×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

มีคนขับแท็กซี่นับหลายหมื่นรายที่หันมาใช้แอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อรับผู้โดยสารในปัจจุบัน เนื่องจากเห็นถึงประโยชน์ในด้านต่าง ๆ และพร้อมปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป หนึ่งในนั้นคือ จิรภัทร โสภาลัย ประธานเครือข่ายชมรมผู้ขับแท็กซี่ 4.0 และ กมลาสน์ กุลบันลือพิชญ์ ประธานชมรมแท็กซี่ไทยพัฒนา

1. เพิ่มช่องทางในการหารายได้

  

นายจิรภัทร โสภาลัย ประธานเครือข่ายชมรมผู้ขับแท็กซี่ 4.0 กล่าวว่า “แต่ก่อนเราต้องขับรถไปเรื่อย ๆ รอให้ผู้โดยสารเรียก ทำให้สิ้นเปลืองต้นทุนค่าแก๊ส ค่าน้ำ

มัน รายได้ในแต่ละวันก็ไม่แน่นอน แต่ปัจจุบันพอมีเทคโนโลยีเข้ามา การใช้แอปเรียกรถทำให้คนขับแท็กซี่อย่างเรามีช่องทางในการหารายได้เพิ่มมากขึ้น สามารถเลือกไปในพื้นที่ที่มีลูกค้าอยู่หนาแน่นได้ เพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะกดเรียก จากที่สอบถามเพื่อน ๆ สมาชิกในเครือข่ายที่ใช้แอปเรียกรถ 

 2. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

บริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีหรือผู้ให้บริการแอปพลิเคชันต่างให้ความสำคัญกับการลงทุนและการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการและความปลอดภัย ซึ่งไม่เพียงจะช่วยตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ แต่ยังทำให้คนขับทำงานได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ การนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence) มาช่วยจับคู่ตำแหน่งของคนขับกับจุดหมายปลายทางของผู้โดยสาร ทำให้คนขับแท็กซี่ทราบจุดรับ-ส่งล่วงหน้า ซึ่งช่วยลดปัญหาการโบกแล้วไม่จอดรับหรือการปฏิเสธผู้โดยสารอย่างเป็นรูปธรรม หรือการนำระบบจีพีเอส (GPS) มาใช้ ซึ่งช่วยแนะนำเส้นทางที่รวดเร็วที่สุดให้กับคนขับ เพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีการจราจรติดขัด 

 

3. เพิ่มความอุ่นใจด้านความปลอดภัย

  

ไม่ใช่แค่ผู้โดยสารเท่านั้นที่ต้องการความปลอดภัยในการเดินทาง คนขับแท็กซี่เองก็เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่ต้องขับรถไปส่งผู้โดยสารในเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย สถานที่เปลี่ยว หรือในเวลาค่ำคืน ซึ่งอาจทำให้เกิดความกังวลในด้านสวัสดิภาพความปลอดภัยหรือการก่ออาชญากรรม แต่ประเด็นเหล่านี้หมดไปเมื่อมีแอปเรียกรถซึ่งมีเทคโนโลยีและมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่าง ๆ ที่ช่วยสร้างความอุ่นใจให้กับคนขับ เนื่องจากผู้ให้บริการแอปพลิเคชันมีเทคโนโลยีการยืนยันตัวตน (Biometric Authentication) ของทั้งคนขับและผู้โดยสาร จึงสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทันทีหากเกิดเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ 

ในกรณีที่มีปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือ คนขับยังสามารถติดต่อ Call Center ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือในกรณีฉุกเฉินก็มีปุ่ม SOS ให้สามารถติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อขอความช่วยเหลือได้ทันที นอกจากนี้ ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ แอปเรียกรถอย่างแกร็บยังได้ทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล

4. เพิ่มโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงิน

         

ประโยชน์อีกประการที่หลายคนอาจไม่เคยทราบมาก่อน คือ แอปเรียกรถช่วยให้คนขับแท็กซี่ ซึ่งเป็นกลุ่ม Unbanked หรือผู้ที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงินพื้นฐานจากสถาบันการเงินในระบบ อย่างบริการโอนเงิน ชำระเงิน ฝากเงิน และกู้เงิน มีโอกาสเข้าถึงบริการดังกล่าวมากขึ้น เนื่องจากคนขับจะได้รับเอกสารรับรองทางการเงิน จากบริษัทผู้ให้บริการแอป ซึ่งได้รับการยอมรับจากสถาบันการเงิน ทำให้สามารถใช้เป็นหลักฐานในการสมัครบริการสินเชื่อเงินสด (Digital lending) ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าการกู้นอกระบบถึง 30 เท่า 

กมลาสน์ กุลบันลือพิชญ์ ประธานชมรมแท็กซี่ไทยพัฒนา กล่าวเสริมว่า "นอกจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากทั้งค่าโดยสาร โบนัส เงินจูงใจและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ แล้ว การใช้แอปเรียกรถทำให้เรามี statement ที่ช่วยรับรองรายได้ของคนขับแท็กซี่ ซึ่งธนาคารหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ เชื่อถือและให้การยอมรับ ทำให้คนขับหลายคนที่เคยเช่ารถและอยากมีรถเป็นของตัวเองสามารถกู้เงินเพื่อซื้อรถเป็นของตัวเองได้”

 

5. เพิ่มศักยภาพและมาตรฐานการให้บริการ

   

การเข้ามาของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ๆ อย่างแอปเรียกรถทำให้คนขับแท็กซี่ต้องปรับตัวเพื่อพัฒนาความเข้าใจและศักยภาพเพื่อให้สามารถก้าวทันยุคดิจิทัลและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ถือเป็นโอกาสในการเรียนรู้และฝึกฝนพัฒนาตนเอง โดยแอปเรียกรถอย่างแกร็บยังมีการจัดอบรมต่าง ๆ ให้กับคนขับอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น เทคนิคการให้บริการ การขับขี่ปลอดภัย การดูแลสภาพรถยนต์ หรือแม้แต่คอร์สภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดหลักปฏิบัติและจรรยาบรรณของคนขับ รวมทั้งมีระบบควบคุมคุณภาพการให้บริการของคนขับแบบเรียลไทม์

กรุงเทพฯ มีนาคม 2563 – LINE ตอกย้ำแนวคิด Life On LINE เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ “My Card” (มาย การ์ด) ครั้งแรกที่รวบรวมบัตรสมาชิกแบรนด์โปรดไว้ที่เดียว ถือเป็น Digital Loyalty Platform เต็มรูปแบบที่ผสานทุกไลฟ์สไตล์ความคุ้มค่าได้อย่างไร้รอยต่อบนอีโคซิสเต็มที่แข็งแกร่งของ LINE ซึ่งมีผู้ใช้งานกว่า 45 ล้านราย เพียงเข้าผ่านแท็บ Wallet และเลือก My Card ทั้งนี้ LINE ได้ร่วมมือกับสตาร์บัคส์ ร้านกาแฟสุดโปรดของคนไทย ชูขึ้นเป็นพันธมิตรรายแรก และเปิดตัวด้วย LINE Starbucks Card ที่มาในลาย Brown และ Sally เป็นคอลเลคชั่นพิเศษ สามารถใช้ชำระเงินที่ร้านสตาร์บัคส์ได้ง่ายๆ แค่สแกน นอกจากนี้ ลูกค้าสามารถเติมเงินเข้าบัตรได้อย่างสะดวกด้วยกระเป๋าเงิน E-Wallet หรือบัตรเครดิต บัตรเดบิตผ่าน Rabbit LINE Pay

 

ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท LINE ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ไลน์เป็นแพลตฟอร์มที่คนไทยใช้งานมากที่สุด ด้วยจำนวนผู้ใช้งานกว่า 45 ล้าน ภายใต้วิสัยทัศน์ ‘Life On LINE’ เรามุ่งเน้นที่จะเชื่อมต่อโลกมาอยู่ในมือของทุกคนด้วยแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีที่เรามี ตลอดจนบริการที่หลากหลาย ใช้งานง่าย ตอบโจทย์ชีวิตประจำวันของคนไทย ล่าสุด เราได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ล่าสุด My Card ฟีเจอร์บัตรสมาชิก Digital Loyalty Platform เต็มรูปแบบ ซึ่งออกแบบมาเพื่อรวบรวมบัตรสมาชิกที่ได้รับความนิยมของคนไทยมาไว้บนแอปฯ

 

นางเนตรนภา ศรีสมัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “สตาร์บัคส์มีความยินดีที่จะเปิดฟีเจอร์ใหม่นำร่องกับ LINE แอปพลิเคชั่นยอดนิยมที่มีผู้ใช้ชาวไทยกว่า 45 ล้านคน ในการเปิดให้บริการ 2ฟีเจอร์ได้แก่ Starbucks Thailand LINE Official Account และ LINE Starbucks Card นับเป็นการเดินหน้าเพิ่มช่องทางการสื่อสารกับลูกค้า เพิ่มทางเลือก ให้ความสะดวกให้กับลูกค้าในการจ่ายเงินที่สตาร์บัคส์  พร้อมทั้งสามารถสะสมดาวในบัญชีสมาชิก Starbucks® Rewards ตลอดจนการเติมเงินผ่าน LINE  ทั้งนี้ เราเชื่อว่าความเชี่ยวชาญและแพลตฟอร์มอันแข็งแกร่งและครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคของ LINE จะช่วยให้สตาร์บัคส์ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่นิยมการใช้สื่อดิจิทัลในชีวิตประจำวัน ชื่นชอบความสะดวกสบาย และต้องการตัวเลือกที่หลากหลาย

กรุงเทพฯ/ 2 มีนาคม 2563 – บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ส์ จำกัด ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของโลก ครองอันดับ 5 ของบริษัทที่ทุ่มงบประมาณในด้านการวิจัยและพัฒนามากที่สุดของโลก ตามข้อมูลของ 2019 EU Industrial R&D Investment Scoreboard ต่อเนื่องกันเป็นปีที่สอง ซึ่งการศึกษานี้จัดทำโดยคณะกรรมาธิการยุโรป

หัวเว่ยมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในฐานะบริษัทที่ทุ่มเทเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละปีบริษัทจะทุ่มรายได้จากยอดขายราวร้อยละ 10 – 15 ไปกับงานด้าน R&D โดยเฉพาะ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทได้ใช้งบราว 70,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (หรือราว 2.2 ล้านล้านบาท) ไปในด้านวิจัยและพัฒนา และได้เริ่มดำเนินการวิจัยเทคโนโลยี 5G ตั้งแต่ปี 2552 ด้วยการลงทุนงบกว่า 4,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (ราว 12.7 หมื่นล้านบาท)

ในขณะที่ทั่วโลกเริ่มเปิดให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ มร. เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของหัวเว่ย ได้เปิดเผยเมื่อช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมาว่า บริษัทได้เริ่มศึกษาพัฒนาเทคโนโลยี 6G แล้ว ซึ่งจะมอบความเร็วที่สูงกว่า 5G ถึง 100 เท่า “ความจริงแล้วเราพัฒนา 5G และ 6G ไปพร้อม ๆ กัน โดยเราเริ่มงานวิจัย ด้าน 6G มานานแล้ว” มร. เหริน กล่าว “แต่ตอนนี้ยังเป็นแค่เฟสแรก ๆ และเราก็คิดว่าการใช้งาน 6G เชิงพาณิชย์ยังต้องรอไปอีกประมาณ 10 ปี” เขาอธิบาย

ปัจจุบันหัวเว่ยเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยี 5G ร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลกเพื่อมอบบริการที่ครอบคลุมและครบวงจรมากขึ้น บริษัทเปิดเผยเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าได้ลงนามในสัญญา 5G เชิงพาณิชย์ไปแล้วกว่า 90 ฉบับทั่ว

สร้างนวัตกรรมอุทิศต่อสังคม : “ชุดทดสอบโรคพยาธิใบไม้ตับและโรคพยาธิเส้นด้ายในคนแบบรวดเร็ว ช่วยผู้ป่วยให้รอดชีวิต” ณ ห้องประชุมสารสิน ตึกสิริคุณากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่จัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดนวัตกรรม “ชุดทดสอบโรคพยาธิใบไม้ตับและชุดทดสอบโรคพยาธิเส้นด้ายแบบรวดเร็ว” ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะนักเทคนิคการแพทย์ ที่จะนำชุดทดสอบโรคฯ ดังกล่าวไปใช้ใน รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตลอดจน นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย นำไปใช้ประโยชน์

การคิดค้นครั้งนี้ มีที่มาจากในแต่ละปีโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี เป็นปัญหาคร่าชีวิตคนไทยโดยเฉพาะชาวอีสานอัตราสูงสุดของโลก มีประชากรอีสานที่เสียชีวิตจากมะเร็งท่อน้ำดี ปีละกว่าสองหมื่นคน จำนวนกว่า 6 ล้านคน ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ จากการบริโภคอาหารโดยเฉพาะก้อยปลาที่มีระยะติดต่อของพยาธิใบไม้ การติดพยาธิซ้ำหลายครั้งร่วมกับปัจจัยก่อมะเร็งอื่น ทำให้เกิดการอักเสบของท่อน้ำดีจนเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี ที่ผ่านมารัฐต้องสูญเสียงบประมาณไปกับการรักษาพยาบาลจำนวนมาก ในขั้นตอนการตรวจคัดกรองเพื่อติดตามหาผู้ติดเชื้อพยาธิ โดยการตรวจอุจจาระ ต้องใช้บุคลากรนักปรสิตที่น่าเชื่อถือและใช้เวลานานต้องการ และในรายที่ติดเชื้อเรื้อรังไม่สามารถตรวจพบไข่พยาธิในอุจจาระได้ นอกจากนี้การตรวจคัดกรองด้วยอัลตร้าซาวน์ตับในบุคคลกลุ่มเสี่ยงก็มีค่าใช้จ่ายสูง

Image preview

 

ชุดทดสอบโรคพยาธิใบไม้ตับในคนนี้ ผลิตด้วยมาตรฐาน ISO 13485 ถือเป็น นวัตกรรมชุดทดสอบแบบรวดเร็วที่ทันสมัยชุดแรกของโลก ใช้วินิจฉัยโรคพยาธิใบไม้ตับทั้งชนิดโอพิสทอร์คิส วิเวอรินี่ ที่พบในคนไทย และชนิดคลอนอร์คิส ไซเนนสิส ที่พบในจีน เกาหลี และเวียดนาม ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า “แลทเทอรัลโฟลว์” (Lateral flow) คล้ายชุดตรวจการตั้งครรภ์ ที่ใช้ตรวจหาแอนติบอดีในน้ำเลือด (ซีรั่ม) ของคน ซึ่งใช้งานง่าย สะดวก อ่านผลด้วยตาเปล่า ณ จุดทดสอบ ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือราคาแพง บุคลากรในห้องปฏิบัติการทั่วไปสามารถใช้ชุดทดสอบได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ

X

Right Click

No right click