โฉมหน้าระบบนิเวศการชำระของเอเชียแปซิฟิกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลในตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีใหม่ ๆ ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเปลี่ยนวิธีการชำระด้วยเงินสดเป็นระบบดิจิทัล และเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ และความสามารถของผู้บริโภคในการจ่ายและรับเงินไปอย่างสิ้นเชิง

ความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นตัวเร่งให้วิธีการชำระเงินแบบดิจิทัลมีความหลากหลายและยืดหยุ่นมากขึ้น อาทิ แพลตฟอร์มการสมัครสมาชิก การค้าออนไลน์และโซเชียลคอมเมิร์ซ และบริการด้านการเงินแบบ on-demand

ปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ในปี 2567 นี้ จังหวะของการเปลี่ยนแปลงยังจะดำเนินอย่างต่อเนื่อง และขับเคลื่อนวิวัฒนาการของการชำระเงินในระบบดิจิทัลต่อไปเพราะทั้งผู้บริโภค และภาคธุรกิจต่างมองหาวิธีการชำระและรับชำระที่รวดเร็วกว่า ปลอดภัยกว่า และไร้รอยต่อ ในขณะที่โครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยียังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเราคาดหวังว่าโซลูชันใหม่ ๆ จะถือกำเนิดขึ้นเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น”

  1. การชำระไม่ใช่แค่เรื่องของวิธีการ แต่สำคัญที่เมื่อไร

เมื่อผู้บริโภคมีความคุ้นเคยกับการชำระแบบดิจิทัล ความสำเร็จจึงไม่ใช่เพียงแค่หาโซลูชันที่ตรงตามที่ผู้บริโภคต้องการ แต่สำคัญที่การนำเสนอโซลูชันนั้น ๆ ให้กับลูกค้าต้องเกิดขึ้นในเวลาที่ใช่

สิ่งนี้เป็นเสน่ห์ของการเงินแบบฝังตัว (embedded finance) คือการผสานบริการด้านการเงินเข้ากับแพลตฟอร์มที่ไม่ใช่สถาบันการเงินแบบดั้งเดิม ปัจจุบันแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสามารถเสนอขายประกันแก่ผู้ซื้อที่จุดชำระเงิน ขณะที่บริการ “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” ยังช่วยให้ลูกค้าสามารถแบ่งการชำระเป็นงวดได้โดยไม่ต้องออกจากหน้าเว็บ หรือแอปชอปปิง

คล้ายคลึงกับเรื่องราวของดิจิทัลวอลเล็ตที่ทำให้ชีวิตของผู้ถือบัตรชำระเงินต่าง ๆ ง่ายดายขึ้นผ่านการชำระแบบดิจิทัล และโซลูชัน Mobile-as-a-Service (MaaS) ที่ผนวกการชำระเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถวางแผน จองตั๋ว และจ่ายค่าโดยสารการเดินทางได้ในที่เดียว

โอกาสในลักษณะนี้ยังปรากฏให้เห็นในการชำระแบบ B2B โดยวีซ่าและบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่าง BCG พบว่า ภายในปี 2568 การเงินแบบฝังตัวจะสร้างโอกาสทางการตลาดได้มากกว่า 242 พันล้านเหรียญสหรัฐแก่ผู้ให้บริการด้านการเงินทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMB)

  1. โฉมหน้าการชำระเงินแบบ B2B จะถูกปรับให้เข้ากับผู้บริโภคยิ่งขึ้น

อีกไม่นานจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่พลิกโฉมโลกธุรกิจเมื่อคลื่นลูกใหม่ของผู้นำเจน Z และมิลเลนเนียลก้าวขึ้นมามีบทบาท พวกเขาเติบโตขึ้นมาพร้อมกับการชำระเงินแบบดิจิทัลที่ใช้งานง่าย และความคาดหวังของพวกเขานั่นเองที่ช่วยผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการการชำระเงิน B2B ให้มีโฉมหน้าและฟังก์ชั่นการใช้งานให้ง่ายต่อการใช้งานของผู้บริโภคยิ่งขึ้น ตรงกันข้ามกับก่อนหน้านี้ที่ออกแบบมาสำหรับองค์กรธุรกิจเท่านั่น

มีสองพลังสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ อย่างแรกคือการทำงานร่วมกัน ระบบที่ต่างกันจะสามารถทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อได้มากน้อยเพียงใด มันจำเป็นต้องมีนักพัฒนา ธุรกิจ และภาครัฐ มาร่วมมือกันและใช้งานการเชื่อมต่อโปรแกรมประยุกต์ APIs แบบเปิดที่สามารถรองรับวิธีการชำระแบบต่าง ๆ ได้ในแพลตฟอร์มเดียว เช่นเดียวกับองค์กรในเอเชียแปซิฟิกที่อีกไม่นานจะสามารถชำระเงินอย่างไร้รอยต่อบนแพลตฟอร์ม SAP ด้วยบัตรวีซ่าเพื่อธุรกิจ โดยไม่ต้องยุ่งยากกับวิธีการชำระเงินหรือออกจากระบบอีกต่อไป

พลังอย่างที่สอง คือ ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นต่อโซลูชันการชำระเงินแบบ B2B ที่สามารถทำได้หลายอย่างในแพลตฟอร์มเดียว แพลตฟอร์มเหล่านี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กเพราะ รวบรวมบริการต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน อาทิ การชำระเงิน การกู้ยืม และการจัดการใบแจ้งหนี้ เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการงานด้านการเงินที่สำคัญให้จบได้ในอินเตอร์เฟซเดียว

  1. ความเสี่ยงมีให้เห็นบ่อยขึ้น แต่จับพิรุธได้ยากขึ้น

การชำระเงินแบบดิจิทัลที่เติบโตขึ้นในเอเชียแปซิฟิกส่งผลให้อาชญากรรมทางไซเบอร์มีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ระบบ Generative AI ที่สร้างขึ้นบนโมเดลภาษาขนาดใหญ่เริ่มเลียนแบบการตอบสนองที่เหมือนมนุษย์ได้เนียนขึ้น และมิจฉาชีพสามารถใช้ความสามารถของมันไปสร้างอีเมลหลอกลวง และข้อความหลอกลวงแบบฟิชชิ่งโดยการใช้ภาษาที่ดีขึ้น ทำให้ผู้บริโภคจับพิรุธได้ยากขึ้นกว่าเดิม

นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของการฉ้อโกงระบุตัวตน การยึดครองบัญชี และรูปแบบการโกงแบบ “ได้คืบจะเอาศอก” ที่นักต้มตุ๋นมักใช้ล่อเหยื่อด้วยการจ่ายเงินจำนวนไม่มากนักเพื่อซื้อใจเหยื่อ นอกจากนี้ธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกมีความเชื่อมต่อกันมากขึ้น ความสุ่มเสี่ยงต่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย

ปัจจุบันวิธีการฉ้อโกงใหม่ ๆ มีหลายร้อยเล่มเกวียน ทำให้วิธีการเดิม ๆ ในการตรวจจับและป้องกันนั้นไม่เพียงพอ ข่าวดีก็คือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็เร่งเครื่องเพื่อตามกลโกงเหล่านี้ให้ทัน เทคโนโลยี Machine learning (ML) และ โซลูชัน AI อย่าง Visa’s Advanced Authorisation (ViAA) ของวีซ่า สามารถขจัดความเสี่ยงต่อการฉ้อโกงที่อาจเกิดขึ้นก่อนการทำธุรกรรมได้โดยการตรวจจับความผิดปกติและภัยคุกคามอย่างรวดเร็วแบบเรียลไทม์ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจที่ไม่มีทรัพยากรในการจัดการเรื่องเหล่านี้ด้วยตนเอง

ข่าวดีอีกเรื่องคือการยอมรับการชำระด้วยบัตรเวอร์ชวล (virtual card) ซึ่งเป็นบัตรที่ใช้งานได้เหมือนบัตรพลาสติกเพื่อการชำระเงินทั่ว ๆ ไปในกระเป๋าสตางค์ของคุณ แต่ใช้หมายเลขบัตรแบบใช้ครั้งเดียวและจํากัดเวลาในการชำระเงินแต่ละครั้ง ซึ่งสิ่งที่ทำให้บัตรเวอร์ชวลแตกต่างจากบัตรทั่วไปคือมันมาพร้อมกับ Dynamic CVV2 (dCVV2)

บนบัตรพลาสติกเพื่อการชำระแบบมาตรฐานทั่วไปจะมีตัวเลข CVV2 จำนวน 3 หลักพิมพ์ลงบนด้านหลังของบัตร หากตัวเลขดังกล่าวถูกมิจฉาชีพล่วงรู้ ก็จะสามารถใช้บัตรและนำเลขกลับมาใช้ใหม่เพื่อทำธุรกรรมที่ฉ้อโกงได้ แต่ด้วย Dynamic CVV2 ค่าตัวเลขจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด โดยระหว่างการชำระเงินออนไลน์ผู้ถือบัตรจะกรอกเลข Dynamic CVV2 (dCVV2) ปัจจุบัน แล้วหลังจากนั้นระบบ VisaNet จะทำการตรวจสอบรหัสด้วยฟังก์ชันการตรวจสอบสิทธิ์ dCVV2 Authenticate เพื่อยืนยันตัวตน โดยเทคโนโลยี dCVV2 นอกจากจะช่วยป้องกันการใช้ซ้ำของบัตรที่ถูกมิจฉาชีพล้วงข้อมูลแล้ว ยังสามารถช่วยป้องกันการโจรกรรมและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องก้บการฉ้อโกงต่าง ๆ ได้อีกด้วย

  1. ธุรกิจ SMB มองไปยังอนาคต แต่ต้องการตัวช่วยสู่ความสำเร็จ

ในปี 2567 และปีต่อ ๆ ไป ภาคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMB) ในเอเชียแปซิฟิกจะยังประสบกับความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลได้สร้างการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจแบบเท่าเทียม ที่เจ้าของธุรกิจรายย่อยก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจโลกได้

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจใหม่ และธุรกิจ SMB เหล่านี้ในภาคอื่น ๆ อาจต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญ ด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องรับเอาเทคโนโลยีที่ฉลาดและคุ้มค่าต่อการลงทุนมากขึ้นมาใช้งานด้วยเช่นกัน

หมายความว่า SMB จะช่างเลือกมากขึ้นในการยอมรับโซลูชันการชำระเงินในปี 2567 นี้ พวกเขาต้องการการชำระเงินแบบดิจิทัลที่สะดวก เชื่อถือได้ และไร้รอยต่อ ควบคู่ไปกับการขยายการทำธุรกิจไปต่างประเทศเติบโตขึ้น ส่งผลให้ SMB จะให้ความสำคัญกับโซลูชันที่ช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึงลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้มากขึ้นเป็นอันดับแรก

“โซลูชันการชำระเงินที่ใช้งานได้จริงและเหมาะกับทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ธุรกิจ SME ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ คือ บัตรเวอร์ชวล ซึ่งบัตรเวอร์ชวลเพื่อธุรกิจไม่จำเป็นต้องผลิต ถือเป็นความคุ้มทุนเพราะผู้ประกอบการสามารถขอบัตรเวอร์ชวลได้มากตามที่ต้องการ และลูกจ้างไม่จำเป็นต้องรอให้บัตรพลาสติกจัดส่งมาให้ บัตรเวอร์ชวลยังสามารถตั้งค่าได้อย่างรวดเร็วและกำหนดวงเงินได้ตามต้องการ ซึ่งมีประสิทธิภาพอย่างยิ่งโดยเฉพาะกับธุรกิจ SME เพราะการชำระเงินไม่จำเป็นต้องรวมที่ศูนย์กลางและลูกจ้างสามารถทำการชำระได้อย่างอิสระ ขณะที่บริษัทยังคงควบคุมกระแสเงินสดได้อย่างครบถ้วนอีกด้วย” ปุณณมาศ กล่าวเสริม

นอกจากนี้เรายังจะเห็นธุรกิจ SMB หันไปหาแหล่งเงินทุนที่คล่องตัวและยืดหยุ่นกันมากขึ้น เช่น บัตรที่เหมาะกับความต้องการของธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึงการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อที่มีความยืดหยุ่น

เมื่อนวัตกรรมและการพัฒนาการชำระเงินยังคงขับเคลื่อนต่อไปในเอเชียแปซิฟิก สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือระบบนิเวศการชำระจะต้องอยู่ต้นแถว เพราะความรวดเร็ว สะดวกสบาย และปลอดภัย ถือเป็นเรื่องสำคัญ เราหวังจะได้ทำงานร่วมกันทั่วทั้งระบบนิเวศทางการเงินเพื่อสร้างโซลูชันใหม่ ๆ ที่จะช่วยพัฒนาภูมิทัศน์ของเอเชียแปซิฟิกไปด้วยกัน

โฉมหน้าระบบนิเวศการชำระของเอเชียแปซิฟิกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลในตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีใหม่ ๆ ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเปลี่ยนวิธีการชำระด้วยเงินสดเป็นระบบดิจิทัล และเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ และความสามารถของผู้บริโภคในการจ่ายและรับเงินไปอย่างสิ้นเชิง

ความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นตัวเร่งให้วิธีการชำระเงินแบบดิจิทัลมีความหลากหลายและยืดหยุ่นมากขึ้น อาทิ แพลตฟอร์มการสมัครสมาชิก การค้าออนไลน์และโซเชียลคอมเมิร์ซ และบริการด้านการเงินแบบ on-demand

ปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ในปี 2567 นี้ จังหวะของการเปลี่ยนแปลงยังจะดำเนินอย่างต่อเนื่อง และขับเคลื่อนวิวัฒนาการของการชำระเงินในระบบดิจิทัลต่อไปเพราะทั้งผู้บริโภค และภาคธุรกิจต่างมองหาวิธีการชำระและรับชำระที่รวดเร็วกว่า ปลอดภัยกว่า และไร้รอยต่อ ในขณะที่โครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยียังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเราคาดหวังว่าโซลูชันใหม่ ๆ จะถือกำเนิดขึ้นเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น”

 1. การชำระไม่ใช่แค่เรื่องของวิธีการ แต่สำคัญที่เมื่อไร

เมื่อผู้บริโภคมีความคุ้นเคยกับการชำระแบบดิจิทัล ความสำเร็จจึงไม่ใช่เพียงแค่หาโซลูชันที่ตรงตามที่ผู้บริโภคต้องการ แต่สำคัญที่การนำเสนอโซลูชันนั้น ๆ ให้กับลูกค้าต้องเกิดขึ้นในเวลาที่ใช่

สิ่งนี้เป็นเสน่ห์ของการเงินแบบฝังตัว (embedded finance) คือการผสานบริการด้านการเงินเข้ากับแพลตฟอร์มที่ไม่ใช่สถาบันการเงินแบบดั้งเดิม ปัจจุบันแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสามารถเสนอขายประกันแก่ผู้ซื้อที่จุดชำระเงิน ขณะที่บริการ “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” ยังช่วยให้ลูกค้าสามารถแบ่งการชำระเป็นงวดได้โดยไม่ต้องออกจากหน้าเว็บ หรือแอปชอปปิง

คล้ายคลึงกับเรื่องราวของดิจิทัลวอลเล็ตที่ทำให้ชีวิตของผู้ถือบัตรชำระเงินต่าง ๆ ง่ายดายขึ้นผ่านการชำระแบบดิจิทัล และโซลูชัน Mobile-as-a-Service (MaaS) ที่ผนวกการชำระเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถวางแผน จองตั๋ว และจ่ายค่าโดยสารการเดินทางได้ในที่เดียว

โอกาสในลักษณะนี้ยังปรากฏให้เห็นในการชำระแบบ B2B โดยวีซ่าและบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่าง BCG พบว่า ภายในปี 2568 การเงินแบบฝังตัวจะสร้างโอกาสทางการตลาดได้มากกว่า 242 พันล้านเหรียญสหรัฐแก่ผู้ให้บริการด้านการเงินทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMB)

 

2. โฉมหน้าการชำระเงินแบบ B2B จะถูกปรับให้เข้ากับผู้บริโภคยิ่งขึ้น

อีกไม่นานจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่พลิกโฉมโลกธุรกิจเมื่อคลื่นลูกใหม่ของผู้นำเจน Z และมิลเลนเนียลก้าวขึ้นมามีบทบาท พวกเขาเติบโตขึ้นมาพร้อมกับการชำระเงินแบบดิจิทัลที่ใช้งานง่าย และความคาดหวังของพวกเขานั่นเองที่ช่วยผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการการชำระเงิน B2B ให้มีโฉมหน้าและฟังก์ชั่นการใช้งานให้ง่ายต่อการใช้งานของผู้บริโภคยิ่งขึ้น ตรงกันข้ามกับก่อนหน้านี้ที่ออกแบบมาสำหรับองค์กรธุรกิจเท่านั่น

มีสองพลังสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ อย่างแรกคือการทำงานร่วมกัน ระบบที่ต่างกันจะสามารถทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อได้มากน้อยเพียงใด มันจำเป็นต้องมีนักพัฒนา ธุรกิจ และภาครัฐ มาร่วมมือกันและใช้งานการเชื่อมต่อโปรแกรมประยุกต์ APIs แบบเปิดที่สามารถรองรับวิธีการชำระแบบต่าง ๆ ได้ในแพลตฟอร์มเดียว เช่นเดียวกับองค์กรในเอเชียแปซิฟิกที่อีกไม่นานจะสามารถชำระเงินอย่างไร้รอยต่อบนแพลตฟอร์ม SAP ด้วยบัตรวีซ่าเพื่อธุรกิจ โดยไม่ต้องยุ่งยากกับวิธีการชำระเงินหรือออกจากระบบอีกต่อไป

พลังอย่างที่สอง คือ ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นต่อโซลูชันการชำระเงินแบบ B2B ที่สามารถทำได้หลายอย่างในแพลตฟอร์มเดียว แพลตฟอร์มเหล่านี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กเพราะ รวบรวมบริการต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน อาทิ การชำระเงิน การกู้ยืม และการจัดการใบแจ้งหนี้ เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการงานด้านการเงินที่สำคัญให้จบได้ในอินเตอร์เฟซเดียว

 3. ความเสี่ยงมีให้เห็นบ่อยขึ้น แต่จับพิรุธได้ยากขึ้น

การชำระเงินแบบดิจิทัลที่เติบโตขึ้นในเอเชียแปซิฟิกส่งผลให้อาชญากรรมทางไซเบอร์มีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ระบบ Generative AI ที่สร้างขึ้นบนโมเดลภาษาขนาดใหญ่เริ่มเลียนแบบการตอบสนองที่เหมือนมนุษย์ได้เนียนขึ้น และมิจฉาชีพสามารถใช้ความสามารถของมันไปสร้างอีเมลหลอกลวง และข้อความหลอกลวงแบบฟิชชิ่งโดยการใช้ภาษาที่ดีขึ้น ทำให้ผู้บริโภคจับพิรุธได้ยากขึ้นกว่าเดิม

นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของการฉ้อโกงระบุตัวตน การยึดครองบัญชี และรูปแบบการโกงแบบ “ได้คืบจะเอาศอก” ที่นักต้มตุ๋นมักใช้ล่อเหยื่อด้วยการจ่ายเงินจำนวนไม่มากนักเพื่อซื้อใจเหยื่อ นอกจากนี้ธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกมีความเชื่อมต่อกันมากขึ้น ความสุ่มเสี่ยงต่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย

ปัจจุบันวิธีการฉ้อโกงใหม่ ๆ มีหลายร้อยเล่มเกวียน ทำให้วิธีการเดิม ๆ ในการตรวจจับและป้องกันนั้นไม่เพียงพอ ข่าวดีก็คือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็เร่งเครื่องเพื่อตามกลโกงเหล่านี้ให้ทัน เทคโนโลยี Machine learning (ML) และ โซลูชัน AI อย่าง Visa’s Advanced Authorisation (ViAA) ของวีซ่า สามารถขจัดความเสี่ยงต่อการฉ้อโกงที่อาจเกิดขึ้นก่อนการทำธุรกรรมได้โดยการตรวจจับความผิดปกติและภัยคุกคามอย่างรวดเร็วแบบเรียลไทม์ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจที่ไม่มีทรัพยากรในการจัดการเรื่องเหล่านี้ด้วยตนเอง

ข่าวดีอีกเรื่องคือการยอมรับการชำระด้วยบัตรเวอร์ชวล (virtual card) ซึ่งเป็นบัตรที่ใช้งานได้เหมือนบัตรพลาสติกเพื่อการชำระเงินทั่ว ๆ ไปในกระเป๋าสตางค์ของคุณ แต่ใช้หมายเลขบัตรแบบใช้ครั้งเดียวและจํากัดเวลาในการชำระเงินแต่ละครั้ง ซึ่งสิ่งที่ทำให้บัตรเวอร์ชวลแตกต่างจากบัตรทั่วไปคือมันมาพร้อมกับ Dynamic CVV2 (dCVV2)

บนบัตรพลาสติกเพื่อการชำระแบบมาตรฐานทั่วไปจะมีตัวเลข CVV2 จำนวน 3 หลักพิมพ์ลงบนด้านหลังของบัตร หากตัวเลขดังกล่าวถูกมิจฉาชีพล่วงรู้ ก็จะสามารถใช้บัตรและนำเลขกลับมาใช้ใหม่เพื่อทำธุรกรรมที่ฉ้อโกงได้ แต่ด้วย Dynamic CVV2 ค่าตัวเลขจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด โดยระหว่างการชำระเงินออนไลน์ผู้ถือบัตรจะกรอกเลข Dynamic CVV2 (dCVV2) ปัจจุบัน แล้วหลังจากนั้นระบบ VisaNet จะทำการตรวจสอบรหัสด้วยฟังก์ชันการตรวจสอบสิทธิ์ dCVV2 Authenticate เพื่อยืนยันตัวตน โดยเทคโนโลยี dCVV2 นอกจากจะช่วยป้องกันการใช้ซ้ำของบัตรที่ถูกมิจฉาชีพล้วงข้อมูลแล้ว ยังสามารถช่วยป้องกันการโจรกรรมและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องก้บการฉ้อโกงต่าง ๆ ได้อีกด้วย

 

4. ธุรกิจ SMB มองไปยังอนาคต แต่ต้องการตัวช่วยสู่ความสำเร็จ

ในปี 2567 และปีต่อ ๆ ไป ภาคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMB) ในเอเชียแปซิฟิกจะยังประสบกับความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลได้สร้างการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจแบบเท่าเทียม ที่เจ้าของธุรกิจรายย่อยก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจโลกได้

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจใหม่ และธุรกิจ SMB เหล่านี้ในภาคอื่น ๆ อาจต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญ ด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องรับเอาเทคโนโลยีที่ฉลาดและคุ้มค่าต่อการลงทุนมากขึ้นมาใช้งานด้วยเช่นกัน

หมายความว่า SMB จะช่างเลือกมากขึ้นในการยอมรับโซลูชันการชำระเงินในปี 2567 นี้ พวกเขาต้องการการชำระเงินแบบดิจิทัลที่สะดวก เชื่อถือได้ และไร้รอยต่อ ควบคู่ไปกับการขยายการทำธุรกิจไปต่างประเทศเติบโตขึ้น ส่งผลให้ SMB จะให้ความสำคัญกับโซลูชันที่ช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึงลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้มากขึ้นเป็นอันดับแรก

“โซลูชันการชำระเงินที่ใช้งานได้จริงและเหมาะกับทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ธุรกิจ SME ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ คือ บัตรเวอร์ชวล ซึ่งบัตรเวอร์ชวลเพื่อธุรกิจไม่จำเป็นต้องผลิต ถือเป็นความคุ้มทุนเพราะผู้ประกอบการสามารถขอบัตรเวอร์ชวลได้มากตามที่ต้องการ และลูกจ้างไม่จำเป็นต้องรอให้บัตรพลาสติกจัดส่งมาให้ บัตรเวอร์ชวลยังสามารถตั้งค่าได้อย่างรวดเร็วและกำหนดวงเงินได้ตามต้องการ ซึ่งมีประสิทธิภาพอย่างยิ่งโดยเฉพาะกับธุรกิจ SME เพราะการชำระเงินไม่

จำเป็นต้องรวมที่ศูนย์กลางและลูกจ้างสามารถทำการชำระได้อย่างอิสระ ขณะที่บริษัทยังคงควบคุมกระแสเงินสดได้อย่างครบถ้วนอีกด้วย” ปุณณมาศ กล่าวเสริม

นอกจากนี้เรายังจะเห็นธุรกิจ SMB หันไปหาแหล่งเงินทุนที่คล่องตัวและยืดหยุ่นกันมากขึ้น เช่น บัตรที่เหมาะกับความต้องการของธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึงการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อที่มีความยืดหยุ่น

เมื่อนวัตกรรมและการพัฒนาการชำระเงินยังคงขับเคลื่อนต่อไปในเอเชียแปซิฟิก สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือระบบนิเวศการชำระจะต้องอยู่ต้นแถว เพราะความรวดเร็ว สะดวกสบาย และปลอดภัย ถือเป็นเรื่องสำคัญ เราหวังจะได้ทำงานร่วมกันทั่วทั้งระบบนิเวศทางการเงินเพื่อสร้างโซลูชันใหม่ ๆ ที่จะช่วยพัฒนาภูมิทัศน์ของเอเชียแปซิฟิกไปด้วยกัน

วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก ประกาศปรับเลื่อนตำแหน่งผู้บริหารอาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสองท่าน

นายธศพงษ์ รังควร ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตและบริหารข้อมูลลูกค้า สายงานการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “หลังจากที่เคทีซีได้เป็นหนึ่งในบัตรเครดิตรายแรกที่สามารถรองรับการชำระเงินผ่าน Google Wallet ได้อย่างเป็นทางการ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้สมาชิกสามารถใช้บริการการชำระเงินผ่านบัตรเคทีซีบนสมาร์ทโฟนระบบแอนดรอยด์ได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัยยิ่งกว่าเดิม โดยเคทีซีได้จับมือกับพันธมิตรวีซ่าและมาสเตอร์การ์ด มอบสิทธิพิเศษให้สมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี วีซ่า และบัตรเคทีซี มาสเตอร์การ์ด เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกได้ทดลองมีประสบการณ์กับ Google Pay เพียงเพิ่มบัตรฯ ใน Google Wallet และแตะจ่าย ชำระเงินแบบไร้สัมผัสผ่าน Google Pay ได้ง่ายและรวดเร็วทุกจุดชำระเงินที่มีสัญญลักษณ์ Contactless ด้วยคาดหวังว่าจำนวนความถี่ที่สมาชิกจะเลือกใช้จ่ายผ่านช่องทางการชำระเงินแบบไร้สัมผัสจะเพิ่มขึ้น 30%

รายละเอียดสิทธิพิเศษมีดังนี้

สมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี วีซ่า รับ e-Coupon เครดิตเงินคืนสูงสุด 1,000 บาทต่อเซลส์สลิป ผ่านแอป KTC Mobile เพียงใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ด้วย Google Pay ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไปต่อเซลส์สลิปแบบชำระเต็มจำนวนเท่านั้น (ไม่รวมการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์) ที่ร้านค้าที่มีเครื่องรับชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless) สมาชิกจะได้รับ e-Coupon เครดิตเงินคืนตามมูลค่าที่กำหนดไว้สำหรับแต่ละลำดับรายการใช้จ่ายที่เข้ามาในระบบ ได้แก่ 5 /10 / 50 / 100 / 200 / 500 และ 1,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนเครดิตเงินคืนต่อวัน ระหว่างวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 – 31  ธันวาคม 2565

สมาชิกบัตรเคทีซี มาสเตอร์การ์ด รับเครดิตเงินคืน 100 บาท เพียงใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ด้วย Google Pay ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไปต่อเซลส์สลิปที่กูร์เมต์ มาร์เก็ต และโฮม เฟรช มาร์ท ทุกสาขา (จำกัดจำนวนเครดิตเงินคืนสูงสุด 400 บาท / สมาชิก 1 ท่าน / เดือน) ระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 – 31 มีนาคม 2566    

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดการชำระเงินด้วย Google Pay และวิธีเพิ่มบัตรฯ ใน Google Wallet ที่ https://www.ktc.co.th/google-pay สอบถามรายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE 02 123 5000 หรือที่เว็บไซต์ www.ktc.co.th/google-pay สมัครบัตรเครดิตได้ที่ศูนย์บริการสมาชิก เคทีซี ทัช ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือคลิกลิงค์ได้ที่นี่: http://bit.ly/apply-ktc 

 

วีซ่า (VISA) ผู้ให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก ประกาศเปิดตัว Google Wallet สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตวีซ่าในประเทศไทยที่ออกโดยธนาคารกรุงเทพ และบัตรกรุงไทย (เคทีซี) โดยผู้ถือบัตรสามารถใช้จ่ายได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยด้วย Google Wallet ที่ติดตั้งบนอุปกรณ์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ Android และ WearOS ไม่ว่าจะในร้านค้า การช้อปออนไลน์ ใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ และยังสามารถจัดเก็บบัตรเครดิตไว้ภายใน Google Wallet ได้อีกด้วย

การเปิดตัวในครั้งนี้สอดรับกับพฤติกรรมการใช้จ่ายผู้บริโภคชาวไทยที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเปิดรับวิธีการชำระเงินแบบดิจิทัลและลดการใช้เงินสดลง จากการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปีของวีซ่า (Visa Consumer Payment Attitudes Study)1 เผยให้เห็นว่าเกือบเก้าในสิบ (88%) ของชาวไทยในปัจจุบันที่ไม่ได้ชำระเงินแบบโมบายคอนแทคเลสต่างรับทราบเกี่ยวกับการชำระเงินด้วยวิธีนี้ และมีถึง 87% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่สนใจที่จะเริ่มใช้การชำระเงินในรูปแบบดังกล่าว

พิภาวิน สดประเสริฐ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “การเกิดโรคระบาดเป็นตัวขับเคลื่อนการชำระเงินแบบคอนแทคเลส เพราะผู้บริโภคต่างมองหาช่องทางที่ปลอดภัยและสะดวกในการใช้จ่าย อุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ ได้กลายมาเป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของผู้คนทั้งในเรื่องการติดต่อ ทำธุรกิจ และให้ความบันเทิงไปในตัว เป้าหมายของวีซ่าคือการเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการชำระและรับเงินสำหรับทุกคน การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นส่วนหนึ่งในดีเอ็นเอของเรา และเราเองภูมิใจที่ได้ส่งมอบประสบการณ์การชำระเงินที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภคชาวไทย ถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นสำหรับเราที่ได้ร่วมสนับสนุนกูเกิ้ล ธนาคารกรุงเทพ และเคทีซี เพื่อมอบ Google Wallet และอีกหนึ่งประสบการณ์การชำระเงินที่ไร้รอยต่อและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการช้อปปิ้งออนไลน์หรือแตะอุปกรณ์สวมใส่ของพวกเขาที่จุดรับชำระเงิน”

แจ็คกี้ หวาง Country Director, Google ประเทศไทย กล่าวว่า “จากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ e-Conomy SEA 2022 พบว่าการชำระเงินแบบดิจิทัลได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และคาดว่าการชำระเงินแบบดิจิทัลในไทยจะมีมูลค่าธุรกรรมรวม (Gross Transaction Value: GTV) สูงถึง 1.61 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 เนื่องจากปัจจุบันคนไทยหลายล้านคนนิยมชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ เราจึงรู้สึกตื่นเต้นที่ได้นำ Google Wallet มาให้บริการในประเทศไทย ด้วย Google Wallet ผู้ใช้งานในไทยสามารถแตะเพื่อจ่ายเงินในร้านค้า หรือเช็คเอาท์ผ่านช่องทางออนไลน์ รวมทั้งเข้าถึงบอร์ดดิ้งพาสสำหรับการเดินทางที่เร่งรีบในช่วงเทศกาลวันหยุดส่งท้ายปลายปีได้อย่างง่ายดาย เปรียบเสมือนการรวมทุกกระเป๋าไว้ในที่เดียวในทุกการเดินทาง ซึ่งทั้งสะดวกและปลอดภัย

แจ็คกี้ หวาง (ซ้าย) Country Director, Google ประเทศไทย และ พิภาวิน สดประเสริฐ (ขวา) ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย

วิธีการชำระเงินผ่านโมบายคอนแทคเลสไม่ต่างจากการชำระแบบผ่านบัตรคอนแทคเลส ที่ผู้บริโภคเพียงแค่แตะเพื่อจ่ายด้วยสมาร์ตโฟนที่เครื่องอ่าน ณ จุดรับชำระเงิน  ซึ่งจากข้อมูลพบว่าผู้บริโภคชาวไทยบอกว่าข้อดีห้าอันดันแรกของการชำระเงินผ่านโมบายคอนแทคเลส คือ   ช่วยลดความเสี่ยงจากการติดต่อของเชื้อไวรัสโควิด (68%) ไม่จำเป็นต้องพกเงินสด (65%) เป็นรูปแบบการชำระเงินที่ทันสมัย (59%) ง่ายต่อการใช้งานและติดตั้งระบบ (58%) และไม่จำเป็นต้องพกบัตรเพื่อการชำระเงิน (56%)2

Google Wallet ได้รับการออกแบบมาเพื่อสร้างประสบการณ์การชำระเงินที่รวดเร็วและปลอดภัย แอปจะทำงานโดยมีหน่วยประมวลผลร่วมที่ช่วยให้การชำระเงินมีความปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วยระบบการรักษาความปลอดภัยแบบหลายชั้นที่ออกแบบให้สามารถเก็บข้อมูลส่วนตัวที่เป็นความลับของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ Google Wallet ยังใช้โทเค็น ซึ่งเป็นชุดข้อมูลชั่วคราวแทนข้อมูลเลขบัญชีจริงที่จะช่วยรักษาข้อมูลของเจ้าของบัตรให้ปลอดภัย โดยชุดข้อมูลจะถูกสร้างขึ้นเมื่อมีการเพิ่มบัตรไปที่ Google Pay หรือในแอปของธนาคารที่ติดตั้ง เพื่อให้ข้อมูลของผู้บริโภคนั้นถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ในขณะที่ชุดข้อมูลตัวเลขโทเค็นที่สร้างขึ้นมาทดแทนเลขบัญชีจริงจะถูกส่งไปยังร้านค้าแทน

ผู้ถือบัตรวีซ่า จะสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ บนอุปกรณ์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ Android และ WearOS ตั้งแต่เวอร์ชั่น Android 5.2 เป็นต้นไป โดยสามารถดาวน์โหลดแอป Google Wallet ได้ที่ Play Store

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Google Wallet สามารถดูได้ที่ https://wallet.google. และสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการชำระเงินแบบคอนแทคเลสของวีซ่าได้ที่ www.visa.co.th

Page 2 of 3
X

Right Click

No right click