บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC และกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเตรียมพร้อมสู่ “พันธมิตรทางธุรกิจเพื่อพลาสติกหมุนเวียนอย่างยั่งยืนในเอเชีย (Partnership to Accelerate the Circular Plastic Ecosystem in Asia)” เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มการรีไซเคิลพลาสติกตลอดห่วงโซ่คุณค่าอย่างมีประสิทธิภาพเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตั้งเป้าเร่งพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลเพื่อเปลี่ยนขยะพลาสติกปริมาณกว่า 200,000 ตันต่อปีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เป็นผลิตภัณฑ์หมุนเวียนที่มีมูลค่าด้วยกระบวนการรีไซเคิลเชิงกล (Mechanical Recycling) และการรีไซเคิลขั้นสูง (Advanced Recycling) ภายในปี 2573

เอสซีจีซี (SCGC) และ ดาว (Dow) มีแผนจะเร่งพัฒนาและยกระดับการรีไซเคิลขยะพลาสติกให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง สำหรับความร่วมมือในขั้นแรกนั้นครอบคลุมถึงการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อนำพลาสติกใช้แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (PCR) โดยร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในปัจจุบัน รวมทั้งบูรณาการการลงทุนและการเข้าซื้อกิจการที่มีเทคโนโลยีรีไซเคิลขั้นสูงที่เกี่ยวเนื่องกับการรีไซเคิลเชิงกลและการรีไซเคิลขั้นสูงในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อสร้างระบบนิเวศห่วงโซ่คุณค่าที่แข็งแกร่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมทั้งบริหารจัดการและรีไซเคิลเพื่อหมุนเวียนพลาสติกใช้แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับในระยะถัดไป ทั้งสองบริษัทคาดการณ์ว่าจะร่วมกันจัดหาพลาสติกใช้แล้วจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตพลาสติกรีไซเคิลชนิดต่าง ๆ และขยายไปยังส่วนอื่น ๆ ของภูมิภาค เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น

นายศักดิ์ชัย ปฏิภาณปรีชาวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่าง SCGC และ Dow ในครั้งนี้ นับเป็นครั้งสำคัญที่สององค์กรชั้นนำด้านพลาสติกเพื่อความยั่งยืน จะมาร่วมมือกันขับเคลื่อนและยกระดับระบบนิเวศให้กับพลาสติกหมุนเวียนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดย SCGC พร้อมนำความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลก Green Polymer และเทคโนโลยีคอมพาวนด์ (Compound) ในการเพิ่มประสิทธิภาพเม็ดพลาสติก เพื่อคืนคุณค่าพลาสติกใช้แล้วตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านกระบวนการรีไซเคิลเชิงกล (Mechanical Recycling) และการรีไซเคิลขั้นสูง (Advanced Recycling) โดยยังคงคุณสมบัติที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจและรองรับความต้องการของตลาดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ทั้งในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไปจนถึงกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า สะท้อนกลยุทธ์ Low Waste, Low Carbon ของ SCGC อย่างเป็นรูปธรรม”

นายบัมบัง จันดรา​ รองประธานฝ่ายธุรกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธุรกิจบรรจุภัณฑ์และพลาสติกชนิดพิเศษของ Dow เปิดเผยว่า “เอเชียเป็นหนึ่งในแหล่งขนาดใหญ่ของพลาสติกใช้แล้วที่สามารถแปรรูปได้ เราต้องการพลิกโฉมวิธีการจัดการกับขยะในภูมิภาค โดยสร้างโมเดลใหม่ที่ให้คุณค่ากับพลาสติกใช้แล้วและวัสดุรีไซเคิลต่าง ๆ เพื่อเก็บรวบรวมสิ่งเหล่านี้และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ความร่วมมือครั้งนี้มีเป้าหมายที่จะแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกโดยพัฒนาเทคโนโลยีในการคัดแยกขยะ การรีไซเคิลเชิงกล และการรีไซเคิลขั้นสูง ความร่วมมือกับ SCGC จะทำให้ทั้งสองบริษัทมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มากขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ที่เรามีจำหน่าย ความสามารถในการวิจัยและพัฒนา และลิขสิทธิ์ทางเทคโนโลยีของเรา เมื่อรวมกับความเชี่ยวชาญทางเทคนิคในการผลิตเม็ดพลาสติกประสิทธิภาพสูงแล้ว ลูกค้าของเราจะได้รับความคุ้มค่าทั้งในด้านต้นทุน ความพร้อม รวมไปถึงคุณภาพของพลาสติกและวัสดุหมุนเวียน”

“Dow ได้ดำเนินกิจการในประเทศไทยมานานถึง 57 ปี เรามีความภาคภูมิใจที่จะได้เริ่มต้นก้าวต่อไปด้วยการพัฒนาพันธมิตรเพื่อธุรกิจพลาสติกหมุนเวียนร่วมกับ SCGC ซึ่งเป็นคู่ค้าที่เราไว้วางใจ โดยตลอดระยะเวลา 37 ปีที่ก่อตั้งบริษัทร่วมทุนด้วยกันในประเทศไทยจะเห็นได้ว่า ทั้งสององค์กรมีความมุ่งมั่นที่เหมือนกันในด้านความเป็นเลิศและความยั่งยืน SCGC จึงเป็นพันธมิตรในอุดมคติของเราที่จะสำรวจโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ร่วมกันในครั้งนี้ โดยเราตั้งใจที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างต่อเนื่องให้กับลูกค้าควบคู่ไปกับการสนับสนุนอนาคตที่ยั่งยืนของภูมิภาคนี้” นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวเสริม

ความร่วมมือครั้งนี้สอดคล้องกับเป้าหมายการทำงานด้านความยั่งยืนในการ “เปลี่ยนขยะเป็นผลิตภัณฑ์ (Transform the Waste)” ของ Dow ทั่วโลก ซึ่งมุ่งมั่นจะเปลี่ยนขยะพลาสติกและนำวัตถุดิบทางเลือกรูปแบบอื่น ๆ มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ ให้ได้ 3 ล้านตันต่อปีภายในปี พ.ศ. 2573 รวมทั้งสอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของ SCGC ตามแนวทาง Low Waste, Low Carbon ที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 โดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20% และมีเป้าหมายขยายสินค้าในกลุ่มพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 1 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573 อีกด้วย

 

ทิพยประกันภัย จับมือ ทิพยประกันชีวิต ร่วมออกบูธในงาน Money Expo 2024 โดยมี ดร. ภากร  ปีตธวัชชัย  กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ประธานพิธีเปิดงาน  นายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานการจัดงาน พร้อมด้วย ดร.สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)  นางสาวสุภาพ ประดับการ  รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านการขายและการตลาด 1  และคณะผู้บริหารบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารบริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ร่วมเปิดบูธอย่างเป็นทางการในงาน Money Expo 2024 BANGKOK ภายใต้แนวคิด “Digital Finance for All การเงินดิจิทัล เพื่อทุกคน” สอดรับกับนโยบายการเงินของภาครัฐและธนาคารแห่งประเทศไทย

ทิพยประกันภัย ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านประกันภัย ด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและออกแบบให้ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ อาทิ TIP Lady ประกันภัยที่เข้าใจผู้หญิง, TIP Rainbow ประกันภัยที่เข้าใจความเป็นคุณ, TIP Up to mile ประกันภัยสำหรับคนใช้รถน้อย, TIP Pet Lover ประกันภัยคนรักสัตว์เลี้ยง เป็นต้น เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน พร้อมการให้บริการที่สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าทุกระดับภายในบูธ ทิพยประกันภัย ยังมีโปรโมชันและสิทธิพิเศษอีกมากมาย ให้คุณได้ "ลด รับ ชิง ได้จริง 3 ต่อ" ดังนี้

ลด...เบี้ยประกันภัย สูงสุด 23%

รับ...ของสมนาคุณ* รวมมูลค่ากว่า 300,000 บาท

ชิง...ทองคำ รวมมูลค่ากว่า 180,000 บาท (ขึ้นอยู่กับประเภทประกันภัยที่กำหนด)

   พิเศษ!  ลูกค้าต่ออายุ รับบัตร Lotus’s สูงสุด 1,000 บาท

นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งกิจกรรมพิเศษจาก TIP Society ให้ร่วมสนุกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใช้ Point แลกสิทธิพิเศษและกิจกรรมตู้ถ่ายรูป AI ท่านที่สนใจพบกับบูธทิพยประกันภัย (บูธ K8) ในงาน Money Expo 2024 ณ ชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ตั้งแต่วันที่ 16 - 19 พฤษภาคม 2567 

มูจิ ประเทศไทย (MUJI) ประกาศปรับราคาสินค้าคุณภาพอีกครั้ง เพิ่มเติมกว่า 126รายการ ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคมเป็นต้นไป เพื่อให้ตอบโจทย์อินไซท์ความต้องการของผู้บริโภคทุกกลุ่มอย่างรอบด้าน ทั้งฟังก์ชั่นในการใช้งาน และพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย ตามกลยุทธ์ Always good Value, Always good price” มุ่งนำเสนอสินค้าคุณภาพ ในราคาที่คุ้มค่า พาแบรนด์มูจิให้ใกล้ชิดกับคนไทยมากขึ้น ตามเป้าหมายการเป็น แบรนด์สินค้าไลฟ์สไตล์สามัญประจำบ้านในใจคนไทยทั่วทุกภูมิภาค โดยที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้เดินหน้ากลยุทธ์ด้านราคาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ควบคู่กับการขยายสาขา ให้ครอบคลุมทั่วประเทศโดยเฉพาะในต่างจังหวัด และมุ่งพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ให้เหมาะสมกับอินไซท์ด้านพฤติกรรม และความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ โดยตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา มูจิมีการปรับราคาสินค้าในทุกๆ หมวดหมู่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้บริษัทมีฐานลูกค้าในประเทศไทย ที่ซื้อสินค้า MUJI ซ้ำเป็นประจำ และเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ทำให้ยอดขายมีการเติบโตสูงขึ้นเป็นอย่างมาก

นายอกิฮิโร่ คาโมการิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มูจิ รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า “นอกเหนือจากความมุ่งมั่นของ MUJI ในการเป็นแบรนด์สินค้าไลฟ์สไตล์สามัญประจำบ้านในใจคนไทยทั่วทุกภูมิภาคแล้ว บริษัทฯ ยังตั้งเป้าหมายในการเป็นคอมมูนิตี้ที่มีส่วนร่วมช่วยเชื่อมโยง และตอบสนอง ไลฟ์สไตล์ของผู้คนในแต่ละพื้นที่ ให้สามารถเข้ามาช้อปปิ้ง แฮงค์เอ้าท์ พบปะ พูดคุย และรับประทานอาหารภายในร้าน MUJI ได้เป็นประจำ ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้นำกลยุทธ์ทางด้านราคามาใช้ เพื่อเป็นประตูบานแรกให้คนไทยเปิดรับ และมีโอกาสได้สัมผัสประสบการณ์ในการใช้สินค้าคุณภาพ และบริการที่หลากหลาย ในราคาที่คุ้มค่า ตามแบบฉบับของ MUJI ได้อย่างง่ายดาย และสะดวกสบายมากขึ้น โดยบริษัทฯ เริ่มดำเนินกลยุทธ์ด้านราคามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 เพื่อพาแบรนด์มูจิเข้าถึงกลุ่มลูกค้าคนไทยที่ต้องการซื้อสินค้า MUJI สำหรับใช้งานในชีวิตประจำวันได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ภายใต้ราคาที่เข้าถึงง่าย ซึ่งปัจจุบันมูจิ ประเทศไทยมีสินค้าจัดจำหน่ายอยู่ทั้งหมด 5,000 รายการ และยังมีสินค้าคุณภาพสำหรับชีวิตประจำวันที่มีราคาต่ำกว่า 300 บาท กว่า 2,500 รายการ หรือคิดเป็นสัดส่วน 50% ของสินค้าทั้งหมด โดยจากกลยุทธ์ด้านราคาดังกล่าว ส่งผลให้บริษัทมีฐานลูกค้าในประเทศไทย ที่ซื้อสินค้า MUJI ซ้ำเป็นประจำ และเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ทำให้ยอดขายมีการเติบโตสูงขึ้นเป็นอย่างสูง”

“ล่าสุดบริษัทได้สานต่อกลยุทธ์ทางด้านราคาอย่างต่อเนื่องอีกครั้งผ่านการนำเสนอสินค้าไลฟ์สไตล์คุณภาพที่สามารถใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวันเพิ่มเติมกว่า 126 รายการในราคาที่ปรับลดลงเฉลี่ยกว่า 20% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคมเป็นต้นไป ในราคาเริ่มต้นเพียง 29 บาท ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ตามอินไซท์ด้านพฤติกรรมและความต้องการในการใช้งานของกลุ่มเป้าหมาย โดยมีสินค้าไฮไลท์ที่โดดเด่นใน 4 กลุ่มสินค้าอาทิ

  1. กลุ่มรองเท้าและกระเป๋า (รุ่นยอดนิยม) ประกอบไปด้วย รองเท้าผ้าใบ, กระเป๋าเป้สะพายหลัง, กระเป๋าเดินทาง
  2. กลุ่มของใช้ในบ้านและเฟอร์นิเจอร์ ประกอบไปด้วย ผ้าปูโต๊ะ, อุปกรณ์ตากผ้า, โซฟาบีนแบค, หมอนโพลีเอสเตอร์, ผ้านวม, เบาะรองนั่ง, เฟอร์นิเจอร์ที่ตั้งถาด, ชั้นไม้สำหรับวางหนังสือ, ชั้นไม้สำหรับวางรองเท้า, อุปกรณ์เครื่องครัวไม้ยางพารา
  3. กลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ประกอบไปด้วย ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า
  4. กลุ่มอาหารสำเร็จรูป (MUJI Food) ประกอบไปด้วย น้ำโซดา (Sparkling Water) และ Curry (แกงกะหรี่สำเร็จรูป)

“นอกเหนือจากกลยุทธ์ด้านราคา MUJI ยังมุ่งเดินหน้ากลยุทธ์ Localization ในการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ให้เหมาะสมกับอินไซท์ด้านพฤติกรรม และความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ โดยมีการนำเสนอสินค้าใหม่ๆ ที่มีจำหน่ายแบบเอ็กซ์คลูซีฟเฉพาะในสาขาของร้านค้า MUJI ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และในภูมิภาคอาเซียน ครบทุกหมวดหมู่ ทั้งเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และของใช้ในบ้าน โดยคำนึงถึงดีไซน์และฟังก์ชั่นที่เหมาะสมกับบริบทแบบไทยๆ ไม่ว่าจะเป็น ลักษณะนิสัยของผู้คน สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ รวมถึงวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และวิถีชีวิตของคนไทยอีกด้วย โดยในปี 2567 บริษัทมีในการนำเสนอสินค้าใหม่ๆเหล่านี้มากขึ้น เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการในรูปแบบที่เฉพาะเจาะจงของคนไทยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่หลากหลาย ควบคู่กับการยกระดับร้านค้าให้เป็นไลฟ์สไตล์สโตร์ที่สามารถเข้ามาใช้ชีวิตประจำวัน ได้อย่างครบครันในทุกมิติ โดยบริษัทได้เดินหน้าแผนการขยายสาขาใหม่ไปยังทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย เพื่อให้เข้าถึงคนไทยในทุกๆ พื้นที่อย่างครอบคลุม ซึ่งมีการขยายสาขาไปแล้วทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ และอยู่ในระหว่างการดำเนินการขยายสาขาไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายจังหวัด อาทิ เซ็นทรัล ขอนแก่นในช่วงเดือนมิถุนายน และเซ็นทรัล อุดรธานี ในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้” นายอกิฮิโร่ กล่าวเสริม

นางสาวอริญา พันธุมโกมล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท มูจิ รีเทล ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลากว่า 3 ปีที่ผ่านมา MUJI ได้ทำการสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ในวงกว้างมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัด เพื่อให้ลูกค้ารับรู้และเข้าใจความมุ่งมั่นของแบรนด์ในการเป็นแบรนด์สินค้าในชีวิตประจำวันในราคาที่เข้าถึงได้ แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าในแบบญี่ปุ่น  โดยเน้นกลยุทธ์การสื่อสาร Localize ให้เหมาะสมกับการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ เช่น สื่อป้ายโฆษณานอกบ้านทั้งในรูปแบบของป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ และป้ายโฆษณาในรูปแบบดิจิทัลในจุดที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในแต่ละจังหวัดได้เป็นจำนวนมาก หรือโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านรายการวิทยุท้องถิ่น หรือรถกระจายเสียง รวมถึงการใช้อินฟลูเอนเซอร์ที่เป็นที่รู้จักและมีอิทธิพลต่อการสร้างการรับรู้และการตัดสินใจซื้อของคนในแต่ละพื้นที่ โดยได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ทั่วประเทศไทยด้วยทราฟฟิกการเข้าใช้บริการที่มากขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตอกย้ำความเป็นแบรนด์สินค้าไลฟ์สไตล์สามัญประจำบ้านในใจคนไทยทั่วทุกภูมิภาคอย่างแท้จริง”

พบกับสินค้า MUJI คุณภาพดี ในราคาที่คุ้มค่า ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวันสำหรับทุกคน และไอเทมยอดฮิตที่ห้ามพลาดได้แล้ววันนี้ที่ร้าน MUJI ทุกสาขาทั่วประเทศ และช่องทางการจำหน่ายออนไลน์อย่างเป็นทางการของมูจิบน Central Online และ Lazada ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม Facebook: MUJI Thailand และ Instagram: MUJI_Thailand / LINE Official Account : @MUJIThailand

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ตอกย้ำการเป็นธนาคารที่ช่วยคนไทยสามารถพิชิตหนี้ได้เร็วขึ้น เพื่อให้มีชีวิตทางการเงินที่ดีรอบด้าน จัดทัพผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ช่วยปลดหนี้ ในงานมหกรรมการเงินครั้งที่ 24 หรือ มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 ภายใต้แนวคิด Digital Finance for All โดยมี นายพีรพงศ์ นิธิไกรวุฒิ (ที่ 3 จากซ้าย) ประธานกลุ่ม ธุรกิจการขายลูกค้าบุคคล ทีเอ็มบีธนชาต ให้การต้อนรับ นายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานจัดงานฯ และประธานกรรมการบริหาร นิตยสารการเงินการธนาคาร ที่บูธของทีทีบี

ซึ่งจัดโปรโมชันสุดพิเศษสำหรับผู้ที่มีหนี้หลายก้อน ใช้บ้าน ใช้รถ มารวบหนี้ได้ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ อาทิ สินเชื่อบ้านแลกเงิน ดอกเบี้ยพิเศษ คงที่ 3 ปีแรก เริ่มต้น 5.45% ต่อปี  สินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ ดอกเบี้ยพิเศษคงที่ ปีแรก 2.79% ต่อปี หรือดอกเบี้ยพิเศษคงที่ 3 ปีแรก 3.99% ต่อปี รวมทั้งยังมีผลิตภัณฑ์เงินฝากดอกเบี้ยสูง ประกัน กองทุน บัตรเครดิต ที่ตอบโจทย์ทุกช่วงเวลาของชีวิต และของสมนาคุณมากมาย ในงานมันนี่ เอ็กซ์โป 2024 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 2-3 อิมแพค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 16-19 พฤษภาคม 2567

พร้อมเผยเลนส์ซูม XF และเลนส์ไพรม์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ซีรีส์ GFX รุ่นใหม่ในดีไซน์กะทัดรัดพร้อมตอบโจทย์งานทุกรูปแบบ

มหาวิทยาลัยแมสซีย์ (Massey University) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในกระทรวงศึกษาธิการของไทย ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อโอกาสในการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำจากนิวซีแลนด์ และกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย (PCSHS) ในอนาคต

ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในระหว่างการมาเยือนประเทศไทยของนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ คริสโตเฟอร์ ลักซอน พร้อมด้วยคณะผู้แทนภาคธุรกิจจากประเทศนิวซีแลนด์ การมาเยี่ยมเยือนทางการทูตครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระจายโอกาสทางการค้า และเน้นย้ำนวัตกรรมที่สำคัญของนิวซีแลนด์ในภาคส่วนหลัก ๆ ได้แก่ การผลิตและเทคโนโลยี ตลอดจนความเชี่ยวชาญด้านการศึกษา โดยรองศาสตราจารย์ แจน โธมัส และรักษาการแทน ร.ท.ธนู วงศ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ในนามของมหาวิทยาลัยแมสซีย์ และ สพฐ. เมื่อวันพุธที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา

ศาสตราจารย์โธมัสกล่าวว่า มหาวิทยาลัยแมสซีย์มีความยินดีที่จะกระชับความสัมพันธ์กับประเทศไทยผ่านบันทึกความเข้าใจ โดยระบุว่า “ความร่วมมือนี้ตอกย้ำความมุ่งมั่นของเราในการส่งเสริมความเป็นเลิศในด้านการศึกษาและการวิจัย ด้วยการทำงานร่วมกับกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เราสามารถมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูนักเรียนและนักการศึกษาที่มีความสามารถรุ่นต่อไป เรากำลังปูทางไปสู่การแลกเปลี่ยนข้ามวัฒนธรรมและโอกาสทางการศึกษาที่เป็นนวัตกรรมใหม่ในอนาคต"

บันทึกความเข้าใจระดับสูงนี้จะอนุญาตให้มีการทำงานร่วมกันในด้านต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงการเคลื่อนย้ายของพนักงานและนักศึกษา การแลกเปลี่ยนทางวิชาการ และความร่วมมือด้านอื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายอาจพบว่าเป็นประโยชน์ร่วมกัน

เครือข่าย PCSHS ประกอบด้วยโรงเรียน 12 แห่งที่เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ดูแลโดยสำนักความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ (ESEB) โรงเรียนแต่ละแห่งตั้งอยู่ครอบคลุมในสี่ภูมิภาคของประเทศไทย และเปิดรับสมัครนักเรียนที่มีพรสวรรค์ในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งนักเรียนทุกคนจะได้รับทุนการศึกษาเต็มจำนวนจากรัฐบาล

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของบันทึกความเข้าใจนี้ ดร. คาเรน แอชตัน อาจารย์อาวุโสด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ สาขามนุษยศาสตร์ สื่อ และการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ของแมสซีย์ จะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการฝึกอบรมครูในประเทศไทยสำหรับโรงเรียมในเครือข่าย PCSHS โดย ดร. แอชตันจะจัดเวิร์คช็อปให้กับเหล่าครูจาก PCSHS จำนวน 40 คน รวมถึงการสัมมนาให้กับครู สพฐ. ในเดือนมิถุนายนนี้ การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวจะเน้นไปที่การสนับสนุนครูให้มีส่วนร่วมกับนักเรียนในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และเพิ่มขั้นตอนในการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีการสื่อสารและโต้ตอบ เพื่อยกระดับการศึกษาในประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

มหาวิทยาลัย ซีเอ็มเคแอล (CMKL University) เปิดรับสมัครนักศึกษา หลักสูตรปริญญาโท ภาคภาษาอังกฤษ สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างสรรค์ (Master of Science in Technology and Creative Innovation) ที่มุ่งเน้นการสร้างบุคคลากรให้มีทักษะของสหวิทยาการ หรือ interdisciplinary ที่ประกอบไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ความรู้ทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Engineering & Technology Development) และความชำนาญด้านธุรกิจ (Business and Innovation) ที่จะมายกระดับทุกทักษะในตัวคุณ ให้ “เปลี่ยน” และก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับ Advance Technology ในยุคปัจจุบัน

รศ.ดร.สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น อธิการบดีมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University) เปิดเผยว่า หลักสูตรนี้มุ่งเน้นในการสร้าง Entrepreneur และ Innovator ที่ความชำนาญที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Creative Technology, Business and Entrepreneurship และโอกาสในการทำงาน และความท้าทายใหม่ๆ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของนวตกรรม  Start-Up หรือเข้าทำงานในองค์กรสมัยใหม่ทั้งในไทยและต่างประเทศ พร้อมไปกับการสร้างโอกาสทางธุรกิจ คอนเนคชั่น และความก้าวหน้าในหน้าที่ทางการงาน สามารถขยายจากสายงานจากที่ทำอยู่ ไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยม และให้ค่าตอบแทนที่มากกว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น Creative Technology, Artificial Intelligence (AI), Start-Up Engineering หรือ Business Entrepreneur ไปจนถึงการมี Start-Up หรือ  Innovation Product 

โดยมีอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล ที่ชำนาญการและมีประสบการณ์จากแวดวง Creative Technology, Innovation และ AI อีกทั้งยังมีอาจารย์พิเศษที่จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศ เช่น Carnegie Mellon University, MIT, Bremen University, New York University และอีกมากมาย รวมไปถึงอาจารย์รับเชิญจากอุตสาหกรรมและบริษัทต่างๆ อย่าง KBTG, The Monk Studio, Bangkok Bank เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนั้น

หลักสูตรนี้จะแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลัก คือ

  1. ความคิดสร้างสรรค์เพื่อใช้ในการออกแบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Creative Design and Technology) ผู้เรียนจะมีโอกาสได้ศึกษา วิชาในเชิงความคิดสร้างสรรค์ ไปพร้อมๆกับเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ อันได้แก่ Design Thinking, Human-centered UI/UX Design, Foundations of Creative Innovation ไปจนถึง Building VR, Mixed Realities, Virtual Production, Storytelling with Data หรือ Game Development เป็นต้น
  2. ความรู้ทางวิศวกรรมและการพัฒนานวตกรรมเทคโนโลยี (Engineering and Technology Development ) เพื่อเข้าใจในเทคโนโลยีและกระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิเช่น Start Up Engineering, Introduction to AI and Machine Learning, Creating Explainable AI หรือ IoT with Arduino and Raspberry Pi เป็นต้น
  3. ความรู้ทางธุรกิจ และ นวตกรรม (Business and Innovation) เพื่อให้สามารถวางแผนโครงสร้างทางธุรกิจ และการเข้าในทิศทางของผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี นำสู่ความสามารถในการผลิตเป็นนวตกรรมจริงๆ เช่น AI for Business, Entrepreneurship and Innovation, Lean Entrepreneurship, Entrepreneurial Financing and Investing, Blockchain, Intellectual Property Law in Media, Entertainment, and Technology, Entrepreneurial Financing and Investing เป็นต้น

หลักสูตร ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างสรรค์ (Master of Science in Technology and Creative Innovation) ใช้ระยะเวลาในการเรียนทั้งหมดเป็นจำนวน 3 เทอม หรือ 1 ปีครึ่ง โดยผู้เรียนจะต้องเรียนวิชาหลักทั้งหมด 4 ใน 5 วิชาและวิชาเลือก เพื่อให้หน่วยกิจมีมากกว่า 108 หน่วยกิจ และต้องทำ Capstone Project ในทุกเทอมจนจบการศึกษา เพื่อให้รับใบปริญญาบัตร  โดยมีค่าใช้จ่ายตลอดทั้งหลักสูตร อยู่ที่ 946,500 บาท โดยผู้เรียนสามารถยื่นขอทุนการศึกษา หรือขอเข้าร่วมโปรเจกต์งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนค่าเรียนได้

นอกจากวิชาที่เรียน ผู้เรียนยังต้องทำ Capstone Project ซึ่งเป็นโปรเจกต์จบ ที่เกี่ยวกับนวตกรรมสร้างสรรค์ (Creative Innovation และยังมีทั้ง Industry Visit, Special Talks, การไปดูงานที่ World Expo Osaka 2025 และอีกมากมาย


รายละเอียดการรับสมัคร:

ช่องทางการสมัคร: https://apply.cmkl.ac.th/ 

กำหนดรับสมัคร: ภายใน 24 มิถุนายน 2567

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.tci.cmkl.ac.th/admission 

“ฉลากอาหาร” ถือเป็น “หัวใจ” สำคัญของสินค้าเพื่อการบริโภค เพราะคือสิ่งที่จะช่วยบ่งบอกถึงรายละเอียดและส่วนประกอบสำคัญในตัวสินค้า ที่จะช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค แต่ฉลากอาหารที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอาจไม่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ที่หันมาสนใจในเรื่องของโภชนาการอาหารเพิ่มมากขึ้น ทางกระทรวงสาธารณสุข จึงได้มีการปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 445-448 เกี่ยวกับฉลากโภชนาการ, อาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ ค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม แบบจีดีเอ (GDA : Guideline Daily Amount), การกล่าวอ้างทางสุขภาพของอาหารบนฉลาก และผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่นอีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ ในฐานะหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริม SME อย่างต่อเนื่อง โดยศูนย์ 7 สนับสนุน SME จึงได้จัดสัมมนาพิเศษ “เตรียมความพร้อมด้านฉลากสินค้าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 445-448”ให้กับผู้ประกอบการ SME และผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่เป็นคู่ค้าและผู้ที่สนใจทั่วไปได้ updateข้อมูล โดยมี นางสาวนฤมล   ฉัตรสง่า ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยอาหารและการบริโภคอาหารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข มาเป็นผู้ให้ความรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการ ในการปรับตัวให้ทันต่อกฎหมายใหม่ เพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการจำหน่ายสินค้า เพราะเมื่อถึงกำหนดบังคับใช้ฉลากอาหารฉบับใหม่แล้วผู้ประกอบการที่ไม่เปลี่ยนฉลาก สินค้าก็จะถูกถอนออกจาก Shelf จำหน่ายโดยอัตโนมัติในทันที

โดยใจความสำคัญของประกาศทั้ง 4 ฉบับ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภครับทราบถึงข้อมูลชนิดและปริมาณสารอาหารที่ได้รับจากการบริโภค เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบปริมาณสารอาหารกับอาหารประเภทเดียวกันได้ พร้อมรายละเอียดต่างๆ กำหนดคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ตลอดจนหลักเกณฑ์ในการกล่าวอ้างทางสุขภาพของอาหาร

1.รูปแบบกรอบข้อมูลโภชนาการ : ต้องเป็นกรอบแบบมาตรฐาน (ไม่มีกรอบแบบย่อ) กรณีนอกเหนือจากรูปแบบที่กำหนด ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารวมถึงมีการปรับข้อความ “หนึ่งหน่วยบริโภค” และ “จำนวนหน่วยบริโภค” เป็น “กินได้.. ครั้งต่อ...” ตลอดจนกำหนดจำนวนรายการสารอาหารบังคับน้อยลง จาก 15 รายการ เป็น 9 รายการได้แก่ พลังงาน ไขมันทั้งหมด ไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล โปรตีน คาร์โบไฮเดรตน้ำตาลทั้งหมด โซเดียม และโพแทสเซียมพร้อมกำหนด “โพแทสเซียม” เป็นสารอาหารบังคับเพิ่มเติม

2.ปรับข้อกำหนดเงื่อนไขการแสดงกรอบข้อมูลโภชนาการ : การแสดงกรอบข้อมูลโภชนาการนั้น การแสดงสีของพื้นกรอบข้อมูลให้ใช้สีขาว ตัวอักษรต้องใช้สีที่เห็นและอ่านได้ชัดเจน และต้องเป็นสีเดียวกันสีเส้นกรอบ ขนาดของตัวอักษรต้องมีขนาดดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 และ 2 ความสูงไม่น้อยกว่า 1.5 มม. ส่วนที่ 3,4 และ 5 ความสูงไม่น้อยกว่า 1 มม. พร้อมแสดงข้อมูลพลังงานและสารอาหารทุกรายการตามที่กำหนด แม้ว่าจะมีปริมาณที่ไม่มีนัยสำคัญก็ตาม การแสดงข้อมูลสารอาหารอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดให้แสดงในกรอบข้อมูลโภชนาการ ต้องแสดงตามลำดับก่อนหลังตามเงื่อนไขที่กำหนด กำหนดค่าการแปลงหน่วย (Conversion factors) และการคำนวณค่าพลังงาน, การคำนวณค่าพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตทั้งหมด, ค่าการแปลงหน่วยของวิตามินและแร่ธาตุ ปัดตัวเลขวิตามินและแร่ธาตุกรณีปริมาณไม่มีนัยสำคัญจาก “<ร้อยละ 2” เป็น“น้อยกว่าร้อยละ 5 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน”ตามมาตรฐานโคเด็กซ์ (Codex : คณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหารFAO/WHO มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานอาหารให้เป็นมาตรฐานสากล) 

3.วิธีการกำหนดปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคกับจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ: ปรับแก้ไขนิยามของ “หนึ่งหน่วยบริโภค หรือ ปริมาณที่กินต่อครั้ง” โดยเน้นใช้คำว่า “ปริมาณที่กินต่อครั้ง” ให้สอดคล้องกับข้อความที่ใช้ในกรอบข้อมูลโภชนาการ ขยายกลุ่มอาหารจาก 7 กลุ่ม เป็น 14 กลุ่ม พร้อมชนิดอาหาร และปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง ปรับหลักเกณฑ์การก าหนดปริมาณที่กินต่อครั้ง วิธีการกำหนดจำนวนครั้งที่กินได้ต่อภาชนะบรรจุ ปรับเศษเป็นจำนวนเต็ม ให้ใช้ตามหลักการทางคณิตศาสตร์สากล

4.ปรับชื่อบัญชี : “ค่าอ้างอิงสารอาหารต่อวันสำหรับคนไทย (THAI REFERENCE DAILY INTAKES-THAI RDIs)” เพื่อเป็นค่ากลางสำหรับอ้างอิงการแสดงคุณค่าทางโภชนาการบนฉลากอาหาร ปรับลดช่วงอายุอ้างอิงจาก “อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป” เป็น “อายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป” ไม่กำหนดค่า Thai RDIs ของฟลูออไรด์

5.ค่าอ้างอิงต่อวันของสารอาหาร : กำหนดค่าอ้างอิงต่อวัน (Thai RDIs) ของสารอาหารจำนวน 33 รายการ พิจารณาบนพื้นฐานของปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน (Daily Intake Reference Value, DIRVs) ของประชากรทั่วไปสุขภาพดีในช่วงอายุ 19-50 ปี และค่าพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน 2,000 กิโลแคลอรี ปรับลดช่วงอายุอ้างอิงจาก “อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป” เป็น “อายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป” อ้างอิงตามมาตรฐาน CODEX เพื่อแบ่งกลุ่มประชากรให้ชัดเจน โดยแยกกลุ่มทารกและเด็กเล็ก (อายุ 0-3 ปี) ออกจากกลุ่มประชากรทั่วไป ไม่กำหนดค่า Thai RDIs ของฟลูออไรด์ สอดคล้องกับหลักการพิจารณากำหนดค่า DRIs ของกรมอนามัย

6.เกณฑ์และเงื่อนไขการกล่าวอ้างทางโภชนาการ : ปรับเงื่อนไขการคำนวณปริมาณสารอาหารกรณีอาหารที่มีปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงไม่เกิน 30 กรัม หรือไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะ จากการคำนวณ “ต่อ 50 กรัม”  เป็น“ต่อ 2 เท่า ของปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง” และมีการเพิ่มเงื่อนไขปริมาณ “น้ำตาลทั้งหมด มากกว่า 13กรัม” สอดคล้องกับเงื่อนไขการแสดงข้อความ“เพื่อสุขภาพ” และการกล่าวอ้างทางสุขภาพของอาหาร ปรับเงื่อนไขข้อความกล่าวอ้าง  ไขมันอิ่มตัวต่ำ” “โซเดียมน้อย” “ไม่เติมน้ำตาล/ไม่ใส่น้ำตาล” “เป็นแหล่งของ, มี” “สูง, อุดม”กรณีเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารค่าต่ำสุด = 15% THAI RDIs ค่าสูงสุด = ปรับชนิดและปริมาณตามบัญชีแนบท้ายประกาศฯ 

สำหรับผู้ประกอบการที่ผลิตอาหารที่ยื่นขออนุญาตแสดงฉลากโภชนาการก่อนวันที่ประกาศฉบับใหม่บังคับใช้ ผู้ประกอบการยังคงสามารถจำหน่ายต่อไปได้ โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวง สาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ. 2541 เรื่อง ฉลากโภชนาการ แต่ต้องไม่เกินสามปี นับแต่ฉบับใหม่บังคับใช้คือ ไม่เกินวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2570 หลังจากนั้นต้องแสดงฉลากโภชนาการตามประกาศฯฉบับใหม่

อีกหนึ่งบทบาทสำคัญของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัดมหาชน ผู้บริหาร เซเว่น อีเลฟเว่นและเซเว่น เดลิเวอรี่ ที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของอาหารนอกจากสรรหาอาหารคุณภาพมีความปลอดภัยสูงให้กับผู้บริโภคแล้ว ยังจัดให้มีโครงการเสริมความรู้ใหม่ๆ ให้กับคู่ค้าและผู้ประกอบการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนไทยอย่างต่อเนื่อง

“สกาย กรุ๊ป” เผยผลประกอบการ Q1/2567 กวาดรายได้ 1,379 ล้านบาท โตแรง 68% กำไรสุทธิ 117 ล้านบาท รับสัญญาณบวกอุตสาหกรรมท่องเที่ยวคึกคักยอดผู้โดยสารเข้า-ออกประเทศทะลัก ดันรายได้จากโครงการเกี่ยวกับสนามบินพุ่งหนุนธุรกิจ Aviation Tech และ Airport Services เติบโตต่อเนื่อง โชว์แบ็คล็อกแกร่ง 22,000 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าจัดทัพโครงสร้างในการทำธุรกิจให้มีความชัดเจนเพื่อเสริมฐานการเติบโตสร้างความแข็งแกร่งในอนาคต

นายสิทธิเดช มัยลาภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ สกาย กรุ๊ป (SKY Group) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2567 (ม.ค.- มี.ค. 67)  บริษัทสามารถทำรายได้ 1,379 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 117 ล้านบาท เติบโตขึ้น 68% และ 40% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยการเติบโตที่ต่อเนื่องนั้นมาจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคักขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้ยอดผู้โดยสารเดินทางเข้า-ออกประเทศเพิ่มสูงขึ้น โดยในไตรมาสแรก 2567 มียอดผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 22.84% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปี 2566 ส่งผลให้รายได้จากโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับท่าอากาศยาน อาทิ ระบบบริการผู้โดยสารขึ้นเครื่อง (Common Use Passenger Processing System: CUPPS) และโครงการการให้บริการระบบตรวจสอบและคัดกรองผู้โดยสารล่วงหน้า (Advance Passenger Processing System: APPS) มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางเข้า-ออกประเทศไทย นอกจากนี้ บริษัทมีการรับรู้รายได้จากบริษัทในเครืออย่าง บริษัท เมทเธียร์ จำกัด และบริษัท โปร อินไซด์ จำกัด (มหาชน) รวมถึงการลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทอื่นที่มีศักยภาพ ส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

นายสิทธิเดช กล่าวอีกว่า สำหรับแผนการดำเนินงานในไตรมาส 2/2567 นอกจากการพัฒนาและสร้างสรรค์เทคโนโลยีด้าน Aviation Tech อย่างต่อเนื่องในโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสนามบินแล้ว สกาย กรุ๊ป ยังคงเดินหน้าจัดทัพโครงสร้างธุรกิจในเครือ เพื่อรองรับการขยายการเติบโตของแต่ละธุรกิจให้มีความชัดเจน โดยมีบริษัท เมทเธียร์ จำกัด ดำเนินธุรกิจการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์อัจฉริยะ (Smart Facility Management) เจาะกลุ่มโครงการขนาดกลางถึงขนาดใหญ่รวมถึงผู้ให้บริการรายอื่นที่ต้องการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงยกระดับการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและการทำความสะอาดให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และบริษัท โปร อินไซด์ จำกัด (มหาชน) ดูแลงานประมูลไอทีโซลูชันภาครัฐเป็นหลัก ซึ่งมีแผนเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยได้เข้ายื่นไฟลิ่งขาย IPO 140 ล้านหุ้น คาดว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จในปีนี้

ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาส 1/2567 บริษัทได้เข้าทำสัญญาใหม่และมีงานที่อยู่ระหว่างรอส่งมอบตามสัญญาในอนาคต (Backlog) อยู่ทั้งสิ้นประมาณ 22,000 ล้านบาท โดยจะทยอยรับรู้รายได้ให้กับสกาย กรุ๊ปในอีกอย่างน้อย 6-7 ปี

“สกาย กรุ๊ป เรามองหาโอกาสใหม่ในการลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพ และเตรียมความพร้อมให้กับบริษัทอย่างต่อเนื่องทั้งด้านเทคโนโลยีและบุคลากรเพื่อรับมือกับโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ อาทิ เทคโนโลยีความปลอดภัยอัจฉริยะ แพลตฟอร์มดิจิทัล ไปจนถึงการขยายสู่ธุรกิจเทคโนโลยีด้านต่างๆ ในอนาคตเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเข้ามาเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง มั่นใจว่าในภาพรวมบริษัทจะยังคงเติบโตได้อย่างมั่นคง” นายสิทธิเดช กล่าว

 

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และ ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพิ่มเติมแนบท้าย (Addendum) เรื่อง การส่งเสริมการลงทุนและบริการทางการเงินเพื่อพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ระหว่าง EXIM BANK กับ สกพอ. เพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุนใน EEC ในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ การแพทย์และสุขภาพ ดิจิทัล ยานยนต์ไฟฟ้า ธุรกิจชีวภาพหมุนเวียน และภาคบริการ รวมถึงการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) การส่งออก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน สอดรับกับเป้าหมายของ EXIM BANK ที่มุ่งสู่บทบาท Green Development Bank สนับสนุนธุรกิจไทยสู่เวทีโลกด้วยการบริหารจัดการทางการเงินเพื่อความยั่งยืน ณ สกพอ. เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567

ความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK และ สกพอ. ในครั้งนี้เป็นการสานพลังจุดแข็งของทั้ง 2 หน่วยงาน ในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาธุรกิจการค้าและการลงทุนของผู้ประกอบการไทย โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของ EXIM BANK และ สกพอ. ต่อยอดความร่วมมือจากเดิม EXIM BANK ได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ EEC ไปแล้วมูลค่ารวมกว่า 20,000 ล้านบาท เพื่อสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการค้าการลงทุนให้เกิด Supply Chain การส่งออกที่มีความยั่งยืน ต่อยอดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับชุมชน สังคม ประเทศ และโลกโดยรวม

Page 1 of 625
X

Right Click

No right click