ครอบคลุมคุณภาพชีวิต 4 มิติ “สุขภาพ รายได้ สิ่งแวดล้อม สังคม”

หากพูดถึง “บริษัทพลังงานสัญชาติไทยขนาดใหญ่” ที่มีชื่อคุ้นหูนักลงทุนมาอย่างยาวนาน บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ “บ้านปู” มักจะอยู่ในความนึกคิดลำดับแรกๆ ด้วยการเป็นบริษัทที่บุกเบิก พัฒนา และขยายธุรกิจพลังงานตอบโจทย์ความต้องการของตลาด และมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับประเทศและภูมิภาคมาอย่างต่อเนื่องนับ 40 ปี จนถึงวันนี้ บ้านปูมีเส้นทางการเติบโตและก้าวข้ามทุกความท้าทายจนเป็นบริษัทพลังงานครบวงจรครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ และพร้อมมุ่งไปข้างหน้าในฐานะ “ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ”

ด้วยระบบนิเวศทางธุรกิจที่แข็งแกร่งของบ้านปู (Banpu Ecosystem) ทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ กลุ่มธุรกิจแหล่งพลังงาน กลุ่มธุรกิจผลิตพลังงาน และกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน ส่งเสริมและสนับสนุนซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดในการส่งมอบอนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืน (Smarter Energy for Sustainability) บ้านปูไม่เคยหยุดแสวงหาโอกาสเพื่อสร้างการเติบโต และปรับกลยุทธ์ การดำเนินธุรกิจให้เข้ากับเทรนด์พลังงานแห่งอนาคต เพื่อให้พร้อมขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับผู้คน

ขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อมุ่งสร้างความยั่งยืนด้านพลังงาน

จากแรงบันดาลใจในการดำเนินธุรกิจของบ้านปูที่สอดคล้องกับหลักความยั่งยืนด้านพลังงานที่ประกอบด้วย 1. พลังงานต้องเข้าถึงได้ด้วยราคาที่เหมาะสม (Affordable) 2. พลังงานต้องมีเสถียรภาพให้สามารถส่งมอบได้อย่างต่อเนื่อง (Reliable) และ 3. พลังงานต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Friendly) บริษัท เหมืองบ้านปู จำกัด ได้ถือกำเนิดในปี 2526 ที่หมู่บ้านบ้านปู อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เพื่อเข้าทำสัญญาเช่าช่วงการทำเหมืองถ่านหินจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาบริษัทฯ ได้สร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจและเติบโตโดยเสาะหาแหล่งทรัพยากรที่ดีและผู้รู้มาร่วมงาน อีกทั้งยังพัฒนาความสามารถด้านการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศ โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้า ปูนซีเมนต์ ปิโตรเคมี กระดาษ สิ่งทอ ฯลฯ ก่อนขยายการดำเนินธุรกิจแหล่งพลังงานที่มีคุณภาพไปยังประเทศอื่นๆ ที่มีศักยภาพเติบโตในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เช่น อินโดนีเซีย จีน และออสเตรเลีย

สร้างพอร์ตโฟลิโอให้มีความหลากหลาย

หลังจากการก่อร่างสร้างธุรกิจเหมืองทั้งในและต่างประเทศจนมีความมั่นคงแล้ว บ้านปูเริ่มมองหาโอกาสในการต่อยอดธุรกิจพลังงานให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่สร้างมูลค่าในห่วงโซ่อุปทาน จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง “บ้านปู เพาเวอร์” ในปี 2539 เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในด้านการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ประเทศไทยต้องการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ จนถึงก้าวสำคัญของการนำบ้านปู เพาเวอร์ หรือ BPP เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2559 เพื่อขยายการเติบโตของธุรกิจไฟฟ้าในกลุ่มประเทศยุทธศาสตร์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่มีอัตราการเติบโตของความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงและมีนโยบายสนับสนุนพลังงานของภาครัฐที่ชัดเจน

ทั้งนี้ บ้านปูได้ผลักดันการเติบโตของธุรกิจไฟฟ้าโดยเน้นสร้างสมดุลของพอร์ตธุรกิจจากทั้งพลังงาน ความร้อน (Thermal Power Business) ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (High Efficiency, Low Emissions: HELE) และพลังงานหมุนเวียน (Renewable Power Business) เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม และยังคงต่อยอดการเติบโตอย่างต่อเนื่องในประเทศที่บ้านปูมีความเชี่ยวชำนาญในการดำเนินธุรกิจแหล่งพลังงาน ตลอดจนมีพันธมิตรระดับท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกันอยู่แล้วอย่างแน่นแฟ้น

 

ผู้นำด้านการเปลี่ยนผ่านองค์กร: รู้ก่อน เริ่มก่อน สำเร็จก่อน

สัญญาณความตื่นตัวต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทั่วโลกทวีความรุนแรงขึ้น บ้านปูได้ปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ใหม่ พร้อมตั้งธงกลยุทธ์ “Greener & Smarter” ในการขับเคลื่อนองค์กร ที่เน้นการทำธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์พลังงานรูปแบบใหม่ๆ ทำให้บริษัทฯ ก้าวสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมีไฮไลท์สำคัญก็คือการเข้าไปสร้างธุรกิจใหม่ในสหรัฐอเมริกา นั่นคือ ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ด้วยเห็นโอกาสในการเป็นสะพานเชื่อมที่สำคัญในการเปลี่ยนผ่านตามกลยุทธ์ Greener & Smarter โดยให้ความสำคัญต่อการสร้างและรักษากระแสเงินสด เพื่อรักษาประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ก็เริ่มแสวงหาโอกาสการลงทุนธุรกิจพลังงานที่สะอาดขึ้น เพื่อเพิ่มความสมดุลและยั่งยืนให้กับพอร์ตธุรกิจ

 

ชูเรือธงสีเขียว กรุยทางอนาคตที่ยั่งยืน

ไม่เพียงเท่านี้ ระบบนิเวศธุรกิจของบ้านปูยังสมบูรณ์ยิ่งขึ้นหลังการก่อตั้ง “บ้านปู เน็กซ์ (Banpu NEXT)” บริษัทเรือธงสีเขียวของบ้านปู ในปี 2563 ที่เป็นจิ๊กซอว์ใหญ่ในการขับเคลื่อนธุรกิจพลังงานที่สะอาดและฉลาดขึ้น เพื่อสร้างโซลูชันพลังงานที่ตอบรับเทรนด์พลังงานแห่งอนาคตและการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ ผ่านการขับเคลื่อนธุรกิจทั้ง 5 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจแบตเตอรี่ ธุรกิจซื้อขายไฟฟ้า ธุรกิจอี-โมบิลิตี้ และธุรกิจพัฒนาเมืองอัจฉริยะและจัดการพลังงาน โดยมีดิจิทัลแพลตฟอร์มเป็นเครื่องมือที่ช่วยรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ทางพลังงาน นอกจากนี้ บ้านปูยังเข้าลงทุนในกลุ่มธุรกิจ New S-Curve ที่อยู่นอกเหนือธุรกิจพลังงานหรือการต่อยอดธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ส่งมอบคุณค่าที่ยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน และมุ่งเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น

 

รุดปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

ในฐานะผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ บ้านปูยังคงสานต่อความแข็งแกร่งด้วยนโยบายการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) ที่ดำเนินการภายใต้แนวคิดการเปลี่ยนผ่านทั้งสามด้าน (Triple-Transformation) ได้แก่ ด้านธุรกิจ จากการเพิ่มสัดส่วนพอร์ตโฟลิโอพลังงานที่สะอาดและฉลาดให้มากขึ้นผ่านการดำเนินงานของบ้านปู เน็กซ์ ถัดมาคือด้านเทคโนโลยี บ้านปูได้จัดตั้งหน่วยงาน Digital and Innovation (D&I) เพื่อผลักดันกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เสริมความสามารถทางดิจิทัลขององค์กร รวมถึงบ่มเพาะศักยภาพด้านเทคโนโลยีให้แก่พนักงาน และสุดท้ายคือด้านบุคลากร ในส่วนของการพัฒนาบุคลากรให้ก้าวล้ำนำหน้า บ้านปูได้จัดตั้งหน่วยงานที่ชื่อว่า “Banpu Academy” เพื่อส่งเสริมองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างไม่สิ้นสุดและหล่อหลอมพนักงานบ้านปูให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เสริมความได้เปรียบในการแข่งขันและรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของธุรกิจที่มีพลวัตสูงอย่างธุรกิจพลังงาน

 

บริษัทไทยที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

ด้วยรากฐานที่แข็งแกร่งใน 3 กลุ่มธุรกิจหลักที่กล่าวมา บ้านปูจึงพร้อมสร้างการเติบโตในระดับนานาชาติ ซึ่งปัจจุบันดำเนินธุรกิจอยู่ใน 9 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย จีน ออสเตรเลีย สปป.ลาว มองโกเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม ด้วยปัจจัยสนับสนุนต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการลงทุนในต่างประเทศ ที่นอกจากจะต้องมีความเข้าใจในตลาดนั้นๆ อย่างลึกซึ้งก่อนจะเข้าไปเริ่มดำเนินกิจการแล้ว การสร้างทีมงานที่แข็งแกร่งด้วยบุคลากรที่มีศักยภาพก็ถือเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ จากวันเริ่มต้นที่บ้านปูมีพนักงานจำนวนไม่ถึงร้อยคน จวบจนปัจจุบันสู่การเป็นบริษัทไทยที่มีพนักงานประจำสำนักงานใหญ่ในไทยราว 600 คน และมีพนักงานประจำอยู่ในต่างประเทศเกือบ 6,000 คน ที่พร้อมขับเคลื่อนบ้านปูให้เติบโตในระดับสากล สิ่งสุดท้ายคือการเป็นองค์กรพลเมืองที่ดี (Good Corporate Citizenship) ที่ดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและโปร่งใส และยึดถือแนวปฏิบัติในการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี (Good Neighbor) ที่พร้อมสร้างความเข้าใจและให้ความร่วมมือสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนโดยรอบพื้นที่ธุรกิจและสังคมในแนวทางที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่

นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลา 40 ปี บ้านปูยึดถือแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและยั่งยืนที่ได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดมาจากคุณชนินท์ ว่องกุศลกิจ หนึ่งในผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนแรกของบ้านปู ตามปณิธานในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ที่ว่า อุตสาหกรรมที่ดีจะต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม บวกกับการเร่งเปลี่ยนผ่านองค์กร (Banpu Transformation) ภายใต้กลยุทธ์ Greener & Smarter และความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงด้วยหลัก Antifragile จะทำให้บ้านปูสามารถรักษาความแข็งแกร่งได้อย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะต้องเผชิญกับวิกฤติใด และสามารถรักษาพันธสัญญา “Our Way in Energy (พลังบ้านปูสู่พลังงานที่ยั่งยืน)” ที่พร้อมนำพาให้บ้านปูเติบโตควบคู่ไปกับการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับโลก เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับผู้คนในวันนี้และในทศวรรษต่อๆ ไป”

การเติบโตอย่างแข็งแกร่งและมั่นคงตลอด 4 ทศวรรษของบ้านปูนั้น นอกเหนือจากความโดดเด่นในเรื่องของระบบนิเวศทางธุรกิจที่เชื่อมโยงทุกหน่วยธุรกิจหลักเข้าด้วยกัน จนก่อให้เกิดเป็นการผสานพลังร่วมเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดในการลงทุน ลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ และสร้างความยั่งยืนแล้ว บ้านปูยังมีจุดแข็งคือวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า “บ้านปู ฮาร์ท (Banpu Heart)” ที่หลอมรวมให้พนักงานทุกคนในทุกประเทศมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ทั้งหมดนี้ทำให้บ้านปูสามารถส่งมอบ “อนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืน (Smarter Energy for Sustainability)” ในฐานะผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ เพื่อสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับผู้คน

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ เผยผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2566

โครงการบ่มเพาะกิจการเพื่อสังคมที่อยู่กับสังคมไทยมานานกว่า 12 ปี อย่างโครงการ Banpu Champions For Change (BC4C) โดยบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ และสถาบัน ChangeFusion องค์กรไม่แสวงผลกำไรภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่บุกเบิกและบ่มเพาะเหล่ากิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) ไปกว่า 119 กิจการ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีทางสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหนึ่งในกลุ่มคนเบื้องหลังที่มีส่วนสำคัญในการร่วมผลักดันกิจการเพื่อสังคมเหล่านั้นก็คือ “คณะกรรมการ”

คณะกรรมการในโครงการ BC4C ไม่ใช่แค่ผู้คัดเลือกเท่านั้น แต่หลายครั้งที่บรรดากิจการเพื่อสังคมได้เจอจุดเปลี่ยนในการทำธุรกิจ หรือได้ไอเดียต่อยอดในการทำธุรกิจมาจากคำถามหรือข้อแนะนำจากเหล่าคณะกรรมการ โครงการ BC4C จึงสรรหาคณะกรรมการผู้คร่ำหวอดในแวดวงกิจการเพื่อสังคม ที่จะสามารถให้คำแนะนำและแลกเปลี่ยนมุมมองการทำธุรกิจได้อย่างรอบด้าน มองขาดทั้งปัจจัยเชิงบวกและเชิงลบที่มีต่อธุรกิจ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และจุดประกายไอเดียเพื่อเร่งเครื่องธุรกิจ SE ให้ไปได้ไกลและเร็วกว่าเดิม

 

· ไม่ใช่แค่ Passion แต่ต้องอินไซต์ปัญหา-เข้าถึงชุมชนให้เป็นด้วย

คุณสินี จักรธรานนท์ ประธานมูลนิธิอโชก้า (ประเทศไทย) องค์กรไม่แสวงหากำไรที่มีสาขาใน 38 ประเทศทั่วโลก ด้วยประสบการณ์การทำงานกว่า 30 ปีที่อโชก้า คุณสินีจึงมีความเข้าใจปัญหาสังคมที่ลึกซึ้ง มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการทำงานใกล้ชิดกับชุมชน มีความเข้าใจปัญหาในพื้นที่ต่างๆ

“ที่ผ่านมาเราเห็นผู้ประกอบการบางกลุ่มมี Passion ในการทำงานอย่างแรงกล้า แต่ยังไปไม่ถึงความสำเร็จ ไม่ใช่ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นไม่ดี แต่อาจจะยังไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ซึ่งสิ่งที่เป็นชิ้นส่วนที่ขาดหายไปคือ ‘การเข้าถึงชุมชนหรือกลุ่มคนเหล่านั้น’ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกต่างๆ และหยิบนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาต่อยอดและหาทางแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เรามีความถนัด ซึ่งการคัดเลือกทีม SE ที่จะผ่านเข้ารอบในครั้งนี้ ก็จะนำมิติด้านการทำงานกับชุมชนเพื่อให้เข้าใจปัญหาสังคมอย่างถ่องแท้เข้ามามีส่วนในการประเมินด้วย”

 

· “สร้างคุณค่าทางธุรกิจไปพร้อมกับการสร้างคุณค่าทางสังคม”

คุณภาวินท์ สุทธพงษ์ CEO บริษัท SpotON International Group - กูรูผู้คลุกคลีวงการบ่มเพาะและการวางแผนธุรกิจกว่า 15 ปี มีส่วนช่วยสร้างสตาร์ทอัพมากว่า 400 ธุรกิจ ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับรางวัล การแข่งขันสตาร์ทอัพระดับโลก ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์การทำงานที่ใกล้ชิดกับผู้ประกอบการ

คนรุ่นใหม่ทำให้คุณภาวินท์ทราบถึงปัญหาและกลยุทธ์ในการเอาชนะอุปสรรคในช่วงเริ่มต้นของธุรกิจเพื่อให้เดินต่อไปได้ คุณภาวินท์จึงเป็นทั้ง ‘กรรมการและเมนเทอร์’ ในโครงการ BC4C มาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 รุ่น

“ผมได้เห็นคนรุ่นใหม่หรือผู้ประกอบการมีการตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสังคมมาโดยตลอด แต่บางคนอาจโฟกัสเรื่องการเติบโตมากไปจนอาจลืมมองกลับมาว่าธุรกิจที่เราทำนั้นสามารถสร้างคุณค่าแก่สังคมได้ อยากให้มองภาพการทำธุรกิจอย่างรอบด้านให้กว้างมากขึ้นและเปิดใจกับการก้าวเข้ามาเป็นกิจการเพื่อสังคม ส่วนคนที่เข้าใจเรื่องกิจการเพื่อสังคมอยู่แล้วนั้น สิ่งที่ควรตระหนักคือ การสร้างคุณค่าและการเติบโตของธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งหากธุรกิจเราเติบโตได้อย่างยั่งยืน นั่นหมายความว่าเราก็จะสามารถแก้ไขปัญหาสังคมหรือส่งมอบสิ่งที่ดีให้สังคมได้ดียิ่งขึ้นได้อย่างยั่งยืนเช่นกัน”

 

· “ยึด 3 หลัก: Insight - Solution - Sustaining Model” หนุนธุรกิจ

คุณอธิชา ชูสุทธิ์ นักพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) – ผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลอินโนเวชัน เบื้องหลังผู้วางแผนการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำในการดำเนินธุรกิจบนแพลตฟอร์มดิจิทัลของ NIA

“เราเน้นย้ำถึง ‘3 องค์ประกอบหลัก’ ที่ทำให้ผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคมประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน คือ ‘Insight’ ความเข้าใจและองค์ความรู้ที่มีต่อประเด็นปัญหาที่ตนสนใจ ‘Solution’ การพัฒนาและคัดเลือกโซลูชันที่นำไปสู่นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ประเด็นปัญหาหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างเป็นรูปธรรม และ ‘Sustaining Model’ การพัฒนาแนวทางการขยายผลที่จะทำให้ธุรกิจของตนสามารถเติบโตต่อได้และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ก็จะถูกนำมาใช้ทั้งในการคัดเลือกและเป็นหลักแนะนำให้แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ BC4C ตามบริบทที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละกิจการ”

 

· “วิเคราะห์บริบทของปัญหาที่รอบด้าน ‘กว้าง-ชัด-ลึก”

คุณภัฏ เตชะเทวัญ ผู้ก่อตั้ง TP Packaging Solution - อดีตผู้ชนะเลิศจากใน BC4C รุ่นที่ 6 ผู้ซึ่งเคยได้รับการบ่มเพาะจนในปัจจุบันสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง เป็นหนึ่งในผู้นำด้านนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมแถวหน้าของเมืองไทย ได้นำประสบการณ์จริงของตัวเองมาช่วยสรรหา SE ในโครงการ BC4C

“ผมเห็นว่าสิ่งที่ช่วยให้ SE ประสบความสำเร็จมี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การมี ‘มุมมองที่กว้าง (Big Wide) ชัด และลึก’ กล่าวคือมีพื้นฐานของการมองเห็นปัญหาลึกซึ้ง เข้าใจถึงแก่นแท้ของปัญหา มี Passion ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามแนวทางของตนเอง และ ‘มีความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) ที่สูงในทุกบริบทของปัญหา’ คือสามารถรู้เหตุของปัญหา รู้ถึงกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบ และสามารถเสนอแนวทางแก้ไขที่ยั่งยืน ตลอดจนรู้ถึงผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบอย่างรอบด้าน อย่างเช่นโมเดลธุรกิจของผมสมัยที่เข้าประกวด BC4C นั้น ได้หยิบยกปัญหา ‘โฟม’ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืนมาเป็นตัวตั้งต้น เนื่องจากหลายภาคส่วนเน้นการรณรงค์เลิกใช้โฟมในภาคประชาชน แต่มันไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้คนเลิกใช้โฟมได้เพราะพวกเขาไม่มีสิ่งทดแทน เราจึงสร้างทางเลือกใหม่ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกเพื่อทดแทนโฟม เป็นต้น”

คุณรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส - สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “BC4C ในปีที่12 มาพร้อมกับแนวคิด “Champions of the Future Drive: แชมป์ผู้ขับเคลื่อนอนาคต” เราให้ความสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่เป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ เขาคืออนาคตของชาติ เขาคือคนที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมท่ามกลางโลกที่มีพลวัตและความไม่แน่นอน ต้องขอขอบคุณคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่มีส่วนร่วม ในการพัฒนาศักยภาพ SE ในประเทศไทย เรามีความมั่นใจในกระบวนการคัดเลือก และองค์ความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งกรรมการและเมนเทอร์ว่าจะสามารถนำพาผู้ประกอบการ SE ให้เพิ่มศักยภาพตัวเองเพื่อไปต่อยอดกิจการให้สามารถช่วยเหลือคุณภาพชีวิตผู้คนได้ต่อๆ ไป”

ด้าน คุณสุนิตย์ เชรษฐา ผู้อำนวยการสถาบัน ChangeFusion กล่าวเสริมว่า “โครงการ BC4C ได้บ่มเพาะและผลักดันผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 12 แล้ว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเราได้เห็นพัฒนาการของกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทยที่มีหลากหลายครอบคลุมหลายมิติทางสังคมและมีความสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น ซึ่งเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในฐานะผู้ร่วมดำเนินโครงการและในฐานะกรรมการที่ได้ร่วมคัดสรร SE รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพและมีศักยภาพเข้ามาร่วมบ่มเพาะ ติดอาวุธทางความคิดอย่างรอบด้านไปกับโครงการฯ เพื่อให้พวกเขามีความพร้อมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน และเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผนึกกำลังสร้างเครือข่าย SE ในประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นต่อไปอีกด้วย”

สำหรับผู้ประกอบการ SE หรือผู้สนใจในกิจการเพื่อสังคม สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Banpu Champions for Change ได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/banpuchampions หรือติดต่อที่หมายเลขโทรศัพท์ 087-075-4815

โครงการบ่มเพาะกิจการเพื่อสังคมที่อยู่กับสังคมไทยมานานกว่า 12 ปี อย่างโครงการ Banpu Champions For Change (BC4C) โดยบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ และสถาบัน ChangeFusion องค์กรไม่แสวงผลกำไรภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่บุกเบิกและบ่มเพาะเหล่ากิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) ไปกว่า 119 กิจการ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีทางสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหนึ่งในกลุ่มคนเบื้องหลังที่มีส่วนสำคัญในการร่วมผลักดันกิจการเพื่อสังคมเหล่านั้นก็คือ “คณะกรรมการ”

คณะกรรมการในโครงการ BC4C ไม่ใช่แค่ผู้คัดเลือกเท่านั้น แต่หลายครั้งที่บรรดากิจการเพื่อสังคมได้เจอจุดเปลี่ยนในการทำธุรกิจ หรือได้ไอเดียต่อยอดในการทำธุรกิจมาจากคำถามหรือข้อแนะนำจากเหล่าคณะกรรมการ โครงการ BC4C จึงสรรหาคณะกรรมการผู้คร่ำหวอดในแวดวงกิจการเพื่อสังคม ที่จะสามารถให้คำแนะนำและแลกเปลี่ยนมุมมองการทำธุรกิจได้อย่างรอบด้าน มองขาดทั้งปัจจัยเชิงบวกและเชิงลบที่มีต่อธุรกิจ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และจุดประกายไอเดียเพื่อเร่งเครื่องธุรกิจ SE ให้ไปได้ไกลและเร็วกว่าเดิม

  • ไม่ใช่แค่ Passion แต่ต้องอินไซต์ปัญหา-เข้าถึงชุมชนให้เป็นด้วย

คุณสินี จักรธรานนท์ ประธานมูลนิธิอโชก้า (ประเทศไทย) องค์กรไม่แสวงหากำไรที่มีสาขาใน 38 ประเทศทั่วโลก ด้วยประสบการณ์การทำงานกว่า 30 ปีที่อโชก้า คุณสินีจึงมีความเข้าใจปัญหาสังคมที่ลึกซึ้ง มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการทำงานใกล้ชิดกับชุมชน มีความเข้าใจปัญหาในพื้นที่ต่างๆ

“ที่ผ่านมาเราเห็นผู้ประกอบการบางกลุ่มมี Passion ในการทำงานอย่างแรงกล้า แต่ยังไปไม่ถึงความสำเร็จ ไม่ใช่ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นไม่ดี แต่อาจจะยังไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ซึ่งสิ่งที่เป็นชิ้นส่วนที่ขาดหายไปคือ ‘การเข้าถึงชุมชนหรือกลุ่มคนเหล่านั้น’ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกต่างๆ และหยิบนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาต่อยอดและหาทางแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เรามีความถนัด ซึ่งการคัดเลือกทีม SE ที่จะผ่านเข้ารอบในครั้งนี้ ก็จะนำมิติด้านการทำงานกับชุมชนเพื่อให้เข้าใจปัญหาสังคมอย่างถ่องแท้เข้ามามีส่วนในการประเมินด้วย”

  • “สร้างคุณค่าทางธุรกิจไปพร้อมกับการสร้างคุณค่าทางสังคม”

คุณภาวินท์ สุทธพงษ์ CEO บริษัท SpotON International Group - กูรูผู้คลุกคลีวงการบ่มเพาะและการวางแผนธุรกิจกว่า 15 ปี มีส่วนช่วยสร้างสตาร์ทอัพมากว่า 400 ธุรกิจ ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับรางวัล การแข่งขันสตาร์ทอัพระดับโลก ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์การทำงานที่ใกล้ชิดกับผู้ประกอบการ   คนรุ่นใหม่ทำให้คุณภาวินท์ทราบถึงปัญหาและกลยุทธ์ในการเอาชนะอุปสรรคในช่วงเริ่มต้นของธุรกิจเพื่อให้เดินต่อไปได้ คุณภาวินท์จึงเป็นทั้ง ‘กรรมการและเมนเทอร์’ ในโครงการ BC4C มาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 รุ่น

“ผมได้เห็นคนรุ่นใหม่หรือผู้ประกอบการมีการตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสังคมมาโดยตลอด แต่บางคนอาจโฟกัสเรื่องการเติบโตมากไปจนอาจลืมมองกลับมาว่าธุรกิจที่เราทำนั้นสามารถสร้างคุณค่าแก่สังคมได้ อยากให้มองภาพการทำธุรกิจอย่างรอบด้านให้กว้างมากขึ้นและเปิดใจกับการก้าวเข้ามาเป็นกิจการเพื่อสังคม ส่วนคนที่เข้าใจเรื่องกิจการเพื่อสังคมอยู่แล้วนั้น สิ่งที่ควรตระหนักคือ การสร้างคุณค่าและการเติบโตของธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งหากธุรกิจเราเติบโตได้อย่างยั่งยืน นั่นหมายความว่าเราก็จะสามารถแก้ไขปัญหาสังคมหรือส่งมอบสิ่งที่ดีให้สังคมได้ดียิ่งขึ้นได้อย่างยั่งยืนเช่นกัน”

  • “ยึด 3 หลัก: Insight - Solution - Sustaining Model” หนุนธุรกิจ

คุณอธิชา ชูสุทธิ์ นักพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) – ผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลอินโนเวชัน เบื้องหลังผู้วางแผนการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำในการดำเนินธุรกิจบนแพลตฟอร์มดิจิทัลของ NIA

“เราเน้นย้ำถึง ‘3 องค์ประกอบหลัก’ ที่ทำให้ผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคมประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน คือ ‘Insight’ ความเข้าใจและองค์ความรู้ที่มีต่อประเด็นปัญหาที่ตนสนใจ ‘Solution’ การพัฒนาและคัดเลือกโซลูชันที่นำไปสู่นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ประเด็นปัญหาหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างเป็นรูปธรรม และ ‘Sustaining Model’ การพัฒนาแนวทางการขยายผลที่จะทำให้ธุรกิจของตนสามารถเติบโตต่อได้และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ก็จะถูกนำมาใช้ทั้งในการคัดเลือกและเป็นหลักแนะนำให้แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ BC4C ตามบริบทที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละกิจการ”

  • “วิเคราะห์บริบทของปัญหาที่รอบด้าน ‘กว้าง-ชัด-ลึก”

คุณภัฏ เตชะเทวัญ ผู้ก่อตั้ง TP Packaging Solution - อดีตผู้ชนะเลิศจากใน BC4C รุ่นที่ 6 ผู้ซึ่งเคยได้รับการบ่มเพาะจนในปัจจุบันสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง เป็นหนึ่งในผู้นำด้านนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมแถวหน้าของเมืองไทย ได้นำประสบการณ์จริงของตัวเองมาช่วยสรรหา SE ในโครงการ BC4C

 “ผมเห็นว่าสิ่งที่ช่วยให้ SE ประสบความสำเร็จมี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การมี ‘มุมมองที่กว้าง (Big Wide) ชัด และลึก’ กล่าวคือมีพื้นฐานของการมองเห็นปัญหาลึกซึ้ง เข้าใจถึงแก่นแท้ของปัญหา มี Passion ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามแนวทางของตนเอง และ ‘มีความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) ที่สูงในทุกบริบทของปัญหา’ คือสามารถรู้เหตุของปัญหา รู้ถึงกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบ และสามารถเสนอแนวทางแก้ไขที่ยั่งยืน ตลอดจนรู้ถึงผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบอย่างรอบด้าน อย่างเช่นโมเดลธุรกิจของผมสมัยที่เข้าประกวด BC4C นั้น ได้หยิบยกปัญหา ‘โฟม’ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืนมาเป็นตัวตั้งต้น เนื่องจากหลายภาคส่วนเน้นการรณรงค์เลิกใช้โฟมในภาคประชาชน แต่มันไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้คนเลิกใช้โฟมได้เพราะพวกเขาไม่มีสิ่งทดแทน เราจึงสร้างทางเลือกใหม่ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกเพื่อทดแทนโฟม เป็นต้น”

คุณรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส - สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “BC4C ในปีที่12 มาพร้อมกับแนวคิด “Champions of the Future Drive: แชมป์ผู้ขับเคลื่อนอนาคต” เราให้ความสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่เป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ เขาคืออนาคตของชาติ เขาคือคนที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมท่ามกลางโลกที่มีพลวัตและความไม่แน่นอน ต้องขอขอบคุณคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพ SE ในประเทศไทย เรามีความมั่นใจในกระบวนการคัดเลือก และองค์ความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งกรรมการและเมนเทอร์ว่าจะสามารถนำพาผู้ประกอบการ SE ให้เพิ่มศักยภาพตัวเองเพื่อไปต่อยอดกิจการให้สามารถช่วยเหลือคุณภาพชีวิตผู้คนได้ต่อๆ ไป”

ด้าน คุณสุนิตย์ เชรษฐา ผู้อำนวยการสถาบัน ChangeFusion กล่าวเสริมว่า “โครงการ BC4C ได้บ่มเพาะและผลักดันผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 12 แล้ว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเราได้เห็นพัฒนาการของกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทยที่มีหลากหลายครอบคลุมหลายมิติทางสังคมและมีความสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น ซึ่งเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในฐานะผู้ร่วมดำเนินโครงการและในฐานะกรรมการที่ได้ร่วมคัดสรร SE รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพและมีศักยภาพเข้ามาร่วมบ่มเพาะ ติดอาวุธทางความคิดอย่างรอบด้านไปกับโครงการฯ เพื่อให้พวกเขามีความพร้อมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน และเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผนึกกำลังสร้างเครือข่าย SE ในประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นต่อไปอีกด้วย”

สำหรับผู้ประกอบการ SE หรือผู้สนใจในกิจการเพื่อสังคม สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Banpu Champions for Change ได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/banpuchampions หรือติดต่อที่หมายเลขโทรศัพท์ 087-075-4815

X

Right Click

No right click