×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10972

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

บล.ไทยพาณิชย์ มองวัฏจักรเศรษฐกิจกำลังจะเปลี่ยนจากภาวะ Reflation เข้าสู่ Stagflation (เศรษฐกิจชะลอตัวแต่เงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น) โดยประเมินระดับเหมาะสมของ SET Index ปี 2565 อิงกับปัจจัยพื้นฐานอยู่ที่ 1,600 จุด แนะนำกลยุทธ์การลงทุน ถือครองหุ้นขนาดใหญ่และกลุ่มหุ้นเชิงรับที่กำไรมีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่งและงบดุลแข็งแรงเพื่อลดความผันผวนและป้องกันผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด หุ้นแนะนำใน 4Q21 คือ BEM KCE OSP SECURE และ ZEN

 

นายสุกิจ อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการ Chief Research Officer บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) กล่าวว่าวัฏจักรเศรษฐกิจกำลังจะเปลี่ยนจากภาวะ Reflation สู่ภาวะ Stagflation (เศรษฐกิจชะลอตัวแต่เงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น) ตลาดปรับลดมุมมองเกี่ยวกับการเติบโตลงโดยมีสาเหตุมาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา และการเติบโตของจีน ในขณะที่ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสืบเนื่องมาจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานองค์ประกอบความกังวลที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง คือ ความเสี่ยงจากไวรัสสายพันธุ์เดลต้าและบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของจีนรวมถึงการปรับลดวงเงิน QE ของเฟด ทั้งนี้คาดเฟดจะประกาศลด QE จริงใน 4Q21 การปรับลดวงเงินมาตรการซื้อสินทรัพย์ (QE tapering) อาจจะส่งผลทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงและเพิ่มความเสี่ยงให้กับสินทรัพย์ทางการเงิน เมื่อสินทรัพย์รวมของธนาคารกลางปรับตัวลดลง ผลตอบแทนของตลาดจะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ ส่วนความกังวลจากประเทศจีน คือ กฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นของสถาบันการเงินส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ ตัวอย่างเช่น กรณีของบริษัท Evergrande ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่อันดับสองในจีนมีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ นอกจากนี้เมื่อ yield curve เปลี่ยนเป็น Bear หรือ Bull flattening ผลตอบแทนโดยรวมของสินทรัพย์เสี่ยง (รวมถึง SET) ยังคงเป็นบวกแต่จะลดลงสู่ตัวเลขหลักเดียว

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ตัวเลขเศรษฐกิจไทยล่าสุดแสดงถึงการปรับตัวดีขึ้นบ้างหลังจากยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เริ่มปรับตัวลดลงตามลำดับ ในขณะที่อัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ระดับมากกว่า 500,000 คนต่อวัน ส่งผลทำให้รัฐบาลประกาศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในจังหวัดพื้นที่สีแดง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนก.ค. ส่งสัญญาณถึงการปรับตัวแย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ ดังนั้นเราจึงยังคงประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยไว้ที่ ประมาณ 1% ในปีนี้ ลดลงจากที่ คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 2% โดยมีสาเหตุมาจากมาตรการล็อกดาวน์รอบล่าสุด เราเชื่อว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยขึ้นอยู่กับสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 และการทยอยกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจใกล้เคียงกับโมเดลของSCBS

 

แนวโน้มตลาดหุ้นไทยไตรมาสที่ 4/64 โดยปกติแล้วไตรมาส 4 เป็นไตรมาสที่แข็งแกร่งและผลตอบแทนเป็นบวก โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย4% และปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 60%ในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่ออิงกับข้อมูลในอดีต นอกจากนี้ไตรมาส 4 ยังเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดสาหรับหุ้นที่มี beta สูง เช่น หุ้นขนาดเล็ก หุ้นคุณค่า และหุ้นวัฏจักร แต่ครั้งนี้อาจจะแตกต่างออกไป โดยมีสาเหตุมาจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะ stagflation แรงกดดันด้านมาร์จิ้น QE tapering และความเสี่ยงด้านการเมืองที่สูงขึ้นซึ่งอาจทำให้ตลาดเกิดความผันผวนในไตรมาสนี้ ดังนั้น เพื่อเตรียมรับมือกับความผันผวนที่เพิ่มขึ้น จึงแนะนำให้คงการถือครองหุ้นขนาดใหญ่และกลุ่มหุ้นเชิงรับที่กำไรมีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่งและงบดุลแข็งแรงเพื่อลดความผันผวนและป้องกันผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด

 

หุ้นเด่นไตรมาสที่ 4/64 แนะนำหุ้นที่มีลักษณะเฉพาะ 1) เป็นหุ้นเชิงรับ 2) ได้ประโยชน์จากการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 3) เป็นหุ้นที่มีอำนาจในการกำหนดราคาสูง และ 4) เป็นหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงจากปัจจัยเศรษฐกิจมหภาค หุ้นแนะนำคือ BEM, KCE, OSP, SECURE และ ZEN

 

 

· BEM : เป็นหุ้นที่อิงกับปัจจัยภายนอกประเทศน้อย คาดว่าจำนวนผู้โดยสารจะมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตามการคลายมาตรการ COVID-19 หลังจากกรุงเทพมีการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นและจำนวนผู้ป่วยลดลง ส่วนปริมาณจราจรบนทางด่วนมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังมีความน่าจะเป็นในการชนะการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

· KCE : กำไรของบริษัทมีแนวโน้มเติบโต HoH และ YoY ในครึ่งปีหลังของปี 2564 ภาพอุตสาหกรรมมีการเติบโตในระดับสูง บริษัทสามารถส่งผ่านต้นทุนไปยังลูกค้าได้ เนื่องจากความต้องการสินค้าของบริษัทอยู่ในระดับที่สูงและมีปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนค่อนข้างจำกัด ค่าเงินบาทจะเป็นอีกปัจจัยที่สนับสนุนการเพิ่มขึ้นของกำไร

· OSP : เป็นหุ้นที่มีลักษณะเชิงรับและมีความผันผวนต่ำ เป็นบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งการฟื้นตัวของตลาดภายในประเทศของสินค้าจำเป็นและเครื่องดื่มจะช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดพม่าที่คิดเป็น 10% ของรายได้

· SECURE : เป็นหุ้นขนาดเล็กที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีอย่าง Cybersecurity (ความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์) ที่คาดว่าจะมีความต้องการและลงทุนในกลุ่มนี้ค่อนข้างสูงในอีก 3 ปีข้างหน้า และเป็นหุ้นที่เข้าในธีมธุรกิจใหม่ที่มี S-curve ในระยะยาว

· ZEN : การทยอยผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ช่วยสนับสนุนให้ผลประกอบการเริ่มฟื้นตัวและผ่านจุดต่ำสุด กลยุทธ์ในการเร่งขยายธุรกิจแฟรนไซส์มากกว่า 30 สาขาในครึ่งหลังของปี 2564 จะส่งผลให้อัตราการทำกำไรเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง โดยเราประเมินว่าผลประกอบการจะมีกำไรในปี 2565

สำหรับหลายคนการลงทุนเป็นเรื่องเข้าใจยาก ต้องอ่านข้อมูลที่ไม่เข้าใจมากมาย คิดว่ามีเงินไม่มากพอจึงไม่กล้าลงทุน ขณะที่บริการให้คำปรึกษาและแนะนำการลงทุนแบบครบวงจรก็มักจะให้บริการกับกลุ่มผู้ลงทุนที่มีเงินลงทุนจำนวนมาก การทำให้เรื่องการลงทุนเป็นเรื่องง่ายสำหรับคนทั่วไปจึงเป็นหนึ่งในภารกิจที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้ความสำคัญ

โดย ก.ล.ต. ร่วมกับพันธมิตรภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน เปิดโครงการ “5 ขั้นมั่นใจลงทุน” สร้างประสบการณ์ใหม่ของการแนะนำการลงทุนอย่างครบวงจร ผ่านบริการออกแบบการลงทุน 5 ขั้นตอน มุ่งให้ประชาชนได้รับการดูแลการลงทุนที่ครบวงจร ตอบโจทย์ความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว

รพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ประชาชนทั่วไปมักประสบปัญหาในการลงทุน เนื่องจากได้รับข้อมูลมากมาย แต่ไม่สามารถวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์การลงทุนที่มีอยู่หลากหลายได้ หรือได้รับคำแนะนำให้ซื้อผลิตภัณฑ์เป็นรายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่ผู้ขายได้รับค่าตอบแทนการขายสูงหรือต้องการเพิ่มยอดขาย รวมทั้งขาดผู้ติดตามดูแลการลงทุนให้หลังจากที่ได้ลงทุนไปแล้ว จึงทำให้คนทั่วไปไม่สามารถใช้ตลาดทุนเพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงินได้

 “โครงการ 5 ขั้นมั่นใจลงทุน” เกิดจากความตั้งใจของ ก.ล.ต. ร่วมกับพันธมิตรภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน ประกอบกับพัฒนาการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินในปัจจุบัน มีส่วนสำคัญที่ทำให้การให้บริการดูแลการลงทุนที่ครบวงจรเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยต้นทุนที่ต่ำ ตั้งแต่ (1) การสำรวจและทำความเข้าใจลูกค้า (2) การกำหนดแผนจัดสรรการลงทุน (asset allocation) (3) การแนะนำการลงทุนแบบองค์รวม (4) การติดตามและปรับปรุงการลงทุน และ (5) การรายงานภาพรวมการลงทุนของลูกค้า  จึงทำให้ผู้รับบริการมีความพร้อมในการจัดการบริหารทรัพย์สินของตนเองเพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงิน

 ปัจจุบันมีผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. แล้ว  26 ราย โดยมี 20 รายที่เปิดให้บริการแล้วและ อีก 6 รายอยู่ระหว่างทยอยเปิดดำเนินการ และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกตามลำดับ โดยผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับความเห็นชอบจะสามารถให้บริการออกแบบการลงทุนทั้ง 5 ขั้นตอนได้ ภายใต้ขอบเขตธุรกิจที่ได้รับอนุญาตของตน ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ๆ ที่สนใจสามารถยื่นขอรับความเห็นชอบต่อ ก.ล.ต. ได้ โดย ก.ล.ต. จะพิจารณาคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

สำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ www.5ขั้นมั่นใจลงทุน.com และเฟซบุ๊คเพจ 5 ขั้นมั่นใจลงทุน  

รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจ 26 ราย ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ออกแบบการลงทุนได้รับอนุญาตแล้ว ได้แก่

  1. กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ จำนวน 7 ราย ได้แก่

  • บล. เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) : KTBST
  • บล. กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) : KS
  • บล. ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด : DBSV
  • บล. ธนชาต จำกัด (มหาชน) : TNS
  • บล. บัวหลวง จำกัด (มหาชน) : BLS
  • บล. ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) : Phillip
  • บล. หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด : YUANTA
  1. กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จำนวน 7 ราย ได้แก่

  • บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน) : KTAM*
  • บลจ. กรุงศรี จำกัด : KSAM*
  • บลจ. กสิกรไทย จำกัด : KASSET
  • บลจ. ทหารไทย จำกัด : TMBAM
  • บลจ. ไทยพาณิชย์ จำกัด : SCBAM
  • บลจ. เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด : MPAM
  • บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด : UOBAM*
  1. กลุ่มธนาคารพาณิชย์ จำนวน 6 ราย ได้แก่

    • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) : BBL
    • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) : KTB*
    • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
    • ธนาคารซิตี้แบงก์ สาขากรุงเทพฯ : Citibank*
    • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) : TMB*
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) : SCB
  2. กลุ่มบริษัทประกันชีวิต จำนวน 2 ราย ได้แก่

    • บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
    • บริษัท เอไอเอ จำกัด
  1. กลุ่มฟินเทคสตาร์ทอัพ (4 ราย) ได้แก่

    • บลน. ฟินโนมีนา จำกัด : Finomena
    • บลป. เทรเชอริสต์ จำกัด : Treasurist*
    • บลน. โรโบเวลธ์ จำกัด : Robowealth
    • บลน. เว็ลธ์ เมจิก จำกัด : WealthMagik
หมายเหตุ : *ผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ระหว่างจะทยอยเปิดให้บริการ

 

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ขอนำเสนอรายการโครงการที่อยู่อาศัยที่ขายดีในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2561 ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยที่ขายได้ช้า และขายได้น้อยมาก ทำให้การลงทุนพัฒนาหรือลงทุนซื้ออาจมีปัญหาได้ ในทีนี้ได้จัดอันดับไว้ 20 รายการ ดังนี้:

            อันดับที่ 1 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.990 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E1: หทัยราษฎร์ มีจำนวน 33 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 99 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 30 หน่วย หรือเหลืออีก 91% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 2 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา 0.500-1.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 0.770 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E1: หทัยราษฎร์ มีจำนวน 35 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 27 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 32 หน่วย หรือเหลืออีก 91% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 3 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา >20.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 39.000 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A4: รังสิต คลอง 1-7 มีจำนวน 26 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1014 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 23 หน่วย หรือเหลืออีก 88% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.2% ต่อเดือน

            อันดับที่ 4 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 7.541 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D2: สะพานใหม่ มีจำนวน 130 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 980 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายไม่ได้ ยังเหลืออีก 130 หน่วย หรือเหลืออีก 100% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.3% ต่อเดือน

            อันดับที่ 5 ได้แก่ ตึกแถว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 5.590 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D1: สายไหม มีจำนวน 170 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 950 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 5 หน่วย ยังเหลืออีก 165 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.3% ต่อเดือน

            อันดับที่ 6 ได้แก่ ตึกแถว ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.990 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล K3: มหาชัย เศรษฐกิจ มีจำนวน 115 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 344 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 7 หน่วย ยังเหลืออีก 108 หน่วย หรือเหลืออีก 94% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 7 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 9.000 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล H7: บางปู มีจำนวน 67 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 603 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 8 หน่วย ยังเหลืออีก 59 หน่วย หรือเหลืออีก 88% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 8 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 7.000 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A5: รังสิต คลอง 7-16 มีจำนวน 86 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 602 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 2 หน่วย ยังเหลืออีก 84 หน่วย หรือเหลืออีก 98% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 9 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 8.120 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D3: บางบัว มีจำนวน 35 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 284 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 1 หน่วย ยังเหลืออีก 34 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.5% ต่อเดือน

            อันดับที่ 10 ได้แก่ ตึกแถว ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.734 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A2: บางขัน คลองหลวง มีจำนวน 60 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 164 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 4 หน่วย ยังเหลืออีก 56 หน่วย หรือเหลืออีก 93% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.5% ต่อเดือน

            อันดับที่ 11 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.888 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล H8: บางนา ตราด กม.10-30 มีจำนวน 504 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1456 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 6 หน่วย ยังเหลืออีก 498 หน่วย หรือเหลืออีก 99% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.5% ต่อเดือน

            อันดับที่ 12 ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 3.329 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล N2: วงแหวนรอบนอก-คลองมหาสวัสดิ์ มีจำนวน 53 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 176 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 4 หน่วย ยังเหลืออีก 49 หน่วย หรือเหลืออีก 92% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.5% ต่อเดือน

            อันดับที่ 13 ได้แก่ บ้านแฝด ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 6.440 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล N4: บางบัวทอง มีจำนวน 33 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 213 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายไม่ได้ ยังเหลืออีก 33 หน่วย หรือเหลืออีก 100% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 14 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา >20.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 25.000 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A4: รังสิต คลอง 1-7 มีจำนวน 34 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 850 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 31 หน่วย หรือเหลืออีก 91% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 15 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 5.292 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล M1: ตลิ่งชัน มีจำนวน 30 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 159 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 6 หน่วย ยังเหลืออีก 24 หน่วย หรือเหลืออีก 80% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 16 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.500 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล H8: บางนา ตราด กม.10-30 มีจำนวน 44 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 66 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 41 หน่วย หรือเหลืออีก 93% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 17 ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.604 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E1: หทัยราษฎร์ มีจำนวน 253 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 406 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 15 หน่วย ยังเหลืออีก 238 หน่วย หรือเหลืออีก 94% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 18 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.970 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล B4: ชินเขต ท่าทราย มีจำนวน 463 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 912 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 16 หน่วย ยังเหลืออีก 447 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 19 ได้แก่ บ้านแฝด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 3.490 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A5: รังสิต คลอง 7-16 มีจำนวน 211 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 736 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 7 หน่วย ยังเหลืออีก 204 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 20 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา >20.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 42.091 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล K1: พระรามที่ 2 กม.1-10 มีจำนวน 143 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 6019 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 4 หน่วย ยังเหลืออีก 139 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.7% ต่อเดือน

            อย่างไรก็ตามบางโครงการในทำเล ประเภทบ้านและระดับดังกล่าว ก็อาจขายดีสวนกระแส ทั้งนี้เพราะมีการบริหารจัดการที่ดี ก็เป็นได้เช่นกัน ต้องศึกษาในรายละเอียดด้วย

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ขอนำเสนอรายการโครงการที่อยู่อาศัยที่ขายดีในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2561 ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยที่น่าจะพัฒนา มีอนาคต และผู้ซื้อให้การต้อนรับมากเป็นพิเศษ

            อันดับที่ 1 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.567 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล G5: ลาดกระบัง มีจำนวน 41 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 64 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 27 หน่วย ยังเหลืออีก 14 หน่วย หรือเหลืออีก 34% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 76.3% ต่อเดือน

            อันดับที่ 2 ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.990 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล G2: พัฒนาการ มีจำนวน 30 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 90 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 27 หน่วย ยังเหลืออีกเพียง 3 หน่วย หรือเหลืออีก 10% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 72.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 3 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.529 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล F1: วิภาวดี-รัชดา มีจำนวน 625 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1581 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 516 หน่วย ยังเหลืออีก 109 หน่วย หรือเหลืออีก 17% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 68.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 4 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 10.001-20.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 12.900 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D1: สายไหม มีจำนวน 176 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 2270 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 17 หน่วย ยังเหลืออีก 159 หน่วย หรือเหลืออีก 90% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 68.0% ต่อเดือน

            อันดับที่ 5 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.693 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D6: นวมินทร์ มีจำนวน 23 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 39 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 8 หน่วย ยังเหลืออีก 15 หน่วย หรือเหลืออีก 65% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 52.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 6 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.550 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A2: บางขัน คลองหลวง มีจำนวน 952 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1476 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 521 หน่วย ยังเหลืออีก 431 หน่วย หรือเหลืออีก 45% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 49.9% ต่อเดือน

            อันดับที่ 7 ได้แก่ บ้านแฝด ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 5.276 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล K6: วงแหวนรอบนอก-เพชรเกษม มีจำนวน 275 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1451 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 167 หน่วย ยังเหลืออีก 108 หน่วย หรือเหลืออีก 39% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 49.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 8 ได้แก่ บ้านแฝด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 4.900 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล K1: พระรามที่ 2 กม.1-10 มีจำนวน 28 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 137 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 26 หน่วย ยังเหลืออีกเพียง 2 หน่วย หรือเหลืออีก 7% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 46.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 9 ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.794 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E1: หทัยราษฎร์ มีจำนวน 23 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 41 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 7 หน่วย ยังเหลืออีก 16 หน่วย หรือเหลืออีก 70% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 43.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 10 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.690 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล B3: แจ้งวัฒนะ มีจำนวน 1,655 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 2798 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 770 หน่วย ยังเหลืออีก 885 หน่วย หรือเหลืออีก 53% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 43.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 11 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 4.014 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล I1: พหลโยธิน มีจำนวน 1,166 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 4680 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 510 หน่วย ยังเหลืออีก 656 หน่วย หรือเหลืออีก 56% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 43.2% ต่อเดือน

            อันดับที่ 12 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 3.553 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล B3: แจ้งวัฒนะ มีจำนวน 145 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 515 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 66 หน่วย ยังเหลืออีก 79 หน่วย หรือเหลืออีก 54% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 42.2% ต่อเดือน

            อันดับที่ 13 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.460 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E6: เจ้าคุณทหาร มีจำนวน 72 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 105 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 41 หน่วย ยังเหลืออีก 31 หน่วย หรือเหลืออีก 43% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 41.3% ต่อเดือน

            อันดับที่ 14 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.576 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล G1: รามคำแหง มีจำนวน 36 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 57 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 8 หน่วย ยังเหลืออีก 28 หน่วย หรือเหลืออีก 78% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 36.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 15 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.523 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล F5: รัชดา-ลาดพร้าว มีจำนวน 2,010 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 5070 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 1323 หน่วย ยังเหลืออีก 687 หน่วย หรือเหลืออีก 34% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 35.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 16 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 6.778 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล I1: พหลโยธิน มีจำนวน 2,107 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 14281 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 1209 หน่วย ยังเหลืออีก 898 หน่วย หรือเหลืออีก 43% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 35.0% ต่อเดือน

            อันดับที่ 17 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.486 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล F6: เทพลีลา-มหาดไทย มีจำนวน 96 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 143 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 40 หน่วย ยังเหลืออีก 56 หน่วย หรือเหลืออีก 58% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 32.9% ต่อเดือน

            อันดับที่ 18 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.826 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล L3: บางพลัด มีจำนวน 378 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 690 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 183 หน่วย ยังเหลืออีก 195 หน่วย หรือเหลืออีก 52% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 32.9% ต่อเดือน

            อันดับที่ 19 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 3.709 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล F1: วิภาวดี-รัชดา มีจำนวน 1,218 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 4518 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 554 หน่วย ยังเหลืออีก 664 หน่วย หรือเหลืออีก 55% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 32.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 20 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.696 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล C2: ติวานนท์ มีจำนวน 139 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 236 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 59 หน่วย ยังเหลืออีก 80 หน่วย หรือเหลืออีก 58% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 31.5% ต่อเดือน

            อย่างไรก็ตามก็พึงระวัง หากแห่กันไปพัฒนาแบบเดียวกันก็อาจ "พากันลงเหว" ได้

 ดิจิทัล เวนเจอร์ส บริษัทในเครือด้านการลงทุนและการค้นคว้านวัตกรรมการเงิน ของธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศเพิ่มงบลงทุนในหน่วยงานทุนองค์กร หรือ Corporate Venture Capital อีก 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  ทำให้มีขนาดเงินลงทุนใหญ่ที่สุดในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ   

โดยดร. อารักษ์ สุธีวงศ์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Financial Officer and Chief Strategy Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ธนาคารฯ ประสบความสำเร็จในด้านการลงทุน รวมทั้งการร่วมเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับเวนเจอร์แคปปิตอลและสตาร์ทอัพต่างๆ ทำให้ธนาคารฯ สามารถเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีชั้นสูง (Deep Technology) โดยในปัจจุบันธนาคารไทยพาณิชย์ได้มีเครือข่ายพันธมิตรกับสตาร์ทอัพ  ทั่วโลกกว่า 800 ราย และเวนเจอร์แคปปิตอลในต่างประเทศอีกกว่า 60 ราย จาก 29 ประเทศทั่วโลก ทำให้  ธนาคารฯ สามารถเข้าถึง และเรียนรู้นวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดจากกิจการที่ได้เข้าไปลงทุน อาทิ บล็อคเชน ควอนตัมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งการทำงานขององค์กรธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไป และจากความสำเร็จที่ผ่านมา ธนาคารไทยพาณิชย์จึงมีความมั่นใจที่จะเพิ่มเงินลงทุนอีก 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1,750 ล้านบาท รวมเป็นเงินลงทุนตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 3,000 ล้านบาท

ดร.อารักษ์ เปิดเผยว่า เงินทุน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐก้อนแรก นั้นเปรียบเหมือนกับเงินที่ใช้กับการเรียนรู้ด้านการลงทุน ทั้งผ่านเวนเจอร์แคปปิตอล และการมองหาผลตอบแทนจากการลงทุนซึ่งวันนี้เริ่มเห็นศักยภาพการลงทุนในสตาร์ทอัพโดยตรง ดังนั้นเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นจะเน้นไปที่การลงทุนตรงกับสตาร์ทอัพที่น่าสนใจเพิ่มขึ้น แต่ยังคงรักษาเป้าหมายการมองหานวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ให้กับองค์กรไว้อยู่ด้วย

ทางด้านพลภัทร อัครปรีดี กรรมการผู้จัดการ หน่วยงานทุนองค์กร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวเสริมว่า ในการเพิ่มงบลงทุนในครั้งนี้ ดิจิทัล เวนเจอร์สจะมุ่งเฟ้นหาบริษัทสตาร์ทอัพและเวนเจอร์แคปปิตอลจากทั่วโลกที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีหลักที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจ และสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ ของธนาคาร เพื่อประโยชน์แก่ลูกค้าองค์กรและลูกค้าทั่วไปของธนาคาร

ดร. อารักษ์ เปิดเผยว่า นโยบายการลงทุนจะมุ่งเน้นในผลิตภัณฑ์และบริการ และเทคโนโลยีชั้นสูง อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) บล็อกเชน ความปลอดภัยบนไซเบอร์ (Cybersecurity) กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล (Big Data / Data Analysis) และอื่นๆ ที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดให้กับบริการต่างๆ ของธนาคาร  การเพิ่มเงินลงทุนเชิงกลยุทธ์ในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการเพิ่มศักยภาพในการเฟ้นหาและเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้กับธนาคาร เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินให้แก่ลูกค้าในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้กลยุทธ์นี้ยังสอดคล้องกับกลยุทธ์ Going Upside Down หรือตีลังกากลับหัว ที่จะทำให้ธนาคารมีศักยภาพด้านดิจิทัล และมีโมเดลการทำงานที่เหมาะสมกับความท้าทายของโลกดิจิทัลในอนาคต สามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคการเงินการธนาคาร เศรษฐกิจในภาพรวม และการพัฒนาสังคมของประเทศไทยให้ก้าวทันโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ดิจิทัล เวนเจอร์ส ได้ลงทุนเชิงกลยุทธ์ทั้งในเทคสตาร์ทอัพโดยตรง และลงทุนในเวนเจอร์ส แคปปิตอล ได้แก่

  • Golden Gate Ventures หนึ่งในกองทุนสตาร์ทอัพชั้นนำที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เน้นการลงทุนในสตาร์ทอัพระยะเริ่มต้น (Early Stage)
  • Nyca Partners เวนเจอร์แคปปิตอลชั้นนำด้านฟินเทคของสหรัฐอเมริกา ที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์รวม ความเชี่ยวชาญจากสองยักษ์ใหญ่แห่งโลกการเงินและเทคโนโลยีอย่างวอลล์สตรีทและซิลิคอนแวลลีย์
  • Dymon Asia Ventures เวนเจอร์แคปปิตอลชั้นนำของสิงคโปร์ มุ่งเน้นการลงทุนในสตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทคที่ทำธุรกิจแบบ B2B
  • Arbor Ventures เวนเจอร์แคปปิคอลชั้นนำด้านฟินเทคของฮ่องกง ที่มีการลงทุนครอบคลุมทั้งในเอเชีย อเมริกาเหนือ ยุโรป และภูมิภาคตะวันออกกลาง
  • Ripple บริษัทผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านการชำระเงินชั้นนำของโลกจากสหรัฐอเมริกา โดยธนาคารไทยพาณิชย์นับเป็นสถาบันการเงินไทยแห่งแรกที่ริเริ่มลงทุน ศึกษา และทดลองการโอนเงินระหว่างประเทศบนเทคโนโลยี Blockchain
  • Pulse iD สตาร์ทอัพด้านการบริการข้อมูลเพื่อระบุพิกัดซึ่งก่อตั้งขึ้นในฮ่องกง มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโซลูชั่นเพื่อระบุตัวตนสำหรับใช้ในธุรกิจ เพื่อเสริมสร้างระบบความปลอดภัยทางการเงิน การระบุตัวตนลูกค้า และการสร้างความผูกพันกับลูกค้าให้เหนือระดับยิ่งขึ้น
  • PayKey สตาร์ทอัพจากอิสราเอล ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มปฏิวัติการชำระเงินรูปแบบใหม่บนคีย์บอร์ด ของอุปกรณ์สื่อสารที่ช่วยให้ลูกค้าธนาคารสามารถโอนเงินผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คที่หลากหลาย โดยเชื่อมโยงเข้ากับแอพพลิเคชั่นโมบายแบงกิ้งของธนาคาร
  • IndoorAtlas ผู้พัฒนาเทคโนโลยีระบุพิกัดตำแหน่งพื้นที่ในร่มจากฟินแลนด์ ซึ่งดิจิทัล เวนเจอร์ส ได้ใช้เทคโนโลยีนี้ร่วมพัฒนาในแอพพลิเคชั่น Chatuchak Guide ที่เป็นหน้าร้านออนไลน์ให้กับร้านค้าในตลาดนัดจตุจักร ซึ่งเทคโนโลยีนี้ช่วยอำนวยความสะดวกในการนำทางให้ผู้ซื้อเดินหาร้านค้าได้แม่นยำและรับข้อเสนอพิเศษต่าง ๆ จากร้านค้าได้แบบเรียลไทม์
  • 1QBit ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านเทคโนโลยีควอนตัมและควอนตัมคอมพิวเตอร์จากแคนาดา มีศักยภาพในการแก้ปัญหาทางธุรกิจที่มีความสำคัญสูง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการพอร์ตการลงทุน การบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพ และการรักษาความปลอดภัย
Page 5 of 6
X

Right Click

No right click