×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10972

ออมอร์ มากลาง (Amor Maclang) ผู้จัดงาน "ดิจิทัล พิลิพินาส" และ "ฟิลิปปินส์ ฟินเทค เฟสติวัล" (Philippine Fintech Festival) คว้ารางวัลผู้นำด้านฟินเทคประจำภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Fintech Leader Award)

เป็นครั้งแรกในนามของประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อเป็นการยกย่องความพยายามในการสร้างความร่วมมือข้ามพรมแดนที่แข็งแกร่งทั่วทั้งภูมิภาค

งานโกลบอล ฟินเทค อวอร์ดส์ (Global FinTech Awards) จัดขึ้นในฐานะส่วนหนึ่งของงานสิงคโปร์ ฟินเทค เฟสติวัล (Singapore FinTech Festival) ในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นการรวมตัวของบริษัทชั้นนำด้านฟินเทคและเศรษฐกิจดิจิทัลทั่วโลก

คุณมากลาง กล่าวว่า "ฟินเทคเป็นหนึ่งในเสาหลักที่สามารถทำให้เศรษฐกิจดิจิทัลของเรามีภูมิคุ้มกันต่อความเปราะบาง ไม่ใช่เพียงแค่มีความยืดหยุ่นเท่านั้น รางวัลนี้ไม่เพียงเป็นการตอกย้ำถึงความสนใจทั่วโลกที่มีต่ออนาคตของดิจิทัล พิลิพินาส แต่ยังรวมถึงความเป็นดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียนโดยรวม ท้ายที่สุดแล้ว ฟินเทคที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั่นไม่ใช่บริษัทเดียว แต่เป็นอาเซียนโดยรวม เราได้ร่วมแบ่งปันสิ่งนี้ร่วมกับสุดยอดผู้นำด้านฟินเทคทั่วทั้งภูมิภาค ผู้ซึ่งทำงานร่วมกันอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย"

อนึ่ง งานโกลบอล ฟินเทค อวอร์ดส์ เปิดตัวในปี 2564 โดยถือเป็นรางวัลสูงสุดในอุตสาหกรรมด้านนวัตกรรมฟินเทค ร่วมจัดโดยองค์การเงินตราแห่งประเทศสิงคโปร์ (MAS), สมาคมฟินเทคแห่งประเทศสิงคโปร์ (SFA) และสมาคมธนาคารสิงคโปร์ ตลอดจนได้รับการสนับสนุนจากพีดับบลิวซี สิงคโปร์ (PwC Singapore) เพื่อยกย่องนวัตกรรมฟินเทคที่ล้ำสมัยของบริษัทฟินเทค สถาบันการเงิน และบริษัทเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังมอบรางวัลแก่บุคคลและบริษัทที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างโอกาสการเติบโตใหม่ ๆ เพื่อพลิกโฉมแนวทางปฏิบัติในอุตสาหกรรมฟินเทคและส่งเสริมการเปิดกว้างทางการเงิน

ในแถลงการณ์ คุณซปเนนดู โมฮันตี (Sopnendu Mohanty) ประธานเจ้าหน้าที่ฟินเทคของ MAS กล่าวว่า ผู้ชนะในปีนี้ "ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่แข็งแกร่งในการแก้ไขปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง ในขณะเดียวกันยังสามารถทำให้ภาคการเงินได้ใช้ประโยชน์มหาศาลจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากมายในการเดินทางสู่อนาคตโลกดิจิทัลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น"

คุณชาดับ ไทยาบิ (Shadab Taiyabi) ประธานสมาคมฟินเทคแห่งประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า รางวัลนี้เป็นการยกย่องบุคคลและองค์กรต่าง ๆ "ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่ออีโคซิสเต็มของฟินเทค และในขณะเดียวกัน ยังส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมที่มีความต่อเนื่องภายในภาคส่วนฟินเทคอีกด้วย"

คุณมากลางเป็นผู้นำการเคลื่อนไหวด้านฟินเทคในภูมิภาคอาเซียน สร้างความร่วมมือข้ามพรมแดนและการทำงานระหว่างหน่วยงานระดับภูมิภาคและระดับชาติ, ผู้นำอุตสาหกรรม, สถาบันการศึกษา, ผู้กำหนดนโยบาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน

นอกจากนี้ คุณมากลางยังได้กระตุ้นและสร้างแพลตฟอร์มด้านฟินเทคให้เติบโตในประเทศในฐานะผู้จัดงานฟิลิปปินส์ ฟินเทค เฟสติวัล ตั้งขบวนการ วัน อาเซียน ฟินเทค (One ASEAN Fintech Movement) และเป็นตัวแทนของฟิลิปปินส์ในสมาคมบล็อกเชนประจำภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Blockchain Consortium) ปัจจุบัน คุณมากลางดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารและผู้ดูแลผลประโยชน์ประจำสมาคมฟินเทคแห่งประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทเกย์เซอร์มากลาง (GeiserMaclang) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านอีโคซิสเต็มเทคโนโลยีใหม่ชั้นนำ

นอกเหนือจากคุณมากลางแล้ว ผู้ที่ได้รับรางวัลจากเวทีเดียวกันนี้ยังประกอบด้วยคุณเดวิด เฉิน (David Chen) จากอาโตมี ไฟแนนเชียล (Atome Financial), คุณเอดดี้ หว่อง (Eddy Wong) จากวีชัวร์กรุ๊ป (VSure Group), คุณซาลิม ดานานิ (Salim Dhanani) จากบิ๊กเพย์ (BigPay) และคุณโซฮินิ ราโจลา (Sohini Rajola) จากเวสเทิร์น ยูเนี่ยน (Western Union)

ธีมของรางวัลประจำปี 2565 ได้แก่ "Embracing Digital, Charting the New Normal (โอบรับดิจิทัล สำรวจโลกนิวนอร์มัล) เพื่อให้ตระหนักถึงความรวดเร็วของการทำให้เป็นดิจิทัลในธุรกิจต่าง ๆ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ผู้ชนะจะถูกคัดเลือกโดยคณะกรรมการระดับนานาชาติที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมจากหลายภาคส่วน และตัดสินตามเกณฑ์ของผลลัพธ์ นวัตกรรม และคุณูปการที่มีต่ออีโคซิสเต็มฟินเทค

รายงานวิจัยของ Bain & Company และ WEF พบว่า ชนชั้นกลางมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 70% ของประชากร และการอุปโภคบริโภคจะเพิ่มขึ้นถึง 2.2 เท่า เป็นมูลค่าเกือบ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030 อาเซียนเป็นภูมิภาคที่แสดงถึงโอกาสในการอุปโภคบริโภคที่สามารถเพิ่มขึ้นได้อีกมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ด้วยแรงขับเคลื่อนจากปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ แนวโน้มด้านประชากรที่มีความแข็งแกร่ง ระดับรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงด้านภูมิศาสตร์การเมืองที่ทำให้มีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น และความก้าวหน้าด้านดิจิทัลที่เปิดตลาดผู้บริโภคใหม่ ๆ โดยภายในปี 2030 นี้ จะเกิดแนวคิดหัวข้อเรื่องการอุปโภคบริโภคที่สำคัญ 8 ประการขึ้นในอาเซียน ซึ่งรวมถึงการอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นสองเท่า และเส้นขอบเขตระหว่างการช็อปปิ้งแบบพรีเมียมกับการช็อปปิ้งแบบคุ้มค่าที่ลดชัดเจนน้อยลง แนวคิดบางข้อนี้จะเกิดเร็วขึ้นเป็นผลเนื่องจากโรคโควิด-19 อาทิ การนำระบบดิจิทัลมาใช้ และช่องทางการค้าปลีกที่เปลี่ยนไป โดยข้อมูลเหล่านี้เป็นผลการวิจัยของรายงาน Future of Consumption in Fast-Growth Consumer Markets: ASEAN 2030 ที่จัดทำโดย Bain & Company และ World Economic Forum

Zara Ingilizian ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภคและแพลตฟอร์มการอุปโภคบริโภคในอนาคต (Head of Consumer Industries and Future of Consumption Platform) จาก World Economic Forum กล่าวว่า "ขณะที่อาเซียนเดินหน้าต่อในฐานะหนึ่งในสภาพแวดล้อมการอุปโภคบริโภคที่มีความเคลื่อนไหวมากที่สุดในโลก ผู้นำในภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องมีความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อรับประกันว่า การอุปโภคบริโภคดังกล่าวเป็นไปอย่างมีความรับผิดชอบและทั่วถึง แม้ว่าเรากำลังเตรียมรับมือกับความท้าทายเฉพาะหน้าที่เกิดจากโรคโควิด-19 แต่ดิฉันก็มั่นใจว่า การคาดการณ์เชิงกลยุทธ์จากรายงานฉบับนี้จะมีส่วนสนับสนุนในการทำให้เกิดการลงมือทำสิ่งต่าง ๆ และจะนำมาซึ่งอนาคตของอาเซียนที่มั่งคั่งในระยะยาว และสร้างผลประโยชน์ที่ยั่งยืนสำหรับทั้งภาคธุรกิจและสังคม"

เศรษฐกิจของอาเซียนมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก และคาดว่าจะมีการเติบโตในทศวรรษหน้าจนกลายเป็นเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก ซึ่งเป็นผลเนืองมาจากระดับรายได้เพิ่มขึ้น และคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ต่อหัวในระดับภูมิภาคจะเพิ่มขึ้น 4% ในแต่ละปี เป็นมูลค่าถึง 6,600 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2030 ซึ่งจะทำให้สินค้าหลายประเภทไปถึงจุดหักเหที่การอุปโภคบริโภคจะพุ่งสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คาดการณ์ได้ว่าการอุปโภคบริโภคในประเทศซึ่งขับเคลื่อน GDP ราว 60% ในขณะนี้จะเพิ่มขึ้น 2 เท่า เท่ากับมูลค่า 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

"ภายในทศวรรษหน้า อาเซียนจะมีผู้บริโภคใหม่ถึง 140 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 16% ของผู้บริโภคทั่วโลก โดยผู้บริโภคจำนวนมากจะทำการซื้อสินค้าออนไลน์เป็นครั้งแรก รวมถึงจะซื้อสินค้าหรูหราชิ้นแรกอีกด้วย" Praneeth Yendamuri พาร์ทเนอร์ของ Bain & Company และผู้ร่วมเขียนรายงานฉบับนี้ กล่าว "แต่เมื่อการเติบโตนี้ดำเนินต่อไป องค์กรภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องจัดการกับวิกฤติเฉพาะหน้า ทั้งในด้านสาธารณสุขและด้านมนุษยธรรมที่เกิดจากโรคโควิด รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤติดังกล่าวนี้"

การนำระบบดิจิทัลมาใช้อย่างรวดเร็วจะดำเนินต่อไปในอาเซียน ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวได้รับการกระตุ้นโดยผู้บริโภคที่เติบโตในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล การลงทุนของนักลงทุนในนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี และโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิทัล โดยภายในปี 2030 จะมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในอาเซียนเกือบ 575 ล้านคน และระบบดิจิทัลจะปรากฏอยู่ในทุกพื้นที่ของการอุปโภคบริโภคในแต่ละวัน เมื่อระบบดิจิทัลเข้าไปถึงชุมชนในชนบทและชุมชนที่มีรายได้ต่ำ ระบบดังกล่าวก็จะช่วยกำจัดอุปสรรคที่ขัดขวางการเติบโตของธุรกิจขนาดเล็ก และทำให้ชุมชนสามารถเข้าถึงบริการพื้นฐาน อาทิ บริการด้านสาธารณสุข การศึกษา และบริการทางการเงินได้ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการทำให้ชุมชนที่ด้อยโอกาสมีช่องทางในการเข้าถึงระบบดิจิทัลเพื่อรับข่าวสารเกี่ยวกับสาธารณสุขและสามารถสั่งซื้อสิ่งของที่จำเป็นต่าง ๆ ได้

ในขณะที่ภาพรวมด้านการอุปโภคบริโภคจะมีการพัฒนาในทศวรรษถัดไป ผู้นำในภาครัฐและเอกชนก็จะได้พบกับโอกาสและเผชิญความท้าทายต่าง ๆ มากมาย ดังนั้น ในการปลดล็อกศักยภาพของภูมิภาคนี้ให้เต็มที่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำเป็นต้องเตรียมดำเนินการใน 5 ข้อดังต่อไปนี้:

  1. เตรียมพร้อมในด้านสาธารณสุขและด้านเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าจะฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  2. มุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถและการมีส่วนร่วมทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยในช่วงทศวรรษหน้า ประชากร 40 ล้านคนในอาเซียนจะอยู่ในช่วงวัยทำงาน ขณะที่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจะส่งผลกระทบลักษณะและจำนวนตำแหน่งงาน โดยเด็กประมาณ 65% ที่จะเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาในปีนี้จะได้ทำงานที่ไม่มีปรากฏอยู่ในขณะนี้
  3. การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะทำให้มีการเปลี่ยนไปใช้บริการระบบอัตโนมัติอย่างรวดเร็วขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสร้างงานใหม่ ลดช่องว่างด้านทักษะ และจัดหาช่องทางเข้าถึงการศึกษา บริการสาธารณสุข และโภชนาการที่ดี เพื่อรับรองว่าแรงงานในอนาคตจะมีขีดความสามารถในการแข่งขันและมีอนาคตที่มั่นคง
  4. ยกระดับโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการขยายตัวและพัฒนาให้กลายเป็นเมือง รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากร เนื่องจากทรัพยากรของอาเซียนจะต้องรับแรงกดดันจากอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
  5. ผลักดันให้มีกฎระเบียบที่เปิดกว้างและครบวงจร โดยใช้แนวทางวิธีที่เน้นความสำคัญของท้องถิ่น เนื่องจากภูมิภาคอาเซียนจะได้รับประโยชน์จากการเชื่อมโยงและเชื่อมต่อระหว่างกันที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะด้วยการเคลื่อนไหวของสินค้าและบริการ การลงทุน ความรู้ และทุนมนุษย์ภายในภูมิภาคด้วยกันเอง

"พฤติกรรมของผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2030 ผู้บริโภคที่เป็นชนชั้นกลางอายุน้อยซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองจะแสวงหาประสบการณ์ทางสังคมและในด้านอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะของแต่ละบุคคลและคุ้มค่าต่อเงินที่ใช้จ่าย ไม่ว่าจะผ่านทางช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ก็ตาม" คุณ Yendamuri กล่าว "เราจะเห็นว่าแต่ละตลาดในอาเซียนมีการพัฒนาที่แตกต่างกัน และวิธีการแบบ 'Multi-local' นี้ก็จะมีความสำคัญต่อบริษัทต่าง ๆ ที่หวังจะประสบความสำเร็จในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยความแตกต่างหลากหลายอย่างมากนี้"

Mayuri Ghosh จากแผนกกลยุทธ์และพันธมิตรความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ฝ่ายแพลตฟอร์มการอุปโภคบริโภคในอนาคต (Strategy & Public-Private Partnerships, Future of Consumption Platform) ของ World Economic Forum กล่าวว่า "ปี 2020 เป็นปีที่เต็มไปด้วยความท้าทายเพราะความไม่แน่นอนที่สืบเนื่องมาจากโรคโควิด-19 หากมองในด้านบวก อาเซียนกำลังอยู่ในจุดที่สำคัญทั้งในแง่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาพลเมืองที่มุ่งเน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง และในระหว่างที่ความเติบโตของอาเซียนดำเนินไปในระยะยาว การเร่งประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนก็สามารถช่วยปลดล็อกศักยภาพทั้งหมดของภูมิภาค ให้อาเซียนกลายเป็นศูนย์กลางแห่งการค้าโลกและการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจได้"

ภาคธุรกิจ ภาครัฐ และผู้กำหนดนโยบาย จะมีอิทธิพลมากขึ้นในตลาดในการนำอาเซียนไปสู่อนาคตแห่งการอุปโภคบริโภคที่ยั่งยืน แต่การบรรลุวิสัยทัศน์นี้ต้องใช้ความร่วมมือที่มุ่งมั่นของบรรดาผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผ่านทางรูปแบบธุรกิจเชิงนวัตกรรมและแบบมีส่วนร่วมที่ได้รับการสนับสนุนจากสภาวะด้านนโยบายที่เอื้ออำนวยโควิด-19 เป็นบททดสอบแรกจากหลาย ๆ บทที่จะเพิ่มความไม่แน่นอนและเผยให้เห็นจุดอ่อนที่ต้องได้รับการแก้ไข พันธมิตรความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการปลดล็อกศักยภาพทั้งหมดของภูมิภาค และเป็นเกราะป้องกันของอาเซียนตลอดการเติบโตในฐานะหนึ่งในตลาดอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวเร็วที่สุด 3 อันดับแรกของโลก

 ผลงานวิจัย  ASEAN’s Top Corporate Brands 2018 โดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซี่งในปีนี้เพิ่มเติมไปถึงแบรนด์องค์กรที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศอาเซียนเป็นครั้งแรก โดยแบรนด์อันดับหนึ่งในแต่ละประเทศมีดังนี้

ประเทศ

บริษัท

มูลค่าแบรนด์องค์กร(ล้านบาท)

อินโดนีเซีย

PT Hanjaya Mandala Sampoerna Tbk

1,008,384

สิงคโปร์

Singapore Telecommunications Limited

760,181

ไทย

ท่าอากาศยานไทย

432,841

ฟิลิปปินส์

SM Prime Holdings, Inc

368,119  

มาเลเซีย

Public Bank Berhad

328,016

เวียดนาม

Vietnam Diary Products Stock Company

256,103

  

Thailand’s Top Corporate Brands 2018

 

หมวดธุรกิจ

บริษัท

มูลค่าแบรนด์องค์กร

(ล้านบาท)

อาหารและเครื่องดื่ม

บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

103,047

ธนาคาร

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

135,297

เงินทุนและหลักทรัพย์

บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

18,815

ประกันภัยและประกันชีวิต

บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

46,327

วัสดุก่อสร้าง

บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน)

41,552

บริการรับเหมาก่อสร้าง

บริษัท ซิโน - ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

10,987

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)

161,686

พลังงานและสาธารณูปโภค

บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

89,886

พาณิชย์

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

127,012

การแพทย์

บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)

271,065

สื่อและสิ่งพิมพ์

บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) 

42,827

การท่องเที่ยวและสันทนาการ

บริษัท โรงแรมเซ็นทรัล พลาซา จำกัด (มหาชน)

37,163

ขนส่งและโลจิสติกส์

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

432,841

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 

58,378

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

162,947

   Thailand’s Top Corporate Brands 2018 จัดขึ้นเป็นปีที่ 7 โดยมี 15 หมวดธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ผ่านเกณฑ์และได้รับรางวัล โดยใช้เครื่องมือวัดมูลค่าแบรนด์องค์กร  CBS Valuation ที่บูรณาการแนวคิดด้านการตลาด การเงิน และการบัญชีเข้าด้วยกัน  ทำให้สามารถวัดมูลค่าแบรนด์องค์กรออกมาเป็นตัวเลขทางการเงิน ซึ่งสามารถสื่อสารให้เกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี โดยเก็บข้อมูลทางการเงินจากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศในอาเซียน 6 ประเทศได้แก่  อินโดนีเซีย มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  ไทย  และเวียดนาม และใช้สูตร CBS Valuation ในการคำนวณหามูลค่าแบรนด์องค์กร

 

Page 4 of 4
X

Right Click

No right click