ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดงาน KMUTT Competitiveness Forum 2019” ขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ อาคาร Knowledge Exchange for Innovation Center (KX) ถ.กรุงธนบุรี

โดย ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ หัวหน้าโครงการจัดตั้งศูนย์ฯ ได้แนะนำภารกิจของศูนย์ที่มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการสร้างความสามารถทางการแข่งขันต่างๆ และสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและบริการวิชาการกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนให้คำปรึกษาทางด้านการสร้างความสามารถทางการแข่งขันให้กับองค์กร อีกทั้งพัฒนาบุคลากรของภาครัฐและภาคเอกชนให้สามารถสร้างและขับเคลื่อนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถทางการแข่งขันองค์กรได้

ภายในงานได้รับเกียรติจาก คุณชาญศิลป์ ตรีนุชกร  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บรรยายพิเศษในหัวข้อ “ยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยด้วยนวัตกรรม” เพื่อเป็นการเผยแพร่แนวคิดและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการสร้างความสามารถทางการแข่งขันองค์กรด้วยนวัตกรรมสู่สาธารณะ อันจะส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมและประเทศต่อไปในอนาคต 

การอบรมด้วยรูปแบบของการบูรณาการทฤษฎี กรณีศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของ Industry 4.0 กิจกรรมกลุ่ม และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สอนที่มีประสบการณ์ในภาคอุตสาหกรรมและผู้เข้ารับการอบรม

บริษัท ซีพีแรม จำกัด ร่วมกับ สาขามีเดียอาตส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ร่วมดำเนินโครงการ การประกวดคลิปวิดีโอภายใต้หัวข้อ “คนรุ่นใหม่ไร้ Food Waste” เพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องลดความสูญเปล่าของอาหารในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีส่วนสำคัญในการร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงในการลดความสูญเปล่าของอาหาร รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม โดยการแชร์ไอเดีย สร้างพลังผ่านวีดีโอคลิปความยาว 3 นาที ซึ่งได้รับความสนใจจากนักเรียน นักศึกษา เป็นอย่างมาก ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการกว่า 259 ผลงาน อีกทั้งยังได้มีการดำเนินกิจกรรมสร้างความตระหนักในเรื่องลดความสูญเปล่าของอาหาร หรือ FOOD WASTE ในสถาบันการศึกษาทั่วประเทศกว่า 20 แห่ง รวมถึงได้จัดงานประกาศรางวัลการประกวดคลิปวิดีโอภายใต้หัวข้อ “คนรุ่นใหม่ไร้ Food Waste” ขึ้น ณ โรงละครอักษรา คิงเพาเวอร์ กรุงเทพฯ โดยภายในงานดังกล่าวได้รับเกียรติจากคุณวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด และผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญเลี้ยง แก้วนาพันธ์ ประธานสาขาวิชามีเดียอาตส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประธานในการมอบรางวัล

สำหรับผลการประกาศรางวัลคลิปวิดีโอภายใต้หัวข้อ คนรุ่นใหม่ไร้Food Waste ระดับมัธยมศึกษา รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม ABSTRACT ชื่อเรื่อง   Eat Time Trash . (รับประทาน กาลเวลา อนาคต) จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม HOT MONEY  ชื่อเรื่อง PLEDGE จาก โรงเรียนสตรีวิทยา และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม  Inspiration ชื่อเรื่อง พ้นภัยต่อ Food Waste จากโรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง พร้อมด้วยรางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ทีม Work เรื่อง FoodWar จากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย กับรางวัลชมเชย ทีม Hazel Digital เรื่อง Vision จาก โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม

สำหรับผลการประกาศรางวัลคลิปวิดีโอภายใต้หัวข้อ คนรุ่นใหม่ไร้Food Waste ระดับอุดมศึกษา รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม ทำไมไม่กินข้าวหลามในตู้เย็น ชื่อเรื่อง ทิ้งกันไป ใครเจ็บสุด จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม G-Noon Film  ชื่อเรื่อง อ้าวเดือน จาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม  3511 ชื่อเรื่อง ME จาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมด้วยรางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ทีม Satuboon Production (สาธุบุญ โปรดักชั่น) เรื่อง ขาหมู “ไม่ใช่เพลงแต่เป็นข้าว” จาก มหาวิทยาลัยรังสิต กับทีม ตาปรือ โปรดักชั่น เรื่อง The Value  จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

พร้อมกันนี้ยังได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญเลี้ยง แก้วนาพันธ์, คุณคงเดช จาตุรันต์รัศมี ผู้กำกับภาพยนตร์, คุณคมกฤษ ตรีวิมล ผู้กำกับภาพยนตร์ และคุณสุปราณี ชนะชัย ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซีพีแรม จำกัด  ร่วมเสวนาในหัวข้อ “สถานการณ์ Food Waste กับการเปลี่ยนแปลง” และคุณวีรยุทธ ล้อทองพานิชย์ Executive Producer ร่วมสร้างแรงบันดาลใจ “เทคนิคการทำหนังสั้นสร้างสรรค์สังคมในยุคดิจิตอล” อีกด้วย

ทั้งนี้ ซีพีแรม ดำเนินธุรกิจเคียงข้างสังคมอย่างเกื้อกูล ยังคงเดินหน้าสร้างความตระหนักในการลดความสูญเปล่าของอาหาร ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ลุยปลูกฝังสังคมลดการกินทิ้งขว้าง เพื่อยกระดับสู่ความยั่งยืนทางอาหาร ซีพีแรมยังคงใช้รายได้ 1% ของยอดขายหรือปีละ 150-200 ล้านบาท เดินหน้าวิจัยเพื่อให้เกิดนวัตกรรมอาหารรากฐานแห่งความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอาหาร และร่วมส่งมอบความเป็นอยู่ที่ดีให้ทุกคน

ศูนย์สร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม โดย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (IDE Center by UTCC) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีขับเคลื่อนนโยบายนวัตกรรมจัดกิจกรรมพัฒนาค่าย Design Thinking ให้กับอาจารย์ผู้สอนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 1-4 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมานำโดย ดร.เอ็ดเวิร์ด รูเบซ ผู้อำนวยการหลักสูตร ศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (IDE Center by UTCC) อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผู้ประกอบการและผู้อำนวยการหลักสูตร

โดยวัตถุประสงค์ของจัดอบรมหลักสูตรครั้งนี้เพื่อเป็นแกนกลางในการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ผู้สอน และระบบพี่เลี้ยง ในการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมในมหาวิทยาลัยเพื่อช่วยให้คำปรึกษาแก่นิสิต นักศึกษาและนักวิจัยออกแบบและพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการเป็นไปตามนโยบายสนับสนุนมหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ นำเอาแนวคิด“Design Thinking”มาฝึกและพัฒนาผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตามกระบวนการ ได้แก่ “ Emphatize, Define, Prototype, Ideate และ Test” โดยเริ่มจากการเรียนรู้เพื่อเข้าใจถึงปัญหาอย่างละเอียดและเก็บข้อมูลส่วนสำคัญเชิงลึกของปัญหานำมาหาบทสรุปเมื่อเราได้บทสรุปแล้วก็จะนิยามความต้องการหรือปัญหาที่เกิดขึ้นและสร้างทางเลือกหรือวิธีแก้ไข จากนั้นแชร์ไอเดีย เพื่อดูผลลัพธ์ว่าเป็นอย่างไร เมื่อได้คำตอบก็นำมาพัฒนาวิธีแก้ไขนั้นให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ IDE Center by UTCC ยังมีกิจกรรมดีๆ ที่จะช่วยสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ผู้ที่สนใจเป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (IDE Center by UTCC)  หรือผ่านทาง www.idecenter.utcc.ac.th และ www.facebook.com/idecenter สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-697-6867 ในเวลาทำการ

Page 5 of 5
X

Right Click

No right click