ไมเดียจับมือหัวเว่ย, เอไอเอส, และไชน่า ยูนิคอม ในการสร้างโรงงานอัจฉริยะพร้อมระบบ 5G เต็มรูปแบบแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างมาตรฐานใหม่ของสายการผลิตอัจฉริยะในประเทศไทยที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรมล้ำสมัย โดยการผนึกกำลังครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญที่ปูทางสู่ยุคแห่งเทคโนโลยี 5G ที่ช่วยยกระดับประสิทธิภาพ, ความปลอดภัย, และรองรับการทำงานร่วมกันแบบอัตโนมัติภายใต้กระบวนการผลิตที่มีความซับซ้อน

ทั้งนี้ เครือข่าย 5G ที่ครอบคลุมทั่วพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมและแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ต 5G+ เชิงอุตสาหกรรม ทำให้กระบวนการผลิตเชื่อมต่อกันโดยสมบูรณ์ผ่านเทอร์มินัล 5G ความเร็วสูง นอกจากนี้ ยังติดตั้งไพรเวทเน็ตเวิร์ก 5G แบบเดดิเคท (Dedicated) ที่ได้รับการออกแบบให้รองรับข้อกำหนดกระบวนการทำงานและให้ทำงานร่วมกับระบบอัจฉริยะต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่นโดยเฉพาะ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสถานการณ์การผลิตและเชื่อมต่อขั้นตอนการผลิตเข้าด้วยกันแบบไร้รอยต่อ

นายวินเซ็นท์ ไค ผู้จัดการทั่วไป โรงงานเครื่องปรับอากาศไมเดียประเทศไทย กล่าวว่า “โรงงานอัจฉริยะ 5G ในประเทศไทยได้กำหนดต้นแบบสายการผลิตแห่งโลกอนาคต เพื่อสอดรับกับกลยุทธ์การพลิกโฉมสู่ยุคดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะเต็มรูปแบบของไมเดีย กรุ๊ป โดยเราได้ออกแบบสายการผลิตประสิทธิภาพสูงให้เชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย”

ทั้งนี้ โซลูชันหลักที่เสริมศักยภาพให้กับโรงงานอัจฉริยะ 5G ได้แก่:

  • การเชื่อมต่อและการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านเครือข่าย 5G: เครือข่าย 5G มอบศักยภาพการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์จำนวนมหาศาลอย่างมีเสถียรภาพ จึงสามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลของอุปกรณ์การผลิตแบบเรียลไทม์ รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่องช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้อุปกรณ์, ลดเวลาหยุดทำงาน (down time) และเพิ่มศักยภาพการใช้งานอุปกรณ์ในสายการผลิต

  • รถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ 5G (Automated Guided Vehicles - AGV): เทคโนโลยี 5G พลิกโฉมการทำงานของรถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ (AGV) โดยปลดล็อคข้อจำกัดของ AGV ในการลำเลียงสินค้าแบบดั้งเดิม ที่ใช้การกำหนดเส้นทางล่วงหน้าร่วมกับเครื่องหมายต่าง ๆ ที่ติดตั้งในพื้นที่ ด้วยการวางแผนเส้นทางแบบมีพลวัตรและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมแบบเรียลไทม์ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและขีดความสามารถในการปรับเปลี่ยนเส้นทาง ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานในสายการผลิตที่ซับซ้อน

  • ระบบตรวจสอบคุณภาพด้วย AI ผ่านเครือข่าย 5G: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ช่วยเพิ่มอัตราการผลิตชิ้นงานที่สมบูรณ์แบบในครั้งแรกถึง 4% ระบบตรวจสอบคุณภาพด้วย AI ช่วยลดจำนวนอุปกรณ์ที่ต้องนำกลับมาแก้ไขลงจากจำนวน 4,000 ชิ้น เหลือเพียง 1,000 ชิ้น ลดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน และลดอัตราข้อผิดพลาดของชิ้นงานลงถึง 75%
  • แขนกลอัจฉริยะ 5G: พนักงานสามารถควบคุมแขนกลจากระยะไกลผ่านสมาร์ทโฟนที่รองรับ 5G ลดการใช้แรงงานคนในบริเวณที่เสี่ยงอันตราย ช่วยเพิ่มความปลอดภัยของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพการลำเลียงวัสดุที่ใช้ในการผลิตเพื่อยกระดับคุณภาพสินค้า
  • ห้องควบคุมการปฏิบัติงานระบบ 5G: ห้องควบคุมการปฏิบัติงานจำลองและทดสอบสถานะของคอมเพรสเซอร์ที่อยู่ข้างนอกผ่านระบบ 5G ทำให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพและปราศจากข้อผิดพลาด มาพร้อมโซลูชัน 5G backhaul ที่มีค่าความหน่วงต่ำและระบบป้องกันข้อมูลสูญหาย ทำให้การรับส่งข้อมูลระหว่างแอปพลิเคชันสำคัญเป็นไปอย่างราบรื่น

ในโครงการโรงงานอัจฉริยะ ผู้ให้บริการเครือข่ายถือว่ามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล โดยใช้ความเชี่ยวชาญและอีโคซิสเต็มในประเทศไทยเพื่อผลักดันเครือข่าย 5G ให้บรรลุประสิทธิภาพที่เหนือชั้น, มอบการเชื่อมต่อที่ไร้ขีดจำกัด รวมทั้งช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในการดำเนินงาน นายภูผา เอกะวิภาต รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจองค์กร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ตอกย้ำความมุ่งมั่นของเอไอเอสในการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยกล่าวว่า เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่น 5G ถือเป็นเทคโนโลยีหนึ่งเดียวที่สามารถสร้างเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่กว่า 160,000 ตร.ม. รวมโรงงานผลิตถึง 3 แห่งเข้าด้วยกันได้ และในอนาคต เอไอเอสยังคงมุ่งมั่นขับเคลื่อนนวัตกรรมและผนึกกำลังกับผู้ผลิตระดับโลกในการสร้างโรงงานอัจฉริยะในประเทศไทย

ในขณะเดียวกัน นส. ยูนิซ เซ, ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไชน่า ยูนิคอม โอเปอเรชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวย้ำถึงความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมและไอทีว่า ความพร้อมของเครือข่าย 5G ของประเทศไทยอยู่ในระดับแนวหน้าของภูมิภาคอาเซียน ทางไชน่า ยูนิคอม มุ่งมั่นสนับสนุนความสำเร็จของนโยบาย Thailand 4.0 ด้วยสถานการณ์การใช้งานที่ครอบคลุม และสถานการณ์แบบ 5G2B ใหม่ ๆ ที่หลากหลาย พร้อมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและระบบอัจฉริยะสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ

นายวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวย้ำถึงความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการพลิกโฉมอุตสาหกรรม เรามองเห็นแล้วว่า 5G มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพลิกโฉมของภาคอุตสาหกรรม และภาคอุตสาหกรรมการผลิตเองก็ได้แสดงศักยภาพด้านการพัฒนาและยกระดับศักยภาพด้วยเทคโนโลยี 5G ให้ประจักษ์ โดยหัวเว่ยยังคงมุ่งต่อยอดความร่วมมือกับลูกค้าในภาคอุตสาหกรรม ผู้ให้บริการเครือข่าย และพาร์ทเนอร์เพื่อสร้างมูลค่าทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยี 5G ต่อไป เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เราได้ทำงานกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดเพื่อทำความเข้าใจกลยุทธ์ดิจิทัลในแต่ละราย และเจาะลึกกระบวนการผลิตและค้นหาความต้องการเฉพาะด้าน พร้อมแบ่งปันประสบการณ์และหลักปฏิบัติจากความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อเร่งนำเทคโนโลยี 5G มาใช้เพื่อยกระดับสายการผลิตอัจฉริยะ”

โรงงานอัจฉริยะ 5G เต็มรูปแบบแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นก้าวสำคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคอัจฉริยะและยุคอุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศไทย และยังได้แสดงให้เห็นถึงพลังของความร่วมมือและนวัตกรรมล้ำสมัย เพื่อร่วมกันกำหนดต้นแบบของเทคโนโลยีการผลิตแห่งโลกอนาคต

 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เดินหน้าตอกย้ำ การเป็น “ศูนย์ฯ ประชุม สีเขียว” จับมือเอไอเอส (AIS) สนับสนุนการจัดการขยะ E-Waste อย่างถูกวิธี ตั้งจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ พร้อมชวนคนไทยยุคดิจิทัล กำจัดขยะอย่างถูกวิธี เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน และรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เป็นศูนย์การประชุมแห่งแรกในประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการ ‘คนไทย ไร้ E-Waste’ กับ AIS เพื่อแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ออกจากขยะประเภทอื่นๆ และส่งต่อไปยังหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี โดยเปิดจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste บริเวณเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ชั้น LG

 

สุทธิชัย บัณฑิตวรภูมิ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กล่าวว่า “ทางศูนย์ฯ สิริกิติ์ มีความยินดีที่ได้เข้าร่วมโครงการ ‘คนไทยไร้ E-Waste’ กับ AIS ซึ่งเป็นโครงการ ที่ให้ความสำคัญกับการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี สอดรับกับพันธกิจหลัก ของศูนย์ฯ สิริกิติ์ ที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนในการรักษาสิ่งแวดล้อม และพัฒนาชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยผู้เข้ามาใช้บริการที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์ หรือชุมชนใกล้เคียง สามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต สายชาร์จ หูฟัง แบตเตอรี่มือถือ มาทิ้ง ได้ที่จุดรับขยะภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ นอกจากนั้นเรายังได้จัดวางถังแยกขยะประเภทต่างๆ เพื่อให้ผู้มาใช้บริการภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ ได้รับความสะดวก และง่ายต่อการทิ้งขยะอย่างถูกวิธี ซึ่งขยะที่ผ่านการคัดแยกจะเข้าสู่กระบวนการ Recycle และ Upcycle เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติ ตามระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยจัดสรรให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์ มากที่สุด”

 

สายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์ และธุรกิจสัมพันธ์ เอไอเอส กล่าวว่า “AIS ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัล นอกเหนือจากความมุ่งมั่นในการพัฒนาเครือข่ายสื่อสารอัจฉริยะให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีหลักของประเทศแล้ว เรายังวางนโยบายในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในทุกมิติ โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อม ที่วันนี้ AIS เดินหน้าสร้าง Ecosystem ในการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้โครงการ ‘คนไทยไร้ E-Waste’ ตั้งแต่การสร้างองค์ความรู้ให้คนไทยตระหนักถึงปัญหา สร้างกระบวนการจัดเก็บเพื่อให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ Zero Landfill ตามมาตรฐานสากล ผ่านการสร้างการมีส่วนร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลาย โดยครั้งนี้เราได้ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เข้ามาเป็นหนึ่งในเครือข่าย ด้าน Green Partnerships โดยมีเป้าหมายเดียวกันที่ต้องการแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน โดยผู้ที่เข้ามาใช้บริการที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์ หรือมาเข้าร่วมงานประชุม งานแสดงสินค้า หรืองานแฟร์ต่างๆ สามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ มาทิ้งได้ที่จุดรับขยะภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ เพื่อจะได้รวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปกำจัดอย่างถูกต้องต่อไป”

 

เพราะความยั่งยืนคือพันธกิจหลัก ศูนย์ฯ สิริกิติ์ จึงให้ความสำคัญตั้งแต่การออกแบบอาคาร ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้เพื่อประหยัดพลังงาน การควบคุมมลพิษ การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดภูมิทัศน์ที่ช่วยเชื่อมโยงอาคารเข้ากับพื้นที่สีเขียวของสวนเบญจกิติ และการจัดพื้นที่ส่วนกลางเพื่อจัดกิจกรรมสันทนาการ การร่วมมือ ในโครงการ ‘คนไทยไร้ E-Waste’ กับ AIS ในครั้งนี้ จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนของศูนย์ฯ สิริกิติ์ อย่างแท้จริง”

นายสุทธิชัย บัณฑิตวรภูมิ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (ซ้าย) เดินหน้าตอกย้ำ การเป็น “ศูนย์ฯ ประชุม สีเขียว” จับมือ นางสายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์ และธุรกิจสัมพันธ์ เอไอเอส (ขวา) เข้าร่วมโครงการ ‘คนไทยไร้ E-Waste’ ตั้งจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ พร้อมชวนคนไทยยุคดิจิทัล กำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน และรักษาสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน

มุ่งเป้ายกระดับทักษะบุคลากรเอไอเอส ให้เติมศักยภาพ พร้อมก้าวสู่ Cognitive Tech-Co

เอไอเอ ประเทศไทย นำโดย ด็อกเตอร์ คริสเตียน โรแลนด์  ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และดิจิทัล พร้อมด้วย นางศรัณยา เทียนถาวร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล เดินหน้าขับเคลื่อนพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถด้านเทคโนโลยี ดิจิทัล และการวิเคราะห์ข้อมูล (Technology, Digital and Analytics – TDA) อย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดได้จับมือกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology - AIT) สถาบันการศึกษานานาชาติที่มีชื่อเสียงระดับโลก และมีผลงานวิจัยเป็นเลิศ นำโดย Professor Kazuo Yamamoto  President of Asian Institute of Technology และ Dr. Christopher Garnier, Executive Director of Asian Institute of Technology Extension (AIT Extension)  ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ด้านดิจิทัลภาคภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก โดย AIT Extension ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัด AIT เป็นผู้ร่วมพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว เพื่อมุ่งเพิ่มศักยภาพในการทำงานและทักษะที่ทันสมัยให้แก่บุคลากรของเอไอเอ ประเทศไทย ให้พร้อมรับมือกับการทำงานในโลกแห่งอนาคต ตลอดจนสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าทุกคนมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’

ทั้งนี้ เอไอเอ ประเทศไทย ยังได้จัดงาน “Learning Day” ภายใต้หัวข้อ “Amplify Your Digital Skills through TDA Learning” ตอกย้ำถึงความเป็นผู้นำบริษัทประกันชีวิตของไทย และความพร้อมในการเป็น Digital Insurer แห่งแรกของประเทศ โดยมุ่งเติมความรู้และข้อมูลใหม่ ๆ ให้แก่พนักงาน พร้อมเปิดมุมมองทางด้าน TDA ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อมูลที่มีประโยชน์จากผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงได้สัมผัสประสบการณ์จริงผ่านกิจกรรมหลักภายในงาน 2 กิจกรรม คือ การจัดนิทรรศการด้าน TDA และการเสวนาแลกเปลี่ยนเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางด้าน TDA ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ณ เอไอเอ ประเทศไทย สำนักงานใหญ่ ถ. เดโช

สั่งการรถบรรทุกเครื่องยนต์ไฟฟ้า ผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ 5G ในพื้นที่อุตสาหกรรม SCG แห่งแรกในไทย

Page 1 of 4
X

Right Click

No right click