SCB CIO จับตา 3 ปัจจัยเสี่ยง ที่อาจกระทบการลงทุนหากเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ ทั้งสงครามจริง และสงครามทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ราคาพลังงาน ห่วงโซ่อุปทานของโลก และความเชื่อมั่นต่อการลงทุน โดย ณ ปัจจุบันความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ระหว่างอิสราเอล-อิหร่าน คาดว่าความรุนแรงจะอยู่ในวงจำกัด แม้ราคาน้ำมันจะปรับตัวขึ้น อยู่ในช่วง 80-90 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ประเทศต่างๆ ยังพอจะรับมือกับความเสี่ยงของเงินเฟ้อได้ ซึ่งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะช้าลงกว่าเดิม ด้านตลาดหุ้นทั่วโลกได้รับผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในระยะสั้นเท่านั้น จึงแนะนำให้ทยอยลงทุนในตลาดหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี เช่น ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ตลาดหุ้นเวียดนาม และกองทุนผสม (multi asset) ที่มีความยืดหยุ่น ผู้จัดการกองทุนปรับตามสถานการณ์ของตลาดได้ดี แนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในทองคำ จับจังหวะช่วงราคาปรับตัวลง แนะนำมีในพอร์ต 5-10% ตามความเสี่ยงที่รับได้ เพื่อกระจายความเสี่ยง ลดความผันผวนของพอร์ตลงทุน หากเกิดภาวะไม่ปกติขึ้นอีกในอนาคต

นายศรชัย สุเนต์ตา, CFA รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Office and Product กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ภาพรวมเหตุการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risk) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ความถี่ของเหตุการณ์สูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โดยมีทั้งสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ -จีน และ สงครามที่เกิดความรุนแรง ได้แก่ สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ,อิสราเอล-ฮามาส (ปาเลสไตน์) และล่าสุดอิสราเอล-อิหร่าน ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้เป็นหนึ่งในปัจจัยลบ ที่ทำให้นักลงทุนมีความกังวลเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ SCB CIO แนะนำให้ผู้ลงทุนจับตาว่า ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risk ) จะมีผลกระทบต่อการลงทุนมากน้อยเพียงใด ผ่านปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา 3 ด้าน ได้แก่ 1) ผลกระทบจากราคาพลังงาน โดยเฉพาะความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ที่เป็นแหล่งผลิตน้ำมันและก๊าซหลักของโลก 2) ผลกระทบจากห่วงโซ่อุปทานของโลกหยุดชะงัก ซึ่งจะมีผลต่อเศรษฐกิจ และ 3) ผลกระทบต่อ Sentiment การลงทุนในตลาด โดยอาจพิจารณาได้จาก ความขัดแย้งจะรุนแรงและขยายวงหรือไม่ เนื่องจากสงครามทำให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจ หากมีความรุนแรง และยืดเยื้อ ก็จะสร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจประเทศต่างๆ รวมถึงเศรษฐกิจโลกได้ แต่ในกรณีที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อ 3 ด้านนี้ ผลกระทบต่อตลาดการลงทุนก็อาจจะมีไม่มาก

ตัวอย่างเช่น กรณีศึกษาในอดีตจาก สงครามคูเวต ที่อิรักมีการบุกเข้ายึดครองคูเวตที่มีน้ำมันมหาศาล และมีการต่อสู้กับกองกำลังประเทศพันธมิตรตะวันตก ซึ่งอิรักตอบโต้กลับด้วยการระเบิดบ่อน้ำมันในคูเวต พร้อมเทน้ำมันจำนวนมหาศาลลงในอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ราคาน้ำมันมีการปรับขึ้นไปถึง 50%

ส่งผลต่อ Sentiment ของตลาด จึงทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วง 3 เดือนหลังเกิดเหตุการณ์ ปรับตัวลดลงถ้วนหน้า โดยดัชนี MSCI World ตัวแทนดัชนีตลาดหุ้นโลก โดยเฉพาะตลาดพัฒนาแล้ว ปรับลดลง 9.69% ส่วนดัชนี MSCI EM ตัวแทนดัชนีตลาดหุ้นเกิดใหม่ ปรับลดลง 26.27% หรือกรณีสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่กระทบราคาอาหาร เมล็ดพันธุ์พืช และพลังงานอย่างมาก เนื่องจากชาติตะวันตกคว่ำบาตรน้ำมันจากรัสเซีย ขณะที่ รัสเซียตอบโต้กลับโดยการปิดท่อส่งก๊าซ นอร์ต สตรีม 1 ไปยังสหภาพยุโรป โดยราคาน้ำมันปรับขึ้นไป 15% ซึ่งเหตุการณ์นี้มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นโลกค่อนข้างสูง โดยพบว่า ดัชนี MSCI World ปรับลดลง 7.08% ส่วนดัชนี MSCI EM ปรับลดลง 11.71%

ขณะที่ สงครามรัสเซีย-ไครเมีย ที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน ตลาดหุ้นก็ยังทำผลงานได้ตามปกติ หรือช่วงอิสราเอลโจมตีปาเลสไตน์ในเขตกาซา และไม่ขยายวงไปยังประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลาง ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันมากนัก ตลาดหุ้นยังสามารถเป็นบวกได้

สำหรับ สถานการณ์สงครามอิสราเอล-อิหร่าน ที่เกิดขึ้นล่าสุด ช่วงกลางเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา เรามองว่า ความขัดแย้ง ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่มีมานับตั้งแต่ปี 2522 แล้ว เพียงแต่ในอดีตเป็นการทำสงครามตัวแทน (Proxy war) ผ่านกลุ่มต่างๆ ที่อิหร่านสนับสนุน เช่น กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ (เลบานอน) กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ ฮามาส (ฉนวนกาซา) และกลุ่มฮูตี (เยเมน) แต่ขณะนี้เริ่มกลายเป็นสงครามระหว่างกันโดยตรง (Direct war) ที่ความรุนแรงเริ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เราประเมินว่า ความเสียหายยังอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ได้เล็งเป้าหมายสำคัญทางยุทธศาสตร์ที่จะทำให้เกิดความเสียหายจำนวนมาก เพราะทราบดีว่า หากลุกลามบานปลายจะทำให้เกิดผลเสียทั้งคู่ อีกทั้งสหรัฐฯ ก็ไม่ได้สนับสนุนอิสราเอลในการทำสงครามกับอิหร่าน

ทั้งนี้ เราประเมินผลกระทบจากสงครามอิสราเอล-อิหร่าน เป็น 3 กรณี คือ 1) Baseline กรณีสงครามอยู่ในวงจำกัด ซึ่งปัจจุบันเรามองว่ายังอยู่ในกรณีนี้ จะทำให้ราคาน้ำมันปรับขึ้นบ้าง แต่ไม่ทะลุ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่อาจยืนอยู่ในระดับ 80-90 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่ประเทศต่างๆ ยังรับมือกับเงินเฟ้อได้และทำให้ยังไม่มีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะช้าลงกว่าเดิม ตลาดหุ้นทั่วโลกอาจได้รับผลกระทบเชิง Sentiment ระยะสั้น ซึ่งที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลกปรับฐานมาระยะหนึ่งแล้ว แต่เมื่อตลาดเริ่มคลายกังวล ปรับตัวได้ ก็จะกลับมาพิจารณาปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก จึงแนะนำให้ทยอยลงทุนในตลาดหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี เช่น ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ตลาดหุ้นเวียดนาม และกองทุนผสม (multi asset) ที่มีความยืดหยุ่น ผู้จัดการกองทุนปรับตามสถานการณ์ของตลาดได้ดี

2) Challenging กรณีสงครามยืดเยื้อ การสู้รบเป็นแบบเอาจริงเอาจังมากขึ้น มีการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานการผลิตพลังงานของแต่ละประเทศ โจมตีจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่มีประชากรอาศัยอยู่มาก จะส่งผลให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 100-120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และธนาคารกลางอื่นๆ อาจจะยังไม่ปรับลดดอกเบี้ย ซึ่งกรณีนี้จะทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลก ไม่สามารถยืนอยู่ในระดับปัจจุบันได้ อาจปรับฐานมากขึ้น เนื่องจากนักลงทุนยังรับรู้ผลกระทบเป็นเพียงแค่กรณี Baseline จึงแนะนำให้หยุดลงทุนในหุ้นเพิ่มเติม พร้อมเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในทองคำ แต่เรามองว่า โอกาสเกิดกรณีนี้ยังมีไม่มากนัก

3) Extreme กรณีสงครามเกิดขึ้นจริง และ ขยายวงเป็นสงครามภูมิภาคตะวันออกกลาง ที่มีความรุนแรงมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันอย่างมาก เนื่องจากในภูมิภาคตะวันออกกลางมีผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกรวมตัวกันอยู่ หากห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงักมากยิ่งขึ้นก็จะยิ่งน่ากังวล โดยเฉพาะ หากอิหร่านปิดช่องแคบเฮอร์มุซ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันไหลเวียนถึง 20% ของตลาดน้ำมันโลก ทำให้ผู้ผลิตน้ำมันที่อยู่รอบช่องแคบนี้ ส่งออกน้ำมันไม่ได้ หรือการผลิตทำได้น้อยลง ราคาน้ำมันอาจปรับขึ้นไปไกลมากกว่า 150 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากเดิมธนาคารกลางหลักๆ ของโลกอาจจะมีนโยบายลดดอกเบี้ย ก็อาจต้องเปลี่ยนมาเป็นปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ เนื่องจากเกิดผลกระทบต้นทุนราคาน้ำมันที่ส่งผลผ่านไปยังเงินเฟ้อนานกว่าที่ประเมินไว้ ซึ่งสถานการณ์นี้จะส่งผลกระทบการลงทุนมาก หากนักลงทุนมีกำไรจากการลงทุนในตลาดหุ้น แนะนำให้ขายเพื่อทำกำไร แล้วซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ และทองคำ เนื่องจาก เงินดอลลาร์สหรัฐ เป็นสกุลเงินที่อยู่ในทุนสำรองทั่วโลก ดังนั้นค่าเงินก็อาจจะแข็งค่าขึ้นได้

ขณะที่ ทองคำ มีความน่าสนใจ เนื่องจาก เป็นสินทรัพย์ที่นักลงทุนมองว่าปลอดภัย (Safe Haven) เพราะสู้เงินเฟ้อได้ และสู้กับความเสี่ยงภาวะสงครามได้ ในช่วงที่สงครามรุนแรงมากขึ้น ประกอบกับ คนเริ่มมีความกังวลประเด็นหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ที่สูงเป็นประวัติการณ์ อีกทั้ง ประเทศหลักๆ ที่มีความขัดแย้งกับสหรัฐฯ ได้กระจายความเสี่ยง ลดการถือเงินดอลลาร์สหรัฐในทุนสำรอง แล้วหันไปถือทองคำมากขึ้น ทำให้ความต้องการซื้อทองคำเพิ่มขึ้น ดังนั้น ราคาทองคำจึงยังมีโอกาสปรับตัวได้อีกมาก ในระยะกลาง 1-2 ปีขึ้นไป เพียงแต่ในระยะสั้นราคาอาจปรับฐานได้ เพราะปรับขึ้นมารวดเร็ว จากความกังวลของสงคราม

นายศรชัย กล่าวว่า นักลงทุนควรให้ความสำคัญกับการกระจายความเสี่ยง ลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายยิ่งขึ้น มากกว่าการเน้นลงทุนในตลาดหุ้นเพียงอย่างเดียว โดยอาจจะลงทุนผ่านกองทุนรวมผสม ที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลปรับพอร์ตลงทุนตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน หากยังมีสินทรัพย์ทางเลือก เช่น ทองคำ ในพอร์ตลงทุนอยู่น้อย อาจพิจารณาเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในทองคำ ในช่วงที่ราคาทองคำปรับลดลง โดยควรมีประมาณ 5-10% ของพอร์ตโดยรวม ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของแต่ละคนที่ยอมรับได้ การมีทองคำในพอร์ตลงทุน จะช่วยผ่อนคลายความผันผวนของพอร์ตลงทุนในช่วงที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติได้ นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญเรื่องการลงทุนอย่างต่อเนื่อง (Stay Invested) สำหรับเป้าหมายการลงทุนระยะยาว มากกว่าการถือเงินสดเพื่อรอจับจังหวะเวลาเข้าลงทุนในตลาด (Market Timing) ซึ่งมีโอกาสพลาดได้มาก และการถือเงินสด ไม่สามารถสู้เงินเฟ้อได้

SCB CIO ประเมินมุมมองเศรษฐกิจและการลงทุน หลังผลเลือกตั้งอินโดนีเซีย ที่นายปราโบโว ซูเบียนโต ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด เตรียมเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ในวันที่ 20 ต.ค. นี้  เดินหน้านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และสวัสดิการสังคม พร้อมสานต่อนโยบายรัฐบาลชุดเดิม สร้างเศรษฐกิจให้เติบโตด้วยกลไกตลาดเสรี  ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ และเน้นการพึ่งพาตัวเองมากขึ้น ทั้ง ด้านพลังงาน อาหาร และน้ำ รวมทั้ง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ   ตั้งเป้าเศรษฐกิจอินโดนีเซียเติบโตเฉลี่ย 6-7% ต่อปี   SCB CIO ยังคงมุมมอง Neutral   แม้หุ้นกลุ่มธนาคารเติบโตดี    Valuationของตลาดหุ้น อยู่ในระดับต่ำ  และรายได้ (Earning) ของบริษัทจดทะเบียน คาดว่ามีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปีนี้ที่กว่า 12% และปี 2568 กว่า 9%  แต่ยังมีปัจจัยกังวลในเรื่องภาคการส่งออกที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง    การปรับลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และความเสี่ยงที่รัฐบาล อาจปรับเพิ่มเพดานขาดดุลการคลังต่อ GDP จาก 3% เป็น 6% ที่อาจจะกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังระยะกลางถึงยาวได้

ดร.กำพล  อดิเรกสมบัติ  ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO)  ธนาคารไทยพาณิชย์  เปิดเผยว่า จากการเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2567 ผลการนับคะแนนแบบไม่เป็นทางการ (Quick Count) ที่มีความแม่นยำค่อนข้างสูง ชี้ว่า นายปราโบโว  ซูเบียนโต (Prabowo Subianto)ได้คะแนนเฉลี่ย 58% ของคะแนนเสียงทั้งหมด ทำให้ นายปราโบโว คว้าชัยชนะจากการเลือกตั้งประธานาธิบดี และเตรียมรอเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่  20 ต.ค.นี้ โดยไม่น่าจะต้องมีการเลือกตั้งรอบสอง เนื่องจากเป็นไปตามกฎการเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซียที่ระบุว่า กรณีผู้สมัครชนะการเลือกตั้ง ต้องได้คะแนนมากกว่า 50% และ ได้คะแนนอย่างน้อย 20% ในจังหวัดต่างๆ มากกว่าครึ่งหนึ่งของจังหวัดทั้งประเทศ หากไม่มีผู้สมัครคนใดได้คะแนนเสียงถึงเกณฑ์ที่กำหนด จึงจะจัดเลือกตั้งรอบสอง ให้ผู้สมัครที่มีคะแนนเสียงอันดับ 1 และ 2 ชิงชัยชนะกัน

เมื่อวิเคราะห์นโยบายหาเสียงของนายปราโบโว พบว่า โดยภาพรวมเน้นไปที่การกระตุ้นเศรษฐกิจ และด้านสวัสดิการสังคม นโยบายหลักๆ ได้แก่ ด้านสุขภาพ อสังหาริมทรัพย์ แรงงาน การคลัง และ สวัสดิการสังคม โดยตัวอย่างนโยบายเด่นๆ เช่น จัดตรวจสุขภาพฟรีให้ประชาชนทุกคนปีละ 1 ครั้ง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของหมู่บ้านและตำบลอย่างต่อเนื่อง เพิ่มเงินเดือนข้าราชการ จัดตั้งสำนักงานสรรพากรของรัฐ แยกออกมาจากกระทรวงการคลัง เพื่อเพิ่มอัตราส่วนรายได้ภาครัฐต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และเพิ่มโปรแกรมบัตรสวัสดิการสังคม เพื่อขจัดความยากจนอย่างแท้จริง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังพร้อมสานต่อนโยบายรัฐบาลของนายโจโก วีโดโด (Joko Widodo) ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน เช่น นโยบายโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงการสร้าง "นูซันตารา" เมืองหลวงแห่งใหม่ ทั้งยังต้องการมุ่งเน้นให้เศรษฐกิจเติบโตด้วยกลไกตลาดเสรี  ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ และเน้นการพึ่งพาตัวเองมากขึ้นด้านพลังงาน อาหาร และน้ำ รวมทั้ง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศด้วย

สำหรับช่วง 5 ปีต่อจากนี้ที่ นายปราโบโว  จะเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้ตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจอินโดนีเซียเติบโตเฉลี่ย 6-7% ต่อปี  ซึ่งสูงกว่าที่ IMF คาดอยู่ที่ 5% ระหว่างปี 2024-2025 นอกจากนี้ ยังต้องการลดจำนวนคนว่างงานลงประมาณ 2 ล้านคน ภายใน 5 ปี ผ่านการสืบสานและต่อยอดนโยบายประธานาธิบดี โจโก ซีโดโด โดยเราคาดว่า จะช่วยสนับสนุนภาคการลงทุน จากการที่ภาคเอกชนมีความมั่นใจมากขึ้น และการเพิ่มการใช้จ่ายงบลงทุน (CAPEX) ส่วนการบริโภค คาดว่าจะได้รับผลบวกจากการใช้จ่ายภาครัฐฯ ในด้านสังคม ที่มีแนวโน้มดำเนินต่อไป ตามที่ได้ผ่านงบประมาณรายจ่ายไว้แล้ว ขณะเดียวกัน  นายปราโบโว ประกาศไว้ว่าจะเริ่มต้นเดินหน้านโยบายที่หาเสียงไว้หลายประการทันทีที่เข้ามาบริหารประเทศเต็มตัว จึงเป็นแรงกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจระยะต่อไป

ทั้งนี้ SCB CIO มีมุมมองเชิงบวกเพิ่มขึ้นต่อตลาดหุ้นอินโดนีเซีย โดยมองว่าตลาดหุ้นได้รับแรงหนุนระยะสั้น จากปัจจัยดังนี้  1) การเลือกตั้งที่มีแนวโน้มสำเร็จในรอบแรก ส่งผลบวกต่อ sentiment บนตลาดหุ้นอินโดนีเซีย 2) ผลประกอบการของกลุ่มธนาคารยังมีแนวโน้มเติบโตดี 3) Valuation ของตลาดหุ้นอินโดนีเซีย อยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดยเทรดอยู่บน ราคาต่อกำไรต่อหุ้นในระยะข้างหน้า (forward PE) ที่ 13.7x หรือยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ประมาณ -1 s.d. และ 4) Earnings ของบริษัทจดทะเบียนยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2567 ที่ประมาณ +12.2%   และในปี 2568  คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ +9.4%

อย่างไรก็ตาม เรายังคงมุมมอง Neutral (ถือ) บนตลาดหุ้นอินโดนีเซียอยู่ เนื่องจากประเด็นความกังวลที่มีอยู่ ได้แก่ 1) ภาคการส่งออกที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง 2) การปรับลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออก ดุลบัญชีเดินสะพัด และรายได้ภาครัฐฯ ของอินโดนีเซีย 3) ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับลดลง อาจส่งผลกดดันต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลให้ปรับลดลง และ 4) ความเสี่ยงที่รัฐบาลภายใต้การนำของ นายปราโบโว อาจปรับเพิ่มเพดานขาดดุลการคลังต่อ GDP จากปัจจุบันที่ 3% เป็น 6% ซึ่งหากเกิดขึ้น จะกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังระยะกลางถึงยาว และส่งผลลบต่อค่าเงินรูเปี๊ยะให้อ่อนค่าลง และ Bond Yield อินโดนีเซีย อาจกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นได้

SCB CIO ประเมินมุมมองเศรษฐกิจและการลงทุน หลังผลเลือกตั้งอินโดนีเซีย ที่นายปราโบโว ซูเบียนโต ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด เตรียมเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ในวันที่ 20 ต.ค. นี้ เดินหน้านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และสวัสดิการสังคม พร้อมสานต่อนโยบายรัฐบาลชุดเดิม สร้างเศรษฐกิจให้เติบโตด้วยกลไกตลาดเสรี ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ และเน้นการพึ่งพาตัวเองมากขึ้น ทั้ง ด้านพลังงาน อาหาร และน้ำ รวมทั้ง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ตั้งเป้าเศรษฐกิจอินโดนีเซียเติบโตเฉลี่ย 6-7% ต่อปี SCB CIO ยังคงมุมมอง Neutral แม้หุ้นกลุ่มธนาคารเติบโตดี Valuationของตลาดหุ้น อยู่ในระดับต่ำ และรายได้ (Earning) ของบริษัทจดทะเบียน คาดว่ามีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปีนี้ที่กว่า 12% และปี 2568 กว่า 9% แต่ยังมีปัจจัยกังวลในเรื่องภาคการส่งออกที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง การปรับลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และความเสี่ยงที่รัฐบาล อาจปรับเพิ่มเพดานขาดดุลการคลังต่อ GDP จาก 3% เป็น 6% ที่อาจจะกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังระยะกลางถึงยาวได้

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2567 ผลการนับคะแนนแบบไม่เป็นทางการ (Quick Count) ที่มีความแม่นยำค่อนข้างสูง ชี้ว่า นายปราโบโว ซูเบียนโต (Prabowo Subianto)ได้คะแนนเฉลี่ย 58% ของคะแนนเสียงทั้งหมด ทำให้ นายปราโบโว คว้าชัยชนะจากการเลือกตั้งประธานาธิบดี และเตรียมรอเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 ต.ค.นี้ โดยไม่น่าจะต้องมีการเลือกตั้งรอบสอง เนื่องจากเป็นไปตามกฎการเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซียที่ระบุว่า กรณีผู้สมัครชนะการเลือกตั้ง ต้องได้คะแนนมากกว่า 50% และ ได้คะแนนอย่างน้อย 20% ในจังหวัดต่างๆ มากกว่าครึ่งหนึ่งของจังหวัดทั้งประเทศ หากไม่มีผู้สมัครคนใดได้คะแนนเสียงถึงเกณฑ์ที่กำหนด จึงจะจัดเลือกตั้งรอบสอง ให้ผู้สมัครที่มีคะแนนเสียงอันดับ 1 และ 2 ชิงชัยชนะกัน

เมื่อวิเคราะห์นโยบายหาเสียงของนายปราโบโว พบว่า โดยภาพรวมเน้นไปที่การกระตุ้นเศรษฐกิจ และด้านสวัสดิการสังคม นโยบายหลักๆ ได้แก่ ด้านสุขภาพ อสังหาริมทรัพย์ แรงงาน การคลัง และ สวัสดิการสังคม โดยตัวอย่างนโยบายเด่นๆ เช่น จัดตรวจสุขภาพฟรีให้ประชาชนทุกคนปีละ 1 ครั้ง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของหมู่บ้านและตำบลอย่างต่อเนื่อง เพิ่มเงินเดือนข้าราชการ จัดตั้งสำนักงานสรรพากรของรัฐ แยกออกมาจากกระทรวงการคลัง เพื่อเพิ่มอัตราส่วนรายได้ภาครัฐต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และเพิ่มโปรแกรมบัตรสวัสดิการสังคม เพื่อขจัดความยากจนอย่างแท้จริง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังพร้อมสานต่อนโยบายรัฐบาลของนายโจโก วีโดโด (Joko Widodo) ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน เช่น นโยบายโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงการสร้าง "นูซันตารา" เมืองหลวงแห่งใหม่ ทั้งยังต้องการมุ่งเน้นให้เศรษฐกิจเติบโตด้วยกลไกตลาดเสรี ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ และเน้นการพึ่งพาตัวเองมากขึ้นด้านพลังงาน อาหาร และน้ำ รวมทั้ง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศด้วย

สำหรับช่วง 5 ปีต่อจากนี้ที่ นายปราโบโว จะเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้ตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจอินโดนีเซียเติบโตเฉลี่ย 6-7% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าที่ IMF คาดอยู่ที่ 5% ระหว่างปี 2024-2025 นอกจากนี้ ยังต้องการลดจำนวนคนว่างงานลงประมาณ 2 ล้านคน ภายใน 5 ปี ผ่านการสืบสานและต่อยอดนโยบายประธานาธิบดี โจโก ซีโดโด โดยเราคาดว่า จะช่วยสนับสนุนภาคการลงทุน จากการที่ภาคเอกชนมีความมั่นใจมากขึ้น และการเพิ่มการใช้จ่ายงบลงทุน (CAPEX) ส่วนการบริโภค คาดว่าจะได้รับผลบวกจากการใช้จ่ายภาครัฐฯ ในด้านสังคม ที่มีแนวโน้มดำเนินต่อไป ตามที่ได้ผ่านงบประมาณรายจ่ายไว้แล้ว ขณะเดียวกัน นายปราโบโว ประกาศไว้ว่าจะเริ่มต้นเดินหน้านโยบายที่หาเสียงไว้หลายประการทันทีที่เข้ามาบริหารประเทศเต็มตัว จึงเป็นแรงกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจระยะต่อไป

ทั้งนี้ SCB CIO มีมุมมองเชิงบวกเพิ่มขึ้นต่อตลาดหุ้นอินโดนีเซีย โดยมองว่าตลาดหุ้นได้รับแรงหนุนระยะสั้น จากปัจจัยดังนี้ 1) การเลือกตั้งที่มีแนวโน้มสำเร็จในรอบแรก ส่งผลบวกต่อ sentiment บนตลาดหุ้นอินโดนีเซีย 2) ผลประกอบการของกลุ่มธนาคารยังมีแนวโน้มเติบโตดี 3) Valuation ของตลาดหุ้นอินโดนีเซีย อยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดยเทรดอยู่บน ราคาต่อกำไรต่อหุ้นในระยะข้างหน้า (forward PE) ที่ 13.7x หรือยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ประมาณ -1 s.d. และ 4) Earnings ของบริษัทจดทะเบียนยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2567 ที่ประมาณ +12.2% และในปี 2568 คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ +9.4%

อย่างไรก็ตาม เรายังคงมุมมอง Neutral (ถือ) บนตลาดหุ้นอินโดนีเซียอยู่ เนื่องจากประเด็นความกังวลที่มีอยู่ ได้แก่ 1) ภาคการส่งออกที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง 2) การปรับลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออก ดุลบัญชีเดินสะพัด และรายได้ภาครัฐฯ ของอินโดนีเซีย 3) ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับลดลง อาจส่งผลกดดันต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลให้ปรับลดลง และ 4) ความเสี่ยงที่รัฐบาลภายใต้การนำของ นายปราโบโว อาจปรับเพิ่มเพดานขาดดุลการคลังต่อ GDP จากปัจจุบันที่ 3% เป็น 6% ซึ่งหากเกิดขึ้น จะกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังระยะกลางถึงยาว และส่งผลลบต่อค่าเงินรูเปี๊ยะให้อ่อนค่าลง และ Bond Yield อินโดนีเซีย อาจกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นได้

SCB CIO  ปรับมุมมองเป็นบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ ลดลง จาก Slightly Positive (ทยอยลงทุน) เป็น Neutral (ถือไว้) หลังตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในปี 2566 ให้ผลตอบแทน 26.29% สูงกว่าตลาดหุ้นทั่วโลก จากอนิสงค์หุ้น 7 นางฟ้าเป็นหลัก  มองมูลค่าเริ่มตึงตัว นักลงทุนรับรู้ความสามารถทำกำไรที่ดีของกลุ่มเทคฯ  และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดไปในดัชนีฯ ค่อนข้างมากแล้ว   คาดเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้ม Soft landing  ด้านตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง   ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีหุ้น “High Quality” ที่มีศักยภาพในการเติบโตในระยะยาว เป็นสัดส่วนที่มากจึงแนะนำให้รอ หาจังหวะสะสม เมื่อ Valuation ลดลง และมีระดับราคาที่ถูกลงมากกว่านี้

ดร.กำพล  อดิเรกสมบัติ  ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์  เปิดเผยว่า ในปี 2566 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาดหุ้นโลก โดยดัชนี S&P500 ให้ผลตอบแทนที่รวมส่วนต่างราคาและเงินปันผล(Total Return) อยู่ที่ 26.29% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2565 ในขณะที่ผลตอบแทนของดัชนี MSCI ACWI และ MSCI World ในปี 2566 ซึ่งเป็นตัวแทนของดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก อยู่ที่ 22.20% และ 23.79% ตามลำดับ

ทั้งนี้ หากพิจารณาในรายละเอียด ผลตอบแทนในปี 2566 ส่วนใหญ่มาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ 1) การปรับตัวเพิ่มขึ้นของหุ้นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ 7 บริษัท ที่ถูกเรียกว่าเป็น “หุ้น 7 นางฟ้า” ได้แก่ Apple, Amazon, Alphabet, NVIDIA, Meta, Microsoft และ Tesla โดยหุ้นกลุ่มนี้ ให้ผลตอบแทนรวม 78.09% คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนที่ทำให้ (% Return Contribution) กับ S&P500 ที่ 15.32% หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของผลตอบแทน S&P500 ทั้งปี และหากไม่นับรวม 7 บริษัทขนาดใหญ่ บริษัทจดทะเบียนอื่นๆ ใน S&P500 ให้ผลตอบแทน 12.30% หรือคิดเป็น % Return Contribution ให้ S&P500 รวมกัน 10.97% เท่านั้น 2) ตลาดปรับตัวขึ้นแบบกระจายตัวทั้งตลาด แค่ช่วงไตรมาสที่ 4/2566 สาเหตุหลักมาจาก Fed ส่งสัญญาณผ่อนคลายการปรับดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) ลดลงอย่างรวดเร็วและดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้น

อย่างไรก็ตาม  แม้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีหุ้นเทคโนโลยี ที่เติบโตโดดเด่น แต่ SCB CIO เริ่มมีมุมมองเป็นบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ น้อยลง โดยเราคาดว่า การเติบโตของ GDP สหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ช่วง “soft landing” หรือชะลอตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยอัตราการเติบของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในไตรมาส 3/2566 และจะเริ่มเติบโตในอัตราที่ช้าลง นับตั้งแต่ ไตรมาส 4/2566 - ไตรมาส 2/2567 ก่อนจะกลับมาเร่งตัวอีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 ขณะที่ นักวิเคราะห์เริ่มปรับประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียนในระยะถัดไปลง หลังผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เริ่มให้มุมมองเป็นลบ (Negative Guidance) มากขึ้น

นอกจากนี้ มูลค่าเริ่มตึงตัว เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการเติบโตในปี 2567 และ การปรับปรุงมูลค่าใหม่ (Re-rating Valuation) มีความเป็นไปได้จำกัด เราตั้งข้อสังเกตว่า นักวิเคราะห์ที่ให้ราคาเป้าหมายระดับสูง ประมาณการ การเติบโตของกำไรต่อหน่วย (EPS) ของ S&P500 เฉลี่ยที่ 8.6% และ ให้ราคา 12-Month Forward Price-to-Earnings เฉลี่ย ที่ระดับ 21.1 เท่า ซึ่งเรามองว่าเป็นไปได้ค่อนข้างยาก ขณะที่ การประเมินราคา และอารมณ์ของตลาด (Pricing & Market Sentiment) เข้าสู่โซน “Greed” คือ เปิดรับความเสี่่ยงจากความคาดหวังที่สูง  

ขณะที่ กิจการที่มีความสามารถทำกำไรดี ถูกให้มูลค่า “Premium” พอสมควรแล้ว โดยในปี 2566 ตลาดคาดการณ์กำไร S&P500 จะไม่เติบโตเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) แต่จะเห็นการเติบโตที่กระจุกตัวอยู่ในหุ้นกลุ่ม Quality Growth อย่าง “หุ้น 7 นางฟ้า” ที่คาดว่าจะเติบโตขึ้นถึง 33%YoY ขณะที่ S&P 500 คาดว่าจะมีการเติบโตของกำไรอยู่ในช่วง 0-1%YoY อย่างไรก็ตาม นักลงทุนส่วนใหญ่รับรู้ความสามารถในการทำกำไรที่ดีกว่าของกลุ่มบริษัทนี้ไปพอสมควรแล้ว เห็นได้จากการกระจุกตัวของมูลค่าตามราคาตลาด (Market Cap.) กลุ่มหุ้นเทคโนโลยี เทียบกับ S&P500 ที่สะท้อนว่าตลาดให้มูลค่า Premium ของกลุ่มอุตสาหกรรมในระดับใกล้เคียงกับในช่วงฟองสบู่ดอทคอม หรือ  Tech Bubble ปี 2543

ดร.กำพล กล่าวว่า จากเหตุผลทั้งหมดนี้ เราจึงปรับคำแนะนำตลาดหุ้นสหรัฐฯ จาก Slightly Positive (ทยอยลงทุน) เป็น Neutral (ถือ) เนื่องจาก Valuation มีความตึงตัวมากขึ้น และโอกาสการปรับตัวขึ้น (upside) จำกัดมากขึ้นหลังดัชนี S&P500 ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในระยะเวลา 9 สัปดาห์สุดท้ายของปี 2566 ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บ่งชี้ว่า นักลงทุนได้ Pricing การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ไปในดัชนีฯ ค่อนข้างมากแล้ว โดยคาดว่าจะลดประมาณ 6 ครั้งในปี 2567 จากการคาดการณ์ของตลาด  ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อล่าสุดของสหรัฐฯ ในมุมมองของ SCB CIO  ยังมองว่า Fed จะลดดอกเบี้ยในช่วงไตรมาส 3/2567 ทั้งหมด 3 ครั้งในปี 2567 ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในระยะสั้น มีโอกาสเผชิญความเสี่ยงของการปรับฐาน หากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ไม่เป็นไปตามตลาดคาด หรือ การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงเร็วกว่าที่คาด

อย่างไรก็ตาม เรายังมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้ม Soft landing และตลาดแรงงานจะยังคงแข็งแกร่ง ด้วยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่มีองค์ประกอบของหุ้น “High Quality” ที่มีศักยภาพในการเติบโตในระยะยาว เป็นสัดส่วนที่มาก เราจึงแนะนำให้รอโอกาส หาจังหวะสะสม เมื่อ Valuation ตึงตัวลดลง และมีระดับราคาที่ถูกลงมากกว่านี้

SCB CIO มองเฟดส่งสัญญาณคงดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง อาจปรับลดลงไตรมาส 3/2567 ส่งผลกดดันกลุ่มประเทศหรือธุรกิจที่มีหนี้สูง อาจมีปัญหาสภาพคล่องหรือถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ คาดเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปี 2567 โต 1.5% ชะลอลงจากปีนี้ ที่คาดว่าจะเติบโต 2.1%แนะหลีกเลี่ยงลงทุนในหุ้นกู้หรือหุ้นกลุ่มนื้ เน้นลงทุนผลิตภัณฑ์ที่อ้างอิงผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ ซึ่งออกโดยสถาบันการเงินในไทย รวมถึงลงทุนหุ้นกู้ Investment grade เนื่องจากส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯและไทย ยังกว้าง หลีกเลี่ยงหุ้นกู้ High yield กลุ่มธุรกิจที่ก่อหนี้สูง เช่น กลุ่มอสังหาฯ จีน พร้อมปรับมุมมองหุ้นจีน A-share และ EM REITs เป็น Neutral (ถือ) และแนะรอจังหวะสะสมหุ้นสหรัฐฯ

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ครั้งล่าสุด ได้ส่งสัญญาณการคงดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง และปรับลดลงช้า โดยอาจจะต้องรอจนถึงไตรมาส 3 ปี 2567 ขณะที่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2567 ยังมีแนวโน้มชะลอตัว แต่น่าจะเป็นแบบจัดการได้ (Soft Landing) โดยล่าสุด Fedคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2567 จะเติบโต 1.5% ชะลอลงจากปี 2566 ที่คาดว่าจะเติบโต 2.1% ส่วนเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น จีน อินเดีย รวมถึงเศรษฐกิจในอาเซียน และไทย ที่พึ่งพาอุปสงค์ต่างประเทศ ในด้านการส่งออกและการท่องเที่ยว ค่อนข้างมาก ขณะที่ เศรษฐกิจยุโรปแม้มีแนวโน้มฟื้นตัว แต่ก็มาจากฐานต่ำ จึงทำให้เศรษฐกิจโลกในปี 2567 ไม่ได้ฟื้นตัวอย่างชัดเจน

ทั้งนี้ จากแนวโน้มดอกเบี้ยในประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่คงอยู่ในระดับสูงและลดลงช้า ขณะที่ดอกเบี้ยในประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets) มีแนวโน้มลดลงได้เร็วมากกว่า ทำให้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย (Rate differentials) มีแนวโน้มดำเนินต่อไป และเป็นแรงกดดันทำให้ค่าเงิน Emerging markets อาจอ่อนค่า โดยเฉพาะประเทศที่ดุลบัญชีเดินสะพัดฟื้นตัวช้า และยังมีแนวโน้มขาดดุลการคลังเพิ่มสูงขึ้น เช่น ไทย โดย SCB CIO เชื่อว่า ค่าเงินบาทจะยังมีแรงกดดันอ่อนค่าในช่วงที่ยังมีความกังวลเรื่องการขาดดุลการคลังในระยะข้างหน้า แต่ค่าเงินบาทน่าจะกลับมาแข็งค่าขึ้นได้เล็กน้อยช่วงปลายปี ซึ่งเป็นฤดูกาลท่องเที่ยว (high season) โดยเราปรับมุมมองค่าเงินบาทเป็น 34.5-35.5 บาท/ดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นปี 2566

ขณะที่เรายังคงแนะนำให้ระมัดระวังการลงทุนในกลุ่มประเทศ/ธุรกิจที่มีหนี้สูง ซึ่งอาจเกิดปัญหาสภาพคล่องในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยสูง และเศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงอาจถูกบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ลดอันดับลง(downgrade) ได้ โดยประเทศส่วนใหญ่ยังมีหนี้สาธารณะต่อ GDP ในระดับสูงและลดลงช้า เป็นผลจากการออกมาตรการประคับประคองเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในช่วง COVID-19 ขณะที่เมื่อพิจารณาหนี้ครัวเรือนต่อ GDP พบว่า จีน อยู่ที่ 64% และไทย 91% ซึ่งเพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็ว โดยเฉพาะไทย ที่มีหนี้ครัวเรือนต่อ GDP สูง เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในตลาดเกิดใหม่ด้วยกัน สำหรับหนี้ภาคธุรกิจต่อ GDP พบว่า จีน อยู่ที่ 132% และ เวียดนาม 128% โดยหนี้ภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นเร็วและอยู่ในระดับสูงเช่นกัน ขณะที่หนี้ภาคธุรกิจของไทย อยู่ที่ 80% เริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลง จากที่เคยเพิ่มขึ้นในช่วงวิกฤต COVID-19

นอกจากนี้ จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ และไทย ที่ยังมีแนวโน้มสูงในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า เรายังคงแนะนำการลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่อ้างอิงผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ หรืออัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์ สรอ.- บาท ซึ่งออกโดยสถาบันการเงินในไทย เนื่องจากในช่วงที่ตลาดยังมีความผันผวนจากการลดดอกเบี้ยช้าของ Fed เราเชื่อว่าสินทรัพย์เสี่ยงยังคงมีความผันผวนสูง ในขณะที่ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ และไทย ยังมีแนวโน้มอยู่ในลักษณะกว้างต่อไป

ในส่วนของการลงทุนในพันธบัตร/หุ้นกู้ เรายังคงเน้นการลงทุนในหุ้นกู้คุณภาพสูง (Investment grade) และเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอลงบวกกับท่าทีของ Fed ในการหยุดขึ้นดอกเบี้ย จะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทั้งระยะสั้นและยาว ทยอยลดลงในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยที่ค้างในระดับสูงในช่วงที่เหลือของปี มีแนวโน้มทำให้ความเสี่ยงด้านเครดิตของหุ้นกู้กลุ่มที่ให้ผลตอบแทนสูงแต่มีความเสี่ยงสูง (High yield) ยังมีโอกาสขยับสูงขึ้นอีก จึงแนะนำหลีกเลี่ยงหุ้นกู้ High yield ในกลุ่มธุรกิจที่มีการก่อหนี้สูง เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ในจีน

อย่างไรก็ตาม เราได้ปรับมุมมองการลงทุนบนหุ้นจีน A-share เป็น Neutral โดยเรามองว่า ถึงแม้ดัชนีหุ้น A-share จะมีมูลค่า (Valuation) ค่อนข้างถูก (forward P/E อยู่ที่ 10.9x, -1 s.d. เมื่อเทียบค่าเฉลี่ย 5 ปี) และมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการที่ทางการจีนมีแนวโน้มออกมาตรการฝั่งการเงิน การคลัง ภาคอสังหาฯ และค่าเงินหยวน แต่ดัชนีมีแนวโน้มเคลื่อนไหวกรอบจำกัด ในระยะ 3-6 เดือนค่อนข้างจำกัด จาก sentiment ของนักลงทุนจีนที่ยังซบเซา และแรงขายสุทธิหุ้นจีนของต่างชาติ ประกอบกับความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ที่มีอยู่ ทั้งกับสหรัฐฯ และยุโรป โดยเราประเมินว่าหุ้นจีน A-share มีแนวโน้มผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่ฟื้นตัวได้ในกรอบจำกัด จนกว่าจะเห็นมาตรการกระตุ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ

นอกจากนี้ ยังปรับมุมมอง ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) ในตลาดเกิดใหม่ หรือ EM REITs เป็น Neutral เช่นกัน โดยแนะนำให้เลือกลงทุนรายตัว (selective buy) เป็นหลัก เนื่องจากกลุ่ม REITs เอเชีย หรือ Asian REITs เผชิญแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond yield) ที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับ REITs ไทยยังเผชิญแรงขายจากกองทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Fund of property funds) อย่างไรก็ดี Valuation ยังอยู่ในระดับน่าสนใจทั้งในแง่ของ ราคาต่อมูลค่าหุ้นตามบัญชี (PBV), อัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend yield) และส่วนต่างของผลตอบแทนเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาล (Yield Spread) ด้าน REITs ของ สิงคโปร์ พบว่า Yield Spread อยู่ในระดับที่ไม่น่าสนใจ

SCB CIO แนะนำให้รอจังหวะสะสมหุ้นสหรัฐฯ โดย หุ้น Big-Tech ขนาดใหญ่ ที่มีมูลค่าตามราคาตลาด (market cap) มากที่สุด 7 ตัวแรกในดัชนี S&P 500 และเป็นตัวชี้นำผลตอบแทนการลงทุนในปี 2566 เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% นับตั้งแต่ต้นปี ขณะที่หุ้นที่เหลือของดัชนีเพิ่มขึ้นเพียงประมาณ 5% เท่านั้น เราจึงมองว่า Valuation ของหุ้น Big-Tech 7 ตัว ได้สะท้อนกำไรที่ดีกว่าคาดไปพอสมควรแล้ว และมีโอกาสที่จะปรับฐานเข้าสู่ค่าเฉลี่ยของตลาด โดยล่าสุด Trailing P/E และ Forward P/E ของ Big Tech 7 ตัว อยู่ที่ 60.1x และ 36.1x ขณะที Trailing P/E และ Forward P/E ของ S&P500 อยู่ที่ 24.7x และ 19.5x ตามลำดับ โดยเราประเมินว่าแม้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมา แต่ยังอยู่ในระดับที่ Valuation ค่อนข้างตึงตัว จึงแนะนำให้รอ Valuation ถูกลงมากกว่านี้ค่อยเข้าทยอยสะสม

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click