ธนาคารกรุงไทย เปิดขายหุ้นกู้อนุพันธ์ชุดใหม่ “Gold Twin-Win” เพื่อตอบโจทย์ผู้ลงทุนทอง ที่คาดหวังผลตอบแทนจากการเคลื่อนไหวของราคาทอง เปิดโอกาสทำกำไรทั้งขาขึ้นและขาลง โดยกำหนดตอบแทนสูงสุดถึง 8.99%* ความเสี่ยงต่ำ คุ้มครองเงินต้น 100% โดยธนาคารกรุงไทย เปิดจองซื้อ 15-17 กุมภาพันธ์นี้

นายรวินทร์ บุญญานุสาสน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์การออมและการลงทุน ตอบโจทย์ผู้ลงทุนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสสร้างผลตอบแทนจากทุกสินทรัพย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงิน ล่าสุด ธนาคารได้ออกและเสนอขาย หุ้นกู้อนุพันธ์กรุงไทย Gold Twin-Win อายุ 1 ปี จ่ายผลตอบแทนอ้างอิงการเปลี่ยนแปลงราคาทองคำ เปิดโอกาสสร้างผลตอบแทนทั้งราคาขาขึ้นและขาลง ทั้งนี้หากราคาทองเคลื่อนไหวในกรอบที่กำหนด ผู้ลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้สูงสูดถึง 8.99% ในกรณีที่ราคาทองคำลง หรือ สร้างผลตอบแทนสูงสุด 5.99% ในกรณีที่ราคาทองคำปรับขึ้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในทองคำแต่ยังไม่แน่ใจทิศทาง และกลัวการสูญเสียเงินต้น เนื่องจากหุ้นกู้อนุพันธ์มีจุดแข็งคุ้มครองเงินต้น 100% โดยธนาคาร ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจาก Fitch Rating ที่ระดับ AAA

ในปี 2565 ราคาทองทำจุดสูงสุดที่ประมาณ 2,050 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์จากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และโดนกดดันอย่างหนักจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากธนาคารกลางสหรัฐฯ เพื่อควบคุมเงินเฟ้อและผลจากการที่ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า จนปรับตัวมาแตะจุดต่ำสุดที่ประมาณ 1,600 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงเดือนกันยายน เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อราคาทองคำในอนาคต ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ตามทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐที่ชะลอลงและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ทำให้ธนาคารกลางหลายประเทศหันมาถือครองทองคำมากขึ้น อย่างไรก็ตามราคาทองอาจมีความผันผวนได้ทั้งจากความไม่แน่นอนของสงคราม รวมถึงผลการประชุม FOMC ล่าสุดที่เฟดยังไม่ส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ย หุ้นกู้อนุพันธ์กรุงไทย Gold Twin-Win จึงถือเป็นตัวเลือกการลงทุนที่ตอบโจทย์ในภาวะตลาดที่คาดเดาทิศทางได้ยากโดยหากตลอดระยะเวลาการลงทุน ราคาทองเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบที่กำหนด

ผู้ลงทุนจะสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงราคาทองคำจะเคลื่อนไหวขึ้นหรือลง พร้อมลดความเสี่ยงจากการสูญเสียเงินต้นด้วยการคุ้มครองเงินต้นเต็มจำนวน 100% จากธนาคารกรุงไทยเมื่อถือครองจนครบกำหนด โดยอัตราผลตอบแทนคำนวนจากกรณีที่ราคาทองเคลื่อนไหวในกรอบ ที่ขอบบน +10% และขอบล่าง -15% ปรับด้วยเงื่อนไขอัตราการมีส่วนร่วม 60% และแสดงเป็นตัวเลขก่อนการแปลงค่าเงิน USDTHB ทั้งนี้หากราคาทองเคลื่อนไหวนอกรอบ ผู้ลงทุนรับผลตอบแทนคงที่ 0.25% (ผลตอบแทนก่อนปรับค่าเงิน USDTHB ) ทั้งนี้ผู้ลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนก่อนการลงทุน อัตราการมีส่วนร่วม และ ขอบบน ขอบล่าง อาจมีการเปลี่ยนแปลงกรณีตลาดผันผวน และธนาคารจะประกาศตัวเลขสุดท้ายในวันที่ 13 ก.พ.66 ,ทองคำอ้างอิง SPDR Gold Shares

ธนาคารเตรียมเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์กรุงไทย Gold Twin-Win ให้กับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ ลงทุนขั้นต่ำ 3 ล้านบาท เปิดจองซื้อผ่านทุกสาขา ตั้งแต่วันที่ 15-17 กุมภาพันธ์ 2566

 

นางประณยา นิถานานนท์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานการตลาดบัตรเครดิต นางสาวปริม ปัญญาเสรีพร ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต และนายธศพงษ์ รังควร ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตและบริหารข้อมูลลูกค้า “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ วีซ่า ประเทศไทย และ ครั้งแรกกับการรวมตัวของ 10 โรงแรมลักซ์ชัวรี่ในกรุงเทพฯ เปิดตัวแคมเปญ “Layers of love”

เพื่อส่งต่อความรักผ่านงานศิลปะ ด้วยการนำผลงานภาพวาดจากศิลปินร่วมสมัย “นพัฐห์ ปูคะวนัช” ผู้รังสรรค์ชิ้นงานจากความรู้สึกที่มีต่อความรัก ความเชื่อและความหวัง ในรูปแบบของการบีบสีที่ผสมผสานลงในขวดซอส และใช้เทคนิคการปาดและการสะบัดสี มาจัดพิมพ์บนผืนผ้าพันคอ (Scarf) ที่คัดสรรเป็นพิเศษสำหรับ 10 โรงแรมพันธมิตรชั้นนำในกรุงเทพฯ ซึ่งแต่ละลวดลายของผืนผ้าบ่งบอกถึงบุคลิกของแต่ละโรงแรมที่มีความยูนีคแตกต่างกันไป ด้วยหวังให้สมาชิกที่มีไลฟ์สไตล์ชื่นชอบการรับประทานอาหารภายในโรงแรม ได้ประทับใจกับของขวัญสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ผ้าพันคอ Layers of love รวมถึงร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลวันแห่งความรักอย่างคุ้มค่า เพียงสมาชิกใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซี วีซ่า รับสิทธิพิเศษและส่วนลดสูงสุด 59% ที่ห้องอาหาร 10 โรงแรมที่ร่วมรายการและเมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ครบ 4,000 บาทขึ้นไปต่อเซลส์สลิป (ยอดสุทธิหลังหักส่วนลด) โดยไม่ต้องใช้คะแนนแลก รับทันที! ผ้าพันคอ Layers of love (Limited Edition) ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 – 31 มีนาคม 2566

สำหรับ 10 โรงแรมชั้นนำที่เข้าร่วมแคมเปญดังกล่าวประกอบด้วย

โรงแรม โรสวูด กรุงเทพฯ 

โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ 

โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ 

โรงแรม แบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค

โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ 

โรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ

โรงแรม เดอะ เซนต์ รีจิส กรุงเทพฯ

โรงแรม สุโขทัย กรุงเทพ 

โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ สุขุมวิท

และโรงแรมสินธร เคมปินสกี กรุงเทพ

งานเปิดตัวแคมเปญ “Layers of love” ดังกล่าวจัดขึ้นที่ห้องละคร ยูโรเปียน บราสเซอรี่ โรงแรม โรสวูด กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีสื่อมวลชนและแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ KTC PHONE 02 123 5000 หรือที่เว็บไซต์ https://ktc.promo/hotel-dining-layers-of-love-fb สมัครบัตรเครดิตได้ที่ศูนย์บริการสมาชิก เคทีซี ทัช ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือคลิกลิงค์ http://bit.ly/apply-ktc

ธนาคารกรุงไทย” เผยผลประกอบการปี 2565 ยังเติบโต ทำกำไรสุทธิ 33,698 ล้านบาท โดยเพิ่มถึงร้อยละ 56 จากปีที่ผ่านมา และกำไรไตรมาส 4 ปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 64 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาจากรายได้รวมที่ขยายตัวได้ดี โดยสินเชื่อเติบโตอย่างสมดุล รายได้ดอกเบี้ยเติบโตตามทิศทางอัตราดอกเบี้ย เดินหน้าดูแลลูกค้ากลุ่มเปราะบางปรับตัวรับแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจ

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยปี 2565 ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวได้ดี กิจกรรมเศรษฐกิจภายในประเทศทยอยกลับมาเป็นปกติมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี รวมถึงการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2565 ช่วยให้ภาคการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง จากสงครามรัสเซียและยูเครนกดดันราคาพลังงานให้เพิ่มขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อคุมภาวะเงินเฟ้อ และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้ ธนาคารตระหนักถึงผลกระทบต่อลูกค้าประชาชน จึงพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยให้ความสำคัญกับการดูแลลูกค้ากลุ่มเปราะบางที่รายได้ยังไม่กลับมาปกติ ผ่านมาตรการความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม โดยคำนึงถึงศักยภาพและโอกาสในการปรับตัวของลูกค้า เพื่อรองรับทิศทางเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว พร้อมดูแลผู้ฝากเงินให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ส่งเสริมการออมเพื่อความมั่นคงทางการเงินในอนาคต

สำหรับผลการดำเนินงานปี 2565 ธนาคารและบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เท่ากับ 33,698 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 56.1 สาเหตุหลักจากรายได้รวมจากการดำเนินงานที่ขยายตัวร้อยละ 8.3 จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่เพิ่มขึ้นตามการเติบโตของสินเชื่อที่มุ่งเน้นคุณภาพ โดยสินเชื่อไม่รวมสินเชื่อภาครัฐ เติบโต ร้อยละ 4.3 จากสิ้นปี 2564 และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้น รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิและรายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในองค์รวม ทำให้ Cost to Income ratio เท่ากับร้อยละ 43.68 ลดลงจากร้อยละ 45.54 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยมีการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์อย่างระมัดระวัง และติดตามภาพรวมของเงินให้สินเชื่ออย่างใกล้ชิด โดยมีอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม (NPLs Ratio-Gross) ร้อยละ 3.26 ลดลงจากสิ้นปี 2564 ที่เท่ากับร้อยละ 3.50 อีกทั้ง พิจารณาอย่างรอบคอบถึงปัจจัยแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน โดยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ลดลงร้อยละ 25.2 จากช่วงเดียวกันของปี ซึ่งยังคงรักษา Coverage ratio ในระดับสูงที่ร้อยละ 179.7 เทียบกับร้อยละ 168.8 เมื่อสิ้นปี 2564

ผลการดำเนินงานไตรมาส 4/2565 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2564 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เท่ากับ 8,109 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.0  มีสาเหตุหลักจากรายได้รวมจากการดำเนินงานที่ขยายตัวร้อยละ 15.8 จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ ตามการเติบโตของสินเชื่อที่มุ่งเน้นคุณภาพทั้งสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่อรายย่อย พร้อมรักษาสมดุลของสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง โดยธนาคารมีการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายโดยองค์รวม ส่งผลให้ Cost to Income ratio เท่ากับร้อยละ 45.30 ลดลงจาก ร้อยละ 49.16 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 7,532 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.5 โดยยังคงรักษา Coverage ratio ในระดับสูง เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3/2565 กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาจากการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 32.9 ซึ่งเป็นการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์อย่างระมัดระวังพร้อมกับการพิจารณาตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบถึงปัจจัยแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน จากค่าครองชีพ ค่าแรงงาน อัตราดอกเบี้ย ราคาพลังงาน และเงินเฟ้อที่สูงขึ้น กระทบกลุ่มเปราะบางต่อเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศมหาอำนาจของโลก ส่งผลให้ NPLs Ratio-Gross เท่ากับร้อยละ 3.26 และยังคงรักษา Coverage ratio ในระดับสูงที่ร้อยละ 179.7 โดยธนาคารมีกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 มีสาเหตุหลักจากรายได้รวมจากการดำเนินงานที่ขยายตัวร้อยละ 9.7 จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และรายได้จากการดำเนินงานอื่น ประกอบกับการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในองค์รวม ทำให้ Cost to Income ratio เท่ากับร้อยละ 45.30 ณ 31 ธันวาคม 2565 ธนาคาร (งบการเงินเฉพาะธนาคาร) มีเงินกองทุนชั้นที่ 1 ร้อยละ 16.50 ของสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยง และมีเงินกองทุนทั้งสิ้น ร้อยละ 19.68 ของสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยง ซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์ของ ธปท. ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน 2565 ธนาคารได้ออกตราสารด้อยสิทธิ ที่สามารถนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 จำนวน 18,080 ล้านบาทเพื่อเตรียมพร้อมทดแทนตราสารด้อยสิทธิที่ไถ่ถอนจำนวน 20,000 ล้านบาทในเดือนพฤศจิกายน 2565 ซึ่งเป็นการไถ่ถอนก่อนวันครบกำหนดเพื่อช่วยรักษาระดับของอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 2 ต่อสินทรัพย์เสี่ยงให้แข็งแกร่งและรองรับการเติบโตในอนาคต

ทั้งนี้ ในปี 2565 ธนาคารมุ่งมั่นขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนไทยภายใต้วิถีใหม่ (New Normal) ทั้งในด้านการชำระเงิน พัฒนา “เป๋าตังเปย์” เป็นซูเปอร์วอลเล็ตสำหรับคนรุ่นใหม่ เติมเต็มฐานลูกค้าให้ตอบโจทย์ทุกฐาน จับมือพันธมิตรทำ โครงการ “Point Pay” นำคะแนนสะสมของพันธมิตรทั้ง AIS บางจาก และ MAAI by KTC มาใช้จ่ายแทนเงินสดในร้านค้าถุงเงินทั่วประเทศ เพิ่มโอกาสขายสินค้า เพิ่มรายได้ให้กับร้านค้าถุงเงินซึ่งเป็นร้านค้าขนาดเล็ก การออมและการลงทุน ธนาคารประสบความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์การออมและการลงทุนดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ทำสถิติขายหมดในเวลาอันรวดเร็ว โดยในปี2565 เสนอขายหุ้นกู้ดิจิทัลทั้งหมด 8 รุ่น วงเงินรวม 26,000 ล้านบาท พันธบัตรวอลเล็ต สบม. เปิดขาย 2 รุ่น วงเงินรวม 25,000 ล้านบาท และ Gold Wallet ซึ่งมีพันธมิตรร้านทองชั้นนำ 3 ร้าน คือ MTS Gold แม่ทองสุก วายแอลจี และออโรร่า มีลูกค้าเปิดบัญชีแล้ว 150,000 บัญชี สนับสนุนบริการภาครัฐ ร่วมกับ “ศาลยุติธรรม” เปิดบริการ “แผนกคดีซื้อขายออนไลน์ในศาลแพ่ง” ฟ้องออนไลน์ได้ 24 ชั่วโมง จับมือ “กรมศุลกากร” ต่อยอด Customs Trader Portal ให้นิติบุคคลลงทะเบียนออนไลน์ และยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ครั้งแรกของประเทศ จับมือ “กรมบัญชีกลาง” เปิดตัวบริการ e-GP Transformation for Thailand’s Future และพัฒนาบริการเชื่อมสิทธิข้าราชการเข้ากระเป๋าสุขภาพแบบเรียลไทม์ ร่วมกับ “กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา” MOU ดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่สำคัญธนาคารยังพัฒนาบริการสำหรับผู้พิการทางสายตาผ่านตู้ ATM ให้สามารถเข้าถึงบริการทางเงินได้สะดวก เท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ ทำให้ผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นทุกแพลตฟอร์ม โดยสิ้นปี 2565 มีผู้ใช้บริการแอปฯเป๋าตังกว่า 40 ล้านคน Krungthai NEXT 16 ล้านคน Krungthai Connext 18 ล้านคน และแอปฯ ถุงเงิน 1.7 ล้านร้านค้า

สำหรับทิศทางเศรษฐกิจไทย ปี 2566 Krungthai Compass คาดว่า จะขยายตัวได้ในระดับ 3.4% ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความท้าทาย จากภาคการส่งออกที่มีสัญญาณการชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก ขณะที่ภาวะต้นทุนที่อยู่ในระดับสูงตามราคาพลังงาน ค่าไฟฟ้า และทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ธนาคารจึงดำเนินธุรกิจด้วยความรอบคอบ โดยให้ความสำคัญกับการดูแลลูกค้ากลุ่มเปราะบาง สนับสนุนการปรับตัวรองรับกับทิศทางภาวะเศรษฐกิจ พร้อมเดิมหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกมิติ ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยให้ดีขึ้นทุกวัน ยึดมั่นแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล(ESG) โดยนำกรอบเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน(SDGs) มาปรับใช้ในกระบวนการดำเนินงานทุกด้าน อย่างทั่วถึง และเท่าเทียม ตามวิสัยทัศน์ “กรุงไทย เคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน”

ธนาคารกรุงไทย” สนับสนุนยกระดับบริการศุลกากรดิจิทัล นำร่องเปิดบริการหนังสือค้ำประกันระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน (ASEAN Customs Transit System: ACTS) หลักประกันเดียวใช้ได้ทั่วภูมิภาค ลดความซ้ำซ้อนและค่าใช้จ่ายในการทำเอกสาร อำนวยความสะดวกผู้ประกอบการขนส่งสินค้าผ่านแดนทางบกในภูมิภาคอาเซียน หนุนธุรกรรมการค้าชายแดน เพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจไทยและภูมิภาคอาเซียน

นายธวัชชัย ชีวานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารจัดการทางการเงินเพื่อธุรกิจ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ในฐานะธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ ธนาคารมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกรมศุลกากร ในการยกระดับบริการศุลกากรสู่ดิจิทัล เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและภาคธุรกิจ ให้สามารถเข้าถึงบริการได้ทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ปลอดภัย ยกระดับคุณภาพชีวิตทั้งของคนไทยและธุรกิจไทยให้ดีขึ้นในทุกวัน ตามยุทธศาสตร์ X2G2X ของธนาคาร โดยที่ผ่านมาธนาคารได้พัฒนาระบบลงทะเบียนผู้มาติดต่อออนไลน์ทาง “Customs Trader Portal” ผ่าน www.customstraderportal.com เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลงทะเบียนผู้นำเข้า/ส่งออก ตัวแทนออกของ และผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของ โดยเพิ่มช่องทางให้สามารถลงทะเบียนแก้ไขข้อมูลและต่ออายุ รวมถึงบริการอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งระบบลงทะเบียนดังกล่าวจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน ไม่ต้องเดินทางมายังหน่วยบริการรับลงทะเบียนของกรมศุลกากร หรือมอบบัตรประชาชนให้กับผู้รับมอบอำนาจมาดำเนินการแทน ด้วยการยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC) ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลลงทะเบียนนั้นถูกต้องและปลอดภัย นอกจากนี้ ธนาคารกรุงไทยยังได้พัฒนาระบบใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ช่วยลดขั้นตอนเอกสารและลดการใช้กระดาษอีกด้วย

ล่าสุด ธนาคารได้นำร่องเปิดให้บริการหนังสือค้ำประกันระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน หรือ Bank Guarantee for ASEAN Customs Transit System (ACTS) เป็นธนาคารแรก เพื่อยกระดับการค้าระหว่างประเทศและเพิ่มประสิทธิภาพบริการศุลกากรสำหรับการขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน ประกอบด้วย ไทย มาเลเซีย พม่า ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และกัมพูชา โดยผู้ประกอบการสามารถวางหนังสือค้ำประกันฉบับเดียวเพื่อเป็นหลักประกันในการขนส่งสินค้าผ่านแดนไปยังทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน ที่ใช้ระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน ลดความซ้ำซ้อนและค่าใช้จ่าย โดยไม่ต้องจัดทำเอกสารผ่านแดนทุกครั้ง เมื่อขนส่งสินค้าผ่านไปยังประเทศต่างๆ และยังสามารถเลือกได้ว่าจะวางค้ำประกันเป็นแบบต่อเที่ยว (Single journey) หรือวางค้ำประกันเป็นแบบหลายเที่ยวต่อการวางค้ำประกันหนึ่งครั้ง (Multiple journey) อีกทั้งยังสามารถใช้ยานพาหนะเดียววิ่งรับขนส่งสินค้าตลอดการผ่านแดน โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายยานพาหนะ ทำให้กระบวนการขนส่งมีความรวดเร็วขึ้น และสามารถส่งคำขอออกหนังสือค้ำประกันผ่านแดนได้ทุกที่ ผ่านระบบ Krungthai Trade Online ทำให้บริหารจัดการการขนส่งสินค้าและเวลาในการทำธุรกรรมได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ บริการหนังสือค้ำประกันระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน ยังช่วยสนับสนุนกระบวนการทางด้านโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันทาง

การค้าระหว่างประเทศ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประเทศผ่านแดนว่าการขนส่งสินค้าผ่านแดนทางบก มีความมั่นคง ปลอดภัย สอดคล้องกับเป้าหมายกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit: AFAFGIT) ช่วยยกระดับการค้าชายแดนไทย-อาเซียนให้ขยายตัวต่อเนื่อง จากเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2565 การค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยมีมูลค่ารวมกว่า 1,598,794 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.52% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ข้อมูลจากกรมการค้าต่างประเทศ) โดยการขยายตัวของการค้าชายแดน มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการส่งออกของไทยให้เติบโตได้ตามเป้าหมาย และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจติดต่อ เจ้าหน้าที่ดูแลลูกค้าธุรกิจสัมพันธ์ หรือผู้ชำนาญการธุรกิจต่างประเทศ (ทีม Trade Solutions) ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Contact Center โทร 02-111-9999

ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2566 ฟื้นตัวต่อเนื่อง เติบโต 3.4% จากแรงขับเคลื่อนของภาคการท่องเที่ยวที่สนับสนุนเศรษฐกิจทดแทนการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัว

ชี้ไทยเผชิญ 5 ปัจจัยการเปลี่ยนผ่านสำคัญ เป็นทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับภาคธุรกิจ “การก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ-เศรษฐกิจโลกชะลอตัว-ภาคท่องเที่ยวฟื้น-ดอกเบี้ยขาขึ้น-ภาวะต้นทุนสูง” แนะภาคธุรกิจแสวงหาโอกาสและวางแผนรับมือกับปัจจัยการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามากระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมิน ปี 2566 ว่า เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง นำพาเศรษฐกิจไทยไปอยู่ในจุดที่ไม่คุ้นเคย ภายใต้โลกใหม่ที่มีความผันผวนและซับซ้อนมากขึ้น โดยมีการเปลี่ยนผ่าน หรือ Transition สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เศรษฐกิจโลกเปลี่ยนผ่านสู่ภาวะชะลอตัว เครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนผ่านสู่ภาคการท่องเที่ยว การเปลี่ยนผ่านสู่ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นของไทย และการเปลี่ยนผ่านท่ามกลางแรงกดดันด้านต้นทุนที่สูงขึ้น

Krungthai COMPASS มองว่า การเปลี่ยนผ่านทั้ง 5 ด้านมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เป็นได้ทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับภาคธุรกิจ เช่น ผู้ประกอบการจะต้องเผชิญกับอุปสรรคในการปรับตัวเข้าบริบทโลกใหม่ที่ใส่ใจกับเรื่อง climate change และความยั่งยืน อาจมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นจากการปรับธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในยามที่ต้นทุนอื่นๆ ก็สูงขึ้นรอบด้านทั้งดอกเบี้ย ค่าไฟ และค่าแรง แต่ในอีกมุมหนึ่งนั้น ผู้ประกอบการที่ปรับตัวจะมองเห็นลู่ทางธุรกิจใหม่ๆ มีโอกาสเติบโตแม้ในยามที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว”

ดร. ฉมาดนัย มากนวล นักวิเคราะห์อาวุโส ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า แม้ว่าประเทศเศรษฐกิจหลักอย่างสหรัฐฯ จะชะลอตัวจากการขึ้นดอกเบี้ย และยุโรปมีแนวโน้มจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากวิกฤตพลังงาน แต่การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศเหล่านั้น ยังมีทิศทางที่เข้มข้นมากขึ้น สะท้อนจากการตอกย้ำจุดยืนของประชาคมโลกรวมถึงประเทศไทยในเวทีการประชุม COP27 และการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา สำหรับในปี 2566 ภาคธุรกิจต้องติดตามประเด็นด้านกฎเกณฑ์ที่สำคัญ อาทิ การเดินหน้าบังคับใช้มาตรการการเก็บภาษีคาร์บอนที่พรมแดน หรือ CBAM ของยุโรป และแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม หรือ Taxonomy ของประเทศไทย นอกจากนี้ ภาคธุรกิจยังต้องมองหาโอกาสจากนโยบายรัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น นโยบายเศรษฐกิจ BCG และนโยบายการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติภายใต้แนวคิด “Better and Green Thailand 2030” เป็นต้น

นายชนม์นิธิศ ไชยสิงห์ทอง นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า Krungthai COMPASS คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตที่ 3.4% ฟื้นตัวต่อเนื่องจากปี 2565 ที่ขยายตัวได้ 3.2% แรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจจะถูกเปลี่ยนผ่านไปสู่ภาคการท่องเที่ยว โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นเป็น 22.5 ล้านคนหรืออาจจะมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนหลังประเทศจีนผ่อนคลายนโยบาย Zero COVID อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกที่อ่อนแรงลงจะกระทบต่อการส่งออก ซึ่งอาจขยายตัวเพียง 0.7% เท่านั้น ซึ่งการที่เศรษฐกิจไทยเดินหน้าด้วยเครื่องยนต์เดียวจึงฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่นัก

นอกจากนี้ ภาวะเงินเฟ้อสูงจะยังไม่หมดไปเนื่องจากภาคธุรกิจยังต้องรับมือกับการเปลี่ยนผ่านด้านต้นทุนที่ปรับสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีจะยังสูงกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งผลให้คาดว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 1.25% ในปี 2565 ขึ้นสู่ระดับ 2% ในปี 2566 และอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงสุด (Terminal rate) อาจอยู่ที่ 2.5% ในปี 2567 เป็นยุคดอกเบี้ยขาขึ้นเต็มตัวของประเทศไทย ส่วนค่าเงินบาทยังเผชิญความผันผวนจากการคาดการณ์นโยบายการเงินของสหรัฐฯ โดยคาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ในช่วง 33.75-36.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

ตารางสรุปประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2565-2566

2564 2565f 2566f

GDP Thai (%YoY) 1.5 3.2 3.4

Private Consumption (%YoY) 0.3 6.2 3.5

Government Consumption (%YoY) 3.2 -0.1 -0.2

Private Investment (%YoY) 3.3 3.5 3.2

Public Investment (%YoY) 3.8 -1.4 2.2

Export USD (%YoY) 19.2 7.0 0.7

Import USD (%YoY) 23.9 15.0 1.3

Headline Inflation (%) 1.2 6.1 3.1

Tourism Arrivals (Million Persons) 0.43 10.2 22.5

Policy Rate (End of Period) 0.50% 1.25% 2.00%

THB / USD (Year Range) 30.0 – 33.5 32.7 – 37.9 33.75 – 36.50

ที่มา: ประเมินโดย Krungthai COMPASS (ณ ธันวาคม 2565)

ทีม Marketing Strategy

10 มกราคม 2566

X

Right Click

No right click