×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6847

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา (ขวา) กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) พบปะหารือนายจอห์น รัทเทอร์ฟอร์ด (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายตลาดเงินภาครัฐ ธนาคาร แบงโค บิลเบา วิซคาญ่า อาร์เจนตาเรีย เอส.เอ. (บีบีวีเอ) หนึ่งในธนาคารระดับโลกที่มีขนาดสินทรัพย์ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศสเปน เกี่ยวกับแนวทางสร้างความร่วมมือระหว่างทั้งสองธนาคาร รวมทั้งการแสวงหาแหล่งเงินทุนใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนธุรกิจของผู้ประกอบการไทย ในงานสัมมนาสำหรับนักลงทุนและผู้ออกตราสารหนี้ภาครัฐ ครั้งที่ 8 จัดโดยบีบีวีเอ ณ เมืองปอร์โต โปรตุเกส เมื่อเร็วๆ นี้

ตลาดทุนและตลาดเงินของไทยในช่วงครึ่งหลังของปีต้องเผชิญความผันผวนที่เพิ่มขึ้นจากเงินทุนที่เคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไหลออกของเงินทุนจากต่างประเทศ จากความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้า และสภาพคล่องที่ลดลงจากการใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมและความผันผวนของค่าเงินบาทเพิ่มสูงขึ้น นักลงทุนและผู้ประกอบการจึงควรเตรียมรับมือ

หลังจากวิกฤติการเงินปี 2008 ธนาคารกลางใหญ่ๆ ทั่วโลกเลือกใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายโดยการลดดอกเบี้ยนโยบายจนอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และอัดฉีดสภาพคล่องผ่านโปรแกรม QE ทำให้เกิดสภาวะสภาพคล่องล้นตลาด นักลงทุนจึงเลือกที่จะเอาเงินไปลงในสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงสูงขึ้นเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น เกิดเป็นพฤติกรรม Search for Yields ทำให้มีเงินทุนจำนวนมากไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่ ทั้งในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน และตลาดหุ้น ทำให้ spread ของหุ้นกู้เอกชนลดลง ในขณะที่ตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้น โดย spread ของหุ้นกู้ BBB rating ของไทยลดต่ำลง จากที่ระดับกว่า 300bps ก่อนที่จะมีมาตรการ QE ในปี 2009 ลงมาอยู่ที่ระดับ 170bps หลังเฟดยกเลิกมาตรการ QE ในปี 2014 ในขณะที่ SET Index ก็ปรับเพิ่มขึ้นจาก 500 จุด ไปเป็น 1600 จุด

ดังนั้น ตอนนี้ธนาคารกลางที่เคยเป็นคนเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบ กลายเป็นคนที่ดูดสภาพคล่องของระบบออกไป โดยการยกเลิกการทำ QE และเริ่มลดขนาดงบดุล ประกอบกับการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่ทำให้สินทรัพย์ของสหรัฐฯน่าดึงดูดมากขึ้น ทำให้ที่ผ่านมามีเงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะประเทศที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจด้านต่างประเทศยังไม่แข็งแกร่ง เช่น เงินสำรองระหว่างประเทศต่ำ ในขณะที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด อย่างเช่น อาร์เจนตินา บราซิล ตุรกี และอินโดนีเซีย ทำให้ค่าเงินอ่อนลงไปตั้งแต่6% ถึง กว่า 30% จากเงินทุนที่ไหลออกรุนแรง จนทำให้ประเทศเหล่านี้ ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดความกดดันจากค่าเงินที่อ่อนค่าจากเงินทุนไหลออกและเงินเฟ้อที่ทยอยปรับขึ้น

นอกจากจะได้รับผลกระทบจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นของเฟดแล้ว ตลาดเกิดใหม่เหล่านี้ก็ยังถูกกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน แม้ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงยังไม่ชัดเจนก็ตาม โดยหลังจาก Trump เริ่มประกาศสงครามการค้ากับจีนตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2561 มีเงินไหลออกจากตลาดหุ้นเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ค่อนข้างรุนแรง จนค่าเงินในตลาดเอเชียอ่อนค่าลงโดยเฉลี่ยกว่า 5%

สำหรับประเทศไทย แม้จะมีเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่ดี เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง และเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ประกอบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้เงินทุนยังไม่ไหลออกรุนแรงเมื่อเทียบกับตลาดเกิดใหม่อื่นๆ แต่หากนับจากช่วงต้นปีนี้ ตลาดทุนและตลาดเงินไทยก็มีเงินไหลออกสุทธิรวมกันแล้วกว่า 8 หมื่นล้านบาท เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2016 และ ปี 2017 ที่มีเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสุทธิกว่า 2.8 แสนล้านบาทโดยเฉลี่ยต่อปี  ที่ประเทศไทยมีเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสุทธิมาโดยตลอด ทำให้ค่าเงินบาทผันผวนมาก โดยตั้งแต่ช่วงต้นปีจนถึงตอนนี้ เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 31.10 ถึง 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และอ่อนค่าจากต้นปีแล้วกว่า 2.2%

ความผันผวนในตลาดทุนและตลาดเงินจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเฟดขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วกว่าที่ตลาดมอง จากตลาดแรงงานที่ร้อนแรงขึ้น เมื่อความต้องการแรงงาน 6.7 ล้านตำแหน่งสูงกว่าจำนวนคนว่างงาน 6.1 ล้านคน กดดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้นเร็วกว่าที่ตลาดคาด ซึ่งอาจทำให้เกิด market correction รุนแรง เงินทุนไหลออก มูลค่าสินทรัพย์ลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการเงินเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมาก ดังนั้นทั้งนักลงทุนและผู้ประกอบการ จึงควรเตรียมป้องกันความเสี่ยงในอนาคต ไว้ด้วย

                หนึ่งในพันธกิจที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธ.ก.ส. คือ “ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร และการให้บริการรวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของลูกค้า” ตามวิสัยทัศน์ที่จะเป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่มั่นคง มีการจัดการที่ทันสมัย ให้บริการทางการเงินครบวงจร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างยั่งยืน

                จากพันธกิจดังกล่าว ธ.ก.ส. จึงจัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาเพื่อช่วยดูแลเรื่องการบ่มเพาะและพัฒนานวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการเกษตรที่เป็นลูกค้าของธ.ก.ส. ในชื่อ ศูนย์บ่มเพาะและพัฒนานวัตกรรม SMEs เกษตร ที่มี เรืองชัย เจริญกิจสุพัฒน์ ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการศูนย์แห่งนี้ตั้งแต่แรกตั้ง

                เรืองชัยอธิบายที่มาที่ไปของหน่วยงานนี้ว่า ธนาคารต้องการให้ศูนย์แห่งนี้ดูแลและพัฒนาผู้ประกอบการภาคเกษตรกรรม เพราะจากประสบการณ์การทำงานคลุกคลีกับภาคเกษตรมากว่า 50 ปีของธนาคารทำให้เห็นความเป็นไปวงจรต่างๆ ในด้านเกษตรกรรม เช่น สินค้าเกษตรราคาตกต่ำ เกษตรกรไม่สามารถกำหนดราคาผลผลิตของตนเองได้ ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ธนาคารภาครัฐเข้ามาช่วยดูแลผู้ประกอบการเพิ่มเติม ธ.ก.ส. จึงปรับบทบาท ด้วยการเพิ่มสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการภาคเกษตรกรรมขึ้นมา โดยมีศูนย์แห่งนี้เป็นแหล่งที่จะช่วยจัดหาองค์ความรู้ ทำหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อทำให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการได้

                 ศูนย์นี้เป็นหน่วยงานที่ขับเคลื่อนสถาบันบ่มเพาะและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs เกษตร แต่ตัวสถาบันไม่ได้มีศูนย์อบรมถาวรด้วยแนวคิดว่า การเรียนรู้สามารถทำได้ทุกที่ และจะเน้นการเรียนรู้ด้วยการกระทำ ตัวสถาบันจึงเป็น Virtual Organization สามารถใช้สถานที่ที่สะดวกเช่น โรงสี แหล่งรวบรวมผลผลิตต่างๆ หรือโรงงาน เป็นที่เรียนรู้ของสถาบันได้

เชื่อมโยงงานวิจัยสู่ภาคเกษตร

                กลไกการสร้างนวัตกรรมให้ผู้ประกอบการ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ บอกว่าเริ่มต้นใช้วิธีการเชื่อมโยงกับองค์กรภายนอก เช่นมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยดูจากกิจกรรมของกลุ่มเกษตรกรว่ากลุ่มใดที่จะต้องพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ เช่นยางพาราที่ประสบปัญหาราคาตกต่ำ ราคารับซื้อถูกกำหนดโดยผู้รับซื้อรายใหญ่ ทำให้เกษตรกรมีรายได้น้อย

                “เราลงไปพัฒนาโดยร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์โดยทำ MOU ร่วมกัน มีสภาเกษตรกรแห่งชาติด้วย เพื่อเอานวัตกรรมที่อาจารย์วิจัยไว้แล้วมาทำเรื่องแปรรูป เบื้องต้นทำเรื่องแผ่นยางปูพื้น ที่เขานำไปใช้ในสนามฟุตซอลต่างๆ เราไปเริ่มที่เราไปฟื้นสหกรณ์กองทุนสวนยางเดิมที่เขาทิ้งร้างกันแล้ว อย่างที่สตูลมีประมาณ 70 กว่าแห่งเราก็ไปฟื้นมา 29 แห่ง คือเกษตรกรยังใจสู้ ก็รวบรวมน้ำยางจากสมาชิกมาทำยางแผ่น ลงขันจากสมาชิกตั้งเป็นโรงงานชุมนุมสหกรณ์สวนยาง จ.สตูล เพื่อผลิตยางปูพื้นฟุตซอล เป็นจุดเริ่มต้นจากตรงนั้น”

                เหตุที่เริ่มด้วยยางพื้นสนามฟุตซอล เรืองชัยให้เหตุผลว่า เพราะต้องใช้เนื้อยางค่อนข้างมาก และที่สำคัญคือผลผลิตที่ออกมาคุณภาพไม่ด้อยไปกว่าที่นำเข้าจากต่างประเทศ และในบางด้านของที่ผลิตในประเทศดีกว่าเช่นเรื่องความทนทาน  ขณะที่ราคาขายต่อตารางเมตรก็ต่ำกว่านำเข้าจากต่างประเทศ

                เรืองชัยสรุปว่า นี่คือตัวอย่างของการเชื่อมโยงเกษตรกรกับนักวิชาการที่มีงานวิจัยที่สามารถทำเป็นผลผลิต พัฒนากลายเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าผลผลิตที่ออกมาของเกษตรกร ขณะที่ ธ.ก.ส. ก็จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเชื่อมโยงและสนับสนุนสินเชื่อเพื่อผลักดันให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ

                ตัวอย่างการนำงานวิจัยมาใช้อีกเรื่องของยางพารา คือ น้ำยางข้น ซึ่งในอดีตเราต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรสามารถผลิตน้ำยางข้นเองได้ โดยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัย ด้วยการใช้สารละลายใส่ไปผสมกับน้ำยางสด ทำให้น้ำยางแยกชั้นออกมา ซึ่งจะได้น้ำยางสดที่สามารถนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เช่น หมอน ที่นอนยางพาราออกมาจำหน่ายเพิ่มมูลค่าได้ แต่หากต้องการปริมาณเนื้อยางที่มากกว่าที่เทคนิคนี้จะทำได้ก็ต้องไปซื้อเครื่องจักรที่มีราคาสูงมาก

 

การเพิ่มมูลค่า

ตัวอย่างการเพิ่มมูลค่าราคาจากแผ่นรองพื้นยางพาราน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัมต่อแผ่น จากน้ำยางสด 1 กิโลกรัมนำมาทำเป็นน้ำยางข้นได้ประมาณ 600 กรัม คิดราคาน้ำยางข้น 55-60 บาทต่อกิโลกรัม รวมค่าแรงแล้วต้นทุนประมาณ 500-600 บาท สามารถนำมาจำหน่ายได้ราคาประมาณ 1,000 บาท และเก็บไว้ได้นานกว่าผลผลิตสดจากสวนยางพารา

                อีกงานหนึ่งจากการวิจัยที่มาช่วยผลผลิตยางพารา คืองานวิจัยที่พบว่าหากให้โคนมยืนอยู่บนพื้นซิเมนต์นานๆ กีบเท้าที่ชื้นจะทำให้เกิดโรคเท้าเปื่อย และเมื่อเวลาวัวทรุดลงไปนั่งขาอาจจะกระแทกซิเมนต์ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ แต่หากนำแผ่นยางไปทำแท่นยืนให้กับโคนม จะช่วยลดปัญหาทั้งสองเรื่องข้างต้น และช่วยเพิ่มผลผลิตน้ำนมได้อีก 20 เปอร์เซ็นต์

                ซึ่งเดิมแผ่นยางรองพื้นสำหรับโคนม ประเทศไทยนำเข้าจากประเทศจีนราคาประมาณ 2,500 บาท แต่เมื่อมาให้สหกรณ์สวนยางผลิตออกมาสามารถทำได้ในราคาประมาณ 1,500 บาท เป็นการช่วยสหกรณ์สวนยางพาราได้มูลค่าเพิ่มจากยางที่ผลิตได้ ขณะที่สหกรณ์โคนมลดต้นทุนที่ต้องจ่ายไป จากงานวิจัยที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยของประเทศไทย

 

หนุนเกษตรกรทำโรงสี

เรืองชัยบอกว่าสำหรับข้าวจากการสำรวจพบว่าปัญหาคือ เมื่อชาวนาผลิตข้าวออกมาต้องนำไปขายให้กับโรงสีที่มีอยู่จำนวนไม่มากในแต่ละจังหวัด การแก้ปัญหาคือการให้เกษตรกรตั้งกลุ่มทำโรงสีขนาดเล็กสีข้าวเปลือกเป็นข้าวสารเพื่อจำหน่าย ทำให้กลุ่มเกษตรกรสามารถกำหนดราคาข้าวสารที่เป็นอาหารที่ทุกคนรับประทานเป็นประจำอยู่แล้วได้เอง

 ธ.ก.ส. ช่วยเกษตรกรด้วยการนำนักวิชาการไปช่วยดูกระบวนการสีข้าวให้มีประสิทธิภาพ และการให้สินเชื่อเพื่อประกอบการธุรกิจโรงสี

 “  กระบวนการสีอาจารย์วิจัยมาว่า ต้องสีเป็นข้าวกล้องก่อน แล้วพักให้เย็นค่อยขัดขาวจะทำให้ข้าวเต็มเม็ดจำนวนมากกว่า เราต้องเอาความรู้นี้ไปบอกต่อเกษตรกร เอาอาจารย์ไปสอน เราไปดูงานวิจัยของอาจารย์ที่เกี่ยวกับเรื่องของเรา งานเราอยู่ตรงนี้” เรืองชัยกล่าว

นอกจากนี้ ยังมีการช่วยทำการตลาดผ่านบริษัทไทยธุรกิจเกษตร (TEPCO) ที่มาช่วยชาวนาจำหน่ายข้าวผ่านช่องทางต่างๆ อีกด้วย

 

สร้างผู้ประกอบการ

                การจะเป็นผู้ประกอบการนอกจากมีผลิตภัณฑ์และตลาดแล้วการจัดการธุรกิจเป็นอีกด้านหนึ่งที่ศูนย์ฯ เข้าไปช่วยสนับสนุน เช่นเรื่องระบบบัญชีภาษีอาการและการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และจะส่งผลดีต่อตัวผู้ประกอบการเอง

                ที่ศูนย์ มีการเชิญลูกค้าของธนาคารเข้ามาอบรมเรื่องการทำบัญชีภาษีอากร โดยตั้งหัวข้อว่า ‘ทำอย่างไรจึงจะเสียภาษีน้อยที่สุด’ “เราบอกว่าถ้าคุณเข้ามาจะรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะเสียภาษีน้อยที่สุด แต่เสียภาษีถูกต้องตามกฎหมายนะ ยกตัวอย่างเช่น VAT ปกติถ้าไม่จด เวลาเราซื้อของมามี VAT เราไม่สามารถเคลมคืนได้ แต่ถ้าเราจดเมื่อไร เราซื้อของมาผลิตต่อมี VAT เราสามารถไปเคลมคืนได้ในเดือนถัดไป ขณะเดียวกันของที่เราขายเราก็บวก VAT ก็เท่ากับ VAT เราถูกหักด้วย VAT ที่เราซื้ออยู่แล้ว  และยังมีเรื่องการลดหย่อนหลายตัวที่เขาไม่รู้ เช่นวัตถุดิบการเกษตรไม่ต้องเสีย VAT  ถ้ารู้ก็สามารถนำไปใช้ได้ “

                อีกเรื่องที่ศูนย์แห่งนี้ทำคือการเข้าไปช่วยเกษตรกรให้คิดราคาสินค้าให้เหมาะสม ไม่แพงจนไม่มีคนกล้าซื้อหรือถูกจนขาดทุน

                เรืองชัยอธิบายว่า “คุณต้องคิดต้นทุนให้เป็น อยากได้กำไรเท่าไรถึงจะคุ้ม ต้นทุนต้องบวกค่าแรง ค่าเสื่อมราคา ค่าเสียโอกาส เราสอนวิธีเขา คำนวณต้นทุนให้เป็น เขาก็จะสามารถกำหนดราคาได้สมเหตุสมผล ราคาก็จะไม่แพงกว่าทั่วไป”

                เขายกตัวอย่างหมอนยางพาราที่ในช่วงแรกที่ผลิตออกมากำหนดราคาขายใบละมากกว่า1,000 บาท แต่เมื่อนำมาคำนวณต้นทุนแล้วพบกว่าราคาที่กำหนดนั้นสูงเกินไป ทำให้สินค้าขายยาก กลายเป็นปัญหาสต็อกสินค้าล้น ปัจจุบันราคาหมอนยางพาราจึงลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 600 บาท ทำให้ขายได้ง่ายขึ้น

 

เพิ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์

ประเทศไทยนำเข้าเมล็ดพันธุ์ปีหนึ่งหลายพันล้านบาท การส่งเสริมให้เกษตรกรรุ่นใหม่เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์จึงเป็นอีกโครงการที่ศูนย์แห่งนี้ทำร่วมกับ สวทช. ที่มีโครงการบ่มเพาะนักศึกษาด้านเกษตรให้ทำเมล็ดพันธุ์ โดยปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 20 คน กระจายอยู่ทั่วประเทศ

เรืองชัยอธิบายเรื่องมูลค่าเพิ่มของเมล็ดพันธ์ว่า “ตัวอย่างแตงเราขายผลสดออกจากไร่ประมาณ 10-15 บาท แต่เอามาทำเมล็ดพันธุ์ ต้นทุนต่อกิโลกรัมจะอยู่ที่ประมาณ 300-400 บาทแต่ขายได้ 2,000-3,000 บาทใช้เวลา 3 เดือน   ความจริงพ่อแม่เขาก็เป็นเกษตรกรอยู่แล้ว ก็แบ่งพื้นที่มาไร่สองไร่ ใช้ความละเอียด และความรู้ ต้องดูคุณภาพ ดอกอย่างไรถึงว่าสมบูรณ์ เป็นงานละเอียดมาก นี่คือเรื่องหนึ่งที่เรามองว่าจะทดแทนการนำเข้า สวทช.เขาดูแลอยู่แล้ว แต่เราก็เข้าไปดูเรื่องเงินทุนหมุนเวียน เราก็ส่งต่อให้ฝ่ายที่ให้สินเชื่อ เราก็อธิบายให้สินเชื่อฟังว่ากระบวนการเป็นอย่างนี้”


ช่วยปรับวิธีคิดการขายผลผลิต

                อีกผลผลิตที่ศูนย์แห่งนี้เข้าไปช่วยทำให้เกษตรกรได้รับราคาผลผลิตดีขึ้นคือทุเรียน วิธีการที่ใช้ดูไม่ซับซ้อนแต่เป็นวิธีที่สามารถทำได้จริง

                ราคาทุเรียนเมื่อ 3 ปีที่แล้ว อยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 35-40 บาท แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 130-180 บาท มาจากการไปพัฒนาเรื่องการแปรรูปทุเรียนสดให้เป็นทุเรียนแช่เย็นและทุเรียนฟรีซดรายที่ได้ราคาดีกว่า เมื่อเทียบกับต้นทุนที่ต้องจ่ายไป “เอาความรู้ไปให้คิดว่า ทุเรียนหนึ่งกิโลจะได้เนื้อประมาณ 2 .5 ขีด ถ้ากิโลละ 60 บาท 4กิโลของทุเรียนทั้งเปลือกจะได้เนื้อ 1 กิโล 4 กิโลก็ 240 บาท ค่าฟรีซ 1 กิโลต่อเดือน 1 บาท โดยทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 5 เดือน ค่าแรงการแกะกิโลละไม่เกิน 3 บาท เบ็ดเสร็จเนื้อทุเรียนแช่แข็งต้นทุนจะอยู่ประมาณ 250-260 บาท แต่ราคาเนื้อทุเรียนแช่แข็งส่งออกประมาณ 600 บาท เราไปสอนเขาคิดอย่างนี้ เกษตรกรเขารู้แล้ว ดังนั้นพวกตกเกรดทั้งหลายเขาไม่เอามาขายให้คนกิน แกะแช่ฟรีซให้หมด ไปสอนให้เขาคิด อย่างอื่นมีอยู่แล้ว สอนหลักการจัดการเท่านั้น ตกเกรดก็ไม่ต้องขายถูก”  

                 อีกด้านหนึ่งคือการพัฒนาล้งรับซื้อทุเรียนเพื่อส่งขายไปยังประเทศจีนโดยตรง ธ.ก.ส. ใช้วิธีเลือกวิสาหกิจชุมชนที่มีความเข้มแข็งมาพัฒนาเป็นล้งรวบรวมทุเรียนคุณภาพเพื่อส่งออก โดยการประสานฝ่ายผู้ซื้อในต่างประเทศ และให้กลุ่มเปลี่ยนกลไกการรวบรวมแทนที่จะส่งให้กับล้งที่มีอยู่เดิม ซึ่งอาจจะไม่ได้ราคาที่ดี

                ทุเรียนจึงเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง

 

แปรรูปโคเนื้อ

ธ.ก.ส.มีสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคเนื้อเป็นลูกค้าอยู่หลายแห่ง โดยมี 9 แห่งที่มีความเข้มแข็ง มีโรงเชือดมาตรฐาน แต่ยังประสบปัญหาคือ เนื้อเกรดรองยังจำหน่ายได้ไม่มาก ศูนย์จึงร่วมกับผู้เชี่ยวชาญไปช่วยวางระบบ ลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าให้กับสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคได้

เรืองชัยเล่าเรื่องนี้ว่า “เดิมเขาทำคือเชือดเสร็จ ก็จะเอาครึ่งซีกเข้าห้องเย็นซึ่งไม่มีประโยชน์ไปบ่มเนื้อ 100 เปอร์เซ็นต์ ใช้จริงคือพรีเมียม 20 เปอร์เซ็นต์ เราจึงเอาทีมงานอาจารย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องโคขุนไปวางระบบให้ ว่าเนื้อรองควรตัดมาก่อน เหลือ 20 เปอร์เซ็นต์จึงเอาไปฟรีซ เนื้อรองก็เอามาทำลูกชิ้น และเนื้อเสียบไม้ บาบีคิว ซึ่งขายดีมาก”

และทางธ.ก.ส.ก็เชิญผู้ประกอบการซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่มาพูดคุยธุรกิจกับสหกรณ์ทั้ง 9 แห่ง เพื่อนำเนื้อที่ตัดแต่งแล้วไปวางจำหน่าย

นอกจากนี้ยังมีอีกงานหนึ่งที่ผอ.ศูนย์แห่งนี้มองว่าต้องทำต่อเนื่องคืออาหารที่ใช้เลี้ยงโค ซึ่งประเทศไทยก็เป็นผู้ผลิตพืชที่หลากหลาย เช่นข้าวโพด มันสำปะหลังจะต้องนำกลุ่มเกษตรกรกลุ่มต่างๆ มาเชื่อมโยงกันมากขึ้น เป็นหน้าที่ในการเชื่อมโยงตลาดให้กับผู้ประกอบการเกษตรกร

ศูนย์บ่มเพาะและพัฒนานวัตกรรม SMEs เกษตร

                เรืองชัย สรุปว่าหน้าที่ของศูนย์แห่งนี้คือการประสานกับหน่วยงานที่มีองค์ความรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานราชการในกระทรวงต่างๆ เพื่อนำความรู้ไปให้เกษตรกร “เราคือหลักสูตรอบรม  มีผลิตภัณฑ์แล้วต้องทำให้ขายได้”

                ศูนย์แห่งนี้มีหลักสูตรอบรม 3 หลักสูตรประกอบด้วย

                หลักสูตรพื้นฐาน เรียนรู้เรื่องการสร้างทัศนคติ ให้เป็นผู้ประกอบการ การบัญชีเบื้องต้น  การวางแผนธุรกิจ การจัดการทางการเงิน การวางแผนการเงิน  หลักสูตรนี้ทำร่วมกับสำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สสว. เป็นการบูรณาการร่วมกัน

                 หลักสูตรเฉพาะ เป็นหลักสูตรตามผลิตภัณฑ์เช่นถ้าทำเรื่องข้าว ก็จะเป็นเรื่องโรงสี การเพิ่มคุณภาพข้าว แปรรูปข้าว หลักสูตรนี้จะทำร่วมกับมหาวิทยาลัย หน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาด

                หลักสูตรเชิงลึก คือ ดูหลังผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้วจะทำตลาดอย่างไร การแก้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ เชื่อมโยงด้านการตลาดอย่างไร   โดยหน่วยงานต่างๆ ในธ.ก.ส. จะทำหน้าที่เหมือนกับพี่เลี้ยงให้กับผู้ประกอบการ

                ทั้งนี้เป้าหมายของศูนย์แห่งนี้ที่ธ.ก.ส. วางไว้คือการเป็นสถาบันที่เป็นที่ปรึกษาและแก้ปัญหาในด้านการรวบรวม การแปรรูป และการตลาด ให้เกษตรกร และยังมีโครงการอีกมากทั้งการทำโรงเรือนอัจฉริยะ สำหรับเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ การพัฒนาบัณฑิตใหม่ให้เป็นผู้ประกอบการด้านเกษตร การสร้าง Young Smart Farmer ที่จะจัดเป็นเหมือนการประกวดแข่งขันแนวคิดนวัตกรรมด้านเกษตรของผู้ประกอบการรุ่นใหม่

 

Page 5 of 5
X

Right Click

No right click