หลากแบรนด์ดังติดโผรางวัลใหม่ เอสเอ็มอี “ระดับตำนาน” และผู้ประกอบการอายุน้อย

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ร่วมกับ และเดอะ ฟินแล็บ หน่วยงานบ่มเพาะผู้ประกอบการเพื่อพัฒนานวัตกรรมภายใต้ธนาคารยูโอบี สนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ไทยมากกว่า 250 รายในการปรับธุรกิจสู่ดิจิทัล ภายใต้โครงการ Smart Business Transformation หรือ SBTP ของธนาคารยูโอบี ประจำปี 2565

โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการต่างได้รับประโยชน์หลายประการ อาทิ การพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจ ลดต้นทุนการดำเนินงาน มีการบริหารองค์กรที่ดีขึ้น และปรับปรุงความพร้อมสำหรับการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืนได้อย่างบูรณาการ โดยผลลัพธ์เหล่านี้สอดคล้องกับผลสำรวจ ASEAN SME Transformation Study 2022 ของธนาคารยูโอบี ซึ่งพบว่าร้อยละ 50 ของ SMEs ในภูมิภาคอาเซียนมีมุมมองในแง่บวกต่อการฟื้นฟูกิจการของพวกเขา โดยร้อยละ 50 ของ SMEs ไทยยังตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล การขับเคลื่อนสู่แนวทางความยั่งยืน และการมีส่วนร่วมของลูกค้าเนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคปรับเปลี่ยนไป

นางสาวสิรินันท์ จิรดิลก ผู้อำนวยการอาวุโส Digital Engagement and FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “นอกจากการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ดิจิทัลแล้ว แนวคิดเรื่องความยั่งยืนก็ส่งผลต่อวิธีคิดในด้านแนวทางการดำเนินงานของ SMEs ด้วยเช่นกัน จากผลสำรวจระบุว่า 2 ใน 3 หรือคิดเป็นร้อยละ 65 ของ SMEs ไทย มองว่าแนวทางความยั่งยืนกำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญที่จะส่งผลต่อธุรกิจของพวกเขา”

นับตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ SBTP ในปี 2562 เราได้ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการในประเทศไทยมากกว่า 900 รายให้เกิดการพัฒนาและการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลมากยิ่งขึ้น เราเสริมความพร้อมให้กับ SMEs ด้วยทักษะทางดิจิทัลและเครื่องมือที่เกี่ยวข้องเพื่อที่ให้พวกเขาสามารถแข่งขันในตลาดได้ อีกทั้งพวกเขายังเรียนรู้วิธีการบูรณาการความยั่งยืนให้เข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจของตนเองและได้รู้จักกับระบบการเงินสีเขียวเพื่อความสำเร็จในระยะยาวได้”

ตลอดระยะเวลา 3 เดือนของการเข้าร่วมโครงการ ผู้ประกอบการไทยได้นำโซลูชันดิจิทัลไปปรับใช้ รวมถึงแนวทางการทำธุรกิจและแนวคิดด้านความยั่งยืน ภายใต้คำแนะนำของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย และพันธมิตรในโครงการ ที่คอยช่วยพวกเขาให้สามารถเดินหน้ากระบวนการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจเพื่อรองรับความท้าทายใหม่ได้

สำหรับโซลูชันที่ผู้ประกอบการนำไปใช้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการข้อมูล สามารถช่วยจัดการความท้าทายต่างๆ ที่ธุรกิจเผชิญอยู่ อาทิ การวิเคราะห์และจัดการข้อมูลภายในที่เก็บบันทึกมา เพื่อทำความเข้าใจกับลูกค้าทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและลูกค้าใหม่ได้ดียิ่งขึ้น การปรับปรุงการตลาดดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาขั้นตอนการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ และการจัดการต้นทุนที่ดีขึ้น

ผู้ประกอบการไทย เผยผลลัพธ์เชิงบวกที่ได้รับจากโครงการ Smart Business Transformation โดย SMEs ที่เข้าร่วมโครงการ SBTP ประจำปี 2565 เปิดเผยว่าพวกเขาสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้สูงขึ้น และการมีส่วนร่วมจากลูกค้าเพิ่มขึ้นได้ด้วยการปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพิ่มยอดขายได้มากขึ้นจากการใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัล ในขณะที่ต้นทุนด้านการตลาดและการปฏิบัติงานนั้นลดลง อีกทั้งพวกเขายังสามารถสร้างความเข้าใจ และความมุ่งมั่นในการเปิดรับแนวทางความยั่งยืนของทั้งองค์กร จากผู้บริหาร เจ้าของธุรกิจ และผู้มีอำนาจในการตัดสินใจได้ด้วย

นายชลวัส เรืองปรีชาเวช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คลินตันอินเตอร์เทรด จำกัด ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าและปั๊มน้ำ กล่าวว่า “โครงการ SBTP ประจำปี 2565 ช่วยผลักดันการเปลี่ยนผ่านธุรกิจของเราสู่ดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว เราเลือกใช้งาน SAP B1 ซึ่งเป็นหนึ่งในซอฟต์แวร์สำคัญในการบริหารจัดการและนำข้อมูลที่ถูกจัดเก็บมาจัดสรรได้อย่างเหมาะสม ทำให้เราสามารถปรับปรุงการดำเนินงานเอกสารต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และการเห็นข้อมูลแบบเรียลไทม์นี้ ก็ช่วยให้การรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นได้ทันที นอกจากนี้หนึ่งในพันธมิตรของโครงการ SBTP ก็ยังให้คำแนะนำแก่เราในเรื่องการจัดการช่องหว่างระหว่างเจนเนอเรชันในที่ทำงาน ที่เราเชื่อว่าจะช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและสร้างผลงานให้กับเราได้เป็นอย่างดี”

นายคุณากร ธนสารสมบัติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงงานไทยแลนด์นิตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเสื้อยืดตราห่านคู่ กล่าวว่า “ห่านคู่เข้าร่วมโครงการ SBTP เป็นระยะเวลา 2 ปีแล้ว โดยเห็นผลเชิงบวกตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปีที่สองที่เราเริ่มนำโซลูชันเทคโนโลยีอย่าง SAP B1 เข้ามาใช้ ซึ่งช่วยเราพัฒนาการบริหารจัดการต้นทุนและการจัดเก็บข้อมูลทางธุรกิจ โดยข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมมานี้ ก็ทำให้เราสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้มากกว่าเดิมในสายการผลิตของเรา ช่วยพาเราเดินหน้าผันตัวสู่การเป็นผู้ผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนี้เรายังนำโซลูชันทางธุรกิจอย่าง UOB mCollect มาช่วยลดภาระในส่วนงานการเรียกเก็บและชำระเงิน ส่งผลให้พนักงานขายของเรา สามารถทุ่มเทให้กับการบริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น”

นายปิติพัฒน์ มงคลอริยนันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคเอ็มพี พาร์ทเนอร์ จำกัด ผู้ประกอบการให้คำปรึกษาด้านงานก่อสร้าง กล่าวว่า “เราได้เรียนรู้การนำเอาแนวคิดลูกค้าคือศูนย์กลาง (customer centric) มาปรับใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันของเรา ทำให้แอปพลิเคชันสามารถระบุถึงความต้องการของลูกค้าได้ ทำให้ฐานลูกค้าของเราขยายตัวขึ้นจาก 20 เป็น 700 ราย นอกจากนี้เราต้องขอบคุณ SBTP ที่แนะนำ Zaviago ซึ่งเป็นโซลูชันด้านการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการระบุเป้าหมายของสื่อออนไลน์ สิ่งนี้ทำให้เราสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราได้ภายใต้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด”

นายจักกเดช อัศวโสภณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอราเมง จำกัด กล่าวว่า “ข้อมูลทางธุรกิจและข้อมูลของลูกค้าเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญสูงที่สุดเสมอ และโครงการ SBTP ช่วยให้เราสามารถติดตั้งเครื่องมือในการบริหารจัดการข้อมูลได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้เราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าได้ ช่วยให้เราลดต้นทุนและเพิ่มยอดขาย ขณะเดียวกันก็มอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า ที่สำคัญ SBTP ยังช่วยปูเส้นทางให้เราในการมุ่งสู่การทำธุรกิจแบบ Zero Waste ตามนโยบายการทำธุรกิจที่ยั่งยืนด้วย โดยเรามีแผนของเราจะเริ่มจากการทำครัวกลางในปี 2566 นี้ด้วย”

นายพาวรอวัชระ ยุวนะศิริ กรรมการผู้จัดการ RainForest Green Community กล่าวว่า “เป้าหมายของเราคือการสร้างโครงการคอมมูนิตี้มอลของเราให้เป็น ‘ชุมชนสีเขียว’ โดยสิ่งที่เราได้รับจากโครงการไม่ได้มีแค่คำแนะนำเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น แต่ทำให้เราได้รู้จักโซลูชันทางการเงินที่ยั่งยืนจากธนาคารยูโอบีอย่าง U-Solar ที่เรามองว่าเป็นโอกาสของเราในการนำพลังงานสะอาดเข้ามาใช้ในคอมมูนิตี้มอลของเราอีกด้วย โครงการ SBTP ได้แนะนำให้เรารู้จักกับพันธมิตรของโครงการ ที่เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีส่วนช่วยในการลดค่าใช้จ่ายและลดการใช้พลังงานเมื่อเราติดตั้งโซลูชันสำเร็จ ในด้านปรับองค์กรสู่ดิจิทัล เราเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในการบริหารจัดการต้นทุน การจัดการภาษีองค์กร กระบวนการทำงาน จากการที่เรานำ PEAKaccount ซึ่งเป็นโซลูชันการทำบัญชีออนไลน์และบริหารจัดการต้นทุนที่ช่วยในด้านการบริหารจัดการข้อมูลมาใช้งาน”

โครงการ SBTP เปิดรับเจ้าของธุรกิจ SMEs หรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ที่พร้อมเปิดรับแนวคิดใหม่ในการทำธุรกิจ มีความกระตือรือร้นในการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีและความพร้อมในการลงทุนด้านเครื่องมือดิจิทัล และสามารถให้เวลากับโครงการได้อย่างเต็มที่ตลอดระยะเวลาสามเดือนของโครงการ 

คำไหนคำนั้น ตัวจริงต้องคนนี้ “ชัยวัฒน์ นันทิรุจ” บอสใหญ่แห่ง “เอกา โกลบอล” ผู้นำตลาดนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหารแบรนด์ไทย รายใหญ่ระดับ Top 5 ของโลก ตั้งเจตนารมณ์ช่วยเหลือและส่งเสริมศักยภาพของเอสเอ็มอีธุรกิจอาหารไทยสู่เวทีโลก กระซิบข่าวเล่าว่า.. ปีหน้า โควิดซาได้จัดโรดโชว์ไป 3 ภูมิภาคเพื่อให้เอสเอ็มอีทั่วไทยได้เข้าถึงบรรจุภัณฑ์ได้แล้ว เริ่มจาก ม.สงขลานครินทร์ หาดใหญ่ ไป ม.เชียงใหม่ และ ม.ขอนแก่น ผู้บริหารและทีมงาน เอกา โกลบอล พร้อมลุยอย่างนี้ เอสเอ็มธุรกิจอาหารไทยทั่วประเทศ เตรียมความพร้อม Q1 ปีหน้า พบกันแน่นอน จ้า!!!

 

 

ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เดินหน้าสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ภายใต้ความร่วมมือในโครงการ THAI SME-GP รัฐพร้อมซื้อ SME พร้อมขาย” พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในระดับพื้นที่เข้าสู่การเป็นคู่ค้ากับภาครัฐ ผ่านระบบ THAI SME-GP

คู่ค้าเอสเอ็มอี ปลื้ม ได้ CPF  ช่วยกิจการฝ่าวิกฤต  พร้อมเดินหน้าร่วมคิด ร่วมสร้างการเติบโตไปด้วยกัน
 
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ นำคู่ค้าธุรกิจผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน เดินหน้าโครงการ Faster Payment ช่วยกิจการเดินหน้าต่อได้ พร้อมส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ ดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และกำกับดูแลกิจการที่ดี ร่วมเติบโตไปด้วยกัน  
 
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ตระหนักถึงบทบาทของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่่มีความสำคัญต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิตอาหาร ช่วยให้
ซีพีเอฟสามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูงได้มาตรฐานปลอดภัยได้อย่างต่อเนื่องในทุกสถานการณ์  ที่ผ่านมา คู่ค้าเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตโควิด-19 ซีพีเอฟจึงได้ดำเนินโครงการ "Faster Payment" ปรับลดเวลาเครดิตเทอมเป็น 30 วันตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน ได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 6 พันรายของซีพีเอฟมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้น สามารถประคับประคองกิจการยืนหยัดผ่านสภาวะที่ยากลำบากได้  
 
เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถปรับตัวได้อย่างแข็งแกร่งหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ซีพีเอฟได้จัดสัมมนาออนไลน์  CEO ROUNDTABLE FOR SMEs Conference 2021 ให้คู่ค้าธุรกิจเอสเอ็มอี พูดคุย แบ่งปันประสบการณ์ และมุมมองการดำเนินธุรกิจในอนาคต กับประธานคณะผู้บริหารของซีพีเอฟ เพื่อเสริมพลังและส่งต่อความรู้พร้อมทักษะเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการปรับตัวของผู้ประกอบการ SMEs ในโลกยุค Next Normal และนำไปสู่การร่วมคิด และความร่วมมือกันยกระดับขีดความสามารถให้ธุรกิจเอสเอ็มอีเดินหน้าได้อย่างมั่นคง และเติบโตไปด้วยกัน
 
“สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 และความคาดหวังของลูกค้าและผู้บริโภคในวันนี้ มีมากกว่าการส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพและความปลอดภัยที่รวดเร็ว หากยังให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่มาจากห่วงโซ่การผลิตที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสังคม สินค้าที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม  การมาร่วมแบ่งปันมุมมองและประสบการณ์ในครั้งนี้มองว่าจะมีส่วนช่วยจุดประกายให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้นำหลัก ESG ไปประยุกต์ใช้และยกระดับดำเนินงาน และสามารถซีพีเอฟยินดีให้การสนับสนุนเพื่อให้ทุกคนในห่วงโซ่อุปทานเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน” นายประสิทธิ์กล่าว  
 
นอกจากนี้ นายประสิทธิ์ ยังได้แบ่งปันกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของซีพีเอฟ ที่จะให้ความสำคัญกับ 3 แนวทาง ได้แก่ แนวทางแรก คือ การให้ความสำคัญกับคุณค่าทางโภชนาการของอาหารควบคู่กับมาตรฐานความปลอดภัยของอาหาร โดยจะมีการเพิ่มคุณค่าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น ที่ผ่านมา ซีพีเอฟได้พัฒนาผลิตภัณฑ์หมูชีวา ที่มีโอเมก้าสูงกว่าเนื้อหมูปกติ เป็นต้น กลยุทธ์ที่สอง คือ การก้าวสู่การทำงานในยุคดิจิทัลมากขึ้น ตั้งแต่ในฟาร์ม โรงงาน จนถึงการจำหน่าย และกลยุทธ์ที่ 3 เป็นเรื่อง Engineering practices โดยการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตให้เป็นระบบอัตโนมัติ การใช้ IOT ระบบออนไลน์ เข้ามาช่วยการบริหารจัดการมากขึ้น
 
ด้าน นายนิวัติ ดีงาม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ภูรินทร์ กรีนฟู้ดส์ โปรดักส์ ผู้จัดหากระเทียมสด ปลอดภัย ได้ร่วมแบ่งปันการดำเนินธุรกิจว่า จากการที่เข้าเป็นผู้จัดหากระเทียมสดให้กับซีพีเอฟ ที่เน้นวัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้ธุรกิจได้รวมกลุ่มเกษตรกรและส่งเสริมยกระดับการเพาะปลูกตามมาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) ซึ่งเป็นการเพาะปลูกที่ไม่ใช้สารเคมี ช่วยส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น ทุกวันนี้ มีเกษตรกร 50 ครัวเรือนที่มาเข้าร่วมกลุ่มกับภูรินทร์ เพื่อร่วมเป็นผู้ส่งมอบกระเทียมปลอดสารให้กับซีพีเอฟได้อย่างต่อเนื่อง  
 
นางนฤมล แสงมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีเอ็มพี ยูนิฟอร์ม จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ขอขอบคุณที่ได้รับโอกาสเป็นผู้ผลิตเสื้อยูนิฟอร์มในสายการผลิตให้กับซีพีเอฟ การทำงานร่วมกับซีพีเอฟมีส่วนช่วยผลักดันให้กิจการขนาดเล็กยกระดับระบบคุณภาพสอดคล้องกับมาตรฐานซีพีเอฟ รวมทั้งความยั่งยืนที่เป็นเทรนด์ของโลก ขณะนี้บริษัทกำลังศึกษาและพัฒนาเนื้อผ้าทำจากเกล็ดปลา และขวดพลาสติกรีไซเคิล ตลอดจนปรับเปลี่ยนมาทำตลาดแบบออนไลน์เพิ่มขึ้น และที่สำคัญโครงการ Faster Payment ช่วยส่งเสริมธรรมาภิบาล ช่วยให้บริษัทสามารถชำระค่าสินค้าตรงเวลา และมีส่วนช่วยให้บริษัทสามารถดูแลและช่วยเหลือพนักงาน ครอบคลุมถึงลูกจ้างชั่วคราวอย่างทั่วถึง
 
นอกจากนี้ นายชยกฤต ธนกฤตขจร บริษัท สหปภพ จำกัด ผู้ให้บริการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ในฟาร์ม ยังได้ร่วมแบ่งปันถึงการปรับตัวของธุรกิจเอสเอ็มอี โดยหันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ทำงานตอบโจทย์มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโรคของซีพีเอฟ โดยได้พัฒนาแพลตฟอร์มในการติดตามตรวจสอบการทำงานของเครื่องมืออุปกรณ์การใช้ในฟาร์มผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น และยังได้ต่อยอดทำระบบบัญชีบนเทคโนโลยี ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเอสเอ็มอีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยินดีแบ่งปันความรู้ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่สนใจอีกด้วย
 
Page 2 of 3
X

Right Click

No right click