LINE Corporation ประกาศได้รับการผ่านการรับรองมาตรฐาน OpenChain ISO/IEC 5230 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในการปฏิบัติตามกฎข้อกำหนดด้านซอฟต์แวร์บนระบบโอเพนซอร์ส โดยโครงการ OpenChain เป็นหนึ่งในแคมเปญที่พัฒนาขึ้นโดย Linux Foundation ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรชั้นนําที่มุ่งเน้นการส่งเสริมนวัตกรรมผ่านโอเพนซอร์สและเพื่อร่วมพัฒนาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด รวมถึงกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ สําหรับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ฮาร์ดแวร์ เกณฑ์มาตรฐาน และการจัดการข้อมูล

จากการได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 5230 ทำให้ LINE ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่ามีการใช้งานที่มีการจัดการที่เป็นระบบและน่าเชื่อถือ โดยนักพัฒนาของ LINE จำนวนหลายพันคนทั่วโลก ที่ทำงานอยู่ในเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม ต่างใช้งานและพัฒนาระบบโอเพนซอร์สตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ทีมงานโอเพนซอร์สของ LINE ยังยึดหลักปฏิบัติงานตามกฎระเบียบหลักในการจัดการด้านโอเพนซอร์สอย่างเคร่งครัด

ก่อนหน้านี้ LINE ยังเคยนำเอาเทคโนโลยีที่พัฒนาเองภายในมาออกเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สให้นักพัฒนาภายนอกได้ใช้งานอย่างเช่น Armeria ซอฟต์แวร์เฟรมเวิร์คที่ทำงานแบบ Asynchronous (ทำงานแบบไม่เป็นลำดับ) ซึ่งเป็น

เทคโนโลยีหลักของระบบแชทของ LINE นอกจากนี้ LINE ยังเป็นผู้สนับสนุนระดับซิลเวอร์ของ Apache Software Foundation ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรของอเมริกาที่สนับสนุนด้านการพัฒนาโอเพนซอร์สตั้งแต่ปี 2022 โดยตั้งแต่ปี 2021 LINE ได้จัดงาน LINE Open Source Sprint ซึ่งเป็นกิจกรรมภายในที่นักพัฒนาระบบของ LINE สามารถเข้าร่วมในโครงการโอเพนซอร์สต่าง ๆ ได้เป็นเวลาถึงหนึ่งเดือน การจัดกิจกรรมเช่นนี้ไม่เพียงช่วยให้ LINE ได้มีโอกาสสนับสนุนการเติบโตของนักพัฒนาแบบรายบุคคล แต่ยังช่วยตอกย้ำความมุ่งมั่นที่จะสร้างวัฒนธรรมด้านโอเพนซอร์สที่เต็มไปด้วยความร่วมมือกับผู้ให้บริการระบบนิเวศโอเพนซอร์สต่าง ๆ ในทั่วโลก

สโนว์ ควอน CTO แห่ง LINE Plus กล่าวว่า “LINE มีประวัติความสำเร็จอันยาวนานในการบุกเบิกเทรนด์เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในทุกสาขา ได้แก่ ด้าน การส่งข้อความ, ปัญญาประดิษฐ์, บล็อกเชน และฟินเทค ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้ เราจึงรักษามาตรฐานสูงสุดในการปฏิบัติตามข้อกําหนดและกฎเกณฑ์ของโอเพนซอร์สอย่างเคร่งครัด โดยการผ่านการรับรอง OpenChain ในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่แสดงถึงการยอมรับในความสามารถที่เรามีมาอย่างยาวนานในด้านนี้ และยังเป็นสัญญาณความมุ่งมั่นของเราในการก้าวไปข้างหน้าสู่การพัฒนาระบบโอเพนซอร์สที่ดียิ่งขึ้น”

LINE ประเทศไทย ปักธงครบรอบ 12 ปี ตั้งเป้าขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็น Smart Country ด้วย LINE Economy ระบบเศรษฐกิจบนแอปพลิเคชั่น LINE ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้กว่า 54 ล้านคน มุ่งผลักดันการพัฒนาและทำงานร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่างภาคเทคโนโลยีและภาคส่วนผู้ใช้งานต่าง ๆ บน 4 กลยุทธ์ ได้แก่

(1) ผสานจุดแกร่งระบบนิเวศเพิ่มขีดการแข่งขัน (2) ชูการเป็น Smart Platform ขับเคลื่อน Smart Country (3) สร้างคุณภาพชีวิต Life on LINE ที่ดีบนโลกดิจิทัล และ (4) ส่งเสริมการเติบโตยั่งยืนของเทคคอมพานี

 

ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE ประเทศไทย กล่าวว่า “LINE ก้าวสู่ปีที่ 12 เราเติบโตจากแอปพลิเคชั่นสื่อสารมาเป็นแพลตฟอร์มสำหรับโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันที่สำคัญของผู้ใช้งานกว่า 54 ล้านคนในปัจจุบัน (ณ มิถุนายน 2566) โดยมีประชากรผู้ใช้หลากหลายภาคส่วน ธุรกิจ พันธมิตร คอมมูนิตี้ ที่ทำงานร่วมกันกับบริการและโซลูชันส์ต่าง ๆ บนระบบนิเวศจนเกิดเป็นระบบเศรษฐกิจบนแอป LINE (LINE Economy) นำไปสู่โจทย์ทางธุรกิจข้อถัดไปของเราในการสร้างความยั่งยืนบนแพลตฟอร์มที่เติบโตนี้ โดยมีหมุดหมายสำคัญคือการผลักดันแพลตฟอร์ม LINE ด้วยบทบาทในระดับมหภาค บนความมุ่งมั่นของเราที่อยากจะเห็นแอปพลิเคชั่น LINE มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็น Smart Country กล่าวคือ การที่เทคโนโลยีของ LINE มีบทบาท

สำคัญในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน สอดประสานเข้าด้วยกัน นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย”

4 กลยุทธ์สร้าง LINE Economy ระบบเศรษฐกิจบนแอป LINE ให้ยั่งยืน

1. ผสานจุดแกร่งระบบนิเวศเพิ่มขีดการแข่งขัน

หลังเสริมทัพแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงและจัดกลุ่มธุรกิจใหม่เพื่อปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มพัฒนาแพลตฟอร์ม, กลุ่มธุรกิจ Consumer Business, กลุ่มธุรกิจ LINE For Business, กลุ่มธุรกิจคอนเทนต์และบริการใหม่ และกลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซ บริษัทฯ เดินหน้าสร้างพันธมิตร ไปพร้อมกับการผสานจุดแกร่งระหว่างบริการ – โซลูชันส์บนระบบนิเวศ เพื่อนำเสนอโซลูชันส์ในรูปแบบใหม่ ๆ ไปสู่การเพิ่มขีดการแข่งขันให้แก่ลูกค้าธุรกิจในทุกระดับ เป็นการดึงข้อได้เปรียบจากการเป็นแพลตฟอร์มที่มีโซลูชันส์ครบครัน สามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

2. ชูการเป็น Smart Platform ขับเคลื่อน Smart Country

หมุดหมายสำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็น Smart Country คือการที่ทุกภาคส่วนในประเทศประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาเพื่อยกระดับการดำเนินการในส่วนต่าง ๆ นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน ซึ่ง LINE มุ่งหวังให้เทคโนโลยีบนแพลตฟอร์มเป็นส่วนช่วยผลักดันในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ภาครัฐ ที่นำเสนอบริการ e-Service ให้ประชาชนทั่วประเทศเข้าถึงและตรวจสอบการดำเนินการผ่านบัญชีทางการ LINE ได้ง่ายๆ ในไม่กี่ขั้นตอน ภาคเอกชน ที่นำโซลูชันส์ต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม LINE มาสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจที่ต้องการแข่งขัน อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า และภาคประชาชน ด้วยประสบการณ์การใช้งานแอป LINE ในชีวิตประจำวันผ่านบริการและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ตั้งแต่การสื่อสาร โซเชียลมีเดีย ช้อปปิ้ง คอนเทนต์ข่าวสาร สั่งอาหาร ฯลฯ มากไปกว่านั้น คือการส่งเสริมให้ผู้ใช้สามารถเป็นได้หลากหลายบทบาทในเวลาเดียวกัน ทั้งครีเอเตอร์ แอดมินของคอมมูนิตี้ ผู้ประกอบการ โดยมี LINE เป็นแพลตฟอร์มรองรับ

3. สร้างคุณภาพชีวิต Life on LINE ที่ดีบนโลกดิจิทัล

นอกจากบริการต่าง ๆ บนแพลตฟอร์มที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของผู้ใช้ บริษัทฯ ได้ริเริ่มแนวคิด LINE Digital Well-being ที่ต้องการปักหมุดในระยะยาวเพื่อให้ความสำคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่บนโลกดิจิทัล โดยที่ผ่านมาได้ทำแคมเปญรณรงค์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการบริหารเวลาเพื่อลดความเหนื่อยล้าบนโลกออนไลน์ ความเห็นอกเห็นใจและทัศนคติเชิงบวกบนโลกออนไลน์ การดูแลความสัมพันธ์รอบตัว ซึ่ง LINE ประเทศไทย ก็ได้หยิบยกแง่มุมใหม่ ๆ มานำเสนอเพื่อสร้างการตระหนักรู้ในประชากรผู้ใช้เพื่อสุขภาวะที่ดีบนโลกดิจิทัล

4. ส่งเสริมการเติบโตยั่งยืนของเทคคอมพานี

การดูแล Well-being ของพนักงาน ไปพร้อม ๆ กับการสร้างคนรุ่นใหม่ให้กับอุตสาหกรรมดิจิทัลเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้แก่บริษัทฯ จึงเดินหน้าพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ผ่านโครงการ LINE ROOKIE เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้ามาฝึกงานในโลกของการทำงานจริง ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นจำนวนมากกว่าพันรายในแต่ละปี เพื่อสร้าง New Talent ให้กับตลาดงานและแลกเปลี่ยนแนวคิดจากคนรุ่นใหม่เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีแผนความร่วมมือที่จะนำความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมมาพัฒนาหลักสูตรร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศเพื่อสร้างบุคลากรคุณภาพป้อนสู่ตลาดงานในประเทศภายในปี 2566 อีกด้วย

LINE ประเทศไทย โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดร. พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประกาศแต่งตั้ง 3 ผู้บริหารระดับสูง เสริมแกร่งดันธุรกิจบนระบบนิเวศของ LINE รอบด้าน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารธุรกิจท่ามกลางการเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัลในเมืองไทย โดยมีผลตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2566

นายวีระ เกษตรสิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมและหัวหน้าฝ่ายจัดการผลิตภัณฑ์ ขึ้นเป็นรองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ (Chief Product Officer) ดูแลและบริหารงานด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการบนแอปพลิเคชัน LINE ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยมุ่งยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ทั้งด้านการสื่อสาร ไลฟ์สไตล์และโซลูชันส์ธุรกิจ  ด้วยประสบการณ์มากว่า 25 ปี

นางสาวณิชารัศมิ์ อาชญาสิทธิวัตร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร ขึ้นเป็นรองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด (Chief Marketing Officer) ดูแลและบริหารงานด้านกลยุทธ์และแผนงานด้านแบรนด์ การตลาด และการสื่อสารการตลาด รวมถึงการสื่อสารองค์กร มุ่งสร้างสรรค์ไอเดียเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงกับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นำไปสู่การพัฒนาต่อยอดธุรกิจในอนาคต ด้วยประสบการณ์ด้านแบรนด์และการตลาดจากองค์กรและแบรนด์ชั้นนำมากว่า 25 ปี

นายรัฐธีร์ ฉัตรดำรงค์ศักดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจโฆษณา ขึ้นเป็นรองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ (Chief Commercial Officer) ดูแลและบริหารงานด้านธุรกิจพาณิชย์ ครอบคลุมทั้งแพลตฟอร์ม, LINE FOR BUSINESS โซลูชั่นสำหรับธุรกิจทุกขนาด, LINE Consumer Business และนวัตกรรมเชิงพาณิชย์อื่น ๆ ด้วยประสบการณ์ด้านการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจโฆษณามากว่า 10 ปีจากหลายองค์กรชั้นนำ

ทั้งนี้ นายนรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร ในฐานะรองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) ยังคงดูแลและบริหารการปฏิบัติการด้านธุรกิจของกลุ่มธุรกิจพาณิชย์ กลุ่มธุรกิจคอนเทนต์และนวัตกรรมการบริการต่าง ๆ เช่นเดิม   

LINE SHOPPING ฉลองความฮ็อต 2 ฟีเจอร์ใหม่สุดร้อนแรงอย่าง “SHARE & EARN” และ “SEND GIFT”

LINE BK ผู้ให้บริการ Social Banking รายแรกในเมืองไทย ตอบโจทย์การเงินที่สะดวกให้กับคนไทย

X

Right Click

No right click