คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายการศึกษาพิเศษ ร่วมกับภาคีเครือข่ายการดูแลบุคคลออทิสติกจังหวัดขอนแก่น ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ในการดำเนินการจัดการประชุมวิชาการ เปิดโลกออทิสติก ครั้งที่ 14  “AI  for  Autism : นวัตกรรม AI นำออทิสติกไทย ก้าวไกล สู่โลกดิจิทัล” โดยมี นายพันธ์เทพ เสาโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิด  ดร.สมพร หวานเสร็จ  ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ ระดับ 9  อาจารย์ที่ปรึกษา ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฝ่ายการศึกษาพิเศษ กล่าวต้อนรับ อาจารย์ปริศนา อานจำปา รองผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตฯ ฝ่ายการศึกษาพิเศษ กล่าวรายงาน นายสุภวัฒน์ หนูพริก พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่น กล่าววิสัยทัศน์การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จังหวัดขอนแก่น และมีพิธีมอบเกียรติบัตรประกาศเกียรติคุณ แก่หน่วยงานภาคีเครือข่ายผู้ดูแลบุคคลออทิสติก จังหวัดขอนแก่น และเยาวชนคนพิเศษตัวอย่าง  โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ประมาณ 300 คน ณ ห้องแกรนด์พาวิลเลี่ยน ราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล ขอนแก่น

ดร.สมพร  หวานเสร็จ  กล่าวว่า “การจัดการประชุมวิชาการ  เปิดโลกออทิสติก ครั้งที่ 14  “AI  for  Autism : นวัตกรรม AI นำออทิสติกไทย ก้าวไกล สู่โลกดิจิทัล” ในครั้งนี้ จัดขึ้นในธีมงาน “AI  for  Autism : นวัตกรรม AI นำออทิสติกไทย ก้าวไกล สู่โลกดิจิทัล” ซึ่งนับว่าเป็นตีมงานที่มีความสำคัญและน่าสนใจมาก เพราะยุคปัจจุบัน AI นั้น มีความเกี่ยวข้อง ใกล้ชิดในชีวิตประจำวันของทุกคนมาก และในเกือบทุกวงการ ก็มีการนำ AI มาใช้งานมากขึ้น รวมไปถึงด้านออทิสติกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการจัดการศึกษา หรือทางการแพทย์ ที่จะช่วยเหลือเด็กออทิสติกมากขึ้น เช่น มีการวิจัยโดยทีมผู้เชี่ยวชาญมหาวิทยาลัยเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีการนำ AI มาช่วยวินิจฉัยอาการออทิสติก ในเด็กตั้งแต่เนิ่น ๆ ที่ช่วยวิเคราะห์อาการออทิสติกได้ทันท่วงที เทคโนโลยี AI นี้ก็ยังสามารถใช้กับการรักษาทางไกล หรือการเช็คอาการย้อนหลังได้  หรือการสร้างนวัตกรรมสุดอัจฉริยะ “เก้าอี้กอด OTO” ช่วยผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาการออทิสติก สเปกตรัม ให้รู้สึกปลอดภัยจากการสัมผัสที่เหมาะสม ซึ่งสิ่งประดิษฐ์นี้ ถูกออกแบบและพัฒนาโดย Alexia Audrain ช่างไม้ครุภัณฑ์ชาวฝรั่งเศส และมีการพัฒนางานด้าน AI อีกมากมาย และหวังว่า จะเป็นการเปิดโลกทัศน์อีกมุมมองหนึ่ง และได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการให้ความช่วยเหลือบุคคลที่มีภาวะออทิซึมที่เหมาะสม ตลอดจนเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาและขยายผล ทั้งด้านงานวิจัย บทความ สื่อ นวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาบุคคลที่มีภาวะออทิซึม และบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษต่อไป”

อาจารย์ปริศนา อานจำปา กล่าวว่า “การประชุมวิชาการ  เปิดโลกออทิสติก ครั้งที่ 14 ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักรู้ เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหาร สหวิชาชีพ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาบุคคลที่มีภาวะออทิซึม และบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ แบบองค์รวมในทุกมิติ  เป็นเวทีในการนำเสนอนวัตกรรม ผลการวิจัย แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความคิดเห็น และแสดงความความก้าวหน้าของงานวิจัย ซึ่งจะนาไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ในการพัฒนานวัตกรรม ผลงานวิจัย และการนำไปใช้ประโยชน์ ต่อการพัฒนาประเทศ และเป็นการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผลงานกิจกรรม ของภาคีเครือข่ายการดูแลบุคคลออทิสติก และยกย่องเชิดชูเกียรติ แก่บุคคล หน่วยงานที่มีผลงานดีเด่น และทำคุณประโยชน์ด้านการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา และช่วยเหลือบุคคลที่มีภาวะออทิซึม  การประชุม “AI  for Autism :  นวัตกรรม AI  นำออทิสติกไทย ก้าวไกล สู่โลกดิจิทัล” ในครั้งนี้ได้เชิญผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมอภิปราย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และให้ความรู้ แก่ครู บุคลากรทางการศึกษา บุคลากรทางการแพทย์ นักวิจัย ผู้ปกครอง และผู้ที่สนใจ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ และเป็นแนวทาง ในการให้ความช่วยเหลือบุคคลที่มีภาวะออทิซึม และบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ในจังหวัดขอนแก่น”

นักวิจัยคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำนวัตกรรม “อาหารโฮลมีลเพียวเร่พร้อมทาน” คว้ารางวัล Silver Medal บน เวทีระดับโลก หวังเดินหน้าพัฒนาบุกตลาดอาหารทางการแพทย์ระดับ Worldwide

เทคนิคการแพทย์ มข.อัปเกรด “เตียงอัจฉริยะ ช่วยพลิกตะแคง” ราคาเข้าถึงได้ ทางเลือกป้องกันแผลกดทับ เพื่อผู้สูงอายุติดเตียง พร้อมลงพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ชุมชนผลิตใช้งานเอง และต่อยอดสร้างรายได้ให้ชุมชน

13 เมษายน วันผู้สูงอายุแห่งชาติ หวนกลับมาอีกปี เพื่อย้ำเตือนให้ผู้คนให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ แต่เรื่องราวผู้ดูแลหรือญาติทำร้ายผู้สูงอายุติดเตียงยังคงถูกหยิบยกขึ้นมานำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนถึงความกดดันและภาระของผู้ดูแล และอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต ท่ามกลางสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสังคมผู้สูงอายุ

ล่าสุด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้พัฒนา “เตียงพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย ลดแผลกดทับ” เวอร์ชัน 3 สำหรับผู้สูงอายุติดเตียงในชุมชนโดยเฉพาะขึ้น โดย ศ.ดร.วิชัย อึงพินิจพงศ์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบเต็มรูปแบบแล้ว หลังมีจำนวนผู้สูงอายุมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด เฉพาะใน จ.ขอนแก่น มีผู้สูงอายุถึง 260,000 คน และมีผู้สูงอายุที่ติดเตียงถึง 20,000 คน หรือคิดเป็นประมาณ 5% นับเป็นกลุ่มที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

เตียงพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย ลดแผลกดทับ เวอร์ชัน 3 นี้ มีลักษณะพิเศษ คือ มีความสูง 60-70 เซนติเมตร มีผิวเบาะนุ่มและแน่น กระจายแรงกดได้ดี ลดอาการแผลกดทับที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อ หรือเสียชีวิตได้ โดยใช้วัสดุทำจากไม้และโลหะบางส่วน ซึ่งทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าจะช่วยพลิกตัวให้ผู้ป่วยผ่านสวิตช์ควบคุมที่ผู้สูงอายุสามารถกดใช้งานเองได้ หรือมีผู้ดูแลเพียงคนเดียวก็สามารถดูแลผู้สูงอายุติดเตียงได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้งบประมาณเพียง 10,000 บาทเท่านั้น ทำให้ผู้สูงอายุในชุมชนสามารถเข้าถึงได้

เรารู้ว่าที่ผ่านมาชุมชนเข้าไม่ถึงเตียงที่มีคุณภาพ อย่างชุมชนบ้านโต้น อ.พระยืน จ.ขอนแก่น มีผู้สูงอายุติดเตียงอยู่ถึง 12 คน แต่มีเตียงไม่เพียงพอ เมื่อมีผู้เสียชีวิตก็จะนำเตียงนั้นไปเวียนกันใช้ หากมีเตียงที่ชุมชนเข้าถึงได้ ปัญหานี้ก็จะหมดไป

ด้าน ดร.วรวุฒิ ชมภูพาน อาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ระบุว่า ผู้สูงอายุบางส่วนเป็นผู้ป่วยติดเตียงและต้องการได้รับการดูแล แต่ปัจจุบันบุตรหลานบางส่วนก็มีเวลาดูแลน้อยลง วิทยาลัยสาธารณสุขสิริธร จึงได้ร่วมกับคณะเทคนิคการแพทย์ เพื่อคัดเลือกและส่งเตียงสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งมีคนไข้ได้รับเตียงไปใช้แล้ว 3-4 คน ผลตอบรับดีมาก พบว่าคนไข้ไม่มีปัญหาเรื่องแผลกดทับ

สอดคล้องกับ น.ส.หอมไกล ไชยพิมูล อายุ 57 ปี ชาวบ้าน อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น ระบุว่า ที่ผ่านมาคุณแม่วัย 96 ปี ซึ่งป่วยติดเตียงหลังหกล้มสะโพกหัก นอนอยู่บนพื้น ทุกครั้งจะตะแคงก็ปวดสะโพก จะลุกขึ้นนั่งก็ลำบาก เมื่อมีเตียงช่วยพลิกตะแคงมา ก็ทำให้การดูแลทำได้ง่ายขึ้น และช่วยไม่ให้เป็นแผลกดทับ

คนดูแลก็อายุมากแล้ว ก้มก็ปวด  คุกเข่าไปช่วยตะแคงก็เจ็บ มีเตียงมาก็ช่วยได้เยอะ ช่วงที่มีธุระด่วนต้องออกไปข้างนอก คุณแม่ก็กดสวิตช์พลิกตัวเองได้ บ้านอื่นที่ไม่มีเตียง เห็นเขาเป็นแผลกดทับกันหลายคน ก็อยากให้เขาได้ใช้ด้วย

อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.วิชัย อึงพินิจพงศ์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้บูรณาการองค์ความรู้ต่าง ๆ จากหลากหลายคณะ ลงพื้นที่ชุมชนผ่านโครงการ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบลมาโดยตลอด เพื่อพัฒนาทักษะให้คนในชุมชนทุก ๆ ด้าน รวมถึงด้านผู้สูงอายุด้วย การเปิดอบรม อสม. และ Caregiver หรือ อาสาสมัครท้องถิ่น รวมถึงการเปิดคลินิกกายภาพบำบัด คลินิกห้องปฏิบัติการ และคลินิกแพทย์แผนจีนที่กำลังจะเปิดให้บริการเร็ว ๆ นี้ด้วย

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับกรมประมง บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการว่าด้วย การพัฒนาวิชาการด้านการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ โดยลงนามระหว่าง รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง ทั้งนี้มี ผู้บริหาร ทั้งสองหน่วยงานร่วมงานจำนวนมาก ณ ห้องประชุมสารสิน อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีโอกาสสร้างความร่วมมือทางวิชาการ การพัฒนาวิชาการด้านการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ ภายใต้ขอบเขตและแนวทางที่จะดำเนินการขับเคลื่อนร่วมกัน ซึ่งการบันทึกความเข้าใจครั้งนี้ ได้กำหนดให้มีระยะเวลาในการดำเนินการร่วมกัน 4 ปี นับจากวันลงนาม เพื่อพัฒนาทางวิชาการร่วมกันด้านวิชาการประมง เป็นประโยชน์ด้านวิชาการ การวิจัย การศึกษา และการพัฒนาบุคลากร ผนึกกำลังในการสร้างความเข้มแข็งเพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพภาคประมงให้มีความเข้มแข็งและสร้างประโยชน์สู่เกษตรกรของประเทศ

“ในนามของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอขอบคุณ กรมประมง ที่ให้เกียรติมาร่วมสร้างความร่วมมือนี้กับ และหวังว่าผลงานจากการขับเคลื่อนภายใต้บันทึกความร่วมมือฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรทั้งสองฝ่าย โดยแบ่งปันทรัพยากรทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย บุคลากร นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ วัสดุอุปกรณ์ และข้อมูลด้านการประมงซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะถูกนำไปถ่ายทอดสู่เกษตรกร และเป็นโอกาสอันดีที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นทำหน้าที่รับใช้สังคม ซึ่งเป็นไปตามปณิธานของมหาวิทยาลัย ในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการอุทิศเพื่อสังคม”

นายเฉลิมชัย  สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง  กล่าวว่า กรมประมงในฐานะหน่วยงานของรัฐ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ทำการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ วิจัย วิเคราะห์ ทดลอง ด้านวิชาการทุกสาขาวิชาการของประมง ตลอดจนทำการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวกับการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้า การสร้างความร่วมมือกับวิจัยวิชาการกับหน่วยงานทางการศึกษาที่จะสามารถเพิ่มพูนองค์ความรู้ รวมถึงเป็นแหล่งบริการวิชาการที่มีส่วนร่วมแก้ปัญหาสังคมให้ภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังสามารถขยายความร่วมมือในภูมิภาคอื่น ๆ จนทั่วทั้งประเทศได้อีกกรมประมงก็ยินดีอย่างยิ่ง เพื่อหาแนวทางพัฒนาการประมง การวิจัย วิชาการ และการพัฒนาบุคลากรทั้งสองฝ่าย ยกระดับการประมงไทยให้แข่งขันได้ โดยใช้ทรัพยากรอย่างสมดุล พร้อมผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมที่สร้างความมั่งคั่งแก่เกษตรกร ผนึกกำลังในการสร้างความเข้มแข็งเพิ่มศักยภาพภาคประมงของประเทศไทยต่อไป

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับกรมประมง บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการว่าด้วย การพัฒนาวิชาการด้านการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ โดยลงนามระหว่าง รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ นายเฉลิมชัย  สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง  ทั้งนี้มี ผู้บริหาร ทั้งสองหน่วยงานร่วมงานจำนวนมาก ณ ห้องประชุมสารสิน อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น  กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีโอกาสสร้างความร่วมมือทางวิชาการ  การพัฒนาวิชาการด้านการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ ภายใต้ขอบเขตและแนวทางที่จะดำเนินการขับเคลื่อนร่วมกัน ซึ่งการบันทึกความเข้าใจครั้งนี้ ได้กำหนดให้มีระยะเวลาในการดำเนินการร่วมกัน 4 ปี นับจากวันลงนาม เพื่อพัฒนาทางวิชาการร่วมกันด้านวิชาการประมง เป็นประโยชน์ด้านวิชาการ การวิจัย การศึกษา และการพัฒนาบุคลากร ผนึกกำลังในการสร้างความเข้มแข็งเพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพภาคประมงให้มีความเข้มแข็งและสร้างประโยชน์สู่เกษตรกรของประเทศ

ในนามของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอขอบคุณ กรมประมง ที่ให้เกียรติมาร่วมสร้างความร่วมมือนี้กับ และหวังว่าผลงานจากการขับเคลื่อนภายใต้บันทึกความร่วมมือฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรทั้งสองฝ่าย โดยแบ่งปันทรัพยากรทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย บุคลากร นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ วัสดุอุปกรณ์ และข้อมูลด้านการประมงซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะถูกนำไปถ่ายทอดสู่เกษตรกร และเป็นโอกาสอันดีที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นทำหน้าที่รับใช้สังคม ซึ่งเป็นไปตามปณิธานของมหาวิทยาลัย ในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการอุทิศเพื่อสังคม

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงในฐานะหน่วยงานของรัฐ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ทำการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ วิจัย วิเคราะห์ ทดลอง ด้านวิชาการทุกสาขาวิชาการของประมง ตลอดจนทำการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวกับการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้า การสร้างความร่วมมือกับวิจัยวิชาการกับหน่วยงานทางการศึกษาที่จะสามารถเพิ่มพูนองค์ความรู้ รวมถึงเป็นแหล่งบริการวิชาการที่มีส่วนร่วมแก้ปัญหาสังคมให้ภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังสามารถขยายความร่วมมือในภูมิภาคอื่น ๆ จนทั่วทั้งประเทศได้อีกกรมประมงก็ยินดีอย่างยิ่ง เพื่อหาแนวทางพัฒนาการประมง การวิจัย วิชาการ และการพัฒนาบุคลากรทั้งสองฝ่าย ยกระดับการประมงไทยให้แข่งขันได้ โดยใช้ทรัพยากรอย่างสมดุล พร้อมผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมที่สร้างความมั่งคั่งแก่เกษตรกร ผนึกกำลังในการสร้างความเข้มแข็งเพิ่มศักยภาพภาคประมงของประเทศไทยต่อไป

X

Right Click

No right click