สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย นายเอกกมล แพทยานันท์ (ที่ 2 จากซ้าย) นายกสมาคมฯ จัดงานแถลงข่าว เชิญคนไทยทั้งประเทศร่วมเป็นเจ้าภาพ การประชุมสมัชชาสหภาพคนตาบอดโลกภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 26-29 พฤศจิกายน 2566 ณ จังหวัดภูเก็ต โดยการประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมระดับนานาชาติของผู้แทนคนตาบอดจากองค์กรสมาชิกของสหภาพคนตาบอดโลกภาคพื้นเอเชียและ แปซิฟิกจำนวน 21 ประเทศ ผู้นำคนตาบอดจากองค์กรเครือข่าย รวมถึงผู้แทนจากหน่วยงานที่ทำงานด้านคนตาบอดและคนพิการในระดับประเทศ รวมทั้งสิ้น 350 คน โดยได้รับเกียรติจาก นายพิสิฐ พูลพิพัฒน์ (ที่ 3 จากซ้าย) รองอธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นายมณเฑียร บุญตัน (ยืนกลาง) สมาชิกวุฒิสภา และดร.นันทนุช สุวรรนาวุธ(ที่ 3 จากขวา) เลขานุการสมาคมฯ ในฐานะดูแลงานด้านต่างประเทศ ร่วมให้รายละเอียด ณ ห้องคริสตัล โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร

 

 

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยผลการสำรวจ ดัชนีชี้วัดนวัตกรรม (Innovation Index) ระบุ 66% ขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 60% และทั่วโลก 57%) เกรงว่าองค์กรของตัวเองอาจตกกระแสได้ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า

เมื่อพิจารณาจากความแข็งแกร่งของวัฒนธรรมการสร้างนวัตกรรมและแผนงานนวัตกรรมในกระบวนการทำงาน (Pipeline) การทำวิจัยเพื่อสำรวจความคิดเห็นทั่วโลกครั้งใหม่นี้ เป็นการทำโพลล์ด้วยการพูดคุยกับพนักงานองค์กรจำนวน 6,600 คนในกว่า 45 ประเทศทั่วโลก เพื่อให้สามารถเห็นภาพที่ชัดเจนว่าเพราะเหตุใดนวัตกรรมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจ และองค์กรธุรกิจเองควรเตรียมความพร้อมของคนทำงาน กระบวนการในการทำงาน และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพอย่างไรได้บ้าง ขณะเดียวกัน รายงานในส่วนของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเกิดจากการทำโพลล์จากการพูดคุยกับพนักงาน 1,700 คนทั้งในประเทศไทย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และเกาหลีใต้

“เทคโนโลยียังคงเป็นแกนหลักที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของแต่ละองค์กร ในการที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถทรานส์ฟอร์มและเติบโต การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของตลาดได้สร้างโอกาสอย่างมหาศาลให้กับธุรกิจต่างๆ และในขณะที่ผลการศึกษาของดัชนีชี้วัดด้านนวัตกรรม หรือ Innovation Index เผยให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจของไทยจัดอยู่ในระดับแนวหน้าในกลุ่มของผู้นำนวัตกรรม (Innovation Leader) เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ภายในภูมิภาค องค์กรส่วนใหญ่ยังคงต้องตัดสินใจว่าในจุดไหนที่ต้องการไปให้ถึงในอนาคตอันใกล้นี้” ฐิตพล บุญประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว “ทั้งนี้ องค์กรธุรกิจสามารถดำเนินการในรูปแบบนี้ได้ด้วยการปรับเป้าหมายต่างๆ ที่บริษัทมีอยู่ให้สอดคล้องกัน พร้อมทั้งบ่มเพาะวัฒนธรรมของการความอยากรู้และอยากลองด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ผู้คน และกระบวนการรูปแบบต่างๆ”

นวัตกรรมคือสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ

ด้วยการประเมินองค์กร ผู้ตอบแบบสอบถามจะถูกประเมินหรือตรวจสอบโดยการเปรียบเทียบกับมาตรฐาน (Benchmark) เพื่อดูเกณฑ์มาตรฐานความพร้อมด้านนวัตกรรม ตั้งแต่ผู้นำด้านนวัตกรรมไปจนถึงผู้ที่ยังคงล้าหลังด้านนวัตกรรม จากการวิเคราะห์ องค์กรต่างๆ เพียง 31% ในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 17% และทั่วโลก 18%) เท่านั้นที่สามารถกำหนดให้เป็นผู้นำทางนวัตกรรม (Innovation Leaders) และผู้ที่นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งาน (Innovation Adopters) องค์กรในกลุ่มนี้มีกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมแบบครบวงจร (End-to-End) และวางตัวเองอยู่ในตำแหน่งที่ดีในการฟันฝ่าอุปสรรคและปัญหาที่มาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ปัญหาซัพพลายเชน ไปจนถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ อีกมากมาย ขณะที่ยังคงเติบโตต่อไป

ในความเป็นจริง 52% ของผู้นำทางนวัตกรรม (Innovation Leaders) และผู้นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งาน (Innovation Adopters) ของประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 51% และทั่วโลก 50%) มั่นใจว่าตัวเองสามารถเร่งสร้างนวัตกรรมได้ในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย ซึ่ง “ความยืดหยุ่นของนวัตกรรม” หรือที่เรียกว่า “innovation resilience” นี้ (เช่น ความมุ่งมั่นและความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก) ส่งผลดีให้กับผู้นำทางนวัตกรรม โดย 32% ของผู้นำทางนวัตกรรม และผู้นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งานของประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 33% และทั่วโลก 32%) ได้รับประสบการณ์ที่ระดับของรายได้เติบโตเพิ่มขึ้นถึง 15% ในปี 2022 นอกจากนี้ ยังพบความท้าทายที่ลดลงในการรักษาบุคลากรที่มีทักษะด้านไอทีที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนนวัตกรรม ปัจจัยสนับสนุนอีกประการหนึ่งอาจเป็นเพราะ 65% ของผู้นำทางนวัตกรรม และผู้นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งานของไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 73% และทั่วโลก 75%) ได้ตอบรับการใช้งานระบบอัตโนมัติอย่างเต็มที่เพื่อสู้กับกระบวนการไอทีทั้งแบบแมนนวลและทั้งใช้เวลายาวนาน เพื่อเร่งการพัฒนานวัตกรรมให้เร็วยิ่งขึ้น

 

ตามที่เส้นกราฟการเติบโตอย่างเต็มที่ของนวัตกรรมแสดงให้เห็น องค์กรธุรกิจในส่วนที่เป็นผู้ล้าหลังด้านนวัตกรรม (Innovation Laggards) และผู้ตามทางนวัตกรรม (Innovation Followers) ยังขาดการกำหนดกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมหรือกำลังพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งผลกำไรสำหรับกลุ่มที่เป็นผู้ที่กำลังประเมินเพื่อการใช้งานนวัตกรรม (Innovation Evaluators) ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดทางนวัตกรรม (Innovation Index) คือการจับภาพหรือการสรุปภาพรวมของสถานการณ์ได้ทันเวลา องค์กรธุรกิจสามารถพัฒนาปรับปรุงได้ด้วยการพิจารณาถึงบุคลากร กระบวนการทำงาน และการใช้เทคโนโลยีในแบบองค์รวม และสร้างกลยุทธ์นวัตกรรมที่แข็งแกร่งแต่คล่องตัว

นวัตกรรมที่ให้ความสำคัญบุคลากร

องค์กรธุรกิจต่างต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาวัฒนธรรมนวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับแนวความคิดทุกรูปแบบเพื่อที่จะสามารถสร้างความต่าง อีกทั้งสามารถเรียนรู้ผ่านความผิดพลาด โดยผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า

· 64% ของผู้ตอบแบบสอบถามคนไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 59% และทั่วโลก 59%) เชื่อว่าการที่มีคนลาออกจากบริษัทเกิดจากการที่ไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้มากเท่าที่คาดว่าจะทำได้

· 61% ในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 63% และทั่วโลก 64%) ระบุว่าวัฒนธรรมของบริษัทในด้านต่างๆ คือสิ่งที่สกัดกั้นทำให้ไม่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้มากเท่าที่ต้องการหรือสามารถทำได้

วัฒนธรรมในบริษัทได้ถูกกำหนดและสร้างขึ้นเป็นแบบอย่างโดยผู้นำ แต่ 71% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 73% และทั่วโลก 71%) ระบุว่าผู้นำของตัวเองมีแนวโน้มที่จะชอบความคิดของตัวเองมากกว่า นอกจากนี้ ยังมีการระบุถึงอุปสรรคส่วนบุคคลในอันดับต้นๆ ที่มีต่อการสร้างนวัตกรรมที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด คือความกลัวที่จะความล้มเหลว ไปจนถึงการขาดความมั่นใจในการแบ่งปันความคิดกับผู้นำของตัวเอง

นวัตกรรมที่ให้ความสำคัญต่อกระบวนการ

ในทำนองเดียวกัน รายงานดัชนีชี้วัดทางนวัตกรรมยังเผยให้เห็นว่าธุรกิจต่างกำลังดิ้นรนที่จะนำเอากระบวนการนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยดาต้าและมีสตรัคเจอร์เข้ามาฝัง (Embed) ไว้ภายในองค์กร เพื่อให้สามารถประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนขององค์กร โดยผลการสำรวจสำคัญชี้ให้เห็นว่า

· ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีมากถึง 56% ในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 28% และทั่วโลก 26%) กล่าวว่าความพยายามด้านนวัตกรรมทั้งหมดของพวกเขาขึ้นอยู่กับข้อมูล

· มีเพียง 37% ขององค์กรในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 46% และทั่วโลก 52%) กำลังจัดโครงการนวัตกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัท เป็นไปได้ว่า การขาดกระบวนการและกลยุทธ์นี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่องค์กรต่างๆ พยายามดิ้นรนเพื่อจัดลำดับความสำคัญของนวัตกรรม: อุปสรรคสำคัญต่อนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบต่อทีมคือการไม่มีเวลาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เนื่องจากมีภาระงานล้นหลาม (ประเทศไทย: 36% เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 40% และทั่วโลก 38%)

นวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงพลังของเทคโนโลยีในการก่อให้เกิดนวัตกรรมและผลที่ตามมาของการถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยส่วนใหญ่ หรือ 99% ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 84% และทั่วโลก 86%) ต่างกำลังแสวงหาเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้พวกเขาสามารถบรรลุเป้าหมายด้านนวัตกรรม และในทางกลับกัน 49% ขององค์กรในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 58% และทั่วโลก 57%) เชื่อว่าเทคโนโลยีของตัวเองยังไม่ใช่เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและหวั่นเกรงว่าจะถูกทิ้งให้ตามหลังคู่แข่ง

การศึกษามุ่งที่จะสำรวจในรายละเอียดเพื่อดูว่าองค์กรธุรกิจสามารถได้รับผลประโยชน์ และเผชิญกับอุปสรรคใดบ้างจาก 5 เทคโนโลยีหลักที่ถือเป็นตัวกระตุ้น (Catalysts) สำหรับนวัตกรรม อันได้แก่ เทคโนโลยีมัลติ-คลาวด์ เอดจ์ โครงสร้างพื้นฐานโมเดิร์น ดาต้า การทำงานจากทุกที่ที่ต้องการ (Anywhere-work) และการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ และในเกือบทุกภาคส่วน สิ่งที่เป็นอุปสรรคที่ใหญ่ยิ่งที่สุดในการปลดล็อคศักยภาพทางนวัตกรรมนั่นคือความซับซ้อน (Complexity) หากให้ยกตัวอย่าง จะเห็นได้ว่ามีองค์กรธุรกิจในจำนวนที่มากจนเกินไปที่เข้ามาสู่สภาพแวดล้อมแบบมัลติ-คลาวด์โดยบังเอิญ ทำให้เกิดการควบรวมกันของแพลตฟอร์มต่างๆ ด้านคลาวด์ ตลอดจนแอปพลิเคชัน ทูลส์ และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งความซับซ้อนเหล่านี้ก่อให้เกิดต้นทุนทั้งในด้านเวลา เงินลงทุน ไปจนถึงโอกาสอันมีค่าในการสร้างนวัตกรรม

และนี่คือสิ่งที่เป็นหลักฐานที่เด่นชัดของอุปสรรคทางเทคโนโลยีของประเทศไทยที่ส่งผลต่อการพัฒนานวัตกรรมที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด:

1. การต่อสู้กับความซับซ้อนของระบบเอดจ์ที่ปลายทาง

2. การทุ่มเทความพยายามไปกับการเปลี่ยนดาต้าให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึกแบบเรียล-ไทม์

3. การขาดกลยุทธ์ด้านการรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจรในแบบองค์รวม

4. ต้นทุนทางด้านคลาวด์ที่เพิ่มสูงขึ้น

5. การที่ผู้คนไม่สามารถทำงานอย่างปลอดภัยได้จากทุกที่ที่ต้องการ

เพื่อให้การสนับสนุนองค์กรต่างๆ ในการเดินทางบนเส้นทางแห่งนวัตกรรม เดลล์ เทคโนโลยีส์พร้อมที่จะแบ่งปัน "บทเรียนเหล่านี้ที่ได้จากผู้ที่เป็น ผู้นำทางนวัตกรรม (Innovation Leaders) และผู้ที่นำนวัตกรรมไปใช้งาน (Innovation Leaders)" หาข้อมูลเพิ่มเติมและเข้ามาอ่านรายงานสรุป Executive Summary ได้ที่ www.dell.com/innovationindex

● ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก 49% ในขณะนี้เชื่อว่าประเทศของตนกำลังประสบปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยชาติที่วิตกมากที่สุดคืออินโดนีเซียที่ 60%

● กิจกรรมเชิงอนุรักษ์สร้างแรงกระเพื่อมในหมู่ผู้บริโภคของภูมิภาคนี้อย่างมาก กว่า 58% กล่าวว่ากิจกรรมเชิงอนุรักษ์กระตุ้นให้พวกเขาตระหนักรู้ถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 46%

● มลภาวะพลาสติกหลุดจาก 3 อันดับแรก ของรายการปัญหาที่น่าวิตกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในหมู่ผู้บริโภคทั่วโลก

ข้อมูลงานวิจัยใหม่จาก Mintel’s annual Global Outlook on Sustainability* ชี้วิกฤติการณ์ขาดแคลนน้ำเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ผู้บริโภครู้สึกวิตกเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

จำนวนผู้บริโภคทั่วโลกที่จัดอันดับให้วิกฤติการณ์ขาดแคลนน้ำติด 3 อันดับแรกของปัญหาสิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้นจาก 31% ในปี 2022 เป็น 35% ในปี 2023 ซึ่งถือเป็นประเด็นที่ผู้คนหันมาวิตกเพิ่มขึ้นถึง 13% และนับเป็นความกังวลที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ในปีที่ผ่านมา โดยในปี 2021 มีผู้บริโภคทั่วโลกไม่ถึง 3 ใน 10 (หรือ 27%) ที่วิตกเรื่องการขาดแคลนน้ำ

ความกลัวต่อการขาดแคลนน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มลภาวะพลาสติกหลุดจากความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม 3 อันดับแรก โดยความกังวลต่อปัญหามลภาวะพลาสติก (เช่น ขยะพลาสติกในมหาสมุทร) ลดลงจาก 36% ในปี 2021 มาเป็น 32% ในปี 2023

สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จีน (37%), เกาหลีใต้ (34%), และอินโดนีเซีย (32%) เป็นประเทศที่แสดงความวิตกสูงสุดในเรื่องการขาดแคลนน้ำ ในขณะเดียวกัน ความวิตกเรื่องการขาดแคลนอาหารจากภัยแล้งหรือผลผลิตตกต่ำยังมีอัตราสูงอย่างมีนัยสำคัญทั้งในญี่ปุ่นและออสเตรเลีย (28%) สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 25%

แม้ความวิตกต่อการขาดแคลนน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงเป็นปัญหาที่ผู้คนทั่วโลกกังวลมากที่สุด โดยไทยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับทั่วโลกอยู่ที่ 47% ในปี 2023 ส่วนอินเดียมีความวิตกในอัตราที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในภูมิภาคจาก 31% ในปี 2021 เป็น 44% ในปี 2023

ผู้บริโภคทั่วโลกมากกว่าครึ่ง (51%) เชื่อว่าประเทศของตนกำลังเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยเพิ่มขึ้นจาก 44% ในปี 2021 โดยชาวอินโดนีเซียคิดว่าประเทศของตนกำลังประสบปัญหามากที่สุด (60%) ในขณะที่คนญี่ปุ่นมีความวิตกลดลงจาก 44% ในปี 2022 มาเป็น 40% ในปี 2023

 

ริชาร์ด โคป ที่ปรึกษาอาวุโสด้านเทรนด์โลก แห่ง Mintel Consulting กล่าวว่า “การให้ความสำคัญกับการขาดแคลนน้ำเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อม 3 อันดับแรกสำหรับผู้บริโภค สะท้อนให้เห็นว่าความตึงเครียดเรื่องน้ำกำลังเกิดขึ้นจริงทั่วโลก การที่ปัญหาการขาดแคลนน้ำไต่จากอันดับ 5 ขึ้นมาที่ 3 ในรายการปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นตัวบ่งชี้ว่าผลกระทบนั้นเกิดขึ้นโดยตรงกับผู้คนจริง ๆ

ซึ่งตรงกันข้ามกับปัญหาอื่น ๆ ที่เราได้รับฟังข่าวสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก สิ่งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ที่ความวิตกด้านสิ่งแวดล้อมได้กลายเป็นประเด็นเร่งด่วนเพื่อการเอาชีวิตรอดของมนุษย์ อย่างการขาดแคลนน้ำและอาหาร และเกิดเป็นแรงปรารถนาที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรเพื่อการฟื้นฟูโลกในอนาคต ในขณะที่มลภาวะพลาสติกยังคงเป็นข้อกังวลหลัก แต่ผู้บริโภคก็เริ่มกังวลเรื่องนี้น้อยลง เนื่องจากพวกเขาให้ความสำคัญกับการขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับตนเองมากกว่า ทั้งยังได้รับทราบว่ายังมีปัญหาอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดการปล่อยมลพิษมากกว่าอีกด้วย”

กิจกรรมเชิงอนุรักษ์สร้างแรงกระเพื่อมในหมู่ผู้บริโภคของภูมิภาค

อีกหนึ่งหัวข้อที่มีการโต้เถียงกันบ่อยครั้ง โดยงานวิจัยของมินเทลได้สำรวจถึงผลกระทบของกิจกรรมเชิงอนุรักษ์ พบว่า 46% ของผู้บริโภคทั่วโลก** ยอมรับว่านักเคลื่อนไหวเชิงอนุรักษ์สามารถสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของพวกเขาได้มากขึ้น กิจกรรมโลกร้อนเพื่อสร้างการตระหนักรู้ ส่งผลกระทบที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค โดยประเทศที่รายงานผลกระทบสูงสุดคืออินโดนีเซีย (80%) ไทย (74%) และอินเดีย (69%) และในขณะที่ผู้บริโภคจำนวนมากให้ความสำคัญแก่กลุ่มนักเคลื่อนไหว ชาวออสเตรเลียเกือบครึ่ง (48%) ระบุว่านักเคลื่อนไหวเชิงอนุรักษ์ที่สร้างความปั่นป่วน (เช่น ปิดกั้นการจราจร) ควรถูกลงโทษโดยหน่วยงานรัฐบาล

“แน่นอนว่านักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมสามารถสร้างผลกระทบได้จริง และได้รับการมองว่าเป็นนักประท้วงที่ถูกต้องตามกฎหมายในหลายประเทศ โดยการวิจัยของเราชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่ว่านักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมได้รับการต้อนรับในหลายประเทศในฐานะผู้ให้การศึกษาแก่ผู้คน โดยเฉพาะประเทศในเอเชียแปซิฟิกและละตินอเมริกา นักเคลื่อนไหวยังกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการฟอกเขียวธุรกิจแบรนด์ต่าง ๆ ในขณะที่นักเคลื่อนไหวพยายามให้ความรู้ด้านพลังงาน การจัดหาทรัพยากร และสัดส่วนการปล่อยมลพิษ เหล่าผู้บริโภคก็เริ่มหันมาพิจารณากลั่นกรองข้อมูลของผลกระทบที่เคยได้รับมาอย่างรอบด้านมากขึ้นด้วย” ริชาร์ด โคป กล่าวเสริม

ผู้บริโภคไม่เชื่อว่าการชดเชยคาร์บอนเป็นการแก้ไขปัญหาที่แท้จริง

ในขณะเดียวกัน เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคและของบริษัทต่าง ๆ ก็เริ่มไม่สัมพันธ์กัน โดยผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกเกือบสองในสาม (65%) ต้องการให้บริษัทต่าง ๆ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนของตนเอง

แทนที่จะพึ่งพาโปรแกรมชดเชยคาร์บอนที่อยู่นอกเหนือจากธุรกิจของตนเอง นอกจากนี้ ผู้บริโภคจำนวนมากในออสเตรเลียและเกาหลีใต้ (41% และ 37% ตามลำดับ) รู้สึกไม่เชื่อถือในความซื่อสัตย์ของบริษัทต่าง ๆ ในเรื่องข้อมูลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

เมื่อถามบรรดาผู้บริโภคถึงสิ่งที่จะกระตุ้นให้พวกเขาพิจารณาซื้อผลิตภัณฑ์ที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผู้บริโภคทั่วโลกราว 41% ระบุว่าพวกเขามองหาคะแนนที่บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพียงใด (เช่น รหัสสี หรือคะแนน 1-5) ซึ่งทำให้เห็นว่าระบบการติดฉลากรหัสสีแบบ Nutriscore

ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภคในเรื่องนี้

“การวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่า เมื่อพิจารณาในระดับโลก ผู้บริโภคไม่ต้องการให้แบรนด์ต่าง ๆ ใช้วิธีการชดเชยคาร์บอน แม้โครงการป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าจะถือเป็นเกณฑ์พื้นฐานของโครงการคาร์บอนเครดิตที่บริษัทส่วนใหญ่ใช้ในการยืนยันความเป็นกลางทางคาร์บอนของธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ของตน แต่รายงานข่าวของสื่อมวลชนที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาในการตรวจสอบความถูกต้องของโครงการเหล่านี้ ทำให้สาธารณชนเรียกร้องให้บริษัทต่าง ๆ ลงมือทำและลงทุนเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนโดยตรงด้วยตนเอง

“สืบเนื่องจากความสำเร็จของระบบสีสัญญาณไฟจราจรเพื่อบ่งชี้ข้อมูลโภชนาการของอุตสาหกรรมอาหาร ทำให้ผู้บริโภคเรียกร้องให้แบรนด์ต่าง ๆ หันมาใช้ระบบที่คล้ายคลึงกัน เพื่อสร้างความเข้าใจถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาคิดจะซื้อได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้พวกเขาสามารถตัดสินใจเลือกซื้อได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น” ริชาร์ด โคป กล่าว

ผู้บริโภคเรียกร้องรัฐบาลสร้างแรงจูงใจในเรื่องนี้

ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกราว 4 ใน 10 (44%) ยอมรับว่าประเทศที่พวกเขาอาศัยอยู่มีแรงจูงใจทางการเงินมากพอในการติดตั้งนวัตกรรมด้านพลังงานใหม่ ๆ ในบ้านของตน (เช่น เงินอุดหนุนเพื่อติดตั้งปั๊มความร้อน ฉนวน หรือแผงโซลาร์เซลล์) เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 34% โดยผู้บริโภคในภูมิภาคนี้ ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน (46%) ยังเชื่อว่าประเทศของตนเสนอสิ่งจูงใจทางการเงินมากพอในการเช่า/ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (เช่น เงินอุดหนุนสำหรับการซื้อรถยนต์/วงเงินกู้ การติดตั้งเครื่องชาร์จที่บ้าน) โดยจีนและอินเดียถือเป็นผู้นำในเรื่องนี้ที่ 61% ซึ่งมีสัดส่วนสูงกว่าตลาดอื่น ๆ ทั้งหมดในงานวิจัยของมินเทล

“แม้ผู้บริโภคจำนวนมากยังสนับสนุนกฎระเบียบและข้อห้ามของรัฐบาล แต่ส่วนใหญ่ยังรู้สึกว่ารัฐบาลไม่ได้ทุ่มเทในการจูงใจให้เกิดพฤติกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมมากพอ โดยเฉพาะในเรื่องการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานสะอาดและการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น” ริชาร์ด โคป กล่าวสรุป

ข้อมูลสำหรับบรรณาธิการ

*ข้อมูลลำดับความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม พฤติกรรมการซื้อ การมีส่วนร่วม และระดับความเข้าใจในเรื่องความยั่งยืนของผู้บริโภคใน 16 ประเทศทั่วโลก โดยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไทย

**ไม่รวมประเทศจีน

การศึกษา Global Outlook on Sustainability: A Consumer Study ประจำปี 2023 ของมินเทล อธิบายถึงลำดับความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม พฤติกรรมการซื้อ การมีส่วนร่วม และระดับความเข้าใจในเรื่องความยั่งยืนของผู้บริโภคใน 16 ประเทศ ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการวิจัยและแนวทางที่มินเทลสามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพที่นี่ สามารถขอเอกสารงานวิจัยและบทสัมภาษณ์เพิ่มเติมของริชาร์ด โคป ได้ที่ Mintel Press Office

มินเทล ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยความต้องการของผู้บริโภคและปัจจัยขับเคลื่อน ได้เผยแพร่รายงานภาพรวมตลาดความงามและการดูแลร่างกายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยครอบคลุมถึงแนวโน้มผู้บริโภคและการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมความงามในภูมิภาคในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา รวมถึงช่วงก่อนหน้านั้นอีกด้วย

ผู้บริโภคในปัจจุบันให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น และนี่เป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญให้ผู้บริโภคหันมาใช้แนวทางเชิงรุกในการดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของตนเองในช่วงที่ผลกระทบของการระบาดใหญ่ยังคงอยู่ ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคได้ตระหนักว่าสุขภาพที่ดีจะเป็นไปไม่ได้เลยหากเราอยู่ในโลกที่ถูกทำร้าย

คุณ Chiara Zen ผู้อำนวยการข้อมูลเชิงลึก แผนกความงาม ผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย และของใช้ในบ้านของมินเทลประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก กล่าวถึงผลกระทบของการผสมผสานกันอย่างรวดเร็วของความงาม สุขภาพ และความยั่งยืน ที่แบรนด์ต่าง ๆ พบเจอ ผ่านการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกโดยผู้เชี่ยวชาญของมินเทลในประเทศจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศไทยใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ไร้น้ำ

“ผู้คนกำลังเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น เนื่องจากพวกเขาตระหนักว่าสภาพแวดล้อมนั้นส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ รูปแบบผลิตภัณฑ์ไร้น้ำ (waterless format) มอบโอกาสให้แบรนด์นำเสนอตัวเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า แต่แบรนด์ยังจำเป็นต้องสร้างความสมดุลระหว่างคุณสมบัติการดูแลผิวกาย (เช่น ความเข้มข้นของส่วนผสมออกฤทธิ์ดูแลผิว) และความปลอดภัย (เช่น การไม่ใช้วัตถุกันเสีย) โดยพยายามมอบประสบการณ์อันน่าพึงพอใจให้ได้มากที่สุด"

ปรับปรุงระบบนิเวศผิวกายและการทำงานตามธรรมชาติ

ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าได้พยายามตอบโจทย์ความกังวลของผู้บริโภคต่อสิ่งกระตุ้นภายนอกเช่นมลพิษ และได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีสรรพคุณ ‘ช่วยต้าน’ มลพิษได้มาเป็นเวลาหลายปี และในช่วงที่ผ่านมา แบรนด์มีการนำเสนอคุณสมบัติอื่น ๆ ที่มุ่งสนับสนุนเกราะป้องกันของผิวมากขึ้น

ข้อมูลแนวโน้มด้านความอยู่ดีมีสุขของมินเทลพบว่าผู้บริโภคมองว่าร่างกายของตัวเองเป็นระบบนิเวศ และเสาะหาผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยปรับปรุงสุขภาพของพวกเขา

เราเห็นการเพิ่มขึ้นของนวัตกรรมที่มอบวิธีการในการช่วยให้ผิวทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด หรือเปลี่ยนจากการ ‘ช่วยต้าน’ เป็นการปรับปรุงเกราะป้องกันของผิว

ส่วนประกอบเช่นโปรไบโอติกหรือพรีไบโอติกกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ข้อมูลจากฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ออกใหม่ของมินเทลพบว่าการนำเสนอการบำรุงไมโครไบโอมหรือระบบนิเวศของผิวนั้นยังคงเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่ม โดยมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าทั้งหมดที่เปิดตัวระหว่างเดือนมกราคม 2561 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2565 แต่สัดส่วนนี้ก็กำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โอกาสสำคัญในการเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับไมโครไบโอมจะอยู่ที่การบำรุงและปรับสมดุลเกราะป้องกันของผิวและช่วยแก้ปัญหาผิวทั่วไปเช่นสิวเสี้ยน ผสมฟังก์ชันในผลิตภัณฑ์ความงาม กลายเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้บริโภคเชื่อในคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ และเราสามารถใช้แนวคิดนี้ในการทำให้ผู้บริโภคคุ้นเคยกับแบคทีเรียดี แบคทีเรียเลว และความสำคัญของสมดุลไมโครไบโอมบนผิวซึ่งเป็นพื้นฐานของผิวไร้สิว

พัฒนาส่วนผสมเพื่อประสิทธิภาพและความยั่งยืน

เทรนด์ความงามและผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย “สรรค์สร้างธรรมชาติ” ของมินเทล ชี้ให้เห็นถึงแนวคิดเกี่ยวกับส่วนผสมความงามจากธรรมชาติที่ครอบคลุมถึงการพัฒนาเทคโนโลยี ในโลกอนาคตที่มีทรัพยากรธรรมชาติน้อยลง สภาพอากาศที่คาดเดาไม่ได้ มลพิษและยาฆ่าแมลงที่เพิ่มขึ้น วิศวกรรมห้องปฏิบัติการจะเป็นตัวเลือกสำคัญในการจัดหาส่วนประกอบที่ยั่งยืน ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ตัวอย่างที่จัดการกับปัญหาสำคัญในเอเชีย-แปซิฟิกนั้นมาจาก C16 Biosciences พวกเขาได้พัฒนาเทคโนโลยีการหมักชีวภาพเพื่อเสนอทางเลือกของน้ำมันปาล์มที่ผลิตขึ้นในห้องแล็บ ซึ่งเป็นตัวเลือกที่มีความยั่งยืน ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตน้ำมันปาล์ม และช่วยปกป้องผืนดินธรรมชาติ สัตว์ป่า และทรัพยากรอันล้ำค่าในเวลาเดียวกัน

มินเทลเผยรายงานภาพรวมตลาดอาหารและเครื่องดื่มในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

มินเทล ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยความต้องการของผู้บริโภคและปัจจัยขับเคลื่อน ได้เผยแพร่รายงานภาพรวมตลาดอาหารและเครื่องดื่มในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ให้ความสำคัญกับปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ เงินเฟ้อและความคุ้มค่า สุขภาพกายและสุขภาพจิต และ ประสบการณ์รสสัมผัสยุคใหม่ ผ่านการสำรวจแนวโน้มผู้บริโภคและการเปลี่ยนแปลงของตลาดอาหารและเครื่องดื่มในภูมิภาคในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

คุณ โจลีน อึ้ง นักวิเคราะห์อาวุโสด้านอาหารและเครื่องดื่มทั่วโลกของมินเทล กล่าวถึงกลยุทธ์ที่แบรนด์ควรใช้เพื่อช่วยผู้บริโภคในเอเชีย-แปซิฟิกจัดการกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ความคุ้มค่ากลายเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค ข้อแนะนำต่าง ๆ ในรายงานนี้มาจากการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกโดยผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารระดับภูมิภาคของมินเทล

 

เงินเฟ้อและความคุ้มค่า

“ผู้บริโภคที่คำนึงถึงงบประมาณการใช้จ่ายจะเลือกเข้าร้านที่ถูกกว่าและเลิกซื้อสินค้าจากแบรนด์ประจำเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่ม สถานการณ์นี้เป็นทั้งความเสี่ยงต่อร้านค้าปลีกเพราะผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปเข้าร้านคู่แข่งที่มีความคุ้มค่ามากกว่า และยังเป็นทั้งโอกาสให้ร้านค้าปลีกจัดโปรโมชันราคาประหยัดเพื่อดึงดูดลูกค้า การจัดโปรโมชันสำหรับสินค้าจำเป็นที่เน่าเสียยากจะดึงดูดผู้บริโภคได้ดีเพราะพวกเขากำลังให้ความสนใจกับสินค้าแช่แข็งและสินค้าที่เก็บได้นาน

“นอกจากนี้ หมวดหมู่อาหารเพื่อความสุขจะมีความต้องการสูง ในช่วงการระบาดใหญ่ ผู้บริโภคได้หาความสุขให้ตัวเองผ่านความสะดวกสบาย แต่ในปัจจุบัน งบที่น้อยลงทำให้ผู้บริโภคหันไปหาความสุขจากสินค้าที่มีราคาถูกกว่าเดิม แบรนด์ค้าปลีกสามารถใช้โอกาสนี้ในการเติมเต็มความต้องการของผู้บริโภคที่เกิดจากการลดการจับจ่ายนอกบ้านด้วยการมอบอาหารและบริการเพื่อความสุขในราคาที่ถูกลง

“เงินเฟ้อยังมอบโอกาสให้แบรนด์ขนมขบเคี้ยวของร้านค้าปลีกพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ แบรนด์ขนมขบเคี้ยวสามารถนำเสนอคุณภาพของสินค้าและจัดวางตำแหน่งทางการตลาดในหมวดหมู่สินค้าราคาประหยัด การเพิ่มรสชาติใหม่ ๆ และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจะเป็นสิ่งสำคัญในการขยายฐานลูกค้า”

สุขภาพกายและสุขภาพจิต

“โควิด-19 ได้เปลี่ยนชีวิตประจำวันของคน เปลี่ยนการนอนหลับของผู้บริโภคในทุกช่วงอายุ งานวิจัยด้านความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภคอินเดียในด้านจิตใจและอารมณ์พบว่าร้อยละ 66 ของผู้ใหญ่ชาวอินเดียบอกว่าปัญหาด้านการนอนหลับ (เช่น การนอนไม่หลับและความเหนื่อยล้า) มีอาการเหมือนเดิมหรือแย่ลงในช่วงการระบาด แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคทุกกลุ่มต้องการอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยแก้ปัญหาด้านการนอนหลับเพื่อการมีสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่แข็งแรง นอกเหนือจากการนอนหลับ แบรนด์สามารถช่วยผู้บริโภคจัดการกับความเครียดและความวิตกกังวลด้วยการมอบการสนับสนุนทางโภชนาการส่วนบุคคลเพื่อความสมดุลของฮอร์โมนและสุขภาพที่ดี

“เทรนด์ความงามที่กินได้ยังมอบโอกาสให้กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ในประเทศจีน ผู้บริโภคหญิงชาวจีนเชื่อในแนวคิดความงามจากภายใน งานวิจัยของเราพบว่าร้อยละ 67 ของผู้บริโภคเชื่อว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อความงามมีส่วนช่วยในการบำรุงร่างกายโดยรวมได้เช่นกัน ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มสามารถใช้ประโยชน์จากแนวคิดของผู้บริโภคได้ด้วยการนำเสนอโซลูชันสุขภาพองค์รวม ตัวอย่างเช่น เครื่องดื่มหลังออกกำลังกายที่มีการเพิ่มคุณสมบัติด้านความงามอาจได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น”

ประสบการณ์รสสัมผัสยุคใหม่

“ไลฟ์สไตล์การสร้างความสำราญภายในบ้านช่วยให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้นในการรับประทานเบเกอรีที่บ้าน ในประเทศญี่ปุ่น สินค้าพร้อมอบแช่แข็งได้รับความนิยมสูงเพราะทำง่ายและเก็บได้นาน โดยเฉพาะชนิดที่อบง่ายและละลายเร็ว

“การโฆษณาผลิตภัณฑ์เบเกอรีนั้นทำได้หลายวิธี แต่การนำเสนอด้วยรูปภาพที่น่าสนใจจะเป็นส่วนสำคัญในการดึงดูดลูกค้า งานวิจัยของเราพบว่าร้อยละ 38 ของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นคิดว่าการนำเสนอนั้นมีความสำคัญเทียบเท่ากับรสชาติของอาหาร

แบรนด์อาหารเพื่อความสุขควรพัฒนาการรับรองด้านสุขภาพและมอบตัวเลือกที่ดีกว่าสำหรับลูกค้า โดยเฉพาะในหมู่ผู้บริโภคที่คำนึงถึงสุขภาพ

“ในขณะเดียวกัน แบรนด์ในหมวดหมู่น้ำอัดลมควรหาวิธีในการใช้รสชาติเป็นตัวช่วยให้ผู้บริโภคแสดงออกถึงความสนใจและวัฒนธรรมของพวกเขา ดอกไม้และพืชต่าง ๆ เป็นรสชาติใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง และแบรนด์สามารถเชื่อมโยงรสชาติเหล่านั้นกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ เช่นการใช้รสซากุระซึ่งเป็นดอกไม้ที่สื่อถึงประเทศญี่ปุ่น การเชื่อมโยงรสชาติเข้ากับวัฒนธรรมยังช่วยเพิ่มความหมายของรสชาตินั้น ๆ ได้อีกด้วย” คุณโจลีน อึ้ง กล่าวสรุป

Page 2 of 3
X

Right Click

No right click