จบลงแล้ว... กับการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนอาเซียน “JINTAN U14 ASEAN Dream Football Tournament 2023” รอบชิงชนะเลิศ โดยได้รับเกียรติจาก สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมน์ และองค์กร Japan Dream Football Association (JDFA) พร้อม มร.มาซาโอะ คิบะ (Mr. Masao Kiba) อดีตนักฟุตบอลกัปตันทีมชาติญี่ปุ่น และประธาน JDFA และ มร. ฮิเด็ตสึงุ อิชิดะ ผู้บริหาร Morishita Jintan Co., Ltd.,

ผู้สนับสนุนการจัดการแข่งขัน ร่วมแสดงความยินดีและมอบรางวัลแก่ทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนอาเซียนในครั้งนี้ ได้แก่ ทีมกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ซึ่งเอาชนะ ทีมกัมบะ โอซาก้า ด้วยคะแนน 3 – 2 พร้อมแสดงความยินดีกับยอดเยาวชนที่มีทักษะและฝีเท้าที่โดดเด่น ได้แก่ ปรเมศ ละอองดี เบอร์ 23จากทีม กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และ ณัฐกร รักษา จากทีมอัสสัมชัญ ยูไนเต็ด พร้อมด้วย นรากร ทองจรัส จากทีม การท่าเรือ เอฟซี ได้รับคัดเลือกไปเปิดประสบการณ์ฝึกซ้อมกับหนึ่งในสโมสรชั้นนำภายใต้ J. League ลีกฟุตบอลอาชีพระดับสูงสุดของประเทศญี่ปุ่น

ด้าน มร.มาซาโอะ คิบะ ประธาน JDFA กล่าวว่า “ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน U14 ครั้งที่ 6 จะจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบสี่ปีนับตั้งแต่ปี 2019 และในขณะที่หลายคนคาดหวังว่าทัวร์นาเมนต์นี้จะกลับมาอีกครั้ง เราสามารถจัดงานนี้ได้ด้วยการสนับสนุนและความร่วมมือจากผู้คนมากมาย ในทัวร์นาเมนต์นี้ เราหวังว่าไม่เพียงแต่ผู้เล่นชาวไทย ญี่ปุ่น และอาเซียนเท่านั้นที่จะได้ฝึกฝน แต่ยังได้รับประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้เฉพาะในทัวร์นาเมนต์นี้ผ่านประสบการณ์ระหว่างประเทศ และการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ ผมหวังว่าเราจะยังคงพัฒนามิตรภาพที่ก้าวข้ามพรมแดนของประเทศและไม่ลืมจิตวิญญาณของการเล่นที่ยุติธรรม ผมหวังว่าจะสร้างผู้เล่นดาวรุ่งในอนาคตผ่านทัวร์นาเมนต์นี้ ผมขอแสดงความยินดีกับผู้ชนะการแข่งขัน! ทีมรองชนะเลิศ ยังสู้ได้อย่างยอดเยี่ยม ผมขอขอบคุณผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ของทีมอื่น ๆ ที่เข้าร่วมสำหรับการแข่งขันที่ยอดเยี่ยม”

การแข่งขันฟุตบอลเยาวชนอาเซียน “JINTAN U14 ASEAN Dream Football Tournament 2023” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 มีทีมฟุตบอลเยาวชนเข้าร่วมแข่งขัน รวมทั้งหมด จำนวน 12 ทีม แบ่งออกเป็นทีมจากประเทศไทย จำนวน 9 ทีม ทีมจากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 2 ทีม และจำนวน 1 ทีมจากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งผลการแข่งขัน มีดังนี้

- รางวัลทีมชนะเลิศ “JINTAN U14 ASEAN Dream Football Tournament 2023”

ได้แก่ ทีมกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีมกัมบะ โอซาก้า

- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีมอัสสัมชัญ ยูไนเต็ด

- รางวัลอาเซียนดรีมเพลเยอร์ (ASEAN Dream Player) ได้แก่

1. ปรเมศ ละอองดี จากทีม กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

2. ณัฐกร รักษา จากทีม อัสสัมชัญ ยูไนเต็ด

3. นรากร ทองจรัส จากทีม การท่าเรือ เอฟซี

- รางวัลผู้ทำคะแนนยิงประตูยอดเยี่ยม Top Score Award และ รางวัลผู้เล่นดีเด่น Most Valuable Player ได้แก่ ปรเมศ ละอองดี จากทีม กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

27 กรกฎาคม 2566 - 30 กรกฎาคมของทุกปีจะเป็นวันเฉลิมฉลองกิจกรรมดำน้ำโลก (World Snorkelling Day) airasia Superapp ในฐานะซูเปอร์แอปด้านการเดินทางและท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในอาเซียน ขอนำเสนอแหล่งดำน้ำแบบสนอกเกอร์ลิ่งระดับโลกในอาเซียน พร้อมแหล่งท่องเที่ยวที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนที่หลงใหลในกิจกรรมดำน้ำตื้น

การดำน้ำถือเป็นกิจกรรมที่เพลิดเพลินเหมาะสำหรับทุกคนไม่ว่าจะมาเป็นครอบครัว กลุ่มเพื่อน หรือไปแบบฉายเดี่ยว  จากน้ำทะเลอันสวยใสในประเทศฟิลิปปินส์ไปจนถึงความหลากหลายของชีวิตสัตว์ใต้ทะเลในอินโดนีเซีย ปะการังหลากสีสันในมาเลเซีย และแดนสวรรค์นอกชายฝั่งของประเทศไทย ปฏิเสธไม่ได้ว่าท้องทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแรงบันดาลใจที่ดึงดูดนักดำน้ำจากทั่วทุกมุมโลก

เวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในอาเซียน ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

บนการคาดการณ์ที่ยังเติบโตเฉลี่ยต่อเนื่องสูงถึง 6.6% ต่อปีในช่วงปี 2565-2571 ผลจากความสำเร็จในการเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของอาเซียน จากการที่เศรษฐกิจขยายตัวเป็นการเพิ่มกำลังซื้อ ขณะที่ภาคผลิตมีความต้องการปัจจัยการผลิต ส่งผลให้เวียดนามมีการนำเข้าสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นตลาดส่งออกหลักอันดับ 4 ของไทยในปี 2565 ด้วยมูลค่า 4.59 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตามด้วยโครงสร้างทางเศรษฐกิจของเวียดนามที่พลิกโฉมความท้าทายจากการแข่งขันทางการค้า รวมถึงนโยบายทางเศรษฐกิจของเวียดนามส่งผลให้ตลาดส่งออกของไทยไปเวียดนามคาดว่าจะเผชิญกับแรงกดดันอย่างรุนแรงตั้งแต่ต้นปี 2566 เป็นต้นไป

เวียดนามเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจจากการเป็นฐานการผลิตสำคัญของบรรษัทข้ามชาติต่าง ๆ จากข้อได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนการผลิต รวมถึงข้อได้เปรียบจากพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับตลาดใหญ่ในหลากหลายภูมิภาค เช่น การคมนาคมทางทะเลในเส้นทางแปซิฟิก ที่เชื่อมโยงกับตลาดเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น รวมถึงตลาดใหญ่ของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะโครงข่ายคมนาคมทางบกที่เอื้ออำนวยในการเชื่อมโยงของเศรษฐกิจเวียดนามเข้ากับประเทศในกลุ่มอาเซียน ส่งผลให้เวียดนามเป็นแหล่งรับเม็ดเงินการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ (Foreign Direct Investment) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2565 ที่สูงถึง 22.4 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นรากฐานการพัฒนาทางเศรษฐกิจของเวียดนามให้มีการขยายตัวต่อเนื่องที่เฉลี่ยสูงถึง 6.6% ในช่วงปี 2566-2571 จากการประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

ทั้งนี้ เศรษฐกิจเวียดนามได้รับแรงขับเคลื่อนผ่านการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ ทำให้เวียดนามมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจด้วยค่าเฉลี่ยสูงถึง 7.3% บนรายได้ต่อหัว (GDP Per Capita) ที่เพิ่มขึ้นถึง 90.1% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ส่งผลต่อการนำเข้ากลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามกำลังซื้อที่เพิ่มอย่างก้าวกระโดด ในขณะเดียวกันการเป็นฐานการผลิตสำคัญในภูมิภาคอาเซียน เป็นการเพิ่มความต้องการนำเข้าสินค้าในกลุ่มของปัจจัยการผลิต ส่งผลให้เวียดนามยกระดับการเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยที่มีมูลค่าอันดับ 9 ในปี 2555 กลายเป็นตลาดส่งออกอันดับ 4 ในปี 2565 ที่มูลค่า 4.59 แสนล้านบาท ซึ่งเติบโตถึง 129% เมื่อเที่ยบกับช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีนับจากปี 2566 ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินสถานการณ์ส่งออกไปเวียดนามมีแรงกดดันมากขึ้น โดยคาดว่ามูลค่าส่งออกจะชะลอตัวลงเหลือ 3.97 - 4.02 แสนล้านบาท หรือลดลง 12.3% - 13.4% จากแรงกดดัน 4 ประการดังต่อไปนี้

1) ราคาสินค้าส่งออกหลักหลายรายการมีทิศทางลดลง เช่น เม็ดพลาสติก และ ผลิตภัณฑ์โลหะทองแดงที่มีมูลค่าการส่งออก 3.3 หมื่นล้านบาท และ 1.46 หมื่นล้านบาท ในปี 2565 มีราคาส่งออกต่อหน่วยที่ลดลง 6.5% และ 8.0% ตามลำดับ รวมถึง น้ำมันสำเร็จรูปที่มีมูลค่าส่งออกสูงถึง 4.7 หมื่นล้านบาท มีแรงกดดันจากราคาที่ปรับลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 8.7% แต่เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยทั้งปีอาจปรับลดลงถึง 17.7% นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 การ

ส่งออกไทยยังได้รับแรงกดดันจากอัตราแลกเปลี่ยนที่กดดันให้มูลค่าการส่งออกลดลงจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีหลังของปี 2565 ที่เงินบาทอ่อนค่าทะลุที่ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในเดือนตุลาคม

2) การผลิตในเวียดนามสามารถรองรับอุปสงค์ในประเทศได้ดีขึ้น จากการยกระดับเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ เช่น การสร้างโรงกลั่นน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามที่เริ่มผลิตได้เต็มกำลังการผลิตในปีที่ผ่านมา และการย้ายฐานการผลิตของผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ ส่งผลต่อการลดการพึ่งพิงการนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศได้อย่างมีนัยสำคัญ

3) การนำเข้าในตลาดเวียดนามมีการแข่งขันสูงขึ้น เช่น กลุ่มสินค้าน้ำมันสำเร็จรูป ที่เวียดนามมีทิศทางนำเข้าจากเกาหลีใต้เพิ่มสูงขึ้นโดยมีมูลค่า 38% จากมูลค่านำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปทั้งหมดจากความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่เกาหลีใต้เข้าไปลงทุนในธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน ในขณะที่การนำเข้าจากไทยมีทิศทางลดลงจากที่เคยมีสัดส่วนที่ 16.3% ในปี 2564 ลดลงเหลือเพียง 12.6% ในปี 2565 รวมถึงในกลุ่มสินค้าส่งออกลำดับ 6 เช่น ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับทองแดงที่มีมูลค่าส่งออกในปี 2565 ที่ 1.46 หมื่นล้านบาท พบทิศทางการนำเข้าของเวียดนามจากประเทศอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากปี 2561 ที่เวียดนามนำเข้าทองแดงจากอินโดนีเซียเพียง 8.8% เมื่อเทียบกับการนำเข้าจากไทย เพิ่มสูงขึ้นเป็น 34.8% ในปี 2565 ที่ผ่านมา รวมถึงใน 5 เดือนแรกของปี 2566 พบสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มสูงถึง 54% สะท้อนถึงบทบาทการถูกลดบทบาทของไทยในการเป็นคู่ค้าสำคัญของเวียดนามลงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น

4) ผลของนโยบายภายในประเทศเวียดนาม ในประเด็นความตื่นตัวของการลดการใช้ถุงพลาสติกในปี 2573 โดยเริ่มมีมาตรการบังคับใช้อย่างจริงจังในร้านละดวกซื้อและห้างสรรพสินค้าในปี 2568 และจะเริ่มมีการปรับเงินเมื่อแจกถุงประเภทใช้แล้วทิ้งในปี 2569 ส่งผลให้เวียดนามเริ่มมีความตื่นตัวและเริ่มปรับกลยุทธ์เพื่อลดการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติก ส่งผลให้ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 นี้ มูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยไปเวียดนามลดลงถึง 36.5% โดยเป็นการลดลงจากผลของปริมาณส่งออกสูงถึง 28%

โดยสรุป เวียดนามนับเป็นตลาดส่งออกที่มีบทบาทเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลามากกว่า 10 ปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามด้วยเบื้องหลังความสำเร็จของการยกระดับด้านการเป็นฐานการผลิตสำคัญในภูมิภาคอาเซียนของเวียดนามช่วยพัฒนาภาคการผลิตที่สามารถใช้เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เวียดนามสามารถลดการพึ่งพิงการนำเข้าสินค้าอุปโภคขั้นสุดท้ายได้ในหลากหลายรายการ รวมถึงบนโมเมนตัมการขยายตัวของเศรษฐกิจและภาคการค้าของเวียดนามเป็นที่ดึงดูงให้เป็นคู่ค้าสำคัญโดยเฉพาะกลุ่มเอเชียตะวันออกที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหญ่และได้เปรียบเรื่องการคมนาคมขนส่ง ส่งผลให้การส่งออกของไทยไปเวียดนามนับจากปี 2566 คาดว่าจะเผชิญกับความท้าทายอย่างต่อเนื่อง และเป็นโจทย์ให้รัฐบาลชุดใหม่ในการเร่งเจรจาการค้าเพื่อชดเชยความเสียเปรียบให้กับประเทศคู่ค้าอื่น รวมถึงภาคธุรกิจจำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อรักษาศักยภาพส่งออกสินค้าในกลุ่มปัจจัยการผลิตที่สามารถเติบโตได้ตามภาคการผลิตของเวียดนาม เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่เติบโตตามกำลังซื้อ เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เป็นต้น

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยเดินหน้าสนับสนุนสินเชื่อทางการเงิน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตสีเขียวให้แก่ภูมิภาคอาเซียน ธนาคารพร้อมสนับสนุนสินเชื่อทางการเงินภายใต้กรอบแนวคิดเพื่อความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจในทุกภาคอุตสาหกรรมในการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission)

โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารยูโอบี ได้เข้าร่วมงาน ฟิวเจอร์ โมบิลิตี้ เอเชีย (Future Mobility Asia) และ “ฟิวเจอร์ เอนเนอร์จี เอเชีย” (Future Energy Asia) ประจำปี 2566 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและนำเสนอโซลูชันทางการเงินของธนาคาร ที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืนให้แก่ภูมิภาค ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงในอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผู้กำหนดนโยบายที่เข้าร่วมงานในปีนี้

นายตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ ธนาคารยูโอบียึดมั่นในแนวทางการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมผนึกความร่วมมือกับทุกภาคส่วนผ่านโครงการเพื่อความยั่งยืนที่หลากหลายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น ยูโอบีในฐานะธนาคารที่ตอบโจทย์ครบในหนึ่งเดียวเพื่อเข้าถึงโอกาสเติบโตทางธุรกิจทั่วอาเซียน ยืนยันจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงินที่พร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ยั่งยืน และเพื่อสิ่งแวดล้อมให้แก่สังคม ปัจจุบันสภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องเร่งด่วนสำหรับพวกเราทุกคน ธนาคารพร้อมนำเสนอกรอบแนวคิดและโซลูชันทางการเงินเพื่อความยั่งยืนที่ช่วยส่งเสริมและสร้างโอกาสให้แก่บริษัทในทุกภาคอุตสาหกรรมในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนร่วมกัน”

รายงานการศึกษาขององค์การสหประชาชาติพบว่าภาคธุรกิจพลังงานเป็นอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 3 ใน 4 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มีการปล่อยทั่วโลก1 ธุรกิจพลังงานจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนในแหล่งพลังงานหมุนเวียนทดแทนเพิ่มขึ้น แทนที่การใช้พลังงานจากก๊าซ ถ่านหิน และน้ำมัน เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

ยูโอบีย้ำถึงบทบาทของธนาคารในการจัดสรรเงินในการลงทุนเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปใช้พลังงานสะอาดให้มากขึ้น ซึ่งรายงานการศึกษาของสำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ (International Renewable Energy Agency: IRENA) พบว่าต้องมีการจัดสรรเงินลงทุนรวมกว่า 57 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐให้แก่ธุรกิจพลังงานไปจนถึงปี 2573 เพื่อจำกัดอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามความตกลงปารีส (Paris Agreement)2 โดยเงินลงทุนประมาณร้อยละ 57 มาจากการปล่อยกู้และการระดมทุนโดยสถาบันการเงิน อีกร้อยละ 25 มาจากเงินลงทุนในบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ (private equity markets) และส่วนที่เหลือมาจากเงินลงทุนของธนาคารเพื่อการพัฒนาต่างๆ และเงินลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (public equity markets)

สำหรับภาคขนส่งที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึงร้อยละ 20 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก การพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมยานยนต์พลังงานสะอาดในอนาคตเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ ยูโอบีมองว่าแนวโน้มการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าทั่วโลกจะเติบโตถึงร้อยละ 18 ภายในปี 2566 และจะมากถึงร้อยละ 35 ภายในปี 2573 โดยเฉพาะในอาเซียนที่ยอดจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในหลายประเทศมีแนวโน้มจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 จากนโยบายของรัฐบาลที่เกื้อหนุนต่ออุตสาหกรรมและโมเดลรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือในประเทศไทย และประเทศอินโดนิเซียที่รัฐบาลกำหนดให้การพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานรถยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในวาระแห่งชาติเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป็นนโยบายเศรษฐกิจหลักเพื่อส่งเสริมให้ค่ายผู้ผลิตให้ย้ายฐานการผลิต

ธนาคารยูโอบีพร้อมสนับสนุนโซลูชันทางเงินแบบครบวงจรภายใต้โครงการยู-ไดรฟ์ (U-drive) เพื่อเชื่อมต่อไปยังทุกภาคส่วนตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า ตั้งแต่ บริษัทผลิตรถยนต์ บริษัทผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วนรถยนต์(OEMs) ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ผู้ประกอบการสถานีชาร์จแบตเตอรี่ ไปจนถึงผู้บริโภค ให้สามารถนำระบบขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ตลอดจนขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน

นอกจากนี้ธนาคารได้ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาโซลูชันทางการเงินที่ล้ำสมัยให้ตอบสนองต่อความต้องการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดของภูมิภาค เช่น สินเชื่อทางการเงินเพื่ออนุรักษ์พลังงานสำหรับอาคารและที่อยู่อาศัยภายใต้โครงการยู-เอนเนอร์จี (U-Energy) ควบคู่ไปกับการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร หรือส่งเสริมความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม

โครงการยู-โซลาร์ (U-Solar) โซลูชันทางการเงินแบบครบวงจรที่สนับสนุนทุกภาคส่วน ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไปให้เปลี่ยนมาใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์มากขึ้น ความสำเร็จของโครงการในประเทศไทย สิงค์โปร์ อินโดนิเซีย และมาเลเซียช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนและเร่งให้การพัฒนาด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในอาเซียนเป็นไปอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน โครงการยู-โซลาร์ของสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 186,000 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า (tCO2e) ทั่วภูมิภาคอาเซียน

กรุงเทพฯ 28 มีนาคม 2566 - สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) ร่วมกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด เปิดตัว 20 สตาร์ทอัพ ภายใต้โครงการ SPACE-F รุ่นที่ 4 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โครงการ SPACE-F นั้น มุ่งเน้นให้สตาร์ทอัพในธุรกิจเทคโนโลยีอาหารได้พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม รองรับกับความท้าทายในปัจจุบันและอนาคตที่ต้องเผชิญในอุตสาหกรรม สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมจะได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ โอกาสในการเข้าถึงเครือข่ายและแหล่งเงินทุน เพื่อการเติบโตของธุรกิจ

นอกจากนี้ สตาร์ทอัพทุกทีมที่เข้าร่วมโครงการยังมีโอกาสเข้าใช้สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงโอกาสในการสร้างผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดร่วมกับ Thai Union Group PCL หนึ่งในผู้ผลิตอาหารทะเลชั้นนำที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ในปีนี้ เรามีสตาร์ทอัพเข้าร่วมโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 4 ทั้งสิ้น 20 ราย แบ่งออกเป็น 10 ราย จาก 3 ประเทศ เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะ (Incubator program) และ 10 ราย จาก 6 ประเทศ เข้าร่วมโครงการเร่งการเติบโต (Accelerator program)

ดร. ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ Group Director, Global Innovation บริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานเปิดตัวโครงการว่า ประเทศไทย เป็นหนึ่งในผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ที่สุดโลก จนได้รับการขนานนามว่า “ครัวของโลก” แต่หากมองในมุมการสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านอาหาร หรือสตาร์ทอัพที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ ก็จะพบว่าประเทศไทยเมื่อ 5 ปีที่แล้วไม่ได้มีความโดดเด่นทางด้านนี้เลย ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นจุดเริ่มที่ทำให้ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จึงจับมือกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) และมหาวิทยาลัยมหิดล สร้างแพลตฟอร์มที่ดึงดูดสตาร์ทอัพที่พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านอาหาร ที่น่าสนใจมาบ่มเพาะ และเร่งการเติบโตของสตาร์ทอัพในประเทศไทยผ่าน SPACE-F Global FoodTech Incubator and Accelerator ที่มีการเตรียมการระบบนิเวศ และความเชี่ยวชาญให้เพรียบพร้อม เพื่อผลักดันให้สตาร์ทอัพเติบโตและประสบผลสำเร็จได้เร็ว สร้างอิมแพคให้อุตสาหกรรมได้ ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์มของเราได้มีการสนับสนุนสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมอย่างเต็มที่ โดยวันนี้เรามีสตาร์ทอัพกว่า 90% ที่ยังคงมีการเติบโตทางธุรกิจ และสร้าง

คุณค่าต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิสัยทัศน์และความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน เราเชื่อว่าประเทศไทยจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านอาหารของโลก เป็นศูนย์กลางเพื่อสร้าง บ่มเพาะ เร่งการเติบโตเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านอาหารระดับโลก”

 

FoodTech startups 10 ราย เข้าร่วม Incubator program

1. ImpacFat (Singapore): Enhancing nutrition and taste of alternative meats with fish cell-based fat

2. Marina Biosciences (Singapore): cultivate seafood delicacies to make exquisite foods more exquisite, whilst saving the lives of animals

3. Mycovation (Singapore): Transforming Mycelium into novel ingredients using fermentation technology

4. Nutricious (Thailand): Egg White Protein-Rich Beverage

5. Plant Origin (Thailand): Egg Alternative from Rice Bran Protein

6. PROBICIENT (Singapore): the world’s first probiotics beer

7. Rak THAIs by Angkaew Lab (Thailand): Fermented espresso cold brew coffee

8. The Kawa Project (United States): sustainable alternative to cocoa powder

9. Trumpkin (Thailand): non-dairy cheese from pumpkin seed

10. Zima Sensors (Singapore): Package Leak Detection, made seamless

FoodTech startups 10 ราย เข้าร่วม Accelerator program

1. Genesea (Israel): Seaweed food tech company, producing alternative protein extraction & ingredients from macro-algae

2. Lypid (United States): Alternative fat solutions

3. NovoNutrients (United States): The low-cost, globally scalable solution for making alternative protein by capturing carbon

4. TeOra (Singapore): Building the future of sustainable food for 10 billion humans

5. AlgaHealth (Israel): We put healthy into food!

6. Seadling (Malaysia): Seaweed Functional Nutrition

7. MOA (Spain): healthy food for a sustainable future

8. Pullulo (Singapore): ACHIEVING A SUSTAINABLE FUTURE WITH MICROBIAL PROTEIN

9. The Leaf Protein Co. (Australia): Unlocking Earth’s most abundant source of protein

10. AmbrosiaBio (Israel): Enabling a healthy lifestyle without compromising the product's taste

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ SPACE-F สามารถเข้าชมได้ที่ https://www.space-f.co

Page 2 of 4
X

Right Click

No right click