เดินหน้านวัตกรรมกรีนต่อเนื่อง เพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด รุกธุรกิจในตลาดเติบโตสูง

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) มอบผลิตภัณฑ์โพลิยูรีเทนให้กับมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อใช้ในการผลิตชิ้นส่วนขาเทียมจำนวนทั้งสิ้น 920 กิโลกรัม มูลค่า 85,400 บาท โดยมีคณะผู้บริหารขอมูลนิธิขาเทียมเป็นผู้รับมอบ โดยกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทยให้การสนับสนุนมูลนิธิขาเทียมฯ อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 บริจาคผลิตภัณฑ์โพลิยูรีเทนสำหรับการทำขาเทียมแล้วกว่า 40,000 ขา รวมถึงจัดการอบรมต่าง ๆ แก่เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงและพัฒนาระบบการผลิตเพื่อเพิ่มมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัลส่งผลกระทบต่อโลกธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลายธุรกิจที่เคยประสบความสำเร็จในอดีต อาจเผชิญความท้าทายในการรักษาการเติบโตท่ามกลางการดิสรัป ที่ถาโถม ทั้งจากเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด และปัจจัยภายในองค์กร เช่น ช่องว่างระหว่างวัย (Generation Gap) ซึ่งเป็นความแตกต่างทั้งความคิด ความเชื่อ และทักษะของคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ที่ต้องทำงานร่วมกัน ผู้นำยุคใหม่ จึงต้องเผชิญ เรียนรู้ และปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์เหล่านี้ แนวทางการบริหารธุรกิจของ “ผู้นำที่ใช่” จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ขับเคลื่อนองค์กรให้รอดพ้นจากความท้าทาย และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิโพชฌงค์ (Inner – Self Development Institute) ที่ปรึกษาด้านบริหารและยุทธศาสตร์ให้กับองค์กรชั้นนำระดับแถวหน้า และนักพูดสร้างแรงบันดาลใจที่สร้างอิมแพ็คให้กับใจคนมากมาย ซึ่งมีความเข้าใจในบริบทของการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจ ได้แนะแนวทางสู่ความสำเร็จของ "ผู้นำที่ใช่" ผ่านโครงการ และหนังสือ "The Right Leader" เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้บริหารธุรกิจและองค์กรได้อย่างลงตัว รองรับทุกความเปลี่ยนแปลงและก้าวผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผสมผสาน “การบริหาร” และ "การพัฒนาใจ" เข้าด้วยกัน โดยใช้หลัก "มรรคมีองค์ 8" เกิดเป็น "วิถี 8 สู่ผู้นำที่ไม่มีวันตกยุค" ซึ่งเป็นวิถีที่เปรียบเสมือนวงล้อที่หมุนนำไปสู่การพัฒนาความเป็นผู้นำ ส่งเสริมองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย

 

  1. The Right Mindset กรอบความคิดที่ใช่ (สัมมาทิฏฐิ)

ผู้นำที่ดีต้องมี "กรอบความคิดที่ใช่" หรือ เรียกได้ว่าเป็นชุดความคิดที่เปรียบเสมือนการติดกระดุมเม็ดแรก เป็นรากฐานสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ ผู้นำและผู้ตามควรมี Mindset ที่ตรงกัน เช่น กรอบความคิดเชิงพัฒนา (Growth Mindset) ความเชื่อ และความคาดหวังที่สอดคล้อง เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

  1. The Right Purpose เป้าหมายที่ใช่ (สัมมาสังกัปปะ)

ผู้นำที่ใช่ต้องมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเอง มุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ช่วยเหลือสังคม และไม่เบียดเบียนผู้อื่น “เป้าหมายที่ใช่” นี้ จะสอดคล้องกับ “กรอบความคิดที่ใช่” (The Right Mindset) ของทั้งผู้นำและผู้ตาม

  1. The Right Communication การสื่อสารที่ใช่ (สัมมาวาจา)

"การสื่อสารที่ใช่" คือ กุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กร ผู้นำที่ใช่ควรสื่อสารอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มต้นจากการสื่อสารภายในกับตนเอง แล้วค่อยสื่อสารกับผู้อื่นต่อไป ซึ่งควรชัดเจน ตรงประเด็น เข้าใจง่าย โดยมุ่งเน้นไปที่การบรรลุเป้าหมาย และสามารถถ่ายทอดไปยังพนักงานในทุกระดับ

  1. The Right Action การกระทำที่ใช่ (สัมมากัมมันตะ)

การกระทำของผู้นำมีอิทธิพลต่อพนักงานและองค์กรโดยรวม ทุกกิจกรรมที่ทำล้วนเป็นการกระทำเพื่อบรรลุเป้าหมาย และเป็นการสะท้อนให้เห็นกรอบความคิดของผู้นำที่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีด้วย “การกระทำที่ใช่” ซึ่งต้องคำนึงถึงผลกระทบทั้งต่อผู้คน สังคม และโลก (PSP: People – Social - Planet)

  1. The Right Livelihood การเลี้ยงชีพที่ใช่ (สัมมาอาชีวะ)

“การเลี้ยงชีพที่ใช่” คือ การบวชอยู่กับงาน หมายถึง การทำงานควบคู่ไปกับการปฏิบัติธรรม หรือการพัฒนาใจตนเองนั่นเอง ผู้นำควรบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส ไม่เห็นแก่ตัว แม้จะมุ่งที่การทำธุรกิจอย่างมีกำไร แต่ก็ให้ความสำคัญกับพนักงาน และคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน (Profit - People – Sustainability)

  1. The Right Deliberate Practice ความเพียรที่ใช่ (สัมมาวายามะ)

การทุ่มเทแรงกายแรงใจในสิ่งที่ถูกต้องเป็น "ความเพียรที่ใช่" ผู้นำที่ใช่ควรทุ่มเทในสิ่งที่ผ่านการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง ควบคู่กับการพัฒนาตนเอง สร้างกุศล และขจัดกิเลสออกจากใจ ผู้นำที่เปี่ยมด้วยความเพียรที่ใช่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ  

  1. The Right Mindfulness การระลึกรู้ที่ใช่ (สัมมาสติ)

การมีสติเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ผู้นำทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับการฝึกสติ ประเทศไทยนั้นถือเป็นต้นแบบของการฝึกทักษะนี้ ผู้นำควรฝึกสติเป็นประจำ เปรียบเสมือนการตรวจสอบ "กาย ใจ และความคิด" ของตนเองอยู่เสมอ เมื่อสติมาปัญญาจะเกิด “การระลึกรู้ที่ใช่” เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับผู้นำ ช่วยให้มองเห็นในสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน (Seeing The Unseen) ซึ่งตรงกับหลักการบริหารที่ว่าด้วยการวางแผน ลงมือทำ ตรวจสอบ แก้ไข (Plan Do Check Action) ผู้นำที่ใช่ จะสามารถครองสติและดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืน

  1. The Right Concentration ใจตั้งมั่นที่ใช่ (สัมมาสมาธิ)

ผู้นำจะแพ้หรือชนะมักจะวัดกันด้วยเรื่องการตัดสินใจ หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจผิดพลาดมาจากใจที่ไม่สงบ ผู้นำที่ใจไม่สงบ มักตัดสินใจผิดพลาด ส่งผลเสียต่อองค์กร “ใจตั้งมั่นที่ใช่” คือ การฝึกจิตให้สงบ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้นำ ซึ่งต้องใช้เวลาและควรฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ตัดสินใจได้ดี พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) นำไปสู่การพัฒนาองค์กรในด้านต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

“การนำมรรคมีองค์ 8 มาประยุกต์ใช้ จะช่วยสร้างสมดุลและปลดล็อกความท้าทาย ผ่านการพัฒนาจิตใจผู้นำให้มีความสงบ เกิดปัญญา คิดอย่างมีวิจารณญาณ ตั้งเป้าหมายที่ถูกต้องชัดเจน นำไปสู่การปฏิบัติที่ดีต่อสังคมและโลกภายนอก ส่งผลดีต่อองค์กรทั้งด้านผลประกอบการ พนักงานมีความสุข และนำไปสู่ความยั่งยืน” ดร.วรภัทร์ กล่าวสรุป

ผู้นำมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ ท่ามกลางความท้าทายที่ผันแปรอยู่ตลอดเวลา ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ และไม่หยุดพัฒนาทักษะการเป็นผู้ที่นำที่ใช่ให้กับทั้งผู้บริหารและพนักงาน จะสามารถนำพาองค์กรให้ผ่านพ้นอุปสรรคและคว้าโอกาสใหม่ ๆ ได้ทันท่วงที ช่วยให้องค์กรอยู่รอดและเติบโตในโลกธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างยั่งยืน

“วลัยพร ช่วยยก” เจ้าของร้านจำหน่ายข้าว ใน อ.เมืองนครศรีธรรมราช ที่ทำเป็นธุรกิจครอบครัวมาหลายปี กระทั่งผันตัวเองมาเปิดร้านไก่ย่าง กับธุรกิจห้าดาว จากจุดเริ่มต้นที่ลูกชายของเธอชอบรับประทานไก่ย่าง ประกอบกับตัวเธอเองเป็นคนที่ใส่ใจกับเรื่องอาหารการกินอยู่แล้ว จึงตั้งมาตรฐานกับอาหารสำหรับครอบครัวไว้ค่อนข้างสูง ไม่ใช่จะทานอะไรก็ได้ ดังนั้นเนื้อไก่ที่ลูกทานก็ต้องเป็นไก่ที่ได้มาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย ซึ่งแบรนด์เดียวที่เธอมั่นใจคือ “ไก่ย่างห้าดาว”

วลัยพรไม่รีรอที่จะติดต่อส่วนกลางของธุรกิจห้าดาวผ่านเบอร์ 02-800-8000 จากนั้นทีมงานห้าดาวในพื้นที่นครศรีธรรมราช ก็ติดต่อกลับเธอในทันที ตั้งแต่เข้ามาช่วยหาพื้นที่ในการเปิดร้าน การดูทำเลร้าน รวมถึงประสานงานกับพื้นที่ จนในที่สุดร้านห้าดาวสาขาแรก ที่หน้าร้านเซเว่นเปิดใหม่ หน้าอบต.ท่าซัก อ.เมืองนครศรีธรรมราช จึงเริ่มต้นเปิดร้านในเดือนมิถุนายน 2565 ในรูปแบบกลาสเฮ้าส์ ที่ทันสมัย มีที่นั่งในร้านอย่างสะดวกสบาย จึงได้รับการตอบรับจากลูกค้าที่ดีมาก สาขานี้ขายดีอย่างที่ตั้งเป้าไว้

“ตอนที่เริ่มเปิดสาขาแรก ก็ไม่คิดว่าจะทำจริงจังขนาดนี้ แค่อยากให้เป็นธุรกิจเสริมเพื่อให้ลูกได้ทานไก่ย่างที่ได้มาตรฐาน แต่เวลาทำอะไรเราทุ่มเทอยู่แล้ว โดยเริ่มลงทุนทำเองตั้งแต่เริ่มต้น ทางห้าดาวให้ไปเรียน 5 วัน โดยให้ทีมงานไปด้วย 1 คน ได้เรียนรู้รูปแบบธุรกิจ การบริหารร้าน การจัดการสินค้า เทคนิคการขาย จากนั้นก็ลงมือเองทุกอย่าง เพื่อให้เราทำเป็นและในที่สุดคือสอนงานทีมงานได้ หลังจากใช้เวลาเรียนรู้ จนทีมงานพร้อมและทำได้เหมือนเรา หลังจากนั้นก็ปล่อยมือให้เขาทำกันเอง โดยเราดูแลให้ได้มาตรฐานตามที่บริษัทกำหนด และย้ำกับทีมงานตลอดว่าต้องขายสินค้าที่ดี อร่อย และต้องซื่อสัตย์กับลูกค้าเสมอ” วลัยพร กล่าว

เมื่อร้านแรกไปได้สวย จากนั้นร้านสาขาที่ 2 ก็ตามมา แต่ครั้งนี้ไม่ใช่แค่เพราะอยากให้ลูกทานไก่มาตรฐานเท่านั้น แต่วลัยพรกับสามีคิดตรงกันว่า การลงทุนทำร้านอย่างน้อยก็เป็นการสร้างงานในคนพื้นที่ ให้มีรายได้ มีงานทำ และยังทำให้คนในชุมชนได้รับประทานอาหารที่มีมาตรฐาน สะอาด ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เมื่อมีพื้นที่เหมาะสม เธอจึงเปิดร้านอีกสาขาใกล้บ้าน จากแนวคิดที่ว่าหากซื้อบ้านหลังละล้านกว่าบาท แล้วให้คนมาเช่าก็จะได้ค่าเช่าเดือนละ 3-4 พัน แต่ถ้ามาลงทุนกับร้านห้าดาวหรือซุ้มไก่ย่าง ก็ยังมีกำไรหมุนเวียนต่อเนื่อง

“จากร้านห้าดาวร้านแรก ใช้เวลาเพียง 1 ปี 3 เดือน ในการขยายสู่ร้าน 11 สาขาในวันนี้ ทั้งสาขาที่นครศรีธรรมราช 10 สาขา และขยายสาขาไปที่พัทลุงอีก 1 สาขา ไปทำที่บ้านเกิดของเรา เพราะอยากให้มีร้านห้าดาว ให้คนในพื้นที่บ้านเราได้รับประทานอาหารที่มีมาตรฐาน และคนในชุมชนก็ได้มีงานทำด้วย ถือว่าเราบรรลุเป้าหมายที่วางไว้แล้ว ทั้งเรื่องมาตรฐานอาหารที่ทุกคนควรมีโอกาสเข้าถึง และการสร้างงานสร้างอาชีพด้วยธุรกิจห้าดาว” วลัยพร บอกอย่างมั่นใจ

 

สำหรับกุญแจของความสำเร็จ วลัยพรบอกว่า เกิดจากสินค้าที่มีมาตรฐานที่ดี ซึ่งตัวเธอมั่นใจกับซีพี เพราะเคยทำงาน FOOD Store ของข้าวตราฉัตร มานานกว่า 7 ปี เธอเชื่อมั่นในทุกผลิตภัณฑ์ของบริษัท ที่มีการยกระดับมาตรฐานสินค้าที่ดีอยู่แล้ว ยิ่งธุรกิจห้าดาวที่เป็นผู้นำในธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหาร ที่มีการจัดการร้านและการจำหน่ายที่ดี ควบคู่กับการจัดโปรโมชั่นของบริษัท เมื่อผนวกกับการวางแผนการสั่งสินค้าที่เหมาะสม มีเทคนิคการขาย และการสร้างคนให้พร้อมในการทำงานเสมอ และเธอยังเข้าตรวจร้านทุกสาขา มีกล้องวงจรปิดที่สามารถสั่งการผ่านกล้องได้ ช่วยในการดูแลร้าน  ดูการทำงานของทีมงานและลูกค้า ทำให้ธุรกิจทั้ง 11 สาขาของวลัยพรสำเร็จได้อย่างไม่ยาก

“ห้าดาวไม่ใช่แค่ธุรกิจที่สร้างรายได้ให้เราเท่านั้น แต่ยังสร้างอาชีพให้คนในชุมชนอีกมากมาย ไม่เฉพาะร้านของเรา แต่หมายถึงธุรกิจแฟรนไชส์ห้าดาวทั่วประเทศ อีกกว่า 5,000 สาขา เชื่อว่าธุรกิจนี้จะกลายเป็นมรดกให้กับลูกๆได้ อย่างลูกคนโตอายุ 18 ปี ที่เริ่มเข้ามาเรียนรู้ธุรกิจต่อจากเราแล้ว ส่วนลูกคนเล็กอายุ 12 ปี ก็สนใจมาก โดยนำธุรกิจของแม่ ทั้งการบริหารงาน การดูแลการทำงานของทีมงาน ไปเสนอในวิชาเลือกธุรกิจที่โรงเรียน ถือว่าเป็นความภูมิใจของเขา สำหรับคนที่อยากทำธุรกิจสิ่งที่ต้องมุ่งเน้น คือ ความจริงจังและซื่อสัตย์กับลูกค้า ไม่หวังกำไรอย่างเดียว ต้องเป็นผู้ให้คืนกลับสู่สังคมด้วย” วลัยพร กล่าวทิ้งท้าย.

คัดสรรบทเพลง LIVE and LEARN มา rearrange ใหม่โดย “บอย โกสิยพงษ์”  ส่งผ่านประสบการณ์ตลอด 63 ปีด้วยเสียงที่นุ่มแต่เต็มไปด้วยพลังของ “ปั่น ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว” ตอกย้ำคำสัญญาด้านคุณภาพที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง

เอไอเอ ประเทศไทย โดย นายสุวิรัช พงศ์เสาวภาคย์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการภายนอก เป็นตัวแทนรับโล่ประกาศเกียรติคุณจาก พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี และนายกมูลนิธิ “สานใจไทย สู่ใจใต้” ในโอกาสที่เอไอเอ ประเทศไทย สนับสนุนกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุ จำนวน 320 กรมธรรม์ ให้แก่เยาวชนจาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลา (เฉพาะอำเภอจะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย) ภายใต้โครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

ซึ่งได้นำเยาวชนรุ่นที่ 42 กว่า 320 คน มาพำนักกับครอบครัวอุปถัมภ์ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อมาเปิดโลกทัศน์ เสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในหลากหลายมิติ ทั้งในเรื่องประวัติศาสตร์ชาติไทย การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยได้นำเยาวชนไปทัศนศึกษา เข้าค่ายกิจกรรม และได้ใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวอุปถัมภ์ใน 10 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ สระบุรี อ่างทอง และกรุงเทพมหานคร โดยความคุ้มครองอุบัติเหตุนี้ จะช่วยให้เยาวชนและครอบครัวของเยาวชน ได้มีความอุ่นใจในขณะที่ต้องเดินทางมาทำกิจกรรมและใช้ชีวิตในพื้นที่ต่างภูมิลำเนา ซึ่งการมอบความคุ้มครองดังกล่าว ยังสอดคล้องกับนโยบายด้านความยั่งยืน (ESG) ของเอไอเอ และความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้ผู้คนกว่าพันล้านคนมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้นตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’ ผ่านกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ โดยพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณดังกล่าว จัดขึ้น ณ สโมสรทหารบก (ส่วนกลาง) วิภาวดี เมื่อเร็ว ๆ นี้

ดร.สมพร  สืบถวิลกุล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)  เข้ารับ 2 รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ ในงานสยามรัฐออนไลน์ อวอร์ด ประจำปี 2567  ได้แก่ รางวัลผู้บริหารองค์กรดีเด่นแห่งปีด้านการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมประกันภัย  และรางวัลบริษัทประกันภัยที่ส่งเสริมความยั่งยืนด้านการพัฒนาสังคมยอดเยี่ยม  โดยผลรางวัลมาจากผลการรวบรวมข้อมูลจากประชาชนตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมา ใช้ฐานอ้างอิงข้อมูลจาก Platform BRAND24 และ Google  Trend โดยงานนี้จัดขึ้น ณ True Digital Park

 

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เปิดเผยว่า ช่วงสงกรานต์ 2567 ที่ผ่านมา บัญชี ttb all free เดินหน้ามอบความคุ้มครองอุบัติเหตุฟรี ดูแลลูกค้าถึงที่ ทั่วกรุง ด้วย “รถ Insure แล่น” และยังมอบความคุ้มครองให้ลูกค้าที่ฝากเงินไว้กับ ttb all free ที่เดินทางทั่วไทยและทั่วโลกกว่า 2.2 ล้านราย โดยปีนี้ให้ความคุ้มครองดูแลไปแล้ว 1,775 เคส มูลค่ารวมกว่า 6 ล้านบาท ตอกย้ำผู้นำบัญชีเงินฝากหนึ่งเดียวที่ให้สิทธิ์พื้นฐานด้านการรักษาอุบัติเหตุฟรีจริง โดยลูกค้าไม่ต้องเสียค่าเบี้ยประกันแต่อย่างใด ถือได้ว่าทีทีบีมุ่งมั่นที่จะให้สวัสดิการฟรีแก่คนไทยทุกคน เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง 

ทีทีบีเดินหน้าส่งเสริมให้คนไทยตระหนักใส่ใจเรื่องอุบัติเหตุ ซึ่งถือเป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นความเสี่ยงสำหรับทุกคน เพราะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่มักมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นมากกว่าช่วงปกติหลายเท่าตัว ซึ่งข้อมูลจากศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) พบว่า ระหว่างวันที่ 11-15 เมษายน 2567 มีอุบัติเหตุทางถนนสะสม 1,564 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บสะสม 14,621 ราย ในจำนวนนี้ ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 1,593 ราย และมีผู้เสียชีวิตสะสม 206 ราย

จากแคมเปญที่ ttb all free พร้อมตั้งรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้วย “รถ Insure แล่น” บริการรักษาอุบัติเหตุฟรีถึงที่ทั่วกรุงเทพฯ เพื่อสร้างความอุ่นใจตลอดสงกรานต์ 2567 นี้ ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนทั่วไปและลูกค้าบัญชี ttb all free ถึงกว่า 2.2 ล้านรายที่ได้รับสิทธิ์ฟรีค่ารักษาพยาบาลและคุ้มครองชีวิตเป็นอย่างดี โดยแคมเปญของ ttb all  free ในช่วงสงกรานต์ที่ลงใน Social Media ต่างๆ  ได้มีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประกันอุบัติเหตุที่มอบให้ฟรี สูงถึงกว่า 87,000 แชร์

ทีทีบีภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้คนไทยเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานด้านการรักษาและได้รับการดูแลฟรียามบาดเจ็บตลอดช่วงเทศกาลและทุก ๆ ช่วงของชีวิต ซึ่งแม้เทศกาลสงกรานต์จะจบลงแล้ว แต่ ttb all free จะยังคงดูแลต่อไม่สิ้นสุดด้วยความคุ้มครองประกันอุบัติเหตุฟรี และรักษาฟรีทั่วประเทศตลอดทุกวัน เพื่อส่งมอบประสบการณ์ความอุ่นใจที่มีคนคอยใส่ใจดูแล เพียงแค่เปิดบัญชี ttb all free พร้อมฝากเงินคงไว้ในบัญชี 5,000 บาทขึ้นไป รับความคุ้มครองฟรีทันที ทั้งสิทธิ์เบิกค่ารักษาฟรีจากอุบัติเหตุ 3,000 บาท / อุบัติเหตุ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และมีวงเงินคุ้มครองชีวิต 20 เท่าของเงินฝาก สูงสุด 3 ล้านบาท ยิ่งคงเงินฝากไว้เยอะ ยิ่งได้รับความคุ้มครองสูงขึ้น และยิ่งคงเงินฝากไว้ตลอดทั้งเดือนอย่างต่อเนื่องก็จะได้รับความคุ้มครองอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ เดือน โดยไม่ต้องเสียค่าเบี้ยประกัน หรือค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่ม ก็เบิกค่ารักษาได้ฟรี ให้ลูกค้าอุ่นใจในทุก ๆ วัน ไม่ว่าจะเดินทางไปจังหวัดไหน ก็สามารถเข้ารักษาได้ฟรี ไม่ต้องสำรองจ่ายก่อน

ณ งาน Huawei Analyst Summit ครั้งที่ 21 นายอีริค สวี ประธานกรรมการบริหารแบบหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย ประกาศขอความร่วมมือในกลุ่มนักพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาเนทีฟ แอปฯ สำหรับระบบปฏิบัติการ HarmonyOS ของหัวเว่ย ว่า “เราสนับสนุนให้นักพัฒนาและเจ้าของธุรกิจแอปพลิเคชันในจีนเข้าร่วมอีโคซิสเต็มเนทีฟ แอปฯ ของระบบปฏิบัติการ HarmonyOS (แอปพลิเคชันที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนระบบปฏิบัตการ HarmonyOS โดยเฉพาะ) เพื่อผนึกกำลังมอบประสบการณ์เหนือระดับให้กับลูกค้า”

HarmonyOS คือระบบปฏิบัติการเจเนอเรชันใหม่ของหัวเว่ยที่ทำงานบนอุปกรณ์อัจฉริยะได้หลากหลาย อาทิ สมาร์ทโฟน, อุปกรณ์อัจฉริยะสำหรับสวมใส่, แท็บเล็ตและสมาร์ท ทีวี ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2566 ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS เป็นระบบปฏิบัติการหลักของอุปกรณ์อัจฉริยะมากกว่า 800 ล้านเครื่อง โดยข้อมูลจาก Counterpoint Research เผยว่า HarmonyOS มีส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกถึง 4% และมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 16% ในประเทศจีนในไตรมาสที่สี่ของปี พ.ศ. 2566

นายอีริค สวี กล่าวว่า การพัฒนาอีโคซิสเต็ม HarmonyOS ของหัวเว่ยรุดหน้าอย่างมาก ในปัจจุบัน แอปพลิเคชันจำนวนกว่า 4,000 แอปจากเป้าหมาย 5,000 แอปได้เข้าสู่กระบวนการพัฒนาเพื่อรองรับระบบปฏิบัติการ HarmonyOS โดยหัวเว่ยตั้งเป้าพัฒนาหนึ่งล้านแอปพลิเคชันให้รองรับการใช้งานบนอีโคซิสเต็ม HarmonyOS

นายอีริค สวี เผยว่า HarmonyOS มาพร้อมสถาปัตยกรรมแบบใหม่ เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเทคโนโลยี IoT ได้รับการออกแบบให้ตอบโจทย์การใช้งานบนอุปกรณ์ทุกประเภทตั้งแต่อุปกรณ์ IoT, โทรศัพท์เคลื่อนที่ ตลอดจนอุปกรณ์อัจฉริยะในบ้าน, แล็ปท็อป, และเดสก์ท็อป ตอบโจทย์การใช้งานแบบระบบปฏิบัติการเดียวกันสำหรับทุกอุปกรณ์

“ในอดีต เรามุ่งปรับการใช้งาน HarmonyOS สำหรับอุปกรณ์อัจฉริยะทุกประเภท โดยแอปพลิเคชันต่าง ๆ ยังคงใช้ อีโคซิสเต็มของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ในประเทศจีน ผู้ใช้สมาร์ทโฟนหัวเว่ย ใช้เวลา 99% ไปกับแอปพลิเคชันประมาณ 5,000 แอป ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2567 เราจึงตัดสินใจพัฒนาแอปเหล่านี้ให้รองรับ HarmonyOS เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการผสานการทำงานระหว่างอีโคซิสเต็มของระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชันเข้าด้วยกันอย่างแท้จริง” นายอีริค สวี กล่าว

“ในปี พ.ศ. 2567 หัวเว่ยมุ่งบรรลุเป้าหมายการสร้างอีโคซิสเต็มสำหรับเนทีฟ แอปฯ ของ HarmonyOS การผลักดันอีโคซิสเต็ม HarmonyOS นับเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ แต่เราได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลามจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมและจากนักพัฒนาแอปพลิเคชัน ในวันที่เรามีแอปพลิเคชันที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์จำนวน 5,000 แอป และแอปอื่น ๆ จำนวนหลายพันแอปที่ได้รับการพัฒนาให้รองรับการทำงานบน HarmonyOS เราจะบรรลุเป้าหมายการสร้าง HarmonyOS ให้เป็นระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์อัจฉริยะอันดับที่สามของโลก เพิ่มเติมจาก Apple iOS และ Google Android” นายอีริค สวี กล่าวย้ำ

แม้ว่าในช่วงแรก หัวเว่ยมุ่งใช้งานระบบ HarmonyOS เฉพาะประเทศจีน นายอีริค สวี เปิดเผยว่าบริษัทจะเดินหน้าขยายการใช้ระบบ HarmonyOS ในประเทศอื่น ๆ โดยใช้กลยุทธ์การขยายแบบรายประเทศ

สรุปรายงานประจำปี พ.ศ. 2566 ของหัวเว่ย จัดพิมพ์เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 เผยว่า หัวเว่ยทุ่มทุนบ่มเพาะบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอีโคซิสเต็ม HarmonyOS โดยนักพัฒนามากกว่า 380,000 ราย ได้รับการรับรองการทำงานบนระบบ HarmonyOS นอกจากนี้ หัวเว่ยได้ร่วมผลักดันโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและอุตสาหกรรมเพื่อร่วมพัฒนา HarmonyOS กว่า 150 โครงการ นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยมากกว่า 135 แห่งในประเทศจีนมีหลักสูตรการเรียนการสอนด้านระบบปฏิบัติการ HarmonyOS อีกด้วย

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 เคอร์เนลของระบบปฏิบัติการหงเหมิง (HongMeng) หรือ HarmonyOS ของหัวเว่ย ได้รับการรับรองการทดสอบและรับรองตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยระดับ 6 (Evaluation Assurance Level 6 Augmented - EAL6+) เป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรม จากมาตรฐานเกณฑ์การประเมินความปลอดภัยของข้อมูล Common Criteria for Information Technology Security Edging (CC) ซึ่งเป็นระดับความปลอดภัยสูงสุดของ เคอร์เนลของระบบปฏิบัติการเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป หัวเว่ยจึงเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อัจฉริยะรายแรกของโลกที่ได้รับการรับรองในสาขานี้

นายอีริค สวี ยอมรับว่าการสร้างอีโคซิสเต็ม HarmonyOS เป็นภารกิจที่ท้าทายอย่างยิ่ง “ดังที่คุณทราบแล้วว่าก่อนหน้านี้การพัฒนา HarmonyOS มิได้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์หลักของเรา แต่ในเมื่อเราตัดสินใจดำเนินกลยุทธ์นี้แล้ว เราจะมุ่งมั่นขับเคลื่อนเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุด”

X

Right Click

No right click