เนื่องในวันช้างไทย 13 มีนาคม องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก World Animal Protection เปิดผลรายงาน ‘เกิดมาเพื่อสร้างกำไร’: ความจริงของการทำฟาร์มสัตว์ป่าทั่วโลก (Bred for profit: The truth about global wildlife farming) พบว่ามีสัตว์ป่าที่ถูกแสวงหาประโยชน์ทางการค้าประมาณ 5.5 พันล้านตัว มูลค่าธุรกิจรวมหลายหมื่นล้านบาทต่อปี สัตว์ป่าเหล่านี้จะถูกกักขัง เพาะพันธุ์ เพิ่มจำนวนในลักษณะของการทำธุรกิจ ‘ฟาร์มสัตว์ป่า’ จากนั้นก็จะผ่านการทารุณกรรมหลากหลายรูปแบบ อาทิ การฝึกด้วยวิธีที่โหดร้ายทารุณเพื่อให้ช้างเชื่องพอที่จะมาเป็นสัตว์เลี้ยง หรือใช้เพื่อสร้างความบันเทิงหรือแสดงโชว์ช้างตามสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังรวมถึงสัตว์ป่าอื่นๆ ที่ถูกเลี้ยงเพื่อนำชิ้นส่วนอวัยวะมาผลิตเป็นเครื่องประดับ วัตถุดิบสำหรับอาหารในจานที่ดูหรูหราพิสดาร สินค้าแฟชั่น หรือยาแผนโบราณ

จากข้อมูลพบว่า สัตว์ป่าในฟาร์มจำนวนมากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่ ต้องทนทุกข์ทรมานจากการขาดสารอาหาร โรคภัยไข้เจ็บ แสดงพฤติกรรมที่เกิดจากความเครียด ได้รับบาดเจ็บ และมีบาดแผลที่ติดเชื้อ อีกทั้งเมื่อสัตว์ต้องอยู่รวมกันในสถานที่ที่คับแคบ ไม่ถูกสุขลักษณะ ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อโรค หรือนำไปสู่การอุบัติโรคระบาดระหว่างคนกับสัตว์ ซึ่งไม่ต่างอะไรจากวิกฤตการณ์โควิด-19

นิค สจ๊วร์ต ผู้อำนวยการฝ่ายแคมเปญสัตว์ป่า องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เผยว่า สัตว์ป่าได้รับการปฏิบัติเหมือนเป็น ‘สินค้า’ หรือเป็นเพียงส่วนหนึ่งในสายการผลิตที่โหดร้ายในอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะถูกเพาะพันธุ์ให้เป็นสัตว์เลี้ยง เพื่อใช้ในกิจกรรมล่าสัตว์ เพื่อสร้างความบันเทิงในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นำมาเป็นยาแผนโบราณ หรือสินค้าแฟชั่น การทำฟาร์มสัตว์ป่าที่โหดร้ายจะต้องยุติลงตั้งแต่ตอนนี้ เราสนับสนุนให้สัตว์ป่ามีชีวิตในถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ กิจกรรมเพื่ออนุรักษ์สัตว์ป่าควรมุ่งไปที่การลดความต้องการใช้สัตว์ป่า ยุติการใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่า และส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสัตว์ป่า ซึ่งทั้งหมดนี้ ในทางหนึ่งจะปกป้องเราทุกคนจากความเสี่ยงของโรคติดต่อจากสัตว์ป่าสู่คน

ผลวิจัยพบหลักฐานน้อยมากที่สนับสนุนคำกล่าวอ้างที่ว่า การทำฟาร์มสัตว์ป่าเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่า และเป็นการอนุรักษ์จำนวนประชากรสัตว์ในป่า ในทางตรงกันข้าม กลับเพิ่มความเสี่ยงของการลักลอบจับสัตว์ป่าจากถิ่นที่อยู่ธรรมชาติ เพื่อนำมาผสมพันธุ์ ส่งขายไปยังอุตสาหกรรมต่างๆ และยังเป็นที่น่าตกใจว่า สัตว์ป่าบางสายพันธุ์กลับมีจำนวนประชากรในฟาร์มหรือกรงเลี้ยงมากกว่าที่อยู่ในป่าด้วยซ้ำ

วิกฤตจากฟาร์มสัตว์ป่าที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน ได้แก่

  • การทำฟาร์มหมีในประเทศจีน – พบว่ามีการกักขังหมี 20,000 ตัว เพื่อเจาะเอาน้ำดีหมีในฟาร์มหลายสิบแห่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมน้ำดีหมีในจีนซึ่งมีมูลค่า 3.5 หมื่นล้านบาท เพื่อเป็นยาแผนโบราณ
  • การทำฟาร์มสิงโตและเสือในแอฟริกาใต้ - พบว่ามีการเพาะพันธุ์สัตว์ตระกูลเสือสายพันธุ์ต่างๆ ประมาณ 8,000 ตัว ในฟาร์มที่เป็นที่รู้จัก 366 แห่ง และใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย รวมถึงเพื่อสร้างความบันเทิงให้กับนักท่องเที่ยว ในกิจกรรมล่าสัตว์ และการส่งออกชิ้นส่วนของอวัยวะไปยังหลายประเทศในเอเชียเพื่อเป็นยาแผนโบราณ ซึ่งมีมูลค่ารวมถึง 1.5 พันล้านบาท
  • สำหรับการเพาะพันธุ์ช้างในประเทศไทยถูกจัดให้เป็นการทำฟาร์มสัตว์อีกรูปแบบหนึ่งเพราะประเทศไทยมีจำนวนประชากรช้างถูกผสมพันธุ์เชิงพาณิชย์ในสภาพที่ถูกกักขัง มีการซื้อขายส่งต่อ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำช้างไปใช้งาน สร้างกำไรซึ่งขั้นตอนการผสมพันธุ์ช้างในประเทศไทยโดยทั่วไปเริ่มจากเจ้าของช้างจ่ายเงินเพื่อเช่าช้างพ่อพันธุ์มาผสมพันธุ์กับช้างตัวเมีย และหลังจากที่ช้างคลอดลูก 1-2 ปี ลูกช้างที่ได้จะถูกนำไปขาย หลังจากนั้นช้างตัวเมียก็จะถูกผสมพันธุ์อีกครั้ง เป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อยๆ ประมาณการตัวเลขช้างในธุรกิจท่องเที่ยวของไทยเพิ่มขึ้น 134% จากปี 2553-2563 กล่าวคือ มีลูกช้างเกิดขึ้นมาเข้ารับการฝึกด้วยวิธีการที่โหดร้ายทารุณเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวกว่า 1,100 ตัว ในช่วงระยะเวลาเพียง 10 ปี

หทัย ลิ้มประยูรยงค์ ผู้จัดการโครงการสัตว์ป่า องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวว่า “นักท่องเที่ยวจะจ่ายเงินเพื่อทำกิจกรรมใกล้ชิดกับช้าง เช่น เล่นกับช้าง ป้อนอาหารช้าง ขี่ช้าง อาบน้ำช้าง หรือดูช้างแสดงพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ ที่ผ่านมาธุรกิจสถานที่ท่องเที่ยวช้างไม่ว่าจะจดทะเบียนในลักษณะของบริษัท หรือมูลนิธิ ต่างก็ใช้ประโยชน์จากช้าง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ดูแลสถานที่และสวัสดิภาพช้างอย่างจริงจัง จากงานศึกษายังพบว่าสภาพแวดล้อมดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อการเป็นจุดแพร่ระบาดของโรคจากคนสู่สัตว์ ทั้งวัณโรค หรือแม้แต่โรคฉี่หนู เนื่องจากมีการตรวจพบเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวในบริเวณพื้นที่ปางช้าง  ดังนั้น นอกจากรัฐจะต้องมีการสร้างกลไกเพื่อตรวจสอบความโปร่งใสของสถานที่เหล่านั้นแล้ว ยังต้องมีแนวทางควบคุมการผสมพันธุ์ช้าง เพื่อหยุดการต่อยอดความทุกข์ทรมานของช้างแบบไม่รู้จบ”

ช้างเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากเรายังมีเวลาตราบเท่าชีวิตที่เหลืออยู่ของช้าง ที่จะเริ่มวางแผนเตรียมการเพื่อหยุดวงจรของการนำช้างมาใช้ประโยชน์ โดยมองหาช่องทางประกอบอาชีพทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการ รวมทั้งแรงงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจสถานที่ท่องเที่ยวช้างให้มองไปข้างหน้าถึงอนาคตที่คนจะเลิกกักขังและใช้ประโยชน์จากช้างเชิงพาณิชย์

“เนื่องในวันช้างไทย ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนหยุดสนับสนุนกิจกรรมที่ทำร้ายช้าง และผ่านกฎหมายที่ปกป้องช้างอย่างแท้จริง ร่วมแสดงพลังลงชื่อสนับสนุนเพื่ออนาคตที่ดีกว่าของช้างไทยได้ที่ https://noelephantshow.worldanimalprotection.or.th/

รายงาน ‘เกิดมาเพื่อสร้างกำไร’ ความจริงของการทำฟาร์ม์สัตว์ป่าทั่วโลก (Bred for profit: The truth about global wildlife farming) (https://www.worldanimalprotection.or.th/bred-for-profit)

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย เปิดโครงการ “กองทุนช่วยเหลือเพื่อไถ่ชีวิตช้าง” โดยมีเป้าหมายเพื่อนำเงินไปช่วยเหลือช้างออกจากสถานที่เลี้ยงดูที่มีสภาพไม่เหมาะสม และมีสวัสดิภาพต่ำ ให้พ้นจากวงจรชีวิตที่ทุกข์ทรมานจากการถูกกักขังและถูกฝึกด้วยวิธีการที่โหดร้ายเพื่อร่วมทำกิจกรรมกับนักท่องเที่ยว เช่น ขี่ช้าง อาบน้ำช้าง โชว์ช้าง ฯลฯ อีกทั้งช้างเหล่านี้ยังต้องถูกผสมพันธุ์อย่างไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ที่เรียกว่า “การผสมพันธุ์เชิงพาณิชย์” เพื่อการแสวงหาประโยชน์จากลูกช้างเกิดใหม่ซึ่งต้องถูกพรากแม่พรากลูก จนนำเข้าสู่วงจรชีวิตที่ทุกข์ทรมานอย่างไม่มีวันสิ้นสุด โดยกองทุนนี้จะสามารถช่วยไถ่ชีวิตช้างอย่างยั่งยืนโดยมั่นใจได้ว่าช้างทุกตัวที่ได้รับการไถ่ตัว จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดชั่วอายุขัย และไม่ต้องถูกส่งกลับไปทำงานเพื่อสร้างความบันเทิงให้กับนักท่องเที่ยวอีกต่อไป

“คำแพง” ช้างเพศเมีย อายุ 54 ปี ในอดีตถูกบังคับให้ทำงานอย่างหนัก ตั้งแต่งานลากซุง และกิจกรรมที่สร้างความบันเทิงแก่นักท่องเที่ยว ทำให้มีสภาพร่างกายที่ซูบผอมมากอย่างเห็นได้ชัด ตาบอดหนึ่งข้าง และไม่เหลือฟันสำหรับเคี้ยวอาหารอีกต่อไป นอกจากนี้ ยังพบร่องรอยของความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสเมื่อคำแพงทำงานไม่ได้ ก็จะถูกล่ามโซ่ไม่ให้เคลื่อนที่ไปไหนทั้งวัน ทำได้เพียงโยกตัวไปมาอย่างรุนแรง ซึ่งบ่งบอกถึงสภาวะความเครียดของช้าง “คำแพง” เพิ่งได้รับชีวิตใหม่ โดยการช่วยเหลือจากองค์กร Unchained Elephants ให้มีโอกาสได้ใช้ชีวิตช่วงบั้นปลายที่สงบสุขอย่างยั่งยืน โดยอาศัยอยู่ที่มูลนิธิสมบูรณ์เลกาซี่ จังหวัดกาญจนบุรี หนึ่งในปางช้างเป็นมิตรกับช้างที่องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

“คำแพง” คือหนึ่งในตัวอย่างของช้างอีกกว่า 3 พันตัว ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่กำลังอยู่อย่างทุกข์ทน และรอคอยชีวิตใหม่ที่มีอิสระตามธรรมชาติ อย่างที่สัตว์ป่าทุกตัวควรจะได้รับ “กองทุนช่วยเหลือเพื่อไถ่ชีวิตช้าง” จึงเป็นสุขสุดท้ายที่จะทำให้ช้างได้พบกับบั้นปลายของชีวิตที่มีความสุข โดยไม่ต้องมีชีวิตที่เสี่ยงต่อการถูกนำกลับไปใช้งานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่โหดร้ายทารุณ

ปัจจุบันองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ได้ทำงานร่วมกับปางช้างที่มีสวัสดิภาพการเลี้ยงดูช้างระดับสูงจำนวน 10 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งจากการทำงานร่วมกับปางช้างเหล่านี้ ทำให้ได้เห็นถึงปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ นั่นคือค่าใช้จ่ายที่สูงมากเพื่อไถ่ชีวิตช้างให้เป็นอิสระจริง ๆ เพื่อไม่ทำให้ช้างต้องมีชีวิตที่เผชิญความเสี่ยงต่อการถูกนำกลับไปใช้งานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่โหดร้ายทารุณอีกต่อไป ดังเช่นตัวอย่างความสำเร็จในการช่วยเหลือ “คำแพง” ทุกวันนี้ประเทศไทยยังมีช้างอีกจำนวนมากที่กำลังอยู่อย่างทุกข์ทน และรอคอยชีวิตใหม่ที่เป็นอิสระตามธรรมชาติ อย่างที่สัตว์ป่าทุกตัวควรจะได้รับ “กองทุนช่วยเหลือเพื่อไถ่ชีวิตช้าง” จึงเป็นสุขสุดท้ายที่แท้จริง ที่จะทำให้ช้างได้พับกับบั้นปลายของชีวิตที่มีความสุข

สำหรับ “ปางช้างที่เป็นมิตรต่อช้าง” ช้างแต่ละตัวที่ปางช้างแหล่านี้จะได้ใช้ชีวิตตามวิถีธรรมชาติไม่มีกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสัมผัสช้าง ไม่มีการบังคับขี่ช้าง ไม่มีการแสดงโชว์ ไม่มีกิจกรรมอาบน้ำช้าง ถูตัวช้าง ฯลฯ ช้างได้กินอาหารที่หลากหลาย มีสารอาหารที่จำเป็นและเพียงพอ ไม่ต่างจาก “คำแพง” ช้างทุกตัวมีสวัสดิภาพดีขึ้นทั้งร่ายกายและจิตใจ มีความสุขเพิ่มขึ้น พฤติกรรมต่าง ๆ ที่แสดงออกเปลี่ยนไปในเชิงบวก ทำให้ทั้งเจ้าของปางช้าง ควาญช้าง รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่ได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่นี้ มีความสุขจากการมอบความรักที่แท้จริงให้แก่ช้าง โดยพวกเราในฐานะนักท่องเที่ยวเป็นเพียงผู้เฝ้าดูชีวิตที่มีความสุขในแบบธรรมชาติของช้างเหล่านั้น 

ในช่วงเดือนแห่งความรักนี้ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก หวังที่จะเห็นช้างไทยที่เรารัก สัตว์ตัวยักษ์ที่แสนฉลาด น่ารัก และอบอุ่น ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปัจจุบัน เป็นช้างรุ่นสุดท้ายของประเทศไทยที่ต้องวนเวียนอยู่ในวงจรแห่งความโหดร้ายทารุณนี้  เราทุกคนสามารถส่งมอบความรักที่แท้จริงให้แก่ช้างได้มีชีวิตใหมผ่าน “กองทุนช่วยเหลือเพื่อไถ่ชีวิตช้าง” ด้วยการบริจาคให้กับ มูลนิธิพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (ประเทศไทย) ซึ่งจะสามารถช่วยให้ช้างให้ได้มีสวัสดิภาพและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าสังคมต้องการให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวช้างทั่วประเทศ ปรับเปลี่ยนแนวทางการดูแลช้างให้ได้มาตรฐานด้านสวัสดิภาพและสนับสนุนการท่องเที่ยวด้วยหัวใจที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น 

รายละเอียดโครงการและช่องทางบริจาค

1. เว็บไซต์องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย

https://www.worldanimalprotection.or.th/elephant-rescue-fund

2. โครงการปันบุญ ของธนาคารทหารไทยธนชาติ (Pun boon by TTB)

https://www.punboon.org/foundation/projects/01213003

หรือสแกน QR code ตามไฟล์แนบ (ใช้แอปพลิเคชันธนาคารใดก็ได้)

3. ธนาคารกสิกรไทย K+ Market ผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร KBANK

- เปิดแอปพลิเคชันธนาคารกสิกรไทย

- ไปที่เมนู K+ market

- ค้นหาชื่อ “World Animal Protection”

- เข้าไปที่หน้าของมูลนิธิฯ

- กดเลือกโครงการที่ต้องการบริจาค ชื่อ “กองทุนช่วยเหลือเพื่อไถ่ชีวิตช้าง”

 

จากข่าวคลิปดัง พาสิงโตนั่งรถชมวิว องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก World Animal Protection เห็นถึงกระแสโซเชียลมีเดียที่พร้อมจับตาและตรวจสอบการเลี้ยงสัตว์ป่า สะท้อนถึงความตระหนักของสังคมที่ร่วมต่อต้านการเลี้ยงสัตว์ป่าซึ่งสอดคล้องกับการทำงานขององค์กรฯ ที่เชื่อมั่นว่า “สัตว์ป่าควรมีชีวิตอยู่ในป่า และไม่ควรถูกนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง” สัตว์ป่าเกิดมาพร้อมสัญชาตญาณสัตว์ป่าที่รักอิสระจึงไม่เหมาะที่จะถูกเอามาเลี้ยงไว้ที่บ้านหรือสถานที่จำกัด ซึ่งส่งผลให้สัตว์ป่าเหล่านี้ถูกจำกัดไม่ให้สามารถแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติได้ ทำให้สัตว์ป่าเหล่านี้เกิดความเครียด และส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังต้องเผชิญความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อจากโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (Zoonoses) ดังที่เคยเกิดขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019

นิค สจ๊วร์ต ผู้อำนวยการฝ่ายแคมเปญสัตว์ป่า องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก กล่าวว่า “เหตุการณ์ทารุณกรรมสัตว์ป่าครั้งนี้ สร้างโอกาสให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายไทยได้อย่างเต็มที่ เพราะสัตว์ป่าไม่ใช่สิ่งของ สิงโตและสัตว์ป่าก็ต่างมีความรู้สึก ปัจจุบันนี้สัตว์ป่าถูกเพาะพันธุ์และขายเพื่อหากำไร ทั้งเพื่อนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงรวมถึงเพื่อกิจกรรมล่าสัตว์ป่า การนำสัตว์ป่ามาเป็นส่วนประกอบของยาแผนโบราณ นำซากสัตว์ป่ามาโชว์ ฯลฯ องค์กรฯ กำลังเรียกร้องให้ยุติการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าเพื่อหากำไร และเหตุการณ์นี้ตอกย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่รัฐบาลทั่วโลกจะต้องเร่งดำเนินการและปกป้องสัตว์ป่าจากการแสวงหาผลกำไรที่โหดร้าย”

“องค์กรฯ และผู้สนับสนุนของเราไม่สนับสนุนการผสมพันธุ์สัตว์ป่าเชิงพาณิชย์ ตลอดจนการนำสัตว์ป่าเหล่านั้นมาใช้งานอย่างโหดร้ายทารุณ ผิดธรรมชาติของสัตว์ป่า ที่เห็นได้ชัดคือการแสดงโชว์สัตว์ป่าตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในปัจจุบัน นักท่องเที่ยวต่างชาติรวมไปถึงคนไทยต่างตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดกระแสต่อต้านการเลี้ยงสัตว์ป่าที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง”

องค์กรฯ เห็นถึงความใส่ใจ และการทำงานอย่างรวดเร็วของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อตรวจยึดสิงโตสองตัวที่ปรากฎในข่าว อย่างไรก็ตามองค์กรฯ ยังคาดหวังที่จะได้เห็น กรมอุทยานแห่งชาติฯ เร่งเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อให้สาธารณชนได้ตระหนักถึงบทลงโทษของการครอบครองสัตว์ป่าโดยผิดกฎหมาย เข้าใจขั้นตอนการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนได้เห็นสภาพความเป็นอยู่และสวัสดิภาพสัตว์ป่าที่ถูกยึดตามขั้นตอนทางกฎหมาย ที่เหมาะสมกับสัญชาตญาณของสัตว์ป่า

X

Right Click

No right click