สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) จตุจักร กรุงเทพฯ: ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และดร.สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ เรื่องความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาวิทยาการระบบและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ เกษตร และพลังงานของประเทศ โดยมี ดร.รอยล จิตรดอน ที่ปรึกษา สสน. ดร.รอยบุญ รัศมีเทศ รองผู้อำนวยการ สสน. พร้อมด้วย ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการ สวทช. และ ดร.ปิยวุฒิ ศรีชัยกุล รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. เข้าร่วมงาน

ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. พร้อมสนับสนุนความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาวิทยาการระบบและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ เกษตร และพลังงานของประเทศ ซึ่งเป็นงานวิจัยที่มีการพัฒนาขึ้นมากในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา โดย สวทช. ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนางานวิจัยดังกล่าว ทำให้ประเทศสามารถสร้างเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการน้ำ เกษตรและพลังงานโดยสามารถขยายเครือข่ายงานวิจัยได้อย่างกว้างขวางและยั่งยืน

ทั้งนี้ความร่วมมือล่าสุดของสองหน่วยงาน จะร่วมมือภายใต้โครงการแพลตฟอร์ม Thailand Agricultural Data Collaboration Platform (THAGRI) เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ภาคการเกษตร ซึ่ง สสน.ได้อนุเคราะห์ข้อมูลคาดการณ์น้ำระยะกลาง (1 - 3 เดือน) มาแบ่งปันให้กับนักพัฒนาบนระบบ THAGRI เพื่อให้นักพัฒนาหรือผู้สนใจนำข้อมูลการคาดการณ์น้ำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ ขณะที่ สวทช. มีผู้เชี่ยวชาญและเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ LANTA อันดับหนึ่งในอาเซียน ด้วยประสิทธิภาพในการคำนวณที่สูงถึง 8.1 พันล้านล้านคำสั่งต่อวินาที ที่สามารถรองรับการใช้งานได้กับหัวข้อวิจัยที่สำคัญและหลากหลาย เพื่อสนับสนุนนักวิจัยในการสร้างนวัตกรรมให้กับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรม อาทิ การจำลองสภาพภูมิอากาศตามเวลาจริงโดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม และความหลากหลายทางระบบนิเวศวิทยาของไทย เป็นต้น

“ที่ผ่านมา สสน.และ สวทช. มีความร่วมมือในโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่และฤดูกาลปลูกด้วยข้อมูลทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม (RiceFit) โดย สวทช. ได้ใช้ข้อมูลด้านปริมาณน้ำจาก สสน. มาประกอบในการคัดเลือกพันธุ์ปลูกที่เหมาะสมต่อสถานที่และฤดูกาล เพื่อลดความเสี่ยงในการผลิต นอกจากนี้ในโครงการบูรณาการข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ

ใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร (What2Grow) ซึ่งได้จัดทำแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ ระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ (AgriMap) ยังได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบโทรมาตรของ สสน. มาแสดงผลในชั้นแผนที่ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบให้เกษตรกรสามารถเลือกพืชที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่ต้องการปลูกได้สะดวกขึ้น” ผู้อำนวยการ สวทช. ระบุ

ด้าน ดร.สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการ สสน. กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ สสน. มีแนวทางดำเนินงานให้เกิดความร่วมมือ ด้วยการเพิ่มศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย งานพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้านการบริหารจัดการน้ำ เกษตร และพลังงานในทุกภาคส่วน พร้อมส่งเสริม สนับสนุน แลกเปลี่ยน และถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยจะขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ เกษตร และพลังงาน ร่วมกับ สวทช. ตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดกลไกการดำเนินงานที่เชื่อมโยง สอดรับแนวนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติ ให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ นำไปสู่การสร้างประโยชน์ด้านการบริหารจัดการน้ำ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อย่างมั่นคงและยั่งยืน

ธนาคารกรุงไทย” สนับสนุนยกระดับบริการศุลกากรดิจิทัล นำร่องเปิดบริการหนังสือค้ำประกันระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน (ASEAN Customs Transit System: ACTS) หลักประกันเดียวใช้ได้ทั่วภูมิภาค ลดความซ้ำซ้อนและค่าใช้จ่ายในการทำเอกสาร อำนวยความสะดวกผู้ประกอบการขนส่งสินค้าผ่านแดนทางบกในภูมิภาคอาเซียน หนุนธุรกรรมการค้าชายแดน เพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจไทยและภูมิภาคอาเซียน

นายธวัชชัย ชีวานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารจัดการทางการเงินเพื่อธุรกิจ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ในฐานะธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ ธนาคารมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกรมศุลกากร ในการยกระดับบริการศุลกากรสู่ดิจิทัล เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและภาคธุรกิจ ให้สามารถเข้าถึงบริการได้ทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ปลอดภัย ยกระดับคุณภาพชีวิตทั้งของคนไทยและธุรกิจไทยให้ดีขึ้นในทุกวัน ตามยุทธศาสตร์ X2G2X ของธนาคาร โดยที่ผ่านมาธนาคารได้พัฒนาระบบลงทะเบียนผู้มาติดต่อออนไลน์ทาง “Customs Trader Portal” ผ่าน www.customstraderportal.com เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลงทะเบียนผู้นำเข้า/ส่งออก ตัวแทนออกของ และผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของ โดยเพิ่มช่องทางให้สามารถลงทะเบียนแก้ไขข้อมูลและต่ออายุ รวมถึงบริการอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งระบบลงทะเบียนดังกล่าวจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน ไม่ต้องเดินทางมายังหน่วยบริการรับลงทะเบียนของกรมศุลกากร หรือมอบบัตรประชาชนให้กับผู้รับมอบอำนาจมาดำเนินการแทน ด้วยการยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC) ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลลงทะเบียนนั้นถูกต้องและปลอดภัย นอกจากนี้ ธนาคารกรุงไทยยังได้พัฒนาระบบใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ช่วยลดขั้นตอนเอกสารและลดการใช้กระดาษอีกด้วย

ล่าสุด ธนาคารได้นำร่องเปิดให้บริการหนังสือค้ำประกันระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน หรือ Bank Guarantee for ASEAN Customs Transit System (ACTS) เป็นธนาคารแรก เพื่อยกระดับการค้าระหว่างประเทศและเพิ่มประสิทธิภาพบริการศุลกากรสำหรับการขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน ประกอบด้วย ไทย มาเลเซีย พม่า ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และกัมพูชา โดยผู้ประกอบการสามารถวางหนังสือค้ำประกันฉบับเดียวเพื่อเป็นหลักประกันในการขนส่งสินค้าผ่านแดนไปยังทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน ที่ใช้ระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน ลดความซ้ำซ้อนและค่าใช้จ่าย โดยไม่ต้องจัดทำเอกสารผ่านแดนทุกครั้ง เมื่อขนส่งสินค้าผ่านไปยังประเทศต่างๆ และยังสามารถเลือกได้ว่าจะวางค้ำประกันเป็นแบบต่อเที่ยว (Single journey) หรือวางค้ำประกันเป็นแบบหลายเที่ยวต่อการวางค้ำประกันหนึ่งครั้ง (Multiple journey) อีกทั้งยังสามารถใช้ยานพาหนะเดียววิ่งรับขนส่งสินค้าตลอดการผ่านแดน โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายยานพาหนะ ทำให้กระบวนการขนส่งมีความรวดเร็วขึ้น และสามารถส่งคำขอออกหนังสือค้ำประกันผ่านแดนได้ทุกที่ ผ่านระบบ Krungthai Trade Online ทำให้บริหารจัดการการขนส่งสินค้าและเวลาในการทำธุรกรรมได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ บริการหนังสือค้ำประกันระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน ยังช่วยสนับสนุนกระบวนการทางด้านโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันทาง

การค้าระหว่างประเทศ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประเทศผ่านแดนว่าการขนส่งสินค้าผ่านแดนทางบก มีความมั่นคง ปลอดภัย สอดคล้องกับเป้าหมายกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit: AFAFGIT) ช่วยยกระดับการค้าชายแดนไทย-อาเซียนให้ขยายตัวต่อเนื่อง จากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2565 การค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยมีมูลค่ารวมกว่า 1,598,794 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.52% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ข้อมูลจากกรมการค้าต่างประเทศ) โดยการขยายตัวของการค้าชายแดน มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการส่งออกของไทยให้เติบโตได้ตามเป้าหมาย และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจติดต่อ เจ้าหน้าที่ดูแลลูกค้าธุรกิจสัมพันธ์ หรือผู้ชำนาญการธุรกิจต่างประเทศ (ทีม Trade Solutions) ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Contact Center โทร 02-111-9999

นายสุรชัย นิ่มละออ Chief Innovation & Technology Officer บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด และนายวิเชษฐ์ ชูเชื้อ Chief Operating Officer บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลง

การศึกษาความเป็นไปได้ในการดักจับคาร์บอนและการใช้ประโยชน์จากก๊าซเผาไหม้ ที่ปล่อยจากกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” กับนาย Takashi Suzuki (ทาคาชิ ซูซูกิ) BoD Environment Energy Sector - Nippon Steel Engineering Co., Ltd. (NSE) และ นาย Masaya Watanabe (มาซายะ วาตานาเบะ) CEO - Thai Nippon Steel Engineering and Construction Corporation, Ltd. (TNS) โดยความร่วมมือดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนบางส่วนจาก New Energy and Industrial Technology Development Organization (NEDO) ของรัฐบาลญี่ปุ่น สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ นำโดย นายชนะ ภูมี Vice President – Cement and Green Solution Business ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี และนาย Yukito Ishiwa (ยูกิโตะ อิชิวะ) Representative Director and President – NSE Group เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero Cement & Concrete ในปี 2050

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ในประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 30 ล้านตันต่อปี ซึ่งอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ได้ให้ความสำคัญและเร่งขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพื่อลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อย่างเร่งด่วน หนึ่งในแผนการดำเนินงาน คือ การศึกษาและนำเอา Carbon Capture and Utilization (CCU) เทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับและเหมาะสำหรับการนำมาใช้ดักจับก๊าซเผาไหม้ที่มีความดันค่อนข้างต่ำและความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำในปริมาณมาก เช่น ก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ทุกประเภท รวมถึงก๊าซจากปล่องของโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ เป็นต้น

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ ทางเอสซีจี และ NSE จะได้ร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในระบบการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แบบดูดซับสารเคมีที่พัฒนาขึ้นภายในบริษัท ที่เรียกว่า “ESCAP™”[1] เพื่อดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากก๊าซเผาไหม้ที่ปล่อยออกมาจากโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ของเอสซีจี ที่จังหวัดสระบุรี และจะพัฒนาโครงการ[2] และโมเดลทางธุรกิจในการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ประโยชน์ โดยจะเปลี่ยนให้เป็นก๊าซมีเทน รวมถึงก๊าซออกซิเจนที่เกิดจากกระบวนการผลิต จะถูกนำกลับไปใช้ในโรงงานปูนซีเมนต์ นอกจากนี้ความร้อนที่เกิดจากระบบส่วนหนึ่งจะถูกนำไปหมุนเวียนในระบบ ESCAP™ เพื่อเป็นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตปูนซีเมนต์ด้วยความรับผิดชอบต่อโลกและสิ่งแวดล้อม โดยเบื้องต้นเอสซีจี มีแผนเตรียมโรงงานนำร่อง (Demonstration Plant) ที่พัฒนาร่วมกับ NSE ในปี 2024 (โดยประมาณ) เพื่อนำผลการศึกษาความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีดังกล่าว และนำข้อมูลไปออกแบบและติดตั้งโรงงานในเชิงพาณิชย์ (Commercial Plant) ต่อไป เพื่อให้ได้ระบบที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับโรงงานผู้ผลิตปูนซีเมนต์ อันเป็นหนึ่งในความมุ่งมั่นของเอสซีจี เพื่อบรรลุเป้าหมาย “Net Zero Cement & Concrete ภายในปี 2050” สอดคล้องตามแนวทาง ESG 4 Plus ได้แก่ “1. มุ่ง Net Zero 2. Go Green 3. Lean เหลื่อมล้ำ 4. ย้ำร่วมมือ Plus เชื่อมั่น โปร่งใส”

รายงาน Quarterly Global Outlook ประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ของธนาคารยูโอบี เผย 10 ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้ประเทศในอาเซียนสามารถรับมือความผันผวนของตลาดในอนาคต

ปี 2565 ถูกรุมเร้าด้วยผลกระทบต่อเนื่องจากโควิด-19 ความขัดแย้งทางทหารระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีน การหยุดชะงักของอุปทานในกลุ่มพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ อัตราเงินเฟ้อสูงในรอบหลายทศวรรษทั่วโลก การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยเฟดและธนาคารกลางอื่นๆ และการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ แต่เป็นที่น่ายินดีที่ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถต้านทานความผันผวนของตลาดการเงินในปี 2565ไว้ได้

รายงานของยูโอบี ได้สรุป 10 ปัจจัยสำคัญที่สะท้อนความยืดหยุ่นของประเทศสมาชิกอาเซียนในการรับมือกับความผันผวนของตลาดตลอดปีที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับการรับมือกับความผันผวนของตลาดในอนาคตด้วยเช่นกัน

1. เศรษฐกิจของประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่ฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งในไตรมาส 2-3 ของปี 2565 จากการส่งออกและอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยมาเลเซียมีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในอาเซียนในไตรมาส 3 ปี 2565

2. ผลผลิตของประเทศในอาเซียน (ยกเว้นประเทศไทย) กลับไปสู่ระดับก่อนเกิดโควิดแล้ว จากอุปสงค์การส่งออกและการเปิดเศรษฐกิจใหม่ที่กระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ

3. การค้าในอาเซียนยังแข็งแกร่ง โดยในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ผู้ส่งออกและภาคการผลิตในอาเซียนเป็นผู้ได้ประโยชน์หลัก แต่ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าอุปสงค์ทั่วโลกคาดว่าจะอ่อนตัวลงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายและกิจกรรมทางธุรกิจ

4. การฟื้นตัวของการท่องเที่ยว การยกเลิกข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 และการเปิดเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ ในอาเซียนอีกครั้งตั้งแต่กลางปี 2565 ทำให้อาเซียนฟื้นตัวเร็วขึ้นจากกระแสนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นและตลาดภาคบริการที่ดีดตัวขึ้น ปัจจัยเหล่านี้คาดว่าจะเป็นเสาหลักสำหรับเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2566 และเมื่อจีนผ่อนคลายนโยบายปลอดโควิดและเปิดพรมแดนอีกครั้งจะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยหนุนให้การท่องเที่ยวในอาเซียนฟื้นตัว

5. อัตราเงินเฟ้อในอาเซียนโดยทั่วไปอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับตลาดที่พัฒนาแล้วในปี 2565 ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

6. การเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน สัดส่วนการนำเข้าของสหรัฐฯ จากอาเซียนโดยเฉพาะเวียดนามเพิ่มขึ้น ในขณะที่การนำเข้าของสหรัฐฯ จากจีนลดลงหลังจากปี 2559 ซึ่งโดยรวมจะส่งผลดีต่ออาเซียนในฐานะศูนย์กลางการผลิตและการส่งออก

7. จากการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานส่งผลให้ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในอาเซียนเพิ่มขึ้น 44% ในปี 2564 ทำสถิติสูงสุดที่ 175.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ และอาเซียนมี FDI ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก รองจากสหรัฐฯ และจีน

8. ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่สะสมเพิ่มขึ้นตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย ทำให้มีเกราะป้องกันมากขึ้นจากความผันผวนของตลาดการเงิน

9. ความสามารถในการชำระค่านำเข้าเป็นอีกปัจจัยที่สะท้อนความแข็งแกร่ง โดยประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่มีเงินสำรองเพียงพอสำหรับการชำระค่านำเข้า 3 เดือน

10. ประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่มีหนี้ต่างประเทศระยะสั้นค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับเงินสำรอง

เศรษฐกิจทั่วโลกเติบโตช้าลงในปี 2566

นายเอ็นริโก้ ทานูวิดฮาฮา นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารยูโอบี สิงคโปร์ เผยว่า “แม้ว่าปัจจัยพื้นฐานที่ดีขึ้นช่วยให้ตลาดอาเซียนสามารถต้านทานความผันผวนของตลาดการเงินในปี 2565 ได้ แต่คาดว่าปีหน้าจะเป็นปีที่ท้าทายและมีความไม่แน่นอนจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อาทิ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ภาวะการเงินที่ตึงตัว ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ตึงเครียดมากขึ้น และความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงปัจจัยเสริมอื่นๆ เนื่องจากเศรษฐกิจของอาเซียนมุ่งเน้นการส่งออกเป็นหลักตลอดจนเป็นแหล่งรองรับเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก เราจึงไม่สามารถเพิกเฉยต่อปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้”

อย่างไรก็ตามความเสี่ยงเหล่านี้อาจถูกลดทอนลงบ้างจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของกิจกรรมภายในประเทศ การผ่อนคลายข้อจำกัดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการเปิดการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนอีกครั้ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคธุรกิจค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม การเดินทาง ที่พัก และอื่นๆ ภายในประเทศ และเมื่อจีนเปิดพรมแดนอีกครั้งจะช่วยฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวโดยเฉพาะในประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม

“โดยรวมแล้วเราคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของ GDP ทั่วโลกจะลดลงในปี 2566 โดยตลาดที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และอังกฤษ มีอัตราการเติบโตที่ลดลงทั้งปี ในขณะที่ประเทศเศรษฐกิจหลักในอาเซียน (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และ เวียดนาม) คาดว่าการเติบโตจะชะลอตัวลงต่ำกว่า 5% ในปี 2566 จากที่สูงกว่า 6% ในปี 2565” นายเอ็นริโก้ กล่าวปิดท้าย

 

ผนึกกำลังส่งเสริมความร่วมมือข้ามพรมแดน สนับสนุนการฟื้นฟู การเติบโตของภาค SME และการผนึกกำลังของรัฐบาล

ฟิลิปปินส์ ฟินเทค เฟสติวัล (Philippine FinTech Festival หรือ PFF) ซึ่งมีขึ้นเป็นครั้งแรกและจัดนานตลอดทั้งสัปดาห์ เช่นเดียวกับเวิลด์ ฟินเทค เฟสติวัล (World FinTech Festival หรือ WFF) ณ ฟิลิปปินส์ ได้ชูอาเซียนเป็นมหาอำนาจระดับโลกสำหรับนักนวัตกรรม งานนี้มีผู้นำจากภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกเข้าร่วมถึง 200 ราย โดยฟิลิปปินส์ ฟินเทค เฟสติวัล ได้เปิดฉากอาเซียน ฟินเทค มันธ์ (ASEAN FinTech Month) ซึ่งเป็นไฮไลท์สำคัญของงานสิงคโปร์ ฟินเทค เฟสติวัล (Singapore FinTech Festival) ที่เพิ่งปิดฉากไปเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน งานนี้มีดิจิทัล พิลิพินาส (Digital Pilipinas) ซึ่งเป็นขบวนการภาคเอกชนที่ใหญ่ที่สุดเพื่อยกระดับเทคโนโลยีของชาติ เป็นผู้ดำเนินการประชุมร่วมกับอีเลวานดี (Elevandi) องค์กรที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ก่อตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมการหารือระหว่างภาครัฐกับเอกชนสู่การยกระดับฟินเทค

คุณเดวิด อัลมีโรล (David Almirol) ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของฟิลิปปินส์ ให้คำมั่นกับผู้เข้าร่วมงานว่า "รัฐบาลคือพันธมิตรของคุณในการส่งเสริมความยั่งยืนของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล"

คุณซปเนนดู โมฮันตี (Sopnendu Mohanty) ประธานเจ้าหน้าที่ฟินเทคของธนาคารกลางสิงคโปร์ เปิดเผยว่า "การฟื้นฟู" คือหัวใจสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ "ธุรกิจขนาดเล็กที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลจำนวนมาก"

ความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีศักยภาพทางดิจิทัลสูงอย่างฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฮังการี อิสราเอล และญี่ปุ่น ได้ก่อให้เกิดความร่วมมือมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์ฝึกอบรมทางการค้าแห่งฟิลิปปินส์ในสังกัดกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมกับพร็อกซ์เทรา (Proxtera) ของธนาคารกลางสิงคโปร์ ไปจนถึงข้อตกลงระหว่างดิจิทัล พิลิพินาส กับโครงการส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางดิจิทัล (Digitális Jólét) ของฮังการี แอฟฟินิดี (Affinidi) และสำนักงานบริการทางการเงินของอินโดนีเซีย

คุณเว่ย โจว (Wei Zhou) ซีอีโอของ Coins.ph กล่าวว่า "ฐานผู้ใช้ของ PFF ตลอดจนเงินทุนและโครงการต่าง ๆ จะช่วยผลักดัน" ความร่วมมือของอาเซียน

ฟิลิปปินส์ ฟินเทค เฟสติวัล มีผู้เข้าร่วมรวมกันกว่า 5,000 ราย โดยได้หารือเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสต่าง ๆ เกี่ยวกับความร่วมมือทางดิจิทัล บิ๊กดาต้าและปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีประกันภัย การเงินสีเขียว การเงินแบบเปิด NFT อีวอลเล็ต และสกุลเงินดิจิทัล ไปจนถึงเทคโนโลยีการศึกษา ความมั่งคั่ง การตลาด การเกษตร และอสังหาริมทรัพย์

ผู้มีส่วนร่วมในงานฟิลิปปินส์ ฟินเทค เฟสติวัล ประกอบด้วยผู้นำเสนอร่วมอย่าง Coins.ph และผู้ร่วมจัดงานอย่างอีติกา ฟิลิปปินส์ (Etiqa Philippines); อังคัส (Angkas); เพย์มองโก (Paymongo), ยูเนียนแบงก์แห่งฟิลิปปินส์ (UnionBank); ดิจิคูป (digiCOOP); แอนวานซ์ เอไอ (ADVANCE.AI); นินจาแวน ฟิลิปปินส์ (NinjaVan Philippines); เคพีเอ็มจี (KPMG) สาขาฟิลิปปินส์; ยูโน ดิจิทัล แบงก์ (UNO Digital Bank); ครีเอเดอร์ (Creador); โกลบ (Globe); พรูไลฟ์ ยูเค (PruLife UK); อะคิวบ์ ลอว์ (ACUBELAW); กอร์ริซตา แอฟริกา คอชัน แอนด์ ซาเวดรา (Gorriceta Africa Caution & Saavedra); บรังกาส (Brankas); จีแคช (GCash); ซีโอแอล ไฟแนนเชียล (COL Financial) และเซ็นดิต ฟิลิปปินส์ (Xendit Philippines) รวมถึงพันธมิตรรายอื่น ๆ ได้แก่ เทค เอ็กแซกลี (Tech Exactly); สตาร์ทอัพ วิลเลจ (StartUp Village); เบานซ์แบ็ค ฟิลิปปินส์ (Bounce Back Philippines); สมาคมฟินเทคฟิลิปปินส์ (Fintech Philippines Association); ฟินสกอร์ (FinScore); มหาวิทยาลัยมาปัว (Mapua University) และไกเซอร์มากลาง (GeiserMaclang)

ส่วนพันธมิตรภาคสื่อมวลชนประกอบด้วยกลุ่มบริษัทอินไควเรอร์ (Inquirer Group); อินไควเรอร์ โมไบล์ (Inquirer Mobile); อินไควเรอร์ ดอตเน็ต (Inquirer.Net); ฟิลิปปิน เดลีย์ อินไควเรอร์ (Phillipine Daily Inquirer); เดอะ ฟิลิปปิน สตาร์ (The

Phillipine Star); มะนิลา บูลเลติน (Manila Bulletin); ยูไนเต็ด นีออน (United Neon) คอยน์เวสตาซี (Coinvestasi) และคอยน์กีค (CoinGeek)

ผู้นำภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมต่างมีมุมมองเชิงบวกต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของอาเซียนในฐานะมหาอำนาจทางดิจิทัลระดับโลก

 

Page 3 of 4
X

Right Click

No right click