กรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ เปิดมุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนในปี 2567 ในงานสัมมนา KRUNGSRI EXCLUSIVE Investment Outlook 2024 : AI Trends and Investment Strategies โดยได้รับเกียรติจากทีมผู้เชี่ยวชาญจากกรุงศรี กรุ๊ป แบล็คร็อค พันธมิตรระดับโลกของกรุงศรี และ ที.โรว ไพรซ์ มาร่วมแบ่งปันมุมมองเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียน และเศรษฐกิจไทย วิเคราะห์สถานการณ์การลงทุน โดยเฉพาะกระแสการลงทุนในกลุ่ม AI พร้อมเผยกลยุทธ์การลงทุนในปี 2567 โดยชี้ว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้ชะลอตัว รอลุ้นจังหวะดอกเบี้ยขาลง แนะลงทุนในตราสารหนี้และกองทุนรวมหุ้นเทคฯ

สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจโลกปีนี้ ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (จำกัด) มหาชน มองว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว โดยแรงหนุนหลักมาจากภาคบริการ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังคงชะลอตัว เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางในหลายๆ ประเทศ โดยมองว่าวัฎจักรการขึ้นดอกเบี้ยได้สิ้นสุดแล้ว และปัจจุบันอยู่ในช่วงนับถอยหลังสู่การปรับลดดอกเบี้ย ซึ่งหากเจาะลึกลงไปในประเทศหลักๆ จะพบว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐฯยังคงชะลอตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Soft Landing) โดยในปีนี้จะชะลอลงจากปีก่อน แต่ยังไม่น่ากังวลมากนัก และคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงกลางปีเป็นต้นไป ในส่วนของยูโรโซน ถึงแม้ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาสามารถพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาได้อย่างหวุดหวิด อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจของยูโรโซนจะยังคงฟื้นตัวช้าเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ จึงอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าสหรัฐฯ สำหรับญี่ปุ่น เศรษฐกิจในปีที่ผ่านมามีการฟื้นตัวและเติบโตขึ้น 1-2% เนื่องจากได้รับอานิสงค์จากการเปิดประเทศ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจในปีนี้จะเริ่มชะลอตัว และด้วยเงินเฟ้อที่ระดับ 2% จึงคาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะมีการปรับนโยบายขึ้นมาเป็นบวก ทางฝั่งของจีน เศรษฐกิจในปีนี้น่าจะชะลอตัวอยู่ที่ระดับ 4-6% จากเดิมปีที่แล้วอยู่ที่ 5% โดยมีปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงยืดเยื้อ และส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจจีน สำหรับประเทศกลุ่ม ASEAN 5 ได้แก่ ไทย อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ คาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยอยู่ที่ 4.7% สูงขึ้นจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 4.2% นับเป็นหนึ่งในไม่กี่ภูมิภาคที่มีการเติบโตที่ดี

ในส่วนของไทย ปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวดีกว่าปีก่อนหน้า โดยปัจจัยที่จะสนับสนุนเศรษฐกิจไทย คือ 1) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวซึ่งส่งผลให้การจ้างงานและภาคการบริโภคฟื้นตัวตามไปด้วย 2) การใช้จ่ายของภาครัฐจะเริ่มกลับมาทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่หลังจากพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2567 ผ่านสภาในช่วงเมษายน-พฤษภาคม ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงยังคงเกิดจากการที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวต่อเนื่อง ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญที่จะส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตร นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ของเศรษฐกิจไทยเช่น ภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ต้นทุนสูง ปัญหาเชิงโครงสร้าง ตลอดจนความไม่แน่ในเชิงนโยบาย

เกาะกระแส AI เปิดมุมมองโอกาสหุ้นเทคฯ ยังไปต่อได้

จากกระแสและการเติบโตของ Generative AI ซึ่งมีความน่าสนใจสำหรับนักลงทุน นายเกียรติศักดิ์ ปรีชาอนุสรณ์ CFA ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนทางเลือก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด ได้แชร์มุมมองโอกาสการลงทุนจากกระแสของ AI โดยสรุปว่า นักลงทุนสามารถมองหาโอกาสการลงทุนในกลุ่มธุรกิจที่อยู่ใน Value Chain ทั้งหมดของ AI ได้ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่กลุ่มธุรกิจการผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ หรือ Chip ได้แก่ NVIDIA AMD และ TSMC และกลุ่ม Data Infrastructure ซึ่งเป็นกลุ่มข้อมูลที่ใช้ในการเทรนด์เอไอ รวมถึงแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ที่ผู้บริโภค หรือ End User ใช้งาน ซึ่งหลังจากนี้จะได้เห็นการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ มากมาย

หากเจาะจงที่หุ้นในกลุ่ม 7 นางฟ้า หรือ Magnificent 7 ซึ่งประกอบด้วย Apple (AAPL) Amazon (AMZN) Meta Platforms (META) Alphabet (GOOGL) Microsoft (MSFT) Nvidia (NVDA) และ Tesla (TSLA) พบว่าในปีที่ผ่านมามีการปรับราคาสูงขึ้น ขณะที่หุ้นเทคอื่นๆ ในตลาดยังไม่ปรับราคาสูงขึ้นหรือมีการปรับราคาสูงขึ้นมาเพียงเล็กน้อย ดังนั้นนับเป็นโอกาสที่นักลงทุนจะเข้าไปลงทุนเพิ่มเติมได้ ขณะที่หุ้น 7 นางฟ้า ในปีนี้คาดว่ายังคงเติบโตต่อเนื่องจากผลประกอบการและมุมมองเชิงบวกจากกลุ่มนักวิเคราะห์

ด้าน นายณพกิตติ์ จันทานานนท์ Southeast Asia Client Business Representative BlackRock กล่าวเสริมว่า ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนจะโฟกัสกลุ่มผู้เล่นที่เป็นกลุ่มผลิต Hardware และ Infrastructure ซึ่งในอนาคตเราเห็นโอกาสในกลุ่มผู้เล่นที่พัฒนาระบบประมวลที่นำเอาข้อมูลไปประยุกต์ใช้ รวมถึงการนำเอา AI ไปเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ บริการใหม่ๆ ในตลาด รวมไปถึง Sub Sector อื่นๆ อาทิ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต บริษัทเกม Content Creator หรือแม้แต่การผลิตพลังงานทางเลือก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างรวดเร็วของหุ้นกลุ่มเทคฯ ต้องอาศัยการเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็วและปรับพอร์ตตามสถานการณ์อย่างทันท่วงที ซึ่งกองทุน KFHTECH บริหารจัดการโดย BlackRock จะมีทีมผู้จัดการกองทุนประจำอยู่ที่ซานฟรานซิสโก ทำให้เข้าถึงข้อมูลและปรับพอร์ตได้อย่างทันต่อสถานการณ์ การลงทุนจะเป็นแบบ Bottom Up Approach ซึ่งจะมีการทำ Research ว่าบริษัทไหนมีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต มีพื้นฐานที่ดี โดยจะมีความยืดหยุ่นสูง ด้วยการลงทุนในหุ้น 100-150 ตัวจาก Universe 2,500 ตัวทั่วโลก จึงสามารถปรับพอร์ตให้ทันสถานการณ์การลงทุนได้ตลอดเวลา ปัจจุบันสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้ถึง 49.9%

ขณะที่ Mr. Nicholas Tong Head of Intermediary, Southeast Asia T. Rowe Price ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุน KFGTECH ซึ่งบริหารจัดการโดย T. Rowe Price ว่า กองทุนดังกล่าวเน้นการลงทุนในภาพใหญ่ของเทคโนโลยี และเป็นการลงทุนแบบ Bottom Up ขุดหาหุ้นมาลงทุนเป็นรายตัว ซึ่งปีที่แล้วสามารถสร้างผลตอบแทนได้ถึง 62% โดยจะให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้เล่นที่เป็น Backbone สำคัญของ AI ซึ่งยังคงมีดีมานต์มหาศาล และมีพื้นฐานที่แข็งแรง

ทั้งนี้ จุดเด่นของกองทุนรวมทั้งสองเป็นกลุ่ม General Tech ไม่ได้ลงทุนเฉพาะหุ้นกลุ่ม AI แต่ด้วยกระแสและโอกาส สัดส่วนการลงทุนในกลุ่ม AI จึงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆ โดยกอง KFHTECH ของ BlackRock จะเป็นการสร้างพอร์ตแบบ Core & Opportunistic Holding คือ ลงทุนกลุ่ม Core 40-50% ขณะที่ลงทุนในกลุ่ม Opportunistic 50-60% ด้วยน้ำหนักที่น้อย แต่จะกระจายการลงทุนในหุ้นจำนวนมาก ให้ผลตอบแทนในระยะกลาง-ยาวที่ดีกว่า ผันผวนน้อยกว่า และผลตอบแทนสม่ำเสมอ ขณะที่กองทุน KFGTECH ของ T. Rowe Price เป็นสไตล์การลงทุนแบบ Highly Active และเปลี่ยนแปลงทุก 6 เดือน ซึ่งมีโอกาสทำกำไรได้มากกว่าในช่วงที่ตลาดขาขึ้น

แนะจัดพอร์ตการลงทุนด้วย 3 ธีมหลัก เน้น ‘ตราสารหนี้-กองทุนหุ้นเทคฯ’

ด้านนายวิรัตน์ วิทยศรีธาดา CFA ผู้บริหารฝ่ายวิเคราะห์กลยุทธ์และที่ปรึกษาการลงทุน และหัวหน้าทีม Krungsri Investment Intelligence ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้สรุปมุมมองการลงทุนในปีนี้ผ่าน 3 ธีมหลัก ได้แก่ ธีมที่หนึ่ง สำหรับช่วงดอกเบี้ยขาลง แนะนำลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ เช่น KF-CSINCOM ซึ่งลงทุนในกองทุนหลัก PIMCO GIS Income โดยจากข้อมูลในอดีตชี้ให้เห็นว่าหากเข้าลงทุนในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยตลาดอยู่ในระดับสูงจะให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะหน้า ซึ่งในช่วง 1-3 ปีต่อจากนี้ อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในช่วงขาลงจึงเป็นโอกาสของการลงทุนตราสารหนี้

ในส่วนของตลาดหุ้น ช่วงที่ผ่านมาตลาดอยู่ในช่วงขาลงเพราะสถานการณ์อัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจากข้อมูลในอดีตจะเห็นว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มักให้ผลตอบแทนที่ดีหลังจากที่เฟดลดดอกเบี้ยครั้งแรกและเศรษฐกิจไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วง Q4 งบของบริษัทจดทะเบียนค่อนข้างดี และนักวิเคราะห์ยังปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรบริษัทจดทะเบียนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสองปัจจัยที่ผลักดันตลาดหุ้นคือ ดอกเบี้ยที่เป็นเทรนด์ขาลง และกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ยังคงแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม จุดที่น่ากังวลของตลาดคือ หุ้นโดยเฉพาะหุ้นเทค P/E ที่ 20 เท่า ซึ่งราคาค่อนข้างสูง ทำให้การ Upside ของตลาดหุ้นจำกัดจากเรื่องของมูลค่าตามปัจจัยพื้นฐาน ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการลงทุนในธีมที่สอง เมื่อเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว แนะนำลงทุนหุ้นในกลุ่ม Defensive อย่างเช่นกองทุน KFGBRAND ซึ่งกระจายการลงทุนหุ้นในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค สุขภาพ และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังคงมีกำไรที่แข็งแกร่งแม้ในช่วงวิกฤต โดยจากผลตอบแทนรายปีในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า ในช่วงวิกฤติกองทุนดังกล่าวไม่ได้ปรับลงมากเท่าตลาด และยังสามารถปรับขึ้นได้ในบางช่วงอีกด้วย และธีมที่สาม ด้วยเทรนด์การเติบโตของ Generative AI อาจส่งผลให้หุ้นกลุ่มเทคมีราคาสูง แต่ยังสามารถเติบโตได้อีกมาก จึงแนะนำกองทุนอย่าง KFHTECH ที่เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีต่างๆ เป็นหลัก ซึ่งคาดว่ารายได้จากกลุ่มธุรกิจเทคฯ จะเติบโตเฉลี่ย 42% ต่อปีในช่วง 10 ปีข้างหน้า

ชี้เป้าหุ้นไทย ‘โรงพยาบาล-ICT-แฟชั่น’ คาดดัชนีฯ 1,465-1,717 จุด

ด้านนายอิสระ อรดีดลเชษฐ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัท หลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ได้ให้มุมมองภาพรวมเกี่ยวกับตลาดหุ้นต่างประเทศ และหุ้นไทยในปีนี้ว่า ช่วงไตรมาส 4/2567 ภาพรวมตลาดหุ้นโต 1.6% แต่หากเอาหุ้นเทคที่กล่าวถึง 6-7 ตัวออก Earning Growth จะยังคงติดลบอยู่ประมาณ 10% ดังนั้นจะต้องเพิ่มความระมัดระวัง โดยอาจจะเพิ่มหุ้น Defensive เช่น หุ้นกลุ่มโรงพยาบาล กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค รวมไปถึงหุ้นกลุ่ม Generative AI ซึ่งหากใครยังไม่มีอาจจะต้องรอจังหวะค่อยๆ สะสมไป รวมไปถึงพันธบัตรรัฐบาลที่น่าสนใจด้วย Yield ที่สูงประมาณ 4% กว่า ถือไว้ยังไงก็ไม่ขาดทุน ในส่วนของตลาดหุ้นไทยค่อนข้าง Laggard และตอนนี้เข้าข่าย Low Growth, Low Inflation ซึ่งน่าจะปิดปีที่ประมาณ 1,450 แต่ถ้า FED ลดดอกเบี้ยได้เร็ว และตลาดเริ่มฟื้นอาจจะปิดที่ประมาณ 1,500 แนะนำควรจะหลีกเลี่ยงหุ้นใหญ่ และรอดูสัญญาณ Macro ก่อน เน้นหุ้นที่มีธีมชัดๆ และมี Earning Growth ที่ชัดเจน เช่น หุ้นกลุ่ม ICT ได้แก่ TRUE หรือ ADVANC รวมไปถึงกลุ่มสินค้าแฟชันอย่าง MC และ Sabina ซึ่งเป็นหุ้นตัวเล็กทั้งคู่ แต่ Perform ค่อนข้างดี นอกจากนี้ ยังคงแนะนำหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลที่สามารถถือได้ยาวๆ โดยมองเป้า SET Index ไว้ใน 3 กรณี คือ 1) หากมีการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ 1,717 2) หากไม่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ 1,644 และ 3) หากเศรษฐกิจเติบโตชะลอ และเงินเฟ้อต่ำ ที่ 1,465

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=JXambdRQnSs และรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ KRUNGSRI EXCLUSIVE โทร 02-296-5566 LINE: @KrungsriExclusive

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) เร่งดำเนินการตามวิสัยทัศน์สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ประสานความร่วมมือกับ Zeroboard สตาร์ทอัพสัญชาติญี่ปุ่น ในการยกระดับการบริหารจัดการข้อมูลก๊าซเรือนกระจก และวัดคาร์บอนฟุตพรินท์ขององค์กรผ่านคลาวด์เทคโนโลยี ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการทางธุรกิจของธนาคารภายในปี 2573

นายเคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “กรุงศรีมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมแก้ไขปัญหาความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยเราได้ตั้งเป้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนจากกระบวนการทางธุรกิจของธนาคารภายในปี 2573 และได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ อย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่วางไว้ โดยที่ผ่านมา เราได้คำนวณพร้อมจัดทำรายงานคาร์บอนฟุตพรินท์ขององค์กรและรายงานต่อองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) มาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2560 อย่างไรก็ตาม การวัดค่าการปล่อยหรือการลดก๊าซเรือนกระจกจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่มาของความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Zeroboard ในครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยยกระดับการบริหารจัดการข้อมูลก๊าซเรือนกระจก และวัดคาร์บอนฟรุตพริ้นท์ขององค์กร โดยหวังว่าการร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนให้กรุงศรีสามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนได้สะดวกและราบรื่นยิ่งขึ้น”

นายมิชิทากะ โทเคอิจิ CEO ของ Zeroboard Inc. กล่าวว่า “Zeroboard มีการพัฒนาโซลูชันของเราให้ทันสมัยอยู่เสมอ อีกทั้งยังได้ขยายพื้นที่การให้บริการไปยังภูมิภาคอื่นๆ ด้วย เพื่อสนับสนุนลูกค้าของเรา ให้แต่ละองค์กรสามารถเติบโตไปพร้อมกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่อุตสาหกรรมมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิตในห่วงโซ่อุปทานโลก ทั้งยังเป็นประเทศที่ภาครัฐให้ความสำคัญกับการส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับกรุงศรีและบริษัทในเครือในการวัดคาร์บอนฟุตพรินท์เพื่อเป็นแนวทางสู่การวางแผนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมสังคมปลอดคาร์บอนในภูมิภาคนี้”

ทั้งนี้ Zeroboard เป็นแพลตฟอร์มการคำนวณและแสดงข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ผ่านคลาวด์เทคโนโลยี โดยกรุงศรีจะนำระบบดังกล่าวเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลคาร์บอนที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ทั้งในส่วนของสำนักงาน และสาขาของธนาคารกรุงศรี รวมถึงบริษัทในเครืออีกกว่า 15 บริษัททั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยคำนวณค่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ค่า Emission Factor จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และชุดข้อมูลจากมาตรฐานสากล และยังสามารถคำนวณคาร์บอนฟุตปรินท์ในกรณีที่บริษัทในเครือที่อยู่ในประเทศอื่นในอาเซียน พร้อมแสดงผลลัพธ์ที่หน้าแดชบอร์ดเพื่อการวิเคราะห์ผล ทั้งยังสามารถส่งข้อมูลออกเป็นเอกสารรายงานทั้งในรูปแบบสรุปผลและรายงานตามมาตรฐานขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วย

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) ในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) หนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก ประกาศแผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ (Medium-Term Business Plan: MTBP) ครอบคลุมปี 2567-2569 พร้อมมุ่งเป้ายืนหนึ่งการเป็นธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเพื่อความยั่งยืน โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ขับเคลื่อนสู่การเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืน เชื่อมโยงอาเซียนผ่านศักยภาพอันแข็งแกร่งของกรุงศรี และ MUFG เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในระดับประเทศและระดับสากล และสร้างการเติบโตให้ธุรกิจหลักของธนาคาร

นายเคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ปีที่ผ่านมาถือเป็นวาระสำคัญครบรอบ 10 ปีของความร่วมมือระหว่างกรุงศรี และ MUFG และเป็นปีสุดท้ายของแผนธุรกิจระยะกลางฉบับที่สาม กรุงศรีให้ความสำคัญกับการยึดหลักลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer-centric Approach) มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการผ่านการพัฒนาขีดความสามารถด้านดิจิทัลและนวัตกรรม ซึ่งได้บรรลุความสำเร็จมากมายตลอดการเดินทางของเรา ไม่ว่าจะเป็นการสร้างธุรกิจและเครือข่ายที่แข็งแกร่งในอาเซียน การขยายศักยภาพการในด้าน ESG มากขึ้น ตลอดจนเป็นผู้บุกเบิกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนของประเทศไทย รวมทั้งการก่อตั้งบริษัทร่วมทุนที่แข็งแกร่งอย่างกรุงศรี ฟินโนเวต ที่ให้การสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของกลุ่มสตาร์ทอัพและบริษัทด้านเทคโนโลยีอีกด้วย ความสำเร็จต่าง ๆ ของกรุงศรีที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมานั้นสะท้อนผ่านตัวเลขผลการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี โดยกรุงศรีสามารถทำรายได้สุทธิกว่า 30,000 ล้านบาท จากเดิมอยู่ที่ 11,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสามเท่าในเวลาหนึ่งทศวรรษ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ครองตำแหน่งผู้นำในอุตสาหกรรม ทั้งยังคงความเป็นผู้นำด้านคุณภาพสินทรัพย์มาโดยตลอดอีกด้วย”

“กรุงศรีก้าวเข้าสู่แผนธุรกิจระยะกลางฉบับที่สี่ โดยมุ่งเป้ายืนหนึ่งการเป็นธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเพื่อความยั่งยืน แผนธุรกิจระยะกลางฉบับนี้สะท้อนถึงความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของกรุงศรีเพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนเชิงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาลสู่อนาคตที่มั่นคง ทำให้กรุงศรีเป็นธนาคารแห่งภูมิภาคเพื่อความยั่งยืนระดับแถวหน้า แนวทางการดำเนินงานนี้ยังสอดคล้องกับเป้าหมายของ MUFG ที่ต้องการมุ่งสร้างอนาคตที่สดใสยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายร่วมกันทั้งในด้านความยั่งยืน การเป็นธนาคารที่มีความรับผิดชอบ และการพัฒนาชุมชน” นายเคนอิจิ กล่าวเสริม

ปีแห่งความท้าทาย

ข้อมูลจากวิจัยกรุงศรีระบุว่า ประเทศไทยกำลังเดินอยู่บนเส้นทางของการฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายสาธารณะ นโยบายสนับสนุนต่าง ๆ ของภาครัฐ ตลอดจนกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวที่กำลังฟื้นตัว และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน อย่างไรก็ดีขณะที่แรงส่งภายนอกสร้างความท้าทายต่อโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืน ภาวะทางการเงินที่ตึงตัวขึ้น และภัยแล้งที่เพิ่มความซับซ้อนขึ้นทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัวลง

เป้าหมายและทิศทางทางธุรกิจ

แผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ประจำปี 2567-2569 เป็นมากกว่าแผนงาน โดยแก่นหลักของแผนฉบับนี้คือความมุ่งมั่นที่จะก้าวสู่การเป็น “ธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเพื่อความยั่งยืน” ที่สะท้อนถึงคำมั่นสัญญาขององค์กรสู่อนาคตที่ความยั่งยืนและการสร้างแข็งแกร่งในระดับภูมิภาคเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวแผนธุรกิจฉบับนี้จะมุ่งเป้าไปยังสามประการหลัก ได้แก่ การเป็นธนาคารชั้นนำเพื่อความยั่งยืน  การขับเคลื่อนความเป็นผู้นำระดับภูมิภาค  และการรักษาตำแหน่งผู้นำในธุรกิจหลักของธนาคาร

จากเป้าหมายด้าน ESG สู่ความสำเร็จทางการเงิน

กรุงศรีในฐานะผู้นำด้านความยั่งยืน เราได้วางเป้าหมายในการเพิ่มการสนับสนุนทางการเงินให้แก่โครงการธุรกิจเพื่อสังคมและความยั่งยืนที่ 100,000 ล้านบาทภายในปี 2573 และให้การสนับสนุนลูกค้าในการออกผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อความยั่งยืน โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา กรุงศรีมียอดสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนเพิ่มขึ้น  71,000 ล้านบาทจากฐานปี 2564 โดยแผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่นี้ กรุงศรีจะมุ่งขยายบริการทางการเงินเพื่อความยั่งยืนเพื่อเข้าถึงฐานลูกค้า SME และลูกค้ารายย่อยที่หลากหลายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารยังให้ความสำคัญกับการจัดหาเงินทุนเพื่อช่วยเหลือกลุ่มลูกค้าธุรกิจ และ SME ในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำ ควบคู่ไปกับการสนับสนุนในเรื่องกติกาด้านการเงินและภาษี (Taxonomy) ที่จำแนกประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับความเข้มของค่าคาร์บอนโดยใช้ระบบสัญญาณไฟจราจรเป็นเกณฑ์

การสร้างคุณค่าให้กลุ่มลูกค้า

เครือข่ายของกรุงศรี และ MUFG ในปัจจุบันครอบคลุม 9 ใน 10 ประเทศในอาเซียน โดยกรุงศรีมีบริษัทในเครือ กระจายอยู่ใน 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชา และ สปป.ลาว ที่ให้บริการลูกค้าแล้วกว่า 17 ล้านราย การดำเนินงานในอาเซียนของกรุงศรีส่งเสริมขีดความสามารถของธนาคารในหลายแง่มุม ตั้งแต่โมเดลธุรกิจและผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอ ไปจนถึงการระดมทุน การบริหารความเสี่ยง โซลูชันดิจิทัล และนวัตกรรมที่หลากหลาย

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการสร้างรากฐานอันแข็งแกร่งให้กับกรุงศรีในการเป็นธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาค และกรุงศรีมุ่งมั่นเดินหน้าใช้ประโยชน์จากเครือข่าย MUFG เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตและเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้าทั้งในประเทศไทยและภูมิภาค ผ่านการนำเสนอโซลูชันการจับคู่ธุรกิจแบบครบวงจรด้วยแพลตฟอร์ม Krungsri Business Link และบริการ Krungsri ASEAN Link ที่จะช่วยเชื่อมโยงลูกค้าธุรกิจชาวไทยกับพันธมิตรทางธุรกิจที่เชื่อถือได้เข้าด้วยกันผ่านเครือข่ายของธนาคารที่มีอยู่ในอาเซียนและญี่ปุ่น

ตอกย้ำจุดแข็งของกรุงศรี

กรุงศรีมุ่งมั่นที่จะสร้างความแข็งแกร่งและรักษาตำแหน่งผู้นำในธุรกิจหลักของธนาคาร เพื่อให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยจะเน้นเรื่องดิจิทัล ดาต้า ระบบนิเวศและการสร้างพันธมิตรเป็นแกนสำคัญในการดำเนินงาน สำหรับกลุ่มธุรกิจลูกค้ารายย่อยและลูกค้าบุคคล กรุงศรียังคงเดินหน้ากลยุทธ์ One Retail โดยการใช้ดาต้าเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าเป็นหลัก สำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจ กรุงศรีจะขยายขีดความสามารถด้านธุรกรรมการเงินทั้งในและต่างประเทศในรูปแบบ Banking as a Service โดยพัฒนาร่วมกับพันธมิตรจากทั้งในไทยและต่างประเทศ และสำหรับในด้าน IT และดิจิทัล กรุงศรีจะเดินหน้าลงทุนในดิจิทัลแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีที่ยึดความต้องการลูกค้าเป็นหลัก รวมถึงการใช้ AI และ Machine Learning เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์และการให้บริการกับลูกค้าในทุกกลุ่ม ผ่านทุก Touchpoint ทั้งสาขา ออนไลน์ โมบายแอป และ Call Center

กรุงศรีคาดว่าในปี 2567 เงินให้สินเชื่อจะเติบโตที่ 3-5% และตั้งเป้าหมายของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ  (NIM) อยู่ที่ 3.8-4.1% ธนาคารคาดว่าอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL Ratio) อยู่ที่ราว 2.50-2.75% ขณะที่อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (cost-to-income ratio) จะอยู่ในระดับ mid-40%

เพราะทุกคนมีภาพความงดงามของกรุงเทพฯ ในใจที่แตกต่างกัน ครั้งแรกกับเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 (Bangkok Design Week 2024) ที่กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจุดประกายไอเดียสร้างสรรค์ ภายใต้คอนเซปต์ “กรุงสี by กรุงศรี” (The City of Colours) ชวนทุกคนมาออกแบบและแชร์ไอเดียสีสันของกรุงเทพฯในแบบที่คุณอยากเห็น ให้กรุงเทพฯสดใสและน่าอยู่ยิ่งขึ้นและสามารถตอบโจทย์กับทุก ๆ รูปแบบของการใช้ชีวิตในแต่ละช่วงวัยได้อย่างครอบคลุมและเหมาะสม เพื่อให้ทุกคนได้มีชีวิตง่ายได้ทุกวัน พบกันได้ตั้งแต่ 27 มกราคม ถึง 4 กุมภาพันธ์ 2567 ณ อาคารไปรษณีย์กลางบางรัก กรุงเทพฯ

นางสาวมิ่งขวัญ พัฒนวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานบริหารแบรนด์และการตลาดองค์กร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “กรุงเทพฯไม่เพียงเป็นเมืองหลวง แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของโมเดลการพัฒนาในหลายมิติ รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยกรุงศรีพร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนกรุงเทพฯให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ มีศักยภาพสำหรับการใช้ชีวิตในแต่ละช่วงวัยอย่างแท้จริง ซึ่งเทศกาล Bangkok Design Week 2024 ครั้งนี้ก็มีโจทย์สนุก ๆ กับแนวคิดที่อยากให้กรุงเทพฯ เป็น Livable scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดีที่น่าอยู่สำหรับทุกคน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของแบรนด์กรุงศรีที่อยากเห็นทุกคนมี “ชีวิตง่าย ได้ทุกวัน” เราไม่เพียงดูแลในเรื่องทางการเงิน แต่ยังอยากเห็นทุกคนมีความสุขกับการใช้ชีวิตในทุกๆ วันมากยิ่งขึ้น”

“กรุงสี by กรุงศรี” (The City of Colours) ออกแบบผลงานดังกล่าวเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าร่วม โดยการให้คนนึกถึงกรุงเทพฯ เชิญชวนให้ผู้เข้าชมงานได้ฉุกคิดกับคำถาม อยากเห็นกรุงเทพฯสีอะไร และนำทุกคนเข้าไปอยู่ในกรุงเทพฯในสีที่อยากเห็นผ่านกิจกรรมการถ่ายภาพ พร้อมสรุปผลของผู้เข้าร่วมชมงานกับสีของกรุงเทพฯที่ทุกคนอยากเห็น ซึ่งเชื่อว่าจุดเล็ก ๆ ที่จุดประกายให้เกิดการต่อยอด เพื่อสร้างสรรค์กรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่สดใสและน่าอยู่ยิ่งขึ้น เป็นเมืองที่จะส่งเสริมให้เราได้ใช้ชีวิตง่าย ๆ ในแบบของทุกคนเอง

นอกจากนี้ เพื่อช่วยสนับสนุนกรุงเทพฯ น่าอยู่ขึ้น กรุงศรีจะนำเชือก ซึ่งเป็นวัสดุหลักในงานออกแบบครั้งนี้ นำกลับไปใช้ซ้ำ (Reuse)

พบกับ “กรุงสี by กรุงศรี” (The City of Colours) พร้อมโซนกิจกรรมถ่ายภาพ เลือกกรุงเทพฯที่คุณอยากเห็น รับภาพถ่าย ทั้งตัวพรินต์ (Print) และไฟล์ที่ทุกคนสามารถแชร์กรุงเทพฯที่คุณอยากเห็น ผ่านโลกโซเชียลได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ถึง 4 กุมภาพันธ์ 2567 ณ อาคารไปรษณีย์กลางบางรัก กรุงเทพฯ

 

“กรุงศรี ฟินโนเวต” เผยผลการดำเนินงานตลอด 12 เดือนของปี 2023 ที่ผ่านมา ถือว่าประสบความสำเร็จสามารถ deploy capital ได้มากถึง 75% จากแผนงานเป้าการลงทุนตามที่ได้ตั้งเป้าไว้ และปี 2024 พร้อมทะยานอย่างต่อเนื่อง วางกลยุทธ์เสริมแกร่งครบ 360 องศา เพื่อที่จะนำพาสตาร์ทอัพไทยให้เติบโตมากที่สุดอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน

“คุณแซม ตันสกุล” MD, Krungsri Finnovate ที่มีประสบการณ์ ในแวดวงธนาคารมานานกว่า 20 ปี เผยว่า “ปี 2023 นั้น Krungsri Finnovate ได้ลงทุนในสตาร์ทอัพเรื่อยมา พร้อมกับเปิด Finnoventure Fund กองทุนสตาร์ทอัพของไทยที่เปิดให้นักลงทุนรายย่อยเข้ามาร่วมลงทุนได้ บนความตั้งใจที่ต้องการสร้างไทยสตาร์ทอัพให้เป็น “ยูนิคอร์น” เพราะหมายความว่าเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าตลาดมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดันเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้น ถึงแม้ว่าในปี 2023 กลุ่มสตาร์ทอัพ ในไทยอาจดูเงียบเหงา เนื่องจากเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงขาลง แต่ “Krungsri Finnovate” ก็ไม่ได้หยุดการลงทุน โดยปีที่ผ่านมา (รวมทั้งปี2022 และ 2023) เราได้ลงทุนไปแล้วประมาณ 1,200 ล้านบาท ใน 14 กิจการสตาร์ทอัพจากกองทุนที่ชื่อว่า “Finnoventure Private Equity Trust 1” นอกจากนี้ต้นปีที่ผ่านมาได้เปิด Accelerator ที่ชื่อว่า Krungsri Upcelerator ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยรับสตาร์ทอัพจากภาคเหนือเข้ามาร่วมบ่มเพาะด้วยกัน”

“เช่นเดียวกัน ปี 2023 “Krungsri Finnovate” ก็ถือว่าเป็นหน่วยงาน CVC ที่ได้รับความน่าเชื่อถือ จนหลายองค์กรต่างมอบรางวัลให้กับเรา ผมขอเป็นตัวแทน ขอขอบคุณมากๆ ที่เห็นความตั้งใจของทีมงาน ไม่ว่าจะเป็นรางวัลจาก Digital Banking, หรือว่า Innovation Awards ได้โอกาสพูดบนเวทีของสื่อระดับประเทศอย่าง The People เพื่อแสดงวิสัยทัศน์ภายใต้บริบทของ “Game Changer” ภูมิใจมากที่เราได้รับโอกาสเป็นองค์กร Game Changer ของประเทศไทย ที่จะสร้าง Startup ของประเทศไทย ให้เป็น Unicorn แล้วก็เข้าสู่ IPO และล่าสุดกับการได้รับการคัดเลือกส่งท้ายปีของ Chosen by The People 2023 หมวดเทคโนโลยี ถือเป็นกำลังใจให้พวกเราตั้งใจมากยิ่งขึ้นไปครับ”

นอกจากนี้ “คุณแซม ตันสกุล” MD, Krungsri Finnovate ยังได้เผยถึงแผนงานปี 2024 ว่า “ปี 2024 เรายังคงให้ความสำคัญกับ IMPACT และ Digital Transformation เพื่อลงทุนในสตาร์ทอัพตัวเล็กๆ ที่จะทำร่วมกับ "คุณป้อม ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ" เพื่อช่วยให้สตาร์ทอัพเติบโตและประสบความสำเร็จด้วยการสร้างความยั่งยืน พัฒนาเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยเตรียมเปิดกองทุนใหม่ที่ชื่อว่า “Finno Efra Fund” เพื่อระดมทุน ระดมเงินเข้ามา เพื่อที่จะลงทุนในกิจการสตาร์ทอัพที่อยู่ใน Early Stage ตั้งแต่ Seed จนถึง Pre-Series A โดยโฟกัสไปที่กิจการในไทยก่อนเป็นหลัก และอาจรวมถึงเวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้นด้วย นอกจากนี้ “Krungsri Finnovate” ยังมี FINNOVERSE & FUTURISTIC FUND ที่จะลงทุนสูงสุด 6 รายการ ในที่นี้เป็น 3 การลงทุนใหม่ สร้าง ESG ที่เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน ซึ่งมาจาก Environment, Social, และ Governance และสตาร์ทอัพในกลุ่มเทคโนโลยีรักษ์โลกที่น่าจับตามองที่สุดในตอนนี้ ในเชิงกลยุทธ์ไปสู่ AI และความปลอดภัยทางไซเบอร์”

“นอกจากเปิดกองทุนแล้ว ก็จะเปิด Accelerator ที่ชื่อว่า “Finno Efra Accelerator” เพื่อให้สตาร์ทอัพเหล่านี้ มาบ่มเพาะในโปรแกรมของเรา และก็ได้รับเงินทุนเช่นเดียวกัน โดยมีเป้าหมายจะลงทุนทั้งหมดถึง 50 กิจการสตาร์ทอัพ เพื่อให้เติบโต จาก Early Stage เข้าสู่ Series A ถัดไป ซึ่ง Series A จะมีกองทุนแม่ในการรับเข้าไปลงทุนต่อ”

 

“สำหรับ Accelerator ปีหน้า เราจะมีอย่างน้อย 10 สตาร์ทอัพ ที่จะได้เข้าร่วมในกิจกรรม Accelerator ที่ชื่อว่า “Finno Efra Accelerator” และเมื่อผ่านโรงเรียนนี้ไปเรียบร้อยแล้ว ก็มีสิทธิ์มากที่จะได้รับการลงทุนต่อในกองทุนนี้ โดยจะสอนเป็นเวลา 4 เดือน มีเมนเทอร์ โดยเลือกสตาร์ทอัพเข้าทีม และจะเริ่มการสอนตั้งแต่เรื่อง mindset และการจะเป็นผู้ประกอบการต้องทำอย่างไรบ้าง ให้ลงตลาดจริง สอนเรื่องการพัฒนาโปรดักส์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

“แน่นอนสำหรับสตาร์ทอัพ ตอนนี้เตรียมตัวได้เลย ถ้าท่านอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า Seed Stage ถึง Pre-Series A ก็คือเริ่มมี Traction แล้ว เริ่มขายของได้แล้ว แล้วก็อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า Digital Transformation หรือกลุ่ม Impact ไม่ว่าจะเป็น Tech อะไรก็แล้วแต่ สามารถเตรียมตัว เตรียมความพร้อมที่จะสมัคร ติดตามพวกเราได้ใน Facebook: Krungsri Finnovate และติดตามเรื่องการสมัครได้ภายในต้นปี โดย “Krungsri Finnovate” หวังว่าจะได้รับการตอบรับอย่างมากมาย และแน่นอนผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่ 10 ทีมสุดท้าย และสามารถจบ Accelerator อย่างสวยงาม ก็จะได้รับเงินลงทุนจากกองทุน Finno Efra Fund เช่นเดียวกัน”

“สุดท้ายแล้ว “Krungsri Finnovate” ยังมีแผนกลยุทธ์ในปี 2024 เกี่ยวกับ ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ และนักลงทุนสัมพันธ์ (Strategic Partnership & Investor Relations) เพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำในภูมิภาค โดยมี

สตาร์ทอัพกว่า 150 โครงการ และสร้าง 1 เมกะโปรเจ็กต์ กิจการร่วมค้า (Joint Venture) และ New Business Model โดยพร้อมเทหมดหน้าตักลงทุนอย่างน้อย 1,000 ล้านบาท” คุณแซม ตันสกุล ปิดท้าย

X

Right Click

No right click