as we have mentioned earlier that Thailand possess about 8-10% of micro-organisms of the entire world’s micro-organisms which creating kingdom of plants and animals, it is not an overstatement to say that Thailand’s biodiversity is the mother of all asset classes!.

ดร.สุดาพร สาวม่วง คณบดี คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (Faculty of Administration and Management) เข้ารับรางวัล Education Thailand Leaderships Awards 2019 จาก World Federation of Academic and Education Institue เมื่อเร็วๆนี้ ที่ โรงแรมแอททินี สุขุมวิท


ในงานมอบรางวัลครั้งนี้มีมหาวิทยาลัยไทยได้รับรางวัล 2 แห่ง คือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ มหาวิทยาลัยมหิดล

บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) (บล.ภัทร) บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรสนับสนุนพลังทางความคิดและความเป็นผู้นำของเยาวชน ด้วยการสนับสนุนผู้แทนเยาวชนไทยเข้าร่วมงาน APEC Voices of the Future การประชุมผู้นำเยาวชนเอเปค ที่เมืองพอร์ตมอร์สบี ที่เมืองปาปัวนิกินี ซึ่งจัดในช่วงวันที่12-18 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา คู่ขนานไปกับการประชุม APEC 2018 โดยเชิญผู้แทนเยาวชนและนักการศึกษาจาก 21 เขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปคเข้าร่วม ในปีนี้มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 80 คน จาก 14 เขตเศรษฐกิจ ผู้แทนเยาวชนไทย 5 คน  หัวข้อหลักสำหรับงานในปีนี้คือ การสร้างโอกาสในการลดความเหลื่อมล้ำในยุคดิจิตอล (Harnessing Inclusive Opportunities, Embracing the Digital Future)

ตัวแทนเยาวชนจากแต่ละเขตเศรษฐกิจได้ออกมานำเสนอในประเด็นบทบาทของเยาวชนในเขตเศรษฐกิจของตัวเองตามหลักหัวข้องาน สำหรับเยาวชนไทยได้ยกประเด็นความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรไทยซึ่งตัวแทนเยาวชนไทยระบุว่าเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำมากที่สุดในกลุ่มประเทศไทย นอกจากเข้าร่วมอภิปรายในระดับผู้นำเยาวชนแล้ว ผู้แทนเยาวชนไทยยังได้เข้าร่วมการประชุม APEC CEO Summit 2018 ในปีนี้กี่กล่าวสุนทรพจน์ของผู้นำระดับประเทศทั้งประธานาธิบดีสี จิ้น ผิง สาธารณรัฐประชาชนจีน รองประธานาธิบดี ไมค์ เพนซ์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และ นายกรัฐมนตรีมาหาเธร์ โมฮัมหมัด ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น ซึ่งการกล่าวสุนทรพจน์โดยผู้นำจีนและสหรัฐ ต่างก็ได้รับความสนใจจากเข้าผู้ร่วมประชุมเป็นอย่างมาก เนื่องจากความตึงเครียดทางด้านการค้าระหว่างสองประเทศเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโลก

นอกจากประเด็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจเยาวชนขตเศรษฐกิจต่างๆ ยังได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนในเชิงวัฒธรรม ในส่วนของประเทศเจ้าภาพปาปัวนิวกินี ซึ่งมีชนเผ่าต่างๆ ถึงกว่า 1,000 เผ่า และมีภาษาที่ใช้กว่า 800 ภาษา ได้มีการจัดการแสดงวัฒธรรมจากบางชนเผ่าและการออกร้านค้าพื้นเมืองและสินค้าอื่นๆจากผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เยาวชนไทยยังได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับเยาวชนในประเทศอื่นด้วยการแต่งชุดไทยโบราณ นำเสนอเพลงไทยร่วมสมัย และแลกเปลี่ยนของที่ระลึกที่สะท้อนศิลปะและวัฒนธรรมไทย

นอกจากนั้นงาน APEC CEO Summit 2018 ยังเปิดโอกาสให้เยาวชนได้พบปะกับผู้บริหารของบิษัทเอกชนแบะองค์กรภาคธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟฟิก ซึ่งเปิดโอกาสให้เยาวชนได้รับฟังมุมมองและวิสัยทัศน์ของผู้บริหารชั้นสูงจากบริษัทชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟฟิก เยาวชนไทยได้พปะกับประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและเลชาธิการสมาคมธนาคารไทยซึ่งได้ให้เกียรติอธิบายแนวคิดเป้าหมาย และกระบวนการการทำงานขององค์กรการภาคธุรกิจที่เป็นสมาชิกของ APEC Business Advisory Council (ABAC) ในการส่งเสริมการร่วมมือทางการค้าและการลงทุน

สำหรับโครงการนี้ประเทศไทยได้ส่งตัวแทนเยาวชนเข้าร่วมมา 6ปีแล้ว บล.ภัทรได้ให้การสนับสนุนเป็นปีแรกและเล็งเห็นประโยชน์ที่เยาวชนจะได้จากการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในเวทีระกับโลกเพื่อนำกลับมาต่อยอดในการทำงานและเป็นกำลังสำคัญร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอนาคต แนวคิดการทำงานที่ทางภัทรได้ให้กับน้องเยาวชน สอดคล้องกับแนวคิด Philosophy of Wealth ซึ่งเป็นหลักการทำงานที่ภัทรใช้ในธุรกิจความมั่งคั่ง หรือ Wealth Management การบริหารความมั่งคั่งไม่ได้เป็นแค่เพียงการเพิ่มพูนมูลค่าของเงินลงทุน แต่ต้องเสริมสร้างด้วยมิติของปรัชญาที่ผูกโยงอยู่กับ วิธีการทำงานที่ต้องใช้ทั้งเวลา ความรู้ และความเข้าใจ เพื่อสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่า ปัจจุบันภัทรเองก็มีโปรแกรม internship ซึ่งเป็นโปรแกรมการฝึกงานที่เน้นให้ผู้ฝึกงาน ได้เอาความรู้ในห้องเรียนมาทดลองงานในสนามจริง ไปพร้อมๆ กับเรียนรู้แนวทางการทำงานบนปรัชญาแห่งการเรียนรู้และเพาะบ่มประสบการณ์

ครั้งแรกในไทยกับการจับมือระหว่างสองบริษัทใหญ่ของประเทศ ดีแทคและอีริคสัน ร่วมมือกันนำ 5G Ready Massive MIMO 64T6R ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่จะใช้เทคโนโลยีนี้บนเครือข่าย 4G TTD โดยเมื่อวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา ทางบริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) ร่วมมือกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค  พันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการดีแทค เทอร์โบ นำเทคโนโลยี 5G-Ready Massive MIMO บนเครือข่าย 4G TDD ที่โรมมิ่งบนคลื่นความถี่ 2300 MHz ของทีโอทีมาทดลองใช้งานครั้งแรกในประเทศไทย

ทางสองบริษัทได้เผยว่าการนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาใช้นั้นเป็นนวัตกรรมด้านการอุปกรณ์สื่อสารของอีริคสันที่ไม่ใช่แค่ยกระดับประสบการณ์ใช้งานดาต้าในวันนี้ แต่ยังพร้อมรองรับเทคโนโลยี 5G บนบริการดีแทค เทอร์โบได้ในอนาคต ทางดีแทคเองก็ได้เผยถึงแผนการในอนาคตที่จะขยายการให้บริการกับลูกค้าบนเครือค่ายดีแทค เทอร์โบ ด้วยการเร่งขยายเสาสัญญาณคลื่น 2300 MHz แล้วยังนำ Massive MIMO 64R64R ที่เหนือกว่าในการรับส่งสัญญาณดาต้ามาให้ลูกค้าได้ใช้งานจริง ซึ่งจะทำให้การใช้งานดาต้าในพื้นที่ที่ผู้ใช้บริการหนาแน่นมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น และยังเหมาะกับพื้นที่ใช้งานดาต้าสูงที่มีความต้องการใช้งานในรูปแบบต่างกัน โดยอุปกรณ์จะรับส่งสัญญาณเฉพาะจุด หรือ Beam forming เจาะจงเฉพาะให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่กำลังใช้งานขณะนั้นอย่างแม่นยำ และยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสัญญาณไปยังอุปกรณ์อีกหลายจุดในพื้นที่เดียวกัน ภายในเวลาและความถี่เดียวกัน ทำให้เพิ่มขีดความสามารถการครอบคลุมของโครงข่ายได้มากขึ้นบนคลื่น 2300 MHz โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีผู้ใช้งานหนาแน่นได้อย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ทางบริษัท อีริคสัน ยังได้ขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้าน Radio Systemเพื่อสนับสนุนผู้ให้บริการในการเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่เทคโนโลยี 5G ได้อย่างไร้รอยต่อ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ขยายเพิ่มเติมนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น เข้าถึง 5G แบบ end-to-end ซึ่งรวมไปถึง 5G NR Radio ครั้งแรกในอุตสาหกรรมระดับโลก

กระเป๋าสาน ซึ่งเป็นแฟชั่นสุดคลาสสิดที่ยังคงความเป็นไอเทมฮิตที่ไม่ว่าวัยไหนๆก็ยังถือกันด้วยรูปทรงและดีไซน์หลากรูปแบบ ที่ทำให้สามารถเลือกใช้ได้ในหลายโอกาส นอกจากจะเป็นไอเทมที่มีประโยช์นมากแล้ว กระเป๋าสานยังสร้างรายได้ให้กับชุมชนที่เป็นแหล่งผลิตได้อย่างต่อเนื่องมานานหลายปี

นางอุบลวรรณา แป้นดวง ผู้ซึ่งเป็น ประธานกลุ่มสตรีสหกรณ์การเกษตรศุภนิมิตร .ชะอวด ใน .นครศรีธรรมราช ได้กล่าวว่าการทำกระเป๋าสานนั้นเป็นสินค้าหัตถกรรมที่คนในชุมชนสืบทอดวัฒนธรรมต่อกันมานับสิบปี และหลังการที่เริ่มมีการส่งสินค้าผ่านไปรษณีย์ไทย ทำให้มีรายได้เติบโตขึ้นถึง 20% ภายใน 2 ปี หรือคิดเป็นรายได้ถึง 100,000 บาทต่อเดือน หลังจากที่ กลุ่มสตรีสหกรณ์การเกษตรศุภนิมิตร เข้าร่วมกับโครงการ ไปรษณีย์ไทย...เพื่อแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง  ของไปรษณีย์  ทางกลุ่มสตรีก็ได้รับการสนับสนุนในหลายๆทาง เช่น ช่องทางการส่งสินค้า การจำหน่ายที่กว้างขึ้น ทั้งออนไลน์และออฟไลฟ์ อาทิ ที่ทำการไปรษณีย์ ระบบอีคอมเมิร์ซชุมชน และเว็บไซต์ไทยแลนด์โพสต์มาร์ท จึงทำให้มียอดสั่งซื้อเข้ามาตลอดทั้งปี โดยทุกๆ สัปดาห์ต้องผลิตเป็นจำนวนกว่า 2,000 - 3,000 ชิ้น

ส่วนทางด้าน นางสมร เทิดธรรมพิบูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทย เล็งเห็นถึงความสำคัญของคุณภาพชีวิตคนไทยในทุกชุมชนและทางไปรษณีย์ไทยต้องการที่จะสนับสนุนองค์ความรู้ และช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ และรายได้กลับคืนสู่ชุมชน ด้วยการดำเนินงานโครงการ “ไปรษณีย์ไทย...เพื่อแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง” โดยที่ทุกๆชุมชนจะได้การสนับสนุนในการส่งขายสินค้าผ่านไปรษณีย์ไทย 5,000 แห่ง และบุคลากรคุณภาพของไปรษณีย์ไทยกว่า 30,000 ชีวิต ที่คอยสนับสนุนและอยู่เคียงข้างทุกชุมชนอย่างแข็งขัน

สำหรับผู้สนใจ กระเป๋าสานกระจูดดีไซน์เก๋ จากกลุ่มสตรีสหกรณ์การเกษตรศุภนิมิตร อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช รวมถึงผลิตภัณฑ์ชุมชนอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานโครงการไปรษณีย์ไทย...เพื่อแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง สามารถสั่งซื้อได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ในพื้นที่ หรือเว็บไซต์และแอปพลิเคชันไทยแลนด์ โพสต์มาร์ท (www.thailandpostmart.com) หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทาง callcenter ของ ไปรษณีย์ไทย THP Contact Center 1545 และ เว็บไซต์ www.thailandpost.co.th

ย้อนเส้นทางสานต่อศาสตร์พระราชา ผ่านโครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที” โดยเอสซีจี ผลสัมฤทธิ์แห่งการส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนและพลิกฟื้นความเข้มแข็งให้ชุมชน

“เพราะน้ำคือชีวิตของทุกสรรพสิ่ง ที่ใดมีน้ำที่นั่นย่อมมีชีวิต...” เอสซีจี จึงได้เดินอยู่บนเส้นทางแห่งการบริหารจัดการน้ำร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายมากว่า 10 ปี

จุดเริ่มต้นเส้นทางสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งเเวดล้อม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่

เอสซีจี ได้น้อมนำเเนวพระราชดำริ 'จากภูผาสู่มหานที' ผสานเเนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาต่อยอดโครงการ “รักษ์น้ำเพื่ออนาคต” ที่ดำเนินมากว่า 10 ปี ด้วยโครงการ “รักษ์น้ำจากภูผาสู่มหานที” ในปี 2561 เพื่อขยายผลการดูแลจัดการน้ำให้เหมาะสมกับเเต่ละพื้นที่ สร้างต้นน้ำที่ดี กลางน้ำที่สมบูรณ์ สู่ปลายน้ำที่ยั่งยืน ผ่านกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน ให้เข้าใจการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ตนเองอย่างแท้จริง ตลอดจนเดินหน้าสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น จิตอาสา เเละพนักงาน เพื่อสร้างพลังเเละเชื่อมความรู้การจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ

“ฝายชะลอน้ำ” ต้นแบบการพลิกฟื้นพื้นที่ต้นน้ำ

เริ่มต้นจากพื้นที่ต้นน้ำ อ.เเม่ทะ จ.ลำปาง ต้นแบบการพลิกฟื้นพื้นที่ด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาน้ำแล้งในฤดูเเล้ง น้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก เเละป้องกันไฟไหม้ป่า ก่อนขยายไปยังพื้นที่ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เมื่อฝายชะลอน้ำช่วยให้น้ำกลับคืนมาสู่พื้นที่ จึงนำไปสู่การสร้างสระพวงเชิงเขา วิธีการกักเก็บน้ำที่ใช้การเชื่อมต่อสระน้ำเป็นพวง ทำให้มีน้ำเพียงพอสำหรับทำการเกษตรในพื้นที่ไม่อุ้มน้ำ ชุมชนสามารถเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์พืชแบบใช้น้ำน้อย เช่น ฟักทอง บวบ ถั่วฝักยาว มะระขี้นก ได้มากถึง 7 ครั้งต่อปี เกิดรายได้รวมในชุมชนถึง 18 ล้านบาทต่อปี และยังใช้วิธีการกระจายน้ำในพื้นราบด้วยระบบแก้มลิง ทำให้เกษตรกรนำน้ำไปใช้ในพื้นที่กว่า 500 ไร่ สร้างรายได้กว่า 100,000 บาท / ครัวเรือน / ปี ช่วยให้ชุมชนมีแหล่งน้ำสำรองในฤดูแล้งอีกประมาณ 134,000 ลบ.ม. สามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างเต็มระบบและพัฒนาต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อสร้างอาชีพ เสริมรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน

ไม่เฉพาะภาคเหนือ แต่แนวคิดการสร้างฝายชะลอน้ำยังได้ขยายผลสู่ ต.ถ้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ที่ชุมชน ภาคีเครือข่าย และเอสซีจี ได้ร่วมสร้างฝายเพื่อรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศป่าต้นน้ำของลำน้ำสาขาจากเทือกเขานครศรีธรรมราช อันเป็นต้นน้ำของลุ่มน้ำตรัง ขณะเดียวกัน ก็ได้ส่งต่อแนวคิดไปสู่พื้นที่ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ที่ประสบปัญหาพื้นที่แห้งแล้งจากการแผ้วถางป่าสำหรับขยายพื้นที่ทำกิน และหน้าดินที่ถูกชะล้างซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้ชุมชน ฝายชะลอน้ำจึงถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือช่วยชะลอน้ำและฟื้นคืนสภาพพื้นที่ให้เป็นแหล่งอาหารและสร้างรายได้ให้กับชุมชน

“ฝายช่วยคืนความสมดุลให้ป่า และป่ายังเปรียบเสมือนซุปเปอร์มาเก็ตที่ชุมชนสามารถเข้าไปหาของป่าสำหรับนำมาใช้ทำอาหารให้ครอบครัวและแบ่งขายสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ไม่น่าเชื่อว่าเพราะการที่ชุมชนช่วยกันลงแรงร่วมใจกันสร้างฝายชะลอน้ำ จะทำให้ชุมชนของเรามีโอกาสพูดคุย เข้าใจกัน และรักสามัคคีกันมากขึ้นผู้ใหญ่ครุฑ นายเต้นยิ้ว วชิรพันธ์วิชาญ ประธานป่าชุมชนบ้านบ้านยางโทน กล่าว

“แก้มลิง” กักเก็บน้ำในพื้นที่กลางน้ำ พลิกฟื้นพื้นที่ทำการเกษตร

สำหรับพื้นที่กลางน้ำ เอสซีจีได้ร่วมกับชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น ต้นแบบชุมชนบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ และมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขยายการดำเนินงานการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนสู่บ้านโนนเขวา อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น โดยจัดทำ “แก้มลิง” แหล่งสำรองน้ำจากการขุดลอกหนองน้ำเดิม เพื่อเชื่อมต่อจากแม่น้ำชีไปสู่หนองน้ำในพื้นที่ทำการเกษตรของชุมชน สำหรับเก็บกักน้ำ ช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมพื้นที่เกษตรได้กว่า 250 ไร่ อีกทั้งยังใช้เป็นแหล่งเลี้ยงปลาเพิ่มรายได้ให้ชุมชนอย่างน้อยปีละ 30,000 บาท และบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคในครัวเรือน

“บ้านปลาเอสซีจี” ผลสำเร็จในพื้นที่ปลายน้ำ

ทอดยาวไปยังพื้นที่ปลายน้ำ เอสซีจีได้นำท่อ PE100 ที่เหลือจากการขึ้นรูปสำหรับทดสอบเม็ดพลาสติกภายในโรงงานมาใช้ประกอบเป็นบ้านปลา เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ระบบนิเวศชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก เพิ่มที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลขนาดเล็ก คืนความสมบูรณ์สู่ท้องทะเลไทย โดยปัจจุบันได้วางบ้านปลาลงสู่ใต้ท้องทะเลไปแล้ว 1,600 หลัง ใน จ.ระยอง ชลบุรี และจันทบุรี คิดเป็นพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลกว่า 40 ตร.กม. เกิดความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลของสัตว์น้ำเศรษฐกิจและปลาสวยงามกว่า 172 ชนิด

“หัวใจสำคัญของโครงการตลอดระยะเวลากว่า 6 ปีที่ผ่านมา คือ ความเข้มแข็งของชุมชนประมงพื้นบ้านที่ช่วยกันสร้างบ้านปลา และดูแลพื้นที่อนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงพลังของจิตอาสาที่ร่วมกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันกว่า 11,500 คน และขณะนี้ เอสซีจียังทดลองนำขยะพลาสติกจากทะเล และชุมชนมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำมาผลิตเป็นท่อสำหรับสร้างบ้านปลาตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอีกด้วย” นายชลณัฐ ญาณารณพ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี กล่าว

นอกจากนี้ ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ชาวประมงพื้นบ้านบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งประสบปัญหาจากการไม่สามารถออกหาปลาในทะเลช่วงมรสุมได้ เมื่อจะใช้คลองที่อยู่ใกล้ชุมชนเป็นที่ทำกินก็พบว่า ปลามีจำนวนน้อยเพราะขาดแหล่งที่อยู่อาศัยอันอุดมสมบูรณ์ เอสซีจีจึงเข้าไปร่วมกับชุมชนพัฒนาแหล่งที่อยู่อาศัยใต้ทะเลที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยนำนวัตกรรมปูนงานโครงสร้างทนทานพิเศษ เอสซีจี มาหล่อเป็นบ้านปลาในลักษณะวงกลมที่มีช่องขนาดหลากหลาย เพื่อให้ปลาสามารถว่ายผ่านไปมาได้และสามารถใช้หลบภัยได้เป็นอย่างดี รวมถึงการปลูกป่าโกงกาง และหญ้าทะเล สำหรับช่วยเหลือพะยูนและสัตว์ทะเลใกล้สูญพันธุ์ด้วย

เสริมความแข็งแกร่งให้ชุมชนด้วยนวัตกรรมเพื่อสังคม

ด้วยความเชี่ยวชาญของเอสซีจี เเละประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการน้ำร่วมกับชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เอสซีจีมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ จึงได้นำ "นวัตกรรมผ้าใบคอนกรีต" ของธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ที่ผสมผสานเทคโนโลยีซีเมนต์เเละเทคโนโลยีสังเคราะห์ซึ่งมีความเเข็งเเรงและปรับรูปแบบได้ตามต้องการ มาใช้สร้างสระพวงสำหรับกักเก็บน้ำที่บ้านสาแพะ จ.ลำปาง เพื่อแก้ปัญหาดินทรายไม่อุ้มน้ำ

นอกจากนั้น ยังได้มีการใช้ นวัตกรรมปูนงานโครงสร้างทนทานพิเศษ เอสซีจี” ที่ทนซัลเฟตและคลอไรด์ในน้ำทะเลได้นานกว่าปูนธรรมดา มาหล่อเป็นบ้านปลาสำหรับเป็นแหล่งพักพิงของสัตว์ทะเลในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งได้รับการรับรองความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยังแข็งแรงทนทาน ไม่มีส่วนประกอบที่สามารถแตกหักเสียหายกลายเป็นขยะใต้น้ำได้

ขณะเดียวกันก็ได้นำ "นวัตกรรมบ้านปลาจากท่อ PE100" ที่เป็นวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกของธุรกิจเคมิคอลส์ ซึ่งได้รับการรับรองความปลอดภัยในการขนส่งน้ำ มาออกแบบสร้างเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลในพื้นที่ จ.ระยอง ซึ่งพบปัญหาจำนวนปลาใกล้ชายฝั่งลดน้อยลง

เครือข่ายพลังคนรุ่นใหม่ จิตอาสาเพื่อความยั่งยืน

ทุกๆ กิจกรรมที่จัดขึ้นตลอดทั้งปี 2561 ไม่เพียงแต่จะมีชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และพนักงานเอสซีจี ร่วมเป็นจิตอาสาสร้างฝายชะลอน้ำและประกอบบ้านปลาเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่ม Young รักษ์น้ำ ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่จากหลากหลายสถาบันการศึกษากว่า 80 คน ร่วมเดินทางขึ้นเหนือล่องใต้ร่วมกับเอสซีจีในทุกทริป เพื่อมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิดด้านการบริหารจัดการน้ำ และได้ลงมือทำกิจกรรมด้วยตัวเอง รวมทั้งได้ไปชมผลสำเร็จของบริหารจัดการน้ำ ด้วยเชื่อว่าพลังจากคนรุ่นใหม่จะช่วยสืบสาน รักษา และต่อยอดการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริให้คงอยู่สืบไป

 “ไม่น่าเชื่อว่า การเริ่มต้นทำฝายจากจุดเล็กๆ ด้วยหัวใจของพี่ๆ ในชุมชน และแรงของเพื่อนๆ นักศึกษาจิตอาสา กลับส่งผลให้ป่าทั้งป่ากลับมาอุดมสมบูรณ์ได้อีกครั้ง นึกภาพไม่ออกเลยว่าพื้นที่ที่เคยแห้งแล้งและมีปัญหาน้ำท่วมเป็นอย่างไร ถ้าครั้งหน้ามีกิจกรรมนี้อีก จะขอเป็นอีกหนึ่งแรงที่ลงมือช่วยเพื่อประเทศไทยของเรานางสาวช่อผกา พจนาสุคนธ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง หนึ่งในเยาวชนจิตอาสาคนรุ่นใหม่ Young รักษ์น้ำ

ก้าวต่อไปของ “รักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที”

เอสซีจีจะยังคงเดินหน้าสานต่อโครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที” ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ให้ครบตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ภายในปี 2020 ซึ่งที่ผ่านมาได้ร่วมกับชุมชนและจิตอาสา สร้างฝายชะลอน้ำไปแล้วกว่า 83,200 ฝาย และจะขยายการสร้างฝายในพื้นที่ต้นน้ำให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศให้ครบ 100,000 ฝาย ขุดสระพวงเชิงเขาส่งต่อน้ำเพื่อทำการเกษตรไปแล้ว 7 สระ โดยมีเป้าหมายจะขุดสระพวงให้ครบ 20 สระ และจัดทำระบบแก้มลิงในพื้นที่กลางน้ำไปแล้ว 8 พื้นที่ โดยตั้งเป้าหมายจะทำให้ครบ 20 พื้นที่ รวมถึงวางบ้านปลาในพื้นที่ปลายน้ำไปแล้ว 1,900 หลัง โดยตั้งเป้าหมายจะวางให้ครบ 2,600 หลัง รวมทั้งเอสซีจีมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมชุมชนให้มีความสามารถในการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลผลิตในท้องถิ่นเพื่อสร้างอาชีพและส่งเสริมให้เกิดรายได้ตลอดทั้งปี โดยผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.scg.com/lovewater

ด้วยเชื่อว่าการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน รวมถึงการสร้างเครือข่ายให้เกิดพลังที่เข้มแข็งเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างต้นน้ำที่ดี สู่ปลายน้ำอันอุดมสมบูรณ์ ก่อเกิดเป็นความสมดุลที่หล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนในทุกพื้นที่ เอสซีจีจึงยังคงเดินหน้าสานต่อโครงการร่วมกับชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ พร้อมถ่ายทอดและต่อยอดแนวความคิดในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นต้นทุนสำคัญของทุกชีวิตนี้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป

X

Right Click

No right click