นนทบุรี- บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ประสบความสำเร็จในการจัดหาเงินกู้สีเขียว ประมาณ 495 ล้านเหรียญออสเตรเลีย เพื่อปรับโครงสร้างหนี้โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน 3 แห่งในออสเตรเลีย ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานลมคอลเล็กเตอร์ ขนาดกำลังการผลิต 226.8 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังงานลมเมาท์เอเมอรัลด์ ขนาดกำลังการผลิต 180.5 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์คอลลินส์วิลล์ ขนาดกำลังการผลิต 42.5 เมกะวัตต์ ธุรกรรมดังกล่าวดำเนินการผ่านบริษัทย่อยที่ถือหุ้นทั้งหมด คือ บริษัท ราช-ออสเตรเลีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (RAC) ซึ่งตั้งอยู่ในออสเตรเลีย ภายใต้กรอบการเงินสีเขียว (Green Finance Framework) ของ RAC ซึ่งสอดคล้องกับหลักการตราสารหนี้เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond Principle) ของ International Capital Market Association และหลักการการกู้ยืมสีเขียว (Green Loan Principle) ของ Loan Market Association

 

สำหรับบริษัท ราช-ออสเตรเลีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าในออสเตรเลีย โดยพอร์ตการลงทุนปัจจุบัน มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 1.2 กิกะวัตต์ ความสำเร็จในการปรับโครงสร้างหนี้ครั้งนี้ นอกจากจะช่วยสถานะทางการเงินให้แข็งแกร่งแล้ว ยังช่วยเพิ่มศักยภาพของ RAC ให้สามารถขยายการลงทุนได้เพิ่มมากขึ้นด้วย

 

เงินกู้สีเขียวดังกล่าวนี้ ได้รับรางวัล IJGlobal Awards 2022 ประเภท “Refinance Deal of the Year – Portfolio” ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เนื่องจากเป็นธุรกรรมจัดหาเงินกู้เพื่อนำไปชำระคืนหนี้พอร์ตลงทุนโครงการพลังงานทดแทนและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีอันเป็นผลมาจากราช กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของ RAC มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง นอกเหนือจากนี้ โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำอาซาฮาน-1 ประเทศอินโดนีเซีย กำลังการผลิตติดตั้ง 180 เมกะวัตต์ ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นทางอ้อมร้อยละ 47.89 ยังได้รับรางวัล “Refinance Deal of the Year – Hydropower” จาก IJGlobal Awards 2022 ด้วย

 สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) จตุจักร กรุงเทพฯ: ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และดร.สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ เรื่องความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาวิทยาการระบบและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ เกษตร และพลังงานของประเทศ โดยมี ดร.รอยล จิตรดอน ที่ปรึกษา สสน. ดร.รอยบุญ รัศมีเทศ รองผู้อำนวยการ สสน. พร้อมด้วย ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการ สวทช. และ ดร.ปิยวุฒิ ศรีชัยกุล รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. เข้าร่วมงาน

ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. พร้อมสนับสนุนความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาวิทยาการระบบและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ เกษตร และพลังงานของประเทศ ซึ่งเป็นงานวิจัยที่มีการพัฒนาขึ้นมากในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา โดย สวทช. ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนางานวิจัยดังกล่าว ทำให้ประเทศสามารถสร้างเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการน้ำ เกษตรและพลังงานโดยสามารถขยายเครือข่ายงานวิจัยได้อย่างกว้างขวางและยั่งยืน

ทั้งนี้ความร่วมมือล่าสุดของสองหน่วยงาน จะร่วมมือภายใต้โครงการแพลตฟอร์ม Thailand Agricultural Data Collaboration Platform (THAGRI) เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ภาคการเกษตร ซึ่ง สสน.ได้อนุเคราะห์ข้อมูลคาดการณ์น้ำระยะกลาง (1 - 3 เดือน) มาแบ่งปันให้กับนักพัฒนาบนระบบ THAGRI เพื่อให้นักพัฒนาหรือผู้สนใจนำข้อมูลการคาดการณ์น้ำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ ขณะที่ สวทช. มีผู้เชี่ยวชาญและเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ LANTA อันดับหนึ่งในอาเซียน ด้วยประสิทธิภาพในการคำนวณที่สูงถึง 8.1 พันล้านล้านคำสั่งต่อวินาที ที่สามารถรองรับการใช้งานได้กับหัวข้อวิจัยที่สำคัญและหลากหลาย เพื่อสนับสนุนนักวิจัยในการสร้างนวัตกรรมให้กับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรม อาทิ การจำลองสภาพภูมิอากาศตามเวลาจริงโดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม และความหลากหลายทางระบบนิเวศวิทยาของไทย เป็นต้น

“ที่ผ่านมา สสน.และ สวทช. มีความร่วมมือในโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่และฤดูกาลปลูกด้วยข้อมูลทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม (RiceFit) โดย สวทช. ได้ใช้ข้อมูลด้านปริมาณน้ำจาก สสน. มาประกอบในการคัดเลือกพันธุ์ปลูกที่เหมาะสมต่อสถานที่และฤดูกาล เพื่อลดความเสี่ยงในการผลิต นอกจากนี้ในโครงการบูรณาการข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ

ใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร (What2Grow) ซึ่งได้จัดทำแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ ระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ (AgriMap) ยังได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบโทรมาตรของ สสน. มาแสดงผลในชั้นแผนที่ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบให้เกษตรกรสามารถเลือกพืชที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่ต้องการปลูกได้สะดวกขึ้น” ผู้อำนวยการ สวทช. ระบุ

ด้าน ดร.สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการ สสน. กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ สสน. มีแนวทางดำเนินงานให้เกิดความร่วมมือ ด้วยการเพิ่มศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย งานพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้านการบริหารจัดการน้ำ เกษตร และพลังงานในทุกภาคส่วน พร้อมส่งเสริม สนับสนุน แลกเปลี่ยน และถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยจะขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ เกษตร และพลังงาน ร่วมกับ สวทช. ตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดกลไกการดำเนินงานที่เชื่อมโยง สอดรับแนวนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติ ให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ นำไปสู่การสร้างประโยชน์ด้านการบริหารจัดการน้ำ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อย่างมั่นคงและยั่งยืน

SCN โชว์กำไร 9 เดือน เติบโต 666 % สะท้อนความแข็งแกร่งของธุรกิจ ที่คาดว่าจะสร้างผลตอบแทนอย่างก้าวกระโดดในอนาคต ชูธุรกิจพลังงานทดแทนและก๊าซ ยังได้รับอานิสงส์ต่อเนื่อง คาดการณ์รายได้ปีนี้โตตามเป้า

ดร.ฤทธี กิจพิพิธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. สแกน อินเตอร์ หรือ SCN ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจก๊าซธรรมชาติ พลังงานทดแทน และขนส่งแบบครบวงจร เปิดเผยว่า ผลประกอบการไตรมาส 3/2565 บริษัทมีกำไรสุทธิ 21.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 637.94% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2564 ที่มีกำไรสุทธิ 2.9 ล้านบาท และมีรายได้ 343.4 ล้านบาท ขณะที่ผลประกอบการงวด 9 เดือน บริษัทมีรายได้ 1,058.95 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 324.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 666.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 41.41 ล้านบาท

โดยการเติบโตที่เพิ่มขึ้นเกิดจากความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการและการเล็งเห็นโอกาสในการเติบโตในทุกมิติของ SCN จากการลงทุนในธุรกิจต่างๆ ทั้งธุรกิจก๊าซที่ยังได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันที่พุ่งส่งขึ้น ทำให้ความต้องการใช้ก๊าซเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ธุรกิจพลังงานทดแทน (Renewable Energy) ที่เริ่มรับรู้รายได้และได้รับกำไรส่วนแบ่งจากการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

ผลประกอบไตรมาส 3 นี้ถือว่ามีความโดดเด่น เติบโตในทิศทางที่ดีในทุกธุรกิจ และสะท้อนภาพรวมของการดำเนินธุรกิจของ SCN ได้เป็นอย่างดี ซึ่งคาดว่าจะทำให้ทิศทางแนวโน้มทั้งรายได้และกำไรจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้” ดร.ฤทธี กล่าว

สำหรับภาพรวมธุรกิจของบริษัทในช่วงที่ผ่านมา มีการเติบโตในทุกกลุ่มธุรกิจ ธุรกิจพลังงานทดแทน (Renewable Energy) ที่ดำเนินการโดยบริษัทสแกน แอดวานซ์ เพาเวอร์ จำกัด (SAP) ได้รับโครงการผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ (COD) เพิ่มขึ้นอีก 2 โครงการ ทำให้ปัจจุบันมี COD ทั้งสิ้น 22 โครงการและมีขนาดกำลังผลิตรวม 19 เมกะวัตต์

ขณะที่ธุรกิจก๊าซธรรมชาตินั้น ก็ถือว่ายังมีการเติบโตที่ดี ปริมาณความต้องการใช้ก๊าซยังอยู่แนวโน้มที่ดี จากราคาน้ำมันที่ยังคงปรับตัวขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เริ่มให้ความสนใจหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นพลังงานทางเลือก และที่สำคัญ

บริษัทน่าจะได้รับอานิสงส์ด้านการตลาดและขยายกลุ่มลูกค้า ภายหลังจากการที่ บริษัท TOHO GAS ซึ่งเป็นบริษัทก๊าซธรรมชาติอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น ตัดสินใจเข้าร่วมลงทุน โดยผ่านการถือหุ้นในบริษัท Thai ST Energy Investment Company ซึ่งถือหุ้นร่วมกันระหว่าง TOGO GAS และ Shizuoka Gas และลงทุนในบริษัทเครือข่ายก๊าซ ไทย-ญี่ปุ่น จำกัด (TJN) โดยทั้ง 2 บริษัทจากญี่ปุ่นถือว่าเป็นผู้นำในธุรกิจก๊าซและมีฐานลูกค้าในประเทศไทยที่แข็งแกร่ง โดยตั้งเป้าจะมี่ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 MMbtu ต่อวัน

ด้านธุรกิจอื่นๆ ถือว่าเป็นไปตามที่บริษัทคาดการณ์ไว้ โดยมีอัตรากำไรขั้นต้นที่น่าพอใจและสะท้อนให้เห็นถือทิศทางการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจน ทำให้แนวโน้มรายได้และกำไรมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

 

บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนทั้งโซล่าร์รูฟท็อป

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดทำคลิปวีดิโอ “สนพ.เราสร้างสรรค์...เพื่อทุกคน” ชุดที่ 2 ขึ้น เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ของ สนพ.

Page 2 of 2
X

Right Click

No right click